ผู้เขียน หัวข้อ: อาเม้ล  (อ่าน 2493 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ YEE_HAROON

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 27
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อาเม้ล
« เมื่อ: ก.ย. 17, 2008, 08:14 AM »
0

บังครับขอถามอีกนิด อาเม้ลกับเจ้าหน้าที่รับซากาตที่อีหม่ามแต่งตั้งใช่คนเดียวกันหรือไม่ครับ ถ้าใช่ซากาตฟิตเราะก็ควรที่จะเซาะเมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับแล้ว หลังจากนั้นเขาจะเอาไปทำอะไรก็ได้เพราะอาเม้ลอยู่8จำพวกที่รับซากาตเซาะ เช่นเดียวกับฟากีรมิสกีน โปรดชี้แจงให้ผมด้วยครับ(ขอคำนิยามคำว่าอาเม้ลด้วยครับ)

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: อาเม้ลกับเจ้าหน้าที่เก็บซะกาต
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ก.ย. 17, 2008, 11:10 AM »
0

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ

อัลอาแม้ล  คือ  : เจ้าหน้าที่เก็บซะกาตซึ่งอิมามได้แต่งตั้งพวกเขาในการจัดเก็บ  รวบรวมและแจกจ่ายซะกาต  โดยพวกเขาสามารถที่จะได้รับค่าแจ้งในราคาท้องตลาดจากบัยตุลมาลได้  ดังนั้นถ้าหากพวกเขาได้รับค่าจ้างแล้ว  ซาตที่พวกเขาจะได้รับก็ถือว่าตกไป  แต่ถ้าหากไม่ได้รับค่าจ้าง  พวกเขาก็มีสิทธิ์ได้รับซะกาต (หนังสือบุชร็อลกะรีม : 2/59)

ส่วนขณะที่เจ้าหน้าที่ได้ออกไปเก็บซะกาต  แล้วเจ้าของซะกาตได้ส่งมอบซะกาตแก่เจ้าหน้าที่นั้น  ยังไม่ถือว่าเจ้าหน้าที่ได้รับซะกาตเพราะอยู่ใน 8 จำพวก  แต่เจ้าหน้าที่จะได้รับซะกาตก็ด้วยการที่อิมามได้แจกจ่ายให้พวกเขา  กล่าวคือ  หากอิมามได้ให้เป็นค่าจ้างในการเก็บซะกาตแล้ว  เจ้าหน้าที่ก็ไม่มีสิทธิ์รับซะกาต  แต่หากอิมามไม่ได้ให้ค่าจ้าง  ก็ให้อิมามแจกจ่ายซะกาตให้แก่เจ้าหน้าที่ (หนังสืออิอานะฮ์อัฏฏอลิบีน : 2/296) 

ดังนั้นเจ้าหน้าที่ซะกาตนั้น  มีหน้าที่เก็บซะกาตไปให้อิมาม  โดยผู้ออกซะกาตได้มอบหมายให้อิมามทำการแจกจ่ายซะกาตแก่ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับ  หรือเจ้าหน้าที่ซะกาตถูกมอบหมายให้ทำการแจกจ่ายซะกาตแทนอิมามก็ได้หากอิมามได้อนุญาตให้กระทำ  ฉะนั้นในกรณีที่เจ้าของซะกาตได้มอบหมายให้อิมามทำการแจกจ่ายซะกาตแทน ก็ให้เจู้าของซะกาตทำการออกซะกาตโดยเหนียตจ่ายซะกาตในขณะตวงข้าวสารให้กับเจ้าหน้าที่  ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว  แต่ที่ดีแล้ว(เจ้าหน้าที่หรืออิมาม)ผู้ถูกมอบหมายให้แจกจ่ายซะกาตแทน  สมควรทำการเหนียตอีกครั้งในขณะที่ทำการแจกจ่ายให้แก่บรรดาผู้มีสิทธิ์ได้รับ (หนังสือมุฆนิลมั๊วะห์ตาจญ์ : 2/142)

และถ้าหากเจ้าของซะกาตได้มอบหมายให้ผู้นำทำการแจกจ่ายซะกาตแทน  ก็ถือว่าใช้ได้แล้วที่เจ้าของซะกาตทำการเหนียตจ่ายซะกาตขณะที่มอบให้แก่ผู้นำ  หากแม้นว่าผู้นำจะไม่เหนียตในขณะที่แจกจ่ายให้บรรดาผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับก็ตาม  (แหล่งอ้างอิงเดียวกัน : 2/142)

และถ้าหากเจ้าของซะกาตไม่ได้เหนียตขณะที่ส่งมอบซะกาตให้แก่ผู้นำนั้นก็ถือว่าซะกาตใช้ไม่ได้ แม้นว่าผู้นำจะทำการเหนียตแทนในขณะที่แจกจ่ายให้กับ
บรรดาผู้มีสิทธิ์ได้รับซะกาตก็ตาม  เพราะผู้นำเป็นเพียงตัวแทนในการแจกจ่ายเท่านั้นเอง(แหล่งอ้างอิงเดียวกัน : 2/142)
ً
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged