กระดานเสวนานักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ชี้แจงแนวทางอะฮฺลิสสุนนะฮ์ฯ
Pages: 123
สะลัฟและค่อลัฟ ระหว่าง ความเหมาะสมและความจำเป็น By: M. Rodee Date: ก.ย. 30, 2008, 07:38 PM
 salam

             คับ อยากทราบว่า  สำหรับคนปัจจุบันนี้ อัล ชาอิเราะฮ มีความเหมาะสม หรือ จำเปนมากเพียงใดในการยึดแนวทางนี้ คือว่า ถ้าเราจะยึดแนวทางอื่น คือ สะลัฟ มันจะดี หรือ เหมาะสม มากเพียงใดในสังคมทุกวันนี้  ผมเองตอนนี้สับสนระหว่างสองทางนี้  คือ ผมต้องการที่จะศึกษาสะลัฟ ว่างั้นเถอะเหตุผลก็คือ ผมเองก็เปนนักศึกษาผู้หนึ่งมันจะดีกว่าถ้าผมเลือก สะลัฟ  ผมในฐานะนักศึกษาทั่วไป เกี่ยวกับเรื่อง การตอบโต้จากพวกที่กล่าวหาว่าอัลลอฮนั้น มันไม่ค่อยมีมาสักเท่าไหร่ในปัจจุบัน ไม่เหมือนสมัยของ ท่าน อิมาม อัล อัชฮารีย แต่ผมเองก้อมีความภูมิใจที่ว่า อัล ชาอัชาอิเราะนั้น เปนอาวุธสำคัญของอิสลามที่จะตอบโต้ศัตรูของอิสลาม แต่ในช่วงปัจจุบันนี้อยากทราบว่าความสำคัญ และความเหมาสมมากเพียงใดในการยึดแนวทางนี้ และมันจะดีหรือป่าว ถ้าผมจะเลือกแนวทางสะลัฟ แต่เข้าใจนะคับว่า ทั้งสองแนวทางนี้ มีเป้าหมายเดียวกัน แต่อยากรบกวนบังช่วยให้ความคิดเหนคับ
 คับ มีอะไรผิดพลาดขอมาอัฟไว้ ณ ที่นี้ด้วยคับ ญาซากัลลอฮูค็อยรอน
Re: ความเหมาะสม และ ความจำเป็น By: al-azhary Date: ก.ย. 30, 2008, 08:53 PM
 salam

ยินดีอย่างยิ่ง  ที่น้อง M. Rodee ได้ตั้งคำถามนี้ขึ้นมา  ซึ่งทางเราจะได้มีโอกาสได้อธิบายถึงความชัดเจนอีกครั้ง

ต่อไปนี้จะเป็นการเสวนาระหว่างทางเอ็มเอสเอ็น  เพื่อจะได้ต่อยอดมาเสวนาในกระทู้ครับ

al-azhary says:
อั้สลามุอะลัยกุ้มครับ

al-azhary says:
น้องครับ

al-azhary says:
กระทู้ที่น้องตั้งคำถามขอความเห็นนั้น  จะให้พี่น้องร่วมกันเสวนาหรือเปล่า

1000 - (1)  = 999 says:
รับสลามคับ

1000 - (1)  = 999 says:
คับปม

al-azhary says:
เพราะหมวดที่น้องตั้งกระทู้ขึ้นมานั้น  บังคนเดียวที่สามารถโพสต์ได้

al-azhary says:
งั้นบังจะย้ายกระทู้ของน้อง ล่ะกันน่ะ ย้ายไปที่หมวดอะกีดะฮ์

1000 - (1)  = 999 says:
คับบัง

al-azhary says:
แต่น้องต้องร่วมมือ ในการตอบคำถามของบังในกระทู้ด้วยน่ะ

1000 - (1)  = 999 says:
คับผม

1000 - (1)  = 999 says:
ผมรู้แค่ไหน ผมก้อจะตอบเท่าที่รู้คับบัง

al-azhary says:
หากมีอะไรจะถามเพิ่มเติม  ถามมาได้เลย  บังจะจัดให้และอธิบายให้

1000 - (1)  = 999 says:
ตอนนี้เลยใช่ป่าวคับ

al-azhary says:
คร๊าบบบบบ

1000 - (1)  = 999 says:
คือว่า ตอนนี้สับสนมากเลยคับว่า ควรเลือกไรดีอะ

al-azhary says:
:)

al-azhary says:
บังนั้น เลือกให้น้ำหนักแนวทางสะลัฟ

al-azhary says:
เพราะอะชาอิเราะฮ์ คือ สะลัฟอย่างแท้จริง

al-azhary says:
แสดงว่า กระทู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับสะลัฟและค่อลัฟนั้น  น้องยังไม่ได้อ่านแน่เลย http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=1079.0

1000 - (1)  = 999 says:
ผมอ่านคับ

1000 - (1)  = 999 says:
เข้าใจว่า สุดท้ายมันก้อคือสะลัฟ เหมือนกัน

al-azhary says:
แสดงว่า อัลอะชาอิเราะฮ์ มี 2 แนวทาง  ใช่ไหมครับ  คือแนวทางสะลัฟและค่อลัฟ

ดังที่ท่านอิมาม อัลมุจญฺฮิด อัลฟาฟิซฺ ตะญุดดีน อัศศุบกีย์ กล่าวว่า

للأشاعرة قولان مشهوران في إثبات الصفات، هل تمر على ظاهرها مع اعتقاد التنزيه أو تؤول؟ والقول بالإمرار مع اعتقاد التنزيه هو المعزو إلى السلف، وهو اختيار الإمام في الرسالة النظامية، وفي مواضع من كلامه فرجوعه معناه الرجوع عن التأويل إلى التفويض، ولا إنكار في هذا، ولا في مقابله، فإنها مسألة اجتهادية، أعني مسألة التأويل أو التفويض مع اعتقاد التنزيه، إنما المصيبة الكبرى والداهية الدهياء الإمرار على الظاهر، والاعتقاد أنه المراد، وأنه لا يستحيل على الباري، فذلك قول المجسمة عُبَّاد الوثن، الذين في قلوبهم زيغ يحملهم على اتباع المتشابه ابتغاء الفتنة، عليهم لعائن الله تَتْرى واحدة بعد أخرى، ما أجرأهم على الكذب وأقلَّ فهمهم للحقائق.اهـ

" ให้กับ(แนวทาง)อัลอะชาอิเราะฮ์นั้น มีอยู่สองทัศนะที่เลื่องลือ เกี่ยวกับการยืนยันเรื่องซิฟาต , คือผ่านมันไปกับความหมายผิวเผิญของมัน พร้อมกับยึดมั่นกับความบริสุทธิ์(จากการไปคล้ายเหมือนกับมัคโลค) หรือว่าให้ทำการตีความ(ตะวีล)? และทัศนะคำกล่าว ด้วยการผ่านมันไป พร้อมกับการยึดมั่นกับความบริสุทธิ์นั้น ก็คืออ้างไปยังทัศนะของสะลัฟ และมันก็คือทัศนะที่อิมาม(อัลญุวัยนีย์) ได้ทำการเลือกเฟ้นไว้ในหนังสือ อัรริซาละฮ์ อันนิซฺอมียะฮ์ และในสถานที่ต่างๆ ที่มาจากคำกล่าวของเขา(ท่านอิมามอัลญุวัยนีย์) ดังนั้น การที่ท่านได้ยกเลิกจากการให้ความหมายมัน คือการที่ท่านอิมามได้ยกเลิกจากการตีความโดยกลับไปสู่การมอบหมาย โดยที่ไม่มีการตำหนิใดๆ ในสิ่งดังกล่าวนี้(คือการมอบหมาย) และไม่มีการตำหนิกับสิ่งที่ตรงข้ามกับมัน(คือการตีความ) ฉะนั้น บรรดาคำพูดของท่านอิมามอัลญุวัยนีย์ ก็อยู่ในประเด็นของการวินิจฉัย ฉันหมายถึง ประเด็นของการตีความและมอบหมายพร้อมกับยึดมั่นในความบริสุทธิ์ แต่ แท้จริง ความวิบัติอันยิ่งใหญ่และการหลอกลวงที่มีเลห์เหลี่ยม ก็คือการผ่านมันไปบนความหมายแบบผิวเผิญโดยยึดมั่นว่าแท้จริงความหมายแบบผิว เผิญนั้นคือจุดมุ่งหมาย และไม่ถือว่า(ความหมายแบบผิวเผิญ)เป็นสิ่งที่มุสติฮีลต่ออัลเลาะฮ์ ดังนั้น สิ่งดังกล่าวนี้ คือ คำกล่าวของกลุ่ม อัลมุญัสสิมะฮ์ ผู้อิบาดะฮ์กับรูปเจว็ด ที่บรรดาหัวใจของพวกเขานั้น มีความเบี่ยงเบนที่ทำให้พวกเขาอยู่บนการตามความเคลือบแครง เพื่อแสวงหาความฟิตนะฮ์ บรรดาอเปหิของอัลเลาะฮ์ ได้ประสบแก่พวกเขาอย่างต่อเนื่องครั้งแล้วครั้งเล่า และมันเป็นความอาจหาญต่อความโกหกและขาดความเข้าใจกับบรรดาข้อเท็จจริงของพวก เขาเสียกระไรนี่!" ดู หนังสือ เฏาะบะก๊อต อัชชาฟิอียะฮ์ อัลก๊อบรอ เล่มที่ 5 หน้า 191

al-azhary says:
เมื่อเป็นเช่นนั้น  น้องจะแบ่งแยกทำไมล่ะระหว่าง  อัลอะชาอิเราะฮ์ กับ สะลัฟ  ทั้งที่มันคือแนวทางเดียวกัน

al-azhary says:
ตามที่บังได้นำเสนอไปแล้วว่า  อัลอะชาอิเราะฮ์มี 2 แนวทาง คือค่อลัฟ และ สลัฟ    ดังนั้นหากเลือกนแนวทางสะลัฟ  ก็ยังอยู่ในแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์  หรือเลือกแนวทางค่อลัฟ  ก็อยู่ในหลักอะกีดะฮ์ของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์เช่นกัน  เพราะสะลัฟเอง ก็ตีความ(ตะวีล) เหมือนกัน

1000 - (1)  = 999 says:
คับ

al-azhary says:
น้องครับ

al-azhary says:
บังถามอะไรหน่อย

1000 - (1)  = 999 says:
ยอ

al-azhary says:
น้องเชื่อใหม่ว่า "แนวทางอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาะฮ์"  เป็นอะกีดะฮ์ที่เหมาะสมในทุกยุคทุกสมัย

1000 - (1)  = 999 says:
คับ

al-azhary says:
ในยุคที่ผ่าน ๆ มา  อัลอะชาอิเราะฮ์  ต่างปกป้องอิสลาม  แต่อยู่ดี ๆ มันไม่เหมาะสมในยุคนี้แล้วหรอ

1000 - (1)  = 999 says:
ผมไม่ได้หมายความว่ามันไม่เหมาะสม แต่ผมอยากทราบว่าปัจจุบันมันเหมาะสม และจำเปนมากแค่ไหนคับ

al-azhary says:
มันมีอยู่ 2 ปัจจัย ครับ

1000 - (1)  = 999 says:
ก้อเลยเขียนไปเพื่อต้องการความคิดเหน

al-azhary says:
1. ความเหมาะสมของตัวบุคคล  2. ความเหมาะโดยพิจารณาถึงสถานะการณ์

al-azhary says:
กล่าวคือ หากตัวบุคคลนั้น  มีอีหม่านที่แน่นแฟ้นและจิตใจไม่จินตนาการว่าอัลเลาะฮ์เป็นอย่างนั้นอย่างนี้   แนวทางสะลัฟเหมาะสมสำหรับเขา  แต่บางคนชอบคิดชอบจินตนาการ  ลักษณะคนเช่นนี้ก็ต้องมีบ้างอยู่แล้วในบางคน  แนวทางตีความ(แบบส่วนมากของค่อลัฟและส่วนน้อยของสะลัฟ) ย่อมดีกว่าสำหรับเขา

al-azhary says:
ส่วนประเด็นที่สอง  หากมีกลุ่มบิดอะฮ์พยายามสร้างความหม่นหมองให้เกิดขึ้นกับอะกีดะฮ์อิสลาม  พยายามให้คนเอาวามทั่วไปเชื่อไปในทางที่ว่า อัลเลาะฮ์ทรงเป็นรูปร่าง  อัลเลาะฮ์ทรงมีอวัยวะ   แล้วคนเอาวามก็สับสนจินตาการตามหลักอะกีดะฮ์ของพวกเขา  แน่นอนว่า  การให้หลักการตีความนั้น  ย่อมเหมาะสมสำหรับยุคนั้นหรือเหมาะสมกับสำหรับคน ๆ นั้น

al-azhary says:
น้องครับ  บางทีน้องคิดว่า  ค่อลัฟ คือแนวทางที่มีการตีความ  บังอยากจะบอกว่า  แนวทางของสะลัฟ ก็ตีความเหมือนกัน 

al-azhary says:
น้องลองอ่านดูที่กระทู้นี้ครับ  http://www.sunnahstudents.com/forum/index.php?topic=1066.0

1000 - (1)  = 999 sent 30/9/2551 20:29:
คับ

1000 - (1)  = 999 sent 30/9/2551 20:30:
จะศึกษาให้มากๆคับบัง

al-azhary says:
ครับ

al-azhary says:
น้องถามมาได้เลยน่ะครับ

1000 - (1)  = 999 says:
คับ

al-azhary says:
น้องครับ  บังขออนุญาต  เอาการเสวนานี้  ลองกระทู้ได้ไหม

1000 - (1)  = 999 says:
คับ

al-azhary says:
แล้วเราก็จะเสวนาเพิ่มเติมในกระทู้กันต่อไปอีก

Re: สะลัฟและค่อลัฟ ระหว่าง ความเหมาะสมและความจำเป็น By: Deeneeyah Date: ก.ย. 30, 2008, 10:14 PM
 salam

ศึกษากันต่อไปครับทั้ง สลัฟ ค่อลัฟ  อย่าหยุดศึกษาแล้วกันครับ  ;D
Re: ความเหมาะสม และ ความจำเป็น By: คะลัคคะลุย Date: ต.ค. 01, 2008, 02:36 AM
al-azhary says:
น้องเชื่อใหม่ว่า "แนวทางอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาะฮ์"  เป็นอะกีดะฮ์ที่เหมาะสมในทุกยุคทุกสมัย

1000 - (1)  = 999 says:
คับ

al-azhary says:
ในยุคที่ผ่าน ๆ มา  อัลอะชาอิเราะฮ์  ต่างปกป้องอิสลาม  แต่อยู่ดี ๆ มันไม่เหมาะสมในยุคนี้แล้วหรอ

1000 - (1)  = 999 says:
ผมไม่ได้หมายความว่ามันไม่เหมาะสม แต่ผมอยากทราบว่าปัจจุบันมันเหมาะสม และจำเปนมากแค่ไหนคับ
[/size]

 salam

เมื่ออัลอิสลามได้ให้ความประจักษ์แล้วว่า  ยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองในอดีตนั้น  อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมะตูรียะฮ์  ได้ทำการปกป้องอะกีดะฮ์อัลอิสลามาโดยตลอด  ซึ่งมีความเหมาะสมในทุกยุคสมัยจนถึงกิยามะฮ์  อยู่ดี ๆ จะมาเปลี่ยนแปลงสัจธรรมไม่ได้หรอก   ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยที่เกิดฟิตนะฮ์อะกีดะฮ์อิสลามถูกคุกคาม  หรืออยู่ในยุคที่อิสลามรุ่งเรืองอะกีดะฮ์ไม่ถูกคุกคาม  อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์และอัลมะตูรียะฮ์  ก็มีความเหมาะสมมี 2 แนวทางให้เลือกและมีความยืดหยุ่นเข้ากับยุคสมัยนั้น ๆ

มีชายคนหนึ่งได้ถามท่านอบูหะนีฟะฮ์ว่า "เหตุใดพวกท่านถึงพูดกันเรื่องวิชากะลาม  ทั้งที่ซอฮาบะฮ์ไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้เลย"  ท่านอบูหะนีฟะฮ์ตอบว่า "บรรดา ซอฮาบะฮ์ก็ประหนึ่งมนุษย์ที่ไม่มีผู้ใดมาสู้รบ(คุกคามอะกีดะฮ์ของ)พวกเขา  ดังนั้นพวกเขาจึงไม่ต้องการที่จะเผยอาวุธออกมาใช้ และพวกเราก็ประหนึ่งมนุษย์ที่มีผู้เข้ามาสู้รบ  ดังนั้นพวกเราจึงต้องการเผยอาวุธเพื่อมาใช้ต่อสู้กับพวกเขา"

แต่ปัจจุบันนี้  มีความจำเป็นแล้วครับ  คือมีความจำเป็นที่จะต้องปกป้องอะกีดะฮ์อิสลามจากพวกที่เชื่อว่าอัลเลาะฮ์มีรูปร่าง  อัลเลาะฮ์มีอวัยวะ  อัลเลาะฮ์ทรงมีสถานที่อยู่  อัลเลาะฮ์ทรงเคลื่อนไหวเคลื่อนย้าย  เจาะจงฟันธงว่าอัลเลาะฮ์อยู่ในความหมายที่นั่งบนบัลลังก์  และกะลามุลลอฮ์นั้นเป็นสิ่งที่บังเกิดขึ้นมาใหม่  เป็นต้น

แล้วเราจะมาคิดทำไมว่า  แนวทางค่อลัฟหรือสะลัฟเหมาะสมในยุคปัจจุบันทั้งที่มีเป้าหมายเดียวกัน  แต่สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นคือปกป้องอะกีดะฮ์อิสลามจากกลุ่มอะกีดะฮ์บิดอะฮ์นั่นเองครับ

Re: ความเหมาะสม และ ความจำเป็น By: นูรุ้ลอิสลาม Date: ต.ค. 01, 2008, 10:22 AM
al-azhary says:
บังนั้น เลือกให้น้ำหนักแนวทางสะลัฟ

       ช่วยอธิบายให้กระจ่ายด้วยว่าแนวทางสะลัฟคืออะไร  และแตกต่างจากแนวทางกลุ่มวะฮาบีอย่างไร  ไม่งั้นวะฮาบีบางคนอาจจะฉวยโอกาสเอาคำพูดนี้ไปโฆษณากันว่า  แม้อัลอัซฮะรีย์ยังอยู่ในแนวทางสะลัฟเหมือนกับพวกเขาทั้งที่มันไม่จริง  ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
Re: สะลัฟและค่อลัฟ ระหว่าง ความเหมาะสมและความจำเป็น By: นูรุ้ลอิสลาม Date: ต.ค. 01, 2008, 10:35 AM
salam

             คับ อยากทราบว่า  สำหรับคนปัจจุบันนี้ อัล ชาอิเราะฮ มีความเหมาะสม หรือ จำเปนมากเพียงใดในการยึดแนวทางนี้ คือว่า ถ้าเราจะยึดแนวทางอื่น คือ สะลัฟ มันจะดี หรือ เหมาะสม มากเพียงใดในสังคมทุกวันนี้  ผมเองตอนนี้สับสนระหว่างสองทางนี้  คือ ผมต้องการที่จะศึกษาสะลัฟ ว่างั้นเถอะเหตุผลก็คือ ผมเองก็เปนนักศึกษาผู้หนึ่งมันจะดีกว่าถ้าผมเลือก สะลัฟ  ผมในฐานะนักศึกษาทั่วไป เกี่ยวกับเรื่อง การตอบโต้จากพวกที่กล่าวหาว่าอัลลอฮนั้น มันไม่ค่อยมีมาสักเท่าไหร่ในปัจจุบัน ไม่เหมือนสมัยของ ท่าน อิมาม อัล อัชฮารีย แต่ผมเองก้อมีความภูมิใจที่ว่า อัล ชาอัชาอิเราะนั้น เปนอาวุธสำคัญของอิสลามที่จะตอบโต้ศัตรูของอิสลาม แต่ในช่วงปัจจุบันนี้อยากทราบว่าความสำคัญ และความเหมาสมมากเพียงใดในการยึดแนวทางนี้ และมันจะดีหรือป่าว ถ้าผมจะเลือกแนวทางสะลัฟ แต่เข้าใจนะคับว่า ทั้งสองแนวทางนี้ มีเป้าหมายเดียวกัน แต่อยากรบกวนบังช่วยให้ความคิดเหนคับ
 คับ มีอะไรผิดพลาดขอมาอัฟไว้ ณ ที่นี้ด้วยคับ ญาซากัลลอฮูค็อยรอน

อัสลามุอะลัยกุ้มฯ

       น้องครับ  อัลอะชาอิเราะฮ์นั้น  คืออะฮ์ลิสซุนนะฮ์แนวทางสะลัฟอย่างแท้จริง  กล่าวคือสะลัฟส่วนมากนั้นทำการมอบหมายและสะลัฟส่วนน้อยทำการตีความ(ตะวีล)  ซึ่งทั้งสองแนวทางนี้คือแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์  กล่าวคืออัลอะชาอิเราะฮ์ให้ความเป็นธรรมกับสะลัฟ  ไม่ว่าพวกเขาจะมอบหมายหรือตีความ  แต่ทั้งหมดล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน  นั่นคือยืนยันความบริสุทธิ์ของอัลเลาะฮ์จากการไปคล้ายและเหมือนกับมัคโลค

       ดังนั้นถ้าหากมีบางกลุ่มบอกว่าตีความไม่ได้เพราะไม่ใช่แนวทางสะลัฟ  นั่นก็แสดงว่าบางกลุ่มนั้นกำลังตัดสินสะละฟุสศอลิห์บางส่วนว่าเป็นพวกบิดอะฮ์ วัลอิยาซุบิลลาฮ์ 

       และผมมีความเห็นเช่นเดียวกันกับน้อง งานเข้า ที่ว่า

       แต่ปัจจุบันนี้  มีความจำเป็นแล้วครับ  คือมีความจำเป็นที่จะต้องปกป้องอะกีดะฮ์อิสลามจากพวกที่เชื่อว่าอัลเลาะฮ์มีรูปร่าง  อัลเลาะฮ์มีอวัยวะ  อัลเลาะฮ์ทรงมีสถานที่อยู่  อัลเลาะฮ์ทรงเคลื่อนไหวเคลื่อนย้าย  เจาะจงฟันธงว่าอัลเลาะฮ์อยู่ในความหมายที่นั่งบนบัลลังก์  และกะลามุลลอฮ์นั้นเป็นสิ่งที่บังเกิดขึ้นมาใหม่  เป็นต้น

       แล้วเราจะมาคิดทำไมว่า  แนวทางค่อลัฟหรือสะลัฟเหมาะสมในยุคปัจจุบันทั้งที่มีเป้าหมายเดียวกัน  แต่สิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้นคือปกป้องอะกีดะฮ์อิสลามจากกลุ่มอะกีดะฮ์บิดอะฮ์นั่นเองครับ
Re: สะลัฟและค่อลัฟ ระหว่าง ความเหมาะสมและความจำเป็น By: M. Rodee Date: ต.ค. 01, 2008, 09:59 PM

     อัสตัฆฟีรุ้ลเลาะฮ 

    บังคับ ผมไม่มีเจตนาที่จะเปลี่ยนสัจธรรมนะ จากการเขียนของผมนั้น เพื่อต้องการมุมมองต่างๆ จากเพื่อนๆ เพื่อมาไตร่ตรอง นำมาซึ่งสัจธรรม แล้วผมเป็นเพียงคนๆนึงที่ตอ้งการสัจธรรม แนวทางที่ถูกต้อง  แล้วบังบอกว่าผมจะมาเปลี่ยนสัจธรรม มันคืออะไรคับ  แล้วบังไม่คิดว่าผมต้องการปกป้องอิสลามจากกลุ่มบิดอะฮบ้างหรือ  แล้วผมอยากเรียนถามว่า กลุ่มที่บังบอกว่าพวกที่กล่าวหาว่าอัลลอฮมีรูปร่าง และอื่นๆ คือกลุ่มไหน ถ้าผมรู้ผมจะได้ระวังตัวจากกลุ่มนั้น  และต้องขอมาอัฟ ด้วยที่ผมจะมาเปลี่ยนสัจธรรม
Re: สะลัฟและค่อลัฟ ระหว่าง ความเหมาะสมและความจำเป็น By: คะลัคคะลุย Date: ต.ค. 02, 2008, 01:25 AM

     อัสตัฆฟีรุ้ลเลาะฮ 

    บังคับ ผมไม่มีเจตนาที่จะเปลี่ยนสัจธรรมนะ จากการเขียนของผมนั้น เพื่อต้องการมุมมองต่างๆ จากเพื่อนๆ เพื่อมาไตร่ตรอง นำมาซึ่งสัจธรรม แล้วผมเป็นเพียงคนๆนึงที่ตอ้งการสัจธรรม แนวทางที่ถูกต้อง  แล้วบังบอกว่าผมจะมาเปลี่ยนสัจธรรม มันคือ

ขอมะอัฟด้วยครับที่ข้อความบางตอนทำให้น้อง เอ็ม.รอดี เข้าใจผิด  ที่ผมเขียนไปนั้นเขียนพาดพิงแบบโดยนัยให้กับกลุ่มหนึ่งที่พยายามคิดกันว่าอัลอะชาอิเราะฮ์ไม่ใช่อะฮ์ลิสซุนนะฮ์  เขียนให้คนอื่นๆ อ่าน  และที่ผมอ้างอิงการเสวนามานั้นเพื่อเป็นบทนำเท่านั้น 

ส่วนคำถามที่น้องได้โพสต์มาตั้งแต่ตอนนั้น  ผมและพี่น้องเข้าใจถึงเจตนาของน้องดีครับ loveit:
Re: สะลัฟและค่อลัฟ ระหว่าง ความเหมาะสมและความจำเป็น By: ad-dalawy Date: ต.ค. 02, 2008, 10:08 AM
แล้วผมอยากเรียนถามว่า กลุ่มที่บังบอกว่าพวกที่กล่าวหาว่าอัลลอฮมีรูปร่าง และอื่นๆ คือกลุ่มไหน ถ้าผมรู้ผมจะได้ระวังตัวจากกลุ่มนั้น 

เท่าที่ศึกษา กลุ่มที่คุณรอดีถามถึงนั้นคือ กลุ่มวะฮาบีนั่นเองครับ
Re: สะลัฟและค่อลัฟ ระหว่าง ความเหมาะสมและความจำเป็น By: Al Fatoni Date: ต.ค. 02, 2008, 06:14 PM
อัสสลามุ อลัยกุม

              ตามความเข้าใจของผมเกี่ยวกับความคิดของคนหนุ่มสาวมุสลิมสมัยนี้นะครับ (เน้นที่มหาลัยที่ผมเรียนอยู่) คือว่า ส่วนใหญ่มักจะติดภาพที่ว่า การเรียนศิฟัต 20 เป็นที่ยากเย็นมากในการทำความเข้าใจและต้องใช้เวลา พร้อมทั้งอุทิศอย่างจริงจังถึงจะได้ผลที่ออกมาดี ทำให้บางคนรู้สึกเป็นภาระหนักที่ตนต้องแบกรับไว้ ประกอบกับหลังๆ หนุ่มสาวหลายคนเริ่มรู้ว่า บุคคลที่นิยมศิฟัต 20 นั้นที่จริงก็คือ อะชาอิเราะฮ์ (หรือถ้ารู้มากหน่อยก็จะรู้ถึง "มาตุริดียะฮ์" ด้วย) และประกอบกับแนวทางสลัฟ (ที่บางกลุ่มพยายามอ้างว่าตนอยู่ในแนวทางนี้) นั้น ก็มีแนวการสอนศิฟัตของอัลลอฮฺในแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจกว่ามาก เมื่อเทียบกับศิฟัต 20 ทั้งๆ ที่บางทัศนะของพวกเขานั้นจะผิดพลาดก็ตาม แต่พวกเขาก็ไม่รู้ และเชื่อมันโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เราจะเห็นได้ว่า บุคคลส่วนใหญ่ที่เปลี่ยนทัศนะไปเป็นวะฮาบีย์นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาและคนทำงานที่ไม่มีเวลามาทำความเข้าใจเรื่องยากๆ (โดยเฉพาะศิฟัต 20)

              โดยส่วนตัวผมนั้น ผมเชื่อว่า แนวทางแบบอะชาอิเราะฮ์ นั้นเหมาะสมกับยุคสมัยนี้อยู่แล้ว และเหมาะสมกับทุกยุคทุกสมัย ซึ่งอาจจะเหมาะสมอย่างยิ่งยวดเสียด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะสมัยนี้ เพราะเอกลักษณ์เฉพาะตัวของแนวทางนี้ก็คือ จะมีการสอนให้เรารู้จักการใช้เหตุผลทางสติปัญญาด้วย เพื่อนำมาเป็นตัวสนับสนุนในการมีอยู่จริงของอัลลอฮฺ มิใช่เป็นตัววัดถึงการมีอยู่จริงของอัลลอฮฺ อย่างที่บางกลุ่มเข้าใจผิด

              เราลองคิดดูสิว่า หากมีคนๆ หนึ่งถามเราเกี่ยวกับการมีอยู่จริงของอัลลอฮฺ เราจะตอบอย่างไร หากตอบตามอย่างแนวทางสะละฟีย์ (วะฮาบีย์) ที่อ้างมาตลอดว่า ไม่อนุญาตให้ใช้สติปัญญาในเรื่องอะกีดะฮ์ ต้องอ้างหลักฐานจากอัลกุรฺอานและสุนนะฮฺเท่านั้น

              ผมขอถามเพียงคำถามสั้นๆ ว่า "หากคุณตอบไปว่า อัลลอฮฺทรงมีอยู่จริง เพราะอัลกุรฺอานและสุนนะฮฺบอกว่าพระองค์ทรงมีอยู่จริง มิอาจปฏิเสธได้" แน่นอนทำตอบนี้คงไม่เป็นที่สงสัยสำหรับมุสลิมด้วยกัน แต่หากคำตอบเดียวกันถูกตอบแก่ผู้ปฏิเสธการมีอยู่จริงของพระเจ้า ขอถามว่า "พื้นฐานของพวกเขา พวกเขาเชื่อในอัลกุรฺอานและสุนนะฮฺหรือไม่?" หรือ "พื้นฐานของพวกเขาเชื่อในสิ่งที่สอดคล้องกับสติปัญญา"

               แล้วขอถามอีกนิดว่า "เป็นไปได้ไหมที่มุสลิมเราจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว โดยไม่ได้พบปะกับผู้คนที่มีความเชื่อต่างจากตน เช่นพวกไม่เชื่อในพระเจ้า เป็นต้น ขอถามว่าเป็นไปได้ไหม?" แน่นอนย่อมเป็นไปไม่ได้ และการพบปะและคบค้าสมาคมกับพวกเขานั้น มันต้องมีบ้างหละที่พวกเขาถามเราเกี่ยวกับเรื่องพระเจ้า เกี่ยวกับความมีอยู่จริงของพระองค์

               หากเราตอบว่า เราเชื่อว่าอัลลอฮฺมีอยู่จริง เพราะในอัลกุรฺอานและสุนนะฮ์กล่าวเช่นนั้น แค่นี้ท่านว่า จะทำให้เขาหายสงสัยและยอมรับในการมีอยู่จริงของอัลลอฮฺเลยหรือไม่? ผมเชื่อว่ามันไม่เพียงพอเป็นแน่ เขาต้องเจาะลึกยิ่งไปกว่านั้นอีก

               และเราจะสังเกตเห็นได้ว่า ส่วนใหญ่ของคำถามที่พวกเขามักจะถาม ก็มักจะเกี่ยวข้องกับหลักสติปัญญาอย่างหลีกเลี่ยงมิพ้น แล้วเราจะทำอย่างไรดีหละ จะเอาแต่เพียงตอบว่า เพราะอัลกุรฺอานและสุนนะฮ์กล่าวเช่นนั้น จบ อย่าถามมาก คุณว่าพวกเขาจะเข้าใจสัจธรรมของการมีอยู่จริงของอัลลอฮฺใหม? เรากำลังพูดถึงการป้องกันหลักศรัทธาของเราจากหลักสติปัญญาของพวกปฏิเสธพระเจ้าอยู่ครับ ไม่ได้ให้ใช้สติปัญญาเป็นตัวชี้วัดถึงการมีอยู่ของพระเจ้า

                โดยพื้นฐานของคนเรานั้น การที่เราจะเปลี่ยนความคิดเดิมของคนๆ คนหนึ่งนั้น เราต้องเริ่มเปลี่ยนสิ่งที่เขาใช้เป็นเครื่องมือหลักในการยึดมั่นก่อน ด้วยวิธีเดียวกับที่เขาเข้าใจมัน กล่าวคือ คนๆ หนึ่งอาจจะเชื่อในบางสิ่งโดยใช้สติปัญญาเป็นหลัก เขาจะเชื่อก็ต่อเมื่อเขาเห็นด้วยตาที่อยู่ที่ศีรษะของเขาเท่านั้น เขาต้องสัมผัสได้ เขาถึงจะเชื่อ...

                แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่า เรื่องพระเจ้านั้น เป็นเรื่องที่เราจะพิสูจน์กันทางประสาทสัมผัสทั้งห้าไม่ได้ เพราะไม่มีใครรู้มาก่อนว่า พระเจ้าเป็นเช่นไร?

                เช่นนั้น เมื่อเราต้องการจะเริ่มเปลี่ยนความคิดเขา เราก็ต้องใช้หลักสติปัญญาในเบื้องต้นประกอบกับหลักฐานจากคำตรัสของพระเจ้าเองด้วย เพื่อเป็นบันไดนำเขาสู่ความเข้าใจในสัจธรรมของพระผู้เป็นเจ้า (วิธีดังกล่าวพูดในสำนวนไทยให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ วิธีเกลือจิ้มเกลือ)

                เมื่อเขามองเห็นภาพการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้าด้วยกับสติปัญญาของเขาแล้ว แน่นอนการที่จะยอมรับในเรื่องที่เกินกว่าสติปัญญาที่เขาจะต้องประสบและเชื่ออย่างยึดมั่นแน่นอน หลังจากที่เขาเลือกที่จะศรัทธาต่อพระองค์นั้น ผมว่า มาถึงตอนนั้น อะไรๆ มันก็จะง่ายขึ้นสำหรับเขา เพราะเราจะล็อกความสงสัยของเขาไว้แล้ว เพราะไม่ว่าเขาจะตั้งคำถามแบบไหนเกี่ยวกับพระเจ้าตามหลักสติปัญญา เขาก็จะไม่ลังเลอีกแล้ว เพราะเรื่องพระเจ้าสำหรับเขาเป็นเรื่องกินกับปัญญา และการไม่มีพระเจ้าเป็นเรื่องมิอาจจะยอมรับได้เลย

                ดังนั้น รูปแบบการสอนเกี่ยวกับศิฟัตของอัลลอฮฺ ในแบบของอะชาอิเราะฮ์และมาตุริดียะฮ์ นั้น ก็เพื่อสนองความต้องการตรงนี้ เพราะยิ่งนานวัน มนุษย์ก็ยิ่งต้องการรับรู้ถึงเหตุผลของการมีอยู่จริงของพระเจ้า ว่าที่แท้มันคือสัจธรรม หรือเป็นเพียงนิยายที่หาข้อพิสูจน์อะไรมิได้ นอกจากจะเชื่อตามที่คัมภีร์โบราณได้กล่าวไว้ แล้วเราเลือกที่จะศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะ (ศิฟัต) ของพระผู้ทรงอภิบาลเพียงเพื่อตัวเราเอง โดยไม่ได้ใส่ใจว่า สักวันหนึ่งเราอาจจะโดนใครบางคนที่ไม่เชื่อในการมีอยู่จริงของพระเจ้าถามเราเข้าได้ มาถึงตอนนั้น เราจะตอบเขาอย่างไรดีหละ ในเมื่อเราถูกสอนมาแต่เพียงว่า อัลลอฮฺทรงมีอยู่จริงเพราะพระองค์ทรงกล่าวเช่นนั้น หรือเราเลือกที่ศึกษาทั้งแบบหลักฐานทางสติปัญญา (เพื่อจะได้มีแนวในการตอบต่อพวกปฏิเสธพระเจ้า และเพื่อป้องกันบางคำถามที่อาจจะผุดขึ้นในความคิดของเราได้ตลอดเวลา ซึ่งก็ไม่พ้นคำถามที่เกี่ยวกับหลักเหตุผลอย่างแน่นอน กี่มากน้อยแล้วหละที่มุสลิมหลายต่อหลายคนตกมุรฺตัดเพราะเชื่อว่า การมีอยู่ของอัลลอฮฺ ไม่กินกับปัญญา คำถามเหล่านี้ ล้วนแต่มาจากความไม่เข้าใจ และความกระซิบกระซาบภายใจหัวใจของเขาเกี่ยวกับพระเจ้า - นอูฑุบิลลาฮิ มินฑาลิก) และรวมถึงหลักฐานจากพระพจนารถของพระผู้ทรงสมบูรณ์ยิ่งในพระนาม คุณลักษณะ และการกระทำ - วัลลอฮุ อะอฺลัม

            ทั้งหมดนี้ ผมเขียนจากความเข้าใจของผมเอง ผิดพลาดประการใด โปรดท้วงติงได้ครับ เพื่อผมจะได้รู้มันและปรับได้ทันการณ์

วัสสลามุ อลัยกุม 
Re: สะลัฟและค่อลัฟ ระหว่าง ความเหมาะสมและความจำเป็น By: ad-dalawy Date: ต.ค. 02, 2008, 07:33 PM
อัสลามุอะลัยกุ้ม

ปัญหาที่เรียนยากนั้น มันอยู่ที่ตัวบุคคล  ไม่ใช่แต่วิชาเตาอีดซีฟัต 20 อย่างเดียวหรอกที่ไม่ค่อยเรียน  วิชาศาสนาอื่นๆ ก็ไม่ค่อยจะเรียนแล้ว  วิชาศาสนายากๆ ยังมีอีกมาก

ดังนั้นการเรียนอะกีดะฮ์แบบสรุปตามแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์นั้นมาง่าย  แต่เรียนแบบรายละเอียดเพื่อฟัรดูกิฟายะฮ์เเป็นอาวุธโต้พวกนอกแนวทางนั้นมันต้องทุ่มเท  เช่นเดียวกัน  การเรียนฟิกห์เบี้องต้นเพื่อนำมาปฏิบัตินั้นมันง่าย  แต่หากเรียนฟิกห์แบบรายละเอียดเจาะลึกประเด็นในเชิงหลักการฟิกห์เพื่อเป็นฟัรดูกิฟายะฮ์นั้นมันยากต้องทุ่มเทในการร่ำเรียน  การเรียนตะเซาวุฟเบื้องต้นเรียนง่าย  แต่เมื่อเรียนแบบรายละเอียดก็ต้องทุ่มเทการร่ำเรียนและทำความเข้าใจ 

ดังนั้นความเหมาะสมหรือไม่มันอยู่ที่ตัวบุคคล  หากคนหนึ่งเข้าใจอะกีดะฮ์แบบเบี้ยงต้นก็ยึดถือเช่นนั้นไปสำหรับตัวเอง  หากเข้าใจแบบรายละเอียดก็เอาไปสอนคนอื่นและปกป้องคนอื่นๆ ได้  ฉะนั้นปัจจุบันอะกีดะฮ์อิสลามถูกคุกคามทั้งกลุ่มที่อยู่ภายในอิสลามและนอกอิสลาม  อะกีดะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์นี่แหละเหมาะสมแล้ว...........

อัลฮัมดุลิลลาฮ์ที่อะกีดะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์เป็นอะกีดะฮ์แห่งการต่อสู้.....
Re: สะลัฟและค่อลัฟ ระหว่าง ความเหมาะสมและความจำเป็น By: Al Fatoni Date: ต.ค. 03, 2008, 12:06 PM
บางครั้ง การที่ทำให้ผู้เรียน (โดยเฉพาะหนุ่มสาวสมัยนี้) มักคิดว่าการเรียนศิฟัต 20 หรือเรื่องอกีดะฮ์ เป็นเรื่องยากนั้น ผมยอมรับว่า มันเป็นเฉพาะบุคคล แต่เฉพาะบุคคลที่ว่านั้น เท่าที่ผมสัมผัส มีจำนวนน้อยมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน จะอาศัยศึกษาเอง เข้าใจเอง เหมือนวิชาศาสนาอื่นๆ เช่นฟิกฮฺ ไม่ได้อย่างเด็ดขาด แม้แต่ฟิกฮฺเองก็เหอะ แม้บางประเด็นจะได้รับการอธิบายจนกระจ่าง สามารถนำไปปฏิบัติได้เลยก็ตาม แต่ก็ยังมีบางคนที่ยังไม่เข้าใจ แล้วนับประสาอะไรกับเรื่องอะกีดะฮ์ ที่ทุกสเต็ปจะต้องอยู่ในสายตาของ อ.ผู้สอน เพื่อจะได้ชี้จุดถูกหากเกิดข้อผิดพลาดได้ ผมเห็นด้วยครับ ที่ว่า ศิฟัต 20 เรียนง่าย เพราะเป็นการกลั่นกรองมาเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ใช่กับทุกคน เพราะบางที่คิดว่าตนเองเข้าใจดีแล้ว แต่พอไปสอบกับ อ. ก็เจอผิดพลาดมากมาย และบางคนมักจะเอาตรงนี้มาบอกเพื่อนที่ไม่ได้เรียนว่ายากอย่างนั้นยากอย่างนี้ ทำให้บางคนไม่กล้าเรียน ก็ต้องเห็นด้วยอีกนั่นแหละ ว่ามันเป็นที่บุคคลไม่ใช่วิชา ฉะนั้นที่ต้องปรับคือ ทัศนคติของหนุ่มสาวสมัยต่อศิฟัต 20 และเรื่องการใช้สติปัญญาเป็นหนึ่งในเครื่องมือเพื่อให้เข้าศิฟัต และต้องยอมรับอีกนั่นแหละว่า การอธิบายศิฟัต 20 แบบง่ายๆ เป็นภาษาไทย หายากมากๆ และต้องเข้าใจอีกว่า เพราะ อ.หลายคนไม่กล้าแต่งหนังสือประเภทนี้ เพราะเกรงจะผิดพลาด และเหตุผลอื่นๆ แล้วทีนี้เราจะทำอย่างไรดีหละ ให้หนุ่มสาวสมัยนี้ไปเรียนที่ปอเนาะ หรือไปบ้านโต๊ะครู ไปเรียนอกีดะฮ์ดีไหม? มันเป็นไปได้ครับ แต่ยากโข ลำพังมีไฟล์เสียงแล้ว เสนอจะให้ ก็อ่ำอึ้ง เอาไม่เอา เหนื่อยครับ คนสมัยนี้ ที่จริงหลายๆ เรื่องมันต่างก็เห็นปัจจัยเกื้อกูลต่อกัน ในการทำให้คนสมัยนี้ไม่อยากเรียนอกีดะฮฺแบบศิฟัต 20 เนื่องด้วยติดคติที่ว่า "ยาก" ทั้งๆ ที่หลายๆ ที่เคยเรียนต่างอ้างว่ามันง่าย และบางคนก็บอกว่ายาก เพื่ออยากให้ผู้ฟังรู้สึกว่าจำเป็นต้องเอาใจใส่ ในเมื่อเข้าใจยาก ก็อย่ารอช้าที่จะเรียน เรียนซะ เดียวแก่ ไม่ทันทำความเข้าใจ แล้วผู้ฟังหละ เขาคิดตามนั้นไหม? สิ่งที่อยากบอกก็คือ บางอย่างที่ควรเว้นไว้ ไม่ต้องพูด ก็เว้นไว้ก่อนดีกว่า คือพยายามเลี่ยงการบอกว่า วิชานี้ยากนะ วิชานี้โครตยากเลย เสร็จแน่ อะไรประมาณนี้ ประสบการณ์ตรงผมเจอมาบ่อยครับ เพื่อนบางคนติดคติที่ว่าวิชานี้ยาก เพราะฟังเขาบอกว่ายาก ผมก็ลองเป่าหูมัน บอกว่าง่าย ลงดูดิ เรียนดู ความยากง่ายของแต่ละไม่เหมือนกัน ท้ายสุด เขาลองลง ผลปรากฏเขาก็ทำได้  การเรียนศิฟัต 20 ฉันใดก็ฉันนั้นหละครับ คนที่เรียนมาแล้ว ก็อย่าพยายามสร้างภาพว่ามันยากแก่คนที่ยังไม่ได้เรียนนะครับ ก็ต้องเข้าใจอีกนั่นแหละว่า เฉพาะบุคคล แต่ละคนไม่เหมือนกัน เห้อๆ เหนื่อย

วัสสลามุ อลัยกุม
Re: สะลัฟและค่อลัฟ ระหว่าง ความเหมาะสมและความจำเป็น By: al-azhary Date: ต.ค. 03, 2008, 06:27 PM
 salam

ปัจจุบันที่อะกีดะฮ์อ่อนแอนั้น  ไม่ใช่หลักสูตรตำราที่อุลามาอฺประพันธ์มาให้เราได้ศึกษา  แต่คนเราต่างหากล่ะที่เริ่มอ่อนแอ  เมื่อไม่เข้าใจก็หาว่ามันยาก  ก็เพราะว่าเราไม่ยอมร่ำเรียน  แต่ว่าแต่เรียนเรื่องอะกีดะฮ์ยากเลยครับ  ขึ้นมาละหมาดตะฮัจญุดหรือละหมาดสุนัตต่าง ๆ ทั่วไปในชีวิตประจำวันก็ยังยากเลยครับ  ถือศีลอดสุนัตจันทร์และพฤหัสบดีก็ยังยาก  ที่ยากนั้นไม่ใช่เพราะศาสนาบัญญัติเรื่องยากมาให้  แต่มันอยู่ที่ตัวเราอ่อนแอ  อะไรมันก็ยากไปหมด

ผมได้อ่านหนังสือเตาฮีดที่วะฮาบีย์ตีพิมพ์ขายหลายเล่ม  รวม ๆ แล้วปรากฏว่ามันยากเหมือนกัน  ก็อ่านพอเข้าใจ  แต่หากผมนำมาให้คนที่บอกว่าซีฟัต 20 มันยากนั้น  ผมว่าเขาเองก็ไม่เข้าใจเหมือนกันและต้องบ่นว่ายาก  เนื่องจากสิ่งที่ผมอ่านนั้นเป็นหนังสือเตาฮีดของวะฮาบีอีกระดับหนึ่งไม่ใช่ระดับพื้นฐาน     

การเรียนซีฟัตวายิบสำหรับอัลเลาะฮ์นั้น  เป็นสิ่งที่จำเป็นวายิบต่อคนอัลมุกัลลัฟหรือผู้ที่บรรลุศาสนภาวะที่จำเป็น ต้องรู้จัก   แต่ทว่า  สิ่งที่วายิบจำเป็นต้องรู้จักตามทัศนะของอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น  มีอยู่  2 ประเภท

1. วายิบแบบอิจญ์มาลีย์  اَلْوَاجِبُ الإِجْمَالِيُّ  หมายถึง  จำเป็นต้องรู้แบบสรุป  กล่าวคือ  รู้หลักฐานแต่มิอาจที่จะโต้ตอบหรือชี้แจงข้อสงสัยที่เกิดขึ้นได้  เพียงแต่ในหลักความเชื่อนั้นอยู่ในความนึกคิดของเขานั้นเอง  คือถ้าหากถามเขาว่า อัลวุญูด اَلْوُجُوْدُ หมายถึงอะไร? บางทีเขาก็ไม่รู้เพราะแปลคำภาษาอาหรับไม่ได้  แต่ถ้าหากถามว่า  อัลเลาะฮ์ทรงมีใช่ไหม?  เขาก็จะตอบได้เลยว่าอัลเลาะฮ์ทรงมี  และหากถามว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีอย่างไรใหนหลักฐาน?  เขาก็ตอบว่า  โลกนี้หรือสรรพสิ่งทั้งหลายชี้ถึงการมีผู้สร้าง  ก็ถือว่าพ้นสภาพจากการเป็นคนมุก๊อลลิด (ตามหลักความเชื่อของผู้อื่นโดยไร้หลักฐาน)  และวายิบแบบอิจญ์มาลีย์นี้  ถือว่าเป็น  ฟัรดูอีน  ที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้

2. วายิบแบบตัฟซีลีย์  اَلْوَاجِبُ التَّفْصِيْلِيُّ  หมายถึง  เขารู้หลักฐานที่จะสามารถยืนยันและชี้แจงบรรดาความสงสัยที่เกิดขึ้นได้  และวายิบแบบตัฟซีลีย์นี้  คือการรู้จักซีฟัตทั้ง 20 นั่นเอง  ซึ่งวายิบตัฟซีลีย์ด้วยการรู้จักซีฟัต 20 ประการ  ถือว่าเป็นฟัรดูกิฟายะฮ์  ไม่จำเป็นต้องร่ำเรียนกันทุกคน  กล่าวคือในหมู่บ้านหนึ่งนั้น  ก็จำเป็นต้องให้รู้อย่างน้อย 1 คนหรือมากกว่านั้น

ดังนั้นหากเราเข้าใจถึงการเรียนอะกีดะฮ์แบบ  วายิบอิจญ์มาลีย์  اَلْوَاجِبُ الإِجْمَالِيُّ  หมายถึง  จำเป็นต้องรู้แบบสรุป  เราก็จะรู้ว่าเรื่องอะกีดะฮ์มันก็ง่าย  แต่วายิบแบบตัฟซีลีย์ اَلْوَاجِبُ التَّفْصِيْلِيُّ  ในรูปแบบที่สองนั้น  เรียนเพื่อเราจะได้เป็นตัวแทน(ฟัรดูกิฟายะฮ์)ของคนทั่วไป เรียนเพื่อปกป้องอะกีดะฮ์อัลอิสลาม  เราก็ต้องทุ่มเทศึกษาเล่าเรียนด้วยการเข้าไปเรียนกับครูบาอาจารย์ไม่ใช่อ่านเองอย่างเดียว  ถึงหากสมมุติว่าในช่วงสมัยที่เราเรียนอยู่จะไม่มีอะกีดะฮ์ถูกคุกคามก็ตาม  แต่คำว่า "ฟัรดูกิฟายะฮ์นั้นไม่ได้หมดไปเลย" กล่าวคือไม่ใช่สมมุติว่ายุคปัจจุบันอะกีดะฮ์ไม่ถูกคุกคามแล้วเรียนแค่ฟัรดูอีนก็พอ  ฟัรดูกิฟายะฮ์ไม่ต้องแล้ว  แบบนี้ถือว่าทำให้อิสลามมีช่วงโหว่  พร้อมทั้งความสงสัยความเคลือบแคลงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นแก่มุสลิมเอาวามทั่วไปมันก็มีได้ตลอดเวลา 

ในอัลกุรอานนั้นได้สั่งใช้ให้มุสลิมแบบฟัรดูกิฟายะฮ์ในการตระเตรียมอาวุธไว้เพื่อป้องกันศัตรูในขณะที่ไม่มีศึกษาสงครามฉันท์ใด  การร่ำเรียนอะกีดะฮ์ในรูปแบบฟัรดูกิฟายะฮ์ก็ต้องร่ำเรียนไว้ฉันท์นั้น  หากย้อนกลับไปในช่วงที่ผมเองยังเรียนมัธยมอยู่  ผมก็ทำการเรียนเตาฮีดแบบฟัรดูกิฟายะฮ์นี่แหละครับ  ในใจก็ถามตัวเองว่าจะเรียนไปต่อสู้กับใคร  เรียนไปแล้วปกป้องอะกีดะฮ์อิสลามได้อย่างไร  ไม่ใครมีอะกีดะฮ์เพี้ยน ๆ เลย  แต่ก็ต้องเรียนเพราะมันเป็นฟัรดูกิฟายะฮ์หากไม่เรียนคนหมู่บ้านเราก็บาปกันหมด  แต่เมื่อมาถึงปัจจุบันนี้  ผมจึงรู้ว่าสิ่งที่เราได้เรียนมาในอดีตนั้น  เริ่มนำออกมาใช้งานได้แล้ว  เริ่มนำมาปกป้องอะกีดะฮ์อิสลาม  ให้พ้นจากหลักอะกีดะฮ์ที่ตัชบีฮ์ (หลักอะกีดะฮ์ที่สร้างความคล้ายคลึงระหว่างซีฟัตของอัลเลาะฮ์กับมัคโลค)   ปกป้องให้พ้นจากอะกีดะฮ์ตัจญ์ซีม (หลักอะกีดะฮ์ที่พรรณาอัลเลาะฮ์เป็นรูปร่างไม่ว่าในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง) ปกป้องจากอะกีดะฮ์มั๊วะตะซิละฮ์ที่พวกชีอะฮ์รับหลักการมา 

เพราะฉะนั้นหลักอะกีดะฮ์ที่จำเป็นต้องเรียนรู้แบบอิจญ์มาลีย์  اَلْوَاجِبُ الإِجْمَالِيُّ  หมายถึง  จำเป็นต้องรู้แบบสรุปนั้น เหมาะสมสำหรับคนเอาวามสามัญชนทั่วไปในยุคปัจจุบัน  แต่หลักอะกีดะฮ์ที่วายิบแบบตัฟซีลีย์  اَلْوَاجِبُ التَّفْصِيْلِيُّ  หมายถึง  เขารู้หลักฐานที่จะสามารถยืนยันและชี้แจงบรรดาความสงสัยที่เกิดขึ้นได้นั้น เหมาะสำหรับผู้รู้ที่ทุ่มเทการศึกษาร่ำเรียนในรูปแบบที่มีครูอาจารย์สอนซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบสะละฟุศศอลิห์

ดังนั้น เมื่ออิสลามส่งเสริมให้เราร่ำเรียนด้วยการมีครูบาอาจารย์มาสอนชี้แนะตามแบบฉบับสะละฟุศศอลิห์  เราก็ต้องเขาไปร่ำเรียนอย่างตั้งใจ  ไม่ใช่บอกว่ามันยากทั้งที่ไม่เคยเข้าไปร่ำเรียนอย่างตั้งอกตั้งใจเลย  วิธีการแสวงหาความรู้ยังไม่เอาอย่างสะละฟุศศอลิห์เลย  แบบนี้อย่าว่าแต่อะกีดะฮ์เลยแม้ไปเรียนวิชาฟิกห์ก็ไม่รู้เรื่องหรอกครับ

วัลลอฮุอะลัม
Re: สะลัฟและค่อลัฟ ระหว่าง ความเหมาะสมและความจำเป็น By: Al Fatoni Date: ต.ค. 04, 2008, 07:43 PM
อ้างถึง
ดังนั้น เมื่ออิสลามส่งเสริมให้เราร่ำเรียนด้วยการมีครูบาอาจารย์มาสอนชี้แนะตามแบบฉบับสะละฟุศศอลิห์  เราก็ต้องเขาไปร่ำเรียนอย่างตั้งใจ  ไม่ใช่บอกว่ามันยากทั้งที่ไม่เคยเข้าไปร่ำเรียนอย่างตั้งอกตั้งใจเลย  วิธีการแสวงหาความรู้ยังไม่เอาอย่างสะละฟุศศอลิห์เลย  แบบนี้อย่าว่าแต่อะกีดะฮ์เลยแม้ไปเรียนวิชาฟิกห์ก็ไม่รู้เรื่องหรอกครับ

อยากเอาคำนี้ไปฟาดหัวใครบางคนจัง ที่มักจะคิดว่า เรื่องศาสนาศึกษาเองก็ได้ ไม่ต้องเข้าครูหรอกเสียเวลาทำมาหากิน ไว้หนักตอนแก่ละกัน ตอนนี้เอาสนุกก่อน นอูฑุบิลลาฮิมันฑาลิก - วัสสลามุ อลัยกุม
Re: สะลัฟและค่อลัฟ ระหว่าง ความเหมาะสมและความจำเป็น By: นูรุ้ลอิสลาม Date: ต.ค. 05, 2008, 03:49 PM
อยากเอาคำนี้ไปฟาดหัวใครบางคนจัง ที่มักจะคิดว่า เรื่องศาสนาศึกษาเองก็ได้ ไม่ต้องเข้าครูหรอกเสียเวลาทำมาหากิน ไว้หนักตอนแก่ละกัน ตอนนี้เอาสนุกก่อน นอูฑุบิลลาฮิมันฑาลิก - วัสสลามุ อลัยกุม

บอกว่าไม่ต้องเรียนกับครูบาอาจารย์เพราะเสียเวลาทำมาหากิน  ชัยฏอนมันก็เลยฉวยโอกาสเป็นครูแทนเสียเลย  hihi: