السلام عليكم ورحمة الله وبركاته وطيباته
و عن ابن عباس قال : " إن رسول الله ( صلَّى الله عليه و آله ) صلى بالمدينة سبعاً و ثمانياً ، الظهر و العصر ، و المغرب و العشاء
صحيح مسلم : 1 / 490 ـ 492 ، طبعة دار إحياء التراث العربي ، و دار القلم ، بيروت / لبنان .
จากอิบนิอับบาสกล่าวว่า : แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ทำนมาซที่เมืองมะดีนะฮ์ 7 ร่อกะอะฮ์และ8ร่อกะอะฮ์ (คือรวมมัฆริบกับอีชา และ8คือรวมซุอ์ริกับอัศริ) หนังสือซอฮี๊ห์มุสลิมเล่ม 1 หน้า490-492
หะดิษนี้บ่งถึง ท่านได้นบี(ซ.ล.)เคยละหมาดที่นครมะดีนะฮ์ เจ็ดร่อกะอัต คือทำละหมาดรวมแบบตักดีม ทำเอาละหมาดอีชาอ์มารวมในทำกับละหมาดมัฆริบ และแปดร่อกะอัตโดยนำละหมาดอัสริมารวมทำกับละหมาดซุฮ์ริ
ท่านอิมามอันนะวาวีย์ได้กล่าวอธิบายว่า
ومنهم من قال: وهو محمول على الجمع بعذر المرض أو نحوه مما هو فى معناه من الأعذار ، وهو قول أحمد بن حنبل والقاضى حسين من أصحابنا ، وأختاره الخطابى والمتولى والرويانى من أصحابنا وهو المختار فى تأويله لظاهر الحديث ولفعل ابن عباس وهو موافقة أبى هريرة ، ولأن المشقة فيه أشد من المطر
"นักปราชญ์บางส่วน กล่าวว่า หะดิษนี้ถูกตีความบนการรวมละหมาดด้วยสาเหตุของอุปสรรคการป่วยหรืออื่น ๆ จากสิ่งที่อยู่ในความหมายของมันจากบรรดาอุปสรรคทั้งหลาย และมันเป็นทัศนะคำกล่าวของท่านอิมามอะหฺมัด บิน ฮัมบัล และอัลกอฏอ หุซัยน์ จากบรรดานักปราชญ์มัซฮับของเรา และท่านอัลค๊อฏฏอบีย์ , ท่านอัลมุตะวัลลีย์ และท่านอัรรูยานีย์ จากบรรดานักปราชญ์มัซฮับของเรา และมันเป็นทัศนะที่ถูกเลือกเฟ้นแล้วในการตีความ อันเนื่องจากความหมายผิวเผินของหะดิษ และการกระทำของท่านอิบนุอับบา โดยที่มันสอดคล้องกับท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ และเพราะว่าความลำบากในเรื่องความเจ็บป่วยนั้นย่อมหนักว่าฝนตกหนัก" ดู ชัรหฺซอฮิหฺมุสลิม เล่ม 23 หน้า 236 ดารุลหะดิษ
ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวอธิบายเช่นกันว่า
وذهب جماعة من الأئمة الى جواز الجمع فى الحضر للحاجة لمن لا يتخذه عادة وهو قول ابن سيرين وأشهب من أصحاب مالك ، وحكاه الخطابى عن القفال والشاشى الكبير من أصحاب الشافعى عن ابى إسحاق المروزى عن جماعة من أصحاب الحديث وإختاره ابن المنذر ويؤيده ظاهرقول ابن عباس : أراد ألا يحرج أمته فلم يعلله بمض ولا غيره . والله أعلم
"กลุ่มหนึ่งจากปวงปราชญ์ได้ดำเนินทัศนะว่า อนุญาตให้รวมละหมาดในขณะที่ไม่ได้เดินทาง เพราะมีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ไม่ทำการรวมละหมาดเป็นปกติวิสัย และมันคือทัศนะของท่านอิบนุซีรีน , ท่านอัชฮับ จากสานุศิษย์ของท่านอิมามมาลิก และท่านอัลค๊อฏฏอบีย์ได้ทำการรายงานจาก ท่านอัลก๊อฟฟาล และจากอัชชาชีย์ผู้เป็นพี่ที่มาจากมัซฮับของเรา ซึ่งได้รายงานจากอบีอิสหาก อัลมัรวะซีย์ จากกลุ่มหนึ่งจากนักปราชญ์หะดิษ และท่านอิบนุอัลมุนซิรได้เลือกทัศนะนี้ และได้ทำการสนับสนุนกับทัศนะนี้โดยคำกล่าวของท่านอิบนุอับบาสที่ว่า "ท่านนบีต้องการไม่ให้มีความลำบากต่อประชาชาติของท่าน" ดังนั้น ท่านอิบนุอับบาสไม่ได้ให้เหตุผลว่าป่วยและอื่น ๆ เลย วัลลลอฮุอะลัม" ดู ชัรหฺซอฮิหฺมุสลิม เล่ม 23 หน้า 236 ดารุลหะดิษ
โดยยกฮาดิษที่ว่า
عن ابن عباس ( رضي الله عنه ) قال : صلّى رسول الله ( صلَّى الله عليه و آله ) الظهر و العصر جميعاً ، و المغرب و العشاء جميعاً ، في غير خوف و لا سفر
صحيح مسلم : 1/ 384 ، باب الجمع بين الصلاتين في الحضر
จากอิบนิอับบาส(รฎ.)เล่าว่า : ท่านร่อซูลุลลอฮ์(ศ)ได้ทำนมาซซุฮ์ริและอัศริรวมกัน และ(ได้นมาซ)มัฆริบกับอีชารวมกัน โดยที่ไม่ได้อยู่ในยามหวาดกลัว(จากภาวะสงคราม)และไม่ได้อยู่ในข ณะเดินทาง
หนังสือซอฮี๊ห์มุสลิมเล่ม 1 หน้า 384 หมวดว่าด้วยเรื่องการทำนมาซรวมกันในภาวะปกติ (คือไม่ได้เดินทาง ไม่ป่วยและฝนไม่ตก)
หะดิษนี้ คือประเด็นสำคัญที่ชีอะฮ์จะนำมาอ้างทัศนะของเขา ซึ่งถ้าหากเราพิจารณาสายรายงานหะดิษที่มีถ้อยคำที่ว่า
في غير خوف و لا سفر
"โดยที่ไม่ได้อยู่ในยามหวาดกลัว(จากภาวะสงคราม)และไม่ได้อยู่ในข ณะเดินทาง"
เราจะพบว่าสายรายงานต่าง ๆ ที่มีระบุถ้อยคำนี้ ได้รายงานจากท่าน سعيد بن جبير เพียงท่านเดียวเท่านั้นที่ได้รายงานจากท่านอิบนุอับบาส(ร.ฏ.) และถ้อยคำนี้ถือว่าฏออีฟ อันเนื่องจาก شاذة (ซาษฺ) แหวกแนวโดยรายงานขัดแย้งกับสายรายงานและถ้อยคำที่ซอฮิหฺกว่าและน่าเชื่อถือได้มากกว่า
ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุหะญัร อัลฮัยตะมีย์ กล่าวชี้แจงว่า
زاد مسلم ن غير خوف ولا سفر قال الشافعى كمالك رضى الله عنهما أرى ذلك لعذر المطر واعترض بروايته
أيضا من غير خوف ولا مطر وأجيب بأنها شاذة
"ท่านมุสลิมได้เพิ่มถ้อยคำที่ว่า غير خوف ولا سفر "โดยที่ไม่ได้อยู่ในยามหวาดกลัว(จากภาวะสงคราม)และไม่ได้อยู่ในข ณะเดินทาง" ซึ่งท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ได้กล่าวเช่นเดียวกับท่านอิมามมาลิก(ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา)ว่า ฉันเห็นว่าสิ่งดังกล่าวนั้น อันเนื่องจากมาอุปสรรคของฝนตกหนัก และการรายงานของท่านมุสลิมที่ว่า"โดยที่ไม่ได้อยู่ในยามหวาดกลัว(จากภาวะสงคราม)และไม่ได้อยู่ในข ณะเดินทาง" ก็ถูกคัดค้านเช่นกัน โดยตอบว่า การรายงานของท่านมุสลิมนั้น شاذة (ซาษฺ) (แหวกแนวโดยรายงานขัดแย้งกับสายรายงานและถ้อยคำที่ซอฮิหฺกว่าและน่าเชื่อถือได้มากกว่า)" ดู หนังสือตั๊วะฟะตุลมั๊วะตาจญ์ เล่ม 2 หน้า 402 ดารุล อิหฺยาอ์ อัตตุร๊อษ อัลอะร่อบีย์ , และหนังสือนุฮายะฮ์ อัลมั๊วหฺตาจญ์ ของท่านอิมามอัรร๊อมลีย์ เล่ม 2 หน้า 280 - 281 มุสต่อฟาอัลหะละบีย์
ท่านอิมาม ค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์ กล่าวชี้แจงว่า
زاد مسلم ن غير خوف ولا سفر قال الشافعى كمالك رضى الله عنهما أرى ذلك لعذر المطر . قال فى المجموع : وهذا التأويل مردود برواية مسلم . قال: وأجاب البيهقى بأن الأولى رواية الجمهور فهى أولى . قال : يعنى البيهقى ، وروينا عن ابن عباس وابن عمر الجمع بالمطر وهو يؤيد التأويل
"ท่านมุสลิมได้เพิ่มถ้อยคำที่ว่า غير خوف ولا سفر "โดยที่ไม่ได้อยู่ในยามหวาดกลัว(จากภาวะสงคราม)และไม่ได้อยู่ในข ณะเดินทาง" ซึ่งท่านอิมามอัชชาฟิอีย์ได้กล่าวเช่นเดียวกับท่านอิมามมาลิก(ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา)ว่า ฉันเห็นว่าสิ่งดังกล่าวนั้น อันเนื่องจากมาอุปสรรคของฝนตกหนัก ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวในหนังสืออัลมัจญฺมั๊วะว่า การตีความนี้ถูกปฏิเสธด้วยการรายงานของท่านมุสลิม อิมามอันนะวาวีย์กล่าวอีกว่า ท่านอัลบัยฮะกีย์ตอบว่า การรายงานแรกเป็นการรายงานของนักปราชญ์หะดิษส่วนมาก ดังนั้น มันจึงเป็นการรายงานที่ดีกว่า คือท่านอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า เราได้ทำการรายงานจากท่านอิบนุอับบาสและท่านอิบนุอุมัร กับ การรวมละหมาด(ของท่านนบี) ด้วยเหตุฝนตก ซึ่งมันได้มาสนับสนุนการตีความ(ของอิมามชาฟิอีย์)" ดู หนังสือ มุฆนีย์ อัลมั๊วะหฺตาจญ์ เล่ม 1 หน้า 504 มักตะบะฮ์ อัตเตาฟีกียะฮ์
ดังนั้น การรายงานของท่านมุสลิมกับถ้อยคำดังกล่าว ถึงไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ เพราะว่า شاذة (ซาษฺ) แหวกแนวโดยรายงานขัดแย้งกับสายรายงานและถ้อยคำที่ซอฮิหฺกว่าและน่าเชื่อถือได้มากกว่าตามหลักวิชาการหะดิษ
แล้วก็มันยังบอกด้วยว่าท่านนบีทำตลอดชีวิต มันก็เลยทำให้ผมสงใส่จึงใคร่ขอความรู้จากท่านผู้ท่านใดก็ได้นะครับยินดีทุกกท่านครับ
การที่ชีอะฮ์อ้างว่า ท่านนบีทำการรวมละหมาดตลอดชีวิตนั้น ย่อมฟังไม่ขึ้นตามหลักการ เนื่องจากท่านอะลี(ร.ฏ.)เอง ได้ใช้ให้บรรดาเจ้าเมืองที่ว่าการแทนท่าน ทำการละหมาด 5 เวลา ใน 5 ช่วงเวลาของวัน ท่านอะลี(ร.ฏ.)ได้กล่าวในสารที่ 52 ว่า
ومن كتاب له عليه السلام إلى أمراء البلاد في معنى الصلاة
أما بعد فصلوا بالناس الظهر حتى تفئ الشمس من مربض العنز وصلوا بهم العصر والشمس بيضاء حية فى عضو من النهار حين يسار فيها فرسخان . وصلوا بهم المغرب حين يفطر الصائم ويدفع الحاج . وصلوا بهم العشاء حين تتوارى الشفق إلى ثلث الليل . وصلوا بهم الغداة والرجل يعرف وجه صاحبه . وصلوا بهم صلاة أضعفهم ولا تكون فتانين
"จากสารหนึ่งของท่านอะลี(อ.) ที่ได้ส่งไปยังบรรดาเจ้าเมืองต่าง ๆ เกี่ยวกับความหมายของละหมาดว่า"
"อนึ่ง พวกท่านจงทำการละหมาดซุฮริพร้อมกับผู้คนทั้งหลายจนกระทั้งดวงอาทิตย์คล้อยจากกำแพงคอกแพะ และพวกท่านจงทำการละหมาดอัสริพร้อมกับพวกเขา โดยที่ดวงอาทิตย์แสงเรืองรองสีขาวแกมเหลืองที่ยังคงอยู่ในส่วนของวันที่สามารถเดินทางได้ในระยะทางสองฟัรซัค และพวกท่านจงทำการละหมาดมัฆริบพร้อมกับพวกเขาในขณะที่ผู้ถือศีลอดได้ทำการละศีลอดและคนทำฮัจญ์ได้แยกย้ายกลับจากอาระฟะฮ์(ไปสู่มีนา) และพวกท่านจงทำการละหมาดอีชาอ์พร้อมกับพวกเขาในขณะที่แสงแดงได้ลับขอบฟ้าจนถึงเศษหนึ่งส่วนสามของคืน และพวกท่านจงละหมาดซุบห์พร้อมกับพวกเขาโดยที่บุรุษคนหนึ่งได้สามารถจำใบหน้าของมิตรสหายเขาได้ และพวกท่านจงทำการละหมาดกับพวกเขาเหมือนกับการละหมาดของผู้อ่อนจากพวกเขาและพวกท่านอย่างสร้างความเดือนร้อน(ด้วยการละหมาดนานเนื่องจากมีคนชราและผู้ที่อ่อนแอร่วมละหมาอยู่ด้วย" ดู หนังสือ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ หน้า 82
ดังนั้น หากท่านนบี(ซ.ล.) ได้ทำการรวมละหมาดเป็นประจำหรือทำตลอดชีวิตนั้น ท่านอิมามอะลี(ร.ฏ.) จะไม่ส่งสารแจ้งไปยังบรรดาเจ้าเมืองให้ทำการละหมาด 5 เวลาตามเวลาที่ถูกกำหนดเฉพาะให้กับมัน วัลลอฮุอะลัม