จำดีกว่าจด ถ้าจำไม่หมด จดดีกว่าจำ
ประโยคข้างต้นนั้น
อาจารย์ที่เคยสอนวิชาสปช.(สร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต)ตอนอยู่ประถม
พูดให้ฟังประจำค่ะ ท่านบอกว่า ที่ท่่านบอกให้จดเพราะเอาไว้กันลืม
เนื่องจากเวลาท่านสอน เราไม่ค่อยจดกันน่ะค่ะ(นั่งฟังท่านพูดตาปริบๆ)

ท่่านเลยบอกว่า ทำไมไม่จดบ้าง เดี๋ยวก็ลืม...
เราก็เลยบอกว่า ไม่ลืมหรอกค่ะ ท่านก็เลยบอกเลยสอนประมาณว่า
จะจำไปได้สักกี่วันกัน สักวันพวกเธอก็จะลืมในสิ่งที่ครูสอน
(และหากบอกว่าจะจดหลังจากที่ท่านพูดจบ ข้าน้อยคนนึงที่พูดได้เต็มปากว่า
ยากค่ะ...เพราะเมื่อท่านสอนจบ เราก็มีเรียนคาบอื่นต่ออีก
ไม่มีเวลาจดค่ะ พอจะจำแล้วมาจดที่บ้าน ก็ต้องเอาเวลาไปเล่นสนุกสนาน
ผ่อนคลายอีกน่ะค่ะ...มันเลยต้องพยายามทั้งจำและทั้งจดในคาบ
และในเวลาเรียนตอนนั้นเลยอ่ะค่ะ เพราะถ้าผลัดออกไปก็จะลืมจนได้ค่ะ
(ลืมจดในสิ่งที่จำน่ะค่ะ ทำได้แค่ไหนก็แค่นั้นค่ะ อิอิอิ))
แต่หากจดเอาไว้ ลืมวันใด ยังสามารถนำมาทวนความจำได้อีก...
เพราะเราทำได้แค่ จำ กับ จด หากว่าลืมทั้งจำ ลืมทั้งจด ก็หมดกันความรู้
ที่เราหามาได้ บางครั้งเราไม่รุ้ด้วยซ้ำไปค่ะว่าเราเอาความรู้ต่างๆ
ไปเก็บไว้ตรงซอกมุมไหนของสมอง เมื่อไม่มีอะไรมากระตุ้นต่อมความจำ
มันก็เหมือนจะลืมไปเลย ไม่เชื่อท่านทั้งหลายลองกลับไปอ่านไดอารี่
หรือสิ่งที่ท่านเคยบันทึกเอาไว้ได้ค่ะ ท่านรู้สึกนึกออกหรืออะไรบางอย่าง
มันจะหลั่งไหลออกมา ทำให้ท่านต้องร้อง...อ๋อออออออ...

คนที่เป็นทั้งนักจำและนักจด ได้เปรียบชาวบ้านหลายขุมค่ะ ฟันธง!!!
อย่าเชื่อสมองหรือมั่นใจมันสมองของเราว่ามันจะมีรอยหยัก
ในการจดจำส่ิงต่างๆได้แม่นตลอดไปจนคิดว่่า ไม่จำเป็นต้องจด
เพราะว่า...เมื่อแก่ตัวลงหรือเกิดอุบัติเหตุ
ความจำจะขาดหายค่ะ อุทธาหรณ์จากสว.ที่บ้าน
เตือนใจข้าน้อยได้ไม่น้อย เมื่อก่อนไม่มีใครจำแม่นเท่า สว.ที่บ้านค่ะ
แต่ปัจจุบัน ความทรงจำหรือระบบการจดจำของท่านเริ่มเสื่อมลง...
แต่ท่านยังอ่านหนังสือได้อยู่ บางทีต้องย้ำ ต้องอ่านซ้ำๆ
อ่านแล้วลืม ก็มีค่ะ...
เตรียมตัวเอาไว้แต่เนิ่นๆ เผื่อว่า อัลลอฮฺทรงให้เรามีชีวิตที่ยืนยาว
เราจะได้มีอะไรที่เคยบันทึกเอาไว้ตอนที่ความจำยังดีอยู่
เอาไว้เตือนใจตอนความจำถูกอัลลอฮฺตาอาลานำกลับคืนไปยังพระองค์...
อินชาอัลลอฮฺ... มันไม่มีอะไรเที่ยง...
ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน
และ
ความไม่แน่นอน คือ ความแน่นอน
วัสลามค่ะ