ผู้เขียน หัวข้อ: การละหมาด  (อ่าน 2695 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ....บ่าวของพระผู้ทรงเมตตา....

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 232
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
การละหมาด
« เมื่อ: พ.ค. 17, 2009, 02:00 AM »
0

 salam

รบกวนหน่อยนะคับเกี่ยวกับการที่ชายหญิงละหมาดกันกันตามลำพัง2คน มีคนบอกว่าการละหมาดของคนทั้ง2ใช่ไม่ได้ มีในหนังสือเล่มไหนบ้างคับบอกเกี่ยวกับเรื่องนี้ รบกวนหน่อยนะคับอยากรู้จิงๆคับ บอบคุณคับ..วัสลาม
จงยึดเปนน้ำหนึ่งเดียวกัน อย่าได้แตกแยกกัน

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: การละหมาด
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พ.ค. 17, 2009, 06:41 AM »
0
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم

اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛

ประเด็นนี้ผมเคยตอบไปแล้วว่าในคำตอบนี้ ผู้ชายนำละหมาดหญิงอื่นสองต่อสองตามลำพัง ซึ่งมีใจความว่า

การละหมาดพร้อมกับหญิงอื่นที่แต่งงานกันได้สองต่อสองถือว่าฮะรอมและละหมาดใช้ไม่ได้

ท่านร่อซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

‏ لَا يَخْلُوَنَّ رَجُلٌ بِامْرَأَةٍ إِلَّا وَمَعَهَا ذُو ‏‏مَحْرَمٍ ‏وَلَا تُسَافِرْ الْمَرْأَةُ إِلَّا مَعَ ذِي ‏مَحْرَمٍ

" ชายคนหนึ่งจะไม่อยู่ตามลำพังกับหญิงคนหนึ่งนอกจากพร้อมกับนางนั้นต้องมีผู้ ที่แต่งงานกันไม่ได้  และผู้หญิงคนหนึ่งจะไม่ทำการเดินทางนอกจากพร้อมกับผู้ที่แต่งงานกันไม่ได้" รายงานโดยมุสลิม (2391)

ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวว่า "ปราชญ์ของเรากล่าวว่า ไม่มีการแบ่งแยกในการฮะรอมอยู่ตามลำพัง  กล่าวคือเราถือว่าฮะรอมอยู่ตามลำพังไม่ว่าจะอยู่ในละหมาดหรือนอกละหมาดก็ตาม " ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม : 5/120

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวเช่นกัน ว่า "นักปราชญ์ของเรากล่าวว่า  เมื่อชายคนหนึ่งได้เป็นอิมามนำละหมาดภรรยาของเขาหรือผู้ที่แต่งงานกันไม่ได้ สำหรับเขาและอยู่ตามลำพังกับนาง  ถือว่าอนุญาตโดยไม่มักโระฮ์แต่อย่างใด  เพราะอนุญาตให้เขาอยู่ตามลำพังนอกละหมาดกับนางได้  และถ้าหากคนหนึ่งได้นำละหมาดผู้หญิงอื่นและทำการอยู่แบบตามลำพังกับนาง ถือว่าฮะรอมบนเขาและนางเพราะมีบรรดาฮะดิษซอฮิห์ได้ระบุไว้" หนังสือมัจญ์มั๊วะอฺ ของอิมามอันนะวาวีย์ ; 4/277

ดังนั้น การอยู่ร่วมกันตามลำพังกับหญิงอื่นเป็นสิ่งที่ฮะรอม  การละหมาดร่วมกันตามลำพังกับนางก็ถือว่าฮะรอมและละหมาดใช้ไม่ได้เช่นกัน

ส่วนหลักฐานจากตำราอุลามาอฺตรง ๆ เกี่ยวกับการใช้ได้ของละหมาดชายหญิงที่ละหมาดแบบสองคนตามลำพังนั้น  เท่าที่ค้นคว้าแล้วกระผมไม่พบ  แต่พบมัสอะละฮ์ที่สามารถนำเสนอหลักการออกมา(อัตตัครีจญฺ)เทียบเคียงได้  คือการละหมาดในแผ่นดินที่โขมยมา ซึ่งเป็นการกระทำที่ฮะรอมแต่การละหมาดจะใชได้หรือไม่นั้นอุลามาอฺมีการขัดแย้งกัน  ซึ่งเฉกเช่นเดียวกันกับการละหมาดในสภาพที่ชายหญิงสองคนกำลังกระทำสิ่งที่ฮะรอม(คืออยู่กันตามลำพัง) 

ท่านอิมามอิบนุกุดามะฮ์  กล่าวว่า

وَفِي الصَّلاةِ في الْمَوْضِعِ الْمَغْصُوبِ روايتان: إحْدَاهمَا: لا تَصِحُّ، وَهُوَ أَحَدُ قَوْلَيْ الشَّافِعِيِّ، وَالثَّانِيَةُ: تَصِحُّ، وَهُوَ قَوْلُ أَبِي حَنِيفَةَ وَمَالِكٍ، وَالْقَوْلُ الثَّانِي لِلشَّافِعِي لأَنَّ النَّهْيَ لا يَعُودُ إلَى الصَّلاةِ، فَلَمْ يَمْنَعْ صِحَّتَهَا، كَمَا لَوْ صَلَّى وَهُوَ يَرَى غَرِيقاً يُمْكِنُهُ إنْقَاذُهُ؛ فَلَمْ يُنْقِذْهُ، أَوْ حَرِيقاً يَقْدِرُ عَلَى إطْفَائِهِ فَلَمْ يُطْفِئْهُ، أَوْ مَطَلَ غَرِيمَهُ الَّذِي يُمْكِنُ إيفَاؤُهُ وَصَلَّى، وَلَنَا أَن الصَّلاةَ عِبَادَةٌ أَتَى بِهَا عَلَى الْوَجْهِ الْمَنْهِي عَنْهُ فَلَمْ تَصِحَّ، كَصَلاةِ الْحَائِضِ وَصَوْمِهَا، وَذَلِكَ لأَنَّ النَّهْيَ يَقْتَضِي تَحْرِيمَ الْفِعْلِ وَاجتنابه، وَالتَأثيمَ بِفِعْلِه، فَكَيْفَ يَكُونُ مُطِيعاً بِمَا هُوَ عَاص به، ممتَثِلاً بِمَا هُوَ مُحَرَّمٌ عَلَيْهِ، مُتَقَرِّباً بِمَا يَبْعُدُ بِهِ، فَإِنَّ حَرَكَاتِهِ وَسَكَنَاتِهِ مِنْ الْقِيَامِ وَالرُّكُوعِ وَالسُّجُودِ أَفْعَالٌ اخْتِيَارِيَّةٌ، هُوَ عَاصٍ بِهَا، مَنْهِيٌّ عَنْهَا

"ในการละหมาดในผืนดินที่ถูกโขมย  มีอยู่สองรายงาน  รายงานหนึ่ง : การละหมาดใช้ไม่ได้ , มันเป็นหนึ่งจากสองทัศนะคำกล่าวของอิมามอัชชาฟิอีย์ , รายงานที่สอง : การละหมาดถือว่าใช้ได้ และมันก็คือทัศนะคำกล่าวของอิมามอะบูฮะนีฟะฮ์ , อิมามมาลิก , และเป็นทัศนะคำกล่าวที่สองของอิมามอัชชาฟิอีย์ , เพราะการห้ามนั้นมิได้หวนกลับไปยังเรื่องละหมาด  ดังนั้นการห้ามดังกล่าวจึงไม่ห้ามการใช้ได้ของละหมาด  เพราะกิยาสเทียบเคียงกับกรณีที่ว่า  หากเขาทำการละหมาด  โดยเขาเห็นคนกำลังจมน้ำที่สามารถกู้ชีวิตเขาได้แต่เขาไม่ทำการช่วย , หรือเห็นคนกำลังถูกไฟไหม้ซึ่งเขาสามารถดับไฟได้แต่ไม่ยอมดับไฟให้แก่เขา , หรือประวิงเจ้าหนี้ซึ่งเขาก็มีสามารถจะชดใช้หนี้ได้  โดยเขาทำการละหมาด(ก็ถือว่าการละหมาดใช้ได้)  และหลักฐานสำหรับทัศนะของเรา(มัซฮับอิมามอะห์มัด)นั้นคือการละหมาดเป็นอิบาดะฮ์ซึ่งเขาได้นำมาซึ่งการกระทำบนหนทางที่ต้องห้าม(คือการละหมาดบนแผ่นดินที่ได้มาโดยอธรรม)  ดังนั้นการละหมาดจึงใช้ไม่ได้  เพราะเทียบเคียงกับการละหมาดและการถือศีลอดของสตรีผู้มีประจำเดือน และดังกล่าวนั้น  เพราะการห้าม(กระทำการละหมาดในแผ่นดินที่โขมย)ย่อมหมายถึงการห้ามกระทำ(ละหมาด)และห้ามเข้าใกล้การกระทำมัน  และถือว่าเป็นการบาปด้วยการกระทำมัน  ดังนั้นผู้ละหมาดดังกล่าวเขาจะกลายเป็นผู้ที่ฎออัตภักดีด้วยสิ่งที่เขากำลังฝ่าฝืนมันได้อย่างไร?  เขาจะเป็นกลายเป็นสนองคำบัญชา(ของอัลเลาะฮ์)ด้วยสิ่งที่ถูกห้ามบนเขาได้อย่างไร?  เขากลายเป็นผู้สร้างความใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮ์ด้วยกับสิ่งที่เขาต้องห่างไกลจากมันได้อย่างไร?  แท้จริงบรรดาการเคลื่อนไหวและการหยุดนิ่งของเขาจากการยืนตรง กุ้มรุกั๊วะ และสุยูดนั้นเป็นการกระทำที่สมัครใจ ในสภาพที่เขากำลังกระทำการฝ่าฝืนมัน  อีกทั้งเขายังถูกห้ามจาก(การกระทำ)มันอีกด้วย" หนังสืออัลมุฆนีย์ 3/228

ท่านอิมามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวว่า
 
وَلَا يَجُوْزُ أَنْ يُصَلِّيَ فِيْ أَرْضٍ مَغْصُوْبَةٍ لِأَنَّ اللُبْثَ فِيْهَا يَحْرُمُ فِيْ غَيْرِ الصَّلاَةِ، فَكَانَ يَحْرُمُ فِي الصَّلاَةِ مِنْ بَابٍ أَوْلَى، فَإِنْ صَلَّى فِيْهَا صَحَّتْ صَلاَتُهُ لِأَنَّ الْمَنْعَ لاَ يُخْتَصُّ بِالصَّلاَةِ، فَلاَ يَمْنَعُ صِحَّتَهُ

"ไม่อนุญาตให้เขาทำการละหมาดในแผ่นดินที่ถูกโขมยมาเพราะการอาศัยอยู่ในแผ่นดินนั้นต้องห้ามในสิ่งที่นอกเหนือจากละหมาด  ดังนั้นอยู่ในแผ่นดินที่ถูกขโมยจึงเป็นการต้องห้ามในขณะทำละหมาดยิ่งกว่า  เพราะถ้าหากเขาละหมาดในแผ่นดินที่ถูกโขมยมา  การละหมาดของเขาถือว่าใช้ได้  เพราะการห้ามนั้นมิได้เจาะจงที่ละหมาด(แต่ห้ามเรื่องการไปอยู่ในแผ่นดินที่ฮะรอม) ดังนั้นจึงไม่ห้ามการใช้ได้(ไม่ห้ามการเซาะห์)กับการละหมาดของเขา" หนังสืออัลมัจญฺมั๊วะอฺ 3/163

แต่ถ้าหากกลับไปพิจารณาตามหลักอุศูลุลฟิกห์  ปราชญ์ก็มีการขัดแย้งกันหลายทัศนะเกี่ยวกับการห้ามกระทำอิบาดะฮ์ที่ไม่ถูกห้ามเป็นการเจาะจง เช่น ห้ามบุคคลหนึ่งอาศัยในแผ่นดินที่โขมยมาแต่ไม่ได้เจาะจงห้ามการใช้ได้ของละหมาด , หรือห้ามบุคคลหนึ่งสวมใส่เสื้อผ้าที่โขมยมาแต่ไม่ได้เจาะจงห้ามการใช้ได้ของละหมาด ซึ่งปราชน์ส่วนมากถือว่าการทำอิบาดะฮ์(เช่นการละหมาดดังกล่าว)ถือว่าไม่เสีย , แต่ยังมีปราชญ์อีกกลุ่มหนึ่ง เช่นท่านอิมามฟัครุดดีน อัรรอซีย์ , ท่านอิมามอัลบัยฏอวีย์ , ท่านอิมามอะห์มัด , ท่านอะบี ฮุซัยน์ อัลบะซอรีย์ , และกลุ่มหนึ่งจากปราชญ์มุฮักกิกีน(ผู้แน่นแฟ้นในความรู้) มีหลักอุศูลุลฟิกห์(พื้นฐานนิติศาสตร์อิสลาม)ที่ว่าการทำอิบาดะฮ์ในรูปแบบดังกล่าว(เช่นการละหมาด)ถือว่าใช้ไม่ได้

ดังนั้นในกรณีที่ผู้หญิงกับชายสองคนไปเที่ยวกันสองต่อสองแล้วทำการละหมาดพร้อมกันสองคนนั้น การละหมาดของทั้งสองใช้ได้ตามทัศนะส่วนมาก และใช้ไม่ได้ตามทัศนะบางส่วน ดังนั้นผมจึงเลือกตอบทัศนะที่สองที่บอกว่าใช้ไม่ได้เพื่อป้องกันและไม่สงเสริมให้พวกเขาอยู่กันสองต่อสอง และหลังจากผมจะตอบปัญหานี้ก็มีพี่น้องมานำเสนอท้วงติงแล้วเช่นกันครับ ซึ่งผมก็บอกเหตุผลข้างต้นไปครับ
   
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَاليَ أعْلىَ وَأَعْلَمُ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ค. 17, 2009, 05:59 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged