พัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่มีทิศทางและดำเนินไปอยู่ตลอดเวลา
เป็นกระบวนการที่มีรูปแบบหรือลักษณะที่แน่นอนจากวัยหนึ่งสู่อีกวัยหนึ่ง พัฒนาการมนุษย์
จึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษย์จากวัยหนึ่งสู่อีกวัยหนึ่ง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีทิศทาง
และมีรูปแบบหรือลักษณะที่แน่นอน ผู้ที่ศึกษาเรื่องมนุษย์ลงข้อสรุปว่า
พัฒนาการของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของปัจจัยสำคัญ 2 อย่าง
ได้แก่ กรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม
1 พันธุกรรม การที่มนุษย์มีลักษณะเหมือนกันก็เพราะตัวควบคุมที่เรียกว่าพันธุกรรม ซึ่งแปลว่า
สิ่งถ่ายทอดลักษณะ มนุษย์ตกอยู่ในอิทธิพลของพันธุกรรม 2 ประการ
1.) การถ่ายทอดลักษณะของมนุษย์ ซึ่งเกิดจากการควบคุมของ DNA ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโครโมโซม
มนุษย์มีโครโมโซม 46 โครโมโซม จับกันอยู่เป็นคู่จึงมีจำนวน 23 คู่
ผลของการควบคุมโดยโครโมโซมเหล่านี้ทำให้มนุษย์มีลักษณะโดยทั่วไป และมีกระสวนพัฒนาการที่เหมือนกัน
การจับคู่ที่ต่างกันของโครโมโซมคู่ที่ 23 ทำให้เพศของมนุษย์ต่างกัน
2.)การถ่ายทอดลักษณะของพ่อแม่และบรรพบุรุษถึงลูกหลานทำให้ลักษณะที่เป็น
รายละเอียดของมนุษย์แตกต่างกัน เช่น สีผิว สีตา รูปร่าง และโรคทางพันธุกรรม
เช่น เบาหวาน เป็นต้นเทคโนโลยีทางพันธุศาสตร์กับมนุษย์
โคลนนิ่ง หรือ การปลูกถ่ายทางพันธุกรรม (Cloning)
2 สิ่งแวดล้อม
เป็นปัจจัยที่สามารถจัด เปลี่ยนแปลงและปรับปรุงให้อยู่ในสภาพที่เอื้อต่อพัฒนาการ
และการพัฒนามนุษย์ได้มากที่สุด สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการมนุษย์
แบ่งเป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และสิ่งแวดล้อมทางสังคม
1.) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ หมายรวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในธรรมชาติ
หรือสิ่งที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น ตึกรามบ้านช่อง ถนนหนทาง
เกษตรกรรม และ อุตสาหกรรม ฯลฯ
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค ได้รับการพัฒนาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ทำให้ตลาดมีสินค้าและบริการให้เลือกมากมาย ความรู้และเหตุผลในการเลือกบริโภค
ย่อมจะช่วยให้มนุษย์มีพัฒนาการที่เหมาะแก่วัย มีชีวิตที่มีคุณภาพ ในสภาวะที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
แต่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่คู่ลูกหลานของเผ่าพันธุ์มนุษย์ต่อไป
2.) สิ่งแวดล้อมทางสังคม กลุ่มคนที่อยู่แวดล้อมมนุษย์เป็นผู้มีอิทธิพลเพราะเขาเป็น
ผู้จัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมให้แก่กันและกัน โดยเฉพาะผู้ใหญ่มีอิทธิพลต่อเด็ก
ด้วยการเลี้ยงดูและอบรม สืบสานต่อความเชื่อ และวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต
สิ่งแวดล้อมทางสังคม แบ่งเป็น 3 เรื่อง ได้แก่ กลุ่มคน วัฒนธรรม และเทคโนโลยีกับศาสตร์ต่าง ๆ
- กลุ่มคน มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย รูปแบบของการอบรมเลี้ยงดู
สัมพันธภาพและการจัดสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งแวดล้อมที่หล่อหลอมคนให้มีสุขภาพกายและจิต บุคลิกภาพ
ตลอดจนการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะเป็นไปในทางดีหรือทางร้ายก็ได้
กลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการมนุษย์ ได้แก่ ครอบครัว
ซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีบทบาทและหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติต่อกัน เช่น พ่อ แม่ ลูก พี่ น้อง หลาน ตา ยาย สามี ภรรยา เป็นต้น
สถาบันการศึกษาซึ่งประกอบด้วย ครู เพื่อน ผู้บริหารการศึกษา สถานศึกษาระดับต่าง ๆ หลักสูตร และการสอน
ชื่อเสียงของสถาบันการศึกษาเหล่านั้น และสถาบันของสังคมโดยส่วนรวม ซึ่งมีอิทธิพลต่อบุคคลทั้งทางตรงและทางอ้อม
เช่น นโยบายของรัฐบาลในการบริหารประเทศย่อมมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนการผลิต
การกระจายเครื่องอุปโภคบริโภค ความรู้และเทคโนโลยีทั้งหลายที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์
- วัฒนธรรมและจารีตประเพณี ซึ่งเป็นวิถีทางดำเนินชีวิตของกลุ่มคนซึ่งถือว่าดีงาม
เหมาะสมที่จะยึดเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป วัฒนธรรมจึงเกิดจากความเชื่อและค่านิยมในเรื่องที่เลือกปฏิบัติเหล่านั้น
เช่น วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การประพฤติปฏิบัติตนของวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ เป็นต้น
ความรู้สึกในค่าของเด็กและเจตคติของสังคมต่อการเป็นพ่อแม่มีผลอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติตนของแม่และพ่อ
ตั้งแต่ตั้งครรภ์จนกระทั่งเด็กเกิดและเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาว การอบรมให้เป็นคนดีมีคุณธรรม
การให้การศึกษา การสอนให้รักษาระเบียบวินัยของสังคม การปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ และเหมาะสมกับเพศ เป็นต้น
- เทคโนโลยีและศาสตร์ต่าง ๆ มีอิทธิพลต่อการอบรมเลี้ยงดูเด็กและการดำเนินชีวิตมาก
เช่น ทฤษฎีเกี่ยวกับการเลี้ยงและอบรมเด็ก เครื่องมือเครื่องใช้ และวิธีการที่พัฒนาการทุกด้านสมบูรณ์ขึ้น
ทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรง และอายุยืนยาว
ref:
http://wattanaharaji.exteen.com/20100926/entry สรุปคือ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการมนุษย์ ไม่ได้อยู่ที่พันธุกกรรมอย่างเดียวแต่มันขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมด้วย
นั่นก็รวมไปถึงการเลี้ยงดู(อันนี้หล่ะ..สำคัญที่สุด)