ผู้เขียน หัวข้อ: เราจะเดินทางไปสู่อัลเลาะฮ์ตาอาลาอย่างไร?(บทเรียนฮิกัม)  (อ่าน 5985 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com

ท่านอิมาม อิบนุ  อะฏออิลและฮ์  กล่าวฮิกัมหนึ่งความว่า

لَوْلاََمَياِدْينُ النُّفُوْسِ مَا تَحَقَّقَ سَيْرُ السَّائِرِيْنَ ، إِذْ لاَ مَسَافَةَ بَيْنَكَ وَبَيْنَهُ حَتَّى تَطْوِيَهَا ِرحْلَتَكَ ، وَلاَ قُطْعَةَ بَيْنَكَ وَبَيْنَهُ حَتَّى تَمْحُوَهَا وُصْلَتُكَ

" หากไม่มีสนามแห่งอารมณ์ใฝ่ต่ำของจิตใจแล้ว  การเดินทางของผู้เดินทางก็จะไม่เกิดขึ้น  เพราะไม่มีระยะทางระหว่างท่านกับพระองค์  จนพาหนะของท่านจะต้องตัดผ่านมันไป  และไม่มีการตัดขาดระหว่างท่านกับพระองค์  จนการติดต่อสัมพันธ์ของท่านลบมันออกไป "


คำว่าการเข้าหาอัลเลาะฮฺ  ( السلوك إلى الله ) เป็นคำที่รู้จักกันทั่วไป  ก็คือการมุ่งไปสู่อัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) ด้วยการกลับตัวกลับใจ  ด้วยการปฏิบัติที่อยู่ในกรอบของบทบัญญัติ  และห่างไกลจากสิ่งต้องห้าม
แล้ว  อะไรคือจุดมุ่งหมายของการเข้าหาอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) ? ท่านทราบดีแล้วว่า  อัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) ไม่ทรงถูกกำหนดระยะเวลาและสถานที่อยู่  เพราะฉะนั้น  จุดมุ่งหมายของการเข้าหาอัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) ก็คือ  การฝ่าฟันอุปสรรคของอารมณ์ใฝ่ต่ำอันได้แก่สิ่งที่เป็นคุณลักษณะอันบกพร่องที่มีอยู่ในจิตใจ  ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และธรรมชาติที่ไม่ดีที่เกิดจากจิตใจ  อันเป็นผลทำให้เกิดความห่างไกลจากความพึงพอพระทัยของอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) 

ดังนั้น  ผู้ใดที่ทำการสารภาพผิดต่ออัลเลาะฮฺ (ซ.บ.)  ด้วยวิธีการมุ่งบำบัดจิตใจ  ปลดเปลื้องตัวเองออกจากความบกพร่องของจิตใจ  และขัดเกลาสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจให้พ้นจากโรคและธรรมชาติที่ไม่ดีแล้ว  แน่นอนเขาได้เริ่มต้นเดินทางแล้ว  โดยมุ่งหน้าไป  โดยไม่ใช่มุ่งไปที่อัตมันของอัลเลาะฮ์ (ซ.บ.) ซึ่งมันอยู่ใกล้ยิ่งกว่าเส้นเอ็นที่ต้นคอของเขา  แต่มุ่งไปสู่สิ่งที่ไกลกว่านั้น  นั่นก็คือการมุ่งไปสู่ความโปรดปราน  และความพึงพอพระทัยของอัลเลาะฮฺ (ซ.บ.)

 ถ้าหากตัวกั้นขวางที่มาจากความบกพร่องและความโสมมของจิตใจ  ไม่มีระหว่างบ่าวกับสิ่งที่อัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) ทรงพอพระทัยแก่เขาแล้ว  แน่นอน  คำว่า "การเดินทางไปสู่อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) " ก็ไร้ความหมายและไม่มีอนุญาติให้ใช้คำนี้ได้  เนื่องจากว่าตัวกั้นขวางระยะทางที่สามารถเห็นได้จริง ๆ ที่ต้องฝ่าฟันระหว่างเขาและอัลเลาะฮฺนั้นไม่มี

 ชัยคุลอิสลาม อับดุลเลาะฮฺ  อัชชัรกอวีย์  กล่าวว่า" การเดินทางไปสู่อัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) นั้น  ก็คือการฝ่าฟันอุปสรรคที่ยากลำบากของอารมณ์ใฝ่ต่ำและลบร่องรอยที่เป็นสาเหตุให้เกิดมัน  และสามารถพิชิตธรรมชาติของอารมณ์ใฝ่ต่ำได้  จนกระทั้งมันได้บริสุทธิ์จากสิ่งดังกล่าว " อธิบาย หนังสือ อัลฮิกัม เล่ม 2 หน้า 66

 ท่านอิบนุอิบาดได้กล่าวว่า "นักปราชญ์ตะเซาวุฟบางส่วนกล่าวว่า ( مَا الْحَيَاةُ اِلاَ فِى الْمَوْتِ ) "ไม่มีชีวิตนอกจากในความตาย " ซึ่งหมายความว่า  หัวใจจะไม่มีชีวิตนอกจากทำให้นัฟซูนั้นตาย   และนักปราชน์ตะเซาวุฟบางท่านกล่าวว่า "เนี๊ยะมัตที่ยิ่งใหญ่นั้นคือ การออกจากนัฟซู  เพราะมัน (นัฟซู) คือฮิญาบ มาปิดกั้นอันยิ่งใหญ่ระหว่างเขากับอัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) " อธิบาย หนังสือ อัลฮิกัม เล่ม2หน้า66

 ดังนั้น ท่านอิบนุอะฏออิลและฮฺได้กล่าวฮิกมะฮฺดังกล่าว  โดยมีเป้าหมายที่สามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

ประการที่หนึ่ง  ท่านทราบดีว่า  อัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) ทรงให้เกียตริแก่มนุษย์  ด้วยการให้มีภาระต้องรับผิดชอบต่อบทบัญญัติ  พร้อมทั้งประทานบุญกุศลให้ถ้าหากเขาปฏิบัติคุณงามความดี  และทำการลงโทษหากเขาทำกรรมชั่ว  และเป็นที่ทราบกันดีว่า  ความหมายของ ( اَلتَّكْلِِِيْفُ ) การมีภาระต้องรับผิดชอบนั้น คือคำสั่งให้ทำสิ่งที่เป็นภาระตกหนักต่อนัฟซูและขัดแย้งกับอารมณ์  นั่นคือ  คุณสมบัติที่มนุษย์มีความโดดเด่นกว่ามะลาอิกะฮ์  เพราะมะลาอิกะฮ์นั้นน้อมรับปฏิบัติตามคำบัญชาของอัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) โดยที่พวกเขาไม่ต้องอาศัยความพากเพียรพยายามและตกหนักแต่อย่างใด  แต่พระองค์ทรงทำให้ธรรมชาติของมะลาอิกะฮ์น้อมรับคำบัญชาของพระองค์  โดยพวกเขาไม่มีความรู้สึกว่าเป็นภาระตกหนักแต่อย่างใด  ยิ่งไปกว่านั้น  พระองค์อัลเลาะฮ์ทรงบันดาลให้ธรรมชาติของพวกเขาน้องรับต่อคำบัญชาใช้ของพระองค์ด้วยเหตุนี้  ภาระหน้าที่ของพวกเขาที่อัลเลาะฮฺทรงจัดให้นั้น  จึงไม่เหมือนกับภาระรับผิดชอบของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับการตอบแทนและได้รับผลบุญ

จึงมีคำถามว่า  อะไรคือภาระตกหนัก  ที่อัลเลาะฮฺทรงทำให้มันเป็นพื้นที่กั้นขวางระหว่างมนุษย์กับการน้อมรับคำสั่งของอัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) ?  คำตอบ  ก็คือ  สิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจของมนุษย์อันได้แก่  จากความอยากปรารถนา  และธรรมชาติของเดรัจฉาน  ความเห็นแก่ตัว  อิจฉาริษยาผู้อื่น  หยิ่งยะโส  กล่าวให้ร้าย  และจิตใจที่ดื่มด่ำในการรักดุนยา  สิ่งอำนวยความสุข  ทรัพย์สินและสิ่งที่ยั่วยวนต่าง ๆ ของมัน  ดังนั้นคุณลักษณะเหล่านี้  จึงเป็นเคล็ดลับที่อัลเลาะฮฺได้ปลูกฝังมันเอาไว้ให้เป็นธรรมชาติของจิตใจมนุษย์  ซึ่งเปรียบเสมือนรูปแบบของระยะทางที่ยาวไกลหรือสนามอันกว้างใหญ่  ที่มากั้นขวางระหว่างมนุษย์กับจุดมุ่งหมายแห่งคำสั่งใช้ของพระองค์

ประการที่สอง  มีคำถามว่า  อะไรคือเคล็ดลับที่อัลเลาะฮฺทรงปลูกฝังอุปสรรคต่าง ๆ เอาไว้ในจิตใจของมนุษย์  และอะไรคือเคล็ดลับที่พระองค์ทรงทดสอบพวกเขาให้ทำการเดินทางไปสู่พระองค์ ?  คำตอบก็คือ  อุปสรรคต่าง ๆ ของมนุษย์นั้น  จึงเสมือนระยะทางที่ยาวไกลระหว่างบ่าวกับพระผู้อภิบาลของเขา ดังนั้น  ถ้าหากไม่มีอุปสรรคใด ๆ แล้ว  แน่นอน  การที่บ่าวจะเดินทางมุ่งไปสู่อัลเลาะฮฺก็จะไร้ความหมายทันที

ท่านย่อมทราบดีแล้วว่า  อัลเลาะฮฺทรงให้เกียรติแก่มนุษย์และให้มีจุดเด่นในการให้มีภาระรับผิดชอบ (التكليف ) ดังนั้น  ถ้าหากพวกเขาพิจารณาและทราบว่า ระยะทางของอุปสรรคที่มีอยู่ในจิตใจ  ได้ถูกย่อหรือถูกลบออกไประหว่างเขากับอัลเลาะฮฺแล้ว  ก็คงไม่มีความหมายใด ๆ ต่อการให้มีภาระรับผิดชอบต่อมวลมนุษย์  เคล็ดลับที่พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาในลักษณะเช่นนี้ก็คงหมดไป  และพระองค์ย่อมทรงห่างไกลจากการสร้างมนุษย์ขึ้นมาโดยไร้ประโยชน์และไม่มีเป้าหมาย

 อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) ทรงให้เกียรติแก่มนุษย์  ทรงสร้างเขาให้มีรูปทรงที่สวยงาม  ทรงอำนวยประโยชน์แก่เขามากมายจากโลกนี้  และทรงประกาศความรักที่มีต่อเขาด้วยถ้อยคำที่สูงส่งอันนิรันดร์ ว่า

                                                            فَإِذَا سَوَّيْتُهُ وَنَفَخْتُ فِيْهِ مِنْ رُّوْحِىْ فَقَعُوْا لَهُ سَاجِدِيْنَ

" ต่อมาเมื่อข้าได้สร้างเขา(อาดัม) จนเสร็จสมบูรณ์แล้วและข้าได้เป่าวิญญาน (ที่ข้าเนรมิตขึ้นตามความประสงค์)ของข้า  เข้าไปในตัวเขา ดังนั้นพวกเจ้าทั้งหลาย  จงน้อมลงสุญูดให้เกียรติแก่เขาเถิด"  อัล-ฮุจญรฺ 29

ดังนั้น  จึงจำเป็นแก่มนุษย์  โดยยอมจำนนท์ต่อพระผู้ทรงสร้าง ด้วยความเป็นทาสบ่าว  และต้องแสดงความเป็นทาสต่อพระองค์ด้วยการชูโกร กตัญญูรู้คุณต่อเนี๊ยะมัตต่างๆ  ที่พระองค์ทรงประทานให้  และต้องอดทนต่อการกำหนดสภาวะของพระองค์เมื่อมีภัยมาประสบ

การน้อมจำนนท์ด้วยการมีลักษณะความเป็นทาสต่อพระองค์นั้น  จะไม่บรรลุผลนอกจากดว้ยความอดทนเมื่อมีภัยมาประสบและกตัญญูรู้คุณในยามสุขสบาย  ซึ่งลักษณะทั้งสองนี้จะขัดแย้งกับอารมณ์นัฟซู  และการมุ่งไปสู่อัลเลาะฮฺก็จะไม่บรรลุผลเช่นเดียวกัน  นอกจากด้วยการบำบัดขัดเกลาสิ่งที่เกี่ยวข้องและความอยากปรารถนาของนัฟซู

ดังกล่าวนี้คือระยะทางอันยาวไกลระหว่างท่านกับอัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) ซึ่งเปรียบเสมือนกลุ่มเมฆสีดำที่มาจากความมัวหมองของอารมณ์นัฟซู  และด้วยการที่ท่านตัดมันผ่านไปได้นั้น  ก็จะทำให้ปรากฏชัดถึงความเป็นทาสบ่าวของท่านที่มีต่ออัลเลาะฮฺและทำให้เกิดความอบอวนของความรักอันบริสุทธิ์ที่มีต่อพระองค์  นั่นก็คือฮิกมะฮ์ที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังพระดำรัสของอัลเลาะฮ์(ซ.บ.) ที่ว่า

                  وَلَنَبْلُوَنَّكُمْ بِشَىْءٍ مِنَ الْخَوْفِ وَالْجُوْعِ وَنَقْصٍ مِنَ الأَمْوَالِ وَالأَنْفُسِ وَالثَّمَرَاتِ وَبَشِّرِ الصَّابِرِيْنَ

" ขอยืนยัน  เราจะทดสอบพวกเจ้าอย่างแน่นอน  ด้วยบางสิ่ง  จากความหวาดกลัว  ความหิวโหย  ความขาดแคลนทรัพย์สิน  การสูญเสียชีวิตและขาดแคลนผลผลิตเพาะปลูกและเจ้าจงแจ้งข่าวดีแก่บรรดาผู้อดทนเถิด" อัล-บะกอเราะหฺ 155

 

                                                   اَلَّذِيْنَ إِذَا أَصَابَتْهُمْ مُصِيْبَةٌ قَالُوْا إِنَّا ِلله ِوَإِنَا إِلَيْهِ رَاجِعُوْنَ   

" บรรดาผู้ซึ่ง  เมื่อมีเหตุร้ายมาประสบแก่เขา  พวกเขาก็กล่าวว่า " แท้จริงเรา(คือทาส)ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลเลาะฮฺ  และเราต้องกลับคืนไปสู่พระองค์ " อัล-บะกอเราะห์ 156

                                                   أُلَئِكَ عَلَيْهِمْ صَلَوَاتٌ مِنْ رَّبِّهِمْ وَرَحْمَةٌ وَأُلَئِكَ هُمُ الْمُهْتَدُوْنَ 

" พวกเขาเหล่านั้น  ย่อมได้รับพรและเมตตาธรรมจากอ งค์อภิบาลของพวกเขาและพวกนั้นเป็นพวกที่ได้รับการชี้นำโดยแท้จริง " อัล-บะกอเราะห์ 157

ดังนั้น  เมื่อท่านได้เข้าใจและลิ้มรสสัจจะธรรมอันนี้  ท่านก็จะรู้ค่าของการตักเตือนที่ท่านได้เคยได้ยินได้อ่านคำกล่าวของบรรดาอุลามาอฺผู้มีคุณธรรมที่ทำการต่อสู้ในวิถีทางของอัลเลาะฮฺอย่างแท้จริง  เช่นถ้อยคำที่พวกเขากล่าวว่า "ท่านจงทำให้การเดินทางไปสู่อัลเลาะฮฺ ให้อยู่ภายในจิตใจของท่าน  ไม่ไช่อยู่ระหว่างบ้านเกิดของท่านกับบัยตุลฮะรอม"

ประการที่สาม  อะไรคือสเบียงที่สมควรสะสมไว้  เพื่อเป็นปัจจัยในการเดินผ่านระยะทางของอารมณ์นัฟซูโดยมุ่งไปสู่อัลเลาะฮฺ (ซ.บ.) ? คำตอบก็คือ  สเบียงในการเดินทางของเขานั้นมีมากมาย  อีกทั้งยังเป็นมิตรสหายในการเดินทางอันแสนยากลำบาก  บางครั้งก็มีอยู่พร้อมกับเขา  เพราะฉะนั้น  เขาพึงทราบเถิดว่า  สเบียงและมิตรสหายในการเดินทางของเขานั้นคือ  อิหม่านที่ได้รับการเตรียมพร้อมซึ่งซ้อนเร้นอยู่ในจิตใจของเขานั่นเอง  อัลเลาะฮฺทรงตรัสไว้ในฮะดิษ กุดซีย์ว่า

  وَإِِنِّيْ  خَلَقْتُ عِبَادِىْ حُنَفَاَءَ كُلَّهُمْ

"แท้จริงข้าได้สร้างปวงบ่าวของข้า  โดยพวกเขาโน้มเอียงสู่สัจจะธรรมทั้งหมด"

เมื่อมุมินคนหนึ่งได้ทำให้อิหม่านของเขานี้มีชีวิตชีวาด้วยการริกรุลเลาะฮฺและพึงพาต่อพระองค์ด้วยการวอนขอดุอาอฺอย่างสม่ำเสมอ แน่นอนอัลเลาะฮฺก็จะทรงทำให้อิหม่านของเขานี้เป็นตัวช่วยและเป็นเสบียงที่ดีเลิศในการเดินทางของจิตใจไปสู่อัลเลาะอฺ (ซ.บ.)

ประการที่สี่  เมื่อท่านเข้าใจคำอธิบายข้างต้นจากคำกล่าวของท่านอิบนุอะฏออิลและฮฺแล้ว  ท่านก็จะรู้ว่า  อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)  ไม่ถูกปิดกั้นด้วยสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากตัวท่านเลย  แต่ท่านพึงทราบเถิดว่า  ตัวท่านต่างหากที่ปิดกั้นตัวเองจากอัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) จึงเป็นเหตุให้ท่านถูกปิดกั้นจากพระองค์ด้วยสิ่งกั้นขวางอันแน่นหนา  ที่มาจากอุปสรรคและความขุ่นหมองของหัวใจท่านเอง  ดังนั้น  การทดสอบที่มนุษย์กำลังแบกรับอยู่ในโลกดุนยานี้  เป็นการทดสอบจากอัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)โดยใช้ให้เขาได้รับภาระผิดชอบ ด้วยการยกสิ่งกั้นขวางทางจิตใจอันแน่นหนาที่อยู่ในตัวของเขาออกไป  เพื่อเขาจะได้มีความสุขด้วยการเห็น  เพ่งจิตต่อพระองค์

ประการที่ห้า ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ถูกขีดขั้นไว้ในความรอบรู้ของอัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)ตั้งแต่เดิมนั้น  ก็คือ  พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาโดยได้รับการให้เกียตริ  และในลักษณะการดำเนินชีวิตของเขาในโลกดุนยานี้  จึงทำให้ปรากฏถึงมนุษย์  2  จำพวกด้วยกัน

พวกแรก  คือ  กลุ่มที่ตามธรรมชาติของอิหม่านที่ถูกตระเตรียมและบรรจุไว้ในตัวของเขา  และเขาก็สามารถพิชิตเหนือบรรดาโรคและความขุ่นมัวทางจิตใจได้

พวกที่สอง  คือ  กลุ่มที่คล้อยตามอารมณ์นัฟซูโดยแสร้งทำเป็นไม่รู้ถึงการมีอิหม่านที่ถูกตระเตรียมไว้แล้วสำหรับเขา

ดังนั้น  จากสองกลุ่มนี้  อัลเลาะฮฺได้ทรงตรัสยืนยันเอาไว้ว่า

  فَرِيْقٌ فِيْ الْجَنَّةِ  وَفَرِيْقٌ  فِى  السَّعِيْرِ   

"มีบางกลุ่มที่อยู่ในสรวงสวรรค์และอีกบางกลุ่มที่อยู่ในนรก" อัชชูรอ 7

และพระองค์ทรงตรัสจากกลุ่มแรกอีกว่า

وَأُزْلِفَتِ الْجَنَّةُ لِلْمُتَّقِيْنَ غَيْرَ بَعِيْدٍ * هَذَا مَا تُوْعَدُوْنَ لِكُلِّ أَوَََّابٍ حَفِيْظٍ

"และสวรรค์นั้นได้ถูกนำเสนอแก่บรรดาผู้ยำเกรงอัลเลาะฮฺโดยใกล้ชิดมิได้ห่างไกลเลย  นี้เป็นสิ่งที่ท่านทั้งหลายถูกสัญญาไว้สำหรับผู้ที่กลับคืน(สู่พระองค์) อีกทั้งพิทักษ์(ไว้ซึ่งบทบัญญัติของพระองค์)ทุกๆคน" ก๊อบฺ 31-32

และพระองค์ทรงตรัสจากกลุ่มที่สองอีกเช่นกันว่า

 وَلَكِنْ حَقَّ الْقَوْلُ مِنِّيْ لأمْلأنَّ جَهَنَّمَ مِنَ الْجِنَّةِ وَالنَّاسِ أَجْمَعِيْن

" และแต่ทว่า  ประกาศิตจากข้าย่อมเป็นจริงเสมอ  ขอยืนยัน  ข้าจักบรรจุไว้จนเต็มนรกทั้งญินและมนุษย์ทั้งสิ้น" อัส-สะญะดะฮฺ 13   

จึงไม่เป็นที่สงสัยว่า  อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) ทรงรู้ตั้งแต่เดิมแล้วกับสิ่งที่บ่าวคนหนึ่งจะเลือกปฏิบัติให้กับตัวเขาเองนั้น  จะมาจากสองหนทางนี้  ดังนั้น  พระองค์ทรงรู้ดีถึงกลุ่มชนที่เตรียมพร้อมกับตัวเองสำหรับสวรรค์  และทรงรู้ดีถึงกลุ่มชนที่ตระเตรียมตัวเองสู่นรก  แต่แบบแผนของอัลเลาะฮฺที่มีต่อปวงบ่าวนั้น  ได้กำหนดว่า  พระองค์จะไม่ทำการตัดสินพวกเขาในวันโลกหน้าโดยยึดจากความรู้ของพระองค์ที่มีมาแต่เดิม  แต่พระองค์จะทำการตัดสินพวกเขาโดยขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นตามสภาพของพวกเขาเอง  ไม่ว่าจะเป็นในด้านหลักการศรัทธาหรือหลักการปฏิบัติ  เพื่อจะให้ดังกล่าวนั้น  เป็นสิ่งที่มายืนยันต่อพวกเขาเอง

ฉะนั้น  เมื่อเรื่องราวได้ดำเนินไปตามนั้น  อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)ก็จะผลักดันพวกเขาทั้งหมดให้ไปอยู่ในสนามแห่งการทดสอบ  เพื่อจะแยกแยะระหว่างคนดีและคนเลว  และหากไม่มีความจำเป็นจากการเดินทางในสนามแห่งการทดสอบนี้แล้ว  ก็จะไม่สามารถแยกแยะกลุ่มหนึ่งออกจากกลุ่มหนึ่งได้  และจากฮิกมะฮ์อันมีเกียรตินี้  อัลเลาะฮฺทรงตรัสไว้มีความว่า

 مَا كَانَ اللهُ لِيَذَرَ الْمُؤْمِنِيْنَ عَلىَ مَا أَنْتُمْ عَلَيْهِ حَتَّى يَمِيْزَ الْخَبِيْثَ مِنَ الطَّيَّبِ وَمَاكَانَ الله ُلِيُطْلِعَكُمْ عَلىَ الْغَيْبِ

" หาใช่ว่าอัลเลาะฮฺจะทรงทอดทิ้งบรรดาผู้มีศรัทธาให้ประสบกับภาวะที่พวกเจ้ากำลังประสบอยู่  จนกว่าพระองค์จะแยกสิ่งโสโครก(คนเลว)ออกจากสิ่งที่ดี(คนมีอิหม่าน) และพระองค์จะไม่ให้พวกเจ้ารู้สิ่งที่เร้นลับ(คือสิ่งที่มีอยู่ในหัวใจของบรรดาบ่าวของพระองค์ว่า มีศรัทธาหรือไม่ )" อาละอิมรอน  179     

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
จึงไม่เป็นที่สงสัยว่า  อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) ทรงรู้ตั้งแต่เดิมแล้วกับสิ่งที่บ่าวคนหนึ่งจะเลือกปฏิบัติให้กับตัวเขาเองนั้น  จะมาจากสองหนทางนี้  ดังนั้น  พระองค์ทรงรู้ดีถึงกลุ่มชนที่เตรียมพร้อมกับตัวเองสำหรับสวรรค์  และทรงรู้ดีถึงกลุ่มชนที่ตระเตรียมตัวเองสู่นรก  แต่แบบแผนของอัลเลาะฮฺที่มีต่อปวงบ่าวนั้น  ได้กำหนดว่า  พระองค์จะไม่ทำการตัดสินพวกเขาในวันโลกหน้าโดยยึดจากความรู้ของพระองค์ที่มีมาแต่เดิม  แต่พระองค์จะทำการตัดสินพวกเขาโดยขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นตามสภาพของพวกเขาเอง  ไม่ว่าจะเป็นในด้านหลักการศรัทธาหรือหลักการปฏิบัติ  เพื่อจะให้ดังกล่าวนั้น  เป็นสิ่งที่มายืนยันต่อพวกเขาเอง

ฉะนั้น  เมื่อเรื่องราวได้ดำเนินไปตามนั้น  อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)ก็จะผลักดันพวกเขาทั้งหมดให้ไปอยู่ในสนามแห่งการทดสอบ  เพื่อจะแยกแยะระหว่างคนดีและคนเลว  และหากไม่มีความจำเป็นจากการเดินทางในสนามแห่งการทดสอบนี้แล้ว  ก็จะไม่สามารถแยกแยะกลุ่มหนึ่งออกจากกลุ่มหนึ่งได้ 

นี่คือหลักตะเซาวุฟในเชิงเตาฮีดครับ  มันเป็นความยุติธรรมของอัลเลาะฮ์โดยแท้  คือพระองค์ทรงรู้มาตั้งแต่เดิมแล้วว่าใครคือชาวนรกและชาวสวรรค์  แต่พระองค์ทรงให้เขามีสติปัญญาเพื่อการเรียนรู้   และพระองค์ก็ผลักให้เราลงสนามแห่งการทดสอบในโลกดุนยา  โดยทำการเลือกปฏิบัติสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงวางบทบัญญัติมาให้   เพื่อจะสามารถแยกแยะได้ระหว่างคนดีและคนเลว   ดังนั้นใครทำดีก็ได้ผลตอบแทนที่ดีและใครทำเลวเขาก็จะได้รับผลตอบแทนที่แสนทรมาร (วัลอิยาซุบิลลาฮ์)   

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อัสลามุอะไลก้ม....ผมเคยเจอเพื่อนที่เน้นตะเซาวุฟคนหนึ่งซึ่งผมประทับใจในการปฏิบัติตนของเขามาก...ครั้งหนึ่งผมเคยถามเขาว่า...อัลเลาะห์อยู่ใหน....เขาตอบว่า....อัลเลาะห์มีอยู่ในทุกลมหายใจเข้าออก....ผมนั่งนิ่งเลยครับ....ไม่นึกว่าเขาจะตอบอย่างนั้น.....คือหมายถึงเขาทำการซิกรุลลอฮ์อย่างสม่ำเสมอทุกลมหายใจเข้าออก....แล้วเข้าจะไม่ถึงอัลเลาะฮ์ได้อย่างไร....วัสลาม

ออฟไลน์ M. Rodee

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 108
  • Oh ! My Lord...........
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
 

 นี่ไง ญิฮาด อักบัร สงครามการต่อสู้กับอารมใฝ่ต่ำของตัวเอง และส่วนมากของมนุษย์จะแพ้ในสงครามนี้ งัยก็แข่งขันในเรื่องความดีกันเยอะๆ คับ
'การสรรเสริญนั้นเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ ผู้ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และได้ทรงให้มีความมืดและแสงสว่าง แต่แล้วบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้น
ก็ยังให้มีสิ่งอื่นเท่าเทียมกับพระผู้อภิบาลของพวกเขา'
                                                                       (  อัล อันอาม  1 )

  !..... หัวใจที่รำลึก.....!
 1000 - (1) = 999

ออฟไลน์ nada-yoru

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4010
  • เพศ: หญิง
  • แสงและเงา
  • Respect: +134
    • ดูรายละเอียด
จึงไม่เป็นที่สงสัยว่า  อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.) ทรงรู้ตั้งแต่เดิมแล้วกับสิ่งที่บ่าวคนหนึ่งจะเลือกปฏิบัติให้กับตัวเขาเองนั้น  จะมาจากสองหนทางนี้  ดังนั้น  พระองค์ทรงรู้ดีถึงกลุ่มชนที่เตรียมพร้อมกับตัวเองสำหรับสวรรค์  และทรงรู้ดีถึงกลุ่มชนที่ตระเตรียมตัวเองสู่นรก  แต่แบบแผนของอัลเลาะฮฺที่มีต่อปวงบ่าวนั้น  ได้กำหนดว่า  พระองค์จะไม่ทำการตัดสินพวกเขาในวันโลกหน้าโดยยึดจากความรู้ของพระองค์ที่มีมาแต่เดิม  แต่พระองค์จะทำการตัดสินพวกเขาโดยขึ้นอยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้นตามสภาพของพวกเขาเอง  ไม่ว่าจะเป็นในด้านหลักการศรัทธาหรือหลักการปฏิบัติ  เพื่อจะให้ดังกล่าวนั้น  เป็นสิ่งที่มายืนยันต่อพวกเขาเอง

ฉะนั้น  เมื่อเรื่องราวได้ดำเนินไปตามนั้น  อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)ก็จะผลักดันพวกเขาทั้งหมดให้ไปอยู่ในสนามแห่งการทดสอบ  เพื่อจะแยกแยะระหว่างคนดีและคนเลว  และหากไม่มีความจำเป็นจากการเดินทางในสนามแห่งการทดสอบนี้แล้ว  ก็จะไม่สามารถแยกแยะกลุ่มหนึ่งออกจากกลุ่มหนึ่งได้ 

นี่คือหลักตะเซาวุฟในเชิงเตาฮีดครับ  มันเป็นความยุติธรรมของอัลเลาะฮ์โดยแท้  คือพระองค์ทรงรู้มาตั้งแต่เดิมแล้วว่าใครคือชาวนรกและชาวสวรรค์  แต่พระองค์ทรงให้เขามีสติปัญญาเพื่อการเรียนรู้   และพระองค์ก็ผลักให้เราลงสนามแห่งการทดสอบในโลกดุนยา  โดยทำการเลือกปฏิบัติสิ่งที่อัลเลาะฮ์ทรงวางบทบัญญัติมาให้   เพื่อจะสามารถแยกแยะได้ระหว่างคนดีและคนเลว   ดังนั้นใครทำดีก็ได้ผลตอบแทนที่ดีและใครทำเลวเขาก็จะได้รับผลตอบแทนที่แสนทรมาร (วัลอิยาซุบิลลาฮ์)   

เคยพูดประโยคทำนองนี้กับใครบางคน...แต่กลับถูกตอกกลับมาว่าเรานั้นไม่รู้จริง...
เรานั้นมั่ว...และอีกหลายๆประโยค...
สุดท้ายจากที่พยายามอธิบายก็กลายกลับเป็นการโต้เถียงกันแทน
...อารมณ์ก็เข้ามามีบทบาทเหนือสติและเหตุผล...
ตอนนั้นพอรู้ตัวก็เลยหยุด...เพราะถ้าเถียงเพื่อจะเอาชนะกันก็คงเหนื่อยเปล่า

แต่ก็ยังแน่ใจในหลักการศรัทธาที่ว่า...อัลลอฮฺนั้นทรงรู้มาแต่เดิมแล้วว่า
มนุษย์คนใดคือชาวนรก คนใดคือชาวสวรรค์
ซึ่งพระองค์จะไม่ยึดเอาความรู้ที่มีมาแต่เดิมของพระองค์มาตัดสินในวันพิพากษา...
เพราะพระองค์คงไว้ซึ่งความยุติธรรม...อีกทั้งความสุขความทุกข์ในหลุมฝังศพ
ก็เป็นเรื่องจริงดังหลักฐาน...ดังนั้น หากต้องรอให้ถึงวันพิพากษาจึงจะรู้ว่าใครดีใครชั่ว
แล้วเรื่องความสุขความทุกข์ในหลุมฝังศพจะเกิดขึ้นได้อย่างไร...
คนชั่วจะถูกทรมานในหลุมฝังศพ ส่วนคนดีมีอีหม่านจะได้รับความสุขในหลุมฝังศพ
เหตุการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไรหากมิใช่เพราะอัลลอฮฺทรงรู้ว่าใครดีใครชั่ว
ใครศรัทธาใครปฏิเสธศรัทธาก่อนจะมีการตัดสินพิพากษาในฟื้นคืนชีพอีกครั้ง...

ซึ่งนี่คือความหยั่งรู้ของอัลลอฮฺ ที่มนุษย์อย่างเรามิอาจนำไปเทียบเคียงได้...
เป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะอันสูงส่งที่มนุษย์อย่างเราไม่มี...

"และข้ามิได้สร้างญิน และมนุษย์เพื่ออื่นใด เว้นแต่เพื่อเคารพภักดีต่อข้า"

(ซูเราะฮฺ อัซซาริยาต อายะอฺที่ 56)

 

GoogleTagged