ที่ผมถามว่า
อ. ยกมาเอง ว่า นาย ข. จ่ายซะกาตให้กับคนหนึ่งที่คิดว่าเป็นคนยากจนแต่ปรากฏภายหลังว่าเป็นคนร่ำรวย
และ อ. กล่าวสรุปท้ายเองว่า ส่วนกรณีนาย ข. นั้น ถือว่าผิดพลาด
ในกรณีของท่านนบีก็ ละหมาดไปแล้วโดยคิดว่าตนเองละหมาดครด 4 รอกะอัต แต่ปรากฎภายหลังว่า ละหมาดไปแค่ 2
ถามว่ามันต่างกันตรงไหน นี่คือสิ่งที่อ. เลี่ยงไม่ยอมตอบ และนี่คือคำถามที่ตรงประเด็น ที่ถ้าไม่ยอมตอบแล้ว มีผลอย่างแน่นอนต่อจุดยืนของ อ.
ต่างซิครับ เพราะคนจ่ายซะกาตนั้น เขาได้จ่ายซะกาตเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว แต่กลับภายกลับรู้ว่าจ่ายซะกาตให้ผิดคน นี่คือความผิดพลาด แต่ท่านนะบีย์ละหมาดยังไม่เสร็จสิ้นเพราะยังเหลืออีกสองร็อกอะฮ์ แต่ภายหลังกลับรู้ว่าลืมไปอีกสองร็อกอะฮ์ นี่คือการลืม
ซึ่งต่างกันชัดเจนครับ
ถ้าจะอ้างว่าต่างกัน เพราะยังละหมาดไม่เสร็จ แล้วจะอธิบายอย่างไรกับการที่นบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมละหมาดเกิน (จากสี่เป็นห้า) จนเศาะหาบะฮฺถามว่า มีการเพิ่มจำนวนร็อกอัตละหมาดหรือ
แน่นอนว่า เศาะหาบะฮฺต้องถามหลังจากที่ให้สลามแล้ว
สำนวนของอัล-บุคอรีย์
عَنْ عَبْدِ اللَّهِ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ: أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ صَلَّى الظُّهْرَ خَمْسًا، فَقِيلَ لَهُ: أَزِيدَ فِي الصَّلاَةِ؟ فَقَالَ: «وَمَا ذَاكَ؟» قَالَ: صَلَّيْتَ خَمْسًا، فَسَجَدَ سَجْدَتَيْنِ بَعْدَ مَا سَلَّمَ
สำนวนของมุสลิม
عَنْ عَبْدِ اللهِ: «أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ صَلَّى الظُّهْرَ خَمْسًا» ، فَلَمَّا سَلَّمَ قِيلَ لَهُ أَزِيدَ فِي الصَّلَاةِ قَالَ: «وَمَا ذَاكَ؟» قَالُوا: صَلَّيْتَ خَمْسًا، «فَسَجَدَ سَجْدَتَيْنِ»