ผู้เขียน หัวข้อ: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)  (อ่าน 14542 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: ก.ค. 26, 2007, 11:38 PM »
0
فالاسم  หุรุฟ ฟาอ์ นั้น เรียกว่า ฟาอ์ ฟาซีฮะห์  คือเป็นฟาร์ที่จะเริ่มตอบเงื่อนไขที่ตั้งไว้ก่อนหน้านี้  เงื่อนไขในที่นี้ก็คือ เงื่อนไขมุกอตดัร ก็คือ เมื่อเราต้องการที่จะแยกความแตกต่าง ระหว่าง اِسمٌ  , فعل และ حَرف  ดังนั้น หุรุฟ ฟาอ์ นี้จึงจะตอบเงื่อนไขนี้นี่เอง

หากจะตักดีรกาลาม (สมมุติคำเงื่อนไข) ขึ้นตามที่ได้ไปแล้วข้างต้น   มีดังนี้ครับ คือตักดีรว่า

إِذا أَرَدْتَ مَعْرِفَةَ كُلِّ وَاحِدٍ مِنْهَا فَأَقُوْلُ لَكَ : الإسْمُ يُعْرَفُ ... إلخ

"เมื่อท่านต้องการทราบทุก ๆ อันใดจากมัน(ทั้งสาม)นั้น  ดังนั้น  ฉันขอกล่าวแก่ท่านว่า  อีเซม(นาม) จะถูกรู้จัก.....(ต่อไปจนจบ)

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ JuyA

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 107
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: ก.ค. 27, 2007, 04:57 PM »
0
بسم الله الرحمن الرحيم

      


    يُعرَفُ     เป็น الفعل المضارع  มับนิยุน ลิล มัจฮูล คือ จะเป็น الفعل المضارع ที่ไม่ทราบผู้กระทำ และ  يُعرَفُ ซึ่งต้องรอฟอุน เพราะปราศจากอามีล ญาซัม และอามิล นาซับ  สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์เพราะเป็น الفعل المضارع  ที่ไม่ต่อท้ายด้วยพยัญชนะอื่น เรียกว่า
لم يتصل بآخره شيء الفعل المضارع الذي     นั้นเอง  ส่วนผู้กระทำ(ประธาน)ใน يُعرَفُ นี้ก็คือ นาอีบุน ฟาอีล ที่ มุสตาเตร (ซ่อน)  ตักดีร ก็คือ هو ที่เป็นสรรพนามแทนที่  الاسم
 ประโยคตั้งแต่ ฟิอิลและนาอีบุนฟาอีล นั้นก็จะเป็นคอบัร
และสุดท้ายประโยคตั้งแต่มุบตาดา+ และคอบัร นั้นจะเป็นคำตอบที่ตอบเงื่อนไขก่อนหน้านี้


 [                           ญาซากุมุลลอฮุ


 


  มีประโยคที่เขียนม่ายถูก คือสลับที่กัน    ประโยคที่ถูกต้องคือ  ดังนี้ الفعل المضارع الذي لم يتصل بآخره شيء
อีหม่านที่ซอเเฮะห์  อามาลที่ซอและห์

ออฟไลน์ JuyA

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 107
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: ก.ค. 28, 2007, 12:30 AM »
0
بسم الله الرحمن الرحيم

   ต่อน่ะคับ ต่อเเบบเต่า(ช้า) ;D ;D


       
وهي      วาวนั้นเป็นวาว  ลิลอิสติสนัฟ บายานี  هي เ็ป็น ดอมีร มุนฟัสซิล คือ ดอมีรชนิดที่ไม่ต่อกับคำอื่น  อยู่ในตำแหน่ง มุบตาดา  เป็นนาม มับนิยน ที่ ฟัตตะห์ แทนที่รอบอุน   แต่เพราะว่า ดอมีร เป็นนามมับนิยุน จึงไม่ปรากฏการ  الإعراب


مِن،         เป็น คอบัร  มับนิยน ที่ซุกูน  แทนที่รอบอุน   แต่เพราะว่านามมับนิยุน จึงไม่ปรากฏการ  الإعراب



واِلى       วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และاِلىِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ ก็คือ     مِن،  และ  اِلى นั้นมับนิยน ที่ซุกูน  แทนที่รอบอุน   แต่เพราะว่านามมับนิยุน จึงไม่ปรากฏการ  الإعراب



 وعَن   วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และعَن ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ ก็คือ     مِن، และ عَن  นั้น มับนิยน ที่ซุกูน  แทนที่รอบอุน   แต่เพราะว่านามมับนิยุน จึงไม่ปรากฏการ  الإعراب



وعلى       วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และعلى ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ ก็คือ     مِن، และ  على  มับนิยน ที่ซุกูน  แทนที่รอบอุน   แต่เพราะว่านามมับนิยุน จึงไม่ปรากฏการ  الإعراب


 وفِي   วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และفِي ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ ก็คือ     مِن،  และ  فِي  มับนิยน ที่ซุกูน  แทนที่รอบอุน   แต่เพราะว่านามมับนิยุน จึงไม่ปรากฏการ  الإعراب

اَ

ورُبَّ  วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และرُبَّ ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ ก็คือ     مِن، และ رُبَّ  นั้น เป็นนาม มับนิยน ที่ ฟัตตะห์  แทนที่รอบอุน   แต่เพราะว่านามมับนิยุน จึงไม่ปรากฏการ  الإعراب




والباءُ   วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และ الباءُ ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ  คือ     مِن، محل   เพราะว่า مِن، محل   นั้นไปแทนที รอบอุน ดังนั้น الباءُ จึงต้อง รอบอุนด้วย สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็นคำนามเดี่ยว



والكاف   วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และ الكاف  ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ  คือ     مِن، محل   เพราะว่า مِن، محل   นั้นไปแทนที รอบอุน ดังนั้น االكاف จึงต้อง รอบอุนด้วย สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็นคำนามเดี่ยว


واللامُ   วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และ اللامُ  ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ  คือ     مِن، محل   เพราะว่า مِن، محل   นั้นไปแทนที รอบอุน ดังนั้น اللامُ จึงต้อง รอบอุนด้วย สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็นคำนามเดี่ยว


وحروفِ القَسَم   การ الإعراب มี 2 แนวคิด คือ
1. ฮารุส อ่านว่า ฮูรูฟู เพราะเป็นมะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ  คือ     مِن، محل   เพราะว่า مِن، محل   นั้นไปแทนที รอบอุน ดังนั้น حروف จึงต้อง รอบอุนด้วย สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็นคำนามเดี่ยว
2. ฮารุส อ่านว่า ฮูรูฟี  เพราะเป็นมะอ์ตูฟ แต่มะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ  คือحروفِ الخَفضِ ก่อนหน้านี้   ดังนั้น حروف จึงต้อง ญัร ด้วย สัญลักษณ์ของ ญัร ตรงนี้ก็คือ กัสรอสต์ เพราะเป็นคำนามเดี่ยว
ส่วน  القَسَم นั้นเป็น มูดอฟุนอิลัยฮุ ซึ่งต้อง ญัร  สัญลักษณ์ของ ญัร ตรงนี้ก็คือ กัสรอสต์ เพราะเป็นคำนามเดี่ยว



وهي   วาวนั้นเป็นวาว  ลิลอิสติสนัฟ บายานี  هي เ็ป็น ดอมีร มุนฟัสซิล คือ ดอมีรชนิดที่ไม่ต่อกับคำอื่น  อยู่ในตำแหน่ง มุบตาดา  เป็นนาม มับนิยน ที่ ฟัตตะห์ แทนที่รอบอุน   แต่เพราะว่า ดอมีร เป็นนามมับนิยุน จึงไม่ปรากฏการ  الإعراب

 الواو   เป็น คอบัร  ต้อง รอบอุน   สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็นคำนามเดี่ยว





والباء   วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และ الباءُ ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ  คือ     الواو  ที่รอบอุน ดังนั้น الباءُ จึงต้อง รอบอุนด้วย สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็นคำนามเดี่ยว



والتاء. วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และ الباءُ ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ  คือ     الواو  ที่รอบอุน ดังนั้น التاءُ จึงต้อง รอบอุนด้วย สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็นคำนามเดี่ยว

                  ปล. ปล. แบๆเพื่อนๆช่วยแก้ไขด้วย ถ้าพบข้อผิดพลาด ตากระผมเริ่ม ลาย แระ
 เพราะเขียนคำซำๆ อ่ะ  ::) ::) ::) ::)   ;D  ;D  ;D  ;D
                       ญาซากุมุลลอฮุ




อีหม่านที่ซอเเฮะห์  อามาลที่ซอและห์

นูรุ้ลอิสลาม

  • บุคคลทั่วไป
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: ก.ค. 29, 2007, 10:18 AM »
0
อัสลามุอะลัยกุ้มพี่น้อง

น้อง JuYa  ทำหน้าที่เสริมได้เยี่ยมมากครั้บ  ญะซากัลลออฮ์ค๊อยร๊อน  ;)

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: ก.ค. 29, 2007, 03:58 PM »
0
والفعلُ ฟิอิล (กริยา) นั้น   คือถ้อยคำที่ชี้ถึงความหมายตัวมันเอง โดยเกี่ยวข้องกับกาลเวลาทั้งสาม คือ เวลาอดีต , ปัจจุบัน , และอนาคต

การกระทำที่ชี้ถึง

1. เวลาอดีต فعل ماض (ฟิอิลมาฏี)   เช่น قَامَ  (กอม่า) "เขาได้ยืนแล้ว"  , نَصَرَ  (นะซ่อร่อ) "เขาได้ช่วยเหลือแล้ว"

2. เวลาปัจจุบัน فعل المضارع (ฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺ)  เช่น يَقُوْمُ  (ยะกูมู่) "เขากำลังยืน" , يَنْصُرُ  (ยันซู่รู่) "เขากำลังช่วยเหลือ"

3. เวลาอนาคตที่อยู่ในความหมายของคำสั่ง فعل الأمر (ฟิอิลอะมัร)  เช่น قُمْ (กุม) "ท่านจงยืน" , أُنْصُرْ (อุนซุ๊ร) "ท่านจงช่วยเหลือ"

يُعرَفُ มันจะถูกรู้จัก  หมายถึง  ฟิอิลจะถูกรู้จักและมีข้อแยกแยะที่แตกต่างจากอิเซม(คำนาม) และฮุรุฟ(อักษรที่ให้ความหมาย) ด้วยบรรดาเครื่องหมายต่าง ๆ  มากมาย  ส่วนหนึ่งก็คือ

بقد ด้วยคำว่า ก๊อดดฺ (แปลว่า แท้จริง , บางครั้ง) หมายถึง  ด้วยเหตุที่ "ก๊อดดฺ" قَدْ  มีความเหมาะสมที่จะเข้าข้างหน้าฟิอิล   และคำว่า "ก๊อดดฺ" قَدْ  จะมาอยู่ข้างหน้า فعل ماض ฟิอิลมาฏีย์และ فعل المضارع ฟิอิลมุฏอเรียะอฺ   

1.   "ก๊อดดฺ" قَدْ  ที่อยู่ข้างหน้า ฟิอิลมาฏีย์  เช่น
-   "ก๊อดดฺ" قَدْ  ที่ให้ความหมายของ التَّقْرِيْبُ (อัตตักรีบ)  ให้ความหมายถึง การใกล้เข้ามา  เช่น  قَدْ قَامَتِ الصَّلاةُ  "ใกล้จะทำการละหมาดแล้ว"

-  "ก๊อดดฺ" قَدْ  ที่ให้ความหมายของ التَّحْقِيْقُ (อัตตะห์กีก) ให้ความหมายถึง  การตอกย้ำ , แน่นอน , แท้จริง ,  เช่น  قَدْ جَاءَ زَيْدٌ  "แท้จริงเซดได้มาแล้ว"  และ قَدْ صَدَقَ مُحَمَّدٌ  "แท้จริงมุฮัมมัดนั้นได้พูดสัจจริง"

2.   "ก๊อดดฺ" قَدْ  ที่อยู่ข้างหน้า ฟิอิลมาฏีย์  เช่น
-   "ก๊อดดฺ" قَدْ  ที่ให้ความหมายของ التَّقْلِيْلُ (อัตตักลีล) ให้ความหมายถึง  สิ่งที่เกิดขึ้นน้อย  ไม่บ่อยครั้ง  เช่น  قَدْ يَصْدُقُ الْكَذُوْبُ  "บางครั้งคนจอมโกหกนั้นพูดความจริง"

-  "ก๊อดดฺ" قَدْ  ที่ให้ความหมายของ التَّحْقِيْقُ (อัตตะห์กีก) ให้ความหมายถึง การตอกย้ำ , แน่นอน , แท้จริง ,  แต่จะมีน้อยมากที่ก๊อดดฺประเภทนี้จะเข้าอยู่ข้างหน้าฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺเพราะส่วนมากจะเข้าข้างหน้าฟิอิลมาฏีย์   เช่น قَدْ يَعْلَمُ اللهُ  "แท้จริงอัลเลาะอ์ทรงรู้"  เป็นต้น

والسِّين ซีน (แปลว่าต่อไป)  อักษรซีนนี้จะเอาอยู่ข้างหน้าฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺเท่านั้น  ซึ่งให้ความหมายว่าต่อไป  เช่น سَيَقُوْلُ السُّفَهَاءُ  "ต่อไปบรรดาผู้โฉดเขลาจะพูดว่า.."

وسَوف เซาฟ่า (แปลว่าต่อไปเช่นกัน)  คำว่า เซาฟ่า จะเอาอยู่ข้างหน้าฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺเท่านั้น  ซึ่งให้ความหมายว่าต่อไปแต่จะต่อไปนานมากว่า "ซีน"  เช่น سَوْفَ تَعْلَمُوْنَ  "ต่อไปพวกท่านจะได้รู้" (ถึงเหตุการณ์ในวันกิยามะฮ์ เป็นต้น) 

ข้อควรรู้ : ตัว "ซีน" และ "เซาฟ่า"  นั้น  เขาเรียกว่า  حَرْفُ التَّنْفِيْسِ  (ฮุรูปตันฟีซ)

وتاء التأنيث الساكنة. ตาอฺที่ชี้ถึงความหมายผู้หญิงกระทำ ที่มีเครื่องหมายสุกูนต่อท้าย  ซึ่งตานี้จะต่อท้ายฟิอิลมาฏีย์เท่านั้น  เช่น  قَامَتْ هِنْدٌ  "ได้ยืนแล้วโดยฮินดฺ"

อธิบายเพิ่มเติม

ตามที่ทราบมาแล้วข้างต้นว่า  ฟิอิลนั้นแบ่งออกเป็นสามประเภท

1.   (ฟิอิลมาฏี)فعل ماض สามารถรู้จักได้ ด้วยการเข้าตา ตะนิษอัสสากินะฮ์  ตาอฺที่ชี้ถึงความหมายผู้หญิงกระทำ  ตามที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว  และส่วนหนึ่งจาก ฟิอิลมาฏีย์ ก็คือ  คำว่า  نِعْمَ  (เนี๊ยะอฺม่า)  ซึ่งอยู่ในความหมายของการสรรเสริญ , คำว่า بِئْسَ  (บิอฺซ่า)  ซึ่งอยู่ในความหมายของการตำหนิ  , คำว่า لَيْسَ  (ลัยซ่า)  ซึ่งอยู่ในความหมายของการปฏิเสธ ,  คำว่า عَسَى  (อะซา) ซึ่งอยู่ในความหมายของการหวัง  ดังนั้น  ทั้งสี่คำนี้ถือว่าเป็นฟิอิลมาฏีย์ เพราะว่าทั้งหมดสามารถรับตาตะนิษอัสสากินะฮ์ได้นั่นเอง   เช่น

نِعْمَتِ المَرْأةُ هِنْدٌ   "ผู้หญิงที่ดีเลิศคือฮินด์" 

بِئْسَتِ المَرْأةُ حَمّاَلَةُ الحَطَبِ  "ผู้หญิงที่เลว หรือผู้หญิงที่แบกฟืน(คอยใส่ร้ายผู้อื่น)"

لَيْسَتْ هِنْدٌ مُفْلِحْةً  "ฮินด์นั้นไม่ใช่เป็นผู้สำเร็จ"

عَسَتْ هِنْدٌ أَنْ تُفْلِحَ "เผื่อว่าฮินด์นั้นเป็นผู้สำเร็จ"

สรุปที่จะเอาตรงนี้ก็คือ  ฟิอิลต่าง ๆ เหล่านี้  เป็นฟิอิลมาฏีย์  เพราะว่ามันสามารถรับตาตะนิษอัสสากินะฮ์ได้นั่นเองครับ

2.   ฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺ فعل المضارع  ได้รู้จักได้ด้วยการที่  لَمْ  เข้ามาอยู่ข้างหน้าฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺ  เช่น لَمْ يَقُمْ  "เขาไม่ได้ยืนเลย"  และฟิอิลมุฏอเรียะอฺนี้  จะมีอักษร المُضَارَعَةُ (มุฏอร่ออะฮ์)อยู่ข้างหน้า  คือ อักษร أ ฮัมซะฮ์ , อักษร ي  ยาอฺ , อักษร ت  ตาอฺ , และอักษร ن  นูน ,

ดังนั้น หากฟิอิลมาฏีย์ มีสี่อักษร แน่นอนว่า จะถูกอ่านฏ๊อมมะฮ์ข้างหน้าฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺ  เช่น

ฟิอิลมาฏี  دَحْرَجَ  ฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺอ่านว่า  يُدَحْرِجُ 
ฟิอิลมาฏี  أَكْرَمَ    ฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺอ่านว่า  يُكْرِمُ 
ฟิอิลมาฏี  فَرَّجَ    ฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺอ่านว่า  يُفَرِّجُ
ฟิอิลมาฏี  قَاتَلَ    ฟิอิลมุฏอเร๊ยะอฺอ่านว่า  يُقَاتِلُ

และถ้าหากฟิอิลมาฏีย์ไม่ใช่มีสี่อักษร คือมีสาม , ห้า , และหกอักษร  ก็ให้อ่านฟัตตะฮ์ข้างหน้าของฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺครับ  เช่น

ฟิอิลมาฏี  نَصَرَ   ฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺอ่านว่า  يَنْصُرُ 
ฟิอิลมาฏี   إِنْطَلَقَ  ฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺอ่านว่า  يَنْطَلِقُ 
ฟิอิลมาฏี   إِسْتَخْرَجَ  ฟิอิลมุฏอเรี๊ยะอฺอ่านว่า  يَسْتَخْرِجُ

3. ฟิอิลอะมัร فعل الأمر  จะถูกรู้จักด้วยการกระทำที่บ่งชี้ถึงคำสั่ง  เช่น إِضْرِبْ  "ท่านจงตี"  และฟิอิลอะมัรสามารถรับ ياء المخاطبة ยาอัลมุคอฏ่อบะฮ์ได้ (คือยาที่บ่งชี้ถึงสตรีที่เป็นบุรุษที่สอง) เช่น قُوْمِىْ  "เธอจงยืน"  และ إِضْرِبِيْ  "เธอจงตี"

และส่วนหนึ่งจากฟิอิลอะมัรนั้น คือคำว่า  هَاتِ  แปลว่า "ท่านจงนำมาซิ"  และคำว่า تَعَالَ "ท่านจงเข้ามาซิ"  เช่น هَاتِ يَا زيْدُ  "ท่านจงนำมาซิ โอ้ เซด"  และ تَعَالَ يا عُمَرُ  "ท่านจงเข้ามาซิ  โอ้ อุมัร"

والحرفُ   และอักษรนั้น

ما لا يَصلُحُ معه دليلُ الاسم  คือสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่จะอยู่พร้อมกับมัน โดยสิ่งที่บ่งชี้ถึงนาม(อีเซม)  ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

ولا دليل الفعل และไม่มีสิ่งที่บ่งชี้ถึงกริยา(ฟิอิล) ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

เช่นคำว่า هَلْ  (ชี้ถึงความหมายคำถาม) คำว่า لَمْ  (ชี้ถึงความหมายปฏิเสธ)  คำว่า فِىْ  (แปลว่า ใน) เป็นต้น  ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่มีเครื่องหมายของอีเซม(คำนาม)และเครื่องหมายของฟิอิล(คำกริยา)เลย

วัลลอฮุอะลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ค. 30, 2007, 03:22 AM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ JuyA

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 107
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: ก.ค. 29, 2007, 10:07 PM »
0
อัสลามูอาลัยกุม

 ตอนอวสาน  มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1) แล้วน่ะคับ   ;D ;D เริ่มเลยน่ะ

     
والفعلُ       ฮูรูฟ วาวนั้น สามารถที่จะ الإعراب  ได้ 2 แบบ คือ

1. วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และ الفعلُ ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ  คือ     فالاسم ก่อนหน้านี้   ที่รอบอุน ดังนั้น الفعلُ จึงต้อง รอบอุนด้วย สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็นคำนามเดี่ยว
2. วาว นั้นเป็นวาว  ลิลอิสติสนัฟ เป็นวาวที่ใช้เริ่มต้นประโยค  الفعلُ เป็นมุฟตาดาซึ่งมีอามีล คือ อามีลอิบติดาอ์ ซึ่งต้องรอฟอุน สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์เพราะเป็น คำนามเดี่ยว(อีเซม เดี่ยว)



يُعرَفُ        เป็น الفعل المضارع  มับนิยุน ลิล มัจฮูล คือ จะเป็น الفعل المضارع ที่ไม่ทราบผู้กระทำ และ  يُعرَفُ ซึ่งต้องรอฟอุน เพราะปราศจากอามีล ญาซัม และอามิล นาซับ  สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์เพราะเป็น الفعل المضارع  ที่ไม่ต่อท้ายด้วยพยัญชนะอื่น เรียกว่า
لم يتصل بآخره شيء الفعل المضارع الذي     นั้นเอง  ส่วนผู้กระทำ(ประธาน)ใน يُعرَفُ นี้ก็คือ นาอีบุน ฟาอีล ที่ มุสตาเตร (ซ่อน)  ตักดีร ก็คือ هو ที่เป็นสรรพนามแทนที่  الفعلُ
 ประโยคตั้งแต่ ฟิอิลและนาอีบุนฟาอีล นั้นก็จะเป็นคอบัร



بقد       บา คือหุรุฟ คอฟัตหรือหุรุฟ ญัรรี หมายถึง อักษรที่มีอำนาจ (อามีล)ทำให้ตัวที    หลังจากตัวเขา(มัจรูร)นั้นต้องอ่านแบบ ญัร แต่ในที่นี่قد  นั้นเป็น คำ มับนิยนที่ ซูกูน
         จึงทำได้แค่การเเทนที่ตรง ญัร   แต่เพราะว่านามมับนิยุน จึงไม่ปรากฏการ  الإعراب   

 

والسِّين      วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และالسِّين ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ ก็คือ     قد และ السِّين  นั้น เป็นมะอ์ตูฟ ที่ ญัรริน ดังนั้น  السِّين จึงต้อง ญัร ด้วย  มีสัญลักษณ์คือกัสรอฮุ เพราะเป็น นามเดี่ยว
  **** สังเกตว่า  السِّين มี อาลิฟ ลาม จะเป็น  ال ที่เรียกว่า    คืออะลีฟ อัลอะฮ์ดี้ย์ العهد  หมายถึงอะลีฟลามที่บ่งชี้ถึงถ้อยคำที่รู้กันดี (ตามที่ แบ อัลอัฮฯได้อธิบายก่อนหน้านี้) ในที่นี้จะเป็นการบอกว่า سِّين นั้นไม่ได้เป็น سِّين  ที่เป็นพยัญชนะ ******


وسَوف   วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และسَوف  ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ ก็คือ     قد  และ سَوف  นั้น เป็นเป็น คำ มับนิยนที่ ฟัตตะห์ 
จึงทำได้แค่การเเทนที่ตรง ญัร   แต่เพราะว่านามมับนิยุน จึงไม่ปรากฏการ  الإعراب


وتاء التأنيث الساكنة  วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และتاء ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ ก็คือ     قد  และتاء   นั้น จะเป็นมูดอฟอีกหนึ่ง โดยจะมี  التأنيث  เป็นมูดอฟุนอีลัยฮุ ซึ่งต้อง ญัร มีสัญลักษณ์คือกัสรอฮุ เพราะเป็น นามเดี่ยว  ส่วน الساكنة นั้นเป็น ซีฟัตหรือนาอัตของ  التأنيث ซึ่งต้อง ญัร มีสัญลักษณ์คือกัสรอฮุ เพราะเป็น นามเดี่ยว
   



 والحرف    วาวนั้น สามารถที่จะ الإعراب  ได้ 2 แบบ คือ

1. วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และ الحرف ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ  คือ     فالاسم ก่อนหน้านี้   ที่รอบอุน ดังนั้น الحرف จึงต้อง รอบอุนด้วย สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็นคำนามเดี่ยว
2. วาว นั้นเป็นวาว  ลิลอิสติสนัฟ เป็นวาวที่ใช้เริ่มต้นประโยค  الحرف เป็นมุฟตาดาซึ่งมีอามีล คือ อามีลอิบติดาอ์ ซึ่งต้องรอฟอุน สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์เพราะเป็น คำนามเดี่ยว(อีเซม เดี่ยว)


ما لا يَصلُحُ معه دليلُ الاسم  หูรุฟ  ما นั้นเป็น นาม นากีเราะห์ เมาซูฟะห์ (อีเซม เมาซูล) เป็นคอบัร ของแนวคิดที่บอกว่า  الحرف เป็นมุบตาดา  และ ماนั้นเป็นคำมับนิยนที่ ซูกูน ไปแทนที่ของ รอฟอุน   แต่เพราะว่านามมับนิยุน จึงไม่ปรากฏการ  الإعراب  และ  لا นั้นเป็น لا นาฟียะห์ (ปฎิเสธ) 

 ส่วน يَصلُحُ เป็นเป็น الفعل المضارع  ต้องรอฟอุน เพราะปราศจากอามีล ญาซัม และอามิล นาซับ  สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์เพราะเป็น الفعل المضارع  ที่ไม่ต่อท้ายด้วยพยัญชนะอื่น เรียกว่า
لم يتصل بآخره شيء الفعل المضارع الذي 

ส่วน معه   นั้นเป็น ซอรัฟ มากาน ที่ต้อง มันซูบุน สัญลักษณ์ของ นัสบุน ตรงนี้คือ ฟัตตะห์  และ مع นั้นเป็นมูดอฟส่วน หุรุฟ  ฮาอ์ (ه) นั้นเป็นดอมีร ซึ่งมับนิยน ที่ดอมมะห์ ไปแทนที่ของ ญัร เพราะทำหน้าที่เป็นมูดอฟุนอีลัยอุ นั้นเอง
دليلُ นั้นเป็น ฟาอิล (ผู้กระทำ) ของคำว่า  يَصلُحُ  ต้องรอฟอุน ซับ  สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็น นามเดี่ยว  และประโยคตั้งแต่ ฟิอิลถึง ฟาอิล ที่ไปแทนที่รอบอุน  ก็จะเป็น นาอัตของ ของคำว่า  ما

 ولا دليل الفعل      วาวนั้นเป็น หุรุฟ อะตัฟ และ لا นั้น เป็น  นาฟียะห์ (ปฎิเสธ)  และ دليل  ِนั้นเป็น มะอ์ตูฟ  และมะอ์ตูฟุนอาลัยฮุ ก็คือ     دليل ในคำก่อนหน้านี้ และเป็นรอบอุน ดังนั้น دليل ก็ต้องรอบอุนด้วย  สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็น นามเดี่ยว   และ  دليل  นั้นจะเป็นมูดอฟ ด้วย โดยจะมีคำว่้า  الفعل เป็นมูดอฟุนอิลัยฮุ ซึ่งต้อง ญัร สัญลักษณ์ของการ ญัร คือ กัสรอฮุ เพราะเป็นอีเซม เดี่ยว
   วัลลอฮุอะลัม




          ปล. ม่ายเข้าจายการ الإعراب  ตรงไหนถาม แบอัลอัฮฯ กับ แบนูรุลฯ น่ะ  ;D ;D ;D ;D  เพราะจูยา ก็ الإعراب  แบบงั้นๆเอง (บ้านๆ)

                           แต่อย่าพึ่งท้อล่ะ  ;D ;D ;D  การที่จะเป็นผู้อาลิม ในวิชานั้น ข้อหนึ่งมันต้องใช้เวลา ;D ;D ;D
อีหม่านที่ซอเเฮะห์  อามาลที่ซอและห์

ออฟไลน์ JuyA

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 107
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: ก.ค. 29, 2007, 10:20 PM »
0
อัสลามูอาลัยกุม
     

แง้ แง้ แง้ ตกการالإعراب  อยู่นิดนึง จากประโยค   ما لا يَصلُحُ معه دليلُ الاسم  จะตก الإعراب 
      دليلُ الاسم 

งั้นเริ่มใหม่น่ะคับ ما لا يَصلُحُ معه دليلُ الاسم
  หุรุฟ  ما นั้นเป็น นาม นากีเราะห์ เมาซูฟะห์ (อีเซม เมาซูล) เป็นคอบัร ของแนวคิดที่บอกว่า  الحرف เป็นมุบตาดา  และ ماนั้นเป็นคำมับนิยนที่ ซูกูน ไปแทนที่ของ รอฟอุน   แต่เพราะว่านามมับนิยุน จึงไม่ปรากฏการ  الإعراب  และ  لا นั้นเป็น لا นาฟียะห์ (ปฎิเสธ) 

 ส่วน يَصلُحُ เป็นเป็น الفعل المضارع  ต้องรอฟอุน เพราะปราศจากอามีล ญาซัม และอามิล นาซับ  สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์เพราะเป็น الفعل المضارع  ที่ไม่ต่อท้ายด้วยพยัญชนะอื่น   
   

 ا

ส่วน معه  นั้นเป็น ซอรัฟ มากาน ที่ต้อง มันซูบุน สัญลักษณ์ของ นัสบุน ตรงนี้คือ ฟัตตะห์  และ مع นั้นเป็นมูดอฟส่วน หุรุฟ  ฮาอ์ (ه) นั้นเป็นดอมีร ซึ่งมับนิยน ที่ดอมมะห์ ไปแทนที่ของ ญัร เพราะทำหน้าที่เป็นมูดอฟุนอีลัยอุ นั้นเอง
دليلُ นั้นเป็น ฟาอิล (ผู้กระทำ) ของคำว่า  يَصلُحُ  ต้องรอฟอุน ซับ  สัญลักษณ์ของรอฟอุนตรงนี้ก็คือดอมมะห์ เพราะเป็น นามเดี่ยว  และประโยคตั้งแต่ ฟิอิลถึง ฟาอิล ที่ไปแทนที่รอบอุน  ก็จะเป็น นาอัตของ ของคำว่า  ما     และ  دليل  นั้นจะเป็นมูดอฟ ด้วย โดยจะมีคำว่้า  الاسم เป็นมูดอฟุนอิลัยฮุ ซึ่งต้อง ญัร สัญลักษณ์ของการ ญัร คือ กัสรอฮุ เพราะเป็นอีเซม เดี่ยว
       ;D ;D ;D
 วัลลอฮุอะลัม


อีหม่านที่ซอเเฮะห์  อามาลที่ซอและห์

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: ก.ค. 29, 2007, 10:32 PM »
0
ัยังไม่อวสานนะครับ น้อง JuYa ยังมีตบท้ายด้วยเกล็ดความรู้อีกสักนิดน่ะ  ;D
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ JuyA

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 107
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: ก.ค. 29, 2007, 11:05 PM »
0
ัยังไม่อวสานนะครับ น้อง JuYa ยังมีตบท้ายด้วยเกล็ดความรู้อีกสักนิดน่ะ  ;D

      เชิญเลยคับ แบ เอาแบบเยอะๆ ก้อด้ายยยยย   ;D ;D ;D ;D
อีหม่านที่ซอเเฮะห์  อามาลที่ซอและห์

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #39 เมื่อ: ก.ค. 30, 2007, 05:49 PM »
0
หลังจากเราได้เรียนรู้ถึง อีเซม(นาม) , ฟิอิล(กริยา) และ ฮุรูฟ  มาแล้ว   ต่อไปนี้เราก็เราสมควรรู้จักคำอีกชนิดหนึ่ง  ที่รวมไว้ซึ่ง  อีเซมกับฟิอิล  ซึ่งเขาเรียกว่า  อิเซมฟิอิล   "นามกริยา"

أَسْمَاءُ الأَفْعَالِ  (บรรดาอีเซมฟิอีล)

อีเซมฟิอิล  หมายถึง  คำที่คล้ายกับอีเซมเพราะมันมับนีย์ (คงสระตัวสุดท้ายโดยไม่เปลี่ยนแปลง) และมันคล้ายกับฟิอิลเพราะพร้อมกับบ่งชี้ถึงการกระทำ

อีเซมฟิอิลมี 3 ประเภท

1. อีเซมฟิอิลมาฏี إسم فعل ماض  คือทุก ๆ อีเซมฟิอีลที่บ่งชี้ถึงความหมายของฟิอิลมาฏีย์ และไม่รับเครื่องหมายใด ๆ ของฟิอิลมาฏีย์

هَيْهَاتَ  (ฮัยฮาต้า)  หมายถึง بَعُدَ  "เขาได้ห่างไกล"  เช่น هَيْهَاتَ هَيْهَاتَ لِمَا تُوْعَدُوْنَ  "ช่างแห่งไกล (จากความจริง) ช่างห่างไกล (จากความจริง) สำหรับสิ่งที่พวกท่านถูกสัญญา" อัลมุอฺมินูน 36

شَتَّانَ  (ชัตตา)  หมายถึง  إِفْتَرَقَ  "ได้แยกห่างออกจากกัน"   เช่น  شَتَّانَ زَيْدٌ وَعَمْروٌ "ได้แยกออกห่างจากกันโดยเซดและอัมร์"

2. อีเซมฟิอิลมุฏอเรียะอฺ  إسم فعل مضارع  คือทุก ๆ อีเซมฟิอิลที่บ่งชี้ถึงความหมายของฟิอิลมุฏอเรียะอฺและไม่รับเครื่องหมายใด ๆ ของอิฟิลมุฏอเรี๊ยะอฺ

أَهَا  (อาฮา) หมายถึง  أَتَحَسَّرُ  "ฉันกำลังโศรกเศร้า"

أَهِ  (อาฮี้)  หมายถึง  أَتَوَجَّعُ  "ฉันกำลังเจ็บปวด"

فَقَطْ  (ฟ่าก๊อฏ) ซึ่งเดิมแล้วอ่านว่า قَطُّ (ก๊อฏ) แต่ตัว ฟา ف  ที่เพิ่มข้างหน้านั้น เพื่อความสวยงาม التَّحْسِيْنُ (อัตตะห์ซีน) หมายถึง  يَكْفِىْ  "เพียงพอ"  เช่น  مَا قَالَ لا قَطُّ إلاّ فِى تَشهُّدِهِ  "สิ่งเขาที่กล่าวนั้นยิ่งไม่เพียงพอนอกจาก(ต้องกล่าว)ในตะชะฮุดของเขาด้วย"

بَجَلْ  (บะญัล)  หมายถึง يَكْفِىْ  "เพียงพอ"  เช่นท่านกล่าวว่า جَبَلِىْ  (ญะบะลี) หมายถึง يَكْفِيْنِىْ  "มันได้เพียงพอกับฉัน"

أُفٍّ  (อุฟฟิน) หรืออ่านว่า  أُفْ  (อุฟ)  หมายถึง  أَتَضَجَّرُ  "ฉันเบื่อหน่าย"

 بَخْ بَخْ  (บัค บัค) หมายถึง أَسْتَحْسِنُ "ฉันถือว่าดี"  (ให้ความหายถึงการสรรเสริญหรือพอใจสิ่งหนึ่ง ๆ)

وَىْ  (วัย)  หมายถึง  أَتَعَجَّبُ  "ฉันกำลังรู้สึกแปลกใจ"  หรือ أَتَنَدَّمَ  "ฉันรู้สึกเศร้าใจ"  หรือ أَتَفَجَّعُ  "ฉันรู้สึกเป็นทุกข์โศรก"   

3. อีเซมฟิอิลอะมัร  إسم فعل الأمر  คือทุก ๆ อีเซมฟิอิลที่บ่งชี้ถึงความหมายของฟิอิลอะมัรและไม่รับเครื่องหมายใด ๆ ของอิฟิลอะมัร

حَيَّهَلْ  (หัยยะฮัล) หมายถึง  أَقْبِلْ  "ท่านจงตอบรับ"

حَيَّ  (หัยยะ) หมายถึง أَقْبِلْ  "ท่านจงตอบรับ"

هَيَّا  (ฮัยยา)  หมายถึง  أَسْرِعْ  "ท่านจงรีบ"

هَيْتَ (ฮัยต้า)  หมายถึง تَعَالَ   "จงเข้ามาซิ"

هَلُمَّ  (ฮะลุ่มม่า)  หมายถึง تَعَالَ   "จงเข้ามาซิ"

صَهْ (เซาะฮ์)  หมายถึง  أُسْكُتْ  "ท่านจงนิ่ง"

مَهْ  (มะฮ์)  หมายถึง  أُكْفُفُ  "ท่านจงหยุดยั้ง"

لَدَيْكَ  (ล่าดัยก้า) หมายถึง  خُذْ  "ท่านจงเอา"

إِلَيْكَ  (อิลัยก้า) หมายถึง خُذْ  "ท่านจงเอา"

بَلْهَ  (บัลฮ้า)  หมายถึง  أُتْرُكْ  "ท่านจงละทิ้ง"

عَلَيْكَ  (อะลัยก้า)  หมายถึง  إِلْزَمْ  "ท่านจงปฏิบัติอย่างเคร่งครัดหรือท่านจงมั่น"
 
فَقَطْ  (ฟ่าก๊อฏ)  หมายถึง    أَنْتَهِ  "ท่านจงเพียงพอได้แล้วหรือท่านจงหยุดยั้งได้แล้ว"

أمِيْنُ    (อามีน)  หมายถึง  إِسْتَجِبْ  (อิสตะญิบ)  "โปรดจงตอบรับ"

رُوَيدَ  (รู่วัยด้า)  หมายถึง  أَمْهِلْ  "ท่านจงช้า ๆ " 

دُوْنَك  (ดูนั๊ก)    หมายถึง خُذْ  "ท่านจงเอา"

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #40 เมื่อ: ก.ค. 30, 2007, 07:53 PM »
0
السلام عليكم ورحمة الله وبركاته

บทที่หนึ่งหรือตอนที่หนึ่ง  ได้ผ่านได้ด้วยดี  อัลฮัมดุลิลลาฮ์  จริง ๆ แล้วยังมีอะไรเสริมอีกเยอะ  แต่ผมคิดว่าเพียงพอแล้วสำหรับการอธิบายมะตันอัลอะญูรรูมียะฮ์   อินชาอัลเลาะฮ์  ต่อ ๆ ไป  บทที่หนึ่งนี้  ก็จะอธิบายเสริมเพิ่มยกระดับขึ้นไปอีก   เช่น  ประเภทของตันวีน มีอะไรบ้าง   การใช้ฮุรุฟสาบานหรือคำสาบานมีอะไรบ้างและมีหลักการอะไรบ้าง   อักษรตัว บาอฺ  มีทั้งบาอฺเพิ่มและบาอฺไม่เพิ่ม   และอื่น ๆ อีกมากมายที่เราสามารถจะดึงมาอธิบายจากมะตันอัลอะญูรูมียะฮ์ในบทแรกนี้    และขอให้พี่น้องช่วยขอดุอาอ์ให้แก่เรา  ได้มีโอกาสนำเสนอความรู้มาก ๆ ขึ้นไปให้แก่พี่น้องด้วยนะครับ 

والسلام
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ colidlayla

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 111
  • Respect: -1
    • ดูรายละเอียด
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #41 เมื่อ: ส.ค. 10, 2007, 06:25 PM »
0
อัสลามมูอาลัยกุม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #42 เมื่อ: ส.ค. 10, 2007, 06:51 PM »
0
อัสลามมูอาลัยกุม

วะอะลัยกุมุสลามวะเราะห์มะตุลลอฮ์วะบะรอกาตุฮ์

أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ sunnah`student

  • เพื่อนแรกพบ (^^)/
  • *
  • กระทู้: 7
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #43 เมื่อ: พ.ย. 13, 2007, 01:30 PM »
0
อัสลามุอะลัยกุ้มวะเราะห์มะตุลลอฮ์วะบารอกาตุฮ์

นี้คือไฟล์เสียง  ของมะตั่นอัลอะญัรรูมียะฮ์บทที่ 1 ครับ  เข้าไปโหลดได้เลยครับ

http://www.savefile.com/files/1183607

แล้วหลังจากนั้น  ก็มองไปที่ด้านล่างสุดเบี่ยงขวา  จะพบสี่เหลี่ยมสี่ส้ม(แกมน้ำตาล) ที่เขียนว่า  DOWNLOAD FILE   แล้วก็คลิ๊ก   มันก็จะปรากฏอีกหน้าหนึ่ง   หลังจากนั้นก็ไปดูที่ข้อความด้านล่างตรงกลางที่ว่า

Your download should begin shortly.
If it does not, try Download file now

แล้วคลิ๊กโหลดที่ Download file now ได้เลยครับ  แล้วมันจะโหลดให้ 

วัสลาม

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
Re: มะตันอัลอะญัรรูมียะฮ์ (ตอน1)
« ตอบกลับ #44 เมื่อ: พ.ย. 13, 2007, 05:16 PM »
0
การแปลบทที่หนึ่งนี้  มีรายละเอียดมากกว่า อธิบายในไฟล์เสียงกว่าเสียอีก ^^
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

 

GoogleTagged