ผู้เขียน หัวข้อ: อธิบายไวยากรณ์อาหรับ(นะฮู)ในเชิงตะเซาวุฟ  (อ่าน 5353 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด

อัสลามุอะไลกุ้ม....ผมเป็นคนหนึ่งที่ชอบตะเซาวุฟครับ....ได้ยินว่านักตะเซาวุฟนั้นจะมองทุกๆสิ่งเป็นตะเซาวุฟโดยกลับไปหาอัลเลาะฮ์....ผมได้ยินว่าแม้กระทั้งวิชานะฮู ไวยากรณ์อาหรับเอง...นักปราชญ์ตะเซาวุฟยังสามารถอธิบายในเชิงตะเซาวุฟได้เลย....ดังนั้นบังอัซฮะรีย์พอจะมีความรู้เกี่ยวกับในเชิงนี้นำมาเสนอกับเราได้ไหมครับ...อยากรู้จริงๆว่ามันเป็นอย่างไร...คือสนใจนะครับ....ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
0
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

น้อง kowee หนังสือ นะฮูไวยากรณ์อาหรับที่อธิบายเชิงตะเซาวุฟนั้น  บังมีหนังสืออยู่หนึ่งเล่มครับ  แต่ตอนนี้หายาก  เคยเดินหาตามร้านหนังสือเห็นแบบมองผ่านๆ หากจำไม่ผิดคือหนังสือ  نحو القلوب  "ไวยากรณ์หัวใจ"  ของท่านอิมามอัลกุชัยรีย์   ซึ่งได้อธิบายหนังสือนะฮู(ไวยากรณ์)ในเชิงตะเซาวุฟ   น้องลองไปเดินหาแถวร้านหนังสือ  جوامع الكلم  ที่ดัรรอซะฮ์   อินชาอัลเลาะฮ์  น้องคงจะได้ซื้อหนังสือเล่มนั้นได้ 

แต่ตอนนี้บังมีหนังสือ  อธิบายมะตันอัลอะยูรูมียะฮ์  ของท่าน  อิมามอิบนุอะญีบะฮ์ อัลหะสะนีย์  (ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ)   ซึ่งหากจะให้นำเสนอก็คงนำเสนอสรุปแบบให้เข้าใจง่ายนั้นได้  อินชาอัลเลาะฮ์  แต่ทว่าหากจะนำเสนอทั้งหมดนั้น  คงไม่ได้เพราะมันเยอะและยากพอควร  เพราะไวยากรณ์อาหรับนั้นคนทั่วไปก็ไม่ค่อยจะชอบศึกษากันเสียแล้ว  ยิ่งมีตะเซาวุฟร่วมอยู่ด้วย  ยิ่งแล้วใหญ่  ^^

والسلام
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
0
มีกระทู้ตะเซาวุฟให้น่าสนใจแล้วครับ  ชอบคำว่า  "ไวยากรณ์หัวใจ"   น่ะครับ   ซึ่งหมายความว่าหัวใจของคนเราเนี่ยต้องมีหลักไวยากรณ์  หากหัวใจไม่มีไวยากรณ์แล้วไซ้ร  ความเพี้ยนของหัวใจก็จะเข้ามาครอบงำเหมือนกับภาษาพูดที่ไร้หลักไวยากรณ์   :D

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
0
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

ตัวบทมะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ متن الأجرومية นั้น สามารถแปลได้ตามหลักนะฮู , ตามหลักภาษา , และอธิบายได้ตามหลักตะเซาวุฟ อันนี้แล้วแต่รสนิยมของผู้พิเคราะห์นะครับ อย่างเช่นคำว่า

وأما الألف فتكون علامة للرفع

หากเราแปลตามหลักไวยากรณ์ คือ

"สำหรับอะลีฟนั้น มันเป็นเครื่องของการร่อฟั๊วะ"

หากแปลเชิงภาษา คือ

"สำหรับความสามัคคี ย่อมเป็นเครื่องหมายของความสูงส่ง"

หากแปลพิเคราะห์ในเชิงตะเซาวุฟ เราจะสังเกตุได้ว่า คำว่า อะลัฟ มีค่าเท่ากับเลข 1 ตามการนับของภาษาอาหรับ ซึ่งคำว่าหนึ่งนี้คือ อัลเลาะฮ์องค์เดียวนั่นเอง เราก็สามารถให้ความหมายได้ว่า

"สำหรับความเป็นหนึ่งนั้น เป็นเครื่องหมายของความสูงส่ง"

หมายความว่า อัลเลาะฮ์ตาอาลาเป็นผู้ทรงสิทธิ์ปกครองสากลโลกทั้งมวลแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น ซึ่งชี้ให้เห็นว่าผู้ที่มีคุณลักษณะแห่งความเอกะนี้ ย่อมมีความสมบูรณ์พร้อมอีกทั้งสูงส่งยิ่ง

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ JuyA

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 107
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
aslamualaikum

    น่าสนใจมากๆเลยน่ะคับ

       ยังไงก้อขอเปงกำลังใจ  โต๊ะครู ทั้งหลายด้วย  (ล่วงหน้า)  ที่ร่วมให้ข้อมูล

                ผมคนนึงล่ะที่จะพยายามศึกษาไวยากรณ์อาหรับ คับ
อีหม่านที่ซอเเฮะห์  อามาลที่ซอและห์

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
0
aslamualaikum

    น่าสนใจมากๆเลยน่ะคับ

       ยังไงก้อขอเปงกำลังใจ  โต๊ะครู ทั้งหลายด้วย  (ล่วงหน้า)  ที่ร่วมให้ข้อมูล

                ผมคนนึงล่ะที่จะพยายามศึกษาไวยากรณ์อาหรับ คับ

คุณ JuYa  สัยกระทู้นี้เขาเน้นตะเซาวุฟน่ะครับไม่ใช่นะฮู  แต่ถ้าหากมีการนำเสนอกันจริงๆก็คงนำเสนอไปพร้อมๆกันนั่นแหละเนอะ  นำเสนอเชิงตะเซาวุฟด้วย  และนำเสนอในเชิงนะฮูในกระดานนะฮูซ่อร๊อฟด้วยมั้งครับ   :D
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 23, 2007, 11:59 PM โดย al-azhary »

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
0
بسم الله الرحمن الرحيم


الكلامُ : هو اللفظُ المُرَكَّبُ المُفيدُ بالوَضع

"คำพูดคือถ้วยคำที่ถูกประกอบขึ้น อีกทั้งยังให้ประโยชน์ ด้วยการวางขึ้นมา(ตามหลักการ)"

อธิบาย

คำพูดตามทัศนะของผู้มีความชาญฉลาดนั้น  คือคำพูดที่ถูกประกอบขึ้น จากถ้อยคำที่พูดออกมาและจากสภาวะจิตใจ  หมายถึงผู้พูดต้องมาจากผู้ที่มีสภาวะจิตใจที่พัฒนาและได้รับการยกระดับ  คำพูดของเขาจะหวนรำลึกถึงอัลเลาะฮ์  อีกทั้งมีประโยชน์ให้กับบรรดาผู้ฟังทั้งหลาย  ดังนั้นคำพูดจะมีประโยชน์อย่างเพียงพอแล้ว  ด้วยการวางมันให้อยู่ในบรรดาหัวใจที่มีการตื่นตัวและหวนคิดถึงคำนึงถึงอัลเลาะฮ์เสมอและสามารถนำมาเป็นตัวที่ทำให้มีความเกรงกลัวและหักห้ามจากการฝ่าฝืน

หรือท่านสามารถที่จะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า  คำพูดอันมีผลประโยชน์ที่ได้หวนกลับไปสู่ตัวผู้พูดเองนั้น  คือถ้อยคำพูดที่ถูกประกอบขึ้นจาก หัวใจและลิ้น ที่มีประโยชน์ด้วยการวางมันให้อยู่ในหัวใจ  เพื่อให้เป็นรัศมีนำทาง  ยกระดับ  และคิดคำนึงถึงอัลเลาะฮ์  ซึ่งคำพูดดังกล่าวนั้น  ก็เป็น  การซิกรุลลอฮ์ด้วยลิ้นและหัวใจอย่างแท้จริงนั่นอง

และอีกทัศนะหนึ่งตามทัศนะของนักปราชญ์ผู้ชาญฉลาด  กล่าวว่า  คำพูดนั้น คือถ้อยคำที่ถูกประกอบขึ้นจากคำพูดและการปฏิบัติ  ดังนั้นเมื่อคำพูดที่ปราศจากการปฏิบัติ  ย่อมไม่มีประโยชน์ใด ๆ กับจิตใจ  เนื่องจากสภาวะจิตใจได้กล่าวหาโกหกกับคำพูดนั้นเสียแล้ว  เพราะผู้พูดที่ทำหน้าที่ตักเตือนนั้น  เมื่อเขาได้ปฏิบัติก่อนเป็นอันดับแรก หลังจากนั้น เขาก็ทำการพูดและตักเตือน  แน่นอนว่า  คำพูดของเขาก็จะมีประโยชน์  สภาวะจิตใจของเขาก็จะพัฒนายิ่งขึ้นไป 

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 30, 2007, 02:06 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ JuyA

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 107
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
อัสลามูอาลัยกุม

    งั้น กระผมจะรอ save ลงเครื่องน่ะขอรับ เด็จพี่  ;D ;D ;D

                  ญาชากัลลอฮุ
อีหม่านที่ซอเเฮะห์  อามาลที่ซอและห์

ออฟไลน์ colidlayla

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 111
  • Respect: -1
    • ดูรายละเอียด
0
อัสลามมูอาลัยกุม
ขอเข้ามาเพิ่มพูนความรู้ด้วยคน

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
0
อัสลามมูอาลัยกุม
ขอเข้ามาเพิ่มพูนความรู้ด้วยคน

ยินดีครับพี่ชาย  ;D
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
0
อัสลามูอาลัยกุม

    งั้น กระผมจะรอ save ลงเครื่องน่ะขอรับ เด็จพี่  ;D ;D ;D

                  ญาชากัลลอฮุ

เซฟได้เลยครับน้อง   ;D  คืออ่านนะฮูแล้วมึน ๆ นั้น  หากมาอ่านนะฮูเชิงตะเซาวุฟบ้าง  ก็ทำให้ใจผ่อนคลายดีเหมือนกันนะครับ  นี่แหละเขาเรียกว่า "ไวยากรณ์หัวใจ"   ;D  ขอให้อัลเลาะฮ์ให้มันประโยชน์ต่อตัวเราและพี่น้องทุก ๆ คนในที่นี้ด้วยเถิด  ยาร๊อบ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ almadany

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 346
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อัสลามุอะไลกุ้ม...

ญะซากุมุลลอฮ์....สำหรับการนำเสนอไวยากรณ์อาหารับในเชิงตะเซฟวุฟครับ....ติดตามต่อไปอย่างกระชั้นชิดครับ

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
0
ไวยากรณ์หัวใจเริ่มเคลื่อนไหวแล้ว  นึกว่าจะลืมไปเสียแล้ว  เห็นถอดมุดที่ใช้ตรึงกระทู้ออก  :D ยังไงก็นำเสนอต่อไปครับเพราะรู้สึกว่ามีพี่น้องคอยติดตามกระทู้นี้เหมือนกัน  อธิบายแบบสั้นๆ ง่ายๆ แต่ได้ใจความที่โดนใจก็พอ  ;D

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
0
بسم الله الرحمن الرحيم

وَأَقْسَامُهُ ثَلَاثَةٌ : اسم وَفِعْلٌ وَحَرْفٌ جَاءَ لِمَعْنًى

"และประเภทต่าง ๆ ของคำพูดนั้น  (แบ่งออกเป็น) 3 ประเภท คำนาม , คำกริยา , และอักษรที่นำมาให้กับความหมายหนึ่ง"

ประเภทของคำพูดที่บ่าวคนหนึ่งจะไปสู่อัลเลาะฮ์ตาอาลานั้น  มีอยู่ 3 ประเภท

1. الإسم คำนาม ตามหลักตะเซาวุฟ  หมายถึง  การกล่าวพระนามที่ชี้ถึงความเอกกะ  นั่นคือ  คำว่า "อัลเลาะฮ์"
อัลเลาะฮ์  ตาอาลา  ทรงตรัสความว่า

وَاذْكُرِ اسْمَ رَبِّكَ وَتَبَتَّلْ إِلَيْهِ تَبْتِيلاً

"และเจ้าจงกล่าวระลึกถึงพระนามแห่งองค์อภิบาลของเจ้า  และเจ้าจงผูกขาดต่อ (การทำอิบาดะฮ์ใน) พระองค์อย่างแท้จริงเถิด" อัลมุซัมมิล 8

หมายถึง  การตัดขาดสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมด  เพื่อมุ่งไปสู่อัลเลาะฮ์  ทั้งยามกลางคืนและกลางวัน

ดังนั้น  พระนามที่ชี้ถึงความเอกกะ  คือ  เป็นกษัตริย์แห่งนามชื่อทั้งหลาย  นั่น คือพระนาม ที่ว่า "อัลเลาะฮ์"  ที่ยิ่งใหญ่  ฉะนั้น  ผู้ที่ต้องการเดินทางมุ่งไปสู่อัลเลาะฮ์ตาอาลา  ก็ยังคงชอบกล่าวรำลึกถึงพระนามดังกล่าวด้วยลิ้นของเขา  และไม่เบื่อหน่ายที่จะกล่าวรำลึกมัน  จนกระทั่งมันผสมผสานเป็นเลือดและเนื้อเดียวกันของเขา

2.  الفعل การกระทำ(กริยา)ตามหลักตะเซาวุฟ  หมายถึง  การที่จิตใจได้ต่อสู้(มุญาฮะดะฮ์) ในการฝ่าฟันจิตใจใฝ่ต่ำ  และการฝ่าฟันที่ยากลำบากต่อจิตใจนั้นคือ  การชอบเป็นผู้นำ  หลงเกียรติยศ  จนทำให้เขาประสบความต่ำต้อย  ดังนั้น  จงพำนักอยู่ในแผ่นดินที่ไร้ชื่อเสียง  ท่านจงฝังการเป็นอยู่ในแผ่นดินที่ไร้ชื่อเสียง  ดังนั้น  สิ่งหนึ่งที่งอกเงยโดยไม่ได้กลบฝังมัน  แน่นอนว่าผลผลิตที่ได้รับย่อมไม่สมบูรณ์

3.   الحرف อัลฮัรฟุ (ฮุรู๊ฟ)  ตามหลักตะเซาวุฟ   คือ  ปณิธาน , ความตั้งใจอันดี  และแสวงหาหนทางไปสู่อัลเลาะฮ์ตาอาลา   ท่านอบูลหะซัน อัชชาซิลีย์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า   หากจำเป็นต้องมีอัลอัรฟุ (ความปณิธานและความตั้งใจอันดี)  ดังนั้น อัลฮัรฟุ (ความปณิธานและความตั้งใจอันดี)ที่มีระหว่างท่านกับอัลเลาะฮ์นั้นย่อมประเสริฐยิ่งกว่า อัลฮัรฟุ (ความปณิธานและความตั้งใจอันดี)ที่มีระหว่างตัวท่านกับมัคโลค

และจุดมุ่งหมายของคำว่า  อัลฮัรฟุ (ฮุรุ๊ฟ) นั้น  หมายถึง  ความปรารถนาที่จะให้ถึงไปสู่อัลเลาะฮ์ตาอาลา  ตามระดับขั้นต่าง ๆ  ดังนั้น  อัลฮัรฟุแห่งรัศมี  คือ  ความปรารถนาอย่างแรงกล้าเพื่อให้ถึงไปสู่อัลเลาะฮ์และความพึงพอพระทัยของพระองค์  และอัลฮัรฟุแห่งความมือมน  คือความปรารถนาอย่างแรงกล้าเพื่อให้ไปถึงกิเลสของอารมณ์ใฝ่ต่ำ  เช่น  ชอบในการเป็นผู้นำ  ชอบถูกให้เกียรติ  หลงเกียรติยศ  หลงดุนยา  และอื่น ๆ จากเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อดุนยา

สรุปก็คือ  ผู้มีตะเซาวุฟนั้น  ต้องหวนกลับไปหา 3 ประเภทนี้   คือ  เชื่อศรัทธาและกล่าวรำลึกพระนามของอัลเลาะฮ์ (อีหม่าน)  ,  มีการต่อสู้ในเชิงการปฏิบัติ (อิสลาม) , และมีปณิธานและเจตนาอันดีงามเพื่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา (เอี๊ยะหฺซาน)

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-firdaus~*

  • ทีมงานหลังบอร์ด (-_-''')
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 5015
  • เพศ: หญิง
  • 可爱
  • Respect: +161
    • ดูรายละเอียด
0


1. الإسم คำนาม ตามหลักตะเซาวุฟ  หมายถึง  การกล่าวพระนามที่ชี้ถึงความเอกกะ  นั่นคือ  คำว่า "อัลเลาะฮ์"
อัลเลาะฮ์  ตาอาลา  ทรงตรัสความว่า

وَاذْكُرِ اسْمَ رَبِّكَ وَتَبَتَّلْ إِلَيْهِ تَبْتِيلاً

"และเจ้าจงกล่าวระลึกถึงพระนามแห่งองค์อภิบาลของเจ้า  และเจ้าจงผูกขาดต่อ (การทำอิบาดะฮ์ใน) พระองค์อย่างแท้จริงเถิด" อัลมุซัมมิล 8

หมายถึง  การตัดขาดสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมด  เพื่อมุ่งไปสู่อัลเลาะฮ์  ทั้งยามกลางคืนและกลางวัน


สรุปก็คือ  ผู้มีตะเซาวุฟนั้น  ต้องหวนกลับไปหา 3 ประเภทนี้   คือ  เชื่อศรัทธาและกล่าวรำลึกพระนามของอัลเลาะฮ์ (อีหม่าน)  ,  มีการต่อสู้ในเชิงการปฏิบัติ (อิสลาม) , และมีปณิธานและเจตนาอันดีงามเพื่ออัลเลาะฮ์ตาอาลา (เอี๊ยะหฺซาน)

วัลลอฮุอะลัม


ทำไมคนที่ไม่เข้าใจในหลักของตะเซาวุฟ ถึงไม่เปิดใจให้กว้างเพื่อรับรู้ในหลักเอี๊ยะหฺซาน ทั้งๆที่ทุกอย่างก็เด่นชัดอยู่แล้ว ?
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.พ. 21, 2010, 07:48 PM โดย al-firdaus~* »

 

GoogleTagged