เพิ่มเติมอีกนิดนึงค่ะ...
แอลกอฮอล์ เมื่อเข้าไปในระบบทางเดินอาหาร
มันจะถูกดูดซึมผ่านผนังของกระเพาะ หรือลำไส้เล็ก
โดยไม่ถูกย่อย
ที่กระเพาะปริมาณการดูดซึมประมาณ 20%
และที่ลำไส้เล็กการดูดซึมจะประมาณ 70 %
ส่วนอีก 10%นั้น จะถูกขับออกทางลมหายใจและปัสสาวะ
ฉนั้นจะเห็นว่า แอลกอฮอล์นี้ เหมือนกับ VIP
คือได้ผ่านได้ไปเลย ถูกดูดซึมโดยไม่ได้มีการย่อย
หรือการเปลี่ยนแปลงในกระเพาะหรือหรือลำใส้
ในกระเพาะที่ว่างเปล่า
แอลกอฮอล์สามารถไปถึงสมองภายในหนึ่งนาที
หลังจากทีได้รับการดูดซึมจากผนังกระเพาะ
เมื่อแอลกอฮอล์ออกจากลำไส้ มันก็จะเข้าไปยังตับ
และทุกเซลในตับจะถูกชะโลมด้วยแอลกอฮอล์
ดังนั้นตับจึงรับภาระมากที่สุด
ผลเสียที่เกิดก็มากที่สุดในร่างกาย
ปกติตับจะทำหน้าที่เป็นโรงงานที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย
เช่น สร้างสารพวก triglyceride ที่ได้จาก fatty acid
ซึ่งได้จากที่เรารับประทานอาหารต่างๆ เข้าไป
แล้วส่งต่อไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ
ตับยังสร้างอาหารสะสมจากน้ำตาล (Glycogen synthesis) เพื่อเก็บไว้ใช้เป็นพลังงานเวลาที่ร่างกาย
มีความจำเป็นต้องการจะใช้
นอกเหนือจากนี้ แอลกอฮอล์ส่วนที่ตับสกัดฟอก (metabolize - สกัด ทำลาย แยก) ออกไม่ทัน
ก็จะถูกส่งออกผ่านเส้นเลือดต่อไปยังหัวใจ
จากนั้นก็จะถูกสูบฉีดไปทั่วร่างกาย รวมทั้งสมองด้วย
โดยเฉลี่ยตับสามารถกำจัดเอาแอลกอฮอล์ออกได้
ประมาณ 8 - 18 กรัมของแอลกอฮอล์
ทีดื่มเข้าไปต่อชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับ เพศ น้ำหนัก ของผู้ดื่มด้วย)
เมื่อแอลกอฮอล์ เข้ามามากเกินที่ตับจะฟอกได้
มันก็จะท้นเข้าระบบใหลเวียน ทำให้แอลกอฮอล์
ซึ่งละลายน้ำได้ดีสามารถไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
และจะไหลเวียนรอจนกว่าตับจะฟอกออกหมด
ดังนั้น จึงพอจะพูดได้ว่า
"ไม่ควรดื่มเกิน One drink ต่อ ชั่วโมง"
ร่างกายย่อยทำลาย (metabolize) แอลกอฮอล์อย่างไร ?
การย่อยทำลายแอลกอฮอล์นั้นเกิดขึ้นที่ตับ
มันจะถูกสลาย โดย เอ็นไซม์ Alcohol Dehydrogenase เปลี่ยน (Oxidise) ให้เป็น Acetaldehyde
เอ็นไซม์ Acetaldehyde dehydrogenase oxidise (เปลี่ยน) Acetaldehyde ให้เป็น Acetyl CoA
ซึ่งทำให้เกิด Hydrogen (H) ขึ้น
จากนั้น Hydrogenก็จะถูก วิตามิน Niacin
ซึ่งทำตัวเป็น Coenzyme เข้ามาจับ Hydrogen ตัวนี้
โดยปกติ Niacin จะเป็นตัวช่วยในกิจกรรม
การสร้างอาหารอื่นที่มีประโยชน์
นอกจากนี้ ร่างกายยังขับออกโดยทาง ลมหายใจ
ผิวหนัง และทางไต ในรูปที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง
(คือ ไม่ได้ผ่านกรรมวิธีสองขั้นอย่างข้างบน)
ในจำนวนไม่เกิน 10 % ของปริมาณทั้งหมดที่ดื่มเข้าไป
ฉะนั้นในตอนเช้าเราจึงสามารถบอกได้ว่า
เมื่อคืนใครไปฉลองมาหนักเกินไปหรือเปล่า
โดยสามารถได้กลิ่นแอลกอฮอล์จากลมหายใจ
(เรียกกันว่า กลิ่นละมุดเน่า)
การวัดระดับ Alcohol ในร่างกาย
ปริมาณแอลกอฮอล์ ในเลือด BAC (Blood Alcohol Concentration หรือ BAL (Blood Alcohol Level)
วัดจำนวนแอลกอฮอล์ เป็น gram (gm)
ในเลือด 100 cc และพูดเป็น "เปอร์เซ็นต์"
เช่น 0.08 % ก็เท่ากับว่า เลือด 100 cc
มีจำนวนแอลกอฮอล์อยู่ 0.08 gm
ซึ่งก็เท่ากับ 0.08 x 1000 mg (1 gm = 1000 mg)
= 80 mg
สรุปก็คือ...เมื่อเหล้าเข้าปาก แอลกอฮอล์ที่ว่าก็จะติดตาม
มันไปด้วย...และพิษสงของแอลกอฮอล์ก็มีไม่น้อยเลย...
บางคน ตอนทีความทุกข์ก็กินเหล้า ตอนมีความสุข
ก็เลี้ยงฉลองด้วยเหล้า ตอนงานแต่งก็เหล้า
ตอนงานคนตายก็เหล้า...สรุปว่า โอกาสไหนๆก็เหล้า...
และที่น่าใจหายก็คือ ไม่ใช่แค่ต่างศาสนิกที่ดื่มเหล้า
มุสลิมเราก็ดื่มเหล้าเหมือนกัน งานแต่งงานบางที่
ช่วงเช้าให้โต๊ะอีหม่ามขึ้นว่าปราศัย พอตกค่ำ
ก็ตั้งวงกินเหล้ากัน...
เดี๋ยวนี้เหล้าถูกดื่มกันเกลื่อน...
การให้เหล้าเป็นของขวัญ ทำให้คนรับยิ้มหน้าบาน
โลกมันหมุนกลับตีหัวลังกาซะแล้ว...
ปล.ที่มาของเนื้อหาข้างต้นค่ะ
http://www.krumontree.com/science/alcohol_01.htmlเฮอะๆ
วัสลามค่ะ