salam
ที่เป็นตัวบทภาษาอาหรับต่อไปนี้ ให้ท่านพี่น้องที่เป็นผู้รู้ช่วยกัน เอี๊ยะอฺรอบ หน่อยครับ ดังกฎนิติศาสตร์อิสลามที่ระบุว่า
ومن المتفق عليه أن حكم الحاكم أو قرار ولي الأمر يرفع الخلاف فى الأمور المختلف فيها
"และส่วนหนึ่งจากมติที่เห็นพ้องนั้นคือ แท้จริงการชี้ขาดของผู้ปกครองหรือการแถลงการณ์รับรองของผู้นำ (วะลียุลอัมริ) จะขจัดข้อขัดแย้งในบรรดาเรื่องราวที่มีความเห็นขัดแย้งในเรื่องเหล่านั้น
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า
" صومكم يوم تصومون وفطركم يوم يفطرون وأضحاكم يوم تضحون "
ความว่า "การถือศีลอดของพวกท่าน คือวันที่พวกท่านทั้งหลายถือศีลอด และวันอีดิลฟิฏริของพวกท่าน คือวันที่พวกท่านทั้งหลายออกอีดิลฟิฎริกัน
และวันอีดิลอัฎฮา (หรือวันเชือด) ของพวกท่าน คือวันที่พวกท่านทั้งหลายออกอีดิลอัฎฮา (หรือเชือดสัตว์พลี) กัน"
อีกหลักฐานหนึ่ง ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า
" الفطر يوم يفطر الناس والأضحي يوم يضحي الناس "
ความว่า "วันอีดิลฟิฏริ คือวันที่ผู้คนทั้งหลายออกอีดิลฟิฏริกัน และวันอีดิลอัฎฮาคือวันที่ผู้คนทั้งหลายออกอีดิลอัฎฮากัน"
(บันทึกโดยอัดดารุฏนีย์ หะดีษที่ 31 และท่านอับดุรฺเราะซาก หะดีษที่ 7304)
เฉกเช่นท่านนบีเคยกล่าวว่า
"صلوا كما رأيتموني أصلى "
ความว่า "พวกท่านทั้งหลายจงนมาซเสมือนเห็นฉันนมาซ" (บันทึกโดยบุคอรีย์)
..จากอัตติรมีซีย์กล่าวว่า และนักวิชาการบางท่านได้อรรถาธิบายหะดีษโดยกล่าวว่า
إنما معني هذا الصوم والفطر مع الجماعة وعظم الناس
อันที่จริงความหมายของ (หะดีษ) นี้ก็คือ การถือศีลอดและการออกอีด (ฟิฏริ) พร้อมกับหมู่คณะและผู้คนโดยส่วนใหญ่ (อัตติรมีซีย์ ในดัซซิยาม (697)-)
(ดูมัจมูอะฮฺ อัลฟะตาวา ของชัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะฮฺ เล่มที่ 25/67 ดารุ้ลวะฟาอฺ พิมพ์ครั้งแรก ฮ.ศ.1418-ค.ศ.1997) ในหน้าที่ 68 จากหนังสือมัจมูอะฮฺ อัลฟะตาวา เล่มที่ 25
ท่านชัยคุลอิสลามระบุว่า แล้ด้วยเหตุนี้อิหม่ามอะฮฺหมัดจึงได้กล่าวไว้ในการรายงานของท่านว่า
يصوم مع الإمام وجماعة المسلمين في الصحو والغيم
เขาจะถือศีลอดพร้อมกับผู้นำและหมู่คณะชาวมุสลิมทั้งในยามท้องฟ้าโปร่งและมีเมฆครึ้ม
ท่านอิหม่ามอัซวซอนอานีย์ ได้ระบุว่า
فيه دليل علي أنه يعتبر في ثبوت العيد الموافقة للناس وأن المنفرد بمعرفة يوم العيد بالرؤية يجب عليه موافقة غيره ويلزمه حكمهم في الصلاة والإفطار والأضحية
ในหะดีษบทนี้มีหลักฐานบ่งชี้ว่า แท้จริงการพ้องกันกับผู้คนทั้งหลายจะถูกพิจารณาในการยืนยันวันอีด และแท้จริงบุคคลเพียงลำพังที่รู้ถึงวันอีด ด้วยการเห็นจันทร์เสี้ยวนั้นจำเป็นที่เขาจะต้อง (ออกอีด)
ตรงกับบุคคลอื่นและจำเป็นที่เขาต้องถือฮุก่มของพวกเขา (คือผู้คนทั้งหลาย) ในการละหมาดการออกอีดฟิฏริและอุฎอียะฮฺ (การออกอีดอัฎอา หรือเชือดสัตว์พลี) คำว่า พ้องกันหรือตรงกันกับ
ผู้คนทั้งหลาย (الموافقة للناس) ก็คือพ้องกันหรือตรงกันกับผู้คนส่วนใหญ่ในดิแดนนั้นซึ่งไม่เห็นจันทร์เสี้ยว (ดูซุบุลุสสลาม ซัรฮฺ บุลูฆิม่ารอม, ของอิหม่ามอัซซอนอานีย์ 2/489 สำนักพิมพ์ดารุ้ลหะดีษ)
ท่านอุกบะฮฺ บุตรของอามิรฺเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า
"يوم عرفة ويوم النحر وأيام التشريق عيدنا أهل الإسلام وهي أيام أكل وشرب"
ความว่า "วันอะเราะฟะฮฺและวันนะหฺริและวันตัชรีก คือวันอีดของพวกเราชาวอิสลาม คือวันแห่งการกินและการดื่ม" (ตัครีจ หะดีษ)
(บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 2066 บทว่าด้วยการถือศีลอด,ติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 704, นะสาอีย์ หะดีษที่ 2954, อะหฺมัด หะดีษที่ 16739 และอัดดาริมีย์ หะดีษที่ 1699)
เกี่ยวกับเรื่องนี้ท่านซัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ (ร.ฮ.) ได้ตอบว่า
وصوم اليوم الذي يشك فيه هل هو تاسع ذي الحجة أو عاشر ذي الحجة جائز بلا نزاع بين العلماء لأن الأصل عدم العاشر
และการถือศีลอดของวันซึ่งสงสัยว่าวันนั้นเป็นวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺหรือวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺ?
เป็นที่อนุญาตโดยไม่มีข้อขัดแย้งระหว่างบรรดานักปราชญ์ เพราะเดิมนั้นไม่มีวันที่ 10 (มัจมูอะฮฺ อัลฟะตาวา 25/111)
หมายความว่าชาวมุสลิมไทยที่ถือศีลอดในวันเสาร์ ซึ่งนับเป็น วันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺตามคำประกาศของสำนักจุฬาราชมนตรีแต่ไปตรงกับวันที่ 10 ซุลฮิจญะฮฺ (คือวันอีดอัฎฮา)
ของชาวซาอุดีย์นั้นย่อมเป็นที่อนุญาตโดยไม่มีข้อโต้แย้งระหว่างนักปราชญ์ และไม่เข้าข่ายในข้อห้ามของหะดีษข้างต้น เพราะคนที่ถือศีลอดในวันเสาร์ถือศีลอดบนพื้นฐานที่ว่า วันเสาร์คือวันที่ 9 ซุลฮิจญะฮฺ
ท่านอิบนุ อบิลอิซฺ อัลฮะนะฟีย์ ผู้อรรถาธิบาย หนังสือ อัลอะกีดะฮฺ อัฏฏ่อฮาวียะฮฺได้ระบุว่า
وقد دلت نصوص الكتاب والسنة وإجماع الأمة أن ولي الأمر وإمام الصلاة والحاكم وأمير الحرب وعامل الصدقة : يطاع في مواضع الإجتهاد وليس عليه أن يطيع أتباعه في موارد الإجتهاد ،
بل عليهم أن طاعته في ذلك وترك رأيهم لرأيه فإن مصلحة الجماعة الإئتلاف ومفسدة الفرقة والإختلاف أعظم من أمر المسائل الجزئ
และแท้จริงบรรดาตัวบทของคัมภีร์อัลกุรอ่าน, ซุนนะฮฺ และมติเห็นพ้องของบรรพชนสลัฟของประชาชาติได้บ่งว่าวะลียุลอัมรฺ (ผู้นำ), อิหม่ามนำละหมาด, ผู้ปกครอง, แม่ทัพนายกอง
และเจ้าหน้าที่เก็บซะกาตจะถูกเชื่อฟัง (ปฏิบัติตาม) ในบรรดาตำแหน่ง (ประเด็นต่างๆ) ของการวิเคราะห์ (อิจฺติฮาจ) หากแต่จำเป็นที่บรรดาผู้ตามต้องเชื่อฟังในเรื่องดังกล่าว
และจำเป็นต้องละทิ้งความเห็นของตนยังความเห็นของผู้นำ เพราะแท้จริงประโยชน์ของหมู่คณะและความเป็นน้ำหนึ่ง ตลอดจนผลร้ายของการแตกแยกการขัดแย้งย่อมสำคัญกว่าเรื่องของ
ประเด็นปัญหาปลีกย่อยทั้งหลาย (ซัรฮุ อัลอะกีดะฮฺ อัฏฏ่อฮาวียะฮฺ ของอัลลามะฮฺ อิบนุ อบิลอิซฺ อัลฮะนะฟีย์ หน้า 376)
ดร.ยูซุฟ อัลกอรฎอวีย์ ได้ระบุว่า
فإذا صدرت السلطة الشرعية المسؤلة عن إثبات الهلال في بلد إسلامي - المحكمة العليا أو دار الإفتاء أو رئاسة الشوؤن الدينية أو غيرها -
لأنها طاعة في المعروف وإن كان ذلك مخالفا لما ثبت في بلد أخر فإن حكم الحاكم هنا رجح الرأي الذي يقول : إن كل بلد رؤيته
ดังนั้นเมื่อองค์กรที่มีอำนาจตามศาสนบัญญัติที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการยืนยันจันทร์เสี้ยวในประเทสมุสลิม (อาทิเช่น) ศาลสูงสำนักวินิจฉัย หรือองค์กรผุ้นำกิจการทางศาสนาหรืออื่นๆ
ได้ออกแถลงการณ์ของตนให้ถือศีลอดหรือออกอีดฟิฏริแล้ว ก็จำเป็นที่ชาวมุสลิมของดินแดนนั้นต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามโดยเคร่งครัดเพราะเป็นการเชื่อฟังในสิ่งที่ดีตามหลักการของศาสนา
ถึงแม้ว่าสิ่งดังกล่าวค้านกับสิ่งที่ได้รับการยืนยันในดินแดนอื่น เพราะแท้จริงการชีขาดของผู้มีอำนาจ ณ ที่นี้ได้ให้น้ำหนักแก่ทัศนะซึ่งกล่าวว่า แท้จริงแต่ละดินแดนนนั้นคือการเห็นจันทร์เสี้ยวของตน
(ฟิกฮุซซิยาม ดร.ยูซุฟ อัลกอรฎอวีย์ ดารุ้ลวะหาฮฺ หน้า 32)
วัสลาม