ผู้เขียน หัวข้อ: คนตายละหมาดในกุบูร เขาว่าเป็นนิยายปรัมปรา? โดย bos101  (อ่าน 15646 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

จาก  http://www.muslimthai.com/mnet/content.php?bNo=42&qNo=997&kword=

bos101

บิสมิลลาฮ์

อัสสลามุอะลัยกุม

ท่านชะบ๊าบ “สลามคุณบอสครับ อ่านแล้วยังไงก็ตอบดั่งที่ผมถามมาบ้างนะ”

ผม “สลามท่านชะบ๊าบ ผมคิดว่ากระทู้นี้ยาวแล้ว คิดว่าน่าจะเปิดกระทู้ใหม่ ความรู้ผมน้อยครับ แต่ผมจะตอบท่านแน่ อินชาอัลลอฮ์...เอางี้ครับ ถ้าผมเปิดกระทู้ใหม่ท่านก็ตามไปด้วยละกันนะครับ”

................

ผมได้สนทนากับท่านชะบ๊าบในกระทู้ ยามาอะฮ์ตับลีฆ http://www.muslimthai.com/mnet/content.php?bNo=45&qNo=902&kword=#ANS6604 โดยมีการอ้างถึงบทความของ อ.มุรีด ทิมะเสน เรื่อง เมื่อนิยายปรัมปรากลายเป็นคำสอนของศาสนา(1) http://www.mureed.com/article/Tableak/TL5/Tableak5-html.htm ซึ่งผมได้ถามท่านชะบ๊าบในบางประเด็นของบทความ หลังจากที่ท่านชะบ๊าบตอบมาผมเห็นว่าการสนทนาค่อนข้างแคบลงกว่าหัวข้อที่ จขกท. ตั้งไว้มาก อีกทั้งรายละเอียดในประเด็นนี้อย่างเดียวก็ค่อนข้างมากจะทำให้กระทู้ยาวจนเกินไป และเพื่อให้ผู้ศึกษาได้มีกระทู้เฉพาะเกี่ยวกับประเด็นนี้ผมจึงหารือให้มีการเปิดกระทู้ใหม่ ดังนั้นผมจะดำเนินการเสวนาในกระทู้นี้ ผมขอวิจารณ์บทความนี้ตามประเด็นที่ผมใช้เป็นคำถามที่ถามท่านชะบ๊าบนะครับ

 

ก่อนจะพูดผมอยากให้ผู้อ่านเข้าใจตามนี้ก่อนนะครับ

1.    เดือนรอมฎอนมิได้ห้ามให้พูดประเด็นเหล่านี้ ผมไม่อยากให้ใครออกมาพูดแบบนี้โดยเฉพาะคนที่โจมตีญะมาอะฮ์ตับลีฆว่าพวกเขามีกฎห้ามคุยเรื่องคิลาฟกัน

2.    “ทำไมไม่โทรไปคุยกับ อ.มุรีด” ผมไม่อยากให้ใครพูดเช่นนี้ เพราะท่าน อ. เองไม่ได้โทรไปสำทับตับลีฆแต่ใช้พื้นที่สาธารณะชี้แจง และส่งผลให้เกิดความเสียหายในวงกว้าง ไม่ว่าจะกับจิตใจของพี่น้องบางส่วนหรือกับเนื้อหาทางวิชาการ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องจึงต้องใช้พื้นที่สาธารณะชี้แจงเช่นเดียวกัน

               อนึ่ง ได้มีการเตือนอ.มุรีดแล้วหลังจากบทความนี้ถูกเผยแพร่ ในบอร์ดคุยกับมุรีดคำถามเลขที่ 7106 ลงวันที่ 30/6/2007 แต่ระยะเวลาปีกว่าบทความไม่ได้ถูกแก้ไข และไม่มีคำชี้แจงใดๆ

3.    ผมจะเขียนเฉพาะที่เกี่ยวกับบทความของท่านอาจารย์บทความที่ 5 หากท่านใดจับต้นชนปลายไม่ถูกให้ไปอ่านบทความดังกล่าวตามลิงค์ที่ให้ไว้ในต้นกระทู้ด้วยครับ

4.     บทความชิ้นนี้ถูกเผยแพร่มาไม่ต่ำกว่าสองปีสร้างความเข้าใจผิดให้พี่น้องมากมายโดยเฉพาะผู้ที่นิยมชมชอบในตัวท่านอ.มุรีด ยกตัวอย่าง

                   “พี่น้องครับยังมีอีกนะเอ้า ..คุณค่าอาม้าล หน้า87...คนตายไปแล้วนะ (ย้ำเลยว่านายคนนี้ตายไปแล้ว) แต่ละหมาดได้ครับ (นั่น เอากับมันหน่อย)]ละหมาดในกุโบรครับ ในหลุมอีกตะหาก ยืนในหลุมเลย อย่างเท่เค้าบอกว่านายคนนี้ เค้าขอดุอาอฺในเวลาละหมาดเสมอว่าได้โปรดให้ข้าพระองค์ได้โปรดละหมาดในกุโบรด้วยเถิดเอามาจากไหนอะ แบบนี้ไม่ไห้ด่า ไม่ให้ว่าเหรอ ใครกันที่ทำให้ศักดิ์ศรีมุสลิมเสียหาย สอนวัว วัวแบบนี้ ต้องให้เกียรติเหรออะ” 

ข้อความนี้ถูกโพสต์ในเว็บท่านเองเมื่อสามปีที่แล้ว ผมมีทั้งชื่อทั้งไอพี

ยังมีอีกครับ เช่น

“ที่พูดถึงอีหม่านปลอมคือหลักศรัทธาจอมปลอมที่อยู่ในเล่มเขียว เช่น ละหมาดในกุบูร” คำพูดนี้อยู่ในบอร์ดมุสลิมไทยเมื่อกุมภาพันธ์ 50 นี่แค่ตัวอย่างนะครับ

5.    สิ่งที่ผมจะเขียนเป็นการตัดตอนอ้างอิงมาจากข้อเขียนของผมเองอีกชิ้นหนึ่งซึ่งเขียนมาหลายเดือนแล้วเกี่ยวกับการวิพากษ์บทความดังกล่าว อุณหภูมิของงานอาจมีสูงบ้างดังกล่าวก็เพราะด้วยฐานะของบุคคลที่ถูกพาดพิง ความเผลอเรอในการนำเสนออันนำมาซึ่งความเข้าใจผิดเมื่อดูจากต้นทุนของผู้เขียนในสายตาของสังคม ฯลฯ ผมจะคงสำนวนไว้โดยไม่แก้ไขใดๆเนื่องจากหากแก้ไขต้องใช้เวลามาก

6.     ก่อนเริ่มผมจะอ้างอิงความเดิมจากกระทู้ที่แล้วบ้างเพื่อความต่อเนื่อง

7.    คำว่า “ผู้เขียน”หรือ "ท่าน อ." หมายถึง อ.มุรีด “เจ้าของหนังสือ” หมายถึงเจ้าของหนังสือคุณค่าของอามั้ล หากมีคำว่า “เพิ่มเติม” นำหน้านั่นคือส่วนที่ผมเขียนในปัจจุบันเพิ่มเติมจากส่วนที่ได้เขียนมาในอดีต...

 


ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

bos101

ซาบิตที่ถูกพาดพิงคือใคร?

1. ซาเบตที่ถูกระบุเป็นใคร ท่านทราบประวัติหรือไม่?

คำตอบ(ท่านชะบ๊าบ)

ผมเองก็ไม่ทราบและก็ไม่สามารถบอกได้ว่า คนนี้เป็นนักหะดิษที่น่าเชื่อถือหรือไม่ จึงไม่นำมาพิจารณาว่า ด้วยกับคนนี้ท่านเดียวแหละที่จะบอกว่า หนังสือดังกล่าวจะใช้อ่านไม่ได้เลย..คงไม่เป็นเช่นนั้นครับ ดั่งที่ อ.มูรีด ระบุไว้เช่นเดียว ใน ตอนที่ 5 ของบทความดังกล่าว ที่ว่า

   ประเด็นที่สอง  ท่านซาเบต บันนาบี ถูกระบุว่าเป็นนักหะดีษที่จดจำหะดีษเป็นจำนวนมาก แต่ผู้เขียนไม่พบว่าท่านมีชื่อติดอันดับนักรายงานหะดีษ หรือเป็นนักรายงานหะดีษที่ถูกระบุออยู่ตามสายรายงานหะดีษต่างๆ   แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนก็ต้องให้ความยุติธรรม กล่าวคือ ผู้เขียนก็ขอศึกษาค้นคว้าต่อไปว่าท่านซาเบต บันนาบีเป็นนักหะดีษจริงหรือไม่ต่อไป
หากท่านทราบก็สามารถบอกมาได้นะครับ จะได้ยืนยันว่าน่าเชื่อถือจริงๆ เพราะหลักฐานต่างๆก็ขึ้นอยุ่ที่นักสายรายงานใช่ไหมครับ

........................

 

คำที่ท่านชะบ๊าบอ้างมาตั้งแต่คำว่า "ประเด็นที่สอง..." เป็นคำของ อ. มุรีด ซึ่งเป็นประโยคที่ผมได้วิจารณ์ไว้ในข้อเขียนของผม ผมขอนำเสนอประวัติของท่านซาบิตเสียก่อนแล้วจะตามด้วยบทวิจารณ์ครับ

 

ประวัติท่านซาบิต อัลบุนานีย์

 

          ท่านมีชื่อว่า ซาบิต อิบนุ อัสลัม อัลบุนานีย์ มีชื่อรองว่า อบู มุฮำหมัด ท่านเป็นคนรุ่นตาบิอีน เป็นชาวเมืองบัศเราะฮ์ เป็นผู้รู้ที่มีชื่อเสียง เป็นนักรายงานหะดีษที่โด่งดัง และเป็นผู้ที่ทำอิบาดะฮ์มากที่สุดคนหนึ่งในยุคนั้น

 

          ท่านได้ทันศอฮาบะฮ์บางคน และได้รับถ่ายทอดความรู้จากท่านเหล่านั้น เช่น ท่านอนัส อิบนุ มาลิก ซึ่งเป็นศอฮาบะฮ์ที่ท่านรับหะดีษมามากที่สุด นอกจากนั้นยังมีท่าน อับดุลลอฮ์ อิบนุซ ซุเบร ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัร และท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ มุฆอฟฟัล อัลมุซานีย์ รอฎิยัลลอฮุอันฮุม เป็นต้น ซึ่งรายงานที่ท่านรายงานจากท่านอนัสนั้นถูกบันทึกอยู่ในหนังสือหะดีษที่โด่งดังทั้ง 6 เล่ม อันได้แก่ศอเฮียฮ์ทั้งสอง และสุนันทั้งสี่ (ดู อัลมิซซีย์ - ตะฮ์ซีบุลกะมาล ฟีอัสมาอิรริญาล เล่ม 4 หน้า 342 )

 

          ท่านมีลูกศิษย์อยู่มากมายที่ได้รับการถ่ายทอดหะดีษจากท่าน เช่น ท่านญะรีร อิบนุ ฮาซิม ซึ่งเป็นนักรายงานที่โด่งดัง โดยรายงานดังกล่าวถูกบันทึกอยู่ในสุนันทั้งสี่ ท่านฮัมมาด อิบนุ ซะละมะฮ์ ซึ่งสายนี้ถูกบันทึกอยู่ในศอเฮียฮ์มุสลิม สุนันทั้งสี่ และในอัลบุคอรีย์แบบตัดสายรายงาน(ตะอ์ลีก) ท่านหุมัยด์ อัฏฏอวีล นักรายงานที่เป็นที่รู้จักอีกท่านหนึ่ง สายนี้ถูกบันทึกอยู่ในหนังสือทั้งหก ยกเว้นอิบนุมาญะฮ์ และอีกท่านซึ่งเป็นนักรายงานที่สูงส่งคือท่าน ชุอ์บะฮ์ อิบนุล หัจจาจ โดยถูกบันทึกอยู่ในห้าเล่มยกเว้น อิบนุ มาญะฮ์ เช่นกัน (ดู อัลมิซซีย์ – อ้างอิงแล้ว เล่ม 4 หน้า 344-345)

 

          อัลบุคอรีย์ ถ่ายทอดจาก ท่านอลีย์ อิบนุล มะดีนีย์ ว่าท่านซาบิต มีหะดีษที่รายงานมาราว 250 หะดีษ (ดู – อ้างอิงแล้ว เล่มเดียวกัน หน้า 346)

 

          ท่านชุอ์บะฮ์ อิบนุล หัจจาจ กล่าวว่า “ท่านซาบิต อัลบุนานีย์ นั้นอ่านอัลกุรอานทุกวันทุกคืน และมักจะถือศีลอดตลอดเวลา” (ดู อะฮ์หมัด อิบนุ ฮัมบัล – อัลอิลัลวะมะอ์ริฟะตุรริญาล เล่ม 1 หน้า 486)

 

          อัซซะฮะบีย์ กล่าวว่า “มีการกล่าวกันว่า ในสมัยนั้นไม่มีใครทำอิบาดะฮ์มากไปกว่าท่าน” (ดู อัซซะฮะบีย์ – อัลกาชิฟ ฟีมันละฮู ริวายะฮ์ ฟิลกุตุบิซ ซิตตะฮ์ เล่ม 1 หน้า 281) และท่านอิบนุ หิบบาน ได้คัดชื่อท่านไว้ในจำพวกนักรายงานที่เชื่อถือได้ (ดู อิบนุ หิบบาน – อัษษิกอต เล่ม 4 หน้า 89) อัลอิจลีย์ กล่าวว่า “ท่านซาบิต อัลบุนานีย์ เป็นชาวบัศเราะฮ์ เป็นตาบิอีน เชื่อถือได้ เป็นคนซอและห์” (ดู อัลอิจลีย์ – อัษษิกอต เล่ม 1 หน้า 259) ท่านอิมามอะฮ์หมัด อิบนุ ฮัมบัล ท่านยะห์ยา อิบนุ มะอีน ท่านอบูฮาติม อัรรอซีย์ ยืนยันว่าท่านเป็นผู้ที่พูดจริง และเชื่อถือได้ (ดู อิบนุ อบีฮาติม – อัลญัรหุ วัตตะอ์ดีล เล่ม 2 หน้า 449)

 

          ท่านบักร์ อิบนุ อับดิลลาฮ์ อัลมุซานีย์ กล่าวว่า “ผู้ใดยินดีที่จะได้เห็นผู้ที่ทำอิบาดะฮ์มากที่สุดที่ฉันเคยเจอในสมัยของท่าน จงมองไปที่ท่านซาบิต เราไม่เคยพบใครที่ทำอิบาดะฮ์มากไปกว่าท่าน (ดู อัลบาญีย์ – อัตตะอ์ดีล วัตตัจรีฮ์ ลิมันคอรรอญะ ละฮุลบุคอรีย์ ฟิลญามิอิศ ศอเฮียฮ์ เล่ม 1 หน้า 445 )

 

          ท่านอัฟฟาน อิบนุ มุสลิม อ้างอิงจากท่านฮัมมาด อิบนุ ซัยด์ จากพ่อของท่าน จากท่านอนัส อิบนุ มาลิก รอฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า

 

إن لكل شيء مفتاحا وإن ثابتا من مفاتيح الخير

 

“แท้จริงทุกสิ่งนั้นย่อมมีกุญแจ และซาบิตนั้นคือหนึ่งในกุญแจสู่ความดีงาม”

(ดู อิบนุ ซะอ์ดฺ – อัฏฏอบากอตุล กุบรอ เล่ม 7 หน้า 232)

 

ท่านอิมามอัลบุคอรีย์ กล่าวว่า

 

قال لنا سليمان بن حرب عن حماد بن زيد عن أبيه قال أنس أن ثابتا لمفتاح من مفاتيح الخير

 

“ท่านสุไลมาน อิบนุ หัรบ์ ได้กล่าวกับเราจากท่านฮัมมาด อิบนุ ซัยด์ จากพ่อของท่านว่า ท่านอนัส รอฎิยัลลอฮุอันฮุได้กล่าวว่า แท้จริงซาบิตนั้น

คือกุญแจหนึ่งจากกุญแจสู่ความดีงามทั้งหลาย”

(ดู อัลบุคอรีย์ – อัตตารีค อัลกะบีร เล่ม 2 หน้า 159 และดูอ้างอิงเสริมที่ อิบนุ ชาฮีน – ตารีคุลอัสมาอ์ อัษษิกอต เล่ม 1 หน้า 52 และ

อัซซะฮะบีย์ – ตัซกิรอตุล หุฟฟาซ เล่ม 1 หน้า 209)

 

ท่านซาบิต เคยกล่าวว่า “ให้ฉันทำบาปหนึ่งๆแม้จะเป็นบาปใหญ่ก็ตามแล้วฉันได้ทำการขออภัยต่ออัลลอฮ์ แล้วเลิกทำบาปดังกล่าว ยังดีเสียยิ่งกว่าจะให้ฉันทำบาปเล็กแล้วไม่ยอมขออภัยต่ออัลลอฮ์ แล้วเลิกทำบาปดังกล่าว”

ท่านยังกล่าวอีกว่า “ใครที่ทำอิบาดะฮ์นั้นยังไม่ถือว่าเป็นผู้ที่ทำอิบาดะฮ์จริง แม้ว่าเขาจะมีลักษณะดีเด่นอยู่ทั้งหมดก็ตาม จนกว่าเขาจะมี 2 ลักษณะนี้ติดตัว คือ การละหมาด และการถือศีลอด เพราะทั้งสองอย่างนี้นั้น ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่าคือเลือด คือเนื้อ” (ดู อิบนุ ซะอ์ดฺ – อัฏฏอบากอตุล กุบรอ เล่ม 7 หน้า 232)





ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

bos101


ผู้เขียนกล่าวว่า

 

              ประเด็นที่สอง  ท่านซาเบต บันนาบี ถูกระบุว่าเป็นนักหะดีษที่จดจำหะดีษเป็นจำนวนมาก แต่ผู้เขียนไม่พบว่าท่านมีชื่อติดอันดับนักรายงานหะดีษ หรือเป็นนักรายงานหะดีษที่ถูกระบุออยู่ตามสายรายงานหะดีษต่างๆ   แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนก็ต้องให้ความยุติธรรม กล่าวคือ ผู้เขียนก็ขอศึกษาค้นคว้าต่อไปว่าท่านซาเบต บันนาบีเป็นนักหะดีษจริงหรือไม่ต่อไป

 

ประเด็นวิภาษกลับ

 

         การที่ท่าน อ.กล่าวว่าไม่พบว่าท่านซาบิตมีชื่ออยู่ตามสายรายงานต่างๆนั้น แสดงว่าท่าน อ.ได้ค้นหาแล้วแต่ไม่พบ แต่นั่นหาได้ตรงกับความเป็นจริงไม่ เพราะความเป็นจริงก็คือท่าน อ.ไม่ได้เปิดตำราค้นหาด้วยซ้ำ ทำไมจึงมั่นใจเช่นนั้น เพราะว่าการหาชื่อท่านซาบิตนั้น แน่นอนว่าภาษาอาหรับจะต้องเขียนชื่อท่านดังนี้  ثابت بنابي  นี่คือคำเขียนภาษาอาหรับของคำว่า ซาบิต บันนาบี แต่ผู้ที่เป็นนักวิชาการหะดีษได้ยินอย่างนี้ต้องรู้ทันทีว่าผู้แปลหนังสือฟะฎออิลุลอะอ์มาลนั้นแปลผิด(หรือต้นฉบับที่นำมาแปลเป็นไทยนั้น พิมพ์มาผิด) กล่าวคือชื่อจริงๆของท่านคือ ثابت البناني อ่านว่า ซาบิต อัลบุนานีย์ ยิ่งเนื้อความในหนังสือบอกว่าเป็นผู้ท่องจำหะดีษมากมายด้วยแล้วจะไม่มีทางเป็นคนอื่นไปได้อย่างเด็ดขาด

 

          พูดเช่นนี้ผู้อ่านทั่วๆไปที่ไม่ใช่นักวิชาการคงไม่เห็นภาพ แต่หากยกตัวอย่างว่า มีคนกล่าวว่า “ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อับบีส ซึ่งเป็นศอฮาบะฮ์กล่าวว่า.......” แน่นอนว่าคนทั่วไปต้องรู้อยู่แล้วใช่หรือไม่ว่าผู้พูดพูดผิด จริงๆต้องเป็น อิบนุ อับบาส ไม่ใช่อับบีส ฉันใดก็ฉันนั้น นักวิชาการเมื่อได้ยินว่า ซาบิต บันนาบี ก็ต้องรู้ว่าจริงๆคือ บุนานี เพราะในบรรดานักรายงานหะดีษที่ชื่อซาบิต ไม่มีใครมีชื่อหลังว่า บันนาบี จะมีก็แต่บุนานีเท่านั้น

แน่นอนว่าหากท่าน อ.ได้เปิดตำราเพื่อค้นหาจริงๆแล้ว แม้ว่าจะค้นหาโดยคิดว่าท่านชื่อ ซาบิต บันนาบี ก็ตามที แน่นอนว่าจะต้องเจอชื่อที่ใกล้เคียงกันอย่างมากที่ทำให้ผู้คร่ำเคร่งในวิชาหะดีษคิดได้ว่าคำว่า บันนาบี นั้นอ่านผิดมาจากคำว่า บุนานี อย่างแน่นอน(بنابي- بناني )

 

          ในหนังสือ อัตตักรีบ ของอิบนุ หะญัร ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับผู้รายงานหะดีษเล่มเดียวที่ท่าน อ.ใช้อ้างอิงมาตลอดนั้น มีผู้ที่ชื่อว่าซาบิตถูกระบุอยู่ทั้งสิ้นเพียงแค่ 28 คน หรือในจำนวนเพียง 2 หน้ากระดาษเท่านั้น และคนแรกในรายชื่อเหล่านั้นคือท่าน ซาบิต อัลบุนานีย์ คนนี้นั่นเอง เพราะบิดาท่านชื่อว่า อัสลัม ซึ่งขึ้นต้นด้วยอักษร อลิฟ จึงถูกจัดไว้เป็นคนแรกๆในหนังสือประวัติผู้รายงานหะดีษแทบทุกเล่ม แต่ไฉนท่าน อ.จึงอ้างว่าไม่พบชื่อ? แล้วท่าน อ.จะไม่รู้จักท่านซาบิต อัลบุนานีย์ ได้อย่างไรเล่าในเมื่อหนังสือของท่าน อ.เองก็มีชื่อของท่านระบุอยู่!!

 

          ในหนังสือ หะดีษ เฎาะอีฟ เล่ม 1 หน้า 9 ของท่าน อ.เองระบุว่า

 

“หะดีษที่ 1

 

ท่านมุหัมมัด บุตรของมัรฺซูก อัลบัศรีย์ ฟังจากท่านหาติม บุตรของมัยมูน จากท่านษาบิต อัลบุนานีย์ จากท่านอนัส บุตรของมาลิก จากท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า...”

 

ในหน้า 10 เล่มเดียวกันระบุว่า

 

“หะดีษที่ 2

ท่านเฎาะรีก อบูอัรฺเราะบีอฺ อัลซุฮฺรอนีย์ ฟังจากท่านหาติม บุตรของมัยมูน จากท่านษาบิต จากท่านอนัสเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า...”

 

ในหน้า 11 เล่มเดียวกันระบุว่า

 

“หะดีษที่ 3

 

ท่านอัลหะสัน บุตรของอบู ยะอฺฟัรฺ จากท่านษาบิต อัลบุนานีย์ จากท่านอนัส บุตรของมาลิก เล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า....”

 

ดังนั้นจะอ้างได้อย่างไรว่าไม่พบท่านอยู่ในรายชื่อหรืออยู่ตามสายรายงานต่างๆ ในเมื่อก็มีระบุอยู่ในหนังสือของตนเอง และในตักรีบุตตะฮ์ซีบที่ตนเองมีอยู่ในมือ เมื่อเปิดดูแล้วท่านก็อยู่อันดับแรกของผู้ที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษรษา มิหนำซ้ำท่านยังเป็นผู้รายงานหะดีษที่มีชื่อถูกระบุอยู่ในกุตุบซิตตะฮ์ อันได้แก่อัลบุคอรีย์ มุสลิม อบูดาวูด อัตติรมิซีย์ อันนะซาอีย์ และอิบนุมาญะฮ์ไม่ต่ำกว่า 100 แห่ง! แล้วจะให้เชื่อได้อย่างไรว่าท่าน อ.ได้ทำการค้นคว้าก่อนมาเขียนจริง? หรือได้ค้นคว้าอีกหลังจากนั้นตามที่ได้สัญญาเอาไว้ในท้ายประเด็นวิภาษดังกล่าว?

 

          ท่าน อ.จะอ้างว่าตนเองคิดว่าเป็น บันนาบี จริงๆไม่เคยเอ่ะใจว่าเพี้ยนมาจาก บุนานีย์ นั้นสำหรับชาวบ้านทั่วไปแล้วอาจฟังขึ้น แต่สำหรับผู้มีความรู้นั้นฟังไม่ขึ้นด้วยประการทั้งปวง เพราะภาษาอาหรับใช้รูปเขียนเดียวกัน بنابي – بناني นั่นเอง

................................

 

เพิ่มเติม หนังสือตักรีบุต ตะฮ์ซีบ เป็นหนังสือรายชื่อผู้รายงานหะดีษครับ และมีรายชื่ออยู่ในหนังสืออ้างอิงของ อ.มุรีดครับ หากผู้ใดสงสัยก็ไปเปิดดูท้ายหนังสือช่วงบรรณานุกรมของหนังสือท่านหลายๆเล่มได้ครับ(ที่พูดเพราะเสียวท่านชะบ๊าบบอกว่าคุณบอสอยู่บ้าน อ.เหรอถึงรู้ท่านมีหนังสือไร เดี๋ยวจะพูดไม่ออกอีก)

 

ประเด็นอื่นยังมีนะครับ แต่ผมขอไปทีละนิดครับ

 

วัสสลาม


ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
bos101



 ท่านฮัมมาด อิบนุ ซะละมะฮ์กล่าวว่า “ฉันเคยคิดว่าบรรดานักเล่าเรื่อง(อัลกุศศอศ)นั้นจะไม่ท่องจำหะดีษกัน ฉันจึงทำการสลับสายรายงาน เอารายงานของท่านอนัสไปเป็นของอิบนุ อบีลัยลา เอาของอิบนุ อบีลัยลา มาเป็นของท่านอนัส เพื่อทำให้ท่านซาบิตสับสน แต่ท่านกลับทำให้มันถูกต้องดังเดิมได้ทั้งหมด”

 

       
  ท่านซาบิตได้กล่าวว่า “ท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุล มุฆอฟฟัล เคยเล่าหะดีษเกี่ยวกับอัลหุดัยบียะฮ์ให้ฉันฟัง และฉันได้ติดตามท่าน อนัส อิบนุ มาลิกทั้งสิ้น 40 ปี” (ดู อัลมิซซีย์ – ตะฮ์ซีบุลกะมาล เล่ม 4 หน้า 347-348)

 

          ท่านอิบนุ อุลัยยะฮ์ กล่าวว่า ท่านซาบิต เสียชีวิตในปี ฮ.ศ. 127 มีอายุทั้งสิ้น 86 ปี (ดู อิบนุ หะญัร – ตะฮ์ซีบุต ตะฮ์ซีบ เล่ม 2 หน้า 3) ขออัลลอฮ์ทรงพอพระทัยท่านซาบิต และให้ชนรุ่นหลังได้กล่าวขานและดำเนินตามแบบอย่างอันดีงามของท่านด้วยเทอญ..

........................

ผมยังคงอยู่ในประเด็นคำถามที่หนึ่งที่ถามไปอยู่นะครับ เกี่ยวกับเรื่องที่มาที่ไป หาเจอหาไม่เจอ มีหรือไม่มี ซึ่งวันนี้ผมขอเสนอประเด็นต่อเนื่องต่อนะครับ

ท่าน อ.กล่าวว่า

            ประเด็นแรก  ข้อมูลข้างต้นมิได้อ้างแหล่งข้อมูลว่านำมาจากหนังสือเล่มไหน? ซึ่งหากกล่าวถึงมารยาททางวิชาการ ถือว่ามีความบกพร่องในเรื่องการอ้างอิง อย่างน้อยที่สุด ผู้อ่านจะได้ทราบว่าหนังสือที่อ้างอิงมานั้นเป็นหนังสือของนักวิชาการท่านไหน? เชื่อถือได้มากแค่ไหน และเป็นนักวิชาการแนวไหน?  เฉกเช่นการอ้างอิงหะดีษ เพียงแต่อ้างตัวบทหะดีษ โดยไม่อ้างสายรายงานหะดีษ นั่นก็ไม่ทำให้หะดีษบทดังกล่าวได้รับการยอมรับฉันใด ประวัติของท่านซาเบตที่ถูกอ้างอิงมาข้างต้นก็ไม่สามารถอ้างอิงเป็นหลักฐานทางวิชาการได้ฉันนั้น"



ผมเขียนในบทความของผมดังนี้ครับ(อย่าลืมว่าผมอ้างอิงประวัติท่านอย่างมีที่มาที่ไปแล้วนะครับ)

..................................

แน่นอนว่าการอ้างอิงที่มานั้นย่อมดีกว่า แต่การที่เชคมุฮำหมัด ซะกะรียา เจ้าของหนังสือไม่ได้อ้างอิงที่มานั้น ไม่ใช่เหตุผลที่จะทำให้ท่านคิดว่านั่นเป็นนิยายที่แต่งขึ้นเอง โดยไม่ยอมค้นคว้าหาที่มาแม้จะได้มีการทักท้วงแล้วก็ตาม ดังนั้นหากถามกลับว่า หากเรื่องราวของท่านบางส่วนหรือทั้งหมดถูกอ้างอิง มีที่มาชัดเจน เป็นอุลามาอ์หะดีษที่โลกอิสลามยอมรับท่าน อ.จะทำอย่างไร? ในเมื่อตามหน้าที่ของผู้ที่จะวิพากษ์วิจารณ์คนอื่นควรจะลุกขึ้นมาค้นคว้าและตรวจสอบ ใช่จะสรรหาคำมาทักท้วงทั้งที่ยังไม่ได้เปิดหนังสือเลย?

 

ที่มาของเรื่องราวการละหมาดในกุบูร

 

          เมื่อผู้อ่านได้รู้จักท่านซาบิต อัลบุนานีย์ จากหนังสืออ้างอิงหลักประมาณ 12 เล่มแล้ว คงชัดเจนว่าการอ้างว่าไม่พบชื่อท่านติดอันดับนักรายงาน หรืออยู่ตามสายรายงานต่างๆนั้น แน่นอนว่าฟังไม่ขึ้น 12 เล่มดังกล่าวคือหนังสือประวัติผู้รายงานเท่านั้น แต่หากรวมหนังสือที่บันทึกสายรายงานที่มีชื่อท่านปรากฏอยู่แน่นอนว่ามีมากกว่า 20 เล่ม หากท่าน อ.ได้ทราบว่าท่านซาบิตคือตาบิอีนนั้น แน่นอนว่าท่านและลูกศิษย์ลูกหาจักต้องสำรวมมากกว่านี้ และไม่กล่าวถ้อยคำที่ไม่เหมาะสมกับท่านดังผู้อ่านจะได้เห็นต่อไป

 

          เมื่อเราย้อนกลับมาเข้าประเด็นเนื้อหาในหนังสือ ฟะฎออิลุลอะอ์มาล ที่กล่าวถึงการที่ท่านซาบิต ได้ยืนละหมาดหลังจากที่ท่านเสียชีวิตไปแล้วในหลุมฝังศพของท่าน โดยเจ้าของหนังสือมิได้อ้างอิงที่มา และท่าน อ.ก็มิได้ค้นคว้าโดยทึกทักทันทีที่มันขัดกับสติปัญญาของท่าน อ.ว่าเป็นเพียงนิยายปรัมปราที่แต่งขึ้นเท่านั้น แต่จริงๆแล้วนิยายดังกล่าวนั้นมีบันทึกอยู่ในหนังสือวิชาการหะดีษ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ท่านร้องไห้กระทั่งตาพร่ามัว การที่ท่านขอดุอาอ์ให้อัลลอฮ์ทรงอนุญาตให้ท่านละหมาดในหลุมฝังศพของท่าน หรือจะเป็นการที่มีคนเห็นท่านยืนละหมาดในหลุม ทั้งหมดนี้เจ้าของหนังสือล้วนแล้วแต่คัดลอกมาจากหนังสือที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงการวิชาการทั้งสิ้น เพียงแต่มิได้มีการอ้างอิง ซึ่งการไม่มีการอ้างอิง กับการไม่มีมูลความจริง(นิยาย)นั้นต่างกันอย่างมาก

 

          ในส่วนที่เจ้าของหนังสือฟะฎออิลอ้างอิงถึงการร้องไห้ของท่านซาบิตนั้นมีบันทึกไว้ดังนี้

 

“และท่านฮัมมาด อิบนุ ซัยด์ ได้กล่าวว่า ฉันได้เห็นท่านซาบิต ร้องไห้จนกระดูกซี่โครงท่านเคลื่อน และญะอ์ฟัร อิบนุ สุไลมานได้กล่าวว่า ท่านซาบิตร้องไห้กระทั่งตาของท่านแทบจะบอด จึงมีคนท้วงติงท่าน ท่านจึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นแล้วมันจะมีความดีใดๆเหลืออยู่อีกเล่าหากมันมิได้หลั่งน้ำตา และท่านก็ปฏิเสธที่จะรับการรักษาดวงตา”

 

ดู อัซซะฮะบีย์ – ตัซกีรอตุลหุฟฟาซ เล่ม 1 หน้า 125 , อัลบาญีย์ – อัตตะอ์ดีล วัตตัจรีห์ เล่ม 1 หน้า 445 , อิบนุล ญะอ์ดฺ – อัลมุสนัด เล่ม 1 หน้า 209 และเปรียบเทียบกับ ฟะฎออิลุลอะอ์มาล ฉบับแปลภาษาไทย

 

ส่วนเรื่องการขอดุอาอ์ของท่านต่ออัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ให้ท่านได้ละหมาดในหลุมศพท่านมีที่มาดังนี้

 

อิบนุ ซะอ์ดฺ ได้กล่าวว่า

 

أخبرنا عفان بن مسلم قال حدثنا حماد بن سلمة عن ثابت قال إن كنت أعطيت أحدا الصلاة في قبره فأعطني الصلاة في قبري

 

“ท่านอัฟฟาน อิบนุ มุสลิมได้เล่ากับเราว่า ท่านฮัมมาด อิบนุ ซะละมะฮ์ได้เล่าจากท่านซาบิต ว่าท่านกล่าวว่า “หากพระองค์จักทรงให้บ่าวคนใดได้ละหมาดในหลุมศพของเขาได้แล้ว โปรดทรงให้ข้าพระองค์ได้ละหมาดในหลุมศพของข้าพระองค์ด้วยเถิด” ดู อิบนุ ซะอ์ดฺ - อัฎฎอบากอตุลกุบรอ เล่ม 7 หน้า 232 และ อัลมิซซีย์ – ตะฮ์ซีบุลกะมาล เล่ม 4 หน้า 348 ด้วยสายรายงานเดียวกัน

 

          ในสายรายงานของอิบนุ ซะอ์ดฺ นี้เต็มไปด้วยอิมามผู้ทรงความรู้ในวิชาหะดีษ ไม่ว่าจะเป็นท่านอัฟฟาน อิบนุ มุสลิม ท่านฮัมมาด อิบนุ ซะละมะฮ์ หรือท่านอิบนุ ซะอ์ดฺ และท่านซาบิตเองด้วย ดังนั้นอย่างน้อยการขอดุอาอ์ดังกล่าวจากท่านตาบิอีนซอและห์อย่างท่านซาบิตนั้นได้ถูกยืนยันในเชิงวิชาการแล้วว่าเป็นเรื่องจริง จากรายงานของบรรดาอิมาม ดังนั้นคำถามง่ายๆที่น่าจะผุดขึ้นในความคิดของผู้อ่านน่าจะมีว่า “หากการละหมาดในกุบูรเป็นสิ่งไร้สาระในลักษณะนิยายปรัมปราแล้ว ผู้ที่มีความรู้อย่างท่านซาบิตจะขอในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เพื่ออะไร??”

 

          ตกลงคนที่เข้าใจศาสนามากกว่าคือท่าน อ.มุรีด ทิมะเสน หรือว่าท่านตาบิอีนซาบิต อัลบุนานีย์ กันแน่? ในขณะที่ท่าน อ.มุรีด ทิมะเสน ดูแคลนการกระทำนี้ของท่านซาบิตและบอกว่าขัดกับหลักการ(ดูประเด็นวิภาษที่ห้าของท่าน อ. หรือที่จะได้อ้างอิงในลำดับต่อๆไป)แต่บรรดาอุลามาอ์ที่เป็นที่ยอมรับของประชาชาตินี้อย่างเช่นสามสี่ท่านข้างต้น(หรือที่จะได้อ้างอิงต่อไป)กลับร่วมกันรายงานเรื่องนี้และ/หรือนำไปบันทึกในหนังสือของพวกท่านโดยไม่มีใครพูดเช่นที่ท่าน อ.พูด เมื่อการณ์เป็นเช่นนี้ก็เป็นไปได้สองทางคือ

                   หนึ่ง อ.มุรีด รู้มากกว่าบรรดาอิมามเหล่านั้นจึงคิดได้ในสิ่งที่พวกท่านไม่ได้คิดกันเลย หรือ

                   สอง ท่าน อ.ผิดพลาด มีความแปลกแยกทางวิชาการไปเอง เนื่องจากมิได้ค้นคว้า จะเป็นแบบใดก็สุดแล้วแต่ท่านผู้อ่านจะคิด

 

          สายรายงานดังกล่าวนี้เพียงพอแล้ว และหนังสือระดับอัฏฏอบากอต หรือตะฮ์ซีบุลกะมาลก็ย่อมเพียงพอ แต่ในมุสนัด อลี อิบนุล ญะอ์ดฺ ก็มีเช่นกัน

 

حدثنا الوليد بن شجاع نا ضمرة نا بن شوذب قال سمعت ثابتا البناني يقول :  اللهم إن كنت أعطيت أحدا أن يصلي في قبره فأعطني ذلك

 

حدثنا علي بن مسلم نا سيار نا جعفر قال سمعت ثابتا البناني يقول :  اللهم إن كنت أذنت لأحد أن يصلي في قبره فأذن لي أن أصلي في قبري

 

ทั้งสองรายงานนี้พูดถึงการขอดุอาอ์ของท่านซาบิตดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดู มุสนัด อลีย์ อิบนุล ญะอ์ดฺ เล่ม 1 หน้า 209

 

และของอัลบัยฮะกีย์

 

أخبرنا أبو الحسين بن الفضل القطان أنا عبد الله بن جعفر قال ثنا يعقوب بن سفيان ثنا سعيد بن أسد ثنا حمزة عن ابن شوذب قال : سمعت ثابت البناني

يقول :  اللهم إن كنت أعطيت أحدا من خلقك يصلي لك في قبره فاعطينه

 

جعفر بن سليمان الضبعي

قال : و سمعت ثابتا يقول :  اللهم إن كنت أذنت لأحد أن يصلي في قبره فأذن لي

 

ท่านซาบิต กล่าวว่า “ข้าแต่อัลลอฮ์ หากพระองค์ทรงอนุญาตให้ผู้ใดได้ละหมาดในหลุมฝังศพแล้ว ขอพระองค์ทรงอนุญาตให้แก่ข้าพระองค์” ดู อัลบัยฮะกีย์ – ชุอะบุล อีมาน เล่ม 3 หน้า 155 และมีอ้างอิงถึงใน อัลมุดฮิช ของอิบนุล เญาซีย์ หน้า 335 เช่นกัน และอิบนุ อะบีด ดุนยา ในอัตตะฮัจจุด วะกิยามุลลัย หน้า 444

 

          ส่วนเรื่องที่มีคนเห็นท่านยืนละหมาดในกุบูรนั้นมีที่มาดังนี้

 

حدثنا عثمان ابن محمد العثماني قال ثنا اسماعيل بن الكرابيسني قال حدثني محمد بن سنان القزاز قال ثنا شيبان بن جسر عن أبيه قال أنا والله الذي لا إله إلا هو أدخلت ثابتا البناني لحده ومعي حميد الطويل أو رجل غيره شك محمد قال فلما سوينا عليه اللبن سقطت لبنة فإذا أنا به يصلي في قبره فقلت للذي معي ألا ترى قال اسكت فلما سوينا عليه وفرغنا أتينا ابنته فقلنا لها ما كان عمل أبيك ثابت فقالت وما رأيتم فأخبرناها فقالت كان يقوم الليل خمسين سنة فاذا كان السحر قال في دعائه اللهم إن كنت أعطيت احدا من خلقك الصلاة في قبره فأعطنيها فما كان الله ليرد ذلك الدعاء

 

จากชัยบาน อิบนุ ญิซร์ จากพ่อของเขาได้กล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ผู้ซึ่งไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ฉันเป็นคนที่นำร่างท่านซาบิต อัลบุนานีย์ ลงหลุมฝังศพ โดยมีท่านหุมัยด์ อัฏฏอวีล หรือคนอื่น (มุฮำหมัดนักรายงานคนหนึ่งไม่แน่ใจ) เมื่อเราได้ทำการกลบดินนั้นมีดินก้อนหนึ่งร่วงออกมา(จากข้างหลุม-ผู้แปล) ทันใดนั้นฉันได้เห็นท่านกำลังละหมาดอยู่ในหลุมของท่าน ฉันจึงกล่าวกับผู้ที่อยู่กับฉันว่า ท่านเห็นเหมือนกันรึเปล่า? เขาตอบว่า เงียบๆ... เมื่อเราฝังท่านเสร็จ เราจึงไปหาลูกสาวของท่าน แล้วเราก็ถามเธอว่า พ่อของเธอทำอะมั้ลอะไรบ้าง เธอตอบว่า แล้วพวกท่านเห็นอะไรมากันเล่า? พวกเราจึงเล่าให้เธอฟัง เธอจึงบอกว่า ท่านเคยละหมาดในตอนกลางคืนอยู่ 50 ปี เมื่อครั้นถึงเวลารุ่งสางท่านจะขอดุอาอ์ว่า “ข้าแต่อัลลอฮ์ หากพระองค์ทรงให้บ่าวคนใดได้ละหมาดในหลุมศพของเขาแล้ว โปรดทรงให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” และแน่นอนว่าพระองค์อัลลอฮ์จะไม่ทรงผลักไสคำวิงวอนดังกล่าวเป็นแน่...

 

ดู อบู นุเอม – หิลยะตุลเอาลิยาอ์ เล่ม 4 หน้า 1405 และอัลฮาฟิซ อิบนุ รอญับ อัลฮัมบะลีย์ ได้อ้างอิงจากอบู นุเอม อีกทีหนึ่ง จาก ยะซาร อิบนุ หุบัยช์ จากพ่อของเขา ด้วยตัวบทดังกล่าว... ดู อิบนุ รอญับ – อะฮ์วาลุลกุบูร หน้า 68

 

อิบนุลเญาซีย์ ก็อ้างถึงเรื่องราวดังกล่าวเช่นกัน จากชุบบาน อิบนุ ญิซร์ จากพ่อของเขา ด้วยตัวบทดังกล่าว ดู อิบนุล เญาซีย์ – ศิฟะตุศศอฟวะฮ์ เล่ม 3 หน้า 263...

 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 16, 2008, 02:26 PM โดย read »

ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

bos101

ประเด็นต่อเนื่องครับ บทวิภาษที่สามของท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์กล่าวว่า

.....................................

ประเด็นที่สาม  ท่านอบูซันนานได้เล่าว่าเขาเป็นผู้นำมัยยิตของท่านซาเบตไปฝัง เมื่อฝังเสร็จแล้วทันใดนั้นก้อนหินหนึ่งก้อนที่อยู่ริมกุบูรฺ (หลุมศพ) ตกลงไปในหลุมของท่านซาเบตจนทำให้เป็นรู จนกระทั่งเขาแอบมองลงในรูนั้น ผู้เขียนขออธิบายให้ผู้อ่านรับทราบด้วยความเป็นธรรม เป็นข้อเท็จจริงมากที่สุด และผู้อ่านที่เลื่อมใสในกลุ่มญะมาอะฮฺตับลีฆจะต้องให้ความเป็นธรรมกับความจริงต่อไปนี้ด้วย กล่าวคือ ในสภาพแห่งความเป็นจริงเมื่อเราฝังมัยยิตเสร็จแล้ว ดินจะนูน หรือพูนขึ้นเหนือพื้นดินไม่ว่าจะสูงมาก หรือสูงขึ้นมาน้อยก็ตาม แต่จะต้องมีดินที่พูนขึ้นมาอย่างแน่นอน ฉะนั้นการที่ก้อนหินอยู่ที่ริมกุบูรฺแล้วตกหล่นในกุบูรฺจนทำให้เกิดเป็นรูนั้นโดยความสัจจริงตามธรรมชาติ หรือตามวิทยาศาสตร์เป็นไปไม่ได้โดยเด็ดขาด ซึ่งถ้าหากจะทำให้หลุมกุบูรฺเป็นรูด้วยก้อนหินจะต้องใช้แรงอัดอย่างแรงถึงจะทำให้หลุมศพเป็นรูได้ แต่หินจากริมกุบูรฺหล่นที่กุบูรฺไม่สามารถทำให้เป็นรูได้โดยเด็ดขาด ขอย้ำว่าไม่ได้โดยเด็ดขาด ฉะนั้นเรื่องเล่าข้างต้นจึงเป็นเรื่องที่ถูกกุขึ้น หรือถูกอุปโลกน์ขึ้นมาอย่างไม่ต้องสงสัย

(หมายเหตุ กรุณาดูข้อความที่ถูกเน้นเปรียบเทียบกับบทวิจารณ์ของผมครับ)

....................................

ผมวิจารณ์ในบทความว่า

วิจารณ์ประเด็นวิภาษที่สาม

     ในประเด็นวิภาษที่สามนี้ท่านอ.ได้ชี้ให้เห็นว่า เรื่องที่ถูกเล่ามานี้ค้านกับสติปัญญา เพราะหลุมที่ฝังแล้วจะมีดินพูนขึ้นมาเหนือพื้น และไม่มีทางที่มีจะมีหินใดๆตกมาจนทำให้เป็นรู

 

     ประเด็นนี้นั้นท่าน อ.วิเคราะห์เอาจากสำนวนภาษาไทยที่ถูกแปลมาอีกทอดหนึ่งซึ่งไม่ควรนำเป็นหลักในการวิพากษ์วิจารณ์เนื่องจากหน้าที่ของท่าน อ.คือการกลับไปดูต้นฉบับหรือต้นเรื่องที่ถูกรายงานมา การวิจารณ์ลักษณะนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการวิจารณ์งานแปลของผู้แปลว่าแปลออกมาได้ไม่ดีและค้านกับสติปัญญา

 

     หากผู้อ่านย้อนกลับไปดูเนื้อหาที่ถูกรายงานมาจริงๆ(ที่ผู้เขียนนำเสนอในครั้งที่แล้ว)จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นขณะที่กำลังฝัง หาใช่ฝังเสร็จแล้วจนมีดินพอกพูนขึ้นมาเหนือพื้นดินแต่อย่างใด เพราะเมื่อมีการเห็นท่านซาบิตกำลังยืนละหมาดแล้ว ผู้รายงานก็รายงานต่อว่า “เมื่อเราฝังเสร็จ เราจึงไปหาลูกสาวของท่าน...” เรื่องจึงไม่ใช่อย่างที่ท่าน อ.เข้าใจ และไม่ใช่อย่างที่ได้ถูกแปลมา ซึ่งจะโทษเพียงคนแปลอย่างเดียวคงไม่ได้ คงต้องโทษผู้วิจารณ์ด้วย

 

.............................


ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
bos101


วิเคราะห์เรื่องราวการละหมาดในกุบูรของท่านซาบิต(ที่อ้างอิงไว้ในกระทู้ 17# ริวายะฮ์สุดท้าย)

 

    รายงานดังกล่าวมีที่มาจากอัลหิลยะฮ์ของอบูนุเอม ซึ่งในเล่มที่ผมได้อ่านนั้น ท่านอบู

นุเอมได้อ้างอิงสายสืบของท่านไปยัง ชัยบาน อิบนุ ญิซร จากพ่อของเขา ดังนั้นผู้เห็น

เหตุการณ์คือ คนที่ชื่อว่า “ญิซร์” ส่วนอิบนุลเญาซีย์ในศิฟะตุศศอฟวะฮ์นั้นอ้างจาก ชุบ

บาน อิบนุ ญิซร์ (ไม่ใช่ ชัยบาน อิบนุ ญิซร์ ที่อยู่ในอบูนุเอม)จากพ่อของเขา ส่วนในฟะ

ฎออิลุลอะอ์มาลนั้นอ้างจาก อบู ซินาน (หรืออบูซันนานที่ถูกตีพิมพ์) ส่วนในอะห์วาลุลกุ

บูร อิบนุรอญับนั้นอ้างจาก ยะซาร อิบนุ หุบัยช์ จากพ่อของเขา

 

     จะเห็นได้ว่าค่อนข้างมีการสับสนในการอ้างอิงอยู่พอสมควร ซึ่งการพิมพ์หนังสือ

ต่างๆค่อนข้างจะมีส่วนในความสับสนนี้ จริงๆแล้วสายรายงานดังกล่าวไปจบที่ญะอ์ฟัร

อิบนุ ญิซร์ จากพ่อของเขาญิซร์ อิบนุ ฟัรก๊อด ซึ่งญะอ์ฟัรซึ่งเป็นลูกนั้นมีฉายาว่าชุบบาน

(ไม่ใช่ชัยบาน) ผู้พ่อจึงมีชื่อเรียกว่าอบู ชุบบาน ซึ่งเป็นที่มาของการอ้างอิงคลาดเคลื่อนที่

เรียกอบู ชุบบาน เป็นอบู ซินาน(หรือซันนานที่ถูกตีพิมพ์) เนื่องจากแตกต่างกันเพียง

เรื่องของจุดเท่านั้น แต่รูปเขียนเหมือนกัน أبو شبان – أبو سنان 

ส่วนริวายะฮ์ที่ท่านอิบนุ รอญับอ้างมานั้นก็มาจากความผิดพลาดในลักษณะนี้เช่นกัน

กล่าวคือยะซาร อิบนุ หุบัยช์ เพี้ยนมาจาก ชุบบาน(ฉายาญะอ์ฟัร) อิบนุ ญิซร์

  يسار بن حبيش- شبان بن جشرวัลลอฮุอะอ์ลัม...

 

     ริวายะฮ์ดังกล่าวมีความฎออีฟอยู่เนื่องจากมี ญิซร์ อิบนุ ฟัรก๊อดผู้พ่อซึ่งเป็นคนดีหาก

แต่มีปัญหาเรื่องความจำ และยังมีลุกของเขาคือ ญะอ์ฟัร อิบนุ ญิซร์ และมุฮำหมัด อิบนุ

ซินาน อัลกอซซาซ ซึ่งอุลามาอ์ส่วนใหญ่ตัฎอีฟ

     ดังนั้นตามสภาพภายนอกแล้วริวายะฮ์นั้นฎออีฟ และผมเองก็มิได้มีเจตนาปกป้องริวา

ยะฮ์ดังกล่าว หากแต่เป็นที่ทราบกันดีในวิชาการหะดีษว่า บางครั้งนั้นหะดีษที่ได้รับมานั้น

เป็นเรื่องจริงหากแต่ถูกรายงานมาจากคนฎออีฟเท่านั้น นั่นจึงเป็นคำตอบว่าทำไมบรรดา

มุหัดดิษีนจึงไม่ทิ้งฎออีฟและยังคงรายงานและบันทึกฎออีฟไว้ในหนังสือของพวกท่าน

นั่นก็เพราะฎออีฟนั้นอยู่ในสถานะของการรอมุตาบะอาตและชะวาฮิดนั่นเอง และฎออี

ฟก็ยังคงถูกรายงานอย่างไม่มีข้อแม้ในเรื่องที่ไม่ได้บ่งบอกถึงหุกมใดๆสำหรับ

อะอิมมะฮ์กลุ่มหนึ่ง เช่น ท่านอิมามอะห์หมัด อิมาม อิบนุ มะฮ์ดี และท่านอื่นๆ

 

     สิ่งที่ผมต้องการชี้คือ การไม่เคยเห็นรายงานดังกล่าวผ่านสายตามาก่อน(เช่นสภาพ

ของท่าน อ.)หรือการได้เห็นและพิสูจน์ได้ว่าริวายะฮ์นี้ฎออีฟ(เช่นสภาพของผมเอง)นั้น

ไม่ทำให้เรามีความชอบธรรมเพียงพอที่จะกล่าวหาว่าเป็นเพียงนิยายปรัมปรา ตราบใดก็

ตามที่ไม่ขัดกับหลักการของศาสนาและไม่แย้งกับสติปัญญา...สิ่งที่ต้องมาวิจารณ์กัน

จริงๆ(ถ้าหากจะวิจารณ์)นั่นก็คือ “ความเป็นไปได้” ของเรื่องนั้นๆ มากกว่าเพียงแค่การ

บอกว่าไม่เคยผ่านหูผ่านตา เพราะนั่นไม่ใช่หลักการในการปฏิเสธเนื้อหาใดๆในเชิง

วิชาการ หรือการวิเคราะห์เพียงแค่ลักษณะของสายสืบ เพราะนั่นเป็นการตัดสินจาก

ลักษณะภายนอก ซึ่งอาจตรงหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงก็ได้(ดูรายละเอียดมัสอะละฮ์นี้

ได้จากหนังสือมุศฏอละฮ์ทุกเล่ม) ดังนั้นหากวิเคราะห์กันถึงในข่ายของความเป็นไปได้

หรือไม่ได้นั้น ภาพจะชัดเจนมากขึ้นและได้สาระในเชิงวิชาการมากกว่า ดังที่ผู้อ่านจะได้

เห็นต่อไป

 

................................

 

ในคราวหน้าผมจะย้ายไปสู่ประเด็นคำถามที่สองที่ถามท่านชะบ๊าบว่า

คนตายละหมาดในกุบูรเป็นนิยายหรือไม่ โดยท่านชะบ๊าบคิดว่าใช่และ

ถามกลับมาว่ามีหลักฐานหรือไม่? ซึ่งนี่ถือเป็นประเด็นหลักของเรื่องนี้นะครับ

เรื่องของท่านซาบิตจะเป็นไปได้หรือไม่ได้อยู่ตรงนี้แหละครับ โปรดติดตามต่อไป....

 

วัสสลาม


ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
bos101


สลามท่านชะบ๊าบและพี่น้องทุกท่านครับ

ประเด็นคำถามแรกผมนำเสนอจบไป รออยู่วันนึงท่านชะบ๊าบหรือท่านอื่นไม่ได้วิจารณ์ข้อมูลของผม ผมขอเสนอประเด็นต่อไปเลยนะครับ "การละหมาดของคนตายในกุบูรมีหลักฐานหรือไม่?"

ผมถามท่านชะบ๊าบว่า "2. การละหมาดของคนตาย(ไม่ว่าเป็นใคร)ในกุบูรถือเป็นนิยายไร้สาระในทัศนะของท่านด้วยใช่หรือไม่? เพราะอะไร?"

ท่านชะบ๊าบตอบว่า "คำตอบคือใช่ครับ" แล้วก๊อบคำพูด อ.มุรีดมา ซึ่งผมจะได้อ้างอิงต่อไป แล้วถามผมว่า "ผมขอถามกลับไปว่า  การละหมาดของคนตาย(ไม่ว่าเป็นใคร)ในกุบูรถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ เพราะอะไร แล้วหลักฐานว่าอย่างไร"

ดังนั้นผมขอเริ่มโดยการอ้างอิงบทความท่านอ.มุรีด ก่อนครับ

.................................................

"ผู้อ่านจะต้องพิจารณาตามหลักการของศาสนาก่อนว่า มีหลักฐานจากอัลกุรฺอาน หรือหะดีษบทไหนไม่ที่ระบุว่าคนที่ตายแล้วสามารถจะนมาซในหลุมศพของตนเองได้? หรือมีระบุจากหลักฐานบทใดที่อ้างว่าพระองค์อัลลอฮฺยกเว้นบ่าวของพระองค์บางคนโดยทำให้เขาสามารถนมาซในหลุมศพของเขาได้บ้าง? ปรากฏว่าไม่พบหลักฐานเช่นนั้นแม้แต่บทเดียว หากผู้เลื่อมใสในกลุ่มญะมาอะฮฺตับลีฆท่านใดที่มีหลักฐานข้างต้น กรุณาแจ้งมาที่ผู้เขียนทราบโดยด่วน เพราะผู้เขียนจะได้นำมาเผยแพร่ให้มุสลิมคนอื่นได้เข้าใจใหม่ว่า มัยยิต (ผู้ตาย) บางคนสามารถนมาซในกุบูรฺของเขาได้...หวังดีต้องการให้ผู้เลื่อมใสในกลุ่มญะมาอะฮฺตับลีฆเร่งทำอิบาดะฮฺ โดยเฉพาะนมาซตะหัจญุด (นมาซในยามค่ำคืน) แต่ประสงค์ร้ายตรงที่นำนิยายที่ขัดแย้งกับคำสอนของอิสลามมาเป็นสื่อทำให้ผู้อ่านนิยายเหล่านั้นคล้อยตามและลงมือปฏิบัติตามโดยคิดไปว่านั่นคืออะกีดะฮฺที่ถูกต้องมาเป็นหลักฐานอ้างอิง ทั้งๆ ที่นั่นคือสิ่งที่ขัดแย้งกับอิสลามอย่างสิ้นเชิง เพราะอิสลามมิได้บัญญัติไว้ว่าคนตาย ได้รับอนุญาตให้ปฏิบัติการงาน (อะมัลอิบาดะฮฺ) อะไรในกุบูรฺ หรือโลกในอะลัมบัรฺซักฺ (โลกภายหลังความตาย) ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวไว้ว่า “ إذا مات الإنسان إنقطع عنه عمله إلا من ثلاثة إلا من صدقة جارية أو علم ينتفع به أو ولد صالح يدعو له “ ความว่า “เมื่อบุคคลหนึ่งตายลง การงานของเขาขาดตอนทันที ยกเว้น (การงาน) จากสามประการนี้เท่านั้น (ได้แก่) เศาะดะเกาะฮฺญาริยะฮฺ (การบริจาคที่ได้ผลบุญอย่างต่อเนื่อง), ความรู้ที่ถูกยังประโยชน์สำหรับเขา และลูกศอลิหฺ (ลูกที่ไม่ฝ่าฝืนศาสนา)” (บันทึกโดยมุสลิม)"

............................(หมายเหตุ ดูข้อความที่เน้นคอยเปรียบเทียบ)

 

ผมตอบในบทความของผมว่า

 

วิจารณ์ประเด็นวิภาษที่สี่

     4.1 ท่าน อ.ปฏิเสธว่าไม่มีหลักฐานบ่งบอกว่าคนตายแล้วสามารถจะละหมาดในกุบูรได้ โดยย้ำว่าไม่พบหลักฐานดังกล่าวแม้แต่บทเดียว และอ้างอิงหะดีษมุสลิมที่ว่า “เมื่อบุคคลหนึ่งตายลง การงานของเขาขาดตอนทันที ยกเว้น (การงาน) จากสามประการนี้เท่านั้น (ได้แก่) เศาะดะเกาะฮฺญาริยะฮฺ (การบริจาคที่ได้ผลบุญอย่างต่อเนื่อง), ความรู้ที่ถูกยังประโยชน์สำหรับเขา และลูกศอลิหฺ (ลูกที่ไม่ฝ่าฝืนศาสนา)”...

 

     การที่บอกว่าไม่มีหลักฐานว่า “คนตายแล้ว”สามารถละหมาดได้ หรือการอ้างหะดีษที่ว่า “เมื่อบุคคลหนึ่งตายลง...” นั้นบ่งชี้ให้เห็นว่าท่าน อ.มีทรรศนะว่า ไม่ว่าใครหน้าไหนก็แล้วแต่หากตายแล้วก็ไม่สามารถละหมาดในกุบูรได้ ไม่มียกเว้นเป็นอันขาด และไม่พบหลักฐานเรื่องดังกล่าว “แม้แต่บทเดียว” เช่นนั้นท่าน อ.จะว่าเช่นไรกับหะดีษมุสลิมที่ว่า

 

مررت على موسى ليلة أسري بي عند الكثيب الأحمر وهو قائم يصلي في قبره

 

“ในคืนที่ฉันอิสรออ์นั้นฉันได้ผ่านท่านนบีมูซา ณ อัลกะษีบุลอะห์มัร

 ซึ่งท่านกำลังยืนละหมาดอยู่ในกุบูรของท่าน”

 

ซึ่งหะดีษนี้ถูกบันทึกอยู่ในศอเฮียฮ์มุสลิม บทว่าด้วยฟะฎออิลท่านนบีมูซา และอันนะซาอีย์ ในบทกิยามุลลัยล์ และอะห์หมัด ในมุสนัดของท่าน จากท่านอนัส อิบนุ มาลิก รอฎิยัลลอฮุอันฮุ และหนึ่งในผู้รายงานหะดีษนี้จากท่านอนัส คือท่านซาบิต อัลบุนานีย์ และท่านสุไลมาน อัตตัยมีย์

 

และอีกหะดีษของมุสลิม กิตาบุลอีมาน บาบซิกร์อัลมะเซียห์ อิบนิ มัรยัม

 

وقد رأيتني في جماعة من الأنبياء صلوات الله عليهم فإذا موسى صلى الله عليه وسلم قائم يصلي وإذا عيسى بن مريم عليه السلام قائم يصلي وإذا إبراهيم عليه السلام قائم يصلي فحانت الصلاة فأممتهم

“...ฉันเห็นตัวเองอยู่ท่ามกลางบรรดานบี ศอลลัลอฮุอะลัยฮิม วะซัลลัม แล้ว(ได้เห็น)ท่านนบีมูซายืนละหมาด และนบีอีซาละหมาด และนบีอิบรอฮีมยืนละหมาด แล้วก็ได้เวลาละหมาด ฉันก็ได้นำพวกท่านละหมาด”

 

และอีกบทหนึ่งจากท่านท่านรอซูลว่า

 

الأنبياء أحياء في قبورهم يصلون

 

“บรรดานบีนั้นมีชีวิตและละหมาดอยู่ในหลุมฝังศพ”

 

บันทึกโดยอัลบัยหะกีย์ ในญุซหะยาตุลอัมบิยาอ์ ฟี กุบูริฮิม อบูยะอ์ลาในมุสนัด และอัลบัซซารในอัลมุสนัดเช่นกัน อัลฮัยษะมีย์ กล่าวในมัจมะอุซซะวาอิดว่า “รายงานโดยอบู ยะอ์ลา และอัลบัซซาร นักรายงานของอบูยะอ์ลานั้นเชื่อถือได้” และคนที่ตัศเฮียห์หะดีษนี้ได้แก่อัลบัยฮะกีย์ อิบนุหะญัร อัลมุนาวีย์ และท่านอื่นๆ และสิ่งที่น่าสังเกตคือหนึ่งในผู้รายงานหะดีษนี้คือ ท่านซาบิต อัลบุนานีย์

 

      และอีกหะดีษหนึ่งซึ่งเป็นหะดีษยาวเกี่ยวกับการที่บรรดาการงานของเราล้วนแต่มาอยู่เป็นเพื่อนเราในกุบูร และเมื่อมลาอิกะฮ์มาสวบสวนเรานั้น...

 

فيقال له : أرأيتك هذا الذي كان فيكم ما تقول فيه ؟

 وماذا تشهد عليه ؟ فيقول

  دعوني حتى أصلي ، فيقولان : إنك ستفعل

 

“ท่านเห็นว่าชายคนนี้(ท่านนบี)ที่อยู่ในหมู่พวกท่านเป็นอย่างไร? และจะยืนยันอย่างไรเกี่ยวกับเขา? เขา(ผู้ตายในกุบูร)กล่าวตอบว่า “ปล่อยให้ฉันละหมาดก่อน” มะลาอิกะฮ์ทั้งสองจึงกล่าวว่า ท่านจะได้ละหมาดแน่...”

 

บันทึกโดยอิบนุ หิบบาน และอัลฮากิม ท่านกล่าวว่า ศอเฮียฮ์ตามเงื่อนไขของมุสลิม และอัซซะฮะบีย์ไม่ได้วิจารณ์ใดๆ

 

แล้วบรรดานบีนั้นตายไปแล้วด้วยอิจมาอ์ใช่หรือไม่? แล้วพวกท่านละหมาดกันได้อย่างไร? ไม่ต้องเข้าประเด็นที่ว่าละหมาดของพวกท่านเป็นอย่างไรเหมือนหรือแตกต่างกับเราอย่างไร? แต่ประเด็นคือการละหมาดของพวกท่าน(ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร)ล้วนเป็นการงานหนึ่งที่ท่านเคยทำมาในสมัยที่ยังมีชีวิต และหะดีษที่ท่าน อ.ยกมาชนนั้นบอกว่ามนุษย์นั้น(ไม่ว่าหน้าไหนตามอุมูม)เมื่อตายแล้วการงานขาดตอนมิใช่หรือ? คำถามคือจะให้บอกว่าหะดีษต่างๆที่ผมยกมานั้นมันฎออีฟ(ซึ่งไม่ใช่)หรือว่าจะให้ถามท่าน อ.กลับว่าสิ่งที่ท่านเข้าใจจากหะดีษที่ท่านยกมาเองนั้นผิดพลาด? แน่นอนว่าต้องเป็นอย่างหลัง คำว่าการงานขาดตอนนั้นหมายถึง “ผลบุญ”จากการงานที่เขาเป็นผู้กระทำเองจากการมอบหมาย(ตักลีฟ)จากอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ดังนั้นจึงไม่มีความหมายทั้งโดยทางตรงทางอ้อม หะกีเกาะฮ์หรือมะญาซว่าคำว่าการงานขาดตอนนั้นหมายถึงไม่สามารถทำอะไรได้อีกเลย ซึ่งหะดีษที่ผมได้ยกมานั้นล้วนเป็นพยานว่าการเข้าใจดังกล่าวนั้นผิดพลาด

 

     หากท่าน อ.จะอ้างว่าหะดีษที่ผมยกมานั้นเกี่ยวกับบรรดานบีไม่ใช่คนทั่วไป ก็ขอตอบดังนี้

ประการแรก ท่าน อ.ยกหะดีษเมื่อคนตายการงานจะขาดมา เพื่อบ่งบอกว่าไม่ว่าใครก็แล้วแต่ตายแล้วก็ไม่สามารถจะละหมาดได้(ซึ่งรวมบรรดานบีไว้ด้วย)ดังที่ท่านได้เขียนเอาไว้เอง และถือว่านั่นเป็นตัวบทอามที่ไม่ถูกตัคศีศเลย(ในความเข้าใจของท่าน) หากจะอ้างเช่นนี้นั้นแสดงว่าท่านได้ยอมรับแล้วว่ามีบางคนเคยละหมาดในกุบูรจริง และข้อกล่าวหาทั้งหลายแหล่ที่ท่านวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่นนั้นก็จะกลับมาเข้าตัวทั้งหมด และคำกล่าวหาล้อเลียนเยาะเย้ยต่างๆจากใครก็ตามที่เคยพูดไว้ก็จะไม่ลงไปหาเฉพาะท่านซาบิตแต่จะไปหากระทั่งผู้ที่เป็นอัมบิยาอ์!

ประการต่อมา หะดีษบทสุดท้ายที่ผู้เขียนยกมานั้นมิได้เกี่ยวกับบรรดานบีเลยหากแต่พูดถึงมุอ์มินทั่วไป ดังนั้นหากอัลลอฮ์จะประสงค์อนุญาตให้ผู้ใดละหมาดในกุบูรของเขาได้เขาก็จะละหมาดได้ ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นนบีเท่านั้น

 

.......................................

 

ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

bos101

เพิ่มเติม

เชคอัลอัลบานีย์ รอหิมะหุลลอฮ์ ได้กล่าวไว้ใน อะห์กามุลญะนาอิซ วะบิดะอุฮา ว่า

وقول ابن التين : ( هو من شراح (( صحيح البخاري )) واسمه عبد الواحد ) (( الموتى لا يصلون )) . ليس بصحيح ،

 لانه لم يرد نص في الشرع بنفي ذلك ، وهو من الامور الغيبية التي لا ينبغي البت فيها إلا بنص ، وذلك مفقود ،

بل قد جاء ما يبطل إطلاق القول به ، وهو صلاة موسى عليه الصلاة والسلام في قبره كما رآه رسول الله صلى الله عليه وسلم

 ليلة أسري به على ما رواه مسلم في(( صحيحه)) ، وكذلك صلاة الانبياء عليهم الصلاة والسلام مقتدين به

 في تلك الليلة كما ثبت في (( الصحيح)) بل ثبت عنه صلى الله عليه وسلم أنه قال: (الانبياء أحياء في قبورهم يصلون)

أخرجه أبو يعلى باسناد جيد ،وقد خرجته في ( الاحاديث الصحيحة ) (622) . بل قد جاء عنه صلى الله عليه وسلم ما هو أعم مما ذكرنا ،

 وذلك في حديث أبي هريرة في سؤال الملكين للمؤمن في القبر :( فيقال له اجلس ، فيجلس قد مثلت له الشمس وقد آذنت للغروب ،

 فيقال له : أرأيتك هذا الذي كان فيكم ما تقول فيه ؟ وماذا تشهد عليه ؟ فيقول : دعوني حتى أصلي ، فيقولان : إنك ستفعل ) .

 أخرجه ابن حبان في ( صحيحه) (781) والحاكم (1/379-380) وقال ( صحيح على شرط مسلم ) ووافقه الذهبي ! وإنما هو حسن فقط ، لان فيه محمد بن عمرو ولم يحتج به مسلم وإنما روى له مقرونا أو متابعة .

فهذا الحديث صريح في أن المؤمن أيضا يصلي في قبره ، فبطل بذلك القول بأن الموتى لا يصلون

 

 
 

ออฟไลน์ read

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 130
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
bos101

เชคอัลอัลบานีย์กล่าวว่า

"คำกล่าวของอิบนุตตีนที่ว่าคนตายจะไม่ละหมาดนั้นไม่ถูกต้อง เพราะไม่มีหลักฐานในศาสนาปฏิเสธเรื่องดังกล่าว เรื่องนี้เป็นเรื่องเหนือการรับรู้ที่หากจะฟันธงต้องมีหลักฐานเท่านั้นซึ่งมันไม่มี(หมายถึงหลักฐานที่ว่าคนตายจะไม่ละหมาด-ผู้แปล) ตรงกันข้ามกลับมีหลักฐานที่มาหักล้างคำพูดดังกล่าว นั่นก็คือท่านนบีมูซาที่ละหมาดในหลุมศพของท่านที่ท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวัซัลลัม ได้เห็นในคืนอิสรออ์ซึ่งบันทึกอยู่ในศอเฮียฮ์มุสลิม และการที่บรรดาอัมบิยาอ์ละหมาดตามหลังท่านนบีในคืนเดียวกันที่ถูกบันทึกอยู่ในศอเฮียฮ์

ยิ่งกว่านั้นยังมีรายงานจากท่านที่ว่า "บรรดานบีนั้นมีชีวิตอยู่ในหลุมศพของพวกท่านและละหมาดอยู่" บันทึกโดยอบู ยะอ์ลา เป็นสายสืบที่ดี...ยิ่งกว่านั้นยังมีรายงานจากท่านอีกที่กว้างกว่าที่ได้เสนอไว้ข้างต้น นั่นก็คือหะดีษท่านอบู ฮุรอยเราะฮ์ ในเรื่องที่มะลาอิกะฮ์ทั้งสองได้มาสอบสวนมุอ์มินในกุบูร...(หะดีษที่อ้างไว้แล้ว-ผู้แปล)...หะดีษนี้ถือเป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่ามุอ์มินทั่วไปก็สามารถละหมาดในกุบูรได้เช่นกัน ดังนั้นคำกล่าวที่ว่าคนตายจะไม่ละหมาดนั้นถือเป็นอันตกไป"

อะห์กามุลญะนาอิซ


ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 salam

เป็นการตอบแก้ต่างของท่าน bos101 ที่มีต่อบทความบังมุรีดที่ละเอียดละออมาก  และผมคิดว่าบทความของบังมุรีดนั้นเหมาะสำหรับผู้ไม่รู้ศาสนาอ่านครับ

วัสลาม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ คนอยากรู้

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 621
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
 salam

นี่ก็อีกครั้งหนึ่งที่ **** มีความผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า บนความเข้าใจตนเอง  แล้วเฉไฉ ว่า  นี่คือ  การกระทำของท่าน  นั้น เป็นการเผยแพร่ตามกีตาบุลลอฮ์และซุนนะท่านนบี
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 18, 2008, 08:23 AM โดย قطوف من أزاهير النور »

ออฟไลน์ คนอยากรู้

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 621
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
 

นี่ก็อีกครั้งหนึ่งที่ **** มีความผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่า บนความเข้าใจตนเอง  แล้วเฉไฉ ว่า  นี่คือ  การกระทำของท่าน  นั้น เป็นการเผยแพร่ตามกีตาบุลลอฮ์และซุนนะท่านนบี
ไม่ว่า เรื่องศรัทธาต่อพระผู้เป็นเจ้า..ในเรื่องความเข้าใจ การเอียะติกอด ต่อคุณลักษณะของพระองค์ และอีกหลายๆอย่าง

จึงขอถามอัลอัชฮารีย์ว่า

  การเผยแพร่ศาสนาใดๆก็ตามของเขา  ถ้าหากเรารู้และมีหลักฐานชี้ชัดว่า ....เขามีความเข้าใจในเรื่องการเอียะติกอด ต่อคุณลักษณะของพระองค์ ที่ไม่เหมือนชาวอะลิสซุนนะวัลญามาอะ   เช่น  การที่เขาเชื่อมั่นว่า.....

  - อัลลอฮ์ทรงมีทิศทาง ในการประทับ

  - อัลลอฮ์นั้นทรงสถิตย์อยู่บนบรรลังค์

  - อัลลอฮ์มีรูปร่างคล้ายมนุษย์หรือ กับมัคโล้คอื่นๆ


ซึ่งความเข้าใจที่เขาพยายามยกมาเผยแพร่ในด้านสื่อต่างๆของเขา..

เมื่อเป็นเช่นนี้(คือเรารู้แล้ว..ว่าเอี๊ยะติกอดเขาไม่ถูกต้องเป็นอันดับแรกแล้ว )  จำเป็นอีกหรือไม่...ในการที่เราจะรับเอาความรู้ด้านอื่นๆ ในสิ่งที่เขาเผยแพร่หรือสั่งสอน มาปฏิบัติ... natural:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 18, 2008, 08:24 AM โดย قطوف من أزاهير النور »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
เมื่อเป็นเช่นนี้(คือเรารู้แล้ว..ว่าเอี๊ยะติกอดเขาไม่ถูกต้องเป็นอันดับแรกแล้ว )  จำเป็นอีกหรือไม่...ในการที่เราจะรับเอาความรู้ด้านอื่นๆ ในสิ่งที่เขาเผยแพร่หรือสั่งสอน มาปฏิบัติ... natural:

ผมไม่เห็นด้วยกับการไปเชริทเรื่องศาสนาตามกูเกิ้ลแล้วนำมาตอบโดยไม่กลับไปหาต้นฉบับเดิม  ถือว่าขาดความน่าเชื่อถือในเชิงวิชาการ   และการไปค้นคว้าจากตำราอุลามาอฺ  แล้วนำมาตอบโดยไม่อ้างอิงกลับไปหาเจ้าของคำพูดและนำคำพูดของอุลามาอ์มาเป็นคำพูดของตน  ถือเป็นการโขมยเชิงวิชาการที่ไม่อ้างอิงหวนกลับไปยังปราชญ์ผู้ที่อัลเลาะฮ์ทรงให้ความรู้แก่เขา  ถือว่าไม่มีอะมานะฮ์ในเชิงวิชาการ

แต่หากบังคนอยากรู้จะถามผมว่า "จำเป็นอีกหรือไม่?..."นั้น  ผมก็ขอตอบว่า "แล้วแต่คนเขาจะปรารถนาน่ะ...แต่ผมสงสารนักศึกษาที่ไม่รู้ศาสนา ซึ่งเขาไม่มีความสามารถไปตรวจทานข้อเท็จจริงในข้อมูลได้เลย"

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 18, 2008, 06:38 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ นูรุ้ลอิสลาม

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1356
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
อัสลามุอะลัยกุ้มฯ

       คนที่จะเป็นอาจารย์ของศาสนาได้นั้น  ต้องมีคุณธรรมในการนำเสนอความรู้และมีอะมานะฮ์  หากไม่เป็นเช่นนั้นไม่รู้ว่าอัลเลาะฮ์จะรับอะมัลของเขาหรือเปล่า
لا إله إلا الله محمد رسول الله

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
อัสสลามุ อลัยกุม

             อ้างจาก ข้อความเมื่อ 18/9/2551  เวลา 06:32 am โดย: al-azhary
             
อ้างถึง
ผมไม่เห็นด้วยกับการไปเชริทเรื่องศาสนาตามกูเกิ้ลแล้วนำมาตอบโดยไม่กลับไปหาต้นฉบับเดิม  ถือว่าขาดความน่าเชื่อถือในเชิงวิชาการ

             แต่ทว่า สิ่งเหล่านี้กลับแพร่หลายอย่างมากในสังคมมุสลิมในปัจจุบัน ผมสังเกตเห็นรายงานของเพื่อนที่ทำส่ง อ.นั้น เกือบจะร้อยเปอร์เซ็นต์ เป็นการเสิร์ชข้อมูลจากกูเกิล แล้วนำมาแปะๆ เรียงๆ แล้วก็ส่ง อ. แถมบรรณานุกรม ก็อ้างมั่วสั่ว ไม่ตรงกับความเป็นจริงๆ และบทความที่ทำเผยแพร่แก่นักศึกษาในมหาลัยเกือบทั้งหมด หรือทั้งหมดด้วยซ้ำ เป็นการเสิร์ทจากกูเกิลเช่นกัน น้อยองค์กร หรือน้อยคนมากที่จะค้นหาจากหนังสือ แล้วกรั่นกรองเป็นคำพูดของตัวเอง ดีไม่ดี บทความที่แพร่แจกไป คิดว่ามันดี แต่ที่ไหนได้ ได้มาจากเว็บชีอะฮ์ โดยที่ตัวเองก็ไม่ได้อ่านเลย พอหาเจอก็เอามาลงเวิร์ด แล้วปรินต์ ถ่ายเอกสารเป็นร้อยๆ แผ่นแจก เอาเป็นว่าเสร็จงานกูแล้ว แล้วนักศึกษาจะเหลืออะไรละครับ ลำพังศาสนาก็ไม่ได้เรียน โหลดแต่เพลง พอเค้าแจกบทความก็รับไปอ่าน โดยที่ไม่รู้ต้นตอของบทความเลย ใครจะรับผิดชอบละครับ มันเป็นเรื่องใหญ่ที่หลายคนมองข้าม มองว่าไม่สะลักสำคัญใดๆ ผมเสียใจและเสียดายครับ ที่ญมาอะฮ์ตับลีฆ ได้หายไปจาก มอ.ปัตตานี เป็นเวลาปีกว่าๆ แล้ว แต่ก่อนมีการอ่านหนังสือคุณค่าของอะมัล มีการออกดะอฺวะฮ์ แต่ ณ วันนี้ก็ยังมีการอ่านหนังสือดังกล่าวอยู่ แต่อ่านไปเพื่อวิจารณ์ และล่าสุด ผมไม่เห็นหนังสือดังกล่าวอยู่ที่หอแล้ว ไม่ทราบว่าไปไหน และได้ข่าวว่า หอที่ผมเคยอยู่ ที่มีหนังสือคุณค่าของอะมัลด้วยนั้น ตอนนี้ เด็กที่นิยม อ.มุรีดและ อ.ริฎอ แข็งแกร่งมากๆ ไม่อยากบอกว่าเป็นฝีมือใคร แต่ก็อดสงสัยไม่ได้ - วัลลอฮุ อะอฺลัม

วัสสลามุ อลัยกุม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

 

GoogleTagged