ผู้เขียน หัวข้อ: จับเข่าคุยกันคือหัวใจของการพัฒนา  (อ่าน 972 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ suksara

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 56
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด

จับเข่าคุยกันคือหัวใจของการพัฒนา
สุขสาระ มุสลิมไทยดอทคอม : จับเข่าคุยกันคือหัวใจของการพัฒนา
www.muslimthai.com
   
ช่วงนี้สังคมไทยเรามีการทะเลาะกัน แบ่งสีกันมากมายก่ายกองเหลือเกิน จนหลายคนที่เจอหน้าเจอตาก็บ่นๆกันว่า ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ไม่น่าอยู่เอาเสียเลย ยิ้มสยามกลายเป็นยิงสยามไปแล้ววันนี้เลยขอนำกรณีศึกษามาอ่านกันพอให้ได้คิด ถึงวิธีการแก้ปัญหาคนทะเลาะกัน แต่ที่ยกตัวอย่างมานี่เป็นปัญหาในชุมชนหนึ่ง ที่ชาวบ้านเขาลงมือแก้ด้วยตัวเอง








เรื่องเกิดขึ้นในชุมชนมัสยิดคอยรุตตั๊กวา ลำไทร หนองจอก กรุงเทพฯ แต่ก่อนแต่ไรมาคนในหลายๆบ้านไม่พูดไม่คุยไม่มองหน้ากัน ด้วยปัญหาเล็กๆน้อยๆที่สะสมกันมารุ่นต่อรุ่น คนในท้องถิ่นเองก็ปล่อยให้ปัญหานี้เรื้อรังไม่มีใครคิดลงมือแก้ไขอย่างจริงจัง

“ผมได้เข้าไปอบรมในโครงการโรงเรียนผู้นำสุขภาวะมุสลิมของแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย ความรู้ที่ได้มาเต็มๆคือเรื่องการบริหารองค์กร แล้วก็เรื่องการบริหารคน ผมก็มาคิดว่าคนในชุมชนมันหลายความคิด มีการทะเลาะเบาะแว้งกัน ความคิดไม่ตรงกัน เราก็ไปคิดว่าเราน่าจะเป็นคนที่ประสานคนเหล่านี้ เขาไม่คุยกัน ก็เอาเขาเข้ามาคุยกัน” สมใจ มณี รองประธานโครงการวิจัยเรื่องการศึกษารูปแบบการแก้ไขปัญหาสุขภาวะ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนแผ่นดินทองคอยรุตตั๊กวา อธิบายถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้ชาวบ้านลำไทรจับมือกันทำงานวิจัยแบบที่อาจารย์มหาวิทยาลัยยังต้องทึ่ง




“พอดีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว.เข้ามาถามเราว่า ต้องการจะทำวิจัยเรื่องอะไรไหม เราก็เลยใช้งานวิจัยนี่แหล่ะเป็นเครื่องมือ บอกเขาไปว่า จะทำการวิจัยเรื่องสุขภาวะของคนในชุมชน ก็คือการไปดูว่า สุขภาวะก็คือการกิน การอยู่ ที่อยู่อาศัย สิ่งแวดล้อมในชุมชนเป็นอย่างไร แต่วัตถุประสงค์ที่จริงของเราก็คือ ต้องการให้คนในชุมชนได้คุยกัน โดยเอางานวิจัยมาเป็นเครื่องมือ” คุณสมใจบอกกลยุทธ์เด็ดที่เขาและสมชาย สมานตระกูล ประธานโครงการวิจัยนำมาใช้ในการแก้ปัญหาในพื้นที่

เมื่อตัดสินใจจะลงมือทำ ลำดับแรกเลย สมใจก็เชิญคนที่เขาสามารถจะชักชวนได้มานั่งคุยเรื่องการทำวิจัยโดยถามถึงความสนใจและความสมัครที่จะทำ รวมไปถึงการชวนให้ตั้งชื่อเรื่องของงานวิจัยด้วย เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและความรู้สึกในการเป็นเจ้าของโครงการตั้งแต่ต้น เมื่อขั้นตอนแรกผ่านจนทางสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยนัดลงนามในสัญญาแล้ว ก็เข้ามาสู่ขั้นตอนที่สอง

“พออนุมัติโครงการเข้ามาเราก็ไปหาทีมงาน ซึ่งก็คือชาวบ้านด้วยกัน ใครสมัครใจจะทำกับเราบ้าง คือคนที่เคยๆคุยกันนั่นแหละ ก็ได้คณะทีมงานวิจัย ทีมวิจัยก็มีแก่มั่ง เด็กมั่ง แต่ส่วนมากจะสูงอายุ พอได้ทีมวิจัยเราก็เริ่มประชุมหารือ วางแผน ว่าเราจะทำอะไรบ้าง จะเข้าไปวิจัยกลุ่มบ้านไหนก่อน ใครทำหน้าที่อะไร ใครจะไปกล่าวต้อนรับ ใครจะเป็นคนเสิร์ฟน้ำ ใครเป็นคนสัมภาษณ์ ใครเป็นคนบันทึก”

ในเมื่อหัวใจหลักของชุมชนก็คือคน เริ่มต้นของการพัฒนาชุมชนก็คือการพัฒนาคน และหากคนในชุมชนขาดการเป็นทีมงาน ไม่มองหน้ากัน ทะเลาะกัน การพัฒนาก็ไม่มีทางสำเร็จไปได้

ซึ่งสมใจได้เริ่มต้นปั๊มหัวใจให้กับการพัฒนาชุมชนของตัวเองแล้ว

“คนที่ไม่คุยกันก็จะได้คุยกัน คุยกันแล้วมันก็จะมีกิจกรรมทำร่วมกัน แล้วก็ไปกินอาหารร่วมกัน คนไม่เคยคุยกันเลยนะ แต่ก่อนนี้ในชุมชนชนบทอย่างเรา จะไปมาหาสู่กัน คนนั้นไปบ้านนั้นไปบ้านนี้ แต่หลังจากความเจริญมันเข้ามามาก ต่างคนต่างไปทำงานข้างนอก กลับมามืดๆดึกๆก็ไม่ค่อยได้คุยกัน บางทีลูกก็ไม่คุยกับพ่อ พ่อก็ไม่ได้คุยกับแม่บ้าน ทีนี้เราก็จะหาวิธีว่าทำยังไงจะให้คนกลับมาคุยกันเหมือนเดิม ก็เริ่มจากการหาอะไรให้เขาทำได้ทำร่วมกัน” - สุขสาระ มุสลิมไทยดอทคอม
 
 
 

 

GoogleTagged