ผู้เขียน หัวข้อ: การอ่านฟาติฮะฮฺในละหมาดวายิบหรือไม่?ความเห็นที่แตกต่างระหว่างอุลามาอฺ  (อ่าน 4423 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด





حكم قراءة فاتحة الكتاب في الصلاة
หุกุมว่าด้วยการอ่านซูเราะฟาติฮะฮฺในละหมาด

มีความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างอุลามาอฺในการอ่านซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺในละหมาด

บางท่านถือว่าวายิบต้องอ่านฟาติฮะฮฺ
และบางท่านถือว่าไม่วายิบต้องอ่านฟาติฮะฮฺ แต่วายิบต้องมีการอ่านเฉยๆ(ไม่เจาะจงต้องเป็นฟาติฮฺ) 

และจากบางส่วนที่กล่าวเช่นนี้ ก็คืออิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ  และปรากฎว่า สานุศิษย์ของท่าน ได้จำกัดขอบเขตของการอ่าน

ดังนั้นพวกเขาจึงกล่าวว่า ที่วายิบนั้นก็คือสามอายะฮฺสั้นๆ หรืออายะฮฺเดียวที่ยาว

และบรรดาผู้ที่กล่าวว่าวายิบต้องอ่านฟาติฮะฮฺในละหมาดนั้นมีความเห็นที่แตกต่างกัน

ส่วนหนึ่งกล่าวว่า วายิบในทุกๆรอกะอะฮฺ  และ(قيل)ทัศนะอ่อนลงมาถือว่า วายิบต้องอ่านในส่วนมากของ(รอกะอะฮฺใน)การละหมาด

และจากผู้ที่กล่าวในทัศนะแรกคือ อิหม่ามชาฟิอี และอิหม่ามมาลิกจากริวายะฮฺที่เรื่องลือ(أشهر) 

 และได้มีบางรายงานจากอีหม่ามมาลิกว่า “หากอ่านฟาติฮะฮฺ ในสองรอกะอะฮฺ จากสี่รอกะอะฮฺ ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว”

และอิหม่ามหะซันอัลบัศรี่ถือว่า การอ่านฟาติฮะฮฺในรอกะอะฮฺเดียวของการละหมาด ก็นับว่าใช้ได้แล้ว.

และสาเหตุของความแตกต่างนี้ มาจาก อาษาร (ฮะดีษ)ที่ขัดแย้งระหว่างกัน และขัดแย้งกับ ซอฮิร ของกิตาบ(อัลกุรอ่าน).

ส่วนอาษาร ที่บ่งบอกว่า วายิบต้องอ่านฟาติฮะฮฺ คือหะดีษของ อิบาดะฮฺ บิน ซอมิต

คือ คำกล่าวของท่านรอซูลุลลอฮฺ อะลัยฮิซซอลาตุวัสสลาม
 “لا صلاة لمن لم يقرأ فيها بفاتحة الكتاب”

“ไม่มีการละหมาดสำหรับผู้ที่ไม่อ่านฟาติฮะติลกีตาบ(ซูเราะฟาติฮะฮฺ)”

และจากหะดีษอะบีฮุรอยเราะฮฺ
(من صلى صلاة لم يقرأ فيها بفاتحة الكتاب فهى 
خداج فهى خداج فهى خداج )

แท้จริงท่านรอซูลลุลลอฮฺกล่าวว่า “ใครละหมาดโดยที่ไม่อ่านอุมมุลกีตาบ(ฟาติฮะฮฺ) การละหมาดนั้นคิดาจ

การละหมาดนั้นคิดาจ การละหมาดนั้นคิดาจ (บกพร่อง).

ส่วนหะดีษที่บ่งบอกถึงบ่งบอกถึงการไม่วายิบที่จะต้องอ่านฟาติฮะฮฺ แต่ต้องอ่านอายะฮฺที่ง่ายๆจากอัลกุรอ่าน

ก็คือหะดีษ ของท่านอบีหุรอยเราะฮฺاقرأ ما تيسر معك من القرآن จงอ่านอายะฮฺง่ายๆที่ท่านมีจากอัลกุรอ่าน(มุสลิม)

ส่วนหลักฐานจากอัลกุรอ่าน ก็คือคำกล่าวของอัลลอฮฺตะอาลาฮฺفَاقْرَؤُوا مَا تَيَسَّرَ مِنْهُ   ด้วยกับหลักฐานนี้ที้บ่งบอกว่า

การอ่านที่วายิบก็คือการอ่านอายะฮฺที่ง่ายๆจากอัลกุรอ่าน ซึ่งไปค้านกับหะดีษชองอิบาดะฮฺ และยึดด้วยกับหะดีษของอบีฮุรอยเราะฮฺ

หะดีษที่ผ่านมาอันสุดท้าย ก็เพราะว่าอายาตในเรื่องของการอ่านในละหมาดเป็นหลักฐาน คำกล่าวของพระองค์ที่ว่า ‏ إِنَّ رَبَّكَ يَعْلَمُ أَنَّكَ تَقُومُ أَدْنَى مِن ثُلُثَيِ اللَّيْلِ

“แท้จริงพระเจ้าของเจ้าทรงรู้ดียิ่งว่า เจ้ายืนละหมาดเกือบสองในสามของกลางคืน” จนถึงอายะฮฺفَاقْرَؤُوا مَا تَيَسَّرَ مِنَ الْقُرْآنِ 

 “ดังนั้นพวกเจ้าจงอ่านอัลกุรอ่านตามแต่สะดวก” (มุซซัมมิล20)

และประชาชาติไม่มีความเห็นแตกต่างว่าเรื่องนี้คือการละหมาดในเวลากลางคืน

และแท้จริงมาลิกี่ยะฮฺ และชาฟิอียะฮฺได้ยึดหะดีษอิบาดะฮฺ

 لا صلاة لمن لم يقرأ فيها بفاتحة الكتاب

ไม่มีการละหมาดสำหรับผู้ที่ไม่อ่านฟาติฮะฮฺ และถือว่าการปฏิเสธตรงนี้(คำว่าلا)คือปฏิเสธฮะกีเกาะคือไม่มีการละหมาด

เหมือนกับว่าพวกเขามองว่าอายาตนั้นคลางแคลง แต่ฮะดีษนั้นเจาะจง และการคลางแคลงนั้นแบบรับการเจาะจง

ส่วนหะนะฟียะฮฺ เขามองว่า อายาตนั้นให้ประโยชน์ในการเลือก ไม่ใช่ในแง่ของการบอกเฉยๆ

 เพราะว่าความหมายคำว่า تيسر  (ง่ายๆ) นั้นหมายถึงสิ่งใดที่ง่ายๆ ซึ่งอายาตนั้นบ่งบอกถึงการให้เลือก

และหากมีการเจาะจงหลังจากนั้นก็ถือว่าเป็นการناسخا   ยกเลิกของที่ผ่านมา แต่ว่าตรงนี้ไม่ถือว่าเป็นการยกเลิกของที่ผ่านมา

พวกเขากล่าวว่าเพราะได้มีหะดีษ ของท่านอะบีฮุรอยเราะฮฺ ในการท่านท่านรอซูลได้ทำการสอนผู้ชายให้ละหมาด

(แล้วกล่าวว่าจงอ่านอะยะฮฺง่ายๆที่ท่านมีอยู่)และยึดอย่างเหนียวแน่นดังที่เราได้บอกไปแล้ว

ส่วนหะดีษอิบาดะฮฺบินซอมิต เขาถือว่า การปฏิเสธตรงนี้ คือปฏิเสธความสมบูรณ์ของกาละหมาด

เหมือนกับฮะดีษที่บอกว่า ((لا صلاة لجار المسجد إلا فى المسجد))
“ไม่มีการละหมาดสำหรับผู้ที่อยู่ใกล้มัสยิดเว้นแต่จะละหมาดที่มัสยิด”(หมายถึงไม่เป็นการละหมาดที่สมบูรณ์แต่การละหมาดก็นับว่าใช้ได้)

และส่วนหะดีษที่ว่า فهي خداج

บ่งบอกว่าการบกพร่องตรงนี้ คือความขาดไม่สมบูรณ์ และสิ่งนี้บ่งบอกว่าอนุญาติพร้อมกับความบกพร่อง

 ซึ่งหากว่าไม่อนุญาตินั้นก็ไม่สามารถที่จะกล่าวว่าบกพร่อง ก็เพราะว่าการยืนยันถึงความบกพร่องนั้นปฏิเสธความเป็นโมฆะ

เนื่องจากว่าไม่อนุญาติให้บอกถึงคุณลักษณะว่าบงพร่องโดยไม่มีสิ่งใดมั่นคงเหลือยอยู่เลย.

(แปลและย่อมาจากหนังสือเล่มเดิมในเรื่องบัสมะละฮฺ)


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 11, 2009, 07:00 PM โดย bashir »
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ Al-Ainawi

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 53
  • เพศ: ชาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
 salam

เเล้วถ้าเป็นการละหมาดเเบบญามาอะห์ล่ะครับบังบาชีร

บรรดาอุลามะนักวินิจฉัยจากบรรดา 4 มัสฮับเขามีทัศนะที่เเตกต่างกันอย่างไร
ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดในโลกนี้ เว้นเเต่ต้องสรรเสริญอัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา
เเต่สูเจ้าตั่งหากที่ไม่เข้าใจมัน

ออฟไลน์ Goddut

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 854
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
การละหมาดจำเป็นต้องมีการอ่านฟาติฮะ แน่นอน
ในมัซฮับ ซาฟีอี ถือว่าการละหมาดนั้นต้องอ่านมัน
แม้การละหมาดยามาะอะ ที่อีหม่ามอ่านเสียงดังก็ตาม
ส่วนการละหมาดของมัสบรุก นั้นอนุญาติในร๊อกอัตนั้นๆ ที่มาไม่ทันเท่านั้น

วัลลอฮฺอะลัม
วัสลาม...

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
salam

เเล้วถ้าเป็นการละหมาดเเบบญามาอะห์ล่ะครับบังบาชีร

บรรดาอุลามะนักวินิจฉัยจากบรรดา 4 มัสฮับเขามีทัศนะที่เเตกต่างกันอย่างไร


มีแน่นอน

แบ่งได้สามกลุ่ม

อินชาอัลลอฮฺจะเอาลง
นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ กูปีเยาะฮฺสะอื้น

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1679
  • เพศ: ชาย
  • ที่สุดแห่งชีวิต
  • Respect: +14
    • ดูรายละเอียด
มีหลักเกณฑ์ ยึดหลักการ มีหลักฐาน มั่นหลักธรรม

ออฟไลน์ antaa

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 3
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การอ่านฟาตีหะในละหมาด มีบางทัศนะให้ความเห็นบอกว่าใช้ไม่ได้ถ้าหากในละหมาดนันไม่มีการอ่านฟาตีหะห์  เพาระฟาตี

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
อ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ (ในละหมาด)
             บรรดาอิมามมัฑฮับ มีมติเห็นพ้องกันว่า การอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ (ในละหมาด) นั้นเป็นวาญิบสำหรับอิมาม (ผู้นำละหมาด) และผู้ที่ละหมาดคนเดียว (มุนฟะริด) ในทั้งสองเราะกะอะฮ์ของการละหมาดศุบฺหิ์ และในเราะกะอะฮ์แรกและเราะกะอะฮ์ที่สองของการละหมาดอื่นๆ
             พวกเขามีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ในเราะกะอะฮ์อื่นๆ ซึ่งชาฟิอีย์และหันบาลีย์: วาญิบ (ต้องอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์) ในทุกๆ เราะกะอะฮ์ของการละหมาดฟัรฎู, ส่วนหะนะฟีย์: การอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ไม่ได้เป็นวาญิบ เว้นแต่ในสองเราะกะอะฮ์แรกของทุกๆ ละหมาดฟัรฎู ในขณะเดียวกัน จากมาลิกีย์นั้นมีสองทัศนะ, ทัศนะแรกนั้นเหมือนกับทัศนะของชาฟิอีย์และหันบาลีย์ และทัศนะที่สองคือ ถ้าหากว่าละทิ้งการอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ในเราะกะอะฮ์ใดเราะกะอะฮ์หนึ่งของการละหมาดที่นอกเหนือจากละหมาดศุบฺหิ์ ก็ให้ทำการสุญูดสะฮฺวีย์แทน แต่ถ้าหากว่า (ละทิ้ง) ในละหมาดศุบฺหิ์ ก็ให้ทำละหมาดซ้ำใหม่อีกครั้ง
             บรรดาอิมามมัฑฮับมีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการวาญิบต้องอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ของม๊ะมูม ซึ่งหะนะฟีย์นั้น: ไม่วาญิบ, ไม่ว่าอิมามจะอ่านเสียงดัง (ในละหมาดที่ให้อ่านดัง - ญะฮัร) หรือไม่ดัง (สิรฺริ์) ก็ตาม แต่ทว่า ไม่เป็นสุนัตให้อ่านมันหลังอิมามตามหลักทั่วไป (มุฏลัก), ส่วนมาลิกีย์และหันบาลีย์: ไม่วาญิบต้องอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์หลังอิมามตามหลักทั่วไป และมาลิกีย์: ม๊ะมูมนั้นมักรูฮฺถ้าหากว่าอ่านมัน (สูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์) เมื่ออิมามอ่านมันด้วยเสียงดัง ไม่ว่าเขาจะได้ยินเสียงอ่านของอิมามหรือไม่ก็ตาม
             หันบาลีย์: สุนัตให้ม๊ะมูมอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์หลังอิมาม ถ้าหากว่าอิมามอ่านมันด้วยเสียงเบา, ส่วนชาฟิอีย์: ม๊ะมูมวาญิบต้องอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ ถ้าหากว่าอิมามอ่านเบา แต่ทว่า ในทัศนะที่มีน้ำหนักมากที่สุดจากชาฟิอีย์ก็คือ ม๊ะมูมวาญิบต้องอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ในการละหมาดญะฮัร (ละหมาดที่อ่านเสียงดัง)
             ท่านอาศิมและท่านอัลหะสัน บิน ศอลิหฺ มีทัศนะว่า: การอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์นั้นสุนัต

             บรรดาอิมามมัฑฮับมีทัศนะที่แตกต่างกันในการกำหนดสิ่งที่ต้องอ่าน, ซึ่งมาลิกีย์, ชาฟิอีย์ และหันบาลีย์ในรายงานที่เลื่องลือ (มัชฮูร) : สูเราะฮ์ที่ต้องอ่านก็คือสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์, ส่วนหันบาลีย์: เป็นอันใช้ได้ในการอ่านสูเราะฮ์อื่นจากสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ เพียงแต่ขอให้เป็นอัลกุรฺอานก็พอ
             และพวกเขายังมีทัศนะที่แตกต่างกันอีกเกี่ยวกับ “บัสมะละฮ์” (บิสมิลลาฮฺฯ) ว่ามันเป็นส่วนหนึ่งจากสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์หรือไม่? ซึ่งชาฟิอีย์และหันบาลีย์: บัสมาละฮ์นั้นเป็นส่วนหนึ่งจากสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ที่วาญิบต้องอ่านพร้อมกับอัลฟาติหะฮ์, ส่วนหะนะฟีย์และมาลิกีย์: บัสมะละฮ์นั้นไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ เพราะฉะนั้น มันจึงไม่วาญิบต้องอ่าน
             ตามทัศนะของชาฟีอีย์: บัสมะละฮ์นั้นวาญิบต้องอ่านเสียงดัง, ส่วนหะนะฟีย์และหันบาลีย์: ให้อ่านเบา, แต่มาลิกีย์: สิ่งที่ถูกส่งเสริมนั้นก็คือ ไม่ต้องอ่าน เว้นแต่ให้เริ่มด้วยกับ “อัลหัมดุลิลลาฮิร็อบบิลอาละมีน” ทันที
             ท่านอิบนุ อบีย์ลัยลา มีทัศนะว่า: สามารถเลือกได้, คือจะอ่านดังและ (หรือ) เบาก็ได้
             ท่านอันนฅออีย์ มีทัศนะ: อ่านบัสมะละฮ์ด้วยเสียงดังนั้นเป็นบิดอะฮ์ (อุตริกรรม)

             บรรดาอิมามมัฑฮับ มีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับผู้ที่ไม่สามารถอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์และสูเราะฮ์อื่นๆ ได้, ซึ่งหะนะฟีย์และมาลิกีย์: เขาจะต้องยืนให้นานเท่ากับการอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์, ส่วนชาฟิอีย์: เขาจะต้องอ่านคำตัสบี๊หฺคือ “สุบหานัลลอฮฺ” (มหาบริสุทธิ์ยิ่งแด่อัลลอฮฺ) ให้นานเท่ากับการอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ ซึ่งถ้าหากว่าเขาอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ด้วยกับภาษาเปอร์เซีย (หรือภาษาอื่นๆ ที่เป็นคำแปล) นั้น ก็เป็นอันใช้ไม่ได้ แต่ทว่า, หะนะฟีย์ มีทัศนะว่า: ถ้าหากว่าต้องการ, เขาสามารถอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ด้วยกับภาษาอาหรับ หรือภาษาอื่นก็ได้
             ท่านอบูยูสุฟ และท่านมุหัมมัด บิน อัลหะสัน (หะนะฟียะฮ์) มีทัศนะว่า: ถ้าหากว่าเขาสามารถอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ในภาษาอาหรับได้ ดังนั้น เขาก็ไม่เป็นที่อนุญาตให้อ่านในภาษาอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าหากว่าเขาไม่สามารถอ่านในภาษาอาหรับได้อย่างดี ดังนั้น เขาก็เป็นที่อนุญาตให้ใช้ภาษาอื่นได้
             ถ้าหากบุคคลคนหนึ่งละหมาดโดยอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์จากมุศหัฟ (เล่มอัลกุรฺอาน หมายถึง ละหมาดพลางอ่านเล่มกุรฺอานไปด้วย - ผู้แปล), ตามหะนะฟีย์: ละหมาดของเขานั้นใช้ไม่ได้, แต่ชาฟิอีย์: เป็นที่อนุญาต, ส่วนหันบาลีย์นั้นมีสองทัศนะ, ทัศนะแรกนั้นก็เหมือนกับทัศนะของมัฑฮับชาฟิอีย์, นั่นก็คือ เป็นที่อนุญาต, ทัศนะที่สอง, เป็นที่อนุญาตในการละหมาดสุนัต แต่ไม่อนุญาตในการละหมาดฟัรฎู และทัศนะทั้งสองนั้นก็เป็นทัศนะของมาลิกีย์ด้วยเช่นกัน

             (แปลเป็นภาษาไทยจากหนังสือ Fiqh Empat Mazhab (ฟิกฮฺสี่มัฑฮับ), หน้า ๕๖ – ๕๘ ฉบับภาษาอินโดนีเซีย ซึ่งแปลมาจากภาษาอาหรับจากหนังสือ “เราะห์มะตุลอุมมะฮ์ ฟี อิฅติลาฟิลอะอิมมะฮ์” ของท่านชัยฺค์ อัลอัลลามะฮ์ มุหัมมัด บิน อับดุรเราะห์มาน อัดดิมัชกีย์, แปลเป็นภาษาอินโดนีเซียโดย ‘Abdullah Zaki Alkaf)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 18, 2009, 01:10 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ บาชีร

  • ปีสามสักที
  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2164
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +59
    • ดูรายละเอียด
อ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ (ในละหมาด)
             บรรดาอิมามมัฑฮับ มีมติเห็นพ้องกันว่า การอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ (ในละหมาด) นั้นเป็นวาญิบสำหรับอิมาม (ผู้นำละหมาด) และผู้ที่ละหมาดคนเดียว (มุนฟะริด) ในทั้งสองเราะกะอะฮ์ของการละหมาดศุบฺหิ์ และในเราะกะอะฮ์แรกและเราะกะอะฮ์ที่สองของการละหมาดอื่นๆ
             พวกเขามีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ในเราะกะอะฮ์อื่นๆ ซึ่งชาฟิอีย์และหันบาลีย์: วาญิบ (ต้องอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์) ในทุกๆ เราะกะอะฮ์ของการละหมาดฟัรฎู, ส่วนหะนะฟีย์: การอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ไม่ได้เป็นวาญิบ เว้นแต่ในสองเราะกะอะฮ์แรกของทุกๆ ละหมาดฟัรฎู ในขณะเดียวกัน

เรื่องของมัสฮับหะนะฟีนั้น

อัลฟะตอนีได้นำเสนอแตกต่างจากที่ผมนำเสนอไป

ที่ผมนำเสนอไปนั้นคือ มัสฮะนะฟีนั้นไม่วายิบต้องอ่านฟาติฮะฮฺในละหมาด

แต่อัลฟะตอนีนำเสนอว่า วายิบต้องอ่านฟาติฮะฮฺในสองรอกะอะฮฺแรกในทุกๆละหมาดฟัรดู

ถ้าเป็นเช่นนั้นอยากให้อัลฟะตอนีลองตรวจทานหนังสือเล่มอื่นๆดู

ผมก็จะดูเล่มอื่น ว่า ตรงนี้มีทัศนะเช่นไร

นักเรียนปีสาม กฎหมายอิสลาม อัซฮัร ไคโร

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
                หนังสือฟิกฮฺเปรียบเทียบอีกเล่มหนึ่ง ที่ผมขอนำเสนอเพื่อเป็นการยืนยันความตรงกันของข้อมูลของหนังสือที่ผมนำเสนไปก่อนหน้านี้ ซึ่งหนังสือที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้คือ หนังสือ Fiqh Lima mazhab (Edisi Lengkap) แปลจากหนังสือ “อัลฟิกฮฺ อลา อัลมฑาฮิบ อัลฅอมสะฮ์” ของท่านมุหัมมัด ญว๊าด มุฆนียะฮ์ ซึ่งถูกแปลเป็นภาษาอินโดนีเซียโดยคุณ Masykur A.B., คุณ Afif Muhammad และคุณ Idrus Al-Kaff, ซึ่งเนื้อหาข้างต้นมีดังนี้ (หน้า ๑๐๗)
                 "หะนะฟีย์: การอ่านสูเราะฮ์อัลฟาติหะฮ์ในละหมาดฟัรฎูนั้นไม่เป็นที่วาญิบ และการอ่าน (อายะฮ์) ใดๆ จากอัลกุรฺอานนั้นเป็นที่อนุญาต โดยอ้างอิงหลักฐานจากอัลกุรฺอาน, สูเราะฮ์ อัลมุซัมมิล, อายะฮ์ที่ ๒๐ ว่า: จงอ่านเถิด ซึ่งสิ่งที่ง่ายดายสำหรับปวงสูเจ้าจากอัลกุรฺอานนั้น" (ดู หนังสือ บิดายะฮ์ อัลมุจตะฮิด, เล่ม ๑, หน้า ๑๒๒, และหนังสือ มีซาน อัลช๊ะอ์รอนีย์, ในบท ลักษณะของการละหมาด (ศิฟะตุศเศาะล๊าฮฺ))
                  และการอ่านอัลฟาติหะฮ์นั้น เป็นที่วาญิบเพียงแค่ในสองเราะกะอะฮ์แรกเท่านั้น ส่วนในเราะกะอะฮ์ที่สามในการละหมาดมัฆริบ และสองเราะกะอะฮ์สุดท้ายในการละหมาดอิชาอ์, (ซุฮฺริ์) และอัศฺริ์นั้น ถ้าหากว่าเขาประสงค์ ก็จงอ่านมันเถิด (แต่) ถ้าหากว่าไม่ ก็จงอ่าน "ตัสบีหฺ" หรือ "นิ่ง" เสีย (อิมามอันนวาวีย, หนังสือ อธิบายหนังสืออัลมุฮัฑฑับ, เล่ม ๓, หน้า ๓๖๑)"

                  ข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือข้างต้น:
                  Masykur A.B., Afif Muhammad dan Idrus Al-Kaff. 2008. Fiqh Lima Mazhab (Edisi Lengkap). Cetakan Kedelapan. Jakarta: Penerbit Lentera.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 18, 2009, 01:50 PM โดย Al Fatoni »
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

 

GoogleTagged