ผมก็เหมือนกัน น่าจะเเถวยะรังนะ
คงจะใช่ครับ มีประวัติศาสตร์เขียนไว้อย่างนั้นเหมือนกัน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 3 (นามเดิม พระเจ้าทับ) ซึ่งเป็นพระโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
กับเจ้าจอมมารดา เรียม ซึ่งเป็นชาวคลองบางหลวง (บางกอกใหญ่) โดยเจ้าจอมมารดาเรียมนั้นเป็นธิดาของ พระยานนทบุรี ศรีมหาอุทธยาน (บุญจัน) กับพระชนนี เพ็ง
ซึ่งพระชนนีเพ็ง เป็นธิดาของการราชวังสัน (หวัง) กับคุณหญิงชู ซึ่งคุณหญิงชูนั้นเป็นกุลสครีจากบางเชือกหนัง โดยสรุปก็คือ พระองค์เจ้าทับ หรือกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
ซึ่งต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นั้นเป็นหลานตาของพระยานนทบุรศรีมหาอุทธยาน เจ้าเมืองนนทบุรี และเป็นเหลนตาของพระยาราชวังสัน
(หวัง) ซึ่งสืบสายสกุลมาจากสุลต่านสุลัยมานซาห์ อดีตเจ้าเมืองสงขลา
และในสมัยรัชการที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรีนี้เอง หัวเมืองภาคใต้ได้เกิดปัญหาขึ้น โดยพระยาปัตตานีและพระยาหนองจิก ร่วมกับพระยายะลาและพระยาระแงะ ได้รวมทัพ
ทั้ง 4 หัวเมือง ยกทับเข้าตีเมืองยะหริ่ง (ยามู) พระยายะหริ่ง (พ่าย) สู้ไม่ไหว จึงหลบหนีไปเมืองสงขลา เมื่อความทราบถึงกรุเทพฯ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 จึงโปรดให้
พระยาเพชรบุรียกทัพไปปราบ พระยาเพชรบุรีตีเมืองคืนได้ จับพระยาปัตตานี พระยายะลา และพระยาหนองจิกประหารชีวิตเสีย ส่วนพระยาระแงะหลยหนีไปได้ และให้
พระยายะหริ่งครองเมืองยะหริ่งต่อไป และได้แต่งตั้งให้หลวงสวัสดิ์ภักดี (ยิ้มซ้าย) เป็นพระยาเมืองยะลา ต่อมาพระยายะหริ่ง (พ่าย) ถึงแก่อสัญกรรมด้วยโรคชา ได้โปรดเกล้า
ให้หลวงสวัสดิ์ภักดี (ยิ้มซ้าย) รักษาการเจ้าเมืองยะหริ่งอีกตำแหน่งหนึ่ง เมืองยะหริ่งในสมัยนั้นครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของ อ.ยะหริ่ง อ.มายอ อ.ปานาเระ
ในจังหวัดปัตตานี้ขณะนี้
ในครั้งที่พระยาเพชรบุรี ได้ยกทับไปตีเมืองภาคใต้ในครั้งนั้นเมื่อกำจัดเจ้าเมืองที่ก่อปัญหาได้แล้วก็ได้กวาดต้อนราษฎรจากเมืองต่างๆ เข้ามาในพระนคร
และปริมณฑลมากมาย จนเป็นชุมชนมุสลิมในเมืองหลวงของประเทศไทยและมีลูกหลานสืบเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน อาจพอกล่าวเป็นสังเขปได้ดังนี้
จากเมืองยะหริ่ง (ยามู) ได้นำมาปล่อยให้ทำมาหากินเป็นเกษตรกรริมคลองแสนแสบ
ตั้งแต่หมู่บ้าน บ้านดอน สามอิน คลองตัน ต่อมากลุ่มนี้ได้ขยายถิ่นฐานไปอยู่คลองลาดพร้าววัดตึก วัดกลาง (ริดวานุ้นอิสลาม) หลอแหล ไปจนถึงคลองสี่วังเล็ก เขตมีนบุรี จากเมืองยะรัง ได้นำมาปล่อยที่ หลอแหล ลาดบัวขาว ในเขตสะพานสูงจากเมืองกลันตัน ได้นำมาปล่อย
แถวหัวป่า บ้านป่า สวนหลวง พัฒนาการ ศรีนครินทร์ และขยายถิ่นฐานไปถึงคลอง 16 ลำซะล่า คลอง 18 คลอง 19 คลอง 20
ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทราจากเมืองสะโตย คือ สตูล (ในปัจจุบัน) คนกลุ่มนี้มักเรียกว่า "แขกตำพรื้อ" ได้ถูกจับมาปล่อยไว้ที่
คลองกุ่ม (อัสสลาม) สุเหร่าแดง (คันนายาว) บางชัน กลีบหมู (ปลีกหมู่) คูคต
ลำกระโหลก คลองสามวา คลองสี่ตะวันออก คลองแปด คลองเก้า คลองสี่ตะวันออก คลองแปด คลองเก้า ในเขตคลองสามวาและหนองจอกในปัจจุบันจากเมืองกะเดาะห์ (เคดาห์) หรือเมืองไทรบุรี และปะลิส (เปอร์ลิส) ได้นำมาปล่อยย่าน
ทรายกองดินและแสนแสบ ต่อมาได้ขยายถิ่นฐานไปอยู่ที่ศาลาแดง (หนองจอก)
คลอง 16 สมอเอก คลอง 17 (อ.บางน้ำเปรียว จ.ฉะเชิงเทรา) คลอง 14 สายกลาง คลองพระอาจารย์ คลอง 2 และคลอง 24 (อ.องครักษ์ จ.นครนายก)จากเมืองปัตตานี บางส่วนย่านบานาจะปังติกอ และปูยุด ได้นำมาปล่อยไว้ย่าน
เจียรดับ กระทุ่มราย หนองจอก ต่อมาขยายถิ่นฐานไปอยู่คลอง 14 สายล่าง
คลอง 15 สายล่าง คลองหกวา เป็นต้นสำหรับลูกหลานขุนนางเมืองปัตตานี เดิมถูกนำมาปล่อยไว้ที่บางลำพู บ้านตึกดิน (ราชดำเนินกลาง) ในสมัยรัชการที่ 1 นั้น เมื่อรัชกาลที่ 3 ได้จ้างบริษัทวิศวกรชลประทานของประเทศอักฤษ ชื่อบริษัทคูนาสยามจำกัด มาทำการขุดคลองเพื่อการชลประทาน
และการขนส่งทางน้ำ ในบริเวณที่ราบลุ่มระหว่างแม่น้ำบางปะกง กับแม่น้ำเจ้าพระยา จำนวน 35 คลอง โดยมีคลองหลักแนวตะวั้นออก - ตะวันตก จำนวน 5 คลอง คือ
คลองรังสิตประยูรศักดิ์ (คลอง 8 วา)
คลองแสนแสบ
คลองประเทศบุรีรมย์
คลองสำโรง
และมีคลองซอยตามแนวเหนือ - ใต้ อีกจำนวน 30 คลองเสร็จแล้ว ชาวบางลำพูและบ้านตึกดินส่วนหนึ่งได้ขยายถิ่นฐานไปตั้งบ้านเรือนเพื่อทำการค้าขายที่สี่แยกมหานาค
(ใกล้วัดสะแก ต่อมาเปลี่ยนเป็นวัดสระเกศ) จากมหานาคต่อมากได้ขยายถิ่นฐานไปอย่างกว้างขวาง เช่น ไปอยู่บางตลาด นนทบุรี บ้านคู้ บ้านลำหิน บ้านคลองสิบ ในเขตหนองจอก และบ้านคู้น้อย คลอง 16 ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ปัจจุบันนี้มีชุมชนมุสลิมในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นชุมชนที่เข้มแข้ง มีมัสยิด มีโรงเรียนสอนศาสนา กันอย่างกว้างขวาง
มองว่าการพ่ายแพ้ในสงคราม และต้องอบยพมาอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล นั้นคือการขยายตัวของศาสนาอิสลามอีกนัยหนึ่ง
เพราะปัจจุบันอิสลามยังอยู่กับคน ปัตตานีดารุสสลาม และในกรุงเทพฯ ประปริมณฑน ก็ยังมีอิสลามอยู่
ส่วนเรื่องภาษามลายูนั้น ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ภาษามลายู ยกระดับกลายเป็นภาษาคลาสสิคไปแล้ว เป็นภาษาวรรณกรรม ภาษาตำรา คนที่จะรู้มันก็ต้องเป็นคนที่เรียน
ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ภาษาที่ใช้พูดกัน แต่ตามโรงเรียนสอนศาสนาในกรุงเทพฯก็ยังสอนกันด้วยกิตาบมลายู
และคำว่ามลายูจะไม่มีคุณค่าอันใดเลยหากปราศจาก อุกะมาอิสลาม
.....อัลฮัมดุลิลลาฮ์.....