ผู้เขียน หัวข้อ: พรุ่งนี้ อีดหก อิดิลซิตต้า รายอแน พวกเราไปละหมาดที่ไหนกันบ้าง...............  (อ่าน 5287 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sklp

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 47
  • เพศ: ชาย
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
ลองอ่านนี่ดูครับ -=> “รายอแน” ระหว่างวัฒนธรรมชุมชนกับศาสนพิธี โดยอุสตาซอับดุชชะกูรฺ บิน ชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก ดินอะ) - วัสสลามุอลัยกุม

ให้ความรู้และเป็นแง่คิดที่ดีมากครับ เสียแต่มีบางคนข้างล่างพยายามทำให้คนรุ่นก่อนผิดให้ได้ อันนี้เสียบรรยากาส การมองคนในแง่ดี มันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจไปแล้วหรือครับ สังคมมุสลิมทุกวันนี้

วัสลาม
  เห็นด้วยนิ

ออฟไลน์ pajupong

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 64
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
พอจะบอกได้ไหมว่า มีอุะมาอ์ท่านใดบ้างที่ระบุว่า รอยอแน เป็นประเพณีปฏิบัติที่ไม่ใช่อิบาดะฮฺ หรือรวมอยู่ในประเภทของมุอามะลาต

๑) ผมอ้างด้านตามความเข้าใจของผมถูกต้องไหม

๒) ถ้าข้อ ๑) ถูกต้อง ผมก็ขอถามต่อว่า การรายอแนเป็นอิบาดะฮฺใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ไหนล่ะหลักฐาน

ผมขอถามแบบที่ผมเคยถามเมื่อเรียน ป ตรี ที่ มอย แล้วกัน



ผมก็ไม่มีหลักฐานเหมือนกันว่ารอยอแนเป็นอิบาดะฮฺด้วยหรือเปล่า แต่ผมมีคำพูดของอุละมาอ์ในสังกัดมัซฮับอัชชาฟิอีย์ และหันบาลีย์มาให้อ่าน ซึ่งจากคำพูดของพวกท่านทำให้เข้าใจว่ารายอแนเป็นอิบาดะฮฺอย่างหนึ่ง

1. อิบนุหะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ กล่าวว่า “เป็นที่ชัดเจนยิ่งว่า ไม่อนุญาตให้ผู้ใดยึดมั่นและศรัทธาว่าวันที่แปดของเดือนเชาวาลเป็นวันอีดที่มีถูกบัญญัติไว้ในอิสลาม ดั่งเช่นวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา ยิ่งกว่านั้นอุละมาอฺบางท่านถึงกับระบุว่า ไม่อนุญาตให้เรียกวันนั้นว่าวันอีดที่ควรแก่การแสดงออกด้วยสัญลักษณ์ต่างๆของวันอีด เช่นการสวมเสื้อผ้าที่สวยงาม การจัดเลี้ยงอาหารที่หลากหลายชนิด และการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เฉกเช่นการปฏิบัติในวันอีดิลฟิฏรฺและอีดิลอัฎฮา” (อัล-ฟะตาวี อัล-ฟิกฮียะฮฺ อัล-กุบรอ 1/272)

2. อิบนุตัยมิยะฮฺ กล่าวว่า : "ส่วนการยึดช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งว่าเป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐ นอกเหนือไปจากช่วงเวลาที่มีระบุไว้แบบอย่างทางศาสนา เช่น บางคืนในเดือนเราะบีอุลเอาวัลที่เรียกว่าคืนเมาลิด หรือบางคืนในเดือนเราะญับ หรือวันที่ 18 ของเดือนซุลหิจญะฮฺ หรือศุกร์แรกของเดือนเราะญับ หรือวันที่ 8 เดือนเชาวาลซึ่งผู้ไร้ความรู้เรียกมันว่า 'อีดอับรอรฺ' ล้วนแล้วแต่เป็นบิดอะฮฺอุตริกรรม ที่บรรดาสลัฟ (ชนยุคแรก) ไม่ได้สนับสนุนให้กระทำ และพวกเขาก็ไม่เคยปฏิบัติ วัลลอฮุสุบหานะฮูวะตาลาอะอฺลัม" (มัจญ์มูอฺ อัลฟะตาวา 25/298 และอัล-อิคติยารฺ อัล-ฟิกฮิยะฮฺ หน้า 199)



ผมเข้าใจผิด หรือ คุณ GET เข้าใจผิด หรือไม่ใช่ทั้ง ๒ กรณี

๑) คำอ้างที่ว่า   ไม่อนุญาตให้ผู้ใดยึดมั่นและศรัทธาว่าวันที่แปด

ของเดือนเชาวาลเป็นวันอีดที่มีถูกบัญญัติไว้ในอิสลาม
ดังนั้นตรงไหนล่ะที่

จะอ้างว่ามันเป็นเรื่องอิบาดะฮฺ ในเมื่อบอกว่าอย่าไปคิดซิว่ามันเป็นวันอีดที่อัลกุรอานและซุนนะฮฺกล่าวถึง

หรือถูกบัญญัติไว้ในอิสลาม(ชะริอะฮฺอิบาดาต)

๒) คำอ้างที่ว่า  ยิ่งกว่านั้นอุละมาอฺบางท่านถึงกับระบุว่า ไม่อนุญาต แล้ว

อุลามาอฺท่านอื่นๆล่ะว่ากันอย่างไร อนุญาติและส่งเสริมใช่ไหม และบางท่านที่ว่าส่วนน้อยหรือส่วนมาก

๓) คำกล่าวที่ว่า  ส่วนการยึดช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งว่าเป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐ

 นอกเหนือไปจากช่วงเวลาที่มีระบุไว้แบบอย่างทางศาสนา
ในส่วนนี้ถ้าชุมชนผมจะทำรายอแน

ในวันที่ ๘ เชาวาล เนื่องด้วยความสะดวก ชาวบ้านที่มีอาชีพต่างๆยังมีวันหยุดในวันนั้นล่ะ โดยไม่คิดว่า

มันประเสริฐกว่าวันที่ ๙ หรือ ๑๐ หรือ อื่นๆ ผมว่ามันก็น่าจะได้น่ะ ก็ดูสิว่าท่านอิบนุตัยมิยะฮฺว่าอย่างนั้นเองนิ

๔) คำอ้างที่ว่า รายอแนเป็นอิบาดะฮฺอย่างหนึ่ง

 ตอนนี้ผมยังหาไม่เจอเลยว่าที่คุณ GET อ้างว่าอุลามาอฺเข้าใจว่าวันรายอแนที่ผมทำอยู่เป็นเรื่องอิบาดะฮฺ

มันอยู่จุดไหน แต่ผมอ่านแล้วผมเข้าใจว่าทั้ง ๒ ท่านส่อให้ความว่ามันเป็นเรื่องมุอามาลาตไม่ใช่อย่างที่คุณ GET

เข้าใจ  ตกลงผมเจือสมให้อุลามาอฺหรือว่าใครกัน



ผมว่าประเด็นสำคัญในเรื่องนี้ที่ผมยกมา คือการทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงอย่างรูปธรรมและความเข้าใจที่แท้จริงของชาวบ้านว่าเขาคิดอย่างไร เขาศรัทธาอย่างไร และหวังในผลตอบแทนจากอัลลอฮเช่นไร
ผมไปซื้ออาหารทานบ้านพี่น้องคนหนึ่งเกือบทุกวัน และเธอก็ขอหยุดหนึ่งวัน ตรงกับวันรายอ แน โดยที่เธอบอกว่า จะไปละหมาดอีดหก พร้อมๆกับชาวบ้าน เลยปิดร้านไม่ขายอาหารในวันนั้น
ประเด็นในแง่ของ กิจกรรมเช่น เยี่ยมเยียนพี่้น้อง ท่องเที่ยว หรือแม้แต่พัฒนากูโบร์ วันนี้น ผมก็ไม่แคลงใจเท่าไร
แต่ในแง่ของการ ออกไปละหมาดพร้อมเพรียงกัน โดยเจาะจงวันเช่นนี้ แบบนี้
ถามคุน anti bidah ครับว่า มันเข้าข่าย อิบาดะหหรือปล่าว อันเนื่องมาจากมีการละหมาดญะมาอะห  หรือเป็นมุอามาลาต ครับ

ออฟไลน์ anti-bid'ah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 839
  • ไม่รู้ อย่าเสือกชี้
  • Respect: +29
    • ดูรายละเอียด
 :salam:

ในเรื่องละหมาดอีดหกนั้น ผมเองไม่ทราบว่ามีหลักฐานทางศาสนาหรือไม่

หากไม่มีแล้วมาคิดเป็นตุเป็นตะกำหนดกันเอาเอง ผมเข้าใจว่ามันคือบิดอะฮฺที่ชั่ว

แต่หากมีหลักฐานในการละหมาดก็ถือว่าไม่เป็นบิดอะฮฺแม้ว่าจะเรียกว่าละหมาดอีดหก

เช่นในวันนั้นรวมตัวกันละหมาดดุฮาหรือละหมาดฮายัต (ผมไม่แน่ใจว่าฮุกมละหมาดดุฮาทำเป็นญามะฮฺได้หรือไม่)

โดยความเข้าใจผมแล้วถือว่ากระทำได้ หากเราไม่ได้คิดว่าการเจาะจงวันในการกระทำกว่าวันอื่น

หรือหากมีความเชื่อว่าการเจาะจงวันนั้นประเสริฐกว่าวันอื่นๆ ก็ต้องมีหลักฐานมาสนับสนุน


นี่คือความเข้าใจของผม  ถ้าผิดพลาดเชิญผู้รู้แนะนำครับ

رَبَّنَا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرْ عَنَّا سَيِّئَاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ الْأَبْرَارِ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 :salam:

ละหมาดรายอแนที่เรียกกันเนี่ย นั้นคือละหมาดอะไรครับ  เป็นละหมาดตัสบีห์ใช่ไหมครับ?   ส่วนการเจาะจงวันสำหรับอิบาดะฮ์ที่เป็นสุนัตนั้น  ศาสนาอนุญาตให้กระทำได้  โดยมีหลักการที่มาจากหลักฐานที่ว่า ท่านนะบีย์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมเจาะจงไปทำอิบาดะฮ์ทีมัสยิดกุบาอฺโดยเจาะจงในวันเสาร์  ซึ่งเป็นฮะดีษที่รายงานโดยอัลบุคอรีย์

ท่านอิบนุอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา  ได้กล่าวว่า

‏كَانَ النَّبِيُّ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏يَأْتِي ‏ ‏مَسْجِدَ قُبَاءٍ ‏ ‏كُلَّ سَبْتٍ مَاشِيًا وَرَاكِبًا وَكَانَ ‏ ‏عَبْدُ اللَّهِ بْنُ عُمَرَ ‏ ‏رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُمَا ‏ ‏يَفْعَلُهُ ‏

"ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ได้มาที่มัสยิดกุบาอฺทุกวันเสาร์โดยการเดินและขี่พาหนะ  และอับดุลเลาะฮ์ อิบนุ อุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กระทำสิ่งดังกล่าว" รายงานโดยบุคอรี (1118)

ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร ได้อธิบายฮะดีษนี้ไว้ในหนังสือ ฟัตฮุลบารีย์ของท่านความว่า

وَفِي هَذَا اَلْحَدِيثِ عَلَى اِخْتِلَاف طُرُقِهِ دَلَالَة عَلَى جَوَاز تَخْصِيص بَعْضِ اَلْأَيَّامِ بِبَعْضِ اَلْأَعْمَالِ اَلصَّالِحَةِ وَالْمُدَاوَمَةِ عَلَى ذَلِكَ

"และในฮะดีษนี้  ทั้งที่มีสายรายงานที่แตกต่างกัน  ก็บ่งชี้ถึงว่า  อนุญาตให้เจาะจงบางวันสำหรับการปฏิบัติอะมัลที่ดีงามและอนุญาตทำสิ่งดังกล่าวเป็นประจำได้"

วัลลอฮุอะลัม
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ taufik

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 252
  • Respect: +10
    • ดูรายละเอียด
 :salam:

ใช่แล้วครับบางหมู่บ้านละหมาดตัสบีฮ์ แล้วท่านนบีได้ทำอิบาดะฮ์อะไรบ้างที่มัสยิดกุบาอ์ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 11, 2011, 03:46 PM โดย taufik »

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร ได้อธิบายฮะดีษนี้ไว้ในหนังสือ ฟัตฮุลบารีย์ของท่านความว่า

وَفِي هَذَا اَلْحَدِيثِ عَلَى اِخْتِلَاف طُرُقِهِ دَلَالَة عَلَى جَوَاز تَخْصِيص بَعْضِ اَلْأَيَّامِ بِبَعْضِ اَلْأَعْمَالِ اَلصَّالِحَةِ وَالْمُدَاوَمَةِ عَلَى ذَلِكَ

"และในฮะดีษนี้  ทั้งที่มีสายรายงานที่แตกต่างกัน  ก็บ่งชี้ถึงว่า  อนุญาตให้เจาะจงบางวันสำหรับการปฏิบัติอะมัลที่ดีงามและอนุญาตทำสิ่งดังกล่าวเป็นประจำได้"

วัลลอฮุอะลัม[/size]

และหลังจากนั้นอิบนุหะญัรได้กล่าววิพากษ์ทัศนะที่ว่า " อนุญาตให้เจาะจงบางวันสำหรับการปฏิบัติอะมัลที่ดีงามและอนุญาตทำสิ่งดังกล่าวเป็นประจำได้" ว่า
وَتُعُقِّبَ بِأَنَّ مَجِيئَهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِلَى قُبَاءٍ إِنَّمَا كَانَ لِمُوَاصَلَةِ الْأَنْصَارِ وَتَفَقُّدِ حَالِهِمْ وَحَالِ مَنْ تَأَخَّرَ مِنْهُمْ عَنْ حُضُورِ الْجُمُعَةِ مَعَهُ وَهَذَا هُوَ السِّرّ فِي تَخْصِيص ذَلِك بالسبت
และ (ทัศนะดังกล่าว) ถูกวิพากษ์ว่า แท้จริง (เป้าหมายที่แท้จริงของ) การเดินทางไปยังกุบาอ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลัลัมนั้น ก็เพื่อทำการติดต่อกับชาวอันศอร และสอบถามข่าวคราวของพวกเขาและข่าวคราวของบรรดาผู้ที่เดินทางไปละหมาดญุมอัตล่าช้า นี่คือความลับ (หรือเหตุผล) ที่ท่านเจาะจงเลือก (เดินทางไปยังกุบาอ์) ในวันเสาร์

หมายเหตุ
           อุละมาอ์บางท่านได้อธิบายคำว่า "كل سبت" หมายถึง "كل أسبوع" หมายถึง ทุกสัปดาห์ (ไม่ใช่ทุกวันเสาร์) วัลลอฮุอะอ์ลัม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 11, 2011, 08:23 PM โดย GeT »

ออฟไลน์ GeT

  • เพื่อนสนิท (._.")
  • ***
  • กระทู้: 453
  • اللهم اعط منفقا خلفا
  • Respect: +25
    • ดูรายละเอียด
:salam:

ในเรื่องละหมาดอีดหกนั้น ผมเองไม่ทราบว่ามีหลักฐานทางศาสนาหรือไม่



ตกลงจะพูดถึงการกำหนดให้มีวันเทศกาลอีดหก หรือว่าการละหมาดในวันเทศกาลอีดหกกันแน่ ?

ออฟไลน์ anti-bid'ah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 839
  • ไม่รู้ อย่าเสือกชี้
  • Respect: +29
    • ดูรายละเอียด
:salam:

ในเรื่องละหมาดอีดหกนั้น ผมเองไม่ทราบว่ามีหลักฐานทางศาสนาหรือไม่



ตกลงจะพูดถึงการกำหนดให้มีวันเทศกาลอีดหก หรือว่าการละหมาดในวันเทศกาลอีดหกกันแน่ ?

ผมคิดว่าผมกล่าวชัดเจนแล้วน่ะครับ ดูแล้วปัญหามันอยู่ที่คุณ GET อ้างประโยคที่

ผมกล่าวมาแค่บางตอน ทั้งๆที่มันเป็นประโยคความรวม ไม่ใช่เอกาถะประโยคแต่ประการใด

(โดยมีคำว่า  "หาก....") เพราะ

๑) การอ้างว่า ตกลงจะพูดถึงการกำหนดให้มีวันเทศกาลอีดหก

หากมันเป็นเรื่องมุอามาลาต ผมเข้าใจว่าไม่มีปัญหาใดๆที่เราจะกำหนดรายอแนขึ้นมา

๒) การอ้างว่า หรือว่าการละหมาดในวันเทศกาลอีดหกกันแน่

ลองไปดูซิว่า ละหมาดอีดซิดตะฮฺน่ะมีหลักฐานไหม ถ้าไม่มี ผมเข้าใจว่าการกระทำนั้นจะเข้าข่ายบิดอะฮฺ

และอย่างที่ อ อัซอารีย์ กล่าวนั้นแหละว่า ละหมาดในวันรายอแนที่ว่านั้น มันคือละหมาดอะไร ถ้าเป็นการ

ละหมาดตัสเบียะฮฺญามาอะฮฺ หรือละหมาดใดๆที่ศาสนาอนุญาตให้ญามาอะฮฺ โดยการกำหนดเวลาเป็นเรื่อง

กว้างก็คงไม่มีปัญหา ส่วนตัวผมถ้าผมจะเจาะจงเวลาและการเจาะจงเวลาในการละหมาดนั้น

ผมมิได้คิดว่ามันประเสริฐกว่าช่วงเวลาอื่นๆ อย่างนี้ผมคิดว่าคงไม่มีปัญหา

ผิดพลาดเชิญชี้แนะครับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 11, 2011, 10:03 PM โดย anti-bid'ah »
رَبَّنَا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرْ عَنَّا سَيِّئَاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ الْأَبْرَارِ

ออฟไลน์ anti-bid'ah

  • เพื่อนแท้ (-.^)
  • ****
  • กระทู้: 839
  • ไม่รู้ อย่าเสือกชี้
  • Respect: +29
    • ดูรายละเอียด
ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร ได้อธิบายฮะดีษนี้ไว้ในหนังสือ ฟัตฮุลบารีย์ของท่านความว่า

وَفِي هَذَا اَلْحَدِيثِ عَلَى اِخْتِلَاف طُرُقِهِ دَلَالَة عَلَى جَوَاز تَخْصِيص بَعْضِ اَلْأَيَّامِ بِبَعْضِ اَلْأَعْمَالِ اَلصَّالِحَةِ وَالْمُدَاوَمَةِ عَلَى ذَلِكَ

"และในฮะดีษนี้  ทั้งที่มีสายรายงานที่แตกต่างกัน  ก็บ่งชี้ถึงว่า  อนุญาตให้เจาะจงบางวันสำหรับการปฏิบัติอะมัลที่ดีงามและอนุญาตทำสิ่งดังกล่าวเป็นประจำได้"

วัลลอฮุอะลัม[/size]

และหลังจากนั้นอิบนุหะญัรได้กล่าววิพากษ์ทัศนะที่ว่า " อนุญาตให้เจาะจงบางวันสำหรับการปฏิบัติอะมัลที่ดีงามและอนุญาตทำสิ่งดังกล่าวเป็นประจำได้" ว่า
وَتُعُقِّبَ بِأَنَّ مَجِيئَهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِلَى قُبَاءٍ إِنَّمَا كَانَ لِمُوَاصَلَةِ الْأَنْصَارِ وَتَفَقُّدِ حَالِهِمْ وَحَالِ مَنْ تَأَخَّرَ مِنْهُمْ عَنْ حُضُورِ الْجُمُعَةِ مَعَهُ وَهَذَا هُوَ السِّرّ فِي تَخْصِيص ذَلِك بالسبت
และ (ทัศนะดังกล่าว) ถูกวิพากษ์ว่า แท้จริง (เป้าหมายที่แท้จริงของ) การเดินทางไปยังกุบาอ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลัลัมนั้น ก็เพื่อทำการติดต่อกับชาวอันศอร และสอบถามข่าวคราวของพวกเขาและข่าวคราวของบรรดาผู้ที่เดินทางไปละหมาดญุมอัตล่าช้า นี่คือความลับ (หรือเหตุผล) ที่ท่านเจาะจงเลือก (เดินทางไปยังกุบาอ์) ในวันเสาร์

หมายเหตุ
           อุละมาอ์บางท่านได้อธิบายคำว่า "كل سبت" หมายถึง "كل أسبوع" หมายถึง ทุกสัปดาห์ (ไม่ใช่ทุกวันเสาร์) วัลลอฮุอะอ์ลัม

๑) ท่านอิบนุ อุมัรกล่าวว่า "كل سبت" หมายถึง ทุกวันเสาร์ (ผมว่าทรรศนะนี้อาจารย์จากหลายสถาบันคง

ยึดถือแน่นอน เพราะแปลกันตรงๆ เพราะเคยมีอาจารย์จากสถาบันหนึ่งยังว่าท่านอิมามนาวาวียังพลาด

ในการอธิบายหะดิษเกี่ยวท่านรอซูลถาม ทาสหญิงว่า อัลลอฮฺอยู่ไหน)

๒) อุละมาอ์บางท่านได้อธิบายคำว่า "كل سبت" หมายถึง "كل أسبوع" หมายถึง ทุกสัปดาห์

 (ไม่ใช่ทุกวันเสาร์) วัลลอฮุอะอ์ลัม
  อุลามาอฺที่แปลว่า ทุกวันเสาร์มีไหม เพราะบางท่าน แปลว่า

ทุกสัปดาห์  และแม้จะแปลว่าทุกสัปดาห์ ผมว่ามันก็ยังยังเข้าข่ายว่าเจาะจงเวลาอยู่ดี เพราะเจาะจงทุกสัปดาห์

๑ เดือน ไป ๔ ครั้ง ดังนั้น ๑ ปี อาจไป ๔๘ ครั้ง (โดยคิดสัปดาห์อย่างน้อยละครั้ง)


ผิดพลาดเชิญชี้แนะครับ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ก.ย. 11, 2011, 10:18 PM โดย anti-bid'ah »
رَبَّنَا فَاغْفِرْ لَنَا ذُنُوبَنَا وَكَفِّرْ عَنَّا سَيِّئَاتِنَا وَتَوَفَّنَا مَعَ الْأَبْرَارِ

ออฟไลน์ hiddenmin

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2453
  • เพศ: ชาย
  • 404 not found
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
    • Ikhlas Studio
จาก

"นี่คือความลับ (หรือเหตุผล) ที่ท่านเจาะจงเลือก (เดินทางไปยังกุบาอ์) ในวันเสาร์"

ตรงนี้ก็น่าจะชัดเจนว่าที่ไปเพราะ ไปเรื่องมุอามาลาต ไม่ใช่ไปเพราะต้องการละหมาดเพียงอย่างเดียว


ผิดพลาดตรงไหนแนะนำด้วยครับ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร ได้อธิบายฮะดีษนี้ไว้ในหนังสือ ฟัตฮุลบารีย์ของท่านความว่า

وَفِي هَذَا اَلْحَدِيثِ عَلَى اِخْتِلَاف طُرُقِهِ دَلَالَة عَلَى جَوَاز تَخْصِيص بَعْضِ اَلْأَيَّامِ بِبَعْضِ اَلْأَعْمَالِ اَلصَّالِحَةِ وَالْمُدَاوَمَةِ عَلَى ذَلِكَ

"และในฮะดีษนี้  ทั้งที่มีสายรายงานที่แตกต่างกัน  ก็บ่งชี้ถึงว่า  อนุญาตให้เจาะจงบางวันสำหรับการปฏิบัติอะมัลที่ดีงามและอนุญาตทำสิ่งดังกล่าวเป็นประจำได้"

วัลลอฮุอะลัม[/size]

และหลังจากนั้นอิบนุหะญัรได้กล่าววิพากษ์ทัศนะที่ว่า " อนุญาตให้เจาะจงบางวันสำหรับการปฏิบัติอะมัลที่ดีงามและอนุญาตทำสิ่งดังกล่าวเป็นประจำได้" ว่า
وَتُعُقِّبَ بِأَنَّ مَجِيئَهُ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِلَى قُبَاءٍ إِنَّمَا كَانَ لِمُوَاصَلَةِ الْأَنْصَارِ وَتَفَقُّدِ حَالِهِمْ وَحَالِ مَنْ تَأَخَّرَ مِنْهُمْ عَنْ حُضُورِ الْجُمُعَةِ مَعَهُ وَهَذَا هُوَ السِّرّ فِي تَخْصِيص ذَلِك بالسبت
และ (ทัศนะดังกล่าว) ถูกวิพากษ์ว่า แท้จริง (เป้าหมายที่แท้จริงของ) การเดินทางไปยังกุบาอ์ของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลัลัมนั้น ก็เพื่อทำการติดต่อกับชาวอันศอร และสอบถามข่าวคราวของพวกเขาและข่าวคราวของบรรดาผู้ที่เดินทางไปละหมาดญุมอัตล่าช้า นี่คือความลับ (หรือเหตุผล) ที่ท่านเจาะจงเลือก (เดินทางไปยังกุบาอ์) ในวันเสาร์

หมายเหตุ
           อุละมาอ์บางท่านได้อธิบายคำว่า "كل سبت" หมายถึง "كل أسبوع" หมายถึง ทุกสัปดาห์ (ไม่ใช่ทุกวันเสาร์) วัลลอฮุอะอ์ลัม

ไม่ทราบว่า  คำพูดที่ว่า  “และในฮะดีษนี้  ทั้งที่มีสายรายงานที่แตกต่างกัน  ก็บ่งชี้ถึงว่า  อนุญาตให้เจาะจงบางวันสำหรับการปฏิบัติอะมัลที่ดีงามและอนุญาตทำสิ่งดังกล่าวเป็นประจำได้” นั้น เป็นทัศนะของใครก่อนหน้าท่านอิบนุหะญัร  เพราะท่านอิบนุหะญัรไม่ได้บอกไว้เลยว่าเป็นทัศนะของใคร  หรือว่าเป็นทัศนะของท่านอิบนุหะญัรเอง

และการที่ท่านอิบนุหะญัร  ได้นำอีกทัศนะหนึ่งมาแย้งว่า  ที่ท่านนะบีย์ไปมัสยิดกุบาอฺในวันเสาร์นั้น  เพื่อติดต่อกับชาวอันซอรและสอบถามผู้ที่ล่าช้าละหมาดวันศุกร์นั้น  เพื่อยืนยันว่าเป็นทัศนะที่แท้จริงของท่านอิบนุหะญัรหรือ?  หรือเพื่อต้องการนำเสนอทัศนะในเชิงอภิปราย?

ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวว่า

وَقَوْله : ( كُلّ سَبْت ) فِيهِ : جَوَاز تَخْصِيص بَعْض الْأَيَّام بِالزِّيَارَةِ ، وَهَذَا هُوَ الصَّوَاب وَقَوْل الْجُمْهُور

“คำกล่าวที่ว่า (ทุกวันเสาร์)นั้น  คืออนุญาตให้เจาะจงบางวันสำหรับการเยี่ยม(มัสยิดกุบาอฺ) และนี้ คือสิ่งที่ถูกต้องและเป็นทัศนะของปราชญ์ส่วนมาก” ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม

ท่านอิบนุหิบบาน ได้รายงานถึง ท่านอิบนุอุมัร ว่า

أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ كَانَ يَأْتِيْ قُبَاءً كُلَّ يُوْمِ سَبْتٍ

“แท้จริงท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้มาที่กุบาอฺในทุกๆ วันเสาร์” (ฮะดีษที่ 1659)

หลังจากท่านนะบีเสียชีวิตแล้ว ท่านอิบนุอุมัร  ก็เจาะจงไปเยี่ยมและละหมาดที่มัสยิดกุบาอฺในทุกวันเสาร์

ชัยค์อุษัยมีน อุลามาอฺวะฮาบีย์อาวุโส  ได้ฟัตวาว่า

وَالْمَسْجِدَانِ: اَلنَّبَوِيُّ وَالْقُبَائِيُّ كِلاَهُمَا أُسِّسَ عَلَى التَّقْوَى مِنْ أَوَّلِ يَوْمٍ، مَسْجِدُ قُبَاءٍ مِنْ أَوَّلِ يَوْمٍ نَزَلَ فِيْهِ الرَّسُوْلُ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قُبَاءً، مَسْجِدُ الْمَدِيْنَةِ مِنْ أَوَّلِ يَوْمٍ وَصَلَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِلَى الْمَدِيْنَةِ ، فَكِلاَهُمَا أُسِّسَ مِنْ أَوَّلِ يَوْمٍ، لَكِنْ لاَ شَكَّ أَنَّ الْمَسْجِدَ النَّبَوِيَّ أَفْضَلُ، لِهَذاَ كَانَ الرَّسُوْلُ عَلَيْهِ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ يَجْعَلُ يَوْمَ الْجُمُعَةِ لِلْمَسْجَدِ النّبَوِيِّ وَيَوْمَ السَّبْتِ لِمَسْجِدِ قُبَاءٍ. فَإِذَا تَيَسَّرَ لَكَ أَنْ تَزُوْرَ قُبَاءً كُلَّ يَوْمِ سَبْتٍ رَاكِباً أَوْ رَاجِلاً بِحَسَبِ مَا تَيَسَّرَ لَكَ وَتَخْرُجُ مِنْ بَيْتِكَ مُتَطَهِّراً وَتُصَلِّيْ فِيْهِ مَا شَاءَ اللهُ فَهُوَ خَيْرٌ

“สองมัสยิด คือมัสยิดอันนะบะวีย์และอัลกุบาอฺ  ทั้งสองถูกสร้างขึ้นบนความตักวาจากช่วงวันแรก  คือมัสยิดกุบาอฺนั้นสร้างวันแรกที่ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ลงหยุดพัก  ส่วนมัสยิดอัลมะดีนะฮ์ถูกสร้างขึ้นในวันแรกที่ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ถึงมะดีนะฮ์  ดังนั้นทุกๆ จากทั้งสองมัสยิด  ล้วนถูกสร้างขึ้นมาในช่วงวันแรก  แต่ไม่สงสัยเลยว่า  มัสยิดอันนะบะวีย์ย่อมประเสริฐกว่า  ด้วยเหตุนี้ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้นำวันศุกร์(วันเป็นที่ทำการอิบาดะฮ์)ที่มัสยิดอันนะบะวีย์  และวันเสาร์สำหรับมัสยิดกุบาอฺ  ดังนั้นเมื่อท่านสะดวกที่จะไปเยี่ยมมัสยิดกุบาอฺในทุกวันเสาร์ โดยขี่พาหนะหรือเดินเท้าตามแล้วแต่จะสะดวก และออกจากบ้านไปโดยชำระความสะดวก  แล้วก็ทำการละหมาดที่มัสยิดกุบาอฺ ตามที่อัลเลาะฮ์ทรงประสงค์   แน่นอนว่ามันเป็นสิ่งที่ดีงามดู ฟัตวาชัยค์อุษัยมีน

นี้คือ ซิร (เหตุผล) ที่ท่านนะบีย์ไปมัสยิดกุบาอฺทุกๆ เสาร์ ตามทัศนะของชัยค์อุษมัยมีน

ดังนั้นการที่ท่านนะบีไปเยี่ยมมัสยิดกุบาอ์นั้น  ท่านได้ทำละหมาดสุนัตที่นั่นในทุกวันเสาร์ด้วย  เพราะมีฮะดีษมุสลิมได้ยืนยันไว้  ซึ่งท่านอิบนุอุมัร เองก็ได้รายงานยืนยันว่า

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَأْتِي مَسْجِدَ قُبَاءٍ رَاكِبًا وَمَاشِيًا فَيُصَلِّي فِيهِ رَكْعَتَيْنِ

"ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไปที่มัสยิดแบบทั้งขี่พาหนะและเดินเท้า แล้วท่านก็ละหมาดที่มัสยิดกุบาอ์สองร็อกอะฮ์" รายงานโดยมุสลิม

ท่านอัตติรมีซีได้รายงานฮะดีษ ถึงท่าน อุซัยด์ บิน ซุฮัยร์  ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ความว่า  ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

الصَّلَاةُ فِي مَسْجِدِ قُبَاءٍ كَعُمْرَةٍ

"การละหมาดในมัสยิดกุบาอ์ เหมือนทำอุมเราะฮ์" ฮะดีษซอฮิห์ (ฮะดีษเลขที่ 324)

ท่านอันนะซาอีย์ ได้รายงายฮะดีษ ถึงท่าน ซะฮฺล์ บิน หุนัยฟ์  ว่า  ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

مَنْ خَرَجَ حَتَّى يَأْتِيَ هَذَا الْمَسْجِدَ مَسْجِدَ قُبَاءَ فَصَلَّى فِيهِ كَانَ لَهُ عَدْلَ عُمْرَةٍ

"ผู้ใดที่ออก(จากบ้าน)จนกระทั่งมาที่มัสยิดนี้ คือมัสยิดกุบาอ์  แล้วเขาทำการละหมาด  เท่ากับเขาได้ทำการอุมเราะฮ์" ฮะดีษซอฮิห์ (ฮะดีษเลขที่ 699)

วัลลอฮุอะลัม

أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
จาก

"นี่คือความลับ (หรือเหตุผล) ที่ท่านเจาะจงเลือก (เดินทางไปยังกุบาอ์) ในวันเสาร์"

ตรงนี้ก็น่าจะชัดเจนว่าที่ไปเพราะ ไปเรื่องมุอามาลาต ไม่ใช่ไปเพราะต้องการละหมาดเพียงอย่างเดียว


ผิดพลาดตรงไหนแนะนำด้วยครับ

"ในเรื่องมุอาลาตด้วย ไม่ใช่ไปเพื่อละหมาดอย่างเดียว"  ถูกต้องตามตัวบทฮะดีษที่ซอฮิห์  แล้วครับ
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

 

GoogleTagged