ผู้เขียน หัวข้อ: การปกครองในระบอบอิสลาม  (อ่าน 7429 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ As-Zaleek

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 804
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +33
    • ดูรายละเอียด
การปกครองในระบอบอิสลาม
« เมื่อ: มิ.ย. 20, 2009, 05:11 AM »
0

بِسْمِ اللهِ الّرحْمنِ الّرحِيْمِ

الحَمْدُلِّلهِ رَبِّ العَالَمِيْنِ  وَالصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلَى مَنْ لاَ نَبِىَّ بَعْدَهُ  سَيِّدِنَا وَرَسُوْلِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ أَجْمَعِيْنَ  وَبَعْدُ

                                            
                                          
              หลักฐานและแนวทางการใช้กฎหมาย และการปกครองในระบอบอิสลาม

   อำนาจมีสามอำนาจ คือ

1. อำนาจนิติบัญญัติ   [ اَلسُّلْطَةُ التَّشْرِيْعِيَّةُ ]   อัลลอฮ์เป็นผู้กำหนด
2. อำนาจบริหาร   [ اَلسُّلْطَةُ التَّنْفِيْذِيَّةُ]  ศาสดาตามที่อัลลอฮ์กำหนด
3. อำนาจตุลาการ  [ اَلسُّلْطَةُ الْقَضَائِيَّةُ ]  ศาสดาตามที่อัลลอฮ์กำหนด


กฎหมายมีสองประเภท


1. กฎหมายของอัลลอฮ์ [ قَانُوْنٌ إِلـهِيٌّ ] ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
2. กฎหมายที่มนุษย์ร่าง [ قَانُوْنٌ وَضْعِيٌّ ] มีการเปลี่ยนแปลงตาม
ความต้องการของผู้มีอำนาจ

-ถ้าไม่ใช้อำนาจทั้งสามนี้ตามกรอบที่ศาสนากำหนดและไม่ใช้กฎหมายประเภทที่หนึ่ง จะยังผลให้หมดสภาพของการเป็นบริสุทธิ์ชน(มุสลิม) ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า:-

[ فَمَنْ لَمْ يَحْكُمْ بِمَا أَنْزَلَ اللهُ فَأُولئِكَ هُمُ الْكَافِرُوْنَ ]


ความว่า ใครไม่ตัดสินตามสิ่งที่อัลลอฮ์ประทานมา พวกเขาคือพวก กาเฟร

- ผู้ใช้อำนาจและกฎหมายนี้ต้องเป็นผู้ที่มีความอดทน

ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า:-

[ فَاصْبِرْ لِحُكْمِ رَبِّكَ ]


ความว่า ท่านต้องอดทนต่อการตัดสินแห่งผู้อภิบาลของท่าน
( ซูร่อตุ้ลอินซาน อายะห์ที่ 24 )

- ผู้รู้ทุกคนคือผู้ต้องปฏิบัติตามพันธสัญญาต้องชี้แจง จะปิดบังมิได้

ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า:-

[ وَإِذْ أَخَذَ اللهُ مِيْثَاقَ الَّذِيْنَ أُوْتُوا الْكِتَابَ لِتُبَيِّنُنَّهُ لِلنَّاسِ وَ لاَتَكْتُمُوْنَهُ ]
[ سُوْرَةُ آلَ عِمْرَانَ ، اَْلآيَةَ : 187 ]

ความว่า และจงรำลึกถึงขณะที่อัลลอฮ์ทรงเอาคำมั่นสัญญาจากบรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ว่า แน่นอนยิ่งที่พวกท่านจะต้องแจกแจงอธิบายคัมภีร์ให้แจ่มแจ้งแก่ประชาชนทั้งหลาย และพวกท่านต้องไม่ปิดบังมัน
(อาลาอิมรอน 187)


- การปกครองในระบอบอิสลาม เป็นสิ่งที่มุสลิมหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องปฏิบัติตาม ต้องชี้แจงให้ประชาคมรู้และยึดเป็นแนวทาง ไม่มีแนวทางอื่นใดนอกจากแนวทางนี้ แนวทางอื่น ๆ ล้วนแต่เป็นแนวทางซัยตอน เป็นแนวทางที่มีแต่ความขัดแย้งและแตกแยก อัล-กุรอ่านกล่าวว่า:-


[ وَأَنَّ هذَا صِرَاطِيْ مُسْتَقِيْمًا فَاتَّبِعُوْهُ وَلاَ تَتَّبِعُوا السُّبُلَ فَتَفَرَّقَ بِكُمْ عَنْ سَبِيْلِهِ ]


ความว่า และแท้จริงนี้คือแนวทางของฉันที่เที่ยงตรง พวกท่านจงปฏิบัติตาม พวกท่านอย่าได้ตามแนวทางอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้พวกท่านแตกแยกไปจากแนวทางของพระองค์
(ซูเราะห์อันอาม โองการที่ 153)

ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า:-

أَفَلاَ يَتَدَبَّرُوْنَ الْقُرْآنَ وَلَوْ كَانَ مِنْ عِنْدِ غَيْرِ اللهِ لَوَجَدُوا اخْتِلاَفًا كَثِيْرًا ]

ความว่า พวกเขาไม่ได้พิจารณาดูกุรอ่านกันดอกหรือว่า หากไม่ได้มาจากอัลลอฮ์ แน่นอนพวกเขาต้องพบแต่สิ่งที่ขัดแย้งกันอย่างมากมาย

- ไม่มีสิ่งใด ๆ ที่อัลลอฮ์ลืมหรือไม่ได้กล่าวไว้ในอัล-กุรอ่านเลย

ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า:-

[ مَا فَرَّطْنَا فِي الْكتَابِ مِنْ شَيْئٍ ]


ความว่า เราไม่ได้หลงลืมหรือละเลยอันใดในกุรอ่านเลย

- การสืบทอดตำแหน่งมิใช่ได้มาโดยสันติวงศ์

ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า:-

[ قَالَ إِنِّيْ جَاعِلُكَ لِلنَّاسِ إِمَامًا ، فَالَ وَمِنْ ذُرِّيَتِيْ ، ، فَالَ لاَ يَنَالُ عَهْدِيْ الظَّالِمِيْنَ ]


ความว่า อัลลอฮ์ได้กล่าวแก่อิบรอฮีมว่า แท้จริงเราได้ทำให้ท่านเป็นผู้นำแห่งมวลมนุษย์ อิบรอฮีมกล่าวว่า และขอให้ลูกหลานฉันด้วย อัลลอฮ์กล่าวว่า สัญญาของฉันไม่เกี่ยวกับบรรดาผู้ที่ซอลิม(คดโกง , อธรรม)

- ผู้นำต้องเป็นคนในชุมชนนั้น และต้องเป็นผู้รู้ ผู้สามารถฟอกให้สังคมสะอาดได้

ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า :-

[ رَبَّنَا وَابْعَثْ فِيْهِمْ رَسُوْلاً مِنْهُمْ يَتْلُوْ عَلَيْهِمْ آيَاتِكَ وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَيُزَكِّيْهِمْ ، إِنَّكَ أَنْتَ الْعَزِيْزُ الْحَكِيْمُ ]


ความว่า โอ้ผู้อภิบาลของเรา ได้โปรดแต่งตั้งผู้แทนให้พวกเขาจากพวกเขา เพื่อจะได้อ่านโองการต่าง ๆ ของท่านให้พวกเขา และสอนกุรอ่านตลอด จนฮิกมะฮ์(วิทยปัญญา)ให้แก่พวกเขาและขัดเกลาพวกเขา แท้จริงท่าน ท่านเป็นผู้มีอำนาจและทรงมีวิสัยทัศน์ยิ่ง
(ซูเราะห์อัล-บากอเราะฮ์ 129)
- หากใครฝ่าฝืน , ขัดขืนหรือไม่เห็นด้วย โดยไปให้ความสำคัญกับแนวทางอื่นจากแนวทางของอัลลอฮ์ก็ปล่อยเขาไป

อัล-กุรอ่านกล่าวท้าทายและเตือนสติไว้ว่า :-

[ قُلْ أَتُحَاجَّوْنَنَا فِي اللهِ وَهُوَ رَبُّنَا وَرَبُّكُمْ وَلَنَا أَعْمَالُنَا وَلَكُمْ أَعْمَالُكُمْ وَنَحْنُ لَهُ مُخْلِصُوْنَ ]


ความว่า จงกล่าวเถิดมูฮัมมัด พวกท่านจะคัดค้านเราในเรื่องบทบัญญัติของอัลลอฮ์กระนั้นหรือ ทั้ง ๆ ที่พระองค์ก็คือพระผู้อภิบาลของเรา และพระผู้อภิบาลของพวกท่าน ถ้างั้นงานของเราก็งานของเรา และงานของท่านก็งานของท่าน สำหรับเรา เราขอสวามิภักดิ์ และมีความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์
(อัล-บากอเราะฮ์ 139)

- เป็นมุสลิมต้องมีหลักและวิธีคิดตลอดจนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามอัลลอฮ์

ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า :-


[ إِنَّمَا كَانَ قَوْلَ الْمُؤْمِنِيْنَ إِذَا دُعُوْا إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ لِيَحْكُمَ بَيْنَهُمْ أَنْ يَقُوْلُوْا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا ، وَأُولئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُوْنَ . وَمَنْ يُطِعِ اللهَ وَرَسُوْلَهُ وَيَخْشَ اللهَ وَيَتَّقْهِ ، فَأُولئِكَ هُمُ الْفَائِزُوْنَ .]


ความว่า แท้จริงคำกล่าวของบรรดาผู้ศรัทธา เมื่อพวกเขาถูกเรียกร้องไปสู่อัลลอฮ์ และรอซูลของพระองค์ เพื่อให้ตัดสินระหว่างพวกเขา พวกเขาจะกล่าวว่า เราได้ยินแล้ว และเราเชื่อฟังปฏิบัติตาม คนเหล่านี้แหละคือผู้ประสบความสำเร็จ และผู้ใดเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ และเกรงกลัวอัลลอฮ์และยำเกรงพระองค์ คนเหล่านี้แหละคือกลุ่มชนที่ได้รับชัยชนะ
(ซูเราะฮ์ อันนูร 51-52)

- อย่าเป็นคนเช่น คนบางกลุ่มเมื่อถูกเรียกร้องให้ใช้หลักการของอัลลอฮ์ พวกเขาพากันผินหลังให้

ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า :-

[ وَإِذَا دُعُوْا إِلَى اللهِ وَرَسُوْلِهِ لِيَحْكُمَ بَيْنَهُمْ إِذَا فَرِيْقٌ مِنْهُمْ مُعُرِضُوْنَ . وَإِنْ يَكُنْ لَهُمُ الْحَقُّ يَأْتُوْا إِلَيْهِ مُذْعِنِيْنَ . أَفِيْ قُلُوْبِهِمْ مَرَضٌ أَمِ ارْتَابُوْا أَمْ يَخَافُوْنَ أَنْ يَحِيْفَ اللهُ عَلَيْهِمْ وَرَسُوْلُهُ ، بَلْ أُولئِكَ هُمُ الظَّالِمُوْنَ .]


ความว่า และเมื่อพวกเขาถูกเรียกร้องไปสู่อัลลอฮ์ และรอซูลของพระองค์ เพื่อให้ตัดสินระหว่างพวกเขา เมื่อนั้นฝ่ายหนึ่งจากพวกเขาจะพากันผินหลังให้ และหากว่าความจริงอยู่ข้างพวกเขาแล้ว พวกเขาจะรีบมาหามูฮัมมัดอย่างนอบน้อม ในหัวใจของพวกเขามีโรคกระนั้นหรือ ? หรือว่าพวกเขาสงสัย หรือว่าพวกเขากลัวว่าอัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์จะลำเอียง มิใช่หรอก เป็นเพราะพวกเขาอธรรมต่างหาก
(อัล-บากอเราะฮ์ 48-51)


- พวกเขาชอบหลักการ หลักคิด และหรือวิธีการของญาฮิลียะฮ์หรือ?

ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า :-

[ أَفَحُكْمَ الْجَاهِلِيَّةِ يَبْغُوْنَ ، وَمَنْ أَحْسَنُ مِنَ اللهِ حُكْمًا لِقَوْمٍ يُوْقِنُوْنَ ]


ความว่า คำตัดสินของคนโง่(กลุ่มชนญาฮิลียะฮ์) กระนั้นหรือที่พวกเขาปรารถนา และใครเล่าที่จะตัดสินดียิ่งกว่าอัลลอฮ์ สำหรับกลุ่มชนที่เชื่อมั่นต่อพระองค์
(ซูเราะฮ์อัล-มาอิดะฮ์ โองการที่ 50)

- คนที่กลัวอัลลอฮ์จะมีสติรับฟังการตักเตือน ส่วนคนที่ชั่วช้าจะหลีกเลี่ยงการตักเตือน


ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า :-
[ سَيَذَّكَّرُ مَنْ يَخْشَى . وَيَتَجَنَّبُهَا اْلأَشْقَى ]


ความว่า ผู้ที่มีความยำเกรงจะได้คิด และผู้ที่ชั่วช้าจะหลีกเลี่ยงการตักเตือน
(ซูเราะฮ์อะลา 10-11)

- มาเถิดมารวมและร่วมกันในการเปล่งวาจาเดียวกัน ว่าจะไม่สักการะสิ่งใดนอกจากอัลลอฮ์

ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า :-

[ قُلْ يَا أَهْلَ الْكِتَابِ تَعَالَوْا إِلَى كَلِمَةٍ سَوَاءٍ بَيْنَنَا وَبَيْنَكُمْ أَلاَّ نَعْبُدَ إِلاَّ اللهَ وَلاَ نُشْرِكَ بِهِ شَيْئًا وَلاَ يَتَّخِذَ بَعْضُنَا بَعْضًا أَرْبَابًا مِنْ دُوْنِ اللهِ ، فَإِنْ تَوَلَّوْا فَقُوْلُوا اشْهَدُوْا بِأَنَّا مُسْلِمُوْنَ .]


ความว่า จงกล่าวเถิดมูฮัมมัด โอ้บรรดาผู้รับคัมภีร์ จงมายังถ้อยคำหนึ่งที่เท่าเทียมกัน ระหว่างเราและพวกท่าน คือ เราจะไม่สักการะนอกจากพระองค์เท่านั้น และพวกเราบางคนก็จะไม่ยึดถืออีกบางคนเป็นพระเจ้าอื่นจากอัลลอฮ์ แล้วหากพวกเขาผินหลังให้ ก็จงกล่าวเถิดว่า พวกท่านจงเป็นพยานด้วยว่า พวกเราเป็นบริสุทธิ์ชน
(อาลาอิมรอน 64)

- พวกยะฮูดีและพวกนัศรอนีต้องการให้เราตามพวกมัน

ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า :-

[ وَلَنْ تَرْضَى عَنْكَ الْيَهُوْدُ وَلاَ النَّصَارَى حَتَّى تَتَّبِعَ مِلَّتَهُمْ ]


ความว่า และไม่มีวันที่พวกยะฮูดีและพวกนัศรอนีจะยินดีในตัวท่าน นอกจากพวกมันต้องการให้ท่านตามศาสนาของมัน



- หากความเห็นไม่ตรงกันหรือขัดแย้งกัน ต้องปรับกลับไปหาอัลลอฮ์และรอซูล


[ يَاأَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا أَطِيْعُوْا اللهَ وَ أَطِيْعُوْا الرَّسُوْلَ وَأُولِى اْْلأَمْرِ مِنْكُمْ، فَإِنْ تَنَازَعْتُمْ فِيْ شَيْءٍ فَرُدُّوْهُ إِلَى اللهِ وَالرَّسُوْلِ إِنْ كُنْتُمْ تُؤْمِنُوْنَ بِاللهِ وَالْيَوْمِ اْلآخِرِ ]


ความว่า โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกท่านจงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และพวกท่านจงเชื่อฟังรอซูล หากพวกท่านขัดแย้งกันในเรื่องใด ๆ พวกท่านจงกลับไปหาข้อตัดสินความขัดแย้งของพวกท่านจากอัลลอฮ์และรอซูล หากพวกท่านศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันปรโลก
(ซูเราะฮ์ อันนิซาอ์ โองการที่ 59)

- คนมีอีหม่านจะลังเลว่าจะทำหรือไม่ตามบัญญัติแห่งอัลลอฮ์มิได้

[ وَمَا كَانَ لِمُؤْمِنٍ وَلاَ مُؤْمِنَةٍ إِذَا قَضَى اللهُ وَرَسُوْلُهُ أَمْرًا أَنْ يَكُوْنَ لَهُمُ الْخِيَرَةُ مِنْ أَمْرِهِمْ ، وَمَنْ يَعْصِ اللهَ وَرَسُوْلَهُ فَقَدْ ضَلَّ ضَلاَلاً مُبْيْنًا ]


และไม่ใช่ศรัทธาชนชาย และมิใช่ศรัทธาชนหญิง เมื่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์กำหนดให้กระทำการสิ่งใด พวกเขาจะมีความลังเลในการจะทำหรือไม่ทำกิจกรรมของเขานั้น และใครทรยศต่ออัลลอฮ์และรอซูลของพระองค์ แน่แท้พวกเขาหลงไหลชนิดที่ชัดเจนเหลือเกิน
(ซูเราะฮ์อัล-อะห์ซาน โองการที่ 36)

- อำนาจหรือธรรมนูญที่อัลลอฮ์ท่านทรงกำหนดไว้ จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ดังอัล-กุรอ่านกล่าวว่า :-

[ وَلَنْ تَجِدَ لِسُنَّةِ اللهِ تَبْدِيْلاً ]

ความว่า ท่านจะไม่พบว่าแนวทางแห่งอัลลอฮ์จะมีการเปลี่ยนแปลง



(โดย อาจารย์อับดุลการีม(อรุณ) วันแอเลาะ)

والله سبحانه وتعالى أعلم
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิ.ย. 20, 2009, 05:33 AM โดย Rabit »
الأيام تمضى       والعمر يزيد         ولكن الحب بالقلب أكيد

ออฟไลน์ As-Zaleek

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 804
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +33
    • ดูรายละเอียด
Re: การปกครองในระบอบอิสลาม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิ.ย. 20, 2009, 06:19 AM »
0
بِسْمِ اللهِ الّرحْمنِ الّرحِيْمِ

الحَمْدُلِّلهِ رَبِّ العَالَمِيْنِ  وَالصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلَى مَنْ لاَ نَبِىَّ بَعْدَهُ  سَيِّدِنَا وَرَسُوْلِنَا مُحَمَّدٍ وَعَلَى آلِهِ وَأَصْحَابِهِ أَجْمَعِيْنَ  وَبَعْدُ
                                             

การบริหารและการใช้อำนาจของผู้นำตามหลักศาสนาอิสลาม

                อิสลามได้กำหนดแนวทางให้ผู้นำในทุกระดับชั้น ต้องบริหารและใช้อำนาจให้เป็นไปตามบทบัญญัติอิสลามในทุกกรณี ตั้งแต่วิธีการได้มาซึ่งตำแหน่งผู้นำ การจัดตั้งองค์กร การปรึกษาหารือ การบริหารการจัดการ ปรัชญา วิสัยทัศน์ โดยมุ่งสู่คุณานุประโยชน์ที่ประชาคมมุสลิมจะพึงได้รับเป็นประการสำคัญ ทั้งในด้านการศึกษา จริยธรรม สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง
           
            การนำระบบที่มิใช่อิสลามมาใช้ในการปกครอง เป็นการทำลายอิสลามและประชาคม สังคมจะเต็มอยู่ด้วยการต่อสู้ ช่วงชิง ความแตกแยก และความเป็นสัตรู และที่ร้ายที่สุดคือ การเสียประโยชน์ของสัปปุรุษในสังคมที่มีความขัดแย้ง
           
            อิสลามได้วางหลักการปกครองไว้ดังนี้ :

[ وَمَنْ لَمْ يَحْكُمْ بِمَا أَنْزَلَ اللهُ فَأُولئِكَ هُمُ الْكَافِرُوْنَ ] [ سُوْرَةُ الْمَائِدَةِ : ٤٤ ]
           
บุคคลใดที่ไม่ปกครองให้เป็นไปตามพระบัญญัติที่อัลเลาะห์ได้ทรงประทานมา พวกเขาเหล่านั้นคือพวกกาเฟร           
  ซูร่อตุ้ลมาอิดะหโองการที่ 44

[ وَمَنْ يَبْتَغِ غَيْرَ اْلإِسْلاَمِ دِيْنًا ، فَلَنْ يُقْبَلَ مِنْهُ فَهُوَ اْلآخِرَةِ مِنَ الْخَاسِرِيْنَ ]
[ سُوْرَةُ آلَ عِمَرَانَ : ٨٥
           
 และบุคคลใดแสวงหาแนวทางอื่นซึ่งมิใช่อิสลาม ไม่มีวันที่เขาจะได้รับการตอบรับ และเขาคือคนหนึ่งจากผู้ขาดทุนในวันอาคิเราะห์                                                                ซูเราะห์อาละอิมรอน โองการที่ 85


           ที่มาและสิทธิอำนาจของผู้นำ          

      ในหนังสือ [ قُرَّةُ الْعَيْنِ بِفَتَاوَى عُلَمَاءِ الْحَرَمَيْنِ ] หน้า 136 , ซึ่งเป็นหนังสือตอบปัญหาในลักษณะอ้างอิงของท่าน [ اَلشَّيْخُ مُحَمَّدُ بْنُ سُلَيْمَانَ الْكُرْدِيُّ الْمَدَنِيُّ الشَّافِعِيُّ ] ได้ระบุที่มาและสิทธิอำนาจของผู้นำไว้ดังนี้ :
 
          [ وَالسُّلْطَانُ الْمَذْكُوْرُ فِيْ بُلْدَانِكُمْ : يُسَمَّى إِمَامًا أَعْظَمَ ، بِمَعْنَى : أَنَّهُ تَنْفُذُ أَحْكَامُهُ كَاْلإِمَامِ اْلأَعْظَمِ ، وَيَجْرِيْ مِنْهُ مَا قَرَّرُوْهُ فِي اْلإِمَامِ اْلأَعْظَمِ ، فَلَقَدْ صَرَّحَ أَئِمَّتُنَا : أَنَّ اْلإِمَامَةَ تَنْعَقِدُ بِطُرُقٍ :
          أَحَدُهَا : بِبَيْعَةِ أَهْلِ الْحَلِّ وَالْعَقْدِ مِنَ الْعُلَمَاءِ وَالرُّؤَسَاءِ وَوُجُوْهِ النَّاسِ الَّذِيْنَ يَتَيَسَّرُ اجْتِمَاعُهُمْ حَالَةَ الْبَيْعَةِ .
          وَثَانِيْهَا : بِاسْتِخْلاَفِ اْلإِمَامِ .
          وَثَالِثُهَا : بِاسْتِيْلاَءِ الشَّوْكَةِ ، وَإِنِ اخْتَلَّتْ فِيْهِ الشُّرُوْطُ كُلُّهَا .
          وَسَلاَطِيْنُ بِلاَدِكُمْ فِيْمَا بَلَغَنِيْ ، لاَيَخْرُجُوْنَ عَنْ هذِهِ اْلأَقْسَامِ ، فَمَنِ اسْتَجْمَعَ الشُّرُوْطَ الَّتِي اشْتَرَطُوْهَا فِي فِي اْلإِمَامِ اْلأَعْظَمِ ، فَهُوَ إِمَامٌ أَعءظَمُ حَقِيْقَةً ، وَإِلاَّ : فَهُوَ مُتَوَلِّ بِالشَّوْكَةِ ، فَلَهُ حُكْمُ اْلإِمَامِ اْلأَعْظَمِ فِيْ عَدَمِ انْعِزَالِهِ بِالْفِسْقِ وَغَيْرِهِ . وَاللهُ أَعْلَمُ ]
 
            ผู้ปกครองดังกล่าวในประเทศของท่าน [ ประเทศในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ] เรียกว่า อิหม่ามอะอ์ซอม ในความหมายที่คำสั่งต่างๆ ย่อมมีผลบังคับใช้เช่นเดียวกับอิหม่ามอะอ์ซอม และย่อมดำเนินภารกิจตามที่กำหนดไว้ในตำแหน่งอิหม่ามอะอ์ซอมทุกประการ บรรดาผู้นำทางวิชาการของเราต่างแสดงทัศนะไว้เป็นที่ชัดเจนว่า ผู้นำสูงสุดนั้น ได้มาในหลายแนวทางดังนี้ :
         
           1. โดยการให้สัตยาบันของบารมีชน จากกลุ่มนักวิชาการอิสลาม บรรดาหัวหน้า และบุคคลชั้นนำในสังคม ที่อาจรวมตัวกันได้ขณะให้สัตยาบัน
        2. โดยการแต่งตั้งจากผู้นำคนก่อน
        3. โดยการทำรัฐประหารของกองกำลังติดอาวุธ แม้จะมีความบกพร่องในเงื่อนไขทั้งหมดก็ตาม
           
        ผู้ปกครองในประเทศของท่านตามที่ข้าพเจ้าทราบนั้น ต่างอยู่ในแนวทางเหล่านี้ ดังนั้น ผู้ที่มีเงื่อนไขครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในตัวผู้นำสูงสุด ย่อมถือได้ว่าเป็นอิหม่ามอะอ์ซอมโดยแท้จริง แต่ถ้าไม่ครบถ้วนเรียกว่า [ مُتَوَلٍّ بِالشَّوْكَةِ ] ซึ่งเป็นอิหม่ามอะอ์ซอม ในกรณีที่จะทำการถอดถอนในฐานะที่ทำความผิดหรือในกรณีอื่นมิได้ อัลเลาะห์ทรงเป็นผู้รู้ยิ่ง .
           
         ในตำราบางเล่ม เรียกผู้นำที่ขาดคุณสมบัติซึ่งได้มาด้วยวิธีการหนึ่งวิธีการใดข้างต้นว่า อิหม่ามดอรูเราะห์ [ إِمَامُ ضَرُوْرَةٍ ]  ซึ่งมีสิทธิและอำนาจเช่นเดียวกับอิหม่ามอะอ์ซอมทุกประการ
 

        ผู้ตามต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้นำ

          ในหนังสือ [ تَنْوِيْرُ الْقُلُوْبِ فِيْ مُعَامَلَةِ عَلاَّمِ الْغُيُوْبِ ] หน้า 49 ระบุข้อความไว้ดังนั้น :
 
          [ وَكَذلِكَ : تَجِبُ الطَّاعَةُ ِلأَئِمَّةِ الْمُسْلِمِيْنَ فِيْ غَيْرِ مَعْصِيَةِ اللهِ تَعَالَى ، لِقَوْلِهِ تَعَالَى : [ أَطِيْعُوا اللهَ وَأَطِيْعُوا الرَّسُوْلَ وَأُولِى اْلأَمْرِ مِنْكُمْ ] ، قَالَ بَعْضُهُمْ : اَلْمُرَادُ بِهِمْ : اَلْعُلَمَاءُ الْعَامِلُوْنَ بِعِلْمِهِمْ ، اَْلآمِرُوْنَ بِالْمَعْرُوْفِ وَالنَّاهُوْنَ عَنِ الْمُنْكَرِ ، وَقَالَ بَعْضُهُمْ : اَلْمُرَادُ بِهِمْ : أُمَرَاءُ الْحَقِّ الْعَامِلُوْنَ بِأَمْرِ اللهِ وَأَمْرِ السُّنَّةِ ، وَلاَيُطَاعُوْنَ فِيْ مَعْصِيَةِ اللهِ ، لِقَوْلِهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : [ لاَ طَاعَةَ لِمَخْلُوْقٍ فِيْ مَعْصِيَةِ الْخَالِقِ ] رَوَاهُ اْلإِمَامُ أَحْمَدُ وَالْحَاكِمُ ]
 
            และเช่นเดียวกัน วายิบต้องปฏิบัติตามบรรดาผู้นำของหมู่มวลมุสลิม ในกรณีที่ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อ   อัลเลาะห์ผู้ทรงสูงส่ง  ดังพระดำรัสของพระผู้ทรงสูงส่งที่ระบุว่า : [ จงปฏิบัติตามอัลเลาะห์ และจงปฏิบัติตาม ร่อซู้ล และผู้นำในหมู่พวกท่าน ] นักวิชาการอิสลามบางท่านให้ทัศนะว่า จุดมุ่งหมายของคำว่าผู้นำ หมายถึง นักวิชาการอิสลามที่ทำตามความรู้ ที่กำชับให้ทำความดี และที่ห้ามมิให้ทำความชั่ว , และนักวิชาการอิสลามอีกบางท่านให้ทัศนะว่า จุดมุ่งหมายของคำว่าผู้นำ หมายถึง ผู้นำผู้มีสิทธิ์อำนาจ ซึ่งปฏิบัติตามพระบัญชาของ อัลเลาะห์และตามซุนนะห์ แต่จะปฏิบัติตามผู้นำไม่ได้ ในกรณีที่เป็นการฝ่าฝืนต่ออัลเลาะห์ ตามพระคำของท่านร่อซู้ล [ ซ.ล. ] ที่ระบุว่า : [ ไม่มีการปฏิบัติตามสิ่งที่ถูกสร้าง ในกรณีที่เป็นการฝ่าฝืนต่อพระผู้สร้าง ]
รายงานโดย อิหม่ามอะห์หมัดและท่านฮาเก็ม
 
       อำนาจหน้าที่ของกรรมการ

            ซูรอหรือการปรึกษาหารือหรือการประชุม เป็นกลไกสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการบริหาร โดยเฉพาะในปัญหาที่ไม่มีตัวบทกำหนดไว้อย่างชัดเจน คือเป็นหน้าที่ของผู้นำที่ต้องเรียกประชุมปรึกษาหารือ และการ        วินัจฉัยของผู้นำถือเป็นที่สิ้นสุด จะถือเสียงข้างมากจากที่ประชุมมิได้ ในอิสลามนั้นเสียงข้างมากจะถูกนำมาใช้ในกรณีการคัดเลือกผู้นำสูงสุดของชุมชนเพียงกรณีเดียวเท่านั้น ดังปรากฏหลักฐานในหนังสือ [ اَلشُّوْرَى ] ของ ดร.อับดุลเลาะห์ บิน อะห์หมัด กอดีรีย์ หน้า 92 ดังนี้ :
 
[ وَلكِنْ يَبْدُوْ أَنَّ رَأْيَ اْلأَكْثَرِيْنَ : يَجِبُ أَنْ يَكُوْنَ مُلْزَمًافِي اخْتِيَارِ خَلِيْفَةِ الْمُسْلِمِيْنَ ]
           
                 แต่เป็นที่ปรากฏชัดว่า ความเห็นส่วนใหญ่ จะมีผลบังคับเฉพาะในการเลือกผู้นำสูงสุดของหมู่มวลมุสลิมเท่านั้น
            ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ สังคมไม่มีผู้นำ ซึ่งเป็นหน้าที่ของ [ أَهْلُ الْحَلِّ وَالْعَقْدِ ] หรือ [ คนบารมีชนในสังคม ] ที่ต้องสรรหาผู้นำ โดยใช้เสียงข้างมากของที่ประชุมเป็นเครื่องมือในการตัดสิน
            ในอิสลามกรรมการมีฐานะเป็นเพียงที่ปรึกษา และผู้ปฏิบัติตามคำสั่งโดยชอบของผู้นำเท่านั้น จะใช้เสียงข้างมากของที่ประชุม มาบีบบังคับให้ผู้นำต้องปฏิบัติตามความต้องการของกรรมการมิได้ การประชุมในอิสลามจึงไม่มีการขอมติจากที่ประชุม แต่ข้อวินิจฉัยของผู้นำ คือมติที่ประชุม และคือคำสั่งที่กรรมการทุกคนต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม จะฝ่าฝืนมิได้ การฝ่าฝืนจะมีความผิดตามหลักศาสนาอิสลามในข้อหาเป็น [ بُغَاةٌ ] หรือ [ กบฏ ] ซึ่งต้องถูกปราบปรามและถูกประหารชีวิต หากไม่กลับตัวปรับใจ ทั้งหมดนั้นก็เพื่อความเป็นเอกภาพและความเป็นระเบียบ  อันจะก่อเกิดพลังอันยิ่งใหญ่  ที่จะผลักดันสังคมให้รุดหน้าต่อไป .
           
             ศาสนทูตแห่งอัลเลาะห์ [ ซ.ล. ] ระบุหน้าที่ของคณะทำงานหรือกรรมการไว้ดังนี้ :
 
          [ وَعَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا قَالَتْ : قَالَ رَسُوْلُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : إِذَا أَرَادَ اللهُ بِاْلأَمِيْرِ خَيْرًا ، جَعَلَ لَهُ وَزِيْرَ صِدْقٍ ، إِنْ نَسِيَ ، ذَكَّرَهُ ، وَإِنْ ذَكَرَ ، أَعَانَهُ ، وَإِذَا أَرَادَ بِهِ غَيْرَ ذلِكَ ، جَعَلَ لَهُ وَزِيْرَ سُوْءٍ ، إِنْ نَسِيَ ، لَمْ يُذَكِّرْهُ ، وَإِنْ ذَكَرَ ، لَمْ يُعِنْهُ ]                            [ رَوَاهُ أَبُوْ دَاوُوْدَ بِإِسْنَادٍ جَيِّدٍ عَلَى شَرْطِ مُسْلِمٍ ]
           
            รายงานจากอาอิซะฮ์ [ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا ] ว่า ศาสนทูตแห่งอัลเลาะห์ [ ซ.ล. ] ทรงกล่าวว่า เมื่ออัลเลาะห์ทรงมีพระประสงค์ดีต่อผู้นำ พระองค์จะประทานให้เขามีผู้ปฏิบัติงานที่มีความจริงใจ หากลืม เขาก็จะเตือน หากนึกขึ้นได้ ก็จะให้ความช่วยเหลือ และเมื่อทรงมีพระประสงค์เป็นอย่างอื่น ก็จะประทานให้เขามีผู้ร่วมงานที่ชั่วช้า หากลืมก็จะไม่เตือน หากระลึกได้ ก็จะไม่ให้ความช่วยเหลือ
รายงานโดยอะบูดาวูด ด้วยสายรายงานที่ครบถ้วนตามเงื่อนไขของท่านมุสลิม
         
          อำนาจหน้าที่ของกรรมการจึงมีอยู่เพียง 2 ประการ คือ :
           
        1. ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อผู้นำ
      2.  ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำ
 

          การยุติข้อขัดแย้ง       
   
        ในการประชุม ซึ่งประกอบไปด้วยประธานและกรรมการ เพื่อพิจารณาเรื่องหนึ่งเรื่องใด ความเห็นที่แตกต่างกัน จากการให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะของกรรมการ ถือเป็นเรื่องปกติและเป็นสิ่งที่ดี เพื่อผู้นำจะได้เทียบเคียงเหตุผล และวินิจฉัยคัดเลือกแนวทางที่ดีที่สุด ใกล้เคียงกับเจตนารมณ์ของอิสลามมากที่สุด ไปใช้ในการบริหารจัดการ
           
        การขัดแย้งที่เกิดขึ้นในการประชุมระหว่างกรรมการด้วยกันเอง หรือการขัดแย้งในหมู่มวลสัปปุรุษ ต้องให้ผู้นำเป็นผู้ตัดสินวินิจฉัย ดังความที่ปรากฏในพระคัมภีร์อัลกุรอานดังนี้ :
 
[ فَلاَ وَرَبِّكَ لاَيُؤْمِنُوْنَ حَتَّى يُحَكِّمُوْكَ فِيْمَا شَجَرَ بَيْنَهُمْ ثُمَّ لاَيَجِدُوْا فِيْ أَنْفُسِهِمْ حَرَجًا مِمَّا قَضَيْتَ وَيُسَلِّمُوْا تَسْلِيْمًا ] [ سُوْرَةُ النِّسَاءِ : ٦٥ ]
           
       มิได้ ขอยืนยันต่อองค์พระผู้อภิบาลของเจ้าว่า พวกเขาจะยังไม่มีศรัทธา จนกว่าพวกเขาจะมอบให้เจ้าเป็นผู้ตัดสินในข้อขัดแย้งระหว่างพวกเขา และจนกว่าจะไม่มีความคับแค้นใจในตัวพวกเขา ต่อกรณีที่เจ้าได้ตัด สินวินิจฉัย และจนกว่าพวกเขาจะตอบรับโดยดุษฎี ซูเราะห์ อันนิซาอ์ โองการที่ 65
           
      ในวิชา [ วิธีพิจารณาความตัวบท ] หรือ [ أُصُوْلُ الْفِقْهِ ] ได้ระบุถึงวิธียุติข้อขัดแย้งไว้ดังนี้ :
 
[ إِذَا حَكَمَ الْحَاكِمُ ، يُرْفَعُ الْخِلاَفُ ]

   เมื่อผู้นำได้ตัดสินวินิจฉัยแล้ว ข้อขัดแย้งต้องยุติทันที
           
        สังคมของเราในปัจจุบันนี้ เป็นสังคม [ فَوْضَى ] ไร้ระเบียบแบบแผน ไม่รู้จักสิทธิอำนาจของตนว่ามีมากน้อยเพียงใด ไม่ยึดหลักศาสนาอิสลาม ตามอารมณ์ ยึดกิเลสและความคิดเห็นของตนเป็นที่ตั้ง ถ้าผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นมุสลิม ยังขาดความรู้ ความเข้าใจและขาดศรัทธา ที่จะประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปตามพระบัญญัติที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานแล้ว ทั้งผู้นำ กรรมการ และสัปปุรุษ ย่อมต้องประสบกับความหายนะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สมดังความในพระคัมภีร์อัลกุรอานที่ระบุว่า :
 
[ وَأَطِيْعُوا اللهَ وَرَسُوْلَهُ وَلاَتَنَازَعُوْا فَتَفْشَلُوْا وَتَذْهَبَ رِيْحُكُمْ وَاصْبِرُوْا ، إِنَّ اللهَ مَعَ الصَّابِرِيْنَ ]       
[ سُوْرَةُ اْلأَنْفَالِ : ٤٦ ]
         
     จงปฏิบัติตามอัลเลาะห์และศาสนทูตของพระองค์ และอย่าได้ขัดแย้งกัน อันจะเป็นเหตุให้พวกท่านต้องล้มเหลวปราชัย และสูญเสียซึ่งพลังของพวกท่าน และจงอดทน แท้จริง อัลเลาะห์ทรงอยู่เคียงข้างผู้ที่มีความอดทน ซูร่อตุ้ลอันฟาล โองการที่ 46


โดย อ.อนันต์ (อับดุลฮากีม)  วันแอเลาะ

والله سبحانه وتعالى أعلم
الأيام تمضى       والعمر يزيد         ولكن الحب بالقلب أكيد

ออฟไลน์ IamCrying

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 376
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การปกครองในระบอบอิสลาม
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิ.ย. 20, 2009, 06:25 AM »
0
ขอบคุณมากมาย ครับสำหรับความรู้ ครับ

นอกจากการยกอัล กุรอ่านมาข้างต้นแล้ว
 
อยากให้นำเสนอเนื้อหา เกี่ยวกับการปกครองนะครับ จักเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง เนื่องจากว่า ยกแต่ บทกุรอ่านมา บางครั้งนึกไม่ออกว่า ระบบการปกครองแบบอิสลาม เป็นอย่างไร ที่สำคัญมันต่างจากการปกครองในปัจจุบันอย่างไร

และที่สำคัญยิ่งกว่าคือ เมื่อมีการนำไปปฏิบัติ มันจักก่อผลที่ดีกว่า ปัจจุบันอย่างไร

หรือ นักปรัชญาอิสลามในยุครุ่งเรือง เขามีแนวคิดอย่างไรในทางการเมืองการปกครอง (ปรัชญาการเมืองแบบอิสลาม ) เช่น อัล ฟารอบี หรือ ท่านอื่น ๆ

นักศึกษาที่เรียนทางด้านนี้หรือเกี่ยวเนื่องจักได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง ถ้ามีการนำเสนอดังกล่าว เนื่องจากว่า การเรียนที่ ใช้อยูในปัจจุบัน มักจะมองผ่านมุมมองแบบตะวันตก

ขอบคุณมากมายครับ
Closer than veins : Invite to the Way of thy Lord with wisdom... Qur.16:125

ออฟไลน์ as-satuly

  • พลังแห่งการศรัทธา
  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 997
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด
Re: การปกครองในระบอบอิสลาม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ต.ค. 02, 2009, 02:01 AM »
0

          การปกครองในระบอบศาสนาอิสลามนั้น เป็นระบบการปกครองที่มีความสมบูรณ์ที่สุดทุกด้านและครบถ้วน และยังเป็นประชาธิปไตยอีกด้วย  อันซึ่งมีบอกกล่าวไว้ว่า "วิธีการปกครองของอิสลามนั้น ยังประกอบด้วยหลักความเสมอภาค - เสรีภาพ - ภราดรภาพ อันเป็นหลักสำคัญของประชาธิปไตย  แต่ก็มิใช่ประชาธิปไตยแบบตะวันตก"...วัลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลามุอะลัยกุม

(อ้างอิงจาก : สำนักพิมพ์อาลีพาณิชย์. 2547. ศาสตร์ในอิสลาม : SCIENCE IN ISLAM. พิมพ์ครั้งที่ 3. สงขลา : โรงพิมพ์ชานเมือง. หน้า 54 - 55.)

ออฟไลน์ rayes

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 628
  • Respect: +18
    • ดูรายละเอียด
    • บล็อกผมเอง หุหุ
Re: การปกครองในระบอบอิสลาม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พ.ย. 15, 2009, 01:09 PM »
0
 
ของรามก็มีกฎหมายอิสลามเป็นวิชาเลือกของคณะนิติศาตร์ เกี่ยวกับ เรื่องมรดกและครอบครัว เรียบเรียงโดย เด่น โต๊ะมีนา นักศึกษาที่ไม่ใช่มุสลิมก็ลงเรียนมากมาย

ออฟไลน์ กูปีเยาะฮฺสะอื้น

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1679
  • เพศ: ชาย
  • ที่สุดแห่งชีวิต
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด
Re: การปกครองในระบอบอิสลาม
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พ.ย. 17, 2009, 10:02 AM »
0
 myGreat: myGreat: myGreat:
มีหลักเกณฑ์ ยึดหลักการ มีหลักฐาน มั่นหลักธรรม

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: การปกครองในระบอบอิสลาม
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ธ.ค. 31, 2013, 10:56 AM »
0
ขุด...

^^

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

 

GoogleTagged