بسم الله الرحمن الرحيم
بسم الله الفتاح العليم الرزاق
الحمدلله و كفى اللهم صلّ وسلّم على سيدنا محمد عبدك ونبيك ورسولك الأمي وعلى آله وصحبه و بارك وسلّم...أما بعد
ท่านอีหม่ามนาวาวีย์ได้กล่าวไว้ในมินฮาจอัฏฏอลีบีน…
وَفِي الْمَسْجِدِ لِغَيْرِ الْمَرْأَةِ أَفْضَل ُوَمَا كَثُرَ جَمْعُهُ أَفْضَلُ
"และ ณ มัสยิดอื่นจากสตรีนั้นดีเลิศ และการร่วมญามาอะห์ที่มากมายย่อมประเสริฐ"
เชค ชัมซุดดีน มุฮัมหมัด บิน มุฮัมหมัด อัลคอฏีบ อัชชิรบีนีย์ ได้อธิบายคำพูดที่ว่า (และ ณ มัสยิดอื่นจากสตรีนั้นดีเลิศ )
การละหมาดญามาอะห์ ณ มัสยิดอื่นจากผู้ที่ไม่ใช่สตรีบุตร และเฉกเช่นผู้ที่เหมือนกับนางคือกระเทยนั้น การละหมาดของพวกนางนั้นดีเลิศกว่าการละหมาด ณ สถานที่อื่นที่ไม่ใช่มัสยิด เช่น บ้าน การละหมาดในบ้านของพวกนางนั้นย่อมประเสิรฐกว่าการไป ละหมาด ณ ที่มัสยิด เพราะได้มีรายงานในหนังสือซอเฮี้ยะห์ทั้งสองว่า
صَلُّوا أَيُّهَا النَّاسُ فِي بُيُوتِكُمْ فَإِنَّ أَفْضَلَ الصَّلَاةِ صَلَاةُ الْمَرْءِ فِي بَيْتِهِ إلَّا الْمَكْتُوبَةَ
โอ้มนุษย์เอ๋ย สูเจ้าจงละหมาดในบ้านของพวกสูเจ้า
และแท้จริงแล้วละหมาดที่ประเสิรฐที่สุดคือการละหมาดของผู้ชายในบ้านของเขา ที่ไม่ใช่ละละหมาดฟัรฏูห้าเวลา (ละหมาดสุนัต) หมายถึง การละหมาดที่มัสยิดนั้นประเสริฐกว่า เพราะว่ามัสยิดนั้นครอบคลุมไปด้วยความประเสริฐความสะอาดและแสดงถึงสัญญาลักษณ์ของอิสลามและมีจำนวนมากมายของผู้คนในการร่วมละหมาดญามาอะห์ และท่านรอซู้ลท่านก็ได้กล่าวไว้ในอีกฮะดิษหนึ่งว่า
لَا تَمْنَعُوا نِسَاءَكُمْ الْمَسَاجِدَ، وَبُيُوتُهُنَّ خَيْرٌ لَهُنَّ
สูเจ้าอย่าได้ห้ามสตรีของพวกสูเจ้าในการไปยังมัสยิด ส่วนการละหมาดของพวกนางในบ้านเป็นสิ่งที่ดีสำหรับพวกนาง (หากได้รับการอนุญาตจาก สามี นาย หรือ ผู้ปกครอง) และเป็นที่น่ารังเกียจเช่นกันสำหรับผู้มีโฉมงดงามไปร่วมละหมาดกับบรรดาผู้ชาย
และท่านก็อธิบายในประโยคต่อมาคือ และการร่วมญามาอะห์ที่มีผู้คนจำนวนมากมายจากบรรดามัสยิดทั้งหลายย่อมเป็นสิ่งประเสริฐ เสมือนท่านมะวัรดีย์กล่าวว่า การละหมาดที่มัสยิดที่มีการญามาอะห์อย่างมากมายนั้นย่อมประเสริฐกว่ามัสยิดที่มีการญามาอะห์น้อย และเช่นเดียวกัน บ้านที่มีการร่วมญามาอะห์กันมากย่อมประเสริฐกว่าบ้านที่มีการร่วมญามาอะห์น้อย ส่วนคำพูดของท่านมะวัรดีย์นั้น การละหมาดที่มัสยิดที่มีการร่วมญามาอะห์จำนวนน้อยนั้นย่อมดีกว่าการละหมาดญามาอะห์ที่มีจำวนมาก ณ ที่บ้าน เขาได้กล่าวไว้เช่นนั้น
และได้คัดค้านโต้แย้งคำพูดนี้โดยท่าน อัซรออีย์ ด้วย กฎทางฟิกฮ์อันเป็นที่รู้จัก คือ
“แท้จริงการรักษาความประเสริฐที่เกียวข้องกับเรื่องปฏิบัติการภักดีเรื่องอิบาดะห์นั้นย่อมมาก่อนความประเสริฐของสถานที่” และเดิมทีของการญามาอะห์ได้แก่สองสถานที่ และมันได้ถูกเลือกคือมัสยิด ส่วนกฎทางฟิกฮ์ดังกล่าวนั้นมันยังไม่ได้รวมไปถึงเรื่องอื่นๆ เช่น การละหมาดที่บ้านเป็นญามาอะห์ หรือ การละหมาดที่มัสยิดคนเดียว. หรือ เราได้ไปยังมัสยิดและทื้งคนที่ครอบครัวของเราพวกเขาก็ทำละหมาดคนเดียวหรือว่าพวกเขาเพิกเฉยในเรื่องการละหมาด หรือ ถ้าหากทำการละหมาดของเขาที่บ้านเขาจะทำเป็นญามาอะห์ และเมื่อใดเขาไปมัสยิดเขากลับละหมาดคนเดียว การละหมาดที่บ้านของเขานั้นย่อมประเสริฐกว่า และส่วนการละหมาดในมัสยิดทั้งสาม (อัลฮะรอม อัลนะบาวีย์ อัลอักซอ) ถึงแม้มีน้อยซึ่งจำนวนผู้คนในการร่วมญามาอะห์มันย่อมประเสริฐกว่ามัสยิดอื่นที่มีจำนวนผู้คนมากกว่า ถ้าหากว่ามันมากล่ะ ? (คงไม่ต้องพูดถึง ผู้พิมพ์) ยิ่งไปกว่านั้นท่านมุตะวัลลีย์กล่าวว่า การละหมาดคนเดียวในมัสยิดทั้งสามดีกว่าการละหมาดญามาอะห์ในมัสยิดอื่นๆ
อ้างจาก มุฆนีย์อัลมัวห์ตาจญ์ เล่ม 1 หน้า 524-525 ดารุลฮะดิษ
*ดูเหมือนว่าจะไม่ชัดรอผู้รู้ล่ะกันน่ะครับ ผิดถูกมาอัฟด้วยน่ะครับ คำตอบเหมือนกับว่าบางทีก็สำคัญในบางสถานที่ ^^سُبْحَانَكَ لاَعِلْمَ لَنَا إِلاَّ مَاعَلَّمْتَنَا إِنَّكَ أَنتَ الْعَلِيمُ الْحَكِيمُ
سُبْحَانَكَ اللَّهُمَّ وَبِحَمْدِكَ ، أَشْهَدُ أَنْ لا إِلهَ إِلَّا أَنْتَ أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتْوبُ إِلَيْكَ