salam
สูเราะฮฺที่ 1 อัลฟาติหะฮฺ เป็นสูเราะฮฺมักกียะฮฺ (ประทานที่มักกะฮฺ) มี 7 อายะฮฺ
ในวันนี้ขอนำเสนออายะฮฺอันมีความจำเริญ อายะฮฺเดียวคือ อายะฮฺที่ 1
คำแปล (R1) In the Name of Allah, the Most Gracious, the Most Merciful.
คำแปล (R2) ในพระนามแห่งอัลเลาะฮฺผู้ทรงยิ่งในความเมตตาผู้ทรงยิ่งในความกรุณา
คำแปล (R3) ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปรานี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
คำอธิบาย(R3) วัฒนธรรมอิสลามต้องการให้มนุษย์เริ่มต้นการกระทำทุกสิ่งทุกอย่างด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ถ้าหากการกล่าวนามเพื่อเริ่มต้นทำสิ่งใด
ถูกทำอย่างมีจิตสำนึกและจริงใจแล้ว มันจะก่อให้เกิดผลดี 3 ประการติดตามมาอย่างแน่นอน นั่นคือ ประการแรก มันจะช่วยปกป้องเขาให้พ้นจาก
ความชั่ว เพราะพระนามของอัลลอฮฺจะกระตุ้นเขาให้พิจารณาว่าเขาควรจะเอาพระนามของพระองค์ไปควบคู่กับการทำผิดหรือเจตนาที่ชั่วร้ายเลว
ทรามหรือไม่ ประการที่ 2 การเอ่ยพระนามของอัลลอฮฺจะสร้างทัศนะคติที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นในความคิดของเขา และจะนำเขาไปสู่ทางที่ถูกต้อง
ประการที่ 3 เขาจะได้รับความช่วยเหลือและความจำเริญจากอัลลอฮฺและเขาจะได้รับความคุ้มครองให้พ้นจากอารมณ์ของซาตานมารร้าย เพราะ
อัลลอฮฺจะหันมายังมนุษย์เมื่อมนุษย์หันมายังพระองค์
คำแปล(R4) ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ
คำแปล(R5) โอ้ปวงชนผู้ศรัทธา พวกเจ้าจงกล่าวว่า ข้าพเจ้าขอเริ่มสิ่งที่ชอบด้วยศาสนาด้วยพระนามแห่งอัลเลาะฮ์ผู้ทรงเมตตาในโลกนี้
โดยทั่วไป และทรงเมตตาในโลกหน้าเฉพาะผู้ที่ศรัทธาตามคำสั่งสอนของพระองค์คำถาม บิสมิลลาฮฺ เป็นอายะฮฺหนึ่งของแต่ละสูเราะฮฺหรือไม่หนังสือ “คำอธิบาย อัลกุรฺอานุลกะรีม(ญุซ ที่ 1) โดย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๒๔” อธิบายไว้ว่า : เศาะฮาบะฮฺบางท่าน เช่น
อะลีบินอะบีฏอลิบ อิบนุอับบาสและตาบิอีนบางท่าน เช่น สะอีด อิบนิญุบัยรฺ อะฏออฺ อัซซุฮฺรีย์ และอิบนิมุบาร็อก ตลอดจนนักนิติศาสตร์อิสลามและผู้เคร่งครัดในการประกอบศาสนกิจ
บางท่านแห่งนครมักกะฮฺ เช่น อิบนุกะซีร เป็นต้น และผู้เคร่งครัดในการประกอบศาสนกิจและนักนิติศาสตร์แห่งนครกูฟะฮฺบางท่าน อาทิเช่น อาศิม อัล-กะซาอีย์ อัช-ชาฟิอีย์ และอะหมัด
บุคคลดังกล่าวนี้ทั้งหมดมีความเห็นว่า บิสมิลลาฮฺฯ นั้น เป็นอายะฮฺหนึ่งของแต่ละซูเราะฮฺ โดยได้อ้างหลักฐานดังต่อไปนี้
1. บรรดาเศาะหาบะฮฺ และบุคคลในสมัยต่อมาได้มีมติให้บิสมิลลาฮฺฯปรากฏอยู่ในอัล-กุรฺอาน เป็นอายะฮฺแรกของแต่ละซูเราะฮฺ นอกจากซูเราะฮฺ อัล-บะรออะฮฺ หรือ อัต-เตาบะฮฺเท่านั้น
ทั้ง ๆ ที่ได้มีคำสั่งให้ขจัดสิ่งที่ไม่ใช่อัล-กุรฺอานทุกอย่าง ออกจากอัล-กุรฺอานให้หมดสิ้น แต่แทนที่พวกเขาจะตัด “บิสมิลลาฮฺ” ออกไป กลับลำดับไว้เป็นอายะฮฺแรกของแต่ละซูเราะฮฺเสียอีก
ดังกล่าวนี้เป็นการชี้ให้เห็นว่า “บิสมิลลาฮฺฯ” นั้นเป็นอายะฮฺหนึ่งของอัล- กุรอาน ในขณะเดียวกัน คำว่า “อามีน” ก็มิได้ถูกจารึกไว้ในสุดท้ายของ อัล-ฟาติหะฮฺ เพราะมิใช่ส่วนหนึ่งของอัลกุรฺอาน
2. มีฮะดีซหลายบทด้วยกันรายงานเรื่องนี้ไว้ เช่น มุสลิมได้บันทึกไว้ในเศาะหีฮฺของท่าน เป็นรายงานจากอะนัสว่า

ความว่า “ร่อซูลุลลอฮฺ ซ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า เมื่อครู่นี้ได้มีซูเราะฮฺหนึ่งถูกประทานลงมาแก่ฉัน แล้วท่านก็อ่าน

ส่วนอะบูดาวูดได้เล่ารายงานจากอะบูฮุร็อยเราะฮฺว่า

ความว่า “แท้จริง ร่อซูลุลลอฮฺ ซ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัมไม่เคยรู้การสิ้นสุดของซูเราะฮฺ จนกว่าจะถูกประทานลงมาแก่ท่านซึ่ง

อัดดารุกุฏนีย์ เล่าจากอิบนุอับบาสว่า

ความว่า “แท้จริง ร่อซูลุลลอฮฺ ซ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม กล่าวว่า เมื่อท่านอ่าน อัล-ฮัมดุลิลลาฮฺ ก็จงอ่านบิสมิลลาฮฺ เพราะมันเป็นแม่บทของอัลกุรฺอาน
และเป็นเจ็ดอายะฮฺที่ถูกอ่านซ้ำ ๆ กัน และบิสมิลลาฮฺ นั้นเป็นอายะฮฺหนึ่งในบรรดาอายะฮฺของมัน”
3. บรรดามุสลิมีนได้มีมติว่า สิ่งที่ปรากฏอยู่ระหว่างปกทั้งสองของ “คัมภีร์อัล-กุรฺอาน” นั้น คือพระดำรัสของอัลลอฮฺทั้งสิ้น และ “บิสมิลลาฮฺฯ”ก็รวมอยู่ในนั้นด้วย
ดังนั้น “บิสมิลลาฮฺฯ”จึงเป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรฺอาน
อิมามมาลิก และบุคคลอื่น ๆ ในหมู่นักปราชญ์นครมะดีนะฮฺ อัล-เอาซาอีย์ และกลุ่มหนึ่งจากนักปราชญ์แห่งประเทศชาม ตลอดจนอะบูอัมรฺ คือ ยะกูบ
ซึ่งเป็นหนึ่งในบรรดาผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติศาสนกิจแห่งบัศเราะฮฺเห็นว่า “บิสมิลลาฮฺฯ” นั้นเป็นอายะฮฺหนึ่งจากอัลกุรฺอานโดยเอกเทศ
ซึ่งถูกประทานลงมาเพื่อแจ้งให้ทราบการเริ่มต้นของบรรดาซูเราะฮฺ และเพื่อคั่นระหว่างซูเราะฮฺหนึ่งกับอีกซูเราะฮฺหนึ่งเท่านั้น ความเห็นดังกล่าวนี้ตามแนวทางของอะบูหะนีฟะฮฺถือว่าถูกต้อง
อย่างไรก็ดี อับดุลลอฮฺ อิบนิมัสอูดเห็นว่า “บิสมิลลาฮฺฯ” มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของอัลกุรฺอานแต่อย่างใดทั้งสิ้น และก็เป็นความเห็นของผู้ที่สังกัดในแนวทางของอะบูหะนีฟะฮฺบางคนด้วย
จากหลักฐานของพวกเขาก็ได้แก่ฮะดีซ ซึ่งรายงานโดยอะนัสว่า

ความว่า “ฉันได้ละหมาดข้างหลังท่านนะบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และอะบีบักรและอุมัรและอุสมาน ปรากฏว่าเขาเหล่านั้นเริ่มด้วย

โดยไม่กล่าว

ทั้งในตอนแรกอ่านและในตอนจบ”
ความจริงการที่อิบนิมัสอูดไม่ได้ยินท่านนะบีกล่าว “บิสมิลลาฮฺฯ” ในตอนแรกของการอ่าน “อัล-ฟาติหะฮฺ”นั้น ใช่ว่าท่านนะบีมิได้อ่าน “บิสมิลลาฮฺฯ”ก็หาไม่
ได้มีรายงานหลายกระแสว่าท่านอ่านค่อย ๆ และบางกระแสก็รายงานว่า ท่านเคยอ่านดัง ดังนั้นการเข้าใจว่า “บิสมิลลาฮฺฯ” มิใช่เป็นส่วนหนึ่งของอัล-กุรฺอาน
ก็ย่อมเป็นการเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง (จบคำกล่าวในเอกสารอ้างอิง)
อินชาอัลลอฮฺ ครั้งต่อไปจะได้ให้ความหมายตั้งแต่อายะฮฺที่ 2 ถึงอายะฮฺที่ 7 ต่อไป
วัสสลาม