بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ اَلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ
ท่านอิบนุอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวรายงานเช่นกันว่า
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ائْذَنُوا لِلنِّسَاءِ بِاللَّيْلِ إِلَى الْمَسَاجِدِ
"ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า พวกท่านจงให้อนุญาตบรรดาสตรีไปมัสยิดในยามค่ำคืนเถิด" รายงานโดยท่านอัตติรมีซีย์ (520) ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า ฮะดิษนี้ฮะซันซอฮิห์
ท่านอบูดาวูด ได้รายงานจากท่านอับดุลลอฮ์ อิบนุ อุมัร ความว่า
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ لَا تَمْنَعُوا نِسَاءَكُمْ الْمَسَاجِدَ وَبُيُوتُهُنَّ خَيْرٌ لَهُنَّ
"ท่านร่อ ซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า พวกท่านอย่าห้ามบรรดาสตรีของพวกท่าน(กับการไป)มัสยิด โดยที่(การละหมาด)ในบ้านของพวกนางนั้นย่อมดียิ่งกว่าสำหรับพวกนาง" (480)
ท่านอิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุมา กล่าวรายงานว่า
أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ لَا تَمْنَعُوا إِمَاءَ اللَّهِ مَسَاجِدَ اللَّهِ
"แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า พวกท่านอย่าห้ามบรรดาสตรีกับบรรดามัสยิดของอัลเลาะฮ์" รายงานโดยมุสลิม (668)
هَذَا وَشَبَهه مِنْ أَحَادِيث الْبَاب ظَاهِر فِي أَنَّهَا لَا تُمْنَع الْمَسْجِد لَكِنْ بِشُرُوطٍ ذَكَرَهَا الْعُلَمَاء مَأْخُوذَة مِنْ الْأَحَادِيث , وَهُوَ أَلَّا تَكُون مُتَطَيِّبَة , وَلَا مُتَزَيِّنَة , وَلَا ذَات خَلَاخِل يُسْمَع صَوْتهَا , وَلَا ثِيَاب فَاخِرَة , وَلَا مُخْتَلِطَة بِالرِّجَالِ , وَلَا شَابَّة وَنَحْوهَا مِمَّنْ يُفْتَتَن بِهَا , وَأَنْ لَا يَكُون فِي الطَّرِيق مَا يَخَاف بِهِ مَفْسَدَة وَنَحْوهَا . وَهَذَا النَّهْي عَنْ مَنْعهنَّ مِنْ الْخُرُوج مَحْمُول عَلَى كَرَاهَة التَّنْزِيه إِذَا كَانَتْ الْمَرْأَة ذَات زَوْج أَوْ سَيِّد وَوُجِدَتْ الشُّرُوط الْمَذْكُورَة , فَإِنْ لَمْ يَكُنْ لَهَا زَوْج وَلَا سَيِّد حَرُمَ الْمَنْع إِذَا وُجِدَتْ الشُّرُوط
ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวอธิบายว่า "ฮะดิษนี้และเหมือน ๆ กับฮะดิษนี้จากบรรดาฮะดิษต่าง ๆ ของเรื่องนี้ ชัดเจนว่า สตรีจะไม่ถูกห้ามจากการไปมัสยิด แต่ด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ ที่บรรดาปวงปราชญ์ได้กล่าวเอาไว้โดยเอามาจากบรรดาฮะดิษ ก็คือ สตรีต้องไม่ใส่ของหอม , ต้องไม่ประดับประตัวให้สวยงาม , ต้องไม่เป็นสตรีที่มีกำไลข้อเท้าโดยได้ยินเสียงแล้ว , ต้องไม่สวมใส่เสื้อผ้า(สวยๆ)ชั้นดี , ต้องไม่ปะปนกับบรรดาผู้ชาย , ต้องไม่ใช่หญิงสาวหรือหญิงอื่นที่ฟิตนะฮ์อาจจะเกิดขึ้นด้วยกับนางได้ , ต้องไม่อยู่ในหนทางที่เกรงว่าจะเกิดความเสื่อมเสียและอื่น ๆ และการห้ามพวกนางจากการออกไปไปมัสยิด เป็นการห้ามแบบมักโระฮ์(ไม่ควรกระทำ)เมื่อสตรีนั้นมีสามีแล้วหรือมีเจ้านายปกครองโดยมีเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว ดังนั้นหากสตรีที่ยังไม่มีสามีและไม่มีเจ้านาย ถือว่าฮะรอมออกไปมัสยิดเมื่อไม่ครบเงื่อนไขต่าง ๆ" หนังสือชัรห์ซอฮิห์มุสลิม
บทสรุปคือ :
มารดาของผู้ถามนั้น จะไปละหมาดที่มัสยิดโดยครบเงื่อนไขหรือละหมาดที่บ้าน ถือว่าประเสริฐทั้งสิ้น เพราะการละหมาดที่มัสยิดจะได้ผลบุญญะมาอะฮ์ แต่การละหมาดสุนัตตะรอวิห์ที่บ้านนั้นได้ผลดีในการป้องกันการเกิดริยาอฺ(โอ้อวด) ลำพอง เพื่อตอกย้ำซึ่งอีหม่านความศรัทธา เพื่อให้การละหมาดสุนัตเป็นความบะรอกัตมีความศิริมงคลแก่บ้านและครอบครัว มะลาอิกะฮ์ก็จะลงมา ชัยฏอนจะถูกขับไล่ออกจากบ้าน
ดังนั้น ผมจึงขอแนะนำอย่างนี้ครับ เรื่องการจะละหมาดตะรอวิห์ที่บ้านหรือจะทำละหมาดที่มัสยิดโดยครบเงื่อนไขของมารดาผู้ถามนั้น ให้พิจารณาตรงสภาวะจิตใจว่าการละหมาดที่ใหนทำให้มารดาของผู้ถามมีอีหม่านใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮ์มากกว่า มีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลเลาะฮ์มากกว่า ก็ให้เลือกกระทำอย่างนั้นครับ เพราะมีฮะดิษนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เน้นย้ำลักษณะผู้ละหมาดตะรอวิห์ โดยท่านกล่าวว่า
مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ
"ผู้ใดที่ดำรง(ละหมาด)ในเดือนรอมะดอนโดยมีความศรัทธา(ต่อสัญญาของอัลเลาะฮ์) และมีความบริสุทธิ์ใจ(หรือแสวงหาการตอบแทนจากอัลเลาะฮ์) เขาก็จะถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้ว" รายงานโดยมุสลิม (1266)
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ