ผู้เขียน หัวข้อ: หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)  (อ่าน 21863 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ albazrah

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 4
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

بسم الله
السلام عليكم

พี่น้องท่านใดในที่นี้ศึกษาเกี่ยวกับหลักตะเซาวุฟของท่าน อะห์มัด ซัรรูกฺ บ้าง พอดีกำลังศึกษาอยู่ และคิดว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งในการทำความเข้าใจหลักการต่างๆ จึงอยากเสนอให้มีการดิสกัสแต่ละกออิดะห์ เพื่อร่วมแชร์ความรู้ ความเข้าใจตรงนี้ หากใครที่อ่านอยู่แล้ว ก็ขอให้นำเสนอกันเข้ามา จะเป็นประโยชน์ต่อผู้แสวงหา อัลฮักก์ อย่างแท้จริง อินชาอัลลอฮฺ
#1591;الب الحق

ออฟไลน์ albazrah

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 4
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พ.ย. 18, 2006, 02:49 AM »
0
ขอนำเสนอเป็นคนแรกเลยละกัน

กออิดะห์ที่ 29:

إحكام وجه الطلب معين على تحصيل المطلب، ومن ثم كان حسن السؤال، نصف العلم، إذ جواب السائل على قدر تهذيب المسائل.

"รูปแบบในการแสวงหาที่ดีนั้นจะช่วยให้ได้มาซึ่งสิ่งที่แสวงหา ดังนั้นคำถามที่ดีจึงเป็นครึ่งหนึ่งของความรู้ เพราะคำตอบของผู้ถามนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่ามีการกลั่นกรองคำถามเพียงใด" (ถ้าแปลไม่ถูกความหมาย ผู้รู้ช่วยชี้แนะ)

وقد قال ابن العريف رحمه الله: "لابد لكل طالب علم حقيقي من ثلاثة أشاياء"
أحدها معرفة الإنصاف، ولزومه بالأوصاف
الثاني  تحرير وجه السؤال، وتجريده من عموم جهة الإشكال
الثالث تحقيق الفرق بين الخلاف والاختلاف

อิบนุลอะรีฟ ได้กล่าวว่า "จำเป็นต่อผู้ที่แสวงหาความรู้ที่แท้จริงที่จะต้องมี 3 ประการต่อไปนี้

หนึ่ง  รู้จักความยุติธรรมและรักษาไว้ซึ่งลักษณะต่าง ๆ

สอง  กำหนดประเด็นคำถาม และแยกออกจากประเด็นปัญหาที่เป็นแบบทั่วไป

สาม แยกระหว่าง "คิลาฟ" (ความขัดแย้ง) และ "อิคติลาฟ" (ความแตกต่าง) ได้ถูกต้อง"

قلت: فما رجع لأصل واحد، فاختلاف يكون حكم الله في كله ما أداه الله إليه اجتهاده، وما رجع لأصلين يبين بطلان أحدهما عند تحقيق النظر، فخلاف، والله أعلم

"ฉันขอกล่าวว่า (อะห์หมัด ซัรรูกฺ) สิ่งใดที่กลับไปหารากฐานอันเดียว มันคือ "อิคติลาฟ" ฮุก่มของอัลลอฮฺนั้นก็อยู่ในทุก ๆ ความแตกต่างนั้น เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺชี้นำไปสู่การอิจติฮาดมัน และสิ่งที่กลับไปหารากฐานสองประการนั้น ซึ่งเมื่อมีการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้ว  ก็จะประจักษ์ถึงความไม่ถูกต้องของอันใดอันหนึ่ง นั่นก็คือ "คิลาฟ" และอัลลอฮฺผู้ทรงรอบรู้ที่สุด"

หากการให้ความหมายผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยและขอให้ช่วยกันแก้ไข

พี่น้องมีความคิดเห็นอย่างไรกับกฎข้อนี้บ้าง ช่วยกันขยายความด้วย จะได้มีความลึกซึ้งและได้ประโยชน์ยิ่งขึ้น
#1591;الب الحق

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พ.ย. 18, 2006, 04:54 AM »
0
ถึงคุณ albazrah

وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

เรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่คุณได้เข้ามานำเสนอกระทู้เกี่ยวกับ قواعد التصوف (กฏเกนฑ์ต่าง ๆ ของตะเซาวุฟ) ของท่าน ชัยค์ ซัรรูก อัลฟาซีย์ (ร.ฏ.) ซึ่งหนังสือเล่มนี้ ผมกำลังศึกษาและเรียนอยู่ที่ ญาเมี๊ยะอฺอัลอัซฮัร (หรือมัสยิดอัลอัซฮัร) กับท่าน ศาสตราจารย์ ดร. มุฮัมมัด อับดุสซอมัด มุฮันนา , อัลฮัมดุลิลลาห์ ซึ่งเป็นหนังสือที่สำคัญและให้ความเข้าใจอย่างแท้จริงเกี่ยวตะเซาวุฟ

อินชาอัลเลาะฮ์ ผมตั้งใจว่า กระทู้ที่คุณตั้งขึ้นมานี้สมควรจะเป็นกระทู้ที่ มีการเสวนาและร่วมศึกษากันให้จบเล่มหรือให้จบทุก ๆ กออิดะฮ์(หลักเกนฑ์)ของตะเซาวุฟ หรืออาจจะนำเสนอบทสรุปแต่ละกออิดะฮ์นั้น ๆ ก็ได้

หากเป็นไปได้ ก็สมควรนำเสนอหนังสือฮิกัมของท่านอิบนุอะฏออิลลาห์ ซึ่งมีถึง 260 กว่าฮิกัม แต่ผมก็กำลังทำการค้นคว้าและแปลอยู่ ในยามว่าง ก็เลยอยากนำเสนอหน้าเวปเลย

แต่คุณเข้ามานำเสนอเกี่ยวกับ ก่อวาอิดตะเซาวุฟ เสียก่อน ผมก็ขอร่วมศึกษาและเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้อันน้อยนิดที่พอจะมีอยู่กับคุณและพี่น้องทั้งหลายครับ อินชาอัลเลาะฮ์

ก่อนอื่น ผมขอน้องรับและกล่าวก่อนว่า มันเป็นสิ่งที่แน่นอนเหลือเกิน ที่คนเราต้องมีการนำเสนอและเข้าผิดพลาดบ้าง อันนี้เราต้องช่วยกันชี้แนะตักเตือนกัน และเราสมควรยึดคติประจำใจที่ว่า "ขออัลเลาะฮ์ทรงเมตตาต่อผู้ที่ชี้ข้อตำหนิแก่เรา" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชาตะเซาวุฟ ซึ่งคนเราอาจจะมีระดับและความเข้าใจที่เลื่อมล้ำกัน ตามที่อัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ทรงเปิดและประทานให้ ดังนั้น ผมก็ขอคำชี้แนะและแก้ไขจากคุณด้วย หากว่ามีนำเสนอผิดพลาดนะครับ

والسلام

al-azhary
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พ.ย. 18, 2006, 05:37 AM »
0
อ้างอิงจากคุณ albazrah

หนึ่ง รู้จักความยุติธรรมและรักษาไว้ซึ่งลักษณะต่าง ๆ

สอง กำหนดประเด็นคำถาม และแยกออกจากประเด็นปัญหาที่เป็นแบบทั่วไป

สาม แยกระหว่าง "คิลาฟ" (ความขัดแย้ง) และ "อิคติลาฟ" (ความแตกต่าง) ได้ถูกต้อง"

แสดงความเห็นเพิ่มเติม

หนึ่ง  การรู้จากความยุติธรรม  ก็คือ  ความมีใจที่เป็นธรรม  โดยเข้าใจถึงแก่นแท้ของความรู้ว่ามาจากอัลเลาะฮ์  เมื่อเป็นเช่นนั้น  เราก็จะไม่คิดว่าความรู้ที่เราได้รับนั้น จะดีกว่าคนอื่น  เราจะไม่คิดว่า  ผู้อื่นไม่ถูกต้องและทัศนะเราเท่านั้นที่ถูกต้อง  เนื่องว่า  หากมีผู้หนึ่งได้ทำการวินิจฉัยในเรื่องของศาสนาตามหลักการที่กำหนดไว้  นั่นก็หมายความ  อัลเลาะฮ์ทรงมอบและชี้นำความรู้ให้กับเขาตามที่เขาได้ทุ่มเทการอิจญฮาด(วินิจฉัย)  เมื่อเป็นเช่นนี้  จึงไม่มีผู้ใดที่เลื่อมล้ำกัน ณ ที่อัลเลาะฮ์ ตะอาลา  อันเนื่องจากการวินิจฉัยที่เขาได้ทุ่มเทตามที่อัลเลาะฮ์ได้มอบสิทธิ์ให้  

ส่วนการรักษาไว้ซึ่งบรรดาคุณลักษณะนั้น  คือ การรักษาไว้ซึ่งคุณลักษณะทางภายนอกและภายในจิต  ให้มีคุณลักษณะที่ดีงาม  ดังนั้น หากเขาไม่รักษาคุณลักษณะเหล่านั้น  แน่นอนว่า  เขาย่อมไม่มีคุณสมบัติในการแสวงหาความรู้อย่างแท้จริง(แบบฮิกีกัต)  เนื่องจากการแสวงความรู้นั้น หากไม่มี

คุณลักษณะที่ดีงามทั้งภายนอกและภายใน  เช่นมีเจตนาไม่ดีในการแสวงหาความรู้  หรือแสวงหาความรู้เพื่อดุนยา  และไม่ปฏิบัติตามความรู้นั้น  แน่นอน  เขาก็ย่อมไม่ใช่เป็นผู้ที่ดำรงหรือรักษาไว้ซึ่งคุณลักษณะเหล่านั้น  และส่วนหนึ่งจากคุณลักษณะของความรู้นั้น  ผมได้นำเสนอในหนังสืออัลฮิกัม ในบทเรื่อง  วิชาความรู้  ทั้งสามตอนที่ผ่านมาแล้ว  หากผู้ใดต้องการศึกษาเพิ่มเติม  โปรดกลับไปทบทวนได้ที่หน้าเวปหลัก

สอง  กำหนดประเด็นคำถาม และแยกออกจากประเด็นปัญหาที่เป็นแบบทั่วไป   คือ  เราต้องแยกแยะกำหนดคำถามให้ถูกต้องตามแต่ละประเด็นนั้น ๆ  และพยายามขัดเกลาแยกแยะประเด็นคำถามให้ครอบคลุมทุกแง่มุมของประเด็นปัญหานั้น ๆ เพื่อผู้ถามจะสามารถเข้าใจปัญหาอย่างถูกต้องและตรงไปตรงมาเป็นอันดับแรก  และหลังจากนั้นก็สามารถเข้าใจประเด็นเสริมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

 สาม แยกระหว่าง "คิลาฟ" (ความขัดแย้ง) และ "อิคติลาฟ" (ความแตกต่าง) ได้ถูกต้อง"  กล่าวคือ  อัลเลาะฮ์ ตะอาลา  ทรงอนุญาตให้นักปราชญ์ความ "แตกต่างกัน" ในด้านของทัศนะ  เนื่องจากการวินิจฉัยที่อัลเลาะฮ์ทรงมอบสิทธิ์ให้แก่นักปราชญ์ผู้มีคุณสมบัตินั้น  ย่อมมีความ"แตกต่างกัน"  ตาม ซุนนะตุลลอฮ์ (แบบแผนที่อัลเลาะฮ์ทรงวางไว้ให้แก่มนุษย์)

 ดังนั้น หากนักปราชญ์มุจญฺฮิด  ได้ทำการวินิจฉัย  จากรากฐานเดียวกัน  หรือจากหลักฐานของศาสนาเดียวกันที่อัลเลาะฮ์ทรงกำหนดตัวบทขึ้นมา  ดังนั้น  การวินิจฉัยที่มีความแตกต่างกัน  ก็ย่อมกลับไปหลักฐานหรือรากฐานเดียวกัน  และนั่นก็คือฮุกุ่มของอัลเลาะฮ์ตามทัศนะของพระองค์  อันเนื่องจากต่างฝ่ายก็กลับไปสู่หลักการที่พระองค์ทรงบัญชาใช้   แต่  สิ่งที่เราได้ทำการวินิจฉัยตามที่เราได้ทุ่มเทไปนั้น  ย่อมไม่มีผู้ใดทราบว่า  ทัศนะของเขาคือทัศนะที่อัลเลาะฮ์ยอมรับ  เนื่องจากมนุษย์เพียงแค่รู้ถึงหลักการภายนอกที่เขาได้รับมาเท่านั้นเอง

 ดังนั้น  การอิจญฮาดที่เป็นฮุกุ่มของอัลเลาะฮ์  ก็เพราะต่างฝ่ายก็กลับไปหารากฐานเดียวกัน  นั่นก็คือ กลับไปหาอัลเลาะฮ์ นั่นคือหลักฮะกีกัต  แต่ผลความแตกต่างที่มนุษย์วินิจฉัยขึ้นมานั้น คือหลักซอเฮร(ภายนอกที่มนุษย์ทราบ)  ซึ่งไม่มีผู้ใดทราบว่าทัศนะใดเป็นทัศนะที่ตรงกับสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์  เพราะฉะนั้น  บรรดาซอฮาบะฮ์  จึงไม่มีผู้ใดกล้าและอาจหาญ ที่จะกล่าวว่า  ทัศนะการวินิจฉัยฮุกุ่มของฉันนั้น คือฮุกุ่มตามพระประสงค์ของอัลเลาะฮ์ ตะอาลาม วัลลอฮฺอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ albazrah

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 4
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พ.ย. 18, 2006, 03:42 PM »
0
ถึงคุณ alazhary

السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

ก็ขอบอกก่อนว่า เราไม่ได้ศึกษาหนังสือเล่มนี้จากอาจารย์คนไหน แต่อ่านอยู่คนเดียวนี่แหละ แล้วบางครั้งก็ไม่ค่อยเข้าใจ ก็เลยคิดว่าน่าจะมีการคุยกันจะได้ช่วยกันขยายความให้ได้ความหมายที่ลึกซึ้ง เพราะการเข้าใจในวิชานี้นั้น (ตะเศาวุฟ) จะมากน้อยลึกซึ้งแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความมุพยายามและการเปิดให้จากอัลลอฮฺ เราเองก็ไม่ได้มีความรู้อะไรมากมาย แต่สนใจในวิชานี้พอสมควร เพื่อการขัดเกลาตนเอง ด้วยเหตุนี้ เราจึงต้องร่วมกันศึกษาและอธิบายขยายความกัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อที่เราจะได้เข้าใจฮักมัตต่างๆ ของอัลลอฮฺมากขึ้น

คุณเองมีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์ผู้ทรงความรู้มากมาย เชื่อแน่ว่าคุณคงมีประสบการณ์และแง่คิดดีๆ มาเล่าให้พวกเราฟัง ก็ขอบคุณล่วงหน้า และขออัลลอฮฺทรงตอบแทน

อินชาอัลลอฮฺ จะเข้ามานำเสนอเรื่อยๆ ในโอกาสต่อๆ ไป
#1591;الب الحق

ออฟไลน์ albazrah

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 4
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พ.ย. 18, 2006, 03:53 PM »
0
ส่งที่คุณ alazhary แสดงความคิดเห็นขยายความไว้นั้น ชัดเจน แล้ว ซึ่งจะเห็นได้ว่าข้อที่หนึ่งนั้น เป็นเรื่องเกียวกับจิตใจที่เราจะต้องให้ความสำคัญเป็ฯพิเศษ การที่เราจะมีความยุติธรรมในการหาความรู้นั้น สำคัญ แต่บ่อยครั้งเหลือเกินที่นัฟซูมักจะมามีส่วนในการหาความรู้นั้น ส่วนข้อที่สอง และสามนั้น ก็เกียวกับเรื่องของสติปัญญาและความหลักแหลม เราต้องมีศักยภาพในการแยกแยะสิ่งต่างๆ และเข้าใจให้ถูกเรื่องของมัน ปัญหาเกิดแน่นอนถ้าเราไม่แยกระหว่างเรื่องขัดแย้ง หรือความแตกต่าง ความแตกต่างนั้นเป็นซุนนะห์ของอัลลอฮฺ แต่ความขัดแย้งนั้นเราต้องพยายามรู้ให้ได้ว่า อันไหนคือสิ่งที่ถูกต้อง วัลลอฮุอะลัม
#1591;الب الحق

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พ.ย. 19, 2006, 04:44 AM »
0
ถึงคุณ albazrah

وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

ความจริงแล้วมีหลายกออิดะฮ์เหมือนกันที่ผมไม่สามารถเข้าใจได้แจ่มแจ้ง  แต่ผมก็พยามเรียนร่ำเรียนกับอาจารย์ที่ทำการสอนเท่าที่เวลาอำนวยให้ การอ่านหนังสือตะเซาวุฟ ไม่จำเป็นว่าต้องผ่านอาจารย์มาทั้งหมด  เนื่องจากมันอาจจะอยู่ในเชิงค้นคว้า และอยู่ในภาวะขาดคนสอนและอาจารย์ผู้ที่สันทัดเกี่ยวกับตะเซาวุฟ  ดังนั้น  ถ้าหากว่าเราไม่มีอาจารย์คอยสอนให้  เราก็มีทางออกประการหนึ่งก็คือ สมควรทำการซ่อลาวาตนบี(ซ.ล.)และซิกรุลลอฮ์ให้มาก ๆ  ซึ่งมันจะช่วยขัดเกลาจิตใจของเราและจะได้รับการเปิดจากอัลเลาะฮ์ได้มากขึ้น

การที่คุณสนใจตะเซาวุฟนั้น ก็ถือว่าเป็นความโชคดี  เนื่องจากปัจจุบันผู้คนหลีกห่างตะเซาวุฟกันมากเลยทีเดียว  และการที่ผมให้ความสนใจตะเซาวุฟนั้น ก็เนื่องจากเมื่อก่อนโน้น  ผมจะเน้นศึกษาในเชิงคิลาฟิยะฮ์  ซึ่งมันไม่ทำให้จิตใจของเราดีขึ้นมาเลย  เนื่องจากความอคติเข้ามามีบทบาทเป็นส่วนมากต่อจิตใจ  ทำให้จิตใจหว้าวุ่น  คิดจะเอาชนะ  ทำให้จิตใจอยู่ในสภาพของสัตว์ดุร้าย  ตกต่ำ  หากทางออกไม่ค่อยได้  จิตใจไม่ค่อยนิ่งสงบ  มัวแต่พะวงเรื่องคิลาฟิยะฮ์  จนลืมพะวงการรำลึกซิริกต่ออัลเลาะฮ์  แต่พอเข้ามาสนใจตะเซาวุฟแล้ว  จึงทำให้จิตใจพัฒนาขึ้นได้บ้างเล็กน้อย  แม้จะไม่มากนักก็ขอกล่าวว่า  อัลดุลิลลาห์  ดังนั้น  ใครที่ตามที่ศึกษาปัญหาคิลาฟิยะฮ์โดยไม่มีตะเซาวุฟ  เขาจะมีจิตใจที่แข็งกระด้างและกร้าวร้าวอย่างเห็นได้ชัด  เขาจะมีความบ้าคลั่งกับทัศนะของตนเอง  ความยะโสโอหังที่มีต่อทัศนะอื่นจะเกิดขึ้นอย่างไม่ต้องสงสัย ทั้งที่ความรู้อันแท้จริงจะไม่อยู่กับผู้ยะโส

คุณ อัลบัสเราะฮ์  การแลกเปลี่ยนวิชาความรู้เกี่ยวกับก่อวาอิดตะเซาวุฟนี้  ย่อมเป็นสิ่งที่ดีเป็นอย่างยิ่ง  สิ่งที่คุณรู้ผมอาจจะไม่รู้ เนื่องจากคนเราได้รับอะไร ๆ ที่แตกต่างกันเสมอครับ

และถ้าหากเป็นไปได้  คือหากมีผู้รู้และชำนาญวิชาการตะเซาวุฟเขามาอ่าน  ผมก็อยากเขาให้ร่วมสนทนาชี้แนะพวกเราด้วย  เพื่อเราจะได้มีความรู้เพิ่มเติมและท่านผู้อ่านก็จะได้รับความรู้ดังกล่าวนั้นด้วย

  และอีกอย่างหนึ่ง  คือตามที่เราทราบมาว่า หนังสือก่อวาอิดอัตตะเซาวุฟนี้  มีก่อวาอิดที่ยาก ๆ  เราก็สมควรเลือกก่อวาอิดที่เข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจมานำเสนอกันก็จะดีไม่น้อยนะครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พ.ย. 19, 2006, 05:35 AM »
0
กออิดะฮ์(กฏแห่งตะเซาวุฟ) ข้อที่ 1

ท่านชัยค์ อะหฺมัด ซัรรูก  กล่าวว่า
 
الكلام فى الشىء فرع تصور ماهيته ، وفائدته ومادته بشعور ذهنى مكتسب أو بديهى ليرجع إليه فى أفراد ما وقع عليه ردا وقبولا وتأصيلا وتفصيلا فلزم تقديم ذلك على الخوض فيه ، إعلاما به ، وتحضيضا عليه ، وإيماء لمعادنه ، فافهم

"การพูดเกี่ยวกับสิ่งหนึ่ง  ย่อมเป็นกิ่งแขนงที่มาจากการยอมรับแก่นแท้ของสิ่งนั้น  ผลประโยชน์และเนื้อหาของมัน  (ซึ่งเป็นการยอมรับ)ด้วยความรู้สึกทางความนึกคิดที่ต้องอุตสาหะหรือได้รับจากการดลใจ   เพื่อจะได้รับการหวนกลับไปสู่สิ่งนั้น  ในบรรดาส่วนย่อยต่างของสิ่งที่เกิดขึ้น  เพื่อทำการปฏิเสธ  ตอบรับ  วางรากฐาน หรือแจกแจงรายละเอียด

ดังนั้น  สิ่งดังกล่าว(คือการยอมรับแก่นแท้ของมัน) จำเป็นต้องอยู่ก่อน  จากการเข้าไป(พูดพิจารณา)เกี่ยวกับมัน  เพื่อที่จะบอกให้ทราบด้วยกับมันได้  , ส่งเสริมให้กระทำต่อมัน และทำการบ่งถึงบรรดาเนื้อแท้ของมันได้  ดังนั้น  ท่านโปรดเข้าใจ" ดู หนังสือ ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ  ของท่าน ชัยค์ อะหฺมัด ซัรรูก อัลฟาซีย์  หน้า 21 ตีพิมพ์ ดารุลกุตุบอัลอิลมียะฮ์

ผมคิดว่า การนำเสนอ ก่อวาอิดอัตตะเซาวุฟ(กฏแห่งตะเซาวุฟ) ข้อที่หนึ่งมานำเสนอนั้น  ก็เนื่องจาก  มันเป็นประตูสำคัญในการเข้าใจตะเซาวุฟ  ศาสตร์ของนักปราชญ์ซูฟีย์ที่ถูกต้อง

จุดมุ่งหมายของท่าน ชัยค์ อะหฺมัด ซัรรูก (ร.ฏ.) จากก่ออิดะฮ์นี้   คือ  เราต้องทราบถึงแก่นแท้ของตะเซาวุฟและอธิบายเนื้อแท้ของมันเสียก่อน  แล้วค่อยเข้าไปศึกษาและพิจารณาถึงรายละเอียดต่าง ๆ ของมัน  กล่าวคือ  แก่แท้ของสิ่งหนึ่ง  ก็คือรากฐานเดิมของมันนั่นเอง  และการพูดถึงรายละเอียด  ก็ย่อมเป็นการแตกแขนงมาจากการรู้จักรากฐานเดิมของสิ่งนั้น ๆ เพราะฉะนั้น  รายละเอียดต่าง ๆ ที่เราได้เข้าไปศึกษาและพิจารณานั้น  ย่อมหวนกลับไปสู่รากฐานเดิมของมันที่เราให้การยอมรับมาแล้ว

วิชาเตาเซาวุฟนี้  ย่อมมีประโยชน์อย่างไม่ต้องสงสัย  เนื่องจากมันเป็นความรู้สึกทางความนึกคิดหรือทางจิตใจที่ต้องใช้ความเพียรพยายาม  โดยสอดคล้องกับหลักการของศาสนาหรือหลักชาริอะฮ์ และบางครั้งวิชานี้อาจจะได้รับจากการดลใจหรือการที่อัลเลาะฮ์ทรงเปิดจิตใจให้แก่เราที่เป็นผลเกิดขึ้นมาจากความเพียรพยายามและมีหลักปฏิบัติที่ถูกต้องอีกทั้งสอดคล้องกับหลักชาริอะฮ์
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พ.ย. 19, 2006, 05:44 AM »
0
บางท่านที่ปฏิเสธต่อหลักวิชาการตะเซาวุฟหรือแนวทางของซูฟีย์นั้น  ก็เนื่องจากพวกเขาไม่ทำการศึกษาตะเซาวุฟอย่างแท้จริงและให้เข้าใจ เพื่อพวกเขาจะได้ทราบถึงตะเซาวุฟที่ถูกต้องและเตาเซาวุฟแบบใหนที่ไม่ถูกต้อง  ซึ่งหากพวกเขาเข้าใจตะเซาวุฟอย่างแท้จริงแล้ว  การกล่าวหาต่อพี่น้องมุสลิมีนก็จะไม่เกิดขึ้น  และพวกเขาก็สามารถกล่าวแยกแยะประเด็นได้ถูกต้องว่า ตะเซาวุฟแบบใดที่ถูกต้องและตะเซาวุฟแบบใดทที่ไม่ถูกต้อง หรือแนวทางซูฟีย์ใดที่ถูกต้องและแนวทางซูฟีย์แบบใดที่ไม่ถูกต้อง

บางท่านที่ไม่เข้าใจถึงตะเซาวุฟหรือแนวทางของนักปราชญ์ซูฟีย์นั้น  เมื่อพวกเขาได้ยินคำว่า "ซูฟีย์"  สติปัญญาและสมองของพวกเขา  ก็จะไม่นึกคิดอะไรแล้ว นอกจากรู้ว่า พวกซูฟีย์คือพวกที่แบกหามคานของครูเวียนรอบกุโบร  หรือพวกซูฟีย์บางคนไม่ต้องละหมาดกันแล้ว  หรือพวกซูฟีย์คือกลุ่มที่ปลีกวิเวกสละตนเองและตัดขาดออกจากสังคม  ซึ่งความเข้าใจอย่างนี้ ถือว่าเป็นความเข้าใจของผู้ที่เชื่อตามอาจารย์ผู้โง่เขลาในวิชาตะเซาวุฟ  อาจารย์ผู้มีความอคติต่อตะเซาวุฟ  จนกระทั่งพยายามค้นหาข้อบกพร่องของผู้อ้างตนว่าเป็นซูฟีย์หรือซูฟีย์นอกลู่  แล้วนำมาโพธนากล่าวหากลุ่มซูฟีย์โดยรวม จนอาจารย์บางท่านฮุกุ่มซูฟีย์ว่าเป็นกาเฟร!!  ซุบฮานัลลอฮ์!! นั่นก็คือความเขลาอย่างหนึ่งของผู้ที่มีความอคติต่อซูฟีย์และผู้เน้นหนักวิชาตะเซาวุฟ

ดังนั้น  การที่เราจะรู้เนื้อหารายละเอียดต่าง ๆ ของตะเซาวุฟ  เราก็ต้องทราบก่อนว่า ตะเซาวุฟคืออะไร?   ซึ่งการทราบถึงแก่นแท้ของตะเซาวุฟนั้น  ย่อมเป็นประตูเข้าไปสู่รายละเอียดของศาสตร์ตะเซาวุฟ  วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พ.ย. 19, 2006, 06:03 AM »
0
หากการให้ความหมายผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยและขอให้ช่วยกันแก้ไข พี่น้องมีความคิดเห็นอย่างไรกับกฎข้อนี้บ้าง ช่วยกันขยายความด้วย จะได้มีความลึกซึ้งและได้ประโยชน์ยิ่งขึ้น

أخوكم فى الله

الأزهرى
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ อายะฮ์

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 49
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พ.ย. 20, 2006, 03:32 AM »
0
จะติดตามครับ  เพราะกระทู้ที่ดีมากกระทู้หนึ่งเลยทีเดียวที่น่าติดตาม
สานุศิษย์

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พ.ย. 22, 2006, 07:42 AM »
0
กระทู้นี้  ถือว่าเป็นกระทู้ที่ดีที่สุดกระทู้หนึ่งเลยทีเดียว  ผมจะคอยติดตามเช่นกันครับ

ออฟไลน์ al-bazrah

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 8
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พ.ย. 22, 2006, 10:42 PM »
0
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

สืบเนื่องจากกฎที่ 1 ที่คุณอัซฮารีย์ได้เสนอไว้

คำว่า ตะเซาวุร التصور นั้น เราเข้าใจว่า อาจจะมีความหมายมากกว่าคำว่ายอมรับ กล่าวคือมันยังมีความหมายถึง การรู้จักเข้าใจอย่างมองเห็นภาพ คือ การที่เราจะพูดถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้น เราก็ต้องรู้จักเนื้อแท้ และคุณประโยชน์ของสิ่งนั้นอย่างดีและมีภาพของมันอยู่ในหัวแล้ว เพราะเมื่อมีสิ่งปลีกย่อยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นมา เราก็จะได้มองออกว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของมันหรือไม่ หรือมันแตกแขนงออกมาตรงไหน อย่างไร

ถ้าจะลองเปรียบเทียบตัวอย่างให้เห็นภาพ สมมุติว่า เราจะพูดถึงต้นไม้ชนิดหนึ่ง เอาเป็นว่า เป็นต้นมะม่วง เราจะคุยกันเรื่องต้นมะม่วงนี้ คนที่คุยด้วยก็ต้องรู้จักต้นมะม่วงเสียก่อน ต้องมีภาพต้นมะม่วงอยู่ในหัว (ไม่ว่าจะไปเรียน เปิดตำราดู หรือว่า รู้จักแต่กำเนิดเพราะเป็นชาวสวนมะม่วง) ผลของมันเป็นอย่างไร ใบอย่างไร แล้วมีชนิดอะไรบ้าง ทีนี้พอเราเห็นมะม่วงกวนที่เป็นแผ่นๆ เราก็จะรู้ว่า นี่มันก็มาจากผลของต้นมะม่วงนั่นแหละ เห็นน้ำมะม่วงในกล่อง เราก็จะรู้ว่า นี่ก็ผ่านกรรมวิธีจากมะม่วงจนมาเป็นแบบนี้ พอใครเอาอะไรมาแอบอ้างว่าเป็นมะม่วง เลียนแบบกลิ่นรส เราก็สามารถจะรู้ว่ามันไม่ใช่ของแท้นะ แล้วก็ปฏิเสธได้

ทีนี้ถ้าลองเปรียบตะเซาวุฟกับต้นมะม่วงดู ก็คงจะมองออก พวกที่แบกคานหามของครูเวียนรอบกุโบร์นั้น เป็นกิ่งไหนของตะเซาวุฟหรือไม่ มีแมลงอะไรมากินทำให้มันเสียสภาพ เน่าเสียไปหรือเปล่า หรือว่าคนที่ทำแบบนั้นก็ไม่ได้มีภาพตะเซาวุฟที่แท้จริงอยู่ในหัว เพียงแต่เชื่อตามๆ กันมาว่า นี่แหละ ตะเซาวุฟ หรือว่าภาพที่อยู่ในหัวมันไม่ใช่ของจริง ก็อาจเป็นได้

ทีนี้เราก็ต้องมาคิดกันว่า จะได้ ?ตะเซาวุร? التصور ของหลัก ?ตะเซาวุฟ? التصوف ที่ถูกต้องนั้น ทำอย่างไร ก็ต้องติดตามกฎต่อๆ ไป

ก็ขอฝากเท่านี้ก่อน ผิดถูกประการใด้ โปรดช่วยกันชี้แนะ วัลลอฮุ อะอฺลัม

والسلام عليكم

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
หลักตะเซาวุฟ (ก่อวาเอ็ด อัตตะเซาวุฟ)
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พ.ย. 23, 2006, 07:42 AM »
0
وعليكم السلام ورحمة الله وبركاته

ถึงคุณ al-bazrah بارك الله فيك

ผมต้องยอมรับว่า  กระทู้เป็นการเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างแท้จริง  ซึ่งผมได้ความรู้ในสิ่งที่คุณนำเสนอมาครับ อัลฮัมดุลิลลาห์  และหวังว่ากระทู้  พี่น้องอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  จะสามารถได้รับความรู้และความเข้าใจหลักการของซูฟีย์และหลักตะเซาวุฟอย่างแท้จริง  โดยมิใช่การแอบอ้างอุตริขึ้นมา  ดังนั้น  หากกออิดะฮ์ที่ 1  ที่ได้ผมได้นำเสนอไปแล้ว เพียงพอแก่การเข้าใจ  ผมก็อยากให้คุณนำเสนอกออิดะฮ์ตะเซาวุฟต่อไปได้เลยครับ  แต่หากท่านพี่น้องผู้ใดมีการขยายความเพิ่มเติม  ก็เชิญได้เลยนะครับ  

والسلام
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
กออิดะฮ์ที่ 2
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พ.ย. 26, 2006, 04:46 AM »
0
กออิดะฮ์ที่ 2

ท่าน อิมามอะหฺมัด ซัรรูก (ร.ฏ.) กล่าวว่า

ماهية الشيء حقيقته ، وحقيقته ما دلت عليه جملته . وتعريف ذلك بحد وهو أجمع ، أو رسم وعو أوضح ، أو تفسير وهو أتم لبياته ، وسرعة فهمه وقد حد التصوف ورسم وفسر بوجوه تبلغ الألفين . مرجعها كله لصدق التوجه إلى الله تعالى ، وإنما هى وجوه فيه والله أعلم

"ความคิดรวบยอดของสิ่งหนึ่ง  ก็คือแก่นแท้ของมัน  และแก่นแท้ของมันนั้น  คือสิ่งที่บทสรุปได้บ่งถึง  และคำนิยามดังกล่าว  ก็ด้วยคำนิยามที่สมบูรณ์  ซึ่งมันจะรัดกุมกว่า  หรือด้วยคำนิยามโดยนัยที่สมบูรณ์  ซึ่งมันจะชัดเจนกว่า  หรือด้วยการอธิบาย  ซึ่งมันจะสมบูรณ์กว่าให้กับการแจกแจงมัน  และเข้าใจมันได้เร็ว  และแท้จริง ตะเซาวุฟ  ได้ถูกให้คำนิยามโดยสมบูรณ์ ,  โดยนัยสมบูรณ์ , และโดยการอธิบาย  ด้วยหลายหนทาง  จนถึง 2000 คำนิยาม  ซึ่งที่หวนกลับไปของมันทั้งหมดนั้น  คือความสัจจริงในการมุ่งไปสู่อัลเลาะฮ์  ตะอาลา  และ 2000 คำนิยามนั้น  มีหลายหนทาง  ในการมีความสัจจริงในการมุ่งไปสู่พระองค์  วัลลอฮุอะลัม"  ดู  หนังสือ ก่อวาอิด อัตตะเซาวุฟ  หน้า 21

เราจะพบว่าความคิดรวบยอดของสิ่งหนึ่ง  ก็คือแก่นแท้ของมันนั่นเอง  และแก่นแท้ของตะเซาวุฟก็คือ  ความจริงจัง  แน่วแน่  สัจจริง  ในการมุ่งไปสู่อัลเลาะฮ์ตะอาลา  ซึ่งคำนิยามของตะเซาวุฟนั้น  มีมากถึง 2000 คำนิยาม  ที่ได้รับมาจากปริมาณหรือขนาดของการลิ้มรสในการภักดีและมะรีฟัตต่ออัลเลาะฮ์  ตะอาลา   และการเตาบะฮ์ย่อมเป็นประตูแรกที่จะทำให้เกิดความสัจจริงในการมุ่งสู่อัลเลาะฮ์ตะอาลา  ดังนั้น  หากแม้นว่าไม่มีความสัจจริงดังกล่าวนั้น  แน่นอนว่าเตาบะฮ์ย่อมไม่มีและไม่เกิดขึ้น  และผู้ใดไม่มีการเตาบะฮ์  ตะเซาวุฟก็ย่อมไม่มีให้แก่เขา  และเป้าหมายของการเรียนและปฏิบัติวิชาเตาเซาวุฟนั้น คือ "อัลเลาะฮ์"   วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged