ตอบ มูซัลมาน
ขอถามต่อ... แล้วในกรณีที่ มีการสานเสวนา หรือบรรยายธรรม หรือ อะไรก็ได้ที่ เป็นการพูดต่อสาธารณชน แล้วมุสลีมะฮขึ้นเวที พูดต่อผู้ฟังที่มีทั้งมุสลีมีนและมุสลีมะฮ เข้าข่ายในกรณี นักข่าว (สาว) มุสลีมะฮ ป่าวนิ่?
จริง ๆ แล้วจะบอกว่า ถ้าเป็นกรณีในหมู่มมุสลิมด้วยกัน ไม่ค่อยเห็นด้วยนะ ถ้าไม่จำเป็นแล้วมุสลิมะฮฺก็ควรปล่อยให้ผู้ชายเขาพูด / บรรยาย/ แสดงทรรศนะกันดีกว่า ..
ตอบพี่แอมซัมบ่จี๊
แต่ ที่น่าถามกว่า คือ ทำได้ไหม? (คือ ไปขัดกับหลักการ อะไรหรือป่าว )
กับ กรณี ต้องนั่งเล่าข่าว ออก หน้า ทีวี สู่สายตา สาธารณะ
ประเด็นเนี่ยละที่สงสัย โดยปกติแล้วมุสลิมะฮฺไม่สมควรนั่งอวดโฉม หรือเป็นจุดเด่นไง แต่ในกรณีนี้ถ้ามันให้คุณแก่สังคมมุสลิม คนต่างศาสนามองเราดีขึ้น มุสลิมมีการศึกษา มีความสามารถ
(อันนี้รุ่นน้องเล่าให้ฟังว่า ท่านเชคยูซุฟ เองก็เคยให้สัมภาษณ์กับพิธีกรที่เป็นมุสลิมะฮฺนะ ใครมีข้อมูล มาบอกหน่อย)
ถ้าชั่งกัน 2 อย่างนี้ ผู้รู้คิดว่ายังไง ?
เอาใหม่ เด๋วงง กันไปใหญ่ การที่มีนักข่าวมุสลิมะฮฺมันให้ประโยชน์ดังนี้ (อันนี้พูดในกรณีประเทศไทยนะ งิงิ )
1. คนต่างศาสนารู้ว่ามุสลิมมีความรู้เท่าเทียมกับคนทั่ว ๆ ไป
2. คนต่างศาสนารู้ว่ามุสลิมเรามีความคิดเห็นยังไงต่อข่าวพวกนี้ และที่สำคัญคือข่าวที่ออกไป อินชาอัลลอฮฺ มันจะถูกต้องมากขึ้น เพราะแน่นอนว่าข่าวที่อออกมาจากคนต่างศาสนากับมุสลิมเองย่อมต่างมุมมอง ต่างประสิทธิภาพกัน
3. คนต่างศาสนาเห็นฮิญาบบ่อยขึ้น .. อาจเปลี่ยนมุมมมองของพวกเขาต่อฮิญาบของมุสลิมะฮฺก็ได้
4. คนต่างศาสนาเห็นมุมมองที่ต่างออกไปของมุสลิมะฮฺ เพราะภาพเดิม ๆ ของพวกเขาคือการถูกกดขี่ ไร้การศึกษา ฯลฯ
ปล. ข้อ 3-4 เป็นเหตุผลสำคัญที่ยกมุสลิมะฮิขึ้นมา เหตุเพราะว่าจริง ๆ แล้วเป็นมุสลิมีนก็ได้ ที่นั่งวิเคราะห์ข่าว แต่ว่า .. มันเห็นไม่ชัดนี่นาว่าเป็นมุสลิมแท้ ๆ
ส่วนอันนี้ตอบบังอัล ฯ
อิอิ

นักข่าวหัวเราะอะไรล่ะเนี่ย 
ขำไว้ก่อน .. คือขี้เกียจพิมพ์ยาววว
อีกอย่าง ชาไม่ใช่นักข่าว .. แล้ว ยังไม่ได้คิดจะเป็น แค่จินตนาการเฉย ๆ

เอ้าพี่น้อง .. ว่ากันต่อ .. ชารออ่าน