ผู้เขียน หัวข้อ: พรุ่งนี้ อีดหก อิดิลซิตต้า รายอแน พวกเราไปละหมาดที่ไหนกันบ้าง...............  (อ่าน 5313 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 :salam:

ได้ถามผู้รู้ที่อยู่ภาคใต้ตอนล่างแล้วครับ  เขาบอกว่า  เป็นเพียงกุศโลบายให้คนมุสลิมทั่วไปบวชหกให้ครบอย่างต่อเนื่องเท่านั้นเอง
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ anti-bid'ah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 839
  • ไม่รู้ อย่าเสือกชี้
  • Respect: +29
    • ดูรายละเอียด
“รายอแน” ระหว่างวัฒนธรรมชุมชนกับศาสนพิธี

อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก ดินอะ)

ฝ่ายวิชาการโครงการพัฒนาเครือข่ายตำบลสุขภาวะจังหวัดชายแดนใต้

อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณ

ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ

อ.จะนะ  จ.สงขลา         

Shukur2003@yahoo.co.uk

http://www.oknation.net/blog/shukur

 

  "มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัล ลอฮฺ (สุบหานะฮูวะตะอาลา) ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลกขอความจำเริญและสันติจงประสบแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน"

 

“รายอแน” เป็นประเพณีอย่างหนึ่งของชาวมลายูมุสลิมส่วนใหญ่ใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่อดีต ซึ่งเป็นประเพณี แม้ไม่มีระบุในคำสอนของศาสนาก็คือ จะถือโอกาสนี้เฉลิมฉลองกันอีกครั้ง มีการทำอาหารเลี้ยงกัน ทำบุญอุทิศส่วนกุศลแด่บรรพบุรุษที่เสียชีวิต เยี่ยมกุโบร์ (สุสาน) ทำความสะอาดกุโบร์ และอ่านอัลกุรอาน

 มุสลิมมลายูที่นี่เรียกวันนี้ว่า “รายอแน”

 

 ในปีนี้วันรายอแนตรงกับวันที่  6 ก.ย. เหตุที่เรียกว่า “รายอแน” มาจากภาษามลายู เพราะ “แน” แปลว่า “หก” หมายถึงการถือศีลอดเพิ่มอีก 6 วันในเดือนเชาวาลนั่นเอง และเป็นสิ่งที่พี่น้องมลายูมุสลิมปฏิบัติสืบเนื่องกันมากระทั่งถึงทุกวันนี้

 

 สำหรับอาหารที่รับประทานกันมากในวันนี้ก็คือ “ตูป๊ะ” เป็นหนึ่งในเมนูอาหารประจำเทศกาลฮารีรายอ

 

 “ตูป๊ะ” หรือ “ตูปัต” คือข้าวต้มใบกะพ้อ มีลักษณะคล้ายข้าวต้มมัด แต่นิยมห่อด้วยใบกะพ้อหรือใบจากเป็นรูปสามเหลี่ยม มักจะทำกันในวันก่อนรายอหนึ่งวัน โดยนำใบกะพ้อซึ่งควรใช้ยอดใบที่ยังไม่กางมาสานเป็นลูก ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีสามมุม จากนั้นนำข้าวเหนียวขาวหรือข้าวเหนียวดำที่ผัดกับน้ำกะทิ น้ำตาล และเกลือ จะใส่ถั่วขาวหรือถั่วดำเพื่อความอร่อยยิ่งขึ้นก็ได้ มาห่อด้วยใบกะพ้อเป็นรูปสามเหลี่ยม แล้วนึ่งจนสุก ก็จะเป็น “ตูป๊ะ” ที่เหนียวนุ่มละมุนลิ้น

 

 วิธีรับประทานจะจิ้มกับแกงหรือหยิบใส่ปากเปล่าๆ ก็ได้ เพราะอร่อยไม่แพ้กัน

 

นอกจากตูป๊ะแล้ว รายอแนยังมีขนมจีน หรือ “ละซอ” เป็นอีกหนึ่งเมนูที่หลายบ้านชอบทำ เพราะเตรียมง่าย แค่ซื้อเส้นขนมจีน ปรุงน้ำยาพริก น้ำยาไตปลา เคียงด้วยผักสด ก็ได้อิ่มอร่อยกันแล้ว

 

ที่จะขาดไม่ได้ก็คือ “ข้าวหมาก” หรือ “ตาแป” ใครไปใครมาต้องยกออกมารับแขก ยิ่งสมัยนี้มีทั้งโรตีปาแย ก๋วยเตี๋ยวต่างๆ ขึ้นกับความชอบและความสะดวกของแต่ละบ้าน หากแต่ต้องมี “ตูป๊ะ” เป็นเสมือนเครื่องเคียง

 

 

 

ทำไม มุสลิมมลายูมุสลิมชายแดนใต้จึงจัดให้มีรายอแน ทั้งๆที่ไม่มีระบุในหลักศาสนาหรือวิถีวัฒนธรรมของชาวอาหรับ หรือชุมชนมุสลิมประเทศอื่น

ครับ ผู้เขียนมีทัศนะว่านี่น่าจะเป็นอุบายหรือเป็นความชาญฉลาดของผู้รู้ในอดีตที่เป้าประสงค์หลายประการดังนี้

๑. ต้องการให้คนในหมู่บ้านได้ถือศีลอด หกวัน หลังรอมฎอน เพราะการถือศีลอดในหกวันของเดือนรอมฎอนนั้น ท่านศาสนทูตสนับสนุน ซึ่งท่านได้กล่าวไว้

“ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน แล้วเขาได้ถือศีลอดต่ออีกหกวันในเดือนเชาวาล นั่นเสมือนกับว่าเขาได้ถือศีลอดถึงหนึ่งปี” (รายงานโดยมุสลิม 1164)

เหล่าอุละมาอ์ได้ให้เหตุผลว่า ที่เป็นเช่นนั้นเพราะการทำความดีจะถูกคูณด้วยสิบ การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนหนึ่งเดือนจะเท่ากับสิบเดือน การถือศีลอดอีกหกวันในเดือนเชาวาลจะเท่ากับหกสิบวันหรือสองเดือนที่เหลือ ดังนั้นก็จะเป็นการถือศีลอดครบหนึ่งปีอย่างสมบูรณ์ (ดู บทอธิบายของอิมาม อัน-นะวะวีย์ ต่อเศาะฮีหฺมุสลิม 8:56)

 โต๊ะครูในอดีต จึงนัดชาวบ้านทำอาหาร เพื่อขอบคุณพระเจ้าที่เขาและชุมชนโดยเฉพาะคนแก่ๆสามารถถือศีลอดเต็มหกวัน ซึ่งไม่ใช่ง่ายเช่นกันที่แต่ละคนจะทำได้ และ จึงเรียกวันวันนั้นว่า รายอแน เป็นคำเรียกด้านภาษา มิใช่รายอ หรือความหมายตามศาสนบัญญัติซึ่งในอิสลามมีเพียงสองวันเท่านั้น คือ อิดิลฟิตร และอีดิลอัฎฮา 

โดยท่านศาสนฑูตมูฮัมมัด ได้กล่าวไว้

قال أنس -رضي الله عنه-: قدم النبي صلى الله عليه وسلم المدينة، ولهم يومان يلعبون فيهما، فقال: (قد أبدلكم الله بهما خيرًا منهما: يوم الفطر، ويوم الأضحى . النسائي

ความ ว่า "อัลลอฮฺทรงเปลี่ยนสองวันนี้ (ที่พวกท่านกำลังฉลองอยู่ตามประเพณีอาหรับโบราณ) ด้วยสองวันอันประเสริฐยิ่งกว่า คือ วันอีดิ้ลฟิตรฺ และวันอีดิลอัฎฮา"

ซึ่งหาก มุสลิมคนใดถือว่าวันนี้ เป็นวันหรือคำด้านศาสนบัญญัติก็จะเป็นบิดอะห์ทันที และผมก็มั่นใจว่าอุลามาอ์ในอดีตคงมีองค์ความรู้พอ เพียง อุลามาอ์รุ่นหลังจะต้องอธิบายให้สังคมเข้าใจ

 ประเด็นต่อมา การเยี่ยมเยียน ญาติพี่น้อง  อันเนื่องมาจากคนมลายูมุสลิมมีญาติเยอะและนิยมเยี่ยมญาติ การเยี่ยมญาติหรือแม้กระทั่งสุสานญาติไม่ว่าฝ่ายสามี หรือภรรยา ในวันอีดเพียงวันเดียวไม่เพียงพอต้องใช้เวลา

 ครั้นจะเยี่ยมญาติต่อเลยในวันอีดดิลฟิตร์ ก็ติดกับการถือศีลอดอีกหกวัน ซึ่งถ้าหยุดการถือศีลอดหลายๆวัน เขาก็กลัวว่าจะไม่สามารถต่อให้ติด ดังนั้นจึงตัดสินใจถือศีลอดต่อ พอถือศีลอดเสร็จ วันที่เจ็ดจึงตั้งเป็นประเพณี ให้วันเยี่ยมญาติกัน และเป็นที่รู้ก็ของชาวบ้าน ซึ่งการเยี่ยมญาติ การเยี่ยมสุสานศาสนาสนับสนุนอยู่แล้วเพียงแต่ไม่ได้ระบุวันเวลาที่ชัดเจน ดังนั้นการนัดจนเป็นประเพณี จึงง่ายในการจัดการชุมชน ซึ่งมันไม่ใช่อีบาด๊ะห์ที่เจาะจง

๒. ประเพณีการละหมาดตัสบีฮฺ ในวันนี้ก็เช่นกันขอชี้แจงดังนี้

  การละหมาดตสบีฮฺตามหลักศาสนาพบว่ามีหะดีษเกี่ยวกับการละหมาดตัสบีฮฺนั้นรายงานโดยอบูดาวูด, อิบนุมาญะฮฺ ; อิบนุ คุซัยมะฮฺในซ่อฮีฮฺของเขา และอัฏฏอบรอนีย์ และมีการรายงานจากสายรายงานมากมายและกลุ่มหนึ่งจากเหล่าซอฮาบะฮฺ ดังที่อัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัรกล่าวเอาไว้

 อาทิเช่น หะดีษของอิกริมะฮฺ อิบนุ อับบ๊าสฺ ซึ่งท่านร่อซู้ล (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้กล่าวในหะดีษนั้นกับท่านอัลอับบ๊าส อิบนุ อับดิลมุฏฎ่อลิบว่า : “หากว่าท่านสามารถที่จะละหมาดตัสบีฮฺ 1 ครั้งในทุก ๆ วัน ท่านก็จงทำเถิด และถ้าหากท่านไม่สามารถก็ให้ละหมาดในทุกศุกร์ (สัปดาห์) 1 ครั้ง ถ้าหากท่านไม่ทำก็ให้ละหมาด 1 ครั้งในทุก ๆ ปี และถ้าหากท่านไม่ทำก็ให้ละหมาด 1 ครั้งในชั่วชีวิตของท่าน”

 นักท่องจำหะดีษกลุ่มหนึ่งถือว่าหะดีษนี้ถูกต้อง (ซ่อฮีฮฺ) ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ (ร.ฮ.) กล่าวว่า : อัตติรมีซีย์กล่าวว่า : แท้จริงมีหะดีษมากกว่า 1 บทถูกรายงานจากท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ในเรื่องละหมาดตัสบีฮฺ และมีจำนวนมากไม่ซ่อฮีฮฺ ท่านอิบนุ อัลมุบาร็อกและท่านอื่น ๆ จากนักวิชาการมีความเห็นว่าส่งเสริมให้ละหมาดตัสบีฮฺและพวกเขาได้ระบุถึงความประเสริฐในการละหมาดตัสบีฮฺเอาไว้

 ท่านอิหม่ามอบูบักร อิบนุ อัลอะรอบีย์ได้กล่าวไว้ในตำราอัลอะฮฺวะซีย์ ฟี ชัรฮิ อัตติรมีซีย์ หะดีษของอบีรอฟิอฺ (ที่อิหม่ามอัตติรมีซีย์ รายงานเอาไว้และระบุว่าเป็นหะดีษฆ่อรีบ) นี้เป็นหะดีษอ่อน (ฎ่ออีฟ) ไม่มีที่มาสำหรับเรื่องนี้ไม่ว่าหะดีษซ่อฮีฮฺหรือฮะซัน ที่ท่านอัตติรมีซีย์ระบุหะดีษนี้เอาไว้เพื่อเตือนให้รู้และไม่ถูกหลอก และคำกล่าวของอิบนุ อัลมุบาร็อกนั้นมิใช่หลักฐาน นี่เป็นคำพูดของอบูบักร อิบนุ อัลอะรอบีย์ และอัลอุกอยลีย์กล่าวว่า : ไม่มีหะดีษที่ถูกต้องในเรื่องการละหมาดตัสบีฮฺ และอิหม่ามอันนะวาวีย์กล่าวว่า : กลุ่มหนึ่งจากบรรดาอิหม่ามของอัศฮาบุชชาฟิอียะฮฺระบุว่าส่งเสริมให้ละหมาดตัสบีฮฺนี้ เช่น อบูมุฮำหมัด อัลบัฆวีย์ และอบุลฮะซัน อัรรูยานีย์ (อัลอัซก๊าร, อันนะวาวีย์ หน้า 168-169)

 ท่านชัยค์ อะฏียะฮฺ ศ็อกฺร์ กล่าวว่า : สามารถกล่าวได้ว่าไม่มีข้อห้ามจากการละหมาดตัสบีฮฺ เพราะเป็นเรื่องของความประเสริฐ (ฟะฎีละฮฺ) และบรรดาหะดีษที่อ่อนนั้นถูกยอมรับในเรื่องฟะฎออิลุ้ลอะอฺม๊าลฺ ดังที่นักวิชาการจำนวนมากกล่าวเอาไว้ และการละหมาดตัสบีฮฺเป็นประเภทหนึ่งของการละหมาด มีการซิกรุ้ลลอฮฺในการละหมาดและไม่ได้รวมเอาสิ่งที่ค้านกับหลักมูลฐานที่ถูกต้อง

 ส่วนวิธีการละหมาดตัสบีฮฺนั้นคือ มี 4 ร็อกอะฮฺให้ละหมาดทีละ 2 รอกอะฮฺ หรือจะละหมาด 4 รอกอะฮฺรวดเดียวก็ได้ โดยให้ผู้ละหมาดอ่านในแต่ละรอกอะฮฺซึ่งซูเราะฮฺฟาติฮะฮฺและซูเราะฮฺ หลังอ่านซูเราะฮฺก่อนการรุ่กัวอฺให้กล่าวตัสบีฮฺ 15 ครั้ง ในการรุ่กัวอฺ 10 ครั้ง ในการอิอฺติด้าล 10 ครั้ง ในการสุหญูดครั้งแรก 10 ครั้ง ในการนั่งระหว่าง 2 สุหญูด 10 ครั้ง ในการสุหญูดครั้งที่ 2 ให้อ่านตัสบีฮฺ 10 ครั้ง หลังการสุหญูดครั้งที่ 2 ให้อ่านตัสบีฮฺ 10 ครั้ง รวมใน 1 รอกอะฮฺมีการอ่านตัสบีฮฺ 75 ครั้ง และใน 4 รอกอะฮฺ มีการอ่านทั้งหมด 300 ครั้ง

และการกล่าวตัสบีฮฺนี้ไม่มีสำนวนที่แน่นอน ให้กล่าวว่า “ซุบฮานัลลอฮฺ วัลฮัมดุลิลลาฮฺ ว่าลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ วัลลอฮุอักบัร” ก็ได้เป็นต้น ส่วนความประเสริฐของการละหมาดตัสบีฮฺนั้น คือ จะได้รับการอภัยโทษ (โทษเล็ก ๆ) ในเบื้องแรก เบื้องท้ายเก่าและใหม่, พลั้งพลาดและเจตนา, เล็กและใหญ่, ลับและเปิดเผย (รายงานโดยอบูดาวูด อิบนุมาญะฮฺ และอิบนุคุซัยมะฮฺ) -อะฮฺซะนุ้ลกะลาม ฟิลฟะตาวา วัลอะฮฺกาม, ชัยค์ อะฎียะฮฺ ศ็อกร์ เล่มที่ 9 หน้า 538-540 โดยสรุป)

 ดังนั้นการละหมาดตัสบีฮฺ สามารถทำได้ทุกวัน ทุกอาทิตย์ และทุกปี แต่ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ทำได้หรือไม่ ประเด็นมีอยู่ว่าส่วนใหญ่โต๊ะครูในอดีตมองว่า จะทำอย่างไรให้คนในชุมชนทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ของตนเองได้ทำอย่างน้อยปีละครั้ง จะเกิดนัดให้ชาวบ้านได้ละหมาดวันนี้

 ประเด็นนี้ต้องแยกแยะเช่นกันถ้าการนัดการละหมาดดังเพื่อสะดวกในการทำก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ใช่เจาะจงเหมือนละหมาดที่มีหลักฐานตามศาสนบัญญัติย่อมเป็นบิดอะห์หรืออย่างน้อยที่สุด เป็นการกระทำที่ไม่มีสุนนะฮฺที่ชัดเจน ก็เข้าข่ายว่า คิลาฟุสสุนนะฮฺ คือค้านกับสุนนะฮฺ แต่ไม่ถึงขั้นว่าทำไม่ได้หรือละหมาดไม่เศาะฮฺ

 ประเด็นต่อไป คือการละหมาดตัสบีหฮฺนั้นมีสุนนะฮฺให้ละหมาดแบบญะมาอะฮฺหรือไม่? คำตอบก็คือ ไม่มีสุนนะฮฺให้กระทำแบบญะมาอะฮฺ (อิอานะตุฏฏอลิบีน เล่ม 1 หน้า 299) และถ้าไม่มีสุนนะฮฺให้กระทำแบบญะมาอะฮฺแล้วไปกระทำแบบญะมาอะฮฺล่ะ การละหมาดจะใช้ได้หรือไม่? ในตำราอัน-นิฮายะฮฺระบุว่า “ถ้าหากละหมาดแบบญะมาอะฮฺก็ไม่ถือว่ามักรูฮฺ แต่เห็นต่างกันว่าจะได้ผลบุญหรือไม่? ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าได้ อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่ได้ (อ้างแล้ว เล่ม 1 หน้า 284)


 ในตำราอัล-มัจญมูอฺก็ระบุว่าถ้าหากละหมาดแบบญะมาอะฮฺก็ถือว่าการละหมาดนั้นใช้ได้ (อัล-มัจญมูอฺ 3/499) อย่างไรก็ตามการปฏิบัติในสิ่งที่ไม่มีสุนนะฮฺให้กระทำในทำนองนี้ เรียกว่า “คิลาฟุล-เอาลา” ซึ่งหมายความว่าค้านกับสิ่งที่ดีกว่าหรือดีที่สุด แต่ไม่ถึงมักรูฮฺตามกฏเกณฑ์ในมัซฮับ อันนี้ว่าถึงการละหมาดตัสบีหฮฺแบบญามาอะฮฺ

 

 สรุป รายอแน ไม่ใช่ อิบาด๊ะห์คูซูซียะห์ เหมือนวันอีดทั้งสอง มันเป็น ความหมายทางด้านภาษา เท่านั้น ที่โต๊ะครูในอดีต พยายาม นำแนวคิด Islamization มาผนวกกับวัฒนธรรมชุมชน แต่ถ้ารายอแน เป็นพิธีกรรม เหมือน อีดทั้งสอง ย่อมเป็น บิดอะห์ หรืออุตริกรรมอย่างแน่นอน

 

 สุดท้ายนี้ อย่าทะเลาะกัน ยังมีเรื่องฟิกฮ์อีกมากมาย ที่ อุลามาอ์ยังเห็นต่างในแง่วิชาการ เพียงแต่คนปฏิบัติควรรู้ในสิ่งที่เขากำลังทำ และโต๊ะครูก็ต้องช่วยชี้แจง

 ที่สำคัญที่สุด ของคนที่กล่าว่าหาว่ามันบิดอ๊ะห์ ท่านได้เยี่ยม ญาติ ไปหลุมศพพ่อ แม่ ญาติสนิทเพื่อรำลึกความตายกี่ครั้งแล้วปีนี้ และถือศีลอด หกวันครบหรือยัง (ที่นบีทำเพราะมันเป็นสุนนะฮ์ )

 

ตอบสไตล์เดียวกันกับ อ สันติ เสือสมิง เลยทั้งเรื่องรายอแนและละหมาดตัสเบียะฮฺ ลองไปฟังไฟล์เสียงล่าสุด

เรื่อง  ค่ำคืนอีดมีอะไร (ถ้าจำแล้วไม่พลาด) อาจารย์ยังตอบเรื่อง ในวันอีดจะเยี่ยใกุโบร์ได้หรือไม่

ซึ่งท่านก็ตอบว่า หลักฐานใช้และห้ามในการเยี่ยมกุโบร์ในวันอีดน่ะไม่มี แต่หลักฐานกว้างในการส่งเสริม

ให้เยี่ยมกุโบร์น่ะมี จะไปเยี่ยมวันไหน กลางวัน กลางคืนก็ไปเยี่ยมกันตามสะดวก และยังยกตัวอย่าง

ให้เห็นอย่างชัดเชนว่า สมมุติลูกหลานเราไปทำงานต่างจังหวัดไกลๆ จะได้กลับมาเยี่ยมบ้านเมือง ก็ครา

วันอีดนั่นแล  หากห้ามเยี่ยมกุโบร์วันอีดแล้ว แน่นอนทีเดียวชั่วชีวิตลูกหลานก็จะเยี่ยมกุโบร์

กันไม่ได้ได้ เพราะวันอื่นๆไม่ได้กลับมาบ้าน กลับมาเฉพาะวันอีด เมื่อกลับมาวันอีดวันเดียว แล้วหาก

ห้ามเยี่มกุโบร์วันอีด ก็ไม่มีวันให้เยี่ยม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 08, 2011, 02:03 PM โดย anti-bid'ah »
رَبَّنَا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرْ عَنَّا سَيِّئَاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ الْأَبْرَارِ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 :salam:

การเยี่ยมกูบูรนั้นเมื่อมีหลักฐานแบบกว้างๆ มารับรองแล้วโดยไม่มีหลักฐานมาเจาะจงห้ามวันเยี่ยมกุบูร  ดังนั้นการเจาะจงฮุกุ่มขึ้นมาในศาสนาว่าฮะรอม(ห้าม)เยี่ยมกุบูรในวันอีดขึ้นมาในนั้น ถือว่าเป็นบิดอะฮ์(อุตริฮุกุ่ม)ขึ้นมาในศาสนา  เพราะอัลเลาะฮ์และร่อซูลของพระองค์นั้นมิได้บัญญัติเจาะจงห้ามไว้ในศาสนา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 08, 2011, 03:37 PM โดย al-azhary »
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
รอยอแนเป็นประเพณีปฏิบัติของชาวมลายูเท่านั้นหรือ แสดงว่าในประเทศอาหรับเขาไม่มีการรอแนกันนะสิ

ออฟไลน์ Deeneeyah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 800
  • Respect: +8
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.alisuasaming.com/
เคยอ่านคำตอบของอาจารย์อาลี ที่อีหยิปก็มี

อ้างถึง
ในประเทศอียิปต์ก็มีเรื่องในทำนองนี้ คือ เรียกวันออกบวช 6 ว่า “อีด-อัลอับร็อรฺ” (عِيْدُالأَبْرارِ) โดยผู้คนจะไปรวมตัวกันที่มัสญิด ซัยยิดินา อัล-หุสัยนฺ (ร.ฎ.) หรือ มัสญิด ซัยยิดะฮฺ ซัยฺนับ (ร.ฮ.) แล้วก็มีการกลับไปทำอาหารพิเศษ เช่น ข้าวหุงกับนมรับประทานกันที่บ้าน ซัยคฺ มุฮัมมัด อับดุสสลามคิเฎรฺ อัช-ชุก็อยฺรียฺ (ร.ฮ.) กล่าวว่า การกระทำดังกล่าวเป็นอุตริกรรมและท่านเรียกอีดนี้ว่า “อีด อัลฟุ๊จฺญ๊าร” หมายถึงอีดของคนชั่ว ไม่ใช่ “อีด อัลอับร็อร” คือ อีดของคนดี (อัสสุนันวัลมุบตะดะอาตฯ หน้า 163)
อ้างจาก http://www.alisuasaming.com/index.php/webbord/20----/436--

كُلَّمَاأَدَّبَنِى الدّه    رُأََرَانِى نَقْصَ عَقْلِى    وإذاماازْدَدْتُ عِلْمًا   زَادَنِى عِلْمًابِجَهْلِى
 
ทุกครั้งคราที่กาลเวลาได้สอนสั่งฉัน  ฉันก็เห็นว่าตัวฉันปัญญาพร่อง  และเมื่อใดที่ฉันได้เพิ่มพูนความรู้  มันก็เพิ่มความรู้ว่าฉันโง่เขลา



ออฟไลน์ anti-bid'ah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 839
  • ไม่รู้ อย่าเสือกชี้
  • Respect: +29
    • ดูรายละเอียด
รอยอแนเป็นประเพณีปฏิบัติของชาวมลายูเท่านั้นหรือ แสดงว่าในประเทศอาหรับเขาไม่มีการรอแนกันนะสิ

หากจะบอกว่าเป็นประเพณีของมุสลิมทั่วโลกมันก็ไม่เสียหายอารัยมิใช่หรือ เพราะรายอแน หรืออีดซิตตะฮฺ

ไม่มีหลักฐานกำชับใช้(ในทางชาริอะฮฺ) เมื่อไม่มีหลักฐานกำชับใช้มันจึงเป็นมุอามาลาต เมื่อเป็นมุอามาลาต

ก็ต้องถามว่ามีหลักฐานห้ามหรือไม่ถ้ามี ก็ยุติ ถ้าไม่ก็เรื่องของคนจะทำต่อไป
رَبَّنَا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرْ عَنَّا سَيِّئَاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ الْأَبْرَارِ

ออฟไลน์ ActionMask

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 250
  • Respect: +12
    • ดูรายละเอียด
ผมว่าที่เขาไม่ค่อยมีกัน เพราะว่า บวช 6 ไม่ได้เจาะจงว่าต้องเรียงกัน บางคนก็ วันเว้นวัน มันจึงไม่ใช่ว่า อีกวันเป๊ะแล้วฉลอง ผู้หญิงนี่ ก็ยังต้องบวชใช้อีก

ผมก็ไม่รู้ว่า มันจะมีตรงกันได้ไง เพิ่งรู้มีก็ไม่นานนี้เอง

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
รอยอแนเป็นประเพณีปฏิบัติของชาวมลายูเท่านั้นหรือ แสดงว่าในประเทศอาหรับเขาไม่มีการรอแนกันนะสิ

หากจะบอกว่าเป็นประเพณีของมุสลิมทั่วโลกมันก็ไม่เสียหายอารัยมิใช่หรือ เพราะรายอแน หรืออีดซิตตะฮฺ

ไม่มีหลักฐานกำชับใช้(ในทางชาริอะฮฺ) เมื่อไม่มีหลักฐานกำชับใช้มันจึงเป็นมุอามาลาต เมื่อเป็นมุอามาลาต

ก็ต้องถามว่ามีหลักฐานห้ามหรือไม่ถ้ามี ก็ยุติ ถ้าไม่ก็เรื่องของคนจะทำต่อไป

ตามความเข้าใจของคุณ anti มุอามะลาตคืออะไรหรือ

ออฟไลน์ anti-bid'ah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 839
  • ไม่รู้ อย่าเสือกชี้
  • Respect: +29
    • ดูรายละเอียด
รอยอแนเป็นประเพณีปฏิบัติของชาวมลายูเท่านั้นหรือ แสดงว่าในประเทศอาหรับเขาไม่มีการรอแนกันนะสิ

หากจะบอกว่าเป็นประเพณีของมุสลิมทั่วโลกมันก็ไม่เสียหายอารัยมิใช่หรือ เพราะรายอแน หรืออีดซิตตะฮฺ

ไม่มีหลักฐานกำชับใช้(ในทางชาริอะฮฺ) เมื่อไม่มีหลักฐานกำชับใช้มันจึงเป็นมุอามาลาต เมื่อเป็นมุอามาลาต

ก็ต้องถามว่ามีหลักฐานห้ามหรือไม่ถ้ามี ก็ยุติ ถ้าไม่ก็เรื่องของคนจะทำต่อไป

ตามความเข้าใจของคุณ anti มุอามะลาตคืออะไรหรือ


อิบาดะฮฺ คือ พิธีกรรมทางศาสนาที่ผูกพันระหว่างมนุษย์กับอัลลอฮฺ เช่น การทำฮัจญ์ การถือศิลอด การละหมาด การจ่ายซากาต และอื่นๆ
มุอามาลาต คือ กิจกรรมในชีวิตการเป็นอยู่ประจำวันที่ผูกพันระหว่างมนุษย์ด้วยกัน  คราใดหวังเพื่ออัลลอฮฺย่อมได้ผลบุญ เช่น การกินอาหาร การขับรถไปทำงาน เป็นต้น


ทางอุศุลุลฟิกฮฺแล้วทุกการกระทำธรรมที่เข้าข่ายอิบาดาต ถือว่าฮาราม หากไม่มีหลักฐานจากอัลกุรอานและซูนนะฮฺอ้าง  และกิจใดๆที่เข้าข่ายมุอามาลาตถือเป็นที่อนุญาติตราบใดที่ไม่มีหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺมาห้าม


 เช่น การกินมะม่วงหิมพานต์ ถือว่าอนุญาต แม้ว่าท่านรอซูลหรือซอฮาบะฮฺ หรืออุลามาอฺมิได้ทำเป็นเยี่ยงเป็นอย่าง (แค่ตัวอย่างน่ะครับ ผมไม่ได้หมายความจะไม่มีใครกินมันจริงๆ) 

หากเรากล่าวว่า ฉันจะละหมาดอิชา ๕ รอกาอะฮฺ แม้ว่าเรามิได้บอกว่า ๕ รอกาอะฮฺนี้จะดีกว่า ๔ รอกาอะฮฺก็ตามที ถือว่าเป็นบิดอะฮฺชั่ว หากไม่มีหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮิมาอ้าง



ในกรณีของมุอามาลาต บิดอะฮฺ จะเกิดขึ้น หากเรายกและเจาะจงสถานะของการกระทำนั้นๆ
เช่น การกล่าวว่า การกินกล้วย ๓ หวี ต่อวัน ประเสริฐในเรื่องผลานิสงค์ผลบุญกว่า จำนวนอื่นๆ (ประเสริฐกว่า ๒ หรือ ๔ หรือ ๕ หวี เป็นต้น) ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺมาสนับสนุน  ในทำนองเดียวกัน หากล่าวว่า กินกล้วย ๑ ลูก ย่อมประเสริฐทางผลบุญกว่าการกินแอพเพิล ๑ ลูก ย่อมเป็นบิดอะฮฺชั่ว ตราบใดที่ไม่มีหลักฐานจากอัลกุรอานและซุนนะฮฺมาสนับสนุน


นี่คือความเข้าใจของผม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 09, 2011, 02:44 PM โดย anti-bid'ah »
رَبَّنَا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرْ عَنَّا سَيِّئَاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ الْأَبْرَارِ

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
พอจะบอกได้ไหมว่า มีอุะมาอ์ท่านใดบ้างที่ระบุว่า รอยอแน เป็นประเพณีปฏิบัติที่ไม่ใช่อิบาดะฮฺ หรือรวมอยู่ในประเภทของมุอามะลาต

ออฟไลน์ anti-bid'ah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 839
  • ไม่รู้ อย่าเสือกชี้
  • Respect: +29
    • ดูรายละเอียด
พอจะบอกได้ไหมว่า มีอุะมาอ์ท่านใดบ้างที่ระบุว่า รอยอแน เป็นประเพณีปฏิบัติที่ไม่ใช่อิบาดะฮฺ หรือรวมอยู่ในประเภทของมุอามะลาต

๑) ผมอ้างด้านตามความเข้าใจของผมถูกต้องไหม  ส่วนอุลามาอฺที่ว่ามันไม่ใช่เป็นเรื่องอิบาดะฮฺ

เช่น อ อาลี เสือสมิง  อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก ดินอะ)

ส่วนผู้ที่บอกทั้ง ๒ เป็นอุลามาอฺ(โดยที่ผมเทียบเองครับ) ขออิงจากคำกล่าวของ อ บรรจง โซะมณี

 และคณะ(ไม่กล่าวแต่นิ่งเฉยเมื่อ ได้ยินคำกล่าวนั้น ถือว่ายอมรับ) ที่เคยกล่าว

ในคราวิภาษไฟล์เสียง อ อาลี เสือสมิง

เรื่องผู้หญิงเดินทางไปทำฮัจญ์ต้องมีมะฮฺรอมไหม และจากอาจารย์ใน มอย บางท่าน

ที่เคยกล่าวว่า ประเทศไทยเรามีมุจตะฮิด(อุลามาอฺ)หลายท่าน

๒) ถ้าข้อ ๑) ถูกต้อง ผมก็ขอถามต่อว่า การรายอแนเป็นอิบาดะฮฺใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ไหนล่ะหลักฐาน

ผมขอถามแบบที่ผมเคยถามเมื่อเรียน ป ตรี ที่ มอย แล้วกัน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 09, 2011, 04:23 PM โดย anti-bid'ah »
رَبَّنَا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرْ عَنَّا سَيِّئَاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ الْأَبْرَارِ

ออฟไลน์ muqorrabeen

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 194
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
 :salam:

การเรียกว่ารายอแน  แล้วมีกิจกรรมทางสังคมเช่น การทำความสะอาด ถางหญ้าที่รกรุงรังที่สุสาน  และเลี้ยงอาหารพบปะกันแบบฉันท์ที่น้อง  อันนี้อยู่ในขอบข่ายของมุอามะลาต  ส่วนรูปแบบการถือศีลอด 6 วันนั้น  เป็นอิบาดะฮ์ที่รู้กัน 

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
พอจะบอกได้ไหมว่า มีอุะมาอ์ท่านใดบ้างที่ระบุว่า รอยอแน เป็นประเพณีปฏิบัติที่ไม่ใช่อิบาดะฮฺ หรือรวมอยู่ในประเภทของมุอามะลาต

๑) ผมอ้างด้านตามความเข้าใจของผมถูกต้องไหม

๒) ถ้าข้อ ๑) ถูกต้อง ผมก็ขอถามต่อว่า การรายอแนเป็นอิบาดะฮฺใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ไหนล่ะหลักฐาน

ผมขอถามแบบที่ผมเคยถามเมื่อเรียน ป ตรี ที่ มอย แล้วกัน



ผมก็ไม่มีหลักฐานเหมือนกันว่ารอยอแนเป็นอิบาดะฮฺด้วยหรือเปล่า แต่ผมมีคำพูดของอุละมาอ์ในสังกัดมัซฮับอัชชาฟิอีย์ และหันบาลีย์มาให้อ่าน ซึ่งจากคำพูดของพวกท่านทำให้เข้าใจว่ารายอแนเป็นอิบาดะฮฺอย่างหนึ่ง

1. อิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ กล่าวว่า “เป็นที่ชัดเจนยิ่งว่า ไม่อนุญาตให้ผู้ใดยึดมั่นและศรัทธาว่าวันที่แปดของเดือนเชาวาลเป็นวันอีดที่มีถูกบัญญัติไว้ในอิสลาม ดั่งเช่นวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา ยิ่งกว่านั้นอุละมาอฺบางท่านถึงกับระบุว่า ไม่อนุญาตให้เรียกวันนั้นว่าวันอีดที่ควรแก่การแสดงออกด้วยสัญลักษณ์ต่างๆของวันอีด เช่นการสวมเสื้อผ้าที่สวยงาม การจัดเลี้ยงอาหารที่หลากหลายชนิด และการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เฉกเช่นการปฏิบัติในวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา” (อัล-ฟะตาวี อัล-ฟิกฮียะฮฺ อัล-กุบรอ 1/272)

2. อิบนุตัยมิยะฮฺ กล่าวว่า : "ส่วนการยึดช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งว่าเป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐ นอกเหนือไปจากช่วงเวลาที่มีระบุไว้แบบอย่างทางศาสนา เช่น บางคืนในเดือนเราะบีอุลเอาวัลที่เรียกว่าคืนเมาลิด หรือบางคืนในเดือนเราะญับ หรือวันที่ 18 ของเดือนซุลหิจญะฮฺ หรือศุกร์แรกของเดือนเราะญับ หรือวันที่ 8 เดือนเชาวาลซึ่งผู้ไร้ความรู้เรียกมันว่า 'อีดอับรอรฺ' ล้วนแล้วแต่เป็นบิดอะฮฺอุตริกรรม ที่บรรดาสลัฟ (ชนยุคแรก) ไม่ได้สนับสนุนให้กระทำ และพวกเขาก็ไม่เคยปฏิบัติ วัลลอฮุสุบหานะฮูวะตาลาอะอฺลัม" (มัจญ์มูอฺ อัลฟะตาวา 25/298 และอัล-อิคติยารฺ อัล-ฟิกฮิยะฮฺ หน้า 199)

ออฟไลน์ anti-bid'ah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 839
  • ไม่รู้ อย่าเสือกชี้
  • Respect: +29
    • ดูรายละเอียด
พอจะบอกได้ไหมว่า มีอุะมาอ์ท่านใดบ้างที่ระบุว่า รอยอแน เป็นประเพณีปฏิบัติที่ไม่ใช่อิบาดะฮฺ หรือรวมอยู่ในประเภทของมุอามะลาต

๑) ผมอ้างด้านตามความเข้าใจของผมถูกต้องไหม

๒) ถ้าข้อ ๑) ถูกต้อง ผมก็ขอถามต่อว่า การรายอแนเป็นอิบาดะฮฺใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ไหนล่ะหลักฐาน

ผมขอถามแบบที่ผมเคยถามเมื่อเรียน ป ตรี ที่ มอย แล้วกัน



ผมก็ไม่มีหลักฐานเหมือนกันว่ารอยอแนเป็นอิบาดะฮฺด้วยหรือเปล่า แต่ผมมีคำพูดของอุละมาอ์ในสังกัดมัซฮับอัชชาฟิอีย์ และหันบาลีย์มาให้อ่าน ซึ่งจากคำพูดของพวกท่านทำให้เข้าใจว่ารายอแนเป็นอิบาดะฮฺอย่างหนึ่ง

1. อิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ กล่าวว่า “เป็นที่ชัดเจนยิ่งว่า ไม่อนุญาตให้ผู้ใดยึดมั่นและศรัทธาว่าวันที่แปดของเดือนเชาวาลเป็นวันอีดที่มีถูกบัญญัติไว้ในอิสลาม ดั่งเช่นวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา ยิ่งกว่านั้นอุละมาอฺบางท่านถึงกับระบุว่า ไม่อนุญาตให้เรียกวันนั้นว่าวันอีดที่ควรแก่การแสดงออกด้วยสัญลักษณ์ต่างๆของวันอีด เช่นการสวมเสื้อผ้าที่สวยงาม การจัดเลี้ยงอาหารที่หลากหลายชนิด และการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เฉกเช่นการปฏิบัติในวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา” (อัล-ฟะตาวี อัล-ฟิกฮียะฮฺ อัล-กุบรอ 1/272)

2. อิบนุตัยมิยะฮฺ กล่าวว่า : "ส่วนการยึดช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งว่าเป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐ นอกเหนือไปจากช่วงเวลาที่มีระบุไว้แบบอย่างทางศาสนา เช่น บางคืนในเดือนเราะบีอุลเอาวัลที่เรียกว่าคืนเมาลิด หรือบางคืนในเดือนเราะญับ หรือวันที่ 18 ของเดือนซุลหิจญะฮฺ หรือศุกร์แรกของเดือนเราะญับ หรือวันที่ 8 เดือนเชาวาลซึ่งผู้ไร้ความรู้เรียกมันว่า 'อีดอับรอรฺ' ล้วนแล้วแต่เป็นบิดอะฮฺอุตริกรรม ที่บรรดาสลัฟ (ชนยุคแรก) ไม่ได้สนับสนุนให้กระทำ และพวกเขาก็ไม่เคยปฏิบัติ วัลลอฮุสุบหานะฮูวะตาลาอะอฺลัม" (มัจญ์มูอฺ อัลฟะตาวา 25/298 และอัล-อิคติยารฺ อัล-ฟิกฮิยะฮฺ หน้า 199)



ผมเข้าใจผิด หรือ คุณ GET เข้าใจผิด หรือไม่ใช่ทั้ง ๒ กรณี

๑) คำอ้างที่ว่า   ไม่อนุญาตให้ผู้ใดยึดมั่นและศรัทธาว่าวันที่แปด

ของเดือนเชาวาลเป็นวันอีดที่มีถูกบัญญัติไว้ในอิสลาม
ดังนั้นตรงไหนล่ะที่

จะอ้างว่ามันเป็นเรื่องอิบาดะฮฺ ในเมื่อบอกว่าอย่าไปคิดซิว่ามันเป็นวันอีดที่อัลกุรอานและซุนนะฮฺกล่าวถึง

หรือถูกบัญญัติไว้ในอิสลาม(ชะริอะฮฺอิบาดาต)

๒) คำอ้างที่ว่า  ยิ่งกว่านั้นอุละมาอฺบางท่านถึงกับระบุว่า ไม่อนุญาต แล้ว

อุลามาอฺท่านอื่นๆล่ะว่ากันอย่างไร อนุญาติและส่งเสริมใช่ไหม และบางท่านที่ว่าส่วนน้อยหรือส่วนมาก

๓) คำกล่าวที่ว่า  ส่วนการยึดช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งว่าเป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐ

 นอกเหนือไปจากช่วงเวลาที่มีระบุไว้แบบอย่างทางศาสนา
ในส่วนนี้ถ้าชุมชนผมจะทำรายอแน

ในวันที่ ๘ เชาวาล เนื่องด้วยความสะดวก ชาวบ้านที่มีอาชีพต่างๆยังมีวันหยุดในวันนั้นล่ะ โดยไม่คิดว่า

มันประเสริฐกว่าวันที่ ๙ หรือ ๑๐ หรือ อื่นๆ ผมว่ามันก็น่าจะได้น่ะ ก็ดูสิว่าท่านอิบนุตัยมิยะฮฺว่าอย่างนั้นเองนิ

๔) คำอ้างที่ว่า รายอแนเป็นอิบาดะฮฺอย่างหนึ่ง

 ตอนนี้ผมยังหาไม่เจอเลยว่าที่คุณ GET อ้างว่าอุลามาอฺเข้าใจว่าวันรายอแนที่ผมทำอยู่เป็นเรื่องอิบาดะฮฺ

มันอยู่จุดไหน แต่ผมอ่านแล้วผมเข้าใจว่าทั้ง ๒ ท่านส่อให้ความว่ามันเป็นเรื่องมุอามาลาตไม่ใช่อย่างที่คุณ GET

เข้าใจ  ตกลงผมเจือสมให้อุลามาอฺหรือว่าใครกัน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 09, 2011, 10:21 PM โดย anti-bid'ah »
رَبَّنَا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرْ عَنَّا سَيِّئَاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ الْأَبْرَارِ

ออฟไลน์ vrallbrothers

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 498
  • ALLAH MAHA BESAR...
  • Respect: +9
    • ดูรายละเอียด
 :salam:

แล้วเดี๋ยวนี้รายอแนแถวอาหรับเค้ามีการปฏิบัติอย่างไรบ้างครับ...  party:


เวลาเปรียบเสมือนคมดาบ...หากท่านไม่ตัดมัน มันจะตัดท่าน



ยะฮูดีใช้ระเบิดฟอสฟอรัส... เลวร้าย ป่าเถื่อนยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน

 

GoogleTagged