ผู้เขียน หัวข้อ: การคิลาฟของอุลามาอ์เป็นเราะห์มัตหรือไม่?  (อ่าน 4938 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

السلام عليكم وحمة الله وبركاته

คำพูดที่เราได้ยินบ่อยคือคำว่า "การคิลาฟของอุลามาอ์เป็นเราะห์มัต"  ซึ่งคำกล่าวนี้  มีความหมายที่ถูกต้องหรือไม่? อย่างไร?  เพราะรู้สึกว่า  ยังมีวะฮาบีย์บางท่านยังกังขาเกี่ยวกับถ้อยคำนี้  เรามาเสวนากันครับ

والسلام

al-azhary
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ sufriyan

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 526
  • เพศ: ชาย
  • 0000
  • Respect: +16
    • ดูรายละเอียด
0
นั่นซิครับ จะได้เข้าใจตรงกันและมีพบความเป็นกลางกับคำพูดนี้ซะที เห็นด้วยครับ ที่จะมีการนำมาเสวนา

ออฟไลน์ Sunnah so

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 56
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การคิลาฟของอุลามาอ์เป็นเราะห์มัต แต่การคิลาพของคนเอาวาม หรือ ลิ่วล้อ นี่สิ เป็นอะไร
จงเข้มข้นกับความฝัน และเข้มแข็งกับผลลัพท์ (แอบเอามาจากรถเมล์)

ออฟไลน์ *_,*

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 18
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทำไม่ต้องกล่าวหาคนวะฮาบียื ขนาดนั้น....

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การคิลาฟของอุลามาอ์เป็นเราะห์มัตหรือไม่?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เม.ย. 15, 2007, 06:41 PM »
0
ทำไม่ต้องกล่าวหาคนวะฮาบียื ขนาดนั้น....

ที่ผมเขียนไปข้างต้น  พาดพิงถึงแค่บางคนที่ยังกังขาเท่านั้นครับ  อย่างเช่นบังอะสัน   ที่ยังคงกังขาในกระทู้เรื่อง "เรียนถาม"  แต่ส่วนมากนั้นไม่ใช่  โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าผมเหมารวม

ดูเหมือนว่า  คุณ   Sunnah so แยกแยะประเด็นได้ถูกต้องมากเลยครับ ระหว่าง "การคิลาฟของอุลามาอ์" กับ  "การคิลาฟของคนเอาวาม(ลิ้วล้อ)"

คำว่า อุลามาอ์ ในอัลกุรอานนั้น  มีฐานันดรสูงส่งและเป็นผู้มีความเกรงกลัวต่ออัลเลาะฮ์  การคิลาฟของพวกเขาที่มีความเกรงกลัวนั้นเป็นอย่างไร?

และคนเอาวามที่มักอวดทัศนะของตน  หรือตั้งตนเป็นมุจญฮิด  เป็นต้น  เวลาเขาขัดแย้ง  มันจะมีผลอย่างไร?

นี้คือกรณีศึกษาและให้ความเข้าใจกันครับ 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
0
อัสลามุอะลัยกุ้ม

การขัดแย้งของนักปราชญ์อิสลามถือว่าเป็นเราะฮ์มัตครับ  เพราะหากว่า การขัดแย้งของนักปราชญ์อิสลามไม่ใช่เป็นเราะฮ์มัต  แน่นอนว่า  การขัดแย้งของพวกเขาเป็นความวิบัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้นอย่างแน่นอน  แต่ไม่มีมุสลิมแท้คนใดกล่าวอย่างนั้น  การขัดแย้งหรือมีความเห็นแตกต่างกันในแง่ของฟิกห์เป็นต้น  มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยซอฮาบะฮ์แล้ว  ดังนั้น หากการขัดแย้งเป็นความวิบัติ(ไม่ใช่เราะฮ์มัต)  บรรดาซอฮาบะฮ์ก็คงเป็นกลุ่มแรกที่สร้างความวิบัติให้แก่ประชาชาติอิสลาม แต่ไม่มีมุสลิมแท้พูดอย่างนั้น  นอกจาก

1. พวกชีอะฮ์ที่บอกตรงๆ ว่ามันเป็นความวิบัติ

2. พวกวะฮาบีย์ที่บอกทางอ้อมว่าเป็นความวิบัติ

ดังนั้น วะฮาบีย์กับชีอะฮ์จึงมีทัศนะคล้ายกันที่ว่า  ผุ้ใดที่ไม่ตรงกันตนถือว่าลุ่มหลง ผิด   

ออฟไลน์ isma-il

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 232
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
asan
ผู้ดูแลกระดาน กล่าวว่า

มาดูตัวอย่างดิษเฎาะอีฟที่ผู้รู้มักจะเอามาสอนกัน ต่อนะครับ

หะดิษที่ 5

اختلاف أمتي رحمة
ความแตกต่าง(ความเห็นที่ต่างกัน)ของประชาชาติของฉันนั้น เป็นความเมตตา
...........
หะดิษนี้เป็นหะดิษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา โดยอ้างว่าเป็นคำพูดของท่านนบี  

ดู "الأسرار المرفوعة" (506) ، و"تنزيه الشريعة" (2/402) ، و"السلسلة الضعيفة" (11)

...
ข้อมูลนี้นำมาจากเว็บ http://www.az-sunnah.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&p=1338#1338

1. ข้อความด้านบน คิดเห็นอย่างไร
2. เป็นจริงอย่างที่กล่าวหรือไม่อย่างไร

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การคิลาฟของอุลามาอ์เป็นเราะห์มัตหรือไม่?
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: เม.ย. 19, 2007, 09:01 AM »
0
ผมไม่ได้พูดถึงตัวบทหะดิษและสายรายงานของมัน  แต่  ผมพูดถึง "ความหมายของมัน" และความเป็นจริงที่เกิดขึ้น  เราต้องแยกแยะว่า การขัดแย้งเชิงฟิกห์ของอุลามาอ์นั้น เป็นอย่างไร  การขัดแย้งประเภทใหนที่ทำให้เกิดวิบัติ  ดังนั้น  หากเราเชื่อว่า การขัดแย้งของอุลามาอ์เป็น(นิกมะฮ์)ความวิบัติแล้ว  แน่นอนว่า  บรรดาอุลามาอ์ตั้งแต่สมัยของซอฮาบะฮ์  ยุคสลัฟลงมา เรื่อย ๆ เป็นพัน ๆ ปี  ก็คือผู้ที่สร้างความวิบัติขึ้น  เพราะพวกเขาได้ขัดแย้งกันในประเด็นวินิฉัย แต่ไม่เคยมีใครกล่าวอย่างนี้ 

ดังนั้น  เราพูดถึงความหมายที่เป็นจริง  ไม่ใช่ พูดถึงตัวบทหะดิษดังกล่าว 
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ isma-il

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 232
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมไม่ได้ตั้งใจที่จะถามถึงตัวบทหะดิษ เพราะไม่ทราบว่าเป็นหะดิษ แต่ที่ผมเคยบอกไว้ในกระทู้เรียนถามนั้น เพราะผมเคยได้ยินโต๊ะครูท่านกล่าวไว้เมื่อหลายปีมาแล้ว แต่พอดีไปอ่านเจอในเว็บดังกล่าวก็เลยลองสอบถามท่านทั้งหลายดู

ซึ่งในความคิดเห็นส่วนตัวของผมนั้น เห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำพูดดังกล่าวเพราะว่า โต๊ะครูท่านเคยอธิบายไว้ประมาณว่า (ตามความเข้าใจที่ผมได้จดจำนะ)

ที่ผมเห็นด้วยว่าเป็นเราะห์มัตนั้นเนื่องจากว่า ถ้าหากเราลองมาคิดใคร่ครวญดูนะครับ

สมมุติว่าถ้าหากว่าอูลามาอ์อิสลามทั้งหมดมีความคิดเห็นและได้ลงมติว่า มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน แน่นอนสิ่งนั้นก็จะกลายเป็นอิจมาห์อูลามาอ์ ซึ่งสิ่งนั้น(ประเด็นปัญหา)ก็จะตกเป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคน

เช่น สมมุตินะสมมุติ ผมเป็นคนที่ชอบดื่มกาแฟ แล้วก็ดื่มทุกวัน ต่อมานักวิทยาศาสตร์กล่าวว่ากาแฟมีคาเฟอีน ต่อมานักกฏหมายบอกว่าคาเฟอีนเป็นยาเสพติด และต่อมาอูลามัตอิสลามทั้งโลกก็ลงมติว่าเป็นยาเสพติดเป็นฮารอมห้ามดื่ม  โดยไม่มีอูลามาห์สักคนเดียวเห็นแตกต่าง แน่นอนสิ่งที่จะเกิดขึ้น ผมก็ต้องหยุดดื่มกาแฟ เพราะว่าสิ่งนั้นได้กลายเป็นวาญิบ ถ้าไม่หยุดดื่มก็จะเป็นบาป ผมก็อดดื่มกาแฟที่ชอบ กลิ่นหอมกาแฟก็หอมมากๆ  ท่านลองคิดดูว่าจะทรมานใจแค่ไหน (สำหรับท่านที่ไม่ดื่มก็ไม่ว่ากัน ก็ลองสมมุติสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ท่านชอบแล้วกัน แต่ผมชอบดื่มกาแฟ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เม.ย. 19, 2007, 11:09 AM โดย isama-ae »

ออฟไลน์ Hakeem

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 49
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
สิ่งที่ คุณ อิสมาแอ  นำมานั้นดีมากเลยครับ

ซึ่งไอ้กระผมเองก็เคยเข้าไปดูครับ...และก็นำกรณีที่บังหะสันอ้างถึงสถานะของหะดิสมาให้เพื่อนในเวปนักศึกษาได้ดูพร้อมๆกันครับ
...
ตัวอย่างหะดีษศอหี้หฺ

ท่านอิมามอัลบุคอรีย์ได้รายงานหะดีษบทหนึ่งไว้ในตำราหะดีษศอหี้หฺของท่านดังนี้



حَدَّثَنَا آدَمُ بْنُ أَبِي إِيَاسٍ قَالَ حَدَّثَنَا شُعْبَةُ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ أَبِي السَّفَرِ وَإِسْمَاعِيلَ بْنِ أَبِي خَالِدٍ عَنْ الشَّعْبِيِّ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ عَمْرٍو رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا عَنْ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ: الْمُسْلِمُ مَنْ سَلِمَ الْمُسْلِمُونَ مِنْ لِسَانِهِ وَيَدِهِ وَالْمُهَاجِرُ مَنْ هَجَرَ مَا نَهَى اللَّهُ عَنْهُ

?มุสลิม คือผู้ที่ไม่รังแกบรรดาพี่น้องมุสลิมด้วยลิ้นและมือของเขา และอัลมุฮาญิรฺ (ผู้อพยพ) คือผู้ที่อพยพจากสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซุบฮานะฮูวะตาอาลา) ทรงห้าม

หะดีษบทนี้เป็นหะดีษที่ศอหี้หฺเนื่องจากมีคุณสมบัติห้าประการครบถ้วน คือ

1. มีสายรายงานติดต่อกันไม่ขาดตอน

2. ผู้รายงานทุกคนมีคุณธรรม

3. ผู้รายงานทุกคน มีความจำดีเลิศ

4. ไม่ขัดแย้งกับหะดีษที่แข็งแรงกว่า

5. ไม่มีความบกพร่องอันซ่อนเร้นใดๆในหะดีษ
..............
นักวิชาการทางด้านหะดิษ จะพิจารณา หะดิษตามเงือนไขข้างต้น ในการตัดสินว่า หะดิษเศาะเฮียะ หรือไม่ เศาะเฮียะ เพราะฉะนนั้น ครูผู้สอน ก็จะอ้างอิงตามที่นักหะดิษระบุไว้ ส่วนคนที่ค้นหาหะดิษด้วยตัวเองไม่ได้ ก็ปฏิบัติตามสิ่งที่ผู้สอนบอก โดยการนำเสนอหลักฐานให้ปรากฏ ว่า เรื่องนั้นๆ มีหะดิษเศาะเฮียะหรือไม่ โดยนำเสนอให้ผู้เรียนได้รู้ ส่วนผู้เรียน ก็ทำตามหะดิษที่ผู้รู้ระบุว่า เศาะเฮียะ แบบนี้เขาเรียกว่า ทำตามหลักฐาน เพราะฉะนนั้น หากผู้สอนโกหก ความผิดก็ตกอยู่ที่ผู้สอน และผู้เรียนหากต่อมารู้ว่า ผู้สอนโกหก หรือ ผิดพลาด เขาก็ต้องละทิ้งในการตามสิ่งที่ผิดพลาด หรือไม่ถูกต้องนั้น


ตัวอย่างดิษเฎาะอีฟที่ผู้รู้มักจะเอามาสอนกัน

หะดิษที่ 1 شهر رمضان أوله رحمه و أوسطه مغفرة و آخره عتق من النار )) حديث منكر

ช่วงต้นของเดือนเราะมะฏอน เป็นความเมตตา ,ช่วงกลางของมัน ได้รับการอภัยโทย และช่วงท้ายของมัน ได้รับปลดปล่อยจากนรก - เป็นหะดิษมุงกัร (ถูกปฏิเสธเอามาเป็นหลักฐานเพราะมีจุดบกพร่อง)
........
ที่มา
كتاب الضعفاء للعقيلي 2 / 162 و كتاب الكامل في ضعفاء الرجال لابن عدي 1 / 165 و كتاب علل الحديث لابن أبي حاتم 1 / 249 و كتاب سلسلة الأحاديث الضعيفة والموضوعة للألباني 2 / 262 ، 4/70


หะดิษที่ 2
ดุอา ก่อนแก้ศีลอดที่ว่า
اللهم لك صمت و على رزقك أفطرت )) حديث ضعيف .
โอ้อัลลอฮ ข้าพระองค์ศีลอดเพื่อพระองค์ และข้าพระองค์แก้ศีลอดด้วย ปัจจัยยังชีพที่พระองค์ประทานให้ - เป็นหะดิษเฎาะอีฟ

...........
ที่มา

كتاب خلاصة البدر المنير لأبن الملقن 1 / 327 حديث رقم 1126 و كتاب تلخيص الحبير للحافظ ابن حجر 2 / 202 حديث رقم 911 و كتاب الأذكار للنووي ص 172 و كتاب مجمع الزوائد للهيثمي 3 / 156 و كتاب ضعيف الجامع للألباني حديث رقم 4349

หะดิษที่ 3 خير الأمور أوسطها


บรรดากิจการที่ดีนั้น คือ ความเป็นกลางของมัน (หมายถึง ความพอดี)

وقال السخاوي في المقاصد الحسنة: رواه السمعاني في ذيل تاريخ بغداد بسند مجهول عن علي

และอัสสะกอวีย์ กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมะกอศิดุลหะสะนะฮว่า "รายงานโดย อัสสัมอานีย์ใน ดรรชนี ของ หนังสือ ตาริคบัฆดาด ด้วยสายรายงานที่ไม่เป็นที่รู้จัก จาก อาลี

หะดิษที่ 4
نوم الصائم عبادة، وسكوته تسبيح، ودعاؤه مستجاب، وعمله متقبل

การนอนของคนถือศีลอด เป็นอิบาดะฮ,การนิ่งเงียบของเขา เป็นการตัสเบียะ,การขอดุอาของเขา ถูกตอบสนอง และการงานของเขา ได้การรับรอง

وقال الحافظ العراقي: فيه سليمان النخعي أحد الكذابين

และอัลหาฟิซ อัลอิรอกีย์ กล่าวว่า ในหะดิษนี้ มีผู้รายงานคนหนึ่งชื่อ สุลัยมานอัลนะเคาะอีย์ เป็นผู้ที่ชอบโกหกคนหนึ่ง

มาดูตัวอย่างดิษเฎาะอีฟที่ผู้รู้มักจะเอามาสอนกัน ต่อนะครับ

หะดิษที่ 5
اختلاف أمتي رحمة

ความแตกต่าง(ความเห็นที่ต่างกัน)ของประชาชาติของฉันนั้น เป็นความเมตตา

...........
หะดิษนี้เป็นหะดิษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา โดยอ้างว่าเป็นคำพูดของท่านนบี 

ดู "الأسرار المرفوعة" (506) ، و"تنزيه الشريعة" (2/402) ، و"السلسلة الضعيفة" (11)

หะดิษที่ 6 أولاد الزنى يحشرون يوم القيامة على صورة القردة والخنازير

บรรดาลูกซีนา(ลูกที่เกิดจากการผิดประเวณี) นั้น พวกเขาจะถูกให้มาชุมนุมกันในวันกิยามะฮ ในรูปร่างของลิงและหมู"

...........
หะดิษนี้เป็นหะดิษที่ ท่านอะกีล,อิบนุเญาซีย์และอัสสะยูฏีย์ ตัดสินว่า เป็นหะดิษที่อุปโลกน์ขึ้นมา ส่วนท่านอัลบานีย์ ระบุว่า เป็นหะดิษมุงกัร (ถูกปฏิเสธในการนำมาเป็นหลักฐาน) และหะดิษนี้ขัดแย้งกับรากฐานของศาสนบัญญัต ที่ว่า ทุกคนจะได้รับการตอบแทน ตามผลงานที่ได้กระทำ ดังที่อัลลอฮตรัสว่า

وَلاَ تَزِرُ وَازِرَةٌ وِزْرَ أُخْرَى [ ( الأنعام : 164

และไม่มีผู้แบกภาระคนใด แบกภาระของผู้อื่น - อันอันอาม/164

หมายถึง ไม่มีผู้ใดที่ต้องแบกรับภาระความผิดของผู้อื่น ดังนั้น ลูกที่เกิดจากการซีนานั้น ไม่ต้องแบกรับความผิดของพ่อแม่ที่ลักลอบเล่นชู้กัน.


หะดิษที่ 7
حب الوطن من الإيمان

รักประเทศชาติ เป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา

........
หะดิษข้างต้น เป็นหะดิษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา โดยอ้างว่าเป็นคำพูดของท่านนบี 

- ดู สิลสิละฮ อัล-อะหาดีษ อัฎเฎาะอีฟะฮ วัลเมาฎูอะฮ เล่ม 1 หน้า 110 หะดิษหมายเลข 36

.........

หะดิษที่ 8 أطلبوا العلم ولو بالصين


จงศึกษาหาความรู้ แม้จะอยู่ใกลถึงเมืองจีนก็ตาม

..........

เป็นหะดิษเท็จ ที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา - ดู สิลสิละฮ อัล-อะหาดีษ อัฎเฎาะอีฟะฮ วัลเมาฎูอะฮ เล่ม 1 หน้า 600 หะดิษหมายเลข 416
.........
หะดิษที่ 9 إياكم والحسد فإن الحسد يأكل الحسنات كما تأكل النار الحطب)). ضعيف
พวกท่านพึงระวังการอิจฉาริษยา เพราะ การอิจฉาริษยานั้น มันกินบรรดาความดี เสมือนหนึ่ง ไฟที่กินไม้ฟืน - เป็นหะดิษเฎาะอีฟ
ดู "التاريخ الكبير" (1/272) . "مختصر سنن أبي داود" للمنذري(7/226).

หะดิษที่ 10
أبغض الحلال إلى الله الطلاق)). ضعيف
สิ่งอนุมัติที่ทำให้อัลลอฮทรงกริ้ว คือ การหย่า - เป็นหะดิษเฎาะอีฟ

ดู "العلل المتناهية" لابن الجوزي (2/1056) . "الذخيرة" (1/23).

หะดิษที่ 11
رجعنا من الجهاد الأصغر إلى الأكبر)). لا أصل له

เรากลับจากการญิฮาดเล็ก ไปสู่การญิฮาดใหญ่ - เป็นหะดิษไม่มีที่มา

ดู "الأسرار المرفوعة" (211) . "تذكرة الموضوعات" للفتني (191) .

หะดิษที่ 12
((حب الدنيا رأس كل خطيئة)) . موضوع
การรักโลกนี้ เป็นยอดของทุกๆความผิด - เป็นหะดิษปลอม(หะดิษที่ถูกอุปโลกน์ขึ้นมา)

ดู ."أحاديث القصاص" لابن تيمية (7) . "الأسرار المرفوعة" (1/163) . "تذكرة الموضوعات" (173) .

...

 ที่ยกมานี้ก็เพีบงให้เพื่อนๆทุกคนได้รู้ว่า บังหะสันเขาคิดเช่นไรในการนำเสนอสิ่งเหล่านี้..

ออฟไลน์ isma-il

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 232
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การคิลาฟของอุลามาอ์เป็นเราะห์มัตหรือไม่?
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: เม.ย. 19, 2007, 06:28 PM »
0
สงสัยงานนี้ผู้รู้เหนื่อย  ;D ;D


ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การคิลาฟของอุลามาอ์เป็นเราะห์มัตหรือไม่?
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: เม.ย. 19, 2007, 06:43 PM »
0

สมมุติว่าถ้าหากว่าอูลามาอ์อิสลามทั้งหมดมีความคิดเห็นและได้ลงมติว่า มีความคิดเห็นสอดคล้องกัน แน่นอนสิ่งนั้นก็จะกลายเป็นอิจมาห์อูลามาอ์ ซึ่งสิ่งนั้น(ประเด็นปัญหา)ก็จะตกเป็นวาญิบสำหรับมุสลิมทุกคน


ถูกต้องแล้วครับ  หากไม่มีการคิลาฟกัน  หรือห้ามมีการคิลาฟ  แน่นอนว่า  การอิจญฺฮาด (วินิจฉัย) จะไม่เกิดขึ้น  เนื่องจากอุลามาอ์แต่ละท่านเกรงกลัวว่า  การวินิจฉัยของตนจะไปขัดแย้งกับคนอื่น  จนเกิดการขัดแย้งขึ้นมา   แต่การขัดแย้งประเภทที่ถูกตำหนิของศาสนาและทำให้เกิดความวิบัติ  คือดังนี้ครับ

การละเมิดทัศนะของพี่น้องมุสลิมีนจึงเกิดขึ้น ประเด็นคิลาฟิยะฮ์จึงกลับกลายเป็นปัญหาคิลาฟิยะฮ์

ท่านผู้อ่านที่มีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลเลาะฮ์  อีกทั้งเป็นผู้ที่มีความสัจจริงในความเป็นอิสลามของเขานั้น พึงตระหนักว่า นี่คือข้อเท็จจริงที่ควรทราบ โดยที่เราสามารถหวนกลับไปวิเคราะห์กิตาบุลลอฮ์ ที่ไม่ได้กำชับให้ระวังเกี่ยวกับความขัดแย้งหรือการมีความเห็นที่แตกต่างในเรื่องของการวินิจฉัยในหลักการของศาสนาแต่อัลกุรอานได้เตือนให้ระวังผลอันเลวร้ายที่จะก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง ความแตกแยกที่เป็นผลมาจากการขัดแย้งในประเด็นการวินิจฉัยในเรื่องของศาสนา ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาคำตรัสของอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ฯ ที่บัญชาแก่บรรดามุสลิมีน ที่ว่า

واعتصموا بحبل الله جميعا ولا تفرقوا

"พวกเจ้าจงยึดสายเชือก(ศาสนา)แห่งอัลเลาะฮ์พร้อมเพรียงกันเถิดและพวกเจ้าอย่าได้แตกแยก"

ซึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า "พวกเจ้าอย่าได้แตกแยก" ไม่ใช่ตรัสว่า "พวกเจ้าอย่าได้ขัดแย้ง" ในประเด็นการวินิจฉัยเรื่องของศาสนา

ท่านผู้อ่านโปรดพิจารณาอีกเช่นกัน จากคำตรัสของพระองค์ ที่ว่า

وأطيعوا الله ورسوله ولا تنازعوا فتفشلوا وتذهب ريحكم واصبروا إن الله مع الصابرين

"และพวกเจ้าทั้งหลายจงภักดีต่ออัลเลาะฮ์และศาสนทูตของพระองค์และพวกเจ้าอย่างได้โต้แย้งกัน แล้วพวกเจ้าก็มีความขลาดกลัวและพลังของพวกเจ้าสูญสลาย
และพระองค์ทรงอยู่พร้อมกับบรรดาผู้อดทนเสมอ"

ดังนั้น  ประเภทการขัดแย้งกันที่ทำให้พลังของเราสูญสลาย  ไม่เป็นความเมตตาอย่างแน่นอนครับ

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ isma-il

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 232
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การคิลาฟของอุลามาอ์เป็นเราะห์มัตหรือไม่?
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: เม.ย. 19, 2007, 11:31 PM »
0
อัลฮัมดูลิลลอฮ์

อาจารย์อัชอารีย์ ผมได้ลองนำเอาไปคิดใคร่ครวญต่อนะครับ เลยอยากนำมาแชร์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านทั้งหลาย

ตัวเราเองนี้สมควรอย่างยิ่งที่จะซูโกรเนี๊ยะมัตที่อัลลอฮ์ทรงให้ความกว้างขวางในความดีงามในโลกนี้นะครับ ที่มีอูลามะห์ของพระองค์ได้ทำให้ความเมตตาของอัลลอฮ์นั้นไม่คับแคบ โดยที่อูลามะห์เองท่านนั้นต้องเสี่ยงกับการรับประกันการวินิฉัยของตนเองแทนเราคนเอาวามอย่างเราๆ โดยเอาตัวเองมาประกันทำให้เราคนเอาวามได้รับความกว้างขวางในความเมตตาของอัลลอฮ์ อูลามาห์ท่านเองก็ต้องลำบากในการวินิจฉัยโดยศึกษาค้นคว้าข้อปัญหาต่างๆ รับภาระความรับผิดชอบอันหนักหนาอย่างยิ่ง

หากจะยกตัวอย่างก็เช่น สมมุติว่าเราเป็นเด็กเล็กที่ไม่รู้ภาษา ไร้การศึกษา ความรู้ยังด้อยอยู่ อยากจะทำอะไรสักอย่างหรือเล่นอะไรสักอย่าง แล้วมีคนบอกว่าทำไม่ได้นะ เล่นไม่ได้นะ เป็นความผิด แล้วมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้บอกว่า เธอนั้นสามารถทำสิ่งนั้นได้หรือเล่นได้ เพราะฉันเห็นว่าสิ่งนั้นทำได้ ฉันรับประกันให้เอง ท่านคิดว่าท่านจะไม่ขอบคุณผู้ใหญ่ท่านนั้นหรือ ที่ท่านสามารถได้เล่นอย่างสนุกสนานตามประสาเด็กๆ  (ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเด็กๆส่วนมาก จะขอบคุณด้วยคำพูด แต่ว่าเด็กๆคนนั้นอาจจะยังไม่เข้าใจว่าท่านผู้ใหญ่คนนั้นท่านรู้สึกอย่างไร ท่านเกรงกลัวหรือไม่ว่า ถ้าเด็กคนนี้ที่ฉันได้รับประกัน เกิดเด็กคนนี้ซนจะเกิดอะไรขึ้น เด็กคนนี้อาจยังไม่สำเนียกถึงความรับผิดชอบที่ผู้ใหญ่ท่านนั้นต้องรับผิดชอบนั้น เนื่องจากสติปัญญาของเด็กคนนั้นยังด้อยคุณวุฒิ วัยวุฒิ)

ความคิดเห็นดังกล่าว ถ้าหากผิดพลาด บกพร่องช่วยตักเตือน สั่งสอนด้วยครับ

วัลลอฮ์ฮูอลัม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การคิลาฟของอุลามาอ์เป็นเราะห์มัตหรือไม่?
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: เม.ย. 21, 2007, 07:06 AM »
0
ความเห็นของคุณ isama-ae ถูกต้องแล้วครับ   อัลฮัมดุลิลลาฮ์

การขัดแย้งที่มีความวิบัติ  ไม่ใช่เราะฮ์มะฮ์  เช่น  พวกเขาพยายามที่จะไม่ให้มีการคิลาฟ  จำกัดการคิลาฟในเชิงวิชาการให้มีแวดวงที่แคบลง  โดยพวกเขาเรียกร้องให้ทิ้งการยึดมัซฮับทั้งสี่ที่ถูกเจริญรอยตามมาตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน  แต่ในขณะเดียวกันพวกเขาต่างเรียกร้องให้บรรดาผู้คนทั้งหลาย  ยึดดำเนินตามความเห็น  การวินิจฉัยของพวกเขา  ใช้ให้ยึดทัศนะของพวกเขาอย่างแข็งกร้าว  จนกระทั่งอ้างว่าทัศนะของตนเท่านั้นที่ตรงกับซุนนะฮ์   ส่วนทัศนะอื่นขัดแย้งกับซุนนะฮ์ 

มีผู้รู้สะละฟียะฮ์คนสำคัญท่านหนึ่งได้ทำการตำหนิบรรดามัซฮับของฟิกห์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งมัซฮับหะนะฟีย์  โดยเขากล่าวเทียบเคียบการตามมัซฮับเฉกเช่นเดียวกับการตามคำภีร์อินญีล(ที่ถูกบิดเบือน) โดยออกจากกรอบของศาสนา  ออกจากกรอบของอัลกุรอานและซุนนะฮ์  เขาได้กล่าววิจารณ์ในหนังสือ ม๊อคตะซ๊อร ซ่อฮิห์มุสลิม  ของท่านอัลมุนซิรีย์  หน้า 308 ว่า

إن عيسى عليه السلام يحكم بشرعنا ، ويقضى بالكتاب والسنة ، لا بغيرهما  من الإنجيل أو الفقه الحنفى ونحوه

"แท้จริง อีซา อะลัยฮิสลาม ทำการปกครองด้วยกฏหมายของเรา และทำการตัดสินด้วยกิตาบุลลอฮ์และซุนนะฮ์  ไม่ใช่ด้วยสิ่งอื่นจากทั้งสอง  ไม่ว่าจะมาจากคำภีร์อินญีล หรือฟิกห์มัซฮับหะนะฟีย์และ(มัซฮับ)อื่น ๆ"

เข้าใจง่าย ๆ ตามจุดมุ่งหมายของเขาก็คือ  ฟิกห์มัซฮับหะนะฟีย์และมัซฮับอื่น ๆ นั้น  ไม่ใช่เป็นหลักการหรือหลักกฏหมายของพวกเขา  ไม่ใช่มาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์  โดยเทียบเคียงว่าบรรดามัซฮับก็เหมือนกับการตามคำภีร์อินญีลนั่นเอง

ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น  คือการขัดแย้งในเชิงฟิกห์หรือระหว่างมัซฮับทั้งสี่นั้น  เป็นความมั่งคั่งแห่งวิทยาการอันอุดมสมบูรณ์  ความพยายามที่จะล้มเลิกมัซฮับทั้งสี่นั้น  เป็นเรื่อง ไร้ประโยชน์และเป็นการกล่าวหาลุ่มหลง  ด้วยเหตุดังกล่าวนี้  ท่านอิมาม อบูบักร อิบนุ อับอะรอบีย์ อัลมาลิกีย์  ได้กล่าวไว้ในหนังสือ  อัลอะห์กาม อัซซุฆรอ เล่ม 1 หน้า 153  อธิบายอายะฮ์อัลกุรอานที่ว่า

واعتصموا بحبل الله جميعا ولا تفرقوا

"พวกเจ้าจงยึดสายเชือก(ศาสนา)แห่งอัลเลาะฮ์พร้อมเพรียงกันเถิดและพวกเจ้าอย่าได้แตกแยก"

หมายถึง  พวกท่านอย่าแตกแยกในเรื่องของอะกีดะฮ์(หลักการศรัทธา)  บางทัศนะอธิบายว่า  พวกท่านอย่าอิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน  และบางทัศนะอธิบายว่า  จุดมุ่งหมายก็คือ  อย่างกล่าวหาผิดพลาดในเรื่องของข้อปลีกย่อย  หมายถึง  คนหนึ่งอย่ากล่าวหาว่าผิดพลาดกับเจ้าของทัศนะอื่น  และจงให้ปราชญ์ทุก ๆ คนดำเนินตามการวินิจฉัยของเขา  เพราะทุก ๆ คนต่างยึดสายเชือกของอัลเลาะฮ์ด้วยกับหลักฐานของเขา  การขัดแย้งที่ต้องห้ามนั้น  คือการขัดแย้งที่นำไปสู่ฟิตนะฮ์และความแตกแยก  สำหรับการขัดแย้งในด้านข้อปลีกย่อยเชิงฟิกห์  มันเป็นงดงามของหลักชะรออัต  เพราะท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

"เมื่อผู้ตัดสิน(ปราชญ์มุจญฮิด) ได้ทำการวินิจฉัย แล้วถูกต้อง เขาย่อมได้สองการตอบแทนและเมื่อเขาได้ทำการวินิจฉัย แล้วผิดพลาด เขาย่อมได้รับผลการตอบแทนเดียว" รายโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม

ดังนั้น การขัดแย้งของนักปราชญ์  จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่หลีกเลี่ยงไม่พ้น  อีกทั้งยังเป็นเราะฮ์มะฮ์  ความเมตตาต่อประชาชาติอิสลาม  เป็นความยืดยุ่นอะลุ่มอะหล่อยในหลักการของชาริอัต  เป็นความกว้างขวางของนิติศาสตร์อิสลาม

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ส.ค. 10, 2007, 04:39 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged