ผู้เขียน หัวข้อ: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •  (อ่าน 6623 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ rayes

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 628
  • Respect: +18
    • ดูรายละเอียด
    • บล็อกผมเอง หุหุ

 
   


<a href="http://www.muslim2world.com/s/0027.swf" target="_blank" class="new_win">http://www.muslim2world.com/s/0027.swf</a>
 
  
   

           ปัจจุบัน อาหารฮาลาล (Halal Food) เป็น เรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากสังคมไทย มิใช่เพียงแต่ ชาวไทยมุสลิมที่จำเป็นต้องบริโภคอาหาร ฮาลาลเท่านั้น แต่ผู้ประกอบการซึ่งต้องการผลิตอาหารฮาลาลจำหน่าย แก่ผู้บริโภคมุสลิมในประเทศ และผลิตเพื่อการส่งออกในตลาดโลกมุสลิมก็จำเป็นต้องให้ความสนใจอย่างจริงจัง และดำเนินกระบวนการผลิตอาหาร ฮาลาลให้ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลาม และระเบียบคณะกรรมการกลาง อิสลามแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับรองฮาลาล พ.ศ. 2544 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545 โดย ผ่านการตรวจสอบ และรับรองจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยหรือคณะกรรมการอิสลามประจำ จังหวัดแล้วแต่กรณี และหากผู้ขอรับรองฮาลาล ประสงค์จะใช้ "เครื่องหมายรับรองฮาลาล" จะต้องรับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายดังกล่าว จากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยก่อน (ข้อ 7, ข้อ 8 แห่งระเบียบฯ) ประกอบกับประเทศไทย เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลก ตลาดโลกมุสลิมมีประชากรผู้บริโภคประมาณ 2,000 ล้านคน อาหารฮาลาล จึงเป็นช่องทางการตลาด (Market Channel) ที่สำคัญ ซึ่งประเทศไทยควรจะต้องเจาะตลาดอาหารฮาลาลเพื่อเพิ่ม ส่วนแบ่งการตลาด (Market Segmentation) ให้ มากขึ้น รัฐบาลปัจจุบันจึงมีนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหาร ฮาลาลเพื่อการส่งออกและได้แปลงนโยบายสู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ การส่งเสริม ผู้ประกอบการ การแสวงหาตลาดและการพัฒนากลไกการรับรองมาตรฐานอาหารฮาลาล ให้เป็นที่น่าเชื่อถือยอมรับของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอำนาจหน้าที่ในการตรวจรัรองและอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย รับรอง ฮาลาลเป็นอำนาจหน้าที่ขององค์กรศาสนาอิสลามเท่านั้น คือคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด อาหารฮาลาลจึงเป็นเรื่องของความร่วมมือและผลประโยชน์ร่วม กันของ 3 ฝ่าย คือ มุสลิมผู้บริโภค ผู้ประกอบการและประเทศชาติ กล่าวคือ

1) มุสลิม ได้บริโภคอาหารฮาลาลที่เชื่อได้ว่าถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลาม มีคุณค่าอาหารถูกสุขอนามัย ปลอดภัยจากสิ่งต้องห้ามทางศาสนาอิสลาม (ฮารอม) และสิ่งปนเปื้อนต่างๆ

2) ผู้ ประกอบการได้รับผลประโยชน์ทางธุรกิจโดยตระหนักถึงการผลิตอาหาร ฮาลาลที่ถูกต้องตามบัญญัติศาสนาอิสลามและปฏิบัติตามระเบียบคณะกรรมการกลาง อิสลามแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการรับรองฮาลาลอย่างเคร่งครัด ตลอดจนบริหารคุณภาพอาหารตามมาตรฐานฮาลาล

3) ประเทศ ชาติได้รับผลประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรัฐบาลให้การส่งเสริมสนับ สนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลอย่างครบวงจรทั้งในด้านการพัฒนาวัตถุดิบ ปัจจัยการผลิตของผู้ประกอบการตลาดและการปรับปรุงกลไกการรับรอง "มาตรฐานอาหารฮาลาล" ของ องค์กรศาสนาอิสลาม เพื่อส่งออกอาหารฮาลาลสู่ตลาดโลก

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ “ฮาลาลและอาหารฮาลาล”

(1). ความสำคัญและความหมายของอาหารฮาลาล


มุสลิม มีความศรัทธาว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺ นบีมูฮัมมัดเป็นผู้สื่อ (รอซูล) ของอัลลอฮฺ" และมุสลิมมีความเชื่ออย่างมั่นใจว่า อัลลอฮฺ คือผู้สร้างมนุษย์และสรรพสิ่งในจักรวาล ดังนั้น คำบัญชาของอัลลอฮฺ (อัล-กุ รอาน) คำสอนและแบบอย่างของนบีมูฮัมมัด (ซุนนะห์) จึงเป็นเรื่องที่มุสลิมจะต้องปฏิบัติตามด้วยความจริงใจและจริงจัง กล่าวคือ ปฏิบัติในสิ่งที่อนุมัติ (ฮาลาล) และไม่ปฏิบัติในสิ่งที่เป็นข้อห้าม (ฮารอม) ด้วยความ เต็มใจและยินดี

ฮา ลาล-ฮารอม ในอิสลามจึงมิได้หมายความเพียงการบริโภคอาหารเท่านั้น แต่ครอบคลุมถึงวิถีการดำเนิน ชีวิตในทุกด้าน เพราะอิสลามคือระบอบแห่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์ อาหารฮาลาล (Halal Food) จึง เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมในการบริโภค ส่วนผู้ที่มิใช่มุสลิมหากบริโภคอาหารฮาลาลก็จะได้ประโยชน์ต่อสุขภาพเช่น เดียวกันเพราะอาหารฮาลาลจะต้องมีกระบวนการผลิตที่ถูกต้องตามข้อบัญญัติแห่ง ศาสนาอิสลามปราศจากสิ่งต้องห้าม (ฮารอม) และมีคุณค่าทางอาหาร (ตอยยิบ) อัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้มีบัญชาไว้ในบทที่ 2 วรรคที่ 168 แห่งคัมภีร์อัล-กุรอาน ความว่า

“โอ้มนุษย์ จงบริโภคสิ่งที่อนุมัติ (ฮาลาล) ที่ดี (ตอยยิบ) จากสิ่งที่อยู่ในแผ่นดิน และจงอย่าตามบรรดา ก้าวเดินของมาร (ซัยตอน) แท้จริงมันคือศัตรูที่ชัดแจ้งของพวกเจ้า"

และอัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้กำชับผู้ศรัทธาไว้ในบทที่ 2 วรรคที่ 172 ความว่า

“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธา จงบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพของพวกเจ้าจากสิ่งที่ดีทั้งหลาย และจงขอบคุณ อัลลอฮฺเถิด เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่พวกเจ้าจักเป็นผู้เคารพสักการะ"

อาหารฮาลาลจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์และเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทั่วโลก

ความหมายของคำ (ภาษาอาหรับ) “ฮาลาล ฮารอม ตอยยิบ มัสบุฮฺ"

ฮาลาล (Halal) แปลว่า อนุมัติ, อนุญาต

ฮารอม (Haram) แปลว่า ห้าม ตรงข้ามกับคำว่า ฮาลาล

ตอยยิบ (Toyyib) แปลว่า ดี มีคุณค่า ปราศจากอันตราย

มัสบุฮฺ (Musbuh) แปลว่า เคลือบแคลงสงสัยว่าฮาลาลหรือฮารอม

นบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) ได้สอนว่า “ฮา ลาล คือ สิ่งที่อัลลอฮฺทรงอนุมัติให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องในคัมภีร์ของพระองค์ และฮารอม คือสิ่งที่พระองค์ ได้ทรงห้ามไว้ และที่เกี่ยวกับที่พระองค์ทรงนิ่งเงียบนั้น พระองค์ได้ทรงอนุมัติให้เป็นความโปรดปรานแก่ท่าน” “สิ่งฮาลาลย่อมชัดแจ้งและสิ่งฮารอมก็ชัดแจ้ง แต่ระหว่างทั้งสองดังกล่าวมีสิ่งที่ไม่ชัดเจนอยู่ ซึ่งคนส่วนมากไม่รู้”

บรรดานักวิชาการอิสลามได้ให้คำนิยามว่า “ฮาลาล คือ สิ่งที่อัลลอฮฺและรอซูล (นบี มูฮัมมัด) อนุมัติ ฮารอม คือ สิ่งที่อัลลอฮฺและรอซูลทรงห้าม มัสบุฮฺ คือ สิ่งที่ยังมีข้อเคลือบแคลงสงสัยและระบุไม่ได้ว่าฮาลาล หรือ ฮารอม จนกว่าจะวินิจฉัยให้ชัดเจน อย่างใดอย่างหนึ่ง”

“อาหารฮาลาล (Halal Food) หมายถึง อาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารซึ่งอนุมัติตามบัญญัติศาสนาอิสลาม ให้มุสลิมบริโภคหรือใช้ประโยชน์ได้”
     

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธ.ค. 16, 2009, 02:50 PM โดย راجيس »

ออฟไลน์ rayes

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 628
  • Respect: +18
    • ดูรายละเอียด
    • บล็อกผมเอง หุหุ
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 01:42 AM »
0
    
    (2). หลักพื้นฐานของฮาลาล-ฮารอม ตามข้อบัญญัติอิสลาม

1. การอนุมัติ (Halal) และการห้าม (Haram) เป็น สิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น บรรดานักกฎหมายอิสลามแน่ใจว่า อัลลอฮฺ (ซ.บ.) พระองค์เดียวเท่านั้นมีสิทธิอนุมัติหรือห้ามสิ่งใด โดยผ่านคัมภีร์ของพระองค์และหรือผ่านการพูดของรอซูล (ผู้สื่อสารของพระองค์) บรรดานักกฎหมายอิสลามจะได้อธิบายสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้กำหนดว่า สิ่งใดฮาลาล หรือฮารอม ด้วยข้อความในคัมภีร์อัล-กุรอานตอนหนึ่งว่า

“พระองค์ได้ทรงจำแนกอย่างแจ่มแจ้งแก่สูเจ้าแล้วว่า อันใดที่พระองค์ได้ทำให้เป็นสิ่งฮารอมสำหรับสูเจ้า” (6:119)

“และจงอย่ากล่าวตามที่ลิ้นของสูเจ้าอ้างมุสาว่า นี่เป็นสิ่งอนุมัติ (ฮาลาล) และนี่เป็นสิ่งต้องห้าม (ฮารอม) เพื่อสูเจ้าจะกุการมุสาต่ออัลลอฮฺแท้จริงบรรดาผู้กุการมุสาต่ออัลลอฮฺไม่ เจริญ” (16:116)

อิมามซาฟีอี ได้เล่าว่า อบูยูซุฟ หัวหน้าผู้พิพากษา (กอฎี) ซึ่งเป็นเพื่อนคนหนึ่งของอบูฮะนีฟะฮฺ ได้เล่าว่า “ฉัน รู้ว่า บรรดาผู้ทรงความรู้ของเราได้หลีกเลี่ยงการกล่าวว่านี่ฮาลาลและนั่นฮารอม นอกจากสิ่งที่ พวกท่านทั้งหลายได้พบอย่างชัดเจนแล้วว่า ได้มีการกล่าวไว้ในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ โดยไม่ต้องใช้การตีความใดๆ” (ในหนังสืออัล-อุมม์ เล่ม 7 หน้า 317)

2. การ ห้ามสิ่งต่าง ๆ นั้น เนื่องมาจากความไม่บริสุทธิ์และการเป็นอันตรายของมัน อิสลามห้ามสิ่งต่าง ๆ ก็เพราะว่ามันไม่บริสุทธิ์และมีพิษภัย สิ่งใดที่เป็นอันตราย สิ่งนั้นก็ฮารอม แต่สิ่งใด เป็นประโยชน์สิ่งนั้นก็ฮาลาล ถ้าหากสิ่งใดมีพิษภัยหรืออันตรายมากกว่าประโยชน์สิ่งนั้นก็ฮารอม

หลักการนี้ได้อธิบายไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอานเกี่ยวกับน้ำเมาและการพนัน ความว่า

“พวกเขาถามเจ้าเกี่ยวกับสุราและการพนัน จงกล่าวว่า ในทั้งสองนั้นมีบาปหนัก และมีคุณบ้างแต่บาปของมันนั้นมากกว่า” (2:219)

โดยเหตุผลเดียวกัน ถ้าหากมีใครถามว่าอะไรคือสิ่งฮาลาลในอิสลาม คำตอบก็คือ สิ่งที่ดีทั้งหลาย อัลลอฮฺ ได้ทรงกล่าวไว้มีความว่า

“เขาทั้งหลายถามเจ้าอันใดที่ ฮาลาลแก่พวกเขาจงกล่าวเถิดที่ฮาลาลแก่ พวกท่านคือสิ่งที่ดีทั้งหลาย” (5:4)

และ“วันนี้สิ่งที่ดีทั้งหลายได้ถูกทำให้ เป็นที่ฮาลาลแก่สูเจ้า” (5:5)

3. สิ่ง ที่ฮาลาลนั้นเป็นที่เพียงพอสำหรับความจำเป็น แต่สิ่งที่ฮารอมนั้นเป็นที่เกินความต้องการ อิสลามจะห้ามแห่งเพียงสิ่งที่ไม่จำเป็น แต่ในขณะเดียวกันอิสลามได้จัดเตรียมทางเอกที่ดีกว่าและสะดวก ง่ายดายกว่าให้แก่มนุษย์ เพราะอัลลอฮฺมิได้ทรงปรารถนาที่จะสร้างความยุ่งยากลำบากให้แก่การดำรงชีวิต ของมนุษย์ แต่พระองค์ทรงประสงค์ความง่าย ความดี ทางนำ และความเมตตาสำหรับมนุษย์ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงกล่าวไว้ว่า

“อัล ลอฮฺทรงปรารถนาที่จะให้กระจ่างแก่สูเจ้าและชี้แจงสูเจ้าซึ่งทางทั้งหลาย ของบรรดาก่อนหน้าสูเจ้า และ ทรงหันยังสูเจ้าโดยปราณี และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ ... อัลลอฮฺทรงปรารถนาที่จะผ่อนปรนสูเจ้า เพราะมนุษย์ถูกบังเกิดมาอ่อนแอ” (กุรอาน 4:26-28)

4. อะไรก็ตามที่นำไปสู่ฮารอม สิ่งนั้นก็ฮารอมด้วยตัวของมันเอง อิสลามถือว่า สิ่งใดเป็นที่ต้องห้าม (ฮา รอม) แล้ว อะไรก็ตามที่จะนำไปสู่สิ่งนั้น ก็เป็นที่ต้องห้ามด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพราะอิสลามต้องการปิดหนทางทั้งหมดที่จะนำไปสู่สิ่งฮารอม เช่น การดื่มสิ่งมึนเมา ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ไม่เพียงแต่ประณามผู้ดื่มเท่านั้น แต่ยังได้ประณามผู้ผลิต ผู้ให้บริการและผู้เกี่ยวข้องด้วย หรือในกรณี ห้ามเรื่องดอกเบี้ย ท่านศาสดาไม่เพียงแต่ประณามผู้รับเท่านั้น แต่ยังได้ประณามผู้จ่าย ผู้เขียนสัญญา และผู้ เป็นพยานด้วย ดังนั้น อะไรก็ตามที่มีส่วนช่วยในการทำสิ่งฮารอม สิ่งนั้นก็ฮารอมด้วย และใครก็ตามที่ช่วยผู้อื่นในเรื่อง นี้ก็จะต้องมีส่วนรับบาปด้วย
 
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 01, 2009, 02:31 PM โดย ❦r@yëⓢ☉ミ »

ออฟไลน์ rayes

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 628
  • Respect: +18
    • ดูรายละเอียด
    • บล็อกผมเอง หุหุ
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 01:45 AM »
0
      
  5. ไม่ อนุญาตให้เอาสิ่งฮารอมมาเป็นของฮาลาล การเรียกสิ่งที่ฮารอมว่าเป็นสิ่งฮาลาล โดยการเปลี่ยนแปลงรูปแบบในขณะที่เนื้อแท้ดั้งเดิมของมันยังคงอยู่นั้น เป็นวิธีการหลอกลวงที่สกปรกทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงชื่อหรือรูปแบบนั้น ไม่มีผลประการใด ตราบที่เนื้อแท้ ของมันยังไม่ เปลี่ยนแปลง “คนกลุ่มหนึ่งจะทำให้การดื่มสิ่งมึนเมาของประชาชนเป็นที่ฮาลาลโดยการให้ชื่อ มันเป็นอย่างอื่น” (รายงาน โดยอะหมัด) และ “เวลาหนึ่งจะมาถึง เมื่อประชาชนกินดอกเบี้ยแล้วเรียกมันว่า “การค้า” (รายงานโดยบุคอรี และมุสลิม)
6. เจตนาดีมิได้ทำให้สิ่งฮารอมเป็นที่ยอมรับได้
อิส ลามให้ความสำคัญในเรื่องความมีเกียรติของความรู้สึก เป้าหมายและความตั้งใจที่บริสุทธิ์ กิจวัตร ประจำวันและกิจการทางโลกจะต้องแปรสภาพเป็นการแสดงความเคารพภักดีและเสียสละ เพื่ออัลลอฮฺด้วยเจนาที่ดี ดังนั้น ถ้าหากใครบริโภคอาหารโดยมีเจตนาเพื่อยังชีพและเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ ร่างกายเพื่อที่จะสามารถ ปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ที่มีต่อพระผู้สร้างของเขาและแก่มนุษย์แล้ว การกินการดื่มของเขาก็ถือว่าเป็นการแสดงความ เคารพภักดีและการเสียสละต่ออัลลอฮฺ ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวไว้ มีความว่า
“การกระทำทั้งหลายจะถูกตัดสินโดยเจตนา และทุกคนจะได้รับผลตอบแทนตามเจตนาของเขา” (รายงาน โดยบุคอรี) และ “ใคร ก็ตามที่ปรารถนาในสิ่งที่อนุมัติจากโลกโดยการรักษาตัวเองให้ห่างพ้นจาก บาป โดยการ ทำงานเพื่อครอบครัวและเอาใจใส่เพื่อนบ้านของเขา เขาก็จะได้พบกับพระผู้เป็นเจ้าของเขาด้วยใบหน้าที่นวลสว่าง เหมือนจันทร์เต็มดวง” (รายงานโดยเฎาะบะรอนี)
แต่ ถ้าหากใครสะสมในสิ่งที่ได้มาด้วยความไม่ถูกต้อง(ฮารอม) แม้ว่าเขามีเจตนาดีในการบริจาคหรือทำดี ก็จะไม่มีผลใดๆในความดี ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า อัลลอฮฺนั้นดี และไม่ยอมรับสิ่งใดนอกจากความดี และอัลลอฮฺได้ทรงบัญชาบรรดาผู้ศรัทธาเช่นเดียวกับที่ทรงบัญชารอซูลทั้งหลาย ของพระองค์ว่า
“โอ้บรรดารอซูล จงกินสิ่งที่ดีและทำให้สิ่งที่ถูกต้อง ฉันรู้ในสิ่งที่เจ้าทำ”
นอกจากนี้ ท่านศาสดาฯยังได้กล่าวว่า “ชาย คนหนึ่งเดินทางไกล สกปรกและเปรอะเปื้อนด้วยฝุ่น (เพื่อทำฮัจญ์หรืออุมเราะฮ์ หรือ สิ่งอื่นทำนองนี้) ยกมือขึ้นสู่ท้องฟ้า (และกล่าวว่า) “โอ้พระผู้อภิบาล” ขณะ ที่กินสิ่งฮารอม ดื่มสิ่งที่ฮารอม สวมใส่สิ่งที่ฮารอม และเลี้ยงตัวเองด้วยวิธีการ ฮารอมแล้วอย่างนี้ คำวิงวอนของเขาจะถูกรับได้อย่างไร” (รายงานโดยมุสลิม และติรมิซี จากอบูฮุรอยเราะฮ์)
“ถ้าหากใครสะสมทรัพย์สินด้วยวิธีการฮารอมแล้วทำทานจากสิ่งที่เขาสะสมความดี จะไม่มีสำหรับเขาและภาระแห่งบาปจะยังดำรงอยู่” (รายงานโดยคุซัยบะฮฺอิบนิฮิบมานและฮากิม)
“ถ้า หากใครคนหนึ่งแสวงหาทรัพย์สินโดยวิธีการฮารอมและให้ทาน อัลลอฮฺจะไม่ยอมรับถ้าหากว่าเขาใช้ จ่ายออกไป มันก็จะไม่มีความเจริญและถ้าหากเขาทิ้งมันไว้ (หลังจากที่เขาตาย) มันก็จะเป็นฟืนของเขาในไฟนรก ความจริงแล้ว อัลลอฮฺจะไม่ลบล้างการกระทำที่เลวด้วยการกระทำที่เลวอีกอย่างหนึ่งและ พระองค์จะทรงลบล้าง การกระทำที่เลวโดยการทำดี สิ่งที่ไม่สะอาดนั้นไม่สามารถชำระล้างสิ่งที่ไม่สะอาดอีกสิ่งหนึ่งได้” (รายงานโดย อะหมัดและคนอื่นๆจากอิบนุมัสอู๊ด)

7. สิ่ง ที่ฮารอมเป็นที่ต้องห้ามสำหรับทุกคน ตามกฎหมายอิสลาม (ชะรีอะห์) กฎที่เกี่ยวกับสิ่งฮารอมจะถูกนำไปใช้อย่างสากล สิ่งใดที่อัลลอฮฺอนุมัติ (ฮา ลาล) ก็คือสิ่งที่ได้รับอนุมัติสำหรับมนุษยชาติ และสิ่งใดที่อัลลอฮฺทรงห้าม (ฮารอม) ก็เป็นที่ต้องห้ามสำหรับ มนุษย์ทุกคน เพราะอัลลอฮฺเป็นพระเจ้าของมนุษย์ทุกคน ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้ยืนยันถึงการใช้กฎต่างๆ นี้อย่างหนักแน่นด้วยการประกาศความว่า “ฉันขอสาบานด้วยนามของอัลลอฮฺ ถ้าหากฟาติมะฮฺลูกสาวของมุฮัมมัดลักขโมย ฉันจะตัดมือเขาเอง” (รายงานโดยบุคอรี)

8. การห้ามสิ่งที่ฮาลาล และการอนุมัติสิ่งที่ฮารอมเท่ากับการทำชิริก ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า
“ฉันถูกส่งมากับสิ่งที่ตรงและง่าย” (รายงานโดยอะหมัด)
และท่านศาสดาได้กล่าวไว้ในหะดิษกุดซีว่า อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวไว้ มีความว่า “ฉัน ได้สร้างบ่าวของฉัน (มนุษย์) ในลักษณะที่ซื่อตรง แต่ต่อมาเหล่ามารซาตานได้มาหาพวกเขา แล้วนำ พวกเขาให้หลงทางไปจากศาสนาของพวกเขา และได้ห้ามพวกเขาในสิ่งที่ฉันอนุมัติแก่พวกเขา และบัญชาพวกเขา ให้ตั้งภาคีร่วมกับฉัน โดยฉันไม่ได้มอบอำนาจใดๆให้” (รายงานโดยมุสลิม)
อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้กล่าวไว้ ความว่า “โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาจงอย่าทำสิ่งดีทั้งหลายที่อัลลอฮฺได้ทรงอนุมัติ (ฮาลาล) ให้แก่สูเจ้าเป็นของต้องห้าม (ฮารอม) และจงอย่าละเมิด แท้จริงอัลลอฮฺมิทรงรักผู้ละเมิดและจงบริโภคจากสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงให้ เครื่องยังชีพแก่สูเจ้าซึ่งสิ่งที่อนุมัติและที่ดี และจงสำรวมตนต่อ อัลลอฮฺ ในพระองค์ที่สูเจ้าเป็นผู้ศรัทธา” (กุรอาน 5:87-88)

9. สรรพ สิ่งที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ ดังนั้น จึงเป็นที่อนุมัติ (ฮาลาล) ยกเว้นสิ่งที่อัลลอฮฺและแบบอย่างคำสอนของศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้ห้ามไว้อย่างชัดเจน

อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงกล่าวไว้ มีความว่า “พระองค์ คือผู้ทรงบันดาลสำหรับสูเจ้าซึ่งสิ่งทั้งปวงในแผ่นดิน” (กุรอาน2:29)

“และพระองค์ได้ทรงทำให้ที่อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินเป็นประโยชน์แก่สูเจ้า” (กุรอาน 45:13)

“สูเจ้า ไม่คิดดอกหรือว่า อัลลอฮฺได้ทรงทำให้อยู่ในชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินเป็นประโยชน์แก่สูเจ้า และ พระองค์ได้ทรงประทานความโปรดปรานของพระองค์โดยครบครันแก่สูเจ้าทั้งที่เปิด เผยและซ่อนเร้น” (กุรอาน31:20)


ศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวไว้ มีความว่า “สิ่ง ที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทำให้เป็นที่ถูกต้องในคัมภีร์ของพระองค์ คือสิ่งที่ ฮาลาล และสิ่งที่พระองค์ได้สั่งห้าม คือ ฮารอม และเกี่ยวกับสิ่งที่พระองค์ทรงนิ่งเงียบนั้นเป็นที่ได้รับอนุญาตในฐานะความ โปรดปรานของพระองค์ ดังนั้น จงรับความโปรดปรานของพระองค์ เพราะพระองค์นั้นไม่ทรงลืมสิ่งใด หลังจากนั้น ท่านศาสดาได้อ่านคัมภีร์ อัล-กุรอานที่มีความหมายว่า “พระผู้อภิบาลของสูเจ้ามิทรงลืม” (19:64)

“ฮา ลาล คือสิ่งที่อัลลอฮ ฺ (ซ.บ.) ได้อนุมัติให้เป็นสิ่งที่ถูกต้องในคัมภีร์ของพระองค์ ฮารอม คือ สิ่งที่พระองค์ได้ทรงห้ามไว้ และที่เกี่ยวกับที่พระองค์ทรงนิ่งเงียบนั้นพระองค์ได้ทรงอนุมัติให้เป็นความ โปรดปราน แก่ท่าน”(รายงานโดยติรมีซี และอิบนุนาญะฮ์)


10. สิ่ง ใดที่สงสัยให้หลีกเลี่ยง เป็นความเมตตาของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ต่อมนษย์ชาติที่พระองค์มิทรงทิ้งให้มนุษย์อยู่ในความโง่เขลาเกี่ยวกับเกี่ยว กับสิ่งที่ถูกอนุมัติ (ฮาลาล) และสิ่งที่ถูกห้าม (ฮารอม) เพราะพระองค์ได้ทรงทำให้มนุษย์ได้รู้อย่างชัดแจ้งว่า อะไรฮาลาล อะไร ฮารอม

ดังที่พระองค์ทรงกล่าวไว้ ความว่า “พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้อธิบายให้แก่เจ้าถึงสิ่งที่พระองค์ได้ทรงทำให้เป็น ฮารอมสำหรับสูเจ้าไว้แล้ว” (กุรอาน 6:119)

ดัง นั้น มนุษย์จึงต้องทำในสิ่งที่ได้รับการอนุมัติ (ฮาลาล) และต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่ต้องห้าม (ฮารอม) แต่อย่างไรก็ตามระหว่างสิ่งฮาลาลที่ชัดแจ้งกับสิ่งฮารอมที่ชัดเจนนั้นมี พื้นที่สีเทาอยู่ ซึ่งทำให้บางคนไม่สามารถ ตัดสินได้ว่าสิ่งใดที่ได้รับการอนุมัติหรือสิ่งใดที่ถูกห้าม เกี่ยวกับเรื่องนี้อิสลามถือว่า เป็นความดีอย่างหนึ่งสำหรับ มุสลิมที่จะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่สงสัย เพื่อทำให้ตัวเองห่างพ้นจากการทำสิ่งที่ฮารอม

ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวไว้ความว่า “ฮา ลาลและฮารอมนั้นเป็นที่แจ้งชัด แต่ระหว่างทั้งสองสิ่งนี้ มีสิ่งที่น่าสงสัยเกี่ยวกับสิ่งที่คนไม่รู้ว่ามัน ฮาลาลหรือฮารอม ผู้ที่หลีกเลี่ยงมันเพื่อปกป้องศาสนาและเกียรติของเขา คือ ผู้ที่ปลอดภัย ในขณะที่ถ้าใครเข้า ไปมีส่วนกับมัน เขาผู้นั้นอาจจะทำสิ่งที่ฮารอม เช่น คนที่ปล่อยให้สัตว์ของตนกินหญ้าอยู่ใกล้กับ หิมา (ทุ่งหญ้า ที่สงวนไว้สำหรับสัตว์ของกษัตริย์ ซึ่งสัตว์ของคนอื่นเข้าไปไม่ได้) แล้วอาจมีสัตว์ของตนบางตัวหลงเข้าไปในนั้น แน่นอน กษัตริย์ทุกคนจะมีหิมาของตนเอง และมีหิมาของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) นั้นคือ สิ่งที่พระองค์ทรงห้ามไว้” (รายงานโดยบุคอรี มุสลิมและคนอื่นๆ)
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 01, 2009, 02:32 PM โดย ❦r@yëⓢ☉ミ »

ออฟไลน์ rayes

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 628
  • Respect: +18
    • ดูรายละเอียด
    • บล็อกผมเอง หุหุ
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 01:48 AM »
0
      
11. ความ จำเป็นคือสิ่งกำหนดข้อยกเว้น แม้ว่าอิสลามจะเข้มงวดในสิ่งฮารอม แต่อิสลามก็มิได้ลืมความจำเป็นฉุกเฉินของชีวิต ในสถานการณ์ที่ จำเป็นอิสลามได้อนุญาตให้มุสลิมกินอาหารที่ต้องห้ามได้ในจำนวนที่พอจะทำให้ ตัวเองรอดพ้นจากความตาย

อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้กล่าวไว้ในกรณีข้อกำหนดอาหารต้องห้ามซึ่งได้แก่สัตว์ที่ตายเอง เลือด และเนื้อสุกร ความว่า

“...ถ้า หากผู้ใดตกอยู่ในที่คับขัน มิใช่เจตนาขัดขืนและไม่ใช่ละเมิด ดังนั้นไม่มีบาปแก่เขา แท้จริง อัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (กุรอาน 2:173)

(3). สิ่งสกปรก (นะยิส) และการชำระล้างให้สะอาดตามบัญญัติศาสนาอิสลาม

3.1 น่า ยิส คือสิ่งสกปรกอันเป็นที่น่ารังเกียจตามที่ศาสนาอิสลามกำหนดไว้ เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ โลหิต น้ำเหลือง น้ำหนอง อาเจียน สุนัข สุกร ซากสัตว์ที่มิได้เชือด เป็นต้น

3.2ประเภทของนะยิส และวิธีชำระล้าง

1. มุค๊อฟฟะฟะห์ ได้แก่ ปัสสาวะของเด็กชายซึ่งอายุไม่ถึง 2 ขวบ ไม่ได้กิน หรือดื่มสิ่งอื่นใดที่ทำให้อิ่มนอก จากน้ำนมของแม่ วิธีการชำระล้าง ให้เช็ดน่ายิสออกเสียก่อนแล้วใช้น้ำพรมบนรอยเปื้อนน่ายิสนั้นให้ทั่วโดยไม่ ต้องให้น้ำไหล ผ่านก็ใช้ได้

2. มู่ ต้าวัสซิเตาะห์ ได้แก่ อาเจียน ปัสสาวะ อุจจาระ โลหิต น้ำหนอง น้ำเหลือง ซากสัตว์ และน้ำนมของ สัตว์ที่ห้ามรับประทาน วิธีการชำระล้าง ให้เช็ดน่ายิสออกให้หมดเสียก่อน แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด โดยวิธีใช้น้ำไหลผ่าน 1 ครั้งก็ ใช้ได้ แต่ถ้า 3 ครั้งจะดีกว่า

3. มู่ฆ็อลล่าเซาะห์ ได้แก่ สุนัข สุกร วิธีการชำระล้าง ให้ล้างด้วยน้ำสะอาด โดยวิธีใช้น้ำไหลผ่าน 7 ครั้ง แต่ 1 ใน 7 ครั้งนั้นต้องเป็นน้ำดินที่ สะอาด (อนึ่ง ควรใช้น้ำดินในการล้างครั้งที่ 1)

3.3 น้ำ ที่ใช้ชำระล้าง น้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการชำระล้างทำความสะอาดในขั้นตอนของการผลิต ดังนั้นน้ำที่ใช้ทำความสะอาด จะต้องสะอาดและเป็นน้ำที่สามรถนำมาทำความสะอาดได้ตามบทบัญญัติตามหลักการ ศาสนาอิสลาม ซึ่งได้ จำแนกประเภทของน้ำเป็น 4 ประเภท ดั้งนี้

1. น้ำมุตลัก คือ น้ำสะอาดและชำระล้างสิ่งอื่นให้สะอาดได้ ได้แก่น้ำ 7 ชนิด คือ

1) น้ำฝน น้ำค้าง

2) น้ำทะเล

3) น้ำแม่น้ำ

4) น้ำบ่อ

5) น้ำหิมะ น้ำแข็ง

6) น้ำลูกเห็บ

7) น้ำตาน้ำ


2. น้ำมู่ซัมมัส คือ น้ำสะอาดที่อยู่ในภาชนะที่เกิดสนิมได้และถูกแดดเผาให้ร้อน สามารถนำไปชำระสิ่งอื่น ให้สะอาดได้แต่ไม่เหมาะสม

3. น้ำ มุสตะอฺมัล คือ น้ำที่สะอาด แต่ใช้ทำความสะอาดสิ่งอื่นไม่ได้ เช่น น้ำที่ใช้ทำความสะอาดครั้งสุดท้าย ซึ่งไม่เปลี่ยนสี กลิ่น รส และไม่เกินปริมาณที่มีอยู่เดิม

4. น้ำน่ายิส คือ น้ำที่มีน่ายิส (สิ่งสกปรกตามข้อบัญญัติอิสลาม) เจือปนอยู่และมีปริมาณน้ำไม่ถึง 216 ลิตร (2 กุลละห์) หรือหากมีปริมาณเกิน 216 ลิตร แต่สภาพของน้ำเปลี่ยนสี กลิ่น รส จะนำไปใช้ชำระล้างสิ่ง สกปรกมิได้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 01, 2009, 02:33 PM โดย ❦r@yëⓢ☉ミ »

ออฟไลน์ rayes

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 628
  • Respect: +18
    • ดูรายละเอียด
    • บล็อกผมเอง หุหุ
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 01:53 AM »
0
     
3.4 ข้อพึงระวังเกี่ยวกับการทำความสะอาดโดยการชำระล้าง

1. สิ่งสกปรก (น่ายิส) และวิธีทำความสะอาดตามบัญญัติอิสลาม มีความแตกต่างจากความรู้สึกของคนทั่วไป

2. น้ำที่ใช้ชำระล้างสิ่งสกปรก (น่ายิส) จะต้องเป็นน้ำสะอาดตามบัญญัติอิสลาม

3. วิธี ชำระล้างสิ่งสกปรก (น่ายิส) แต่ละประเภทมีกฎเกณฑ์เฉพาะซึ่งต่างจากวิธีการทั่วไป เช่น จำนวน ครั้งของการล้าง น้ำต้องไหลผ่าน หรือน้ำดินเป็นต้น

(4). สัตว์ พืช และอาหารที่ห้ามนำมาบริโภค (ฮารอม)

4.1 สัตว์ที่ห้ามนำมาบริโภค (ตามระเบียบฯ ว่าด้วยการรับรองฮาลาล พ.ศ. 2544 ข้อ 25) คือ

1) สุกร สุนัข หมูป่า ลิง แมว

2) สัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหารและมีกรงเล็บ เช่น สิงโต เสือ หมี

3) สัตว์มีพิษหรือสัตว์นำโรค เข่น หนู ตะขาบ แมงป่อง

4) สัตว์มีพิษและเป็นอันตราย เช่น งู

5) สัตว์น่ารังเกียจ เช่น หนอน แมลงวัน

6) สัตว์ที่ไม่อนุญาตให้ฆ่า เช่น มด ผึ้ง นกหัวขวาน

7) สัตว์ที่มีลักษณะเช่นเดียวกับลา เช่น ล่อ

) สัตว์ที่ตายเอง

9) สัตว์ที่ถูกรัดคอตาย ถูกตีหรือขว้างจนตาย ตกจากที่สูงลงมาตาย ถูกขวิดตาย ถูกสัตว์อื่นกัดกินจนตาย

10) สัตว์ที่ถูกเชือดเพื่อบูชายัญ

11) สัตว์ที่ถูกเชือดโดยกล่าวนามอื่นนอกจากอัลลอฮฺ

4.2 พืชที่ห้ามนำมาบริโภค พืชมีพิษและมีอันตราย

4.3 อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ หรือมีสิ่งเป็นอันตราย ต่อสุขภาพ


 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 01, 2009, 02:34 PM โดย ❦r@yëⓢ☉ミ »

ออฟไลน์ rayes

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 628
  • Respect: +18
    • ดูรายละเอียด
    • บล็อกผมเอง หุหุ
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 01:56 AM »
0
      
(5). กฎเกณฑ์การเชือดสัตว์ตามบัญญัติศาสนาอิสลาม

5.1 สัตว์ที่นำมาเชือด

1) เป็นสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุมัติให้บริโภคได้เมื่อผ่านการเชือด

2) มีกรรมวิธีการเชือดตามบัญญัติศาสนาอิสลาม

3) ไม่มีการทรมานหรือทารุณสัตว์ก่อนหรือขณะที่เชือด

5.2 ผู้เชือด

1) ต้องเป็นมุสลิมหรือชาวคัมภีร์ที่เชือดสัตว์ตามวิธีการอิสลาม

2) มีสุขภาพจิตสมบูรณ์

3) ไม่เป็นโรคติดต่อที่สังคมรังเกียจ

5.3 วิธีเชือด

1) ให้กล่าวนามของอัลลอฮฺเมื่อเริ่มเชือด (บิสมิลลาฮ์ อัลลอฮุอักบัรฺ)

2) ควรผินหน้าไปทางกิบลัต

3) ควรเชือดโดยต่อเนื่องในคราวเดียวกัน

4) เชือดให้หลอดลม หลอดอาหารและเส้นเลือดสองข้างลำคอขาดจากกัน

5) สัตว์ต้องตายเพราะการเชือดก่อนนำไปดำเนินการอย่างอื่น

5.4 อุปกรณ์การเชือด เป็นของมีคม (ยกเว้นเล็ก กระดูก) อนึ่ง สัตว์น้ำ ศาสนาอิสลามอนุมัติให้บริโภคได้โดยไม่ต้องเชือด
 


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 01, 2009, 02:35 PM โดย ❦r@yëⓢ☉ミ »

ออฟไลน์ rayes

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 628
  • Respect: +18
    • ดูรายละเอียด
    • บล็อกผมเอง หุหุ
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 02:00 AM »
0
    
ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ที่เชือด

1) การเชือดสัตว์ตามบัญญัติศาสนาจะสมบูรณ์ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่งดังต่อไปนี้

1.1) อัซ ซับฮ์ : การตัดเส้น ฮุลกุม : หลอดลม หรือ หลอดคอ มะรีอ์ : หลอดอาหารและน้ำดื่ม วัดญาน : เส้นเลือดทั้งสองเส้นที่อยู่ข้างคอ ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุดตามบัญญัติศาสนา ในการเชือดแพะ แกะ วัว และสัตว์ปีกต่าง ๆ และยินยอมให้นำวิธีนี้ไปใช้กับสัตว์อื่นได้อีกด้วย

1.2) อัน นะฮ์ร์ : คือการแทงที่หลุมโคนคอ (คว้านเส้นต่าง ๆ ให้ขาด) เป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการเชือดอูฐและสัตว์ที่มีคอยาว เช่น อูฐ และอนุญาตให้เชือดวัวด้วยวิธีนี้เช่นกัน

1.3) อัลอักร์ : คือ การทำให้สัตว์ที่ไม่ส่มารถเชือดได้ตามปกติ เกิดบาดแผลที่ส่วนใดของร่างกายไม่ว่าจะเป็นสัตว์เปรียวที่อนุญาตให้ล่า หรือสัตว์บ้านที่กลายเป็นสัตว์เปรียว ถ้าหากผู้ล่าได้มันมาขณะที่ยังมีชีวิตอยู่เขาจำเป็นต้องเชือดมันด้วยวิธี ซับฮ์ หรือ นะฮ์ร์ แล้วแต่กรณี
2) เงื่อนไขของการเชือดที่มีผลใช้ได้ มีดังต่อไปนี้

2.1) ผู้เชือดต้องบรรลุศาสนภาวะ หรืออยู่ในวัยที่แยกแยะได้ (มุมัยยิซ) เป็นมุสลิม สัตว์ที่เชือดโดยคนนอกศาสนานั้นจะรับประทานไม่ได้

2.2) การ เชือดต้องใช้สิ่งมีคมที่สามารถตัด และทำให้ขาดได้ด้วยคมของมัน ไม่ว่าจะเป็นเหล็กหรือวัตถุอย่างอื่นที่ทำให้เลือดไหลได้ ทั้งนี้ต้องไม่ใช้ฟัน และเล็บ ไม่อนุญาตให้รับประทาน “สัตว์ที่ถูกรัดคอตาย” โดยการกระทำของมันเองหรือโดยการกระทำของผู้อื่น “สัตว์ที่ถูกตีตาย” คือสัตว์ที่ตายด้วยการถูกทุบตีด้วยของหนัก “สัตว์ที่ตายเพราะตกจากที่สูง” หรือตกลงไปในหลุมบ่อ “สัตว์ที่ถูกขวิดตาย” และ “สัตว์ที่ถูกสัตว์ป่ากัดตาย” ซึ่ง ไม่ใช่เป็นสัตว์ที่ฝึกไว้สำหรับล่า และถูกส่งออกไป ถ้าหากว่าสัตว์ดังกล่าวยังมีชีวิตมั่นคง และเขาได้เชือดมันได้ทัน ก็อนุญาตให้รับประทานได้


2.3) ผู้ เชือดต้องกล่าวนามของอัลเลาะห์ ตาอาลา ขณะเชือด การใช้เครื่องบันทึกเสียงเปิดนามของอัลเลาะห์ ถือว่าใช้ไม่ได้ นอกจากคนที่ลืมกล่าวนามของ อัลเลาะห์ สัตว์ที่เขาเชือดถือว่าอนุญาตให้รับประทานได้


3) การ เชือดสัตว์มีเระเบียบหลายประการ ที่ศาสนาเตือนให้พึงระลึกถึงอยู่เสมอ เพื่อเป็นการเมตตาต่อสัตว์ที่จะเชือด ทั้งก่อนเชือด ขณะเชือด และภายหลังจากเชือดแล้ว จะต้องไม่ลับมีดต่อหน้าสัตว์ที่จะเชือด ไม่เชือดสัตว์ต่อหน้าสัตว์อื่น ไม่เชือดสัตว์ด้วยมีดไม่คม ไม่ทำทารุณต่อสัตว์ที่จะเชือด ไม่ตัดส่วนใด ๆ ของสัตว์ ไม่ถลกหนัง ไม่จุ่มในน้ำร้อน และไม่ถอนขน นอกจากมั่นใจว่าสัตว์นั้นตายแล้ว


4) สัตว์ ที่จะเชือดต้องไม่เป็นสัตว์ที่มีโรคติดต่อ และไม่มีสิ่งที่จะทำให้เนื้อสัตว์เปลี่ยนแปลงถึงขั้นเป็นอันตรายแก่ผู้ บริโภค และจะต้องมีความมั่นใจว่าปลอดจากโรคเมื่อจะนำออกจำหน่ายหรือนำเข้า


5)  - ก. หลักเดิมในการเชือดตามบัญญัติศาสนานั้น เป็นการเชือดโดยไม่ต้องทำให้สัตว์สงบ (หงอง) เพราะการเชื่อดแบบอิสลามนั้นมีเงื่อนไขและระเบียบที่ดีเยี่ยมอยู่แล้ว ในการให้ความเมตตาแก่สัตว์ และทำให้สัตว์ทรมานน้อยที่สุด ขอให้หน่วยงานที่ทำหน้าที่เชือดสัตว์พัฒนาวิธีการเชือด โดยเฉพาะสัตว์ขนาดใหญ่ โดยหลักการพื้นฐานของการเชือดนี้ต้องได้รับการปฏิบัติอย่างสมบูรณ์

ข. พร้อมรักษาหลักการในข้อ (ก) สัตว์ที่ถูกเชือดภายหลังจากถูกทำให้สงบ (หงอง) แล้ว ถือว่าเป็นการเชือดที่ถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนา อนุญาตให้รับประทานได้ เมื่อประกอบด้วยหลักเกณฑ์ทางเทคนิคที่สมบูรณ์แบบ จนมั่นใจว่า สัตว์นั้นจะยังไม่เสียชีวิตก่อนการเชือด โดยผู้เชี่ยวชาญปัจจุบันได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ดังต่อไปนี้



1. จะต้องสวมขั้วไฟฟ้าที่ขมับทั้งสองข้าง หรือด้านหน้าผากของสัตว์

2. ความดันของไฟฟ้าจะต้องอยู่ระหว่าง 100-400 โวลต์


3. ความแรงของกระแสไฟฟ้าอยู่ระหว่าง 0.75+1.0 แอมแปร์ สำหรับแพะ และแกะ และระหว่าง 2.0-2.5 แอมแปร์ สำหรับวัว


4. การปล่อยกระแสไฟฟ้าอยู่ระหว่าง 3-6 วินาที


- ค. ไม่อนุญาตทำให้สัตว์สงบ (หงอง) ด้วยการใช้ปืนหัวเข็ม หรือด้วยขวาน หรือด้วยค้อนและไม่อนุญาตให้ใช้การเป่าตามวิธีการของอังกฤษ


- ง. ไม่อนุญาตทำให้สัตว์ปีกสงบ (หงอง) ด้วยไฟฟ้า เพราะจากประสบการณ์พบว่าสัตว์ปีกตายก่อนเชือดเป็นจำนวนมาก จ. สัตว์ที่ถูกเชือดภายหลังจากถูกทำให้สงบ (หงอง) หรือหงองด้วยการใช้แก๊สรม หรือใช้ปืนที่มีหัวกลม ที่จะไม่ทำให้สัตว์ตายก่อนเชือด ไม่ถือว่า ฮะรอม


6) มุสลิม ที่อยู่ในประเทศไม่ใช่ประเทศอิสลาม จะต้องพยามขอรับใบอนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายในการเชือดสัตว์ตามแนวทางอิสลาม โดยไม่ต้องทำให้สัตว์สงบ (หงอง)

7) อนุญาต ให้มุสลิมที่เดินทางไปท่องเที่ยว หรือพำนักอยู่ในประเทศที่ไม่ใช่ประเทศอิสลามรับประทานสัตว์ที่เชือดโดยชาว คัมภีร์ได้ จากสัตว์ที่ศาสนาอิสลามอนุญาตให้รับประทาน โดยต้องมั่นใจว่าไม่มีสิ่งต้องห้ามปะปนอยู่ในเนื้อนั้น เว้นแต่พวกเขาจะมั่นใจว่าเป็นสัตว์ที่ไม่ได้เชือดอย่างถูกต้องตามบัญญัติ ศาสนา


เนื้อหา : จากหนังสือฮาลาลและฮารอมในอิสลาม ของเชคยูซุฟ อัลกอรดอวีย์

http://www.halal.or.th/th/main/subindex.php?page=sub&category=11&id=10


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 03, 2009, 10:55 AM โดย R@ÿÊⓢ »

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 02:28 AM »
0
 salam

ญะซากัลลอฮุคอยรอน

น่าสนใจมากๆค่ะ...แปะโป้งไว้ก่อนนะคะ
เริ่มแสบตา(แม้ยายจะบอกว่าไหวอยู่ แต่ตาเริ่มประท้วงว่าไม่ไหวแล้วค่ะ งิงิ)
ขอพาตาไปพักผ่อนก่อนเน้อ

อินชาอัลลอฮฺ แล้วจะตื่นมาอ่านค่ะ...

สู้ต่อไป ทาเคชิ ;D

วัสลามุอะลัยกุมค่ะ

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 05:58 AM »
0
รอเยสจากมุสลิมไทยเป็นคนๆเดียวกันรึปล่าวครับ?
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ rayes

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 628
  • Respect: +18
    • ดูรายละเอียด
    • บล็อกผมเอง หุหุ
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 06:18 AM »
0
รอเยสจากมุสลิมไทยเป็นคนๆเดียวกันรึปล่าวครับ?



    ใช่ครับ  hehe

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 06:24 AM »
0
พอดีว่าติดตามอ่านมานานเหมือนกันอะนะ

ดีใจที่เข้ามาลงบทความในนี้

นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ rayes

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 628
  • Respect: +18
    • ดูรายละเอียด
    • บล็อกผมเอง หุหุ
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 06:49 AM »
0
    ผมเห็นคนเว็ปนี้ก็ไปเสวนาตลอดเหมือนกัน  แต่ตอนนี้รู้สึกว่าเงียบๆไป 

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 12:50 PM »
0
 salam

ตื่นมาพาตามาอ่านเรียบร้อยแล้วค่ะท่าน...
อ่านไปก็นึกถึงตอนอ่านหนังสือสอบฟัรดูอีนของสมาคมคุรุสัมพันธ์เมื่อฉันยังเยาว์...
โดยเฉพาะเรื่องนายิส...ฮาลาลและฮารอม...
ข้อสอบฟิกฮฺเป็นอะไรที่ยากมากค่ะ...แต่เป็นวิชาที่จำได้ขึ้นใจกว่าวิชาอื่นๆ...

...บางครั้งเราก็ถูกทดสอบโดยการให้เลือกระหว่างสิ่งที่ฮารอมโดยชัดแจ้ง
กับสิ่งที่คลุมเคลือน่าสงสัย(มัสบุฮฺ)...
เมื่อนั้นล่ะค่ะ เราจะเห็นคุณค่าของการถือศีลอดในเดือนรอมาดอนขึ้นมา...

ปกติโดยพื้นฐานการอดอาหารอดน้ำในหนึ่งวันนั้นไม่ตาย
แต่ที่คนร่่ำร่ำจะตายเสียให้ได้เพราะอดใจไม่ได้มากกว่าว่ามั้ยคะ... ;D

เราได้เรียนได้รู้จากอัลลอฮฺ  และอัลลอฮฺทรงรู้ยิ่ง...
เราหลอกใครนั้นอาจจะหลอกได้ แต่หลอกตัวเองและอัลลอฮฺนั้นมิได้...

ปล.ตัวโตได้ใจป้า เอ๊ย พี่ อ่านสบายตาเลยค่ะ mycool:


ขออัลลอฮฺทรงตอบแทน

วัสลามุอะลัยกุมค่ะ


"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

ออฟไลน์ mustura^@^

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 336
  • เพศ: หญิง
  • ALLAH is the only ONE !!!
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 01:21 PM »
0
 salam

บังเรเยสค่ะ พออ่านๆบทความของบังไป รู้สึกว่าลูกกะตามันจะพลอยโตตามตัวอักษรไปด้วยอ่ะค่ะ  :o....... hehe

ยังไงช่วยลดขนาดของตัวอักษรลงบ้างนิดนุงได้เป่าเค่อะ แหะๆๆๆ

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
Re: • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับอาหารฮาลาล •
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: ต.ค. 30, 2009, 01:40 PM »
0
บทความดี และน่าอ่านเป็นความรู้มาก ยอดเยี่ยม

แต่..... รบกวน ลดทั้งขนาดตัวอักษร และ ลายเซ็น จะดีมากครับ

วัสลาม...

 

GoogleTagged