แต่ผมเห้นด้วยกับท่านอิหม่ามอัชชาฟีอีย์อย่างยิ่งครับที่ท่านปฏิเสธกระบวนการทำบุญอย่างที่บ้านเรากำลังทำกันน่ะครับ
สงสัยเป็นนักสำรวจพี่น้องมุสลิมไทยทั่วไปประเทศไทย จึงฟันธงว่า "กระบวนการทำบุญอย่างที่บ้านเรากำลังทำกันนะครับ" แล้วอะห์มัดอีซารู้หรือครับว่า เขาทำกันอย่างไร ? และความเป็นจริงนั้นเขาทำกันอย่างไร? จุดยืนของเรามีดังกล่าวนี้ครับ
ข้อเสนอแนะ
แต่ระบบของสังคมบ้านเรานั้นถือว่าดี คือมี การทำอาหารให้แก่ครอบครัวมัยยิดและให้พวกเขารับประทานจนอิ่มนั้น เป็นเรื่องที่บรรดาพี่น้องมุสลิมเมืองไทยบ้านเราทำกันอยู่แล้ว และยิ่งไปกว่านั้น บรรดาพี่น้องมุสลิมก็จะช่วยกันทำอาหารและทำบุญให้กับครอบครัวของมัยยิด โดยที่พวกเขาจะทำการบริจาคเงินในขณะที่ไปเยี่ยมผู้ตาย และมีระบบการช่วยเหลือที่ดี ปัจจุบันนี้ หลายท้องที่ มีระบบการช่วยเหลือที่ดี คือจะมีการรวมกลุ่มเป็นสมาชิก เพื่อทำการช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย โดยผู้เป็นอิมามประจำมัสยิด หรือผู้นำในท้องถิ่น ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาและทำการนำเสนอโครงการร่วมเป็นสมาชิกด้วยความสมัครใจเพื่อทำการช่วยเหลือครอบครัวผู้ตาย โดยมีการตกลงร่วมกันว่า หากมีพี่น้องมุสลิมคนใดเสียชีวิต พวกเราจะทำการช่วยเหลือกันในวงเงินอย่างต่ำ เท่านั้น เท่านี้ แล้วแต่สมาชิกในหมู่บ้านจะตกลงกัน เช่น อย่างต่ำ 50 บาท เป็นต้น ซึ่งหากมีพี่น้องมุสลิมเสียชีวิต กรรมการก็จะทำการเก็บเงินของสมาชิกที่ได้ถูกระบุชื่อที่ตกลงกันไว้ หากมีสมาชิก 100 คน ก็จะได้รับการช่วยเหลืออย่างต่ำ 5000 บาท และหากมีสมาชิก 200 คน ครอบครัวผู้ตายก็จะได้รับการช่วยเหลืออย่างต่ำ 10000 บาท ซึ่งดังกล่าวนี้ ถือว่เป็นการเป็นการริเริ่มและช่วยเหลือกันการในการทำความดีงามเลยทีเดียว
ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์(ซ.ล.) กล่าวว่า
من سن في الإسلام سنة حسنة فله أجرها وأجر من عمل بها بعده من غير أن ينقص من أجورهم شيء ومن سن في الإسلام سنة سيئة كان عليه وزرها ووزر من عمل بها من بعده من غير أن ينقص من أوزارهم شيء
" ผู้ใด ที่ได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่ดี แน่นอน เขาจะได้รับผลบุญและได้รับผลบุญของผู้ที่ได้ปฏิบัติตามหลังจากเขาได้(เสียชีวิตไปแล้ว) โดยไม่มีสิ่งบกพร่องลงเลย จากผลบุญของพวกเขา และผู้ใด ทีได้ทำขึ้นมา ในอิสลาม กับหนทางที่เลว แน่นอน บาปของมันก็ตกบนเขา และบาปของผู้ที่ปฏิบัติมัน หลังจากเขา(เสียชีวิตไปแล้วก็ตกบนเขา) โดยไม่มีสิ่งใดบกพร่องลงไปเลย จากบรรดาบาปของพวกเขา" (รายงานโดย ท่านอิมาม มุสลิม ไว้ในซอเฮี๊ยะหฺของท่าน หะดิษที่ 1017)
ดังนั้น จำนวนเงินดังกล่าวที่บรรดาพี่น้องมุสลิมได้ช่วยเหลือแก่ครอบครัวผู้ตายนั้น ถือเป็นโอกาสดีที่ครอบผู้ตายจะทำการเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลเป็นทานซอดาเกาะฮ์ให้กับผู้ตาย โดยบรรดาพี่น้องมุสลิม มาช่วยกันทำอาหารที่บ้านครอบครัวมัยยิดและทำอาหารให้แก่ครอบมัยยิดไปพร้อม ๆ กัน และเราจะทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นทานกี่วันก็ได้ แล้วแต่จะสะดวก หนึ่งวัน สองวัน หรือสามวันก็ดี หากทำบุญ 7 วันก็ยิ่งดี นั่นสำหรับผู้ที่มีความสามารถ ส่วนครอบครัวที่ไม่มีความสามารถและไม่มีระบบการช่วยเหลือจากพี่น้องมุสลิมที่ดี ก็ไม่สมควรหรือกระเสือกกระสนไปทำบุญ บางท่านถึงกับยืมเงินผู้อื่นมาทำบุญ(อาจจะมีแต่ผมไม่เคยได้ยิน) ซึ่งกรณีแบบนี้ ถือว่าเป็นการกระทำที่น่าตำหนิเป็นอย่างยิ่ง อาจจะถึงขั้นหะรอม - วัลลอฮุอะลัม หากทายาทของมัยยิดต้องการจะทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นทานซอดะเกาะฮ์แก่มัยยิดนั้น ก็สามารถกระทำได้เมื่อมีความสะดวกโดยไม่ต้องไปจำกัดว่าต้อง 40 วัน หรือ 100 วัน - วัลลอฮุอะลัม และถ้าหากทายาทผู้ตาย มีความพร้อมและตกลงกันในการทำบุญเลี้ยงอาหาร เพื่ออุทิศส่วนกุศลเป็นทานศอดะเกาะฮ์แด่มัยยิด ก็อนุญาติให้กระทำได้ตามโอกาสและความสะดวก และทำได้ทุกเวลา แม้จะเป็นการให้อาหารหรือเลี้ยงอาหารแค่ 2 - 3 คน ก็ถือว่ากระทำได้ และผู้ตายก็ได้รับผลบุญนั้นด้วย และหากว่ามัยยิดของทายาทเป็นบิดามารดาแล้ว ก็จะได้รับผลบุญโดยตรงไม่ว่าจะทำมากทำน้อยและไม่ว่าจะเป็นเวลาใด - วัลลอฮุอะลัม
หากครอบครัวหรือทายาทผู้ตาย มีทรัพย์สินมากพอและมีมติในหมู่ทายาท ว่าให้ทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อซอดาเกาะฮ์เป็นทานแก่ผู้ตายนั้น ก็อนุญาติให้กระทำได้ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคอาหารแบบข้าวสาร หรือทำการปรุงอาหารเลี้ยงพี่น้องมุสลิม ก็ถือว่าให้กระทำได้ หากมีทายาทบางคนไม่ยินยอมในการเอาทรัพย์สินมาทำบุญเลี้ยงอาหาร ก็อนุญาติให้ทายาทที่ต้องการจะทำบุญเลี้ยงอาหารนั้น เอามรดกส่วนที่เขาได้รับมาทำบุญเลี้ยงอาหารได้ ดังนั้น ผู้อ่านโปรดเข้าใจว่า มรดกหรือทรัพย์สินที่ผู้ตายทิ้งไว้ให้ทายาทนั้น ย่อมเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาทผู้ตาย การนำทรัพย์สินมาใช้ ก็ต้องได้รับการยินยอมจากทายาท แต่มีบางคนพูดอย่างผิด ๆ ว่า "มันเป็นมรดกของคนตาย" หากกินบุญก็เท่ากับกินมรดกของคนตาย!!! ซึ่งคำพูดแบบนี้ ถือว่าผิดและไม่ถูกต้องตามหลักศาสนา เนื่องจากผู้ตายนั้นไม่มีทรัพย์สินใดที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเขาแล้ว แต่มันเป็นกรรมสิทธิ์ของทายาท และหากผู้ตายยังมีหนี้สินอยู่ ก็ไม่อนุญาติให้เอาทรัพย์มรดกที่ผู้ตายทิ้งไว้มาทำบุญเลี้ยงอาหารเป็นทาน ทั้งนี้ทั้งนั้น หากมรดกของผู้ตายไม่สามารกใช้หนี้ได้พอ และการที่มรดกผู้ตายทิ้งไว้ให้ เป็นกรรมสิทธิ์ของเด็กกรำพร้าก็ไม่อนุญาติให้นำมาทำบุญเป็นทานเพราะเนื่องจากมันเป็นกรรมสิทธิ์ของพวกเขา และหากบรรดาทายาทนำเงินที่พวกเขามี มาสมทบกันทำบุญเลี้ยงอาหารเพื่อเป็นทานแก่มัยยิดนั้น ก็อนุญาติให้กระทำได้ แต่ทางที่ดีที่สุดนั้น บรรดาพี่น้องมุสลิมต้องช่วยกันบริจาคช่วยเหลือแก่ครอบครัวผู้ตายและช่วยกันทำอาหารให้กับพวกเขาด้วยการมีระบบช่วยเหลือที่ดี