ผู้เขียน หัวข้อ: นบีมะอฺซูมแต่มีผิดพลาด ตามทัศนะของวะฮาบีที่พวกเขาภาคภูมิใจในตอนนี้  (อ่าน 15867 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Taqwacore

  • ...และจงกล่าวเถิด “เมื่อความจริง” ปรากฏขึ้นและความเท็จย่อมมลายไป แท้จริงความเท็จนั้นย่อมมลายไปเสมอ” [กุรอาน ซูเราะห์ อัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ 81]
  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 65
  • เพศ: ชาย
  • Assalamu'alaikum warahmatullahi wabarakatuh
  • Respect: -16
    • ดูรายละเอียด
อย่าได้ลืมกลับไปอ่าน ในส่วนของคำโต้แย้งต่างๆ คำถามต่างๆ รวมถึงหลักฐานต่างๆ ที่เราได้กล่าวไปแล้ว  เพื่อจะทำให้ประเด็นไปถูกเบี่ยงเบนออกไป

--------------.

Diversionary Humor or Ridicule (interjecting humor or ridicule into your argument in order to conceal your inability or unwillingness to respond to your opponent’s position)

ใช้ความตลกขบขัน หรือ การหัวเราะเยาะ หรือ การดูถูกมาเป็นเครื่องบังหน้า เพื่อหันเหความสนใจ ทั้งนี้เพราะไม่สามารถหักล้างหรือ โต้ตอบเหตุผลของอีกฝ่ายได้     

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
        ถ้าเรายังแยกแยะไม่ออกระหว่าง 1. ผู้ที่ทำบาป พระองค์อัลลอฮฺเอาผิด กับ 2. ทำผิดพลาดจริงแต่พระองค์ไม่เอาบาป เพราะพระองค์ไม่เอาโทษผู้ที่ไม่ตั้งใจทำสิ่งที่ผิดพลาด    .... ถ้ายังแยกไม่ออกก็ช่วยไม่ได้น่ะครับ ของไม่ได้ยากอะไรที่จะเข้าใจ  แต่อาจจะเป็นเพราะอคติเสียมากกว่า 

      การที่ท่านนบีกลับไปละหมาดใหม่ต่ออีก 2 รอกะอัตนั่นแหละ  เป็นสิ่งยืนยันว่าท่านผิดพลาด เพราะท่านมั่นใจว่าตนเองทำถูกแล้ว ครบ 4 รอกอัต  แต่มารู้ภายหลังว่าตนทำผิด  (ไม่เข้าใจจริงๆว่าของง่ายๆทำไมไม่เข้าใจ )

    จะเป็นบัญญัติ หรือไม่ใช่บัญญัติไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นคือ พระองค์อัลลอฮฺต้องการสอนบัญญัติศาสนา โดยผ่านการผิดพลาดของท่านนบี ... ไม่ยากเย็นอะไรเลยน่ะครับที่จะเข้าใจ


            คุณพูดมันก็แย้งในสิ่งที่คุณพูดเอง งงครับ ก็คุณบอกเองว่า "จะเป็นบัญญัติ หรือไม่ใช่บัญญัติไม่ใช่ประเด็น" แต่ในประโยคถัดมาของย่อหน้าเดียวกัน คุณกลับกล่าวว่า "แต่ประเด็นคือ พระองค์อัลลอฮฺต้องการสอนบัญญัติศาสนา โดยผ่านการผิดพลาดของท่านนบี" ผมก็เลย "ไม่เข้าใจจริงๆว่าของง่ายๆทำไมไม่เข้าใจ" เหอๆ หัดอ่านบ้างนะครับ แล้วจะได้เข้าใจง่ายๆ ... อย่าพูดแล้วพันขาตัวเองสิครับ คุณกำลังจะเอาตรรกะทางสติปัญญหามาอธิบายตรรกะทางศาสนา ซึ่งจุดเริ่ม หรือตัวหลักต่างกันครับ - วัลลอฮุอะอ์ลัม
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Taqwacore

  • ...และจงกล่าวเถิด “เมื่อความจริง” ปรากฏขึ้นและความเท็จย่อมมลายไป แท้จริงความเท็จนั้นย่อมมลายไปเสมอ” [กุรอาน ซูเราะห์ อัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ 81]
  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 65
  • เพศ: ชาย
  • Assalamu'alaikum warahmatullahi wabarakatuh
  • Respect: -16
    • ดูรายละเอียด
ตัวคุณเองหรือเปล่าที่ไม่เข้าใจ โดยไม่อ่านและวิเคราะห์ดูให้ดี /

คุณ (จำชื่อไม่ได้กลับไปดูเอง)พยายามจะมุ่งประเด็นไปที่ อัลลอฮฺต้องการจะสอนบัญญัติศาสนา  แต่เราตอบกลับว่า ประเด็นไม่ได้อยู่ตรงนั้น แต่ประเด็นอยู่ที่ท่านนบีผิดพลาดหรือเปล่า  เมื่อยอมรับแล้วว่าท่านนบีผิดพลาด นั่นก็รวมกันได้ว่า พระองค์อัลลอฮฺต้องการสอนบัญญัติศาสนา โดยผ่านการผิดพลาดของท่านนบี

ผมขอแนะนำให้คุณ เข้าไปอ่าน ให้เข้าใจ

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,9190.0.html

และเรียนรู้การใช้เหตุผล อีกทั้ง ประเภทต่างๆของความผิดพลาดในการใช้เหตุผล มันจะทำให้เราเป็นคนที่ไม่มีอคติไปโดยปริยาย อีกทั้ง ทำให้เราเป็นคนที่มีความเป็นกลาง ไม่ยึดติด มองอะไรอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งจับประเด็นได้เป็น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 27, 2011, 04:08 PM โดย Taqwacore »

ออฟไลน์ Taqwacore

  • ...และจงกล่าวเถิด “เมื่อความจริง” ปรากฏขึ้นและความเท็จย่อมมลายไป แท้จริงความเท็จนั้นย่อมมลายไปเสมอ” [กุรอาน ซูเราะห์ อัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ 81]
  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 65
  • เพศ: ชาย
  • Assalamu'alaikum warahmatullahi wabarakatuh
  • Respect: -16
    • ดูรายละเอียด
อย่าได้ลืมกลับไปอ่าน ในส่วนของคำโต้แย้งต่างๆ คำถามต่างๆ รวมถึงหลักฐานต่างๆ ที่เราได้กล่าวไปแล้ว  เพื่อจะทำให้ประเด็นไปถูกเบี่ยงเบนออกไป

--------------.

Trivial objections (also referred to as hair-splitting, nothing but objections, barrage of objections and banal objections) hair-splitting

คือหนึ่งในการใช้เหตุผลที่ผิด โดยนำเอาประเด็นปลีกย่อยของเรื่องนั้นมาตั้งเป็นประเด็นหลัก เพื่อใช้โจมตีอีกฝ่าย ทั้งนี้เพราะตนเองไม่สามารถที่จะหักล้างประเด็นหลักๆหรือ เหตุผลหลักที่อีกฝ่ายได้นำเสนอได้  เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงเสาะแสวงหาส่วนที่ดูเหมือนจะเป็นจุดเสียเปรียบของอีกฝ่ายในประเด็นนั้น  แล้วพยายามสร้างภาพว่า นี่คือประเด็นหลัก แต่ในความจริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ และถึงแม้ว่า อีกฝ่ายจะไม่สามารถหักล้าง หรือชี้แจง ประเด็นปลีกย่อยนี้ได้ ก็จะไม่มีผลอย่างใดต่อสิ่งที่เขาได้นำเสนอเป็นจุดยืน  ทั้งนี้เพราะ เหตุผล หรือ หลักฐานหลักยังคงยืนอยู่โดยไม่สามารถถูกหักล้างได้ 

   เช่น ตำรวจจับคนค้ายาเสพติดได้ โดยตำรวจพูดกับเขาว่า “ ไอ้สารเลว มึงกำลังทำลายชาติมึงรู้ตัวหรือเปล่า” คนค้ายาจึงพูดกับตำรวจกลับไปว่า “ คุณพูดกับประชาชนหยาบคายอย่างนี้หรือ ตอบผมมาทำไมคุณพูดจาหยาบคายอย่างนี้ ”

   จะเห็นได้ว่า คนค้ายาเสพติดไม่สามารถแก้ตัวในความผิดของตนเองได้ จึง หยิบเอาประเด็นปลีกย่อย ( การพูดหยาบคายของตำรวจ) มาสร้างเป็นประเด็นใหญ่ แต่กระนั้นมันก็ไม่สามารถไปหักล้างความจริงที่ว่า ตัวเองถูกจับเพราะค้ายาเสพติดได้   


ออฟไลน์ As-Zaleek

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 804
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +33
    • ดูรายละเอียด
ผมขอแนะนำให้คุณ เข้าไปอ่าน ให้เข้าใจ

http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php/topic,9190.0.html

และเรียนรู้การใช้เหตุผล อีกทั้ง ประเภทต่างๆของความผิดพลาดในการใช้เหตุผล มันจะทำให้เราเป็นคนที่ไม่มีอคติไม่โดยปริยาย อีกทั้ง ทำให้เราเป็นคนที่มีความเป็นกลาง ไม่ยึดติด มองอะไรอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งจับประเด็นได้เป็น

คุณเขียนหลักการใช้เหตุผลดังกล่าวเพื่ออะไร...เพื่อให้คนอื่นนำมาใช้ฝ่ายเดียวหรือว่าคุณนำมาใช้ด้วย...เพราะเมื่ออ่านดูแล้ว...เมื่อต้องการให้คนอื่นนำไปใช้แต่ตัวคุณเองไม่ได้นำไปใช้...

พอคนอื่นไม่เข้าใจเหมือนกับคุณก็ดันกล่าวหาว่า ผู้อื่นอคติ...
الأيام تمضى       والعمر يزيد         ولكن الحب بالقلب أكيد

ออฟไลน์ Taqwacore

  • ...และจงกล่าวเถิด “เมื่อความจริง” ปรากฏขึ้นและความเท็จย่อมมลายไป แท้จริงความเท็จนั้นย่อมมลายไปเสมอ” [กุรอาน ซูเราะห์ อัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ 81]
  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 65
  • เพศ: ชาย
  • Assalamu'alaikum warahmatullahi wabarakatuh
  • Respect: -16
    • ดูรายละเอียด
ที่ตอบมา ถือเป็นข้อความที่ ไม่สามารถจะพิสูจน์ความจริงอะไรได้เลย  เป็นข้อความบ่น รำพึงรำพัน อะไรเป็นเภทนั้น  การหลักการใช้เหตุผล ถือเป็นประเภทหลักฐานทางอารมณ์ ซึ่งไม่มีความหมายอะไร
----------------------.


อย่าลืมข้อความต่างๆที่ตรงประเด๋นที่เราได้โพสไปก่อนหน้านี้น่ะครับ   ไม่ใช่อะไร กลัวว่าจะถูกนำออกนอกประเด็น ซึ่งก็เป็นความผิดพลาดในการใช้เหตุผลประเภทหนึ่ง

-----------------.

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِ

ส่วนการลืมที่ไม่มีการผิดพลาดรวมอยู่ด้วยนั้นก็คือ ไม่มีการคิดว่าตนเองทำถูกต้องแล้วตั้งแต่ต้น  แต่เป็นการลืมทำไปเลย เหมือนกับที่ นาย ก. ลืมจ่ายซะกาต ... นาย ก. ไม่ได้จ่ายผิด โดยมั่นใจว่าตนเองจ่ายถูกแล้ว    เปล่าเลย แต่นาย ก. ลืมไปเลยว่าตนเองจะต้องจ่ายซะกาต เพราะฉะนั้น อ. อารีฟีน ผิดพลาดในกฎที่ว่าด้วยการยกตัวอย่างเปรียบเทียบ คือนำสองสิ่งที่มีรายละเอียดแตกต่างกันมา เป็นผลทำให้การเปรียบเทียบใช้ไม่ได้

ผมยกตัวอย่างการลืมจ่ายซะกาตกับการจ่ายซะกาตผิดพลาดนั้น  มิใช่ต้องการจะมาเปรียบเทียบเหตุการณ์ของละหมาดอัสริสองร็อกอะฮ์  แต่ผมต้องการจะให้ทราบว่า  ความแตกต่างระหว่าง  “การลืม” [اَلنِّسْيَانُ] และ “ความผิดพลาด” [اَلْخَطاَءُ] ตามหลักศาสนาที่ฮะดีษได้บ่งบอกไว้

แล้วคุณก็ตอบผมว่า


หากผมเห็นด้วยกับ อ. อารีฟีน ว่าหลงลืมและผิดพลาดคือคนละอย่างกัน แต่นั่นไม่ได้หักล้างเลยว่าท่านนบีจะไม่ผิดพลาด  เพราะฮะดีษข้างต้น ตกลงฮะดีษข้างต้น เป็นการหลงลืมหรือเปล่า

ดังนั้นหากคุณไม่เห็นด้วยว่า  “การลืม” [اَلنِّسْيَانُ] และ “ความผิดพลาด” [اَلْخَطاَءُ] นั้ไม่มีความแตกต่างกัน  แสดงว่าท่านดันทุรัง  แต่คุณสมมุติตนเองว่า  เห็นด้วยกับผมโดยยอมรับว่า  “การลืมกับความผิดพลาดนั้นคนละอย่างกัน” แล้วคุณก็บอกผลลัพธ์ว่า “แต่นั่นไม่ได้หักล้างเลยว่าท่านนะบีย์จะไม่ผิดพลาด” 

แต่ความจริงแล้วมิใช่เช่นนั้นครับ  เพราะหากการลืมและความผิดพลาด  เป็นคนละอย่างกัน  แน่นอนว่า  การลืมย่อมมิใช่ความผิดพลาด  ซึ่งเป็นความถูกต้องตามหลักการ  ดังนั้นความถูกต้องนี้  จึงยืนยันว่า  การลืมของท่านนะบีย์ย่อมไม่ใช่ความผิดพลาดนั่นเอง
แต่หากคุณบอกว่า  การลืมกับความผิดพลาดเป็นสิ่งเดียวกันและไม่แตกต่างกัน  ผมขอถามว่า

1. ใหนหลักฐานของอัลกุรอานและซุนนะฮ์ได้ระบุว่า การลืมและความผิดพลาดเป็นสิ่งเดียวกันและมีความหมายเดียวกัน

2. หากการลืมกับความผิดพลาดเป็นสิ่งเดียวกัน  แต่ทำไมท่านนะบีย์จึงกล่าวแยกกันเป็นสามกรณี  ที่ว่า

إِنَّ اللهَ تَجَاوَزَ لِيْ عَنْ أُمَّتِي الْخَطَأَ وَالنِّسْيَانَ وَمَا اسْتُكْرِهُوْا عَلَيْهِ

“แท้ จริงอัลเลาะฮ์ทรงอภัย เพราะให้เกียรติฉัน  แก่ประชาชาติของฉัน  กับการผิดพลาด  และการลืม  และสิ่งที่พวกเขาถูกบังคับ” รายงานโดยอิบนุมาญะฮ์ ฮะดีษเลขที่ 2043.

อักษร [وَ] ที่อยู่ระหว่างคำว่า [الْخَطَأَ] “หมายถึงผิดพลาด” กับ [النِّسْيَانَ] (หมายถึงการลืม) เรียกว่า [حَرْفُ الْعَطْفِ] (คำสัณธาน) ซึ่งให้ความหมาย [اَلْمُغَايَرَةُ] “ความแตกต่าง”

ดังนั้นเมื่อมีความแตกต่าง  เราจะมาบอกว่า  การลืมคือการผิดพลาดนั้น ย่อมไม่ได้ เพราะการลืมไม่ใช่การถูกบังคับ และความผิดพลาดไม่ใช่การลืม  และถูกบังคับก็ไม่ใช่ความผิดพลาด  ฉะนั้นทั้งสองประการของฮะดีษนี้ จึงมีความแตกต่างกัน

 
        ถ้าเรายังแยกแยะไม่ออกระหว่าง 1. ผู้ที่ทำบาป พระองค์อัลลอฮฺเอาผิด กับ 2. ทำผิดพลาดจริงแต่พระองค์ไม่เอาบาป เพราะพระองค์ไม่เอาโทษผู้ที่ไม่ตั้งใจทำสิ่งที่ผิดพลาด    .... ถ้ายังแยกไม่ออกก็ช่วยไม่ได้น่ะครับ ของไม่ได้ยากอะไรที่จะเข้าใจ  แต่อาจจะเป็นเพราะอคติเสียมากกว่า

ใจเย็นๆ และสุขุมสักนิด  เนื่องจากเหตุผลที่คุณว่ามานั้นไม่ถูกปกป้องจากความผิด  จึงไม่แปลกที่ผู้อื่นเห็นต่างกับคุณ  ดังนั้นผู้ที่เห็นต่าง  ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้อคติ  เพราะในกรณีของการละหมาดอัสริร็อกอะฮ์นี้  อยู่ในฮุกุ่มของการลืมไม่ใช่ผิดพลาด  เพราะฮะดีษเกี่ยวกับเรื่องการละหมาดอัสริสองร็อกอะฮ์นั้น  อยู่ในบทของฟิกห์ว่าด้วยเรื่องการลืมในละหมาดหรือเรื่องสุยูดซะฮ์วี(สุยูดเนื่องจากการลืม)

การที่ท่านนบีกลับไปละหมาดใหม่ต่ออีก 2 รอกะอัตนั่นแหละ  เป็นสิ่งยืนยันว่าท่านผิดพลาด เพราะท่านมั่นใจว่าตนเองทำถูกแล้ว ครบ 4 รอกอัต  แต่มารู้ภายหลังว่าตนทำผิด

การที่ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กลับไปละหมาดใหม่อีกสองร็อกอะฮ์นั้น  เพราะมีซอฮาบะฮ์ถามท่านนะบีย์ว่า  ท่านลืมหรือย่อละหมาด  ท่านนะบีย์ตอบว่า  ฉันไม่ได้ลืม  ซึ่งบ่งชี้ว่าอัลเลาะฮ์ทรงทำให้ลืม  แต่เมื่ออัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงดลใจให้ท่านนะบีย์ทราบว่าท่านลืมในละหมาด  ท่านก็บอกกับซอฮาบะฮ์ว่า  “ฉันลืม” ดังนั้นภายหลังท่านนะบีย์ทราบว่าท่านลืมไม่ใช่ท่านทำผิดพลาด  ท่านจึงไปละหมาดต่ออีกในร็อกอะฮ์ที่สามและสี่

ดังนั้นในตัวบทฮะดีษบอกชัดเจนว่า  ภายหลังที่ท่านนะบีย์รู้ว่าท่านลืม  ท่านจึงกลับไปละหมาดต่อ  แล้วทำการสุยูดซะฮ์วีปิดท้ายละหมาด  ซึ่งคำว่า สุยูดซะฮ์วี  แปลว่า “สุยูดเนื่องจากการลืม”  ไม่ใช่เนื่องจากการผิดพลาด

หากถามว่า  ทำไมท่านนะบีย์สุยูดซะฮ์วี  คำตอบก็คือ  ท่านกลับมาละหมาดต่ออีกสองร็อกอะฮ์เพราะรู้ว่าท่านลืม  เพราะถ้าละหมาดผิดพลาด ก็ต้องกลับไปละหมาดใหม่  เช่น  นาย ก. ละหมาดอัสริสี่ร็อกอะฮ์  แต่ในตอนสุยูดนั้น  เขาได้สุยูดแบบไม่มีเฏาะมานีนะฮ์(หยุดนิ่งครู่หนึ่ง)โดยไม่รู้ว่าจำเป็นต้องมีเฏาะมานีนะฮ์  ดังนั้นเมื่อมีคนมาบอกว่านาย ก. ว่า  ท่านละหมาดผิดพลาดเพราะสุยูดไม่มีเฏาะมานียะฮ์  แน่นอนว่า นาย ก. ต้องกลับละหมาดใหม่อีกครั้ง  โดยไม่ต้องสุยูดซะฮ์วี   

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 27, 2011, 04:16 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ Taqwacore

  • ...และจงกล่าวเถิด “เมื่อความจริง” ปรากฏขึ้นและความเท็จย่อมมลายไป แท้จริงความเท็จนั้นย่อมมลายไปเสมอ” [กุรอาน ซูเราะห์ อัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ 81]
  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 65
  • เพศ: ชาย
  • Assalamu'alaikum warahmatullahi wabarakatuh
  • Respect: -16
    • ดูรายละเอียด
ขอตอบด้วยความจริงใจน่ะครับว่า ไม่มีอะไรใหม่ไปมาก  เพียงแต่เปลี่ยนคำอธิบายใหม่ในเนื้อหาเก่าก็แค่นั้นเอง  ถ้าอาจารย์ อารีฟีน ตอบคำถามให้ตรง ทุกอย่างก็จะกระจ่าง ซึ่งเราถามไปหลายข้อ ซึ่งก็เป็นคำถามที่ตรงประเด็นที่ถ้า อ. อารีฟ ตอบอย่างตรงไปตรงมาก็จบแล้วครับ  สิ่งที่เราได้อธิบาย ชี้แจงไปแล้วคือ:

 การผิดพลาดคือการที่คนๆหนึ่งมั่นใจว่าตนเองทำสิ่งหนึ่งถูก โดยไม่ได้แกล้งลืม หรือแกล้งทำผิด แต่มั่นใจจริงๆว่าตนเองทำถูก แต่สุดท้ายมารู้ว่าตนเองทำผิด  อย่างนี้ชัดเจนที่เรียกว่า ผิดพลาด  ในกรณีที่นาย ข. คิดว่าตนเองได้จ่างซะกาตให้คนยากจน มั่นใจว่าตนเองทำถูก ไม่ได้แกล้ง  แต่มารู้ทีหลังว่าตนเองจ่ายให้ไปกับคนรวย  ซึ่งก็ถือว่าผิดพลาด   

แต่ในบางกรณีนั้นมีอยู่ทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน นั้นก็คือ ทั้งหลงลืมด้วย และผิดพลาดด้วย  เช่นในกรณีที่ท่านนบีมั่นใจว่าตนเองละหมาดครบ 4 รอกะอัต มั่นใจว่าตนเองทำถูกแล้ว  ท่านไม่ได้แกล้งลืม  ไม่ได้แกล้งทำผิด แต่มารู้ทีหลังว่าตนเองละหมาดไปแค่สองรอกะอัต

ส่วนการลืมที่ไม่มีการผิดพลาดรวมอยู่ด้วยนั้นก็คือ ไม่มีการคิดว่าตนเองทำถูกต้องแล้วตั้งแต่ต้น  แต่เป็นการลืมทำไปเลย เหมือนกับที่ นาย ก. ลืมจ่ายซะกาต ... นาย ก. ไม่ได้จ่ายผิด โดยมั่นใจว่าตนเองจ่ายถูกแล้ว    เปล่าเลย แต่นาย ก. ลืมไปเลยว่าตนเองจะต้องจ่ายซะกาต

เพราะฉะนั้น อ. อารีฟีน ผิดพลาดในกฎที่ว่าด้วยการยกตัวอย่างเปรียบเทียบ คือนำสองสิ่งที่มีรายละเอียดแตกต่างกันมา เป็นผลทำให้การเปรียบเทียบใช้ไม่ได้

ความผิดพลาดอีกอย่างของ อ. อารีฟีนก็คือ ละเลยหลักฐานอื่นๆที่อีกฝ่ายยกมา  โดยเลือกที่จะกล่าวถึงเพียงบางหลักฐาน

และอัล-กุรอานโองการต่างๆอีกหลายโองการที่ได้ยกไป

ออฟไลน์ Taqwacore

  • ...และจงกล่าวเถิด “เมื่อความจริง” ปรากฏขึ้นและความเท็จย่อมมลายไป แท้จริงความเท็จนั้นย่อมมลายไปเสมอ” [กุรอาน ซูเราะห์ อัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ 81]
  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 65
  • เพศ: ชาย
  • Assalamu'alaikum warahmatullahi wabarakatuh
  • Respect: -16
    • ดูรายละเอียด



ถ้าผมเห็นด้วย นั่นก็หมายความว่า ถ้า นาย ก. ลืมอ่านฟาติฮะฮฺหรือลืม กุรุอฺ แต่ลงไปสุหญูดเลย  นั่นก็หมายความว่า นาย ก. ไม่ต้องกลับไปละหมาดใหม่อีกครั้งใช่หรือไม่?   

ผมพูดไปชัดเจนแล้วว่า:

แต่ในบางกรณีนั้นมีอยู่ทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน นั้นก็คือ ทั้งหลงลืมด้วย และผิดพลาดด้วย  เช่นในกรณีที่ท่านนบีมั่นใจว่าตนเองละหมาดครบ 4 รอกะอัต มั่นใจว่าตนเองทำถูกแล้ว  ท่านไม่ได้แกล้งลืม  ไม่ได้แกล้งทำผิด แต่มารู้ทีหลังว่าตนเองละหมาดไปแค่สองรอกะอัต


อ. อารีฟีนยังแยกไม่ออก ไม่รู้ว่าตั้งใจแยกไม่ออกหรืออย่างไรว่า การที่นาย ก. สุยูดแบบไม่มีเฏาะมานีนะฮ์(หยุดนิ่งครู่หนึ่ง) เพราะเขาไม่รู้ตั้งแต่แรกว่าเขาต้องมีเฏาะมานีนะฮ์  ... นี่คือความไม่รู้ตั้งแต่แรก   ส่วน ถ้านาย ก. รู้ว่าตนเองต้องละหมาด  4 รอกะอัต แต่มั่นใจด้วยว่าตนเองละหมาดไปแล้ว 4 ไม่ได้แกล้งลืม  แต่มารู้ภายหลังว่า ละหมาดไปแค่ 2 นั่นชัดเจนว่า นาย ก. ผิดพลาด  เพราะการผิดพลาดคือการที่คนๆหนึ่งมั่นใจว่าตนเองทำสิ่งหนึ่งถูก แต่กระนั้นก็ผิด

ออฟไลน์ Taqwacore

  • ...และจงกล่าวเถิด “เมื่อความจริง” ปรากฏขึ้นและความเท็จย่อมมลายไป แท้จริงความเท็จนั้นย่อมมลายไปเสมอ” [กุรอาน ซูเราะห์ อัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ 81]
  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 65
  • เพศ: ชาย
  • Assalamu'alaikum warahmatullahi wabarakatuh
  • Respect: -16
    • ดูรายละเอียด
ถ้าผมเห็นด้วยกับเหตุผลของ อ. อารีฟีน นั่นก็หมายความว่า ถ้านาย ก. อ่าน สูเราะฮฺผิดแล้วถูกเตือนจากคนข้างหลังว่าอ่านผิด นั่นก็หมายความว่า นาย ก. ต้องละหมาดใหม่ใช่หรือไม่ ? เพราะประเด็นหลัก คือ ถ้าผิดพลาดต้องเริ่มละหมาดใหม่

อ. อารีฟีน ต้องแยกซิครับเหมือนกับที่ผมได้แยกไปให้แล้ว 

ออฟไลน์ Taqwacore

  • ...และจงกล่าวเถิด “เมื่อความจริง” ปรากฏขึ้นและความเท็จย่อมมลายไป แท้จริงความเท็จนั้นย่อมมลายไปเสมอ” [กุรอาน ซูเราะห์ อัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ 81]
  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 65
  • เพศ: ชาย
  • Assalamu'alaikum warahmatullahi wabarakatuh
  • Respect: -16
    • ดูรายละเอียด
ผมขอถาม อ. อารีฟีนง่ายๆว่าการที่ นาย ก. ไม่รู้  ถือว่านาย ก. ผิดพลาดหรือไม่? 

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
แต่ในบางกรณีนั้นมีอยู่ทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน นั้นก็คือ ทั้งหลงลืมด้วย และผิดพลาดด้วย  เช่นในกรณีที่ท่านนบีมั่นใจว่าตนเองละหมาดครบ 4 รอกะอัต มั่นใจว่าตนเองทำถูกแล้ว  ท่านไม่ได้แกล้งลืม  ไม่ได้แกล้งทำผิด แต่มารู้ทีหลังว่าตนเองละหมาดไปแค่สองรอกะอัต

ผมขอถามคุณสักนิดครับว่า  การลืม กับ การผิดพลาด คือสิ่งเดียวกันหรือไม่ตามทัศนะของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  และถ้าไม่เหมือน  ใหนหลักฐานอัลกุรอานและฮะดีษที่มายืนยันเหตุผลของคุณ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 27, 2011, 05:51 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
การผิดพลาดคือการที่คนๆหนึ่งมั่นใจว่าตนเองทำสิ่งหนึ่งถูก โดยไม่ได้แกล้งลืม หรือแกล้งทำผิด แต่มั่นใจจริงๆว่าตนเองทำถูก แต่สุดท้ายมารู้ว่าตนเองทำผิด  อย่างนี้ชัดเจนที่เรียกว่า ผิดพลาด  ในกรณีที่นาย ข. คิดว่าตนเองได้จ่างซะกาตให้คนยากจน มั่นใจว่าตนเองทำถูก ไม่ได้แกล้ง  แต่มารู้ทีหลังว่าตนเองจ่ายให้ไปกับคนรวย  ซึ่งก็ถือว่าผิดพลาด   

ผมขอคำนิยาม คำว่า "ลืม" กับ "ผิดพลาด" ตามหลักการศาสนา ด้วยอ้างอิงจากตำราอุลามาอฺที่มีคุณธรรมเพื่อสนับสนุนเหตุผลของคุณด้วยครับ

ขอบคุณสำหรับการให้ความร่วมมือในสิ่งที่ผมได้ถามไป
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ Taqwacore

  • ...และจงกล่าวเถิด “เมื่อความจริง” ปรากฏขึ้นและความเท็จย่อมมลายไป แท้จริงความเท็จนั้นย่อมมลายไปเสมอ” [กุรอาน ซูเราะห์ อัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ 81]
  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 65
  • เพศ: ชาย
  • Assalamu'alaikum warahmatullahi wabarakatuh
  • Respect: -16
    • ดูรายละเอียด
การตั้งคำถามกลับ เพื่อสร้างภาพอะไรบางอย่าง ไม่อาจที่จะลบล้างสิ่งต่างๆ ที่ผมได้กล่าวไปได้ รวมทั้งคำถามต่างๆด้วย

  โดยไม่ยอมตอบที่ผมได้ถามไป เพราะถ้าอ. อารีฟีนตอบให้ตรงไปตรงมา  ความชัดเจนจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน


ออฟไลน์ Taqwacore

  • ...และจงกล่าวเถิด “เมื่อความจริง” ปรากฏขึ้นและความเท็จย่อมมลายไป แท้จริงความเท็จนั้นย่อมมลายไปเสมอ” [กุรอาน ซูเราะห์ อัลอิสรออฺ อายะฮฺที่ 81]
  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 65
  • เพศ: ชาย
  • Assalamu'alaikum warahmatullahi wabarakatuh
  • Respect: -16
    • ดูรายละเอียด
การผิดพลาดคือการที่คนๆหนึ่งมั่นใจว่าตนเองทำสิ่งหนึ่งถูก โดยไม่ได้แกล้งลืม หรือแกล้งทำผิด แต่มั่นใจจริงๆว่าตนเองทำถูก แต่สุดท้ายมารู้ว่าตนเองทำผิด  อย่างนี้ชัดเจนที่เรียกว่า ผิดพลาด  ในกรณีที่นาย ข. คิดว่าตนเองได้จ่างซะกาตให้คนยากจน มั่นใจว่าตนเองทำถูก ไม่ได้แกล้ง  แต่มารู้ทีหลังว่าตนเองจ่ายให้ไปกับคนรวย  ซึ่งก็ถือว่าผิดพลาด   

-----------.

อ.อารีฟีน ต่างหากที่มีหน้าที่จะต้องพิสูจน์ว่า สิ่งที่ผมกล่าวข้างต้นผิดอย่างไร เพราะสิ่งที่ผมกล่าวมีความชัดเจน


ผมขอถามอีกครั้ง 

1. ท่านนบีแกล้งลืมใช่หรือไม่ว่าตนเองได้ละหมาดครบดีแล้วถูกแล้ว
2. ท่านนบีรู้ทั้งรู้ว่าตนเองละหมาดได้เพียงแค่ 2 แต่ไม่ยอมทำให้ครบ 4 ใช่หรือไม่
3. ท่านนบีมั่นใจจริงๆว่าท่านละหมาดครบ 4 ท่านมั่นใจว่าท่านทำถูกใช่หรือไม่ ?

ผมขอถามให้ ตอบมาตรงๆว่า การที่คนๆหนึ่ง มั่นใจว่าตนเองทำสิ่งหนึ่งถูก โดยไม่ได้แกล้งลืม หรือแกล้งทำผิด แต่มั่นใจจริงๆว่าตนเองทำถูก แต่สุดท้ายมารู้ว่าตนเองทำผิด  อย่างนี้ถ้าไม่เรียกว่า ผิดพลาด แล้วจะเรียกว่าอะไร



 

GoogleTagged