Foot Binding เท้าดอกบัว เป็นค่านิยมของหญิงงามชาวจีนในยุคศตวรรษที่ 10 และได้เสื่อมความนิยมลงในยุคศตวรรษที่ 20 เมื่อเด็กหญิงชาวจีนทีมีอายุประมาณ 3 - 6 ขวบ จะถูกมัดเท้าด้วยผ้าไหมหรือผ้าฝ้าย อย่างแน่นหนา เพื่อหยุดยั้งไม่ให้เท้าเจริญเติบโตตามปกติ แต่เนื่องจากเท้ายังคงมีการเจริญโตอยู่ สิ่งที่ได้ก็คือการทำให้เท้าเกิดการเจริญเติบโตอย่างผิดรูป ทำให้เท้าของพวกเธอมีขนาดเพียง 10 -15 เซ็นติเมตรเท่านั้น และหญิงสาวที่มีเท้าเล็กมากจะได้รับการยกย่องว่าเป็น "เท้าดอกบัวทอง"
ขั้นตอนการทำเท้าดอกบัว
เท้าจะถูกชโลมด้วย น้ำยาออุ่นสูตรพิเศษ ที่มีส่วนผสมของสมุนไพร และเลือดสัตว์ น้ำยานี้จะทำให้เท้าอ่อนลงเพื่อง่ายต่อการมัดเท้าให้เล็ก
เล็บเท้าจะถูกถอดออก เพื่อป้องกันการงอกใหม่ และป้องกันการติดเชื้อที่บริเวณนิ้วเท้า
นิ้วเท้าทั้งแปดจะถูกหักลง ยกเว้นนิ้วโป้ง แล้วห่อมัดเท้าให้อยู่ในรูปทรงที่ต้องการ
กำเนิดและความเชื่อเรื่องเท้าดอกบัวที่มาที่ไปของการรัดเท้านั้น มีเรื่องเล่าว่า ในยุคต้นศตรวรรษี่ 10 จักรพรรดิ Li Yu แห่ง ราชวงศ์ถัง ได้สั่งให้นางทาสรัดเท้าของเธอด้วยผ้าไหม และขึ้นไปร่ายรำบนเวทีที่โรยด้วยดอกบัวทอง นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ประเพณีการรัดเท้ากับดอกบัวทองจึงเป็นของคู่กันมา
บางกระแส ก็บอกว่า การรัดเท้าเป็นแผนที่ผู้ชายสมัยนั้นคิดขึ้นได้อย่างแยบยล เนื่องจาก ในสมัยนั้นจักรพรรดิเกรงว่า เหล่านางสนม นางบำเรอ ที่มีเท้าปกติดี จะหลบหนีออกนอกวังได้อย่างสะดวก สบาย อย่ากระนั้นเลย คิดแผนนี้ขึ้นมาดีกว่า และก็ได้ผลจริงๆด้วย
บางกระแส ก็มีความเชื่อที่ว่า การรัดเท้านั้นจะทำให้ เป็นที่รักใคร่ของสามี
มีความเชื่อว่าผู้หญิงที่มีเท้าเล็กจะมีผู้ชายที่ดีๆ ร่ำรวยมาสู่ขอ
เพิ่มเติมประเพณีพันเท้าเริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังใต้ สมัยนั้น พระชายาของจักรพรรดิหลี่ยฺวี่ทรงนำผ้ามาพันเท้าให้เป็นรูปพระจันทร์เสี้ยว แล้วทรงใส่ถุงเท้าสีขาวไปฟ้อนรำบนดอกบัวที่ทำด้วยทองคำ จักรพรรดิหลี่ยฺวี่ทรงพอพระทัยการฟ้อนรำนี้มาก และยังทรงชื่นชมว่า พระชายาทรงมีปณิธานสูงกว่าเมฆ ดังนั้น ประเพณีการพันเท้าจึงเริ่มจากพระราชวังแล้วค่อยแพร่ไปยังหมู่ชาวบ้าน ครั้นถึงสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ การพันเท้าได้กลายเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติสำหรับผู้หญิง
คนในสมัยนั้นเชื่อกันว่า การพันเท้าเป็นสิ่งที่ดีงามอย่างหนึ่งสำหรับผู้หญิง การไม่พันเท้าเป็นความอัปยศอย่างหนึ่ง
ราชินีของจักรพรรดิที่สถาปนาราชวงศ์หมิงถูกหัวเราะและถูกดูถูกจากคนทั่วประเทศจีน ก็เพราะมีเท้าที่ไม่ได้พันมาตั้งแต่เด็ก
ในสมัยโบราณ ผู้หญิงเริ่มพันเท้าตั้งแต่อายุห้าหกขวบ แล้ววิธีพันคือใช้ผ้าทำให้นิ้วเท้าทั้งหมดยกเว้นหัวแม่เท้า รวมทั้งฝ่าเท้าหักแล้วงอไปกลางฝ่าเท้า ทำให้รูปเท้ากลายเป็นรูปหน่อไม้
เราสามารถจินตนาการได้ว่า ผู้หญิงที่ถูกพันเท้าจะมีความทุกข์ทรมานมากขนาดไหน
แต่เพื่อประกันว่าลูกสาวจะได้ออกเรือน คุณแม่หรือคุณย่าจะไม่สนใจการร้องไห้และการขอร้องใดๆ ท่านจะต้องทำหน้าที่ของตัวเองในการพันเท้าให้ลูก สมัยนั้น เท้าที่ถูกพันของผู้หญิงถูกเรียกว่า ดอกบัวทอง แล้วการเดินของผู้หญิงที่มีเท้าเป็น "ดอกบัวทอง" ก็ได้รับการชมว่า ทุกก้าวล้วนก่อเกิดดอกบัว ครั้นถึงสมัยราชวงศ์ชิง ประเพณีการพันเท้าเป็นที่นิยมมาก ผู้หญิงชาวฮั่นไม่มีใครไม่พันเท้า
การทำแบบนี้ได้สร้างอุปสรรคแก่ผู้หญิงในด้านการเดิน จึงทำให้ออกจากบ้านไปไหนมาไหนไม่สะดวก แต่ที่จริงแล้ว ในสมัยที่ประเทศจีนยังค่อนข้างยากจนนั้น นอกจากผู้หญิงที่เกิดในครอบครัวที่ร่ำรวยแล้ว ผู้หญิงที่เกิดในครอบครัวที่ยากจนยังต้องตะเกียกตะกายไปทำมาหากินข้างนอก เพราะฉะนั้นการพันเท้าทำให้ผู้หญิงประสบความยากลำบากขึ้นหลายสิบเท่า
ในประวัติศาสตร์ของจีน การพันเท้าก็เคยถูกห้าม ตัวอย่างเช่นในสมัยราชวงศ์ชิง จักรพรรดิคางซีทรงสั่งว่าห้ามพันเท้าเด็ดขาด แต่กลับไม่ได้ผลเท่าไร จนถึงช่วงปลายสมัยราชวงศ์ชิง การปฏิวัติซินไฮ่ทำให้ราชวงศ์ชิงค่อยๆ เสื่อมลง แล้วประเพณีนี้จึงจะค่อยๆ หายไป แต่ว่าบางทีในชนบท เรายังสามารถเห็นผู้หญิงที่มีเท้าเป็นแบบ ซึ่งก็คือการพันเท้าเพียงครึ่งส่วน แต่เท้าแบบที่ถูกพันจริงๆ เหมือนกับสมัยโบราณนั้น ไม่มีให้เห็นอีกแล้วในปัจจุบัน
ประเพณีพันเท้านี้ สะท้อนให้เป็นถึงความชอบที่มีลักษณะพิเศษและโครงสร้างสังคมที่ฐานะทางสังคมของผู้ชายสูงกว่าผู้หญิงในสมัยโบราณของประเทศจีน การสูญหายของประเพณีนี้ในปัจจุบัน ทำให้ชาวโลกได้เห็นว่า ผู้หญิงจีนมีฐานะทางสังคมสูงขึ้น และประเทศจีนก็ได้ก้าวจากยุคโบราณมาสู่ยุคที่ทันสมัยและเจริญขึ้น
การห้ามผู้หญิงมัดเท้า เป็นผลพวงครั้งใหญ่จากการปฏิวัติซินไฮ่ แต่อันที่จริงเมื่อศึกษาดูจากประวัติศาสตร์ จะเห็นได้ว่า การพันเท้าไม่ใช่ประเพณีดั้งเดิมที่ปฏิบัติต่อกันมาของสาวจีน
จากการขุดค้นพบศพหญิงสาวสมัยฮั่น ที่หม่าหวางตุย และซากศพแห้งของหญิงสาวที่ซินเกียง ล้วนเป็นซากศพที่มีเท้าใหญ่ ไม่ได้มีร่องรอยของการมัด หรือพันเท้าแต่อย่างใด
เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ประเพณีการมัดเท้าแท้จริงแล้ว เริ่มมีมาแต่สมัยใด?
หลังจากสมัยราชวงศ์ถัง ประเทศจีนได้เกิดช่วงเวลาแห่งการแตกแยกครั้งใหญ่ขึ้นช่วงหนึ่ง ในบันทึกประวัติศาสตร์ เรียกช่วงเวลานี้ว่า "5ราชวงศ์ 10อาณาจักร"
ในช่วงเวลานั้น ราชวงศ์ถังใต้ มีกษัตริย์องค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า หลี่โฮ่วจู่ มีนิสัยชอบอ่านหนังสือ มีฝีมือด้านอักษรศาสตร์ และจิตรกรรม แต่กลับขาดความสามารถด้านการปกครองประเทศ
พระองค์ทรงมีพระสนมนางหนึ่ง เต้นรำอ่อนช้อยงดงาม ใช้ผ้าพันเท้า เท้านางเล็กโค้งงอดั่งพระจันทร์เสี้ยว นางสวมถุงเท้าขาว เต้นระบำอยู่บนดอกบัวที่ทำด้วยทองสูง 6 ฟุต ลอยละล่องดุจเทพธิดา
นางได้รับความรักใคร่เอ็นดูจากโฮ่วจู่เป็นอย่างมาก
คนสมัยต่อมาใช้คำ "จินเหลียน (ดอกบัวทอง)" มาบรรยายเท้าเล็กของหญิงสาว
จากนั้นเป็นต้นมา กระแสนิยมมัดเท้าภายใต้การริเร่มของนักปกครองในสมัยศักดินา ก็ได้สืบทอดต่อๆกันมา ยุคแล้วยุคเล่า นับวันกระแสความนิยมนี้ ก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้น
จนกระทั่งหญิงสาวผู้มีเท้าใหญ่แทบไม่มีโอกาสได้แต่งงาน หญิงสาวชาวจีนถูกกระทำอย่างทารุณเช่นนี้นับเป็นเวลาถึงพันกว่าปี
จนกระทั่งปัจจุบัน พวกเราสามารถเห็นบรรดาหญิงสาวสูงอายุที่มีเท้าเล็ก เดินเหินด้วยความยากลำบาก ตามถนนหนทาง หรือตามตรอกซอกซอยได้โดยบังเอิญ
หญิงสาวเหล่านี้คือหลักฐานที่ยังมีชีวิตหลงเหลืออยู่ เพื่อแสดงให้เห็นถึงชะตากรรมของสตรีเพศ ภายใต้การปกครองในระบอบศักดินา
"แฟชั่นรองเท้าดอกบัวทองคำ"
ชีวิตคนเมืองจีน / คนสมัยนี้คงจะจินตนาการไม่ออกแน่ว่าเมื่อประมาณ 1,000 ปีที่แล้ว สังคมจีนมีประเพณีที่พิลึกพิลั่นในการประเมินความงามของหญิงสาว โดยใช้ขนาดของเท้าเป็นเกณฑ์ หมายความว่าหญิงสาวที่เท้ายิ่งเล็ก ก็ยิ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นคนสวย และยิ่งเป็นที่สนใจของเพศตรงข้ามมากขึ้นเท่านั้น
ชาวจีนในยุคนี้ กล่าวกันว่า สิ่งที่สร้างความอับอายขายหน้าให้แก่ชาวจีนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า 5,000 ปี นอกเหนือจากนิสัยติดฝิ่น การไว้ผมเปียของผู้ชายชาวฮั่นเพราะถูกชนชั้นปกครองชาวแมนจูบังคับแล้ว อีกอย่างหนึ่งก็คือ ประเพณีการรัดเท้า เพื่อให้เท้าเล็กที่สุดเท่าที่จะทำได้ ด้วยความเขลาของผู้หญิงเองที่คลั่งไคล้หลงใหลไปกับการตีค่าความงามบนความเจ็บปวด ที่แลกมากับด้วยเลือดและน้ำตาของตัวเอง กอปรสภาพสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ บีบบังคับให้ผู้หญิงตกเป็นเหยื่อแห่งการทารุณอย่างเลือดเย็น ด้วยความยินยอมพร้อมใจจากเพศเดียวกันตลอดหลายชั่วอายุคน เบื้องหลัง รองเท้าดอกบัวทองคำ 3 นิ้ว ที่สวยงามนั้นคือ เรื่องราวชีวิตที่สุดแสนรันทดของผู้หญิงจีนหลายล้านคน
เท้าใหญ่ไม่มีคนเอา รัดเท้าทีก็พันปี เหอจื้อหัว นักสะสมวัตถุโบราณที่มีชื่อเสียงของจีน หยิบรองเท้าคู่หนึ่งขนาดยังเล็กกว่าฝ่ามือขึ้นมากล่าวว่า การรัดเท้าก็คือการใช้ผ้าฝ้ายหรือผ้าไหมมารัดเท้าทั้งคู่ไว้จนรูปร่างเท้าตามธรรมชาติเปลี่ยนไปจนมีลักษณะเฉพาะ รองเท้าคู่หนึ่งของผู้หญิงนั้นแลกมาด้วยเลือดและน้ำตา จากการสืบค้นของนักประวัติศาสตร์ ประเพณีการรัดเท้าของผู้หญิงจีน เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยจักรพรรดิหลี่อี้ว์หรือหลี่โฮ่วจู่ ในยุค 5 ราชวงศ์ หลังจากการสิ้นสุดของราชวงศ์ถัง คือระหว่าง ค.ศ. 923-936 ตามสมมติฐานที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลาย กล่าวว่า นางกำนัลคนหนึ่งของจักรพรรดิหลี่อี้ว์ ชื่อ เหย่าเหนียง ต้องการทำให้จักรพรรดิพอพระทัย จึงใช้ผ้าที่ทำจากแพรไหมสวยงามรัดที่เท้าจนเรียวเล็กราวพระจันทร์เสี้ยว ขณะที่วาดลีลาการร่ายรำต่อหน้าพระพักตร์ จักรพรรดิหลี่อี้ว์ทรงพอพระทัยการแสดงครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาเหย่าเหนียงได้สั่งให้ทำรองเท้าที่ประดับประดาด้วยไข่มุกอัญมณีนานาๆชนิดอย่างสวยงาม แล้วให้นางสนมกำนัลสวมใส่หลังจากที่รัดเท้าแล้ว ท่วงท่าที่อ่อนช้อยบนรองเท้าคู่จิ๋ว เป็นที่พอพระทัยของจักรพรรดิยิ่งนัก นับแต่นั้นมา แฟชั่นการัดเท้าในหมู่นางวังในก็เริ่มขึ้น แล้วค่อยๆขยายวงออกไปยังหมู่ลูกสาวของเหล่าขุนนางในสังคมชั้นสูง เมื่อมาถึงในสมัยหมิง ( ค.ศ. 1368 1644 ) ความคลั่งไคล้การรัดเท้าได้แผ่กว้างไปในหมู่หญิงสาวสามัญชนทั่วประเทศ
ในสมัยจักรพรรดิคังซี ( ค.ศ. 1662-1721 ) แห่งราชวงศ์ชิง แฟชั่นการรัดเท้าดำเนินถึงจุดสูงสุด โดยเฉพาะในมณฑลซันซี เหอเป่ย ปักกิ่ง เทียนจิน ซันตง เหอหนัน ส่านซี กันซู่ แต่ชนเผ่าแมนจูไม่มีประเพณีให้ลูกสาวรัดเท้าอย่างชนชาวฮั่น ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อจักรพรรดิคังซีขึ้นครองราชบัลลังก์ได้ 3 ปี ทรงมีพระราชโองการให้เลิกประเพณีดังกล่าวเสีย โดยจะลงโทษพ่อแม่ของผู้ที่ฝ่าฝืน
อย่างไรก็ตาม ความพยายามของจักรพรรดิแมนจู ไม่ได้สร้างความหวั่นเกรงในหมู่ประชาชนเลยแม้แต่น้อย ประเพณีที่ดำเนินมาหลายร้อยปี ยังคงฝังแน่นอยู่ในระบบคิดของคนในสังคมอย่างยากที่จะเปลี่ยนแปลง ในที่สุดราชสำนักก็ต้องยกเลิกกฎข้อบังคับนี้ไป หลังจากประกาศใช้ได้เพียง 4 ปี
ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ เด็กสาวลูกหลานชาวแมนจูก็เริ่มฮิตรัดเท้าตามหญิงสาวชาวฮั่นบ้าง จักรพรรดดิซุ่นจื้อ ( ค.ศ. 1644-1661) ได้มีพระราชโองการ ห้าม แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดิม จนถึงสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลง ( ค.ศ. 1736-1795) ก็ได้ทรงออกคำสั่งห้ามหลายครั้งไม่ให้รัดเท้า ความคลั่งไคล้ในแฟชั่นรัดเท้าจึงค่อยลดลงไปได้บ้าง แต่ก็ยังมีการลักลอบทำกันอยู่ สาวๆแมนจูที่เดิมใส่รองเท้าไม้ก็สู้อุตสาห์ออกแบบรองเท้าไม้มีส้นตรงกลาง แต่มีหน้าตาภายนอกเหมือนรองเท้าดอกบัวทองคำ สำหรับหญิงสาวชาวฮั่นแล้ว ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ พวกคลั่งไคล้แฟชั่นรัดเท้าต่างได้ใจว่า แม้แต่จักรพรรดิก็ยังไม่สามารถขัดขวางพวกตนได้ ถึงขนาดร่ำลือกันไปว่า การรัดเท้าเป็นสัญลักษณ์แห่งการไม่ยอมศิโรราบต่อผู้ปกครองแมนจูของผู้หญิงฮั่น
เพราะเหตุใดจึงต้องรัดเท้า เพราะเท้าเล็กดุจดอกบัวทองคำ ยาวแค่ 3 นิ้ว เป็นมาตรฐานที่สังคมจีนเมื่อร้อยหลายปีมาแล้วประกาศว่า นั่นคือความสวยงามของผู้หญิง ผู้หญิงซึ่งไม่มีแม้แต่สิทธิในความเป็นมนุษย์ มีสิทธิเป็นได้แค่ ของเล่น ที่คอยรองรับอารมณ์ของผู้ชาย การกดขี่ทางเพศเป็นเรื่องปกติของสังคม
และเพื่อสนองความรู้สึกกระสันของผู้ชายเมื่อได้เห็นเท้าเล็กจิ๋วที่เล็ดลอดชายกระโปรงยาวมิดชิด พร้อมกับจินตนาทางเพศอันบรรเจิดทุกครั้งที่เห็นสะโพกขยับขึ้นลงในขณะเดิน อันเป็นผลจากลักษณะของฝ่าเท้าที่ไม่เสมอกัน เช่นเดียวกับท่าเดินของผู้หญิงสมัยนี้เวลาที่ใส่รองเท้าส้นสูง หญิงสาวนับไม่ถ้วนยอมทำร้ายเท้าที่สวยงามตามธรรมชาติของตัวเอง
แม่ที่ " มองการณ์ไกล" ยอมทำร้ายลูกสาวที่ยังไม่ประสีประสาของตน เพราะกลัวว่าเมื่อโตขึ้น จะไม่มีผู้ชายมาสู่ขอหรืออาจถูกดูหมิ่นจากคนทั่วไปว่าเป็นผู้หญิงชั้นต่ำ แม้จะรู้ซึ้งดีว่าจากนี้ไปทุกคืนวันลูกสาวตัวน้อยๆต้องเจ็บปวดทรมานเหมือนถูกเข็มหลายพันเล่มทิ่มแทงอย่างที่ตนเคยผ่านมาก็ตาม
ทำไมต้องเป็น ดอกบัวทองคำ 3 นิ้ว
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า หลังจากที่พุทธศาสนาเริ่มเข้าสู่ประเทศจีนและเป็นที่ยอมรับนับถืออย่างแพร่หลาย กรปอกับอิทธิพลของพุทธศิลปะที่นิยมวาดรูปพระโพธิสัตว์ภาคเจ้าแม่กวนอิมยืนบนดอกบัว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนความดีงาม สะอาด บริสุทธิ์ มีคุณค่า และเป็นมงคล ดอกบัว จึงถูกนำมาใช้เรียกเท้าเล็กจิ๋วของหญิงสาวราวกับเป็นสิ่งดีงาม เพราะผู้หญิงที่ดีต้องอ่อนแอ ช่วยเหลือตัวเอง ต้องพึ่งพาและเชื่อฟังของพ่อ สามีหรือลูกชาย เป็นกรอบความคิดที่สังคมผู้ชายเป็นใหญ่วาง กับดักไว้
นอกจากนี้ สิ่งที่มีค่าสูงส่งมักจะได้รับการเปรียบเปรยว่ามีค่าดุจดั่งทอง ในยุคสมัยนั้น ผู้คนต่างชื่นชมยินดีกับการมีเท้าเล็กจิ๋วกับรองเท้าดอกบัวทองคำคู่จิ๋ว แม้แต่ในยามที่เสพสังวาสกัน สตรีก็ไม่ยอมถอดรองเท้าดอกบัวทองคำที่หวงแหนราวกับเป็นเครื่องประดับล้ำค่าของนาง
ในปลายสมัยชิง ทุกปีในวันที่ 6 เดือน 6 ตามปฏิทินจันทรคติ ที่เมืองต้าถง มณฑลซันซี จะมี งานประกวดเท้าสวย โดยหญิงสาวจะแข่งกันอวดเท้าเล็กจิ๋วของตนให้คนที่เดินผ่านไปมา ชื่นชม และตัดสิน โดยดูจากขนาดของเท้าและความสวยงามของรองเท้า ที่มีลวดลายประณีตงดงาม ซึ่งเกิดจากฝีมือการเย็บปักถักร้อยของหญิงสาว แสดงให้เห็นว่าเท้าที่ถูกรัดจนพิกลพิการกับรองท้าคู่จิ๋ว ได้รับการเทิดทูนเพียงใดในสังคมศักดินายุคนั้น
ผู้หญิงสมัยนั้นบ้าคลั่งประเพณีการรัดเท้ามากถึงขั้นตั้งเกณฑ์ว่า หากเท้าผู้ใดยาวไม่เกิน 3 นิ้วจะเรียกว่าเป็น เท้าดอกบัวทองคำ ถ้ายาวกว่า 3 นิ้วแต่ไม่เกณฑ์ 4 นิ้วให้เรียกว่า เท้าดอกบัวเงิน หากยาวกว่า 4 นิ้วก็จะถูกลดชั้นเป็น ดอกบัวเหล็ก
วิธีการมัดเท้า





เรื่องราวชีวิตจริงของหญิงจีน เค้าบอกว่า บ้านที่ฐานะยากจนมาก ๆ เค้ารัดเท้าให้ลูกผู้หญิงไม่ได้เพราะต้องเอาไว้ช่วยทำงานบ้าน หรือมีอุปสรรคอื่น ๆ บ้าง ก็ทำให้สังคมไม่ยอมรับ บางบ้านก็เอาลูกสาวไปขายให้บ้านที่ร่ำรวยเอาไปเป็นสะใภ้เด็ก ซึ่งสะใภ้เด็กจะมีหน้าที่เพียงให้กำเนิดลูกกับผู้ชายบ้านนั้นเท่านั้น ผู้ชายในบ้างจะมีกี่คนก็ต้องยอมทั้งนั้น
เค้าบรรยายถึงความเจ็บปวดจน คิดว่าถ้าเป็นเราตายซะดีกว่า คิดดูดิ เท้าดี ๆ ทำให้หักซะอย่างงั้น ตอนที่พันแล้วเค้าจะต้องให้ลูกเดิน เดินไปเดินมาก็เริ่มจากนิ้วเท้าหัก ก๊อก ต่อไปก็หักทุก ๆ นิ้ว แล้วต่อมากระดูกเท้าหักค่ะ โห แค่คิดก็จะเป็นลมแล้ว
ยุคญาฮิลียะห์ 
สำหรับมุสลีมะห์เรา ขอแค่สวมถุงเท้าธรรมดาๆก็พอ...