ใครว่าตีความไม่หะรอม By: anti-bid'ah Date: พ.ย. 24, 2008, 12:05 PM
ผมฟังไฟล์ของอ.อาลี เสือ ท่านบอกว่าชาวสลัฟไม่มีการตีความ และ อัลเลาะฮ์ กล่าวอย่างไรเราก็ต้องว่าอย่างนั้นไม่ต้องไปถามว่าอยู่อย่างไร ท่าไหน...
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: al-azhary Date: ธ.ค. 01, 2008, 03:51 PM
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْم
اَلْحَمْدُ للهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ وَ الصَّلاَةُ وَالسَّلاَمُ عَلىَ سَيِّدِنَا مُحَمَّدٍ وَعَليَ آلِهِ وَصَحْبِهِ أَجْمَعِيْنَ ،،، وَبعْدُ ؛
salam
หลักอะกีดะฮ์อิสลาม หากทำการสอนกันก็เป็นธรรมดาที่จะต้องวิจารณ์แนวทางที่ต่างจากตนเอง เพื่อนำมายกตัวอย่างแยกแยะให้เห็นภาพถึงแนวทางที่ถูกต้อง แต่สิ่งสำคัญประการหนึ่งก็คือ หารเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์แนวทางอื่นต้องรู้ถึงแก่นแท้ของพวกเขาเสียก่อน แล้วทำการวิเคราะห์ในเชิงคัดค้าน จึงจะได้มาซึ่งความจริงถูกต้องและไม่มีการกล่าวหาหรือสร้างความเข้าใจผิดแต่ประการใด
คำว่าสะลัฟหรือค่อลัฟ เป็นเพียงชื่อของกลุ่มชนช่วงระยะเวลาหนึ่ง กล่าวคือในยุค 300 ปีหลังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เสียชีวิตไปแล้ว ถือว่าเป็นยุคสะลัฟ ส่วนยุคหลังจาก 300 ปีนับว่าเป็นยุคค่อลัฟตามทัศนะที่มั๊วะตะมัต(ถูกยึดถือ) แต่ความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นก็คือ การแบกรับหลักการของอิสลามจะไม่ขาดตอนจนถึงวันกิยามะฮ์ ปราชญ์ยุคค่อลัฟผู้มีคุณธรรมคือผู้ที่แบกรับหลักคำสอนมาจากปราชญ์ยุคสะลัฟผู้มีคุณธรรม ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นล้วนอยู่ในแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
ดังนั้น การบอกว่านี่คือเตาฮีดสะลัฟ นั่นคือเตาฮีดค่อลัฟ หรือนี่คืออะกีดะอ์สะลัฟ นั่นคืออะกีดะฮ์ค่อลัฟ ถือว่าเป็นการเรียกที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะอาจจะทำให้เข้าใจว่า สะลัฟกับค่อลัฟมีอะกีดะฮ์หรือมีเตาฮีดที่ต่างกัน ซึ่งเป็ไปไม่ได้ แต่หากพูดว่า นี่คือแนวทางสะลัฟ طَرِيْقُ السَّلَفِ นั่นคือแนวทางค่อลัฟ طَرِيْقُ الخَلَفِ อันนี้ย่อมถูกต้องกว่า เพราะการวิธีการของสะลัฟและค่อลัฟนั้นย่อมแตกต่างกันไปตามแต่ยุคสมัย การถูกคุกคามในเรื่องอะกีดะฮ์มีสถานะภาพที่ต่างกันในแต่ละยุค การเผยอาวุธในการต่อสู้ย่อมต่างกันไป เช่น ในสมัยยุคสะลัฟเองนั้นก็มีกลุ่มมุสลิมที่เบี่ยงเบนในเรืองอะกีดะฮ์เกิดขึ้น อุลามาอ์สะลัฟบางท่านเพียงแค่ตอบโต้ด้วยการอ้างอัลกุรอานและซุนนะฮ์โดยสร้างความเข้าใจให้ถูกต้องเพื่อให้พวกเขาสยบก็ถือว่าเพียงพอ แต่ยุคต่อ ๆ มาพวกนอกศาสนาได้คุกคามอะกีดะฮ์อิสลาม การอ้างอัลกุรอานและซุนนะฮ์เพียงอย่างเดียวนั้น พวกนอกศาสนาเขาไม่เชื่อหรอก ดังนั้นปราชญ์อิสลามในยุคนั้นจึงต้องทำการศึกษาแก่นแท้แนวทางของพวกเขา และเขียนตำราอ้างอิงหลักการของพวกแล้วทำการโต้ตอบตามหลักของเหตุผลอันชัดเจนเพื่อให้พวกเขายอมจำนน ดังนั้นอะกีดะฮ์อิสลามจึงได้รับการปกป้องมาทุกยุคสมัยด้วยวิธีการหรือแนวทางที่แตกต่างกันไปโดยมีเป้าหมายเดียวกัน
อนึ่ง ในทัศนะของกระผมเองนั้นยอมรับในแนวทางของสะลัฟและค่อลัฟจากอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ที่มีเป้าหมายเดียวกัน แต่ในสถานะภาพส่วนตนนั้นให้น้ำหนักแนวทางสะลัฟ แต่กระนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าต้องเรียกร้องให้คนอื่น ๆ มาให้น้ำหนักตามทัศนะของผม นั่นเพราะว่าสถานะภาพของแต่ละคนในการศึกษาเรื่องอะกีดะฮ์นั้นต่างกัน ความเหมาะสมก็เลยต่างกันไปด้วย ดังนั้นการนำเสนอแนวทางแก่ผู้อื่นแบบมีทางเลือกในวิธีการที่ถูกต้องนั้น จะดียิ่งกว่า เพื่อผู้เรียนจะได้กำหนดตนเองได้ถึงความเหมาะสม แล้วหลังจากนั้นก็พัฒนาขึ้นไปอีกแนวทางหนึ่งจิตใจของเขามีความมั่นคง อันนี้เจ้าตัวจะรู้ถึงสถานะภาพของตนไม่ใช่เพิ่งเรียนมานิดหน่อยแล้วมาว่าฉันนี่แหละคือสะลัฟ ฉันนี่แหละมีอีหม่านที่มั่นคงเหมือนกับว่ามีอีหม่านระดับสูงเท่าสะลัฟ ทั้งที่ความจริงเราต้องร่ำเรียนให้มาก ๆ อะมัลให้เยอะ ๆ เพื่อยกระดับอีหม่านของเราให้สูงขึ้นแม้จะได้เพียงเศษธุลีของสะละฟุศศอลิห์ก็ยังดี
บางท่านอาจจะเข้าว่า ทำไมผมให้น้ำหนักแนวทางสะลัฟ แล้วเมื่อมีคนมาวิพากษ์วิจารณ์แนวทางค่อลัฟที่ตะวีลตีความ ผมจึงทำการปกป้องและชี้แจง ผมขอชี้แจงอย่างนี้ว่า ตราบใดที่แนวทางสะลัฟและค่อลัฟคือแนวทางอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ มีเป้าหมายเดียวกันในการยืนยันซึ่งหลักอะกีดะฮ์ที่ถูกต้อง การให้น้ำหนักในแนวทางสะลัฟก็มิได้หมายความว่าแนวทางค่อลัฟจะผิด ดังนั้นผู้ใดจากกล่าวหาวิพากษ์วิจารณ์แนวทางที่ไม่ผิด ผมก็ต้องชี้แจงข้อเท็จจริงตามนั้น มิใช่หมายความว่าสิ่งที่ฉันให้น้ำหนักต้องเป็นแนวทางที่ถูกเป็นหนึ่งเดียว แบบนี้ไม่ดีแน่นอนครับ
ต่อไปนี้ผมจะนำเสนอแนวทางของสะละฟุศศอลิห์ตามความเข้าใจของปราชญ์ส่วนมากของอิสลามผู้มีคุณธรรม หากผู้อ่านที่เข้าใจหลักการสะลัฟโดยยึดตามตำราที่ซาอุฯเผยแพร่นั้น เขาก็จะมีความรุ่มร้อน งวยงง ว่าทำไมมันไม่เหมือนกับแนวทางสะลัฟที่ตนเองเคยศึกษาและเข้าใจ ดังนั้นนอกเหนือจาการศึกษาร่ำเรียนจากครูบาอาจารย์อย่างจริงจังแล้ว เมื่อมีโอกาสศึกษาด้วยตนเองได้ ต่างก็อ้างว่าตำราที่ฉันศึกษานี่แหละที่สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสะลัฟ อีกคนก็บอกว่าตำราของฉันต่างหากที่สร้างความเข้าใจหลักอะกีดะฮ์สะลัฟที่ถูกต้องกว่า ต่อไปนี้ผมจะนำเสนอแนวทางของสะละฟุศศอลิห์ด้วยความศิริมงคลจากความรู้และอะมัลความดีงามของครูบาอาจารย์ทั้งในประเทศไทยและอียิปต์ที่ผมได้ร่ำเรียนหลักอะกีดะฮ์สะลัฟจากพวกเขา เพื่อฉายให้พี่น้องได้ทราบข้อเท็จจริงว่าแนวทางสะลัฟคืออะไร? และการตีความนั้นคือแนวทางของสะลัฟหรือไม่?
وَبِاللهِ التَوْفِيْقُ وَالْهِداَيَةُ
วัสลาม
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: al-azhary Date: ธ.ค. 01, 2008, 04:04 PM
ผมฟังไฟล์ของ อ.อาลี เสือ ท่านบอกว่าชาวสลัฟไม่มีการตีความ และอัลเลาะฮ์กล่าวอย่างไรเราก็ต้องว่าอย่างนั้นไม่ต้องไปถามว่าอยู่อย่างไร ท่าไหน...
ผมได้ฟังแล้ว แล้วจะทำการอ้างอิงส่วนที่สำคัญ ทำการนำเสนอในเชิงวิชาการ โดยอ้างอิงคำพูดของ อ.อะลี เป็นตัวอักษรสีแดง ดังนั้นหากผู้ใดต้องการจะคัดค้านสิ่งที่ผมได้นำเสนอ ก็ขอให้อยู่ในเชิงวิชาการเพื่อจะได้เป็นกรณีศึกษาแก่ตัวของกระผมและพี่น้องนักศึกษาทั้งหลายโดยทั่วกันเราจะไม่เข้าในสิ่งดังกล่าวนั้น โดยผินออกจากลักษณะภายนอกของคำพูดใช่แล้วครับ แต่การยืนยัน(อิษบาต)ในซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้นมีอยู่ 2 นัยยะด้วยกัน กล่าวคือ :
1. การพูดยืนยันเชิงถ้อยคำแบบผิวเผิน(ภายนอก)
กล่าวคือ สะละฟุศศอลิห์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ไม่ผินถ้อยคำ คือไม่แปลเป็นภาษาอื่นจากอาหรับหรือเรียกทับศัพท์ในเชิงฮะกีกัต(คำแท้)ไปเลย กล่าวคือ เมื่อพระองค์บอกว่า อัลเลาะฮ์ทรงมีซีฟัต يَدٌ (ยะดุน) เรา(สะลัฟ)ก็จะว่าไปตามนั้นว่าพระองค์ทรงมีซีฟัต يَدٌ (ยะดุน)โดยทับศัพท์ไม่ผินถ้อยคำเรียกแบบมะยาซฺ(คำอ้อม)แล้วเรียกว่ามันคือ قدرة (กุดเราะฮ์) และเช่นกัน เราเชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีซีฟัตอิสติวาอฺ استواء สะลัฟเขาก็พูดทับศัพท์ถ้อยคำที่ว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีซีฟัต استواء "อิสติวาอฺ" โดยไม่ผินถ้อยคำเรียกว่ามันเป็นซีฟัต "อิสเตาลา" หรือ "อิสตีลาอฺ" (ทรงปกครอง) ซึ่งดังกล่าวนี้โดยคำนึงถึงในเชิงการยืนยันเรียกแบบ "ถ้อยคำ"
ดังนั้นอุลามาอฺสะลัฟบางท่านที่เป็นชาวเปอร์เซีย ไม่ใช่ชาวอาหรับโดยตรง ซึ่งพวกเขาย่อมรู้หลายภาษา แต่ในเรื่องซีฟัตของอัลเลาะฮ์นั้น พวกเขาจะไม่แปลแต่จะยืนยันและเรียกทับศัพท์ลงไปเลย
ท่านอัชชะฮ์ร๊อสตานีย์ได้กล่าวว่า "สะลัฟบางส่วนได้มีความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั้งพวกเขาไม่เคยกล่าว(แปล)คำว่า اليد (ยะดุน) เป็นภาษาเปอร์เซียเลย ( คือหากเป็นคนไทยก็ไม่เคยกล่าวเป็นภาษาไทยว่า "มือ" เป็นต้น) ไม่เคยกล่าว(แปล) คำว่า الوجه (พระพักตร์) ไม่เคยกล่าว(แปล)คำว่า الإستواء (ให้เป็นภาษาอื่นจากอาหรับ) และไม่เคยกล่าว(แปล)ซีฟัตที่เหมือนกับสิ่งดังกล่าว(ที่ความหมายหลายนัย) เป็นภาษาเปอร์เซียเลย ซึ่งหากพวกเขาจะกล่าวด้วยสำนวนหนึ่ง พวกเขาก็จะทำการกล่าวมันด้วยคำต่อคำ และนี้ก็คือหนทางที่ปลอดภัย และอัลเลาะฮ์ ก็ไม่คล้ายคลึงกับสิ่งใดเลย" ดู หนังสือ อัลมิลัล วะ อันนิหัล เล่ม 1 หน้า 118 - 119 ตีพิมพ์ดารุลมะริฟะฮ์ เบรุต
ส่วนที่เมืองไทยบ้านเรา แปลความหมายซีฟัต يَدٌ (ยะดุน) ว่า "มือ" นั้น ก็ถือว่าอยู่ในเชิงอนุโลมโดยไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับความหมายแท้ของมัน คือให้ผ่านไปมันโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเข้าไปเจาะจงความหมาย แต่แนวทางวะฮาบียะฮ์เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความหมาย รู้ เจาะจงและอธิบายถึงฮะกีกัตความหมายของซีฟัตอัลเลาะฮ์ เช่น คำว่า يَدٌ (ยะดุน) ซึ่งตามหลักอะกีดะฮ์ของวะฮาบีย์คือพวกเขารู้และยืนยัน(อิษบาต)ความหมายแบบฮะกีดะฮ์และอธิบายได้ ซึ่งมิใช่แนวทางของสะละฟุศศอและห์ส่วนมาก เพราะสะละฟุศศอลิห์ส่วนมากไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความหมาย กล่าวคือพวกเขาส่วนมากรู้ว่า يَدٌ (ยะดุน) ในภาษาอาหรับนั้นมีหลายความหมายและไม่เข้าไปเจาะจงความหมาย เนื่องจากพวกเขาไม่รู้ว่าความหมายใดกันแน่ที่เป็นเป้าหมายของอัลเลาะฮ์ตะอาลา นี่คือแนวทางสะละฟุศศอลิห์ ตามที่อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ให้การยอมรับ
ดังนั้น เราก็จะพบว่า อิมามอัชชาฟิอีย์จะบอกว่าเสมอว่า อัลเลาะฮ์ทรงอิสติวาเหนืออะรัช แต่อิมามอัชชาฟิอีย์ไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับความหมายเลย กล่าวคืออิมามอัชชาฟิอีย์ไม่เคยพูดถึงความหมายของมัน เช่น جلس علي العرش "นั่งอยู่บนอะรัช" หรือ استقرّ علي العرش "สถิตอยู่บนอารัช" ซึ่งอิมามอัชชาฟิอีย์ไม่เคยไปยุ่งเกี่ยวและไม่ได้เจาะจงความหมายของอิสติวาอฺเลย ดังนั้นหากใครบอกว่าอิมามอัชชาฟิอีย์ได้เจาะจงความหมายหรือไปแปลคำพูดของอิมามชาฟิอีย์ว่า "อัลเลาะฮ์นั่งสถิตอยู่บนอารัช" ถือว่ามุสาต่ออิมามอัชชาฟิอีย์โดยไร้หลักฐานนั่นเองครับ
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: al-azhary Date: ธ.ค. 01, 2008, 04:30 PM
2. การพูดยืนยันในเชิงความหมายของถ้อยคำผิวเผิน(ลักษณะภายนอก)
ส่วนการยืนยัน(อิษบาต)ในเชิงความหมายผิวเผินลักษณะภายนอกของถ้อยคำนั้น สะลัฟส่วนมากเขาไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวความหมายถ้อยคำลักษณะภายนอก(ผิวเผิน)ที่เกี่ยวกับซีฟัตของอัลเลาะฮ์ แต่พวกเขาส่วนมากทำการผ่านมันไปโดยทำการมอบหมายการรู้ถึงจุดมุ่งหมายของความหมายซีฟัตดังกล่าวไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา
ท่านอิบนุกะษีร กล่าวว่า
وَإِنَّمَا نَسْلك فِي هَذَا الْمَقَام مَذْهَب السَّلَف الصَّالِح مَالِك وَالْأَوْزَاعِيّ وَالثَّوْرِيّ وَاللَّيْث بْن سَعْد وَالشَّافِعِيّ وَأَحْمَد وَإِسْحَاق بْن رَاهْوَيْهِ وَغَيْرهمْ مِنْ أَئِمَّة الْمُسْلِمِينَ قَدِيمًا وَحَدِيثًا وَهُوَ إِمْرَارهَا كَمَا جَاءَتْ مِنْ غَيْر تَكْيِيف وَلَا تَشْبِيه وَلَا تَعْطِيل وَالظَّاهِر الْمُتَبَادِر إِلَى أَذْهَان الْمُشَبِّهِينَ مَنْفِيّ عَنْ اللَّه
"แท้จริง เกี่ยวกับ ณ ตรงนี้ เราได้ดำเนินตามมัซฮับของสะละฟุศศอลิหฺ คือท่านมาลิก , ท่านอัลเอาซะอีย์ , ท่านอัษเษารีย์ , ท่านอัลลัยษ์ บิน สะอัด , ท่านอัชชาฟิอีย์ , ท่านอะหฺมัด บิน หัมบัล , ท่านอิสหาก ร่อฮุวัยฮ์ , และท่านอื่น ๆ จากนักปราชญ์บรรดามสุลิมีนทั้งอดีตและปัจจุบัน ซึ่งแนวทางของสะละฟุศศอลิหฺ ก็คือ ให้ทำการผ่านมันไปเหมือนที่มันได้มีมา(โดยมิได้เจาะจงความหมาย) โดยไม่มีรูปแบบวิธีการ ไม่ยืนยันการคล้ายคลึง และปฏิเสธคุณลักษณะ(ซีฟัต) และความหมายแบบผิวเผิน(ลักษณะภายนอกของคำ)ที่เข้ามาอยู่ในสมองความเข้าใจของบรรดาพวกมุชับบิฮะฮ์ (คือพวกที่พรรณาการคล้ายคลึงคุณลักษณะระหว่างอัลเลาะฮ์และมัคโลคไม่ว่าจะ แง่ใดแง่หนึ่ง)นั้น ถูกปฏิเสธจากอัลเลาะฮ์..."
ท่านอิบนุกะษีรได้บอกชัดเจนว่า ให้ผ่านมันไปโดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวเจาะจงความหมาย โดยเฉพาะความหมายแบบผิวเผินหรือความหมายแบบลักษณะภายนอกของคำที่พวกมุชับบิฮะฮ์นำมาเข้าใจนั้น ต้องถูกปฏิเสธจากอัลเลาะฮ์ อะไรคือการเข้าใจความหมายแบบผิวเผินหรือถ้อยคำภายนอกของพวกมุชชับบิฮะฮ์?
ท่านชัยคุลอิสลาม อัลฮาฟิซฺ อิบนุฮะญัร ได้กล่าวในขณะอธิบายฮะดิษเกี่ยวกับการลงมา النزول ว่า
وَقَدْ اخْتُلِفَ فِيْ مَعْنَى النُّزُوْلِ عَلَى أَقْوَالٍ: فَمِنْهُمْ مَنْ حَمَلَهُ عَلَى ظَاهِرِهِ وَحَقِيْقَتِهِ وَهُمُ المُشَبِّهَةُ تَعَالَى اللهُ عَنْ قَوْلِهِمْ
"แท้จริงได้ถูกขัดแย้งกันในความหมายของการ เสด็จลงมา บนหลายทัศนะคำกล่าวด้วยกัน ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ เขาได้ทำการให้ความหมายการลงมานั้นบน(ความหมาย)ถ้อยคำผิวเผิน(หรือถ้อยคำลักษณะภายนอก) และตามความหมายฮะกีกัต(คำแท้ของมันที่มีการเคลื่อนย้ายจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง) ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นคือพวกมุชับบะฮ์ (พวกที่ให้ความหมายในซีฟัตของอัลเลาะฮ์โดยไปคล้ายคลึงกับความหมายของมัคโลค) ซึ่งอัลเลาะฮ์ทรงบริสุทธิ์จากคำกล่าวของพวกเขา" หนังสือฟัตฮุบารีย์ : 3/36
ดังนั้น ความเข้าใจความหมายเกี่ยวกับถ้อยคำซีฟัตของอัลเลาะฮ์ของพวกมุชับบิฮะฮ์ก็คือ การเข้าใจความหมายแบบผิวเผินและเขาใจความหมายแบบคำแท้คำตรง เช่น คำว่า "มือ" ความหมายคำตรงก็คือ "ส่วนอวัยวะที่มีฝ่ามือและนิ้ว" หากให้ความหมายนอกเหนือจากนี้ แสดงว่าให้ความหมายแบบตะวีลและเฉไม่ตรง ดังนั้นถ้าหากเชื่อในความหมายที่ว่า อัลเลาะฮ์ทรงมีซีฟัตมือที่อยู่ในความหมายของอวัยวะแต่ไม่เหมือนมัคโลค ถือว่าเป็นความเข้าใจของพวกมุชชับบิฮะฮ์(พวกพรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์คล้ายกับมัคโลค) แต่หากเชื่อว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีอวัยวะที่เหมือนกับมัคโลค ถือว่าเป็นความเข้าใจของพวกมุญัสสิมะฮ์ (พวกพรรณาคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์เป็นรูปร่าง) ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้ไม่ใช่แนวทางอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์
ท่านชัยคุลอิสลาม อัลฮาฟิซฺ อิบนุฮะญัร กล่าวอธิบายความหมาย "ทำการผ่านมันไป" ว่า
وَمَعْنىَ الِإمْرَارِ عَدَمُ الْعِلْمِ بِالْمُرَادِ مِنْهُ مَعَ اعْتِقَادِ التَّنْزِيْهِ
"ความหมาย(อัลอิมร็อร)ทำการผ่านมันไป หมายถึงไม่รู้ถึงจุดมุ่งหมายจาก(ถ้อยซีฟัตของอัลเลาะฮ์ที่มีความหมายหลายนัย) พร้อมกับยึดมั่นว่าพระองค์ทรงบริสุทธิ์(จากการไปคล้ายหรือเหมือนกับมัคโลคด้วยความเข้าใจแบบความหมายคำตรงคำแท้)" หนังสือฟัตฮุลบารีย์ : 6/48
ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวเช่นกันว่า
وَالثَّالِثُ إِمْرَارُهَا عَلىَ مَا جَاءَتْ مَفَوَّضاً مَعْنَاهَا إِلَى اللهِ تَعَالَى....قَالَ الطَّيَّبِيُّ: هَذَا هُوَ الْمَذْهَبُ الْمُعْتَمَدُ وَبِهِ يَقُوْلُ السَّلَفُ الصَّالِحُ
"มัซฮับที่สาม คือทำการผ่านพ้นมันไปตามที่ได้มี(ระบุ)มา โดยมอบหมาย(ซึ่งการรู้)ถึงความหมายของมันไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา...ท่านอัฏฏ็อยยิบีย์กล่าวว่า นี้คือแนวทางที่ได้รับการยึดถือ และเป็นทัศนะคำกล่าวของสะละฟุศศอลิห์" หนังสือฟัตฮุลบารีย์ : 13/190
ดังนั้น มัซฮับสะลัฟก็คือการเชื่อในซีฟัต แต่ทำการผ่านมันไปโดยไม่เข้าไปเจาะจงความหมายหลายนัยของซีฟัตมุตะชาบิฮาตที่มีความหมายหลายนัย โดยมอบหมายความรู้ไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา
ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวว่า
فَيُقَالُ مَثَلاً: نُؤْمِنُ بِأَنَّ الرَّحْمَنَ عَلَى الْعَرْشِ اسْتَوَى، وَلَا نَعْلَمُ حَقِيْقَةَ مَعْنَى ذَلِكَ وَالْمُرَادُ بِهِ، مَعَ أَنَّا نَعْتَقِدُ أَنَّ الله َتَعَالىَ لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ، وَأَنَّهُ مُنَزَّهٌ عَنِ الحُلُوْلِ وَسِمَاتِ الحَدُوْثِ، وَهَذِهِ طَرِيْقَةُ السَّلَفِ أَوْ جَمَاهِيْرِهِمْ وَهِيَ أَسْلَمُ
"อาทิเช่น กล่าวว่า เราได้ศรัทธาอัลเลาะฮ์ทรงอิสติวาอฺเหนืออะรัช ซึ่งเราไม่รู้ถึงแก่นแท้ของหมายความ(แต่ วะฮาบีย์รู้ความหมายแก่นแท้ของซีฟัต))และไม่รู้เป้าหมายสิ่งดังกล่าว พร้อมกับเราเชื่อมั่นว่า แท้จริง อัลเลาะฮ์ตะอาลานั้น "พระองค์ไม่มีสิ่งใดมาคล้ายเหมือนกับพระองค์" และแท้จริงพระองค์ทรงปราศจากการเข้าไปมีที่อยู่ ปราศจากคุณลักษณะที่บังเกิดขึ้นมาใหม่ และนี้ก็คือแนวทางของสะลัฟ หรือสะลัฟส่วนมาก ซึ่งเป็นแนวทางที่ปลอดภัยกว่า" หนังสือมัจญฺมั๊วะ : 1/25
ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์กล่าวว่า
مِنَ المُتَشَابِهِ آيَاتُ الصَّفَاتِ... وَجُمْهُوْرُ أَهْلِ السُّنَّةِ مِنْهُمُ السَّلَفِ وَأَهْلُ الحَدِيْثِ عَلى الإِيْمَانِ وَتَفْوِيْضِ مَعْنَاهَا المُرَادِ مِنْهَا إِلىَ اللهِ تَعَالَى، وَلاَ نُفَسِّرُهَا مَعَ تَنْزِيْهِنَا لَهُ تَعَالَى عَنْ حَقِيْقَتِهَا
"ส่วนหนึ่งจากสิ่งที่มีความหมายหลายนัย(คลุมเคลือ) คือบรรดาอายะฮ์ซีฟาต(อายะฮ์ที่พูดถึงคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์)...อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ส่วนมาก ซึ่งส่วนหนึ่งจากพวกเขา คือชาวสะลัฟและอะฮ์ลุลฮะดิษ ได้ทำการศรัทธา(อีหม่าน) และมอบหมาย(การรู้)ความหมายที่เป็นเป้าหมาย(จริงๆ)ของมันไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา และเราจะไม่อธิบายมัน(เพราะไม่รู้ความหมายที่แท้จริงจึงอธิบายไม่ได้)พร้อมกับเราได้ยืนยันความบริสุทธิ์แด่อัลเลาะฮ์ตะอาลา ให้พ้นจาก(ความหมาย)ฮะกีกัตของมัน(คือความหมายคำตรงแบบภายนอกผิวเผินของถ้อยคำ)" หนังสืออัลอิตกอน ฟี อุลูมิลกุรอาน 2/10
แต่อาจจะมีคำถามขึ้นว่า การที่สะลัฟได้ทำการผ่านมันไปโดยมอบหมายซึ่งการรู้ควาหมายไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา ก็ถือว่าสะละฟุศศอลิห์ไม่รู้ความหมายของอัลกุรอานน่ะซิ ? ซึ่งเป็นไปได้หรือที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานอัลกุรอานลงมาโดยไม่รู้ความหมาย?
ตอบ : การที่สะลัฟได้ทำการผ่านมันไปโดยมอบหมายซึ่งกันรู้ความหมายไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลานั้น มิใช่หมายความว่าสะละฟุศศอลิห์ไม่รู้ความหมายในถ้อยคำที่มีความหมายหลายนัย และพวกเขาไม่รู้ถึงความหมายแบบเชิงรายละเอียด(ตัฟซีล) พวกเขาไม่รู้ถึงความหมายที่เจาะจงจริง ๆ ตามทัศนะของอัลเลาะฮ์ว่ามันคืออะไรกันแน่ ดังนั้นพวกเขาก็ไม่สามารถฟันธงเด็ดขาดว่า ความหมายถ้อยคำที่เกี่ยวกับซีฟัตของอัลเลาะฮ์นี้ คือการนั่งน่ะ คือการสถิตน่ะ แต่ทว่าพวกเขารู้และเข้าใจถึงเจตนารมณ์ของอัลกุรอานในเชิงแบบสรุป(อิจญฺมาล) ดังรายละเอียดที่ผมจะยกตัวอย่างต่อไปนี้ :
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า
يَدُ اللهِ فَوْقَ أَيْدِيْهِمْ
"ยะดุลลอฮ์อยู่เหนือบรรดามือของพวกเขา"
ดังนั้นอายะฮ์นี้ สะลัฟเข้าใจเจตนารมณ์จากความหมายของอายะฮ์แบบสรุปว่า "อัลเลาะฮ์ได้ทรงช่วยเหลือและให้การสนับสนุนพวกเขา" ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เหมาะสมกับพระองค์และเป็นความเข้าใจแบบโดยรวมที่มีต่ออายะฮ์นี้ สำหรับถ้อยคำที่ว่า يَدُ ที่พาดพึงไปยังอัลเลาะฮ์นั้น เมื่อทำการพิจารณาถึงความหมายแบบผิวเผินที่ได้ยินแล้วมันเข้ามาในสมองหรือเข้ามาในความเข้าใจของคนทั่วไปเป็นอันดับแรกว่ามันคือความหมายแบบฮะกีกัตในเชิงภาษาที่หมายถึง "่ส่วนอวัยวะที่เป็นมือ" ปรากฏว่าสะละฟุศศอลิห์ส่วนมากจะปฏิเสธความหมายในเชิงฮะกีกัตที่เป็นอวัยวะมือนี้ หลังจากนั้นพวกเขาก็จะไปพิจารณาความหมายอื่น ๆ ที่มีความหมายหลายนัยยะแบบมะญาซฺ(คำที่มีความหมายอ้อมและเปรียบเปรย)ตามที่หลักภาษาอาหรับเข้าใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น หมายถึงอำนาจ , พลัง , เนี๊ยะมัต , ความเอื้อเฝื้อเผื่อแผ่ , เป็นต้น ซึ่งการตีความได้หลายความหมายหรือหลายนัยยะนี้ สะละฟุศศอลิห์ได้ทำการหยุดเจาะจงความหมายและไม่ฟันธงอย่างเด็ดขาดว่ามันคือความหมายนั้นความหมายนี้ โดยมอบหมายไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา ฉะนั้นตามนัยยะนี้แหละ ที่เป็นเป้าหมายคำพูดที่ว่า "สะลัฟไม่รู้ความหมายที่เป็นเป้าหมาย(จริงๆ)ของมัน(ตามทัศนะของอัลเลาะฮ์ตะอาลา)และทำการมอบหมายไปยังพระองค์"
ดังนั้น สะลัฟได้รู้ความหมายถ้อยคำ يَدُ ว่ามีความหมายทั้งในเชิงคำแท้(ฮะกีกัต)และมะยาซฺ(คำอ้อม)ที่ได้ให้ความหมายไว้มากมายหลายนัยยะในภาษาอาหรับ แต่พวกเขาเข้าใจแบบเชิงสรุป(อิจญฺมาล)ดั่งที่ได้กล่าวมาแล้วโดยไม่เจาะจงความหมายหรือฟันธง เป็นเพราะว่าเมื่อมันเกี่ยวข้องกับถ้อยคำที่มีความหมายซีฟัตของอัลเลาะฮ์ สะละฟุศศอลิห์จึงมีความยำเกรง เกรงกลัว และเกรงขาม ในเรื่องของอัลเลาะฮ์ที่เกี่ยวกับคุณลักษณะอันสูงส่งของพระองค์นี้ และพวกเขาก็ไม่มีความจำเป็นอันใดในการเข้าไปเจาะจงความหมายใดความหมายหนึ่ง เนื่องจากในยุคสมัยนั้นปราศจากพวกเบี่ยงเบนที่ทำการตีความหมายคำตรัสของอัลเลาะฮ์และคำพูดของร่อซูลุลลอฮ์บนหนทางต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้องตามหลักภาษาอาหรับและตีความโดยค้านกับความบริสุทธิ์ของพระองค์จากการไปคล้ายหรือเหมือนกับมัคโลค ด้วยเหตุนี้สะละฟุศศอลิห์ส่วนมากจึงหลีกเลี่ยงการฟันธงหรือเจาะจงความหมาย ซึ่งพวกเขาถือว่าเพียงพอแล้วที่เข้าอายะฮ์อัลกุรอานแบบสรุป ๆ (อิจญฺมาล)
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: al-azhary Date: ธ.ค. 01, 2008, 04:45 PM
ด้วยกับการนึกคิดของเรา และเราจะไม่คาดเดาด้วยกับอารมณ์ของเราเอง บรรดาฮะดิษซอฮิห์ทั้งหลายซึ่งมาจากท่านร่อซูลุลลอฮ์ (ซ.ล.) ทั้งหมดนั้น เรานั้นยอมรับและเรานั้นเชื่อ (ว่าเป็นเรื่องจริง) และเรานั้นจะไม่ตะวีล (คำว่าตะวีลแปลว่าผินคำคำนั้นที่ตามซอเฮรของมันอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจในทำนองของการตัชบีห์เกี่ยวกับคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ตะอาลาไปยังประเด็นที่สามารถจะตีความได้ทางภาษา) ด้วยการตะวีลที่ผิดพลาดคำว่า "อัตตะวีล" (การตีความ) ตามทัศนะของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ก็คือ การผินความหมายมิใช่ผินถ้อยคำผิวเผิน(ลักษณะภายนอก) หมายความว่า ถ้อยคำเรายืนยันเช่นนั้น กล่าวคือ يَدٌ ก็คือ "ยะดุน" และ اِسْتِوَاءٌ ก็คือ "อิสติวาอฺ" ซึ่งถ้อยคำเหล่านี้เราไม่ผินหรือเปลี่ยนมันแต่เราจะเรียกทับศัพท์มัน (แต่จะแปลเป็นภาษาไทยแบบตรงตัวแล้วมั่นใจว่าคนเอาวามไม่คิดจินตนาการก็อนุโลมให้แปล) ส่วนความหมายของถ้อยคำผิวเผิน(ลักษณะภายนอกเชิงฮะกีกัตนั้น) ทั้งสะลัฟและค่อลัฟได้ผินความหมายของมัน กล่าวคือ สะละฟุศศอลิห์ มิได้ให้ความหมาย يَدٌ แบบผิวเผิน(ลักษณะภายนอก)ให้อยู่ในความหมายว่า "ส่วนอวัยวะที่เป็นมือ"
ท่านอัชซัยยิด อัลญุรญานีย์ ได้กล่าวคำนิยามของการตะวีล(ตีความ) ว่า
صَرْفُ الأَيَِةِ عَنْ مَعْنَاهَا الظَّاهِرِ إِلَي مَعْنَي تَحْتَمِلُهُ
"การผินอายะฮ์ออกจากความหมายของมันที่ผิวเผิน(ลักษณะภายนอก) ไปยังความหมายที่อายะฮ์สามารถตีความมันได้" หนังสืออัตตะรีฟาต หน้า 43 ถ่ายทอดจากหนังสือชัรฮุลอะกีดะฮ์อัฏเฏาะฮาวียะฮ์ หน้า 71 ของท่านอัลลามะฮ์ อัลมุฮักกิก อับดุลฆ่อนีย์ อัลฆ่อนีมีย์ อัลฮะนะฟีย์
ชัดเจนครับว่า การตะวีลตีความนั้น คือการผินความหมาย มิใช่ผินเปลี่ยนถ้อยคำ กล่าวคืออะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่ตีความได้ยืนยัน(อิษบาต)ในถ้อยคำซีฟัต يَدٌ แต่ในเชิงความหมายนั้นคือ قُدْرَةٌ (กุดเราะฮ์) อำนาจ หรือ قُوَّةٌ (กู้วะฮ์) "พลัง" ส่วนพวกมั๊วะตะซิละฮ์นั้น ปฏิเสธ(ตะตีล)การมีซีฟัต يَدٌ ครับ ซึ่งตรงนี้เราก็จะเห็นความแตกต่างของการตะวีล(ตีความ)ระหว่างอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กับพวกมั๊วะตะซิละฮ์อย่างชัดเจน ดังนั้นการกล่าวเหมาว่า หากตีความแล้ว ย่อมเป็นการปฏิเสธซีฟัตหรือไม่ยืนยันซีฟัตของอัลเลาะฮ์ ถือว่าเข้าใจผิดต่อหลักการของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์นั่นเองครับ
ดังนั้น การตีความจึงแบ่งเป็นสองกลุ่ม
1. การตีความที่ยืนยันในถ้อยคำซีฟัตอัลเลาะฮ์ตามแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ย่อมเป็นกลุ่มอิษบาต المُثْبِتَةُ "ผู้ยอมรับและยืนยันในซีฟัตของพระองค์แม้เขาจะตีความก็ตาม"
2. การตีความกลุ่มมั๊วะตะซิละฮ์ที่ปฏิเสธถ้อยและซีฟัตของอัลเลาะฮ์ แล้วทำการตีความ ถือว่าเป็นกลุ่ม المُعَطَّلَةُ "กลุ่มผู้ปฏิเสธซีฟัต" หรือกลุ่มอัลญะฮ์มียะฮ์ الجَهْمِيَّةُ ที่ปฏิเสธซีฟัตและสายรายงานฮะดิษที่เกี่ยวกับเรื่องซีฟัตที่มีความหมายหลายนัย
ในหนังสืออัฏเฏาะบะก็อตอัลฮะนาบิละฮ์ ระบุยืนยันไว้ว่ากลุ่มอะฮ์ลุลฮะดิษจากอัลอะชาอิเราะฮ์ที่ตีความโดยยอมรับในซีฟัตและสายรายงานฮะดิษต่าง ๆ นั้นคืออะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ท่านอิบนุอะลียะลา รอฮิมะฮุลลอฮ์ ปราชญ์แห่งมัซฮับฮัมบาลีย์ได้กล่าวว่า
وَقَدْ أَجْمَعَ عُلَمَاءُ أَهْلِ الْحَدِيْثِ وَالأَشْعَرِيَّةِ مِنْهُمْ عَلىَ قَبُوْلِ هَذِهِ الأَحَادِيْثِ فَمِنْهُمْ مَنْ أَقَرَّهَا عَلىَ مَا جَاءَتْ وَهُمْ أَصْحَابُ الْحَدِيْثِ وَمِنْهُمْ مَنْ تَأَوَّلَهَا وَهُمْ الأَشْعَرِيَّةُ وَتَأْوِيْلُهُمْ إِيَّاهَا قَبُوْلٌ مِنْهُمْ لَهَا إِذْ لَوْ كَانَتْ عَنْدَهُمْ بَاطِلَةٌ لاَطْرَحُوْهَا كَمَا اطْرَحُوْا سَائِرَ الأَخْبَارِ الْبَاطِلَةِ وَقَدْ رُوِىَ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَّهُ قَالَ:" أُمَّتِيْ لاَ تَجْتَمِعُ عَلىَ خَطَأٍ وَلاَ ضَلاَلَةٍ
"แท้จริงได้ลงมติ (อิจญ์มาอฺ)โดยบรรดาอุลามาอฺอะฮ์ลุลฮะดิษและอัลอะชาอิเราะฮ์ซึ่งก็เป็นส่วน หนึ่งจากอะฮ์ลุลฮะดิษ บนการรับบรรดาฮะดิษ(ที่เกี่ยวกับเรื่องซีฟาตของอัลเลาะฮ์) ดังนั้นส่วนหนึ่งจากอะฮ์ลุลฮะดิษก็รับฮะดิษตามที่ได้ระบุมา ซึ่งพวกเขาคืออัศฮาบุลฮะดิษ(คือกลุ่มอะษะรียะฮ์) และส่วนหนึ่งจากอะฮ์ลุลฮะดิษ ทำการตีความ(ตะวีล)บรรดาฮะดิษซีฟาต ซึ่งพวกเขาคืออัลอะชาอิเราะฮ์ และการตีความของพวกเขากับบรรดาฮะดิษซีฟาตของอัลเลาะฮ์นี้ ก็คือการที่พวกเขาได้ยอมรับบรรดาฮะดิษที่เกี่ยวกับซีฟาตของอัลเลาะฮ์นั่นเอง เนื่องจากว่า หากบรรดาฮะดิษที่เกี่ยวกับซีฟาตของอัลเลาะฮ์เป็นสิ่งที่โมฆะตามทัศนะของอัล อะชาอิเราะฮ์แล้ว แน่นอนว่า พวกเขาก็จะละทิ้งบรรดาฮะดิษนั้นไป เสมือนที่พวกเขาละทิ้งบรรดาฮะดิษที่กุขึ้นมา และแท้จริงได้รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า "ประชาชาติของฉันจะไม่ลงมติกันบนความผิดพลาดและลุ่มหลง" หนังสอเฏาะบะก็อตอัลฮะนาบิละฮ์ หน้า 479 รวบรวมโดย ท่านอิบนุอะบียะลาอุลามาอฺมัซฮับฮัมบาลีย์
ดังนั้นการตีความของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กับพวกมั๊วะตะซิละฮ์จึงต่างกัน หากใช้หัวใจที่เป็นธรรมพิเคราะห์พิจารณาถึงข้อเท็จจริงอันนี้
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: al-azhary Date: ธ.ค. 01, 2008, 04:51 PM
(การตะวีลที่ถูกต้องคือการตัฟซีรอธิบายความ) กล่าวคือหมายถึงการตะวีลที่มันไปค้านกับหลักฐาน และไม่ปรากฏว่ามีอยู่พร้อมกับการตะวีลนั้น ก่อรีนะฮ์ (สิ่งบ่งชี้หรือกรณีแวดล้อม) และการตะวีลที่ถูกต้องนั้น คือการตะวีลซึ่งตรงสอดคล้องกับสิ่งซึ่งมีมาในฮะดิษท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ส่วนหนึ่งจากการตะวีลที่ผิดพลาดนั้น คือการตะวีลของพวกมั๊วะตะซิละฮ์ คำพูดของท่านชัยค์อับดุลกอดีร อัลมันดีลีย์นี้ ไม่ได้ปฏิเสธการตีความที่สอดคล้องกับหลักฐานและมีก่อรีนะฮ์(กรณีแวดล้อมมาบ่งชี้) แต่ท่านชัยค์อับดุลกอดีรได้ปฏิเสธการตีความรูปแบบดังนี้ (1)ไปค้านกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์และ(2)ตีความโดยไม่อยู่พร้อมกับกอรีนะฮ์ ดังนั้นหากตะวีล(ตีความ)ไปค้านหรือปฏิเสธหลักฐานอัลกุรอานและซุนนะฮ์โดยมีแต่กอรีนะฮ์อย่างเดียว ถือว่าเป็นการตีความที่ผิดพลาด
ตัวอย่างที่หนึ่ง : เรื่องการเห็นอัลเลาะฮ์ในวันกิยามะฮ์
พวกมั๊วะตะซิละฮ์ ปฏิเสธการเห็นอัลเลาะฮ์ในวันกิยามะฮ์ เพราะอ้างก่อรีนะฮ์(กรณีแวดล้อมที่ว่า) หากเห็นพระองค์ได้แสดงว่าพระองค์ต้องมีรูปร่างและอยู่ในทิศหนึ่งทิศใด ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้องเนื่องจากพวกมั๊วะตะซิละฮ์ไปปฏิเสธหลักฐานอัลกุรอานและฮะดิษที่ระบุว่ามีการเห็นอัลเลาะฮ์! ดังนั้นการมีเพียงแค่ก่อรีนะฮ์แต่ไปค้านหรือปฏิเสธหลักฐานย่อมเป็นการตีความที่ผิดพลาด
ส่วนอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ไม่ตีความเรื่องการเห็นอัลเลาะฮ์ตะอาลาเพราะมันจะไปค้านตัวบทที่ยืนยันถึงการเห็นพระองค์ ถึงแม้จะมีกอรีนะฮ์มาบ่งชี้แต่ก็ไร้ประโยชน์หากไปค้านกับหลักฐาน
ตัวอย่างที่สอง : อายะฮ์อิสติวาอฺ ที่ว่า "พระเจ้าผู้ทรงเมตตาอิสติวาอฺเหนือบัลลังก์" 5 ฏอฮา
พวกมั๊วะตะซิละฮ์ ปฏิเสธซีฟัต "อิสติวาอฺ" ที่ระบุไว้ในอัลกุรอาน(ไม่ใช่ปฏิเสธอัลกุรอานน่ะแต่ปฏิเสธการมีซีฟัตอิสติวาอฺที่ระบุไว้ในอัลกุรอานเท่านั้นเอง) โดยพวกเขาอ้างกอรีนะฮ์ที่ว่าหากพระองค์ทรงนั่งหรือสถิตอยู่บนบัลลังก์ ก็เท่ากับว่าพระองค์ทรงมีที่อยู่บนมัคโลคที่เป็นบังลังก์ ซึ่งมันจะไปคล้ายหรือเหมือนสภาวะการมีอยู่ของมัคโลค แล้วทำการตีความว่า "ทรงปกครอง" (เหนือบัลลังก์) ซึ่งตรงนี้เป็นการตีความที่ผิดและไม่ครบเงื่อนไข เพราะพวกมั๊วะตะซิละฮ์ไปปฏิเสธซีฟัตอิสติวาอฺที่มีหลักฐานระบุไว้ กล่าวคือยึดแต่กอรีนะฮ์ทางสติปัญญาแต่ไปค้านหรือปฏิเสธซีฟัตที่หลักฐานได้ระบุไว้นั้นซึ่งถือว่าเป็นการตีความที่ผิด
ส่วนอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์แนวทางค่อลัฟส่วนมากนั้น เชื่อ , ไม่ปฏิเสธ , และยืนยัน(อิษบาต) ซีฟัต "อิสติวาอฺ" หลังจากนั้นพวกเขาก็ทำการตีความว่ามันคือ "การปกครอง" เพราะมีกอรีนะฮ์(กรณีแวดล้อม) ที่ว่า หากไปยึดความหมายว่า นั่งหรือสถิต ซึ่งตามหลักฮะกีกัตเชิงภาษาหมายถึงการไปนั่งอยู่หรือสถิตอยู่ที่มัคโลค(คือบัลลังก์) ซึ่งเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากอัลเลาะฮ์ทรงตรัสไว้ว่า "ไม่มีสิ่งใดคล้ายเหมือนพระองค์" ซึ่งการตีความเช่นนี้ถือว่าถูกต้อง เพราะให้การยอมรับในหลักฐานและยืนยันซีฟัต "อิสติวาอฺ" พร้อมกับตีความอันเนื่องจากมีกอรีนะฮ์กรณีแวดล้อมทางสติปัญญาที่อยู่บนพื้นฐานของอัลกุรอานที่ว่า "พระองค์ไม่ทรงคล้ายเหมือนกับสิ่งใด" มาชี้นำ
ดังกล่าวนี้ก็คืออีกแง่มุมหนึ่ง ในการแยกแยะระหว่างการตีความของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์กับแนวทางของพวกมั๊วะตะซิละฮ์ ผู้มีตาใจเป็นธรรมโปรดเข้าใจ
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: al-azhary Date: ธ.ค. 01, 2008, 04:57 PM
ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นได้ทำการตีความตะวีลพระดำรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ว่า (อิลาร็อบบิฮานะซิเราะฮ์) "ยังพระผู้อภิบาลของใบหน้าเหล่า(ของบรรดาบุคคลที่เป็นมุมิน)ต่างก็มองดู" ตะวีลด้วยคำพูดของพวกเขาว่า การรอคอยเนี๊ยะของผู้อภิบาลของเขา และพวกเขาเหล่านั้นได้ตีความฮะดิษที่ว่า ซะตะเราน่าร็อบบะกุ้ม "ต่อไปพวกท่านทั้งหลายจะได้เห็นพระผู้เป็นเจ้าของพวกท่านทั้งหลาย" ตีความด้วยกับคำกล่าวพวกเขาเหล่านั้นว่า ต่อไปพวกท่านทั้งหลายจะได้แลเห็นพระเมตตาแห่งพระผู้เป็นเจ้าของพวกท่านทั้งหลาย ฉะนั้นการตะวีล(การตีความ)ของพวกมั๊วะตะซิละฮ์นั้น เป็นไปตามอารมณ์ของพวกเหล่าเท่านั้นเอง เพราะพวกเขาอธิบายว่า หากว่าได้เห็นพระผู้เป็นเจ้าในกิยามะฮ์ แสดงว่าอัลเลาะฮ์อยู่ในทิศ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ซึ่งถ้าหากเราดูแล้วอายะฮ์ดังกล่าวนี้ อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์เห็นพร้องกันหมดเลยทั้งหมดนั้น ไม่มีการตีความ เพราะเราไม่รู้วิธีการเป็นอย่างไร เมื่อเราไม่รู้ เราก็มอบหมายไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา คำอธิบายตรงนี้ถูกต้องชัดเจนอย่างยิ่งครับ อัลฮัมดุลิลลาฮ์ แต่ผมอยากจะให้พี่น้องนักศึกษาเข้าใจอีกแนวทางหนึ่งที่ไม่ตีความแต่อิษบาต(ยืนยัน)จนเลยเถิดเกินงาม ก็คือแนวทางอะกีดะฮ์ของอัลวะฮาบียะฮ์ที่บอกว่า เห็นอัลเลาะฮ์แต่มีรูปแบบวิธีการคือเห็นแบบว่าอัลเลาะฮ์ทรงมีทิศอยู่ด้านบนแล้วผู้คนก็เงยหน้าขึ้นไปมอง ส่วนแนวทางของสะละฟุศศอลิห์ที่ท่านอิมามอัฏเฏาะฮาวีย์ได้นำเสนอไว้ในหนังสืออะกีดะฮ์ของท่านนั้น คือเห็นอัลเลาะฮ์(แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว) ส่วนรูปแบบวิธีการ เราขอมอบหมายแต่อัลเลาะฮ์ตะอาลา
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: al-azhary Date: ธ.ค. 01, 2008, 05:18 PM
ปัญหาระหว่างเตาฮีดค่อลัฟและสะลัฟ คือสะลัฟเขาจะถือตามซอเฮรของตัวบท ตัวเป็นอย่างไร พวกเขาจะว่าไปอย่างนั้น ถ้าอายะฮ์ในยืนยันว่าเป็นซีฟัตของอัลเลาะฮ์ พวกเขาก็จะว่าไปอย่างนั้น โดยเชื่อว่านั่นเป็นซีฟัตของอัลเลาะฮ์จริงๆ ส่วนฮะกีกัตเป็นอย่างไรนั้น แต่สิ่งที่ยืนยันได้ก็คือ "ไม่มีสิ่งใดเหมือนกับอัลเลาะฮ์" ถ้ายืนยันเรื่องซีฟัตของอัลเลาะฮ์เหล่านี้ ก็ต้องยืนยันโดยทั้งหมด บางทีมีขะยักขะย่อนกันไว้ก็มีเหมือนกัน ตรงโน้นตะวีล เช่นค่อลัฟเขาจะตะวีล ตะวีลพระพัก ตะวีลพระหัต พวกเขาบอกว่ามันไม่ได้เดี๋ยวจะไม่ไปเหมือน ก็เลยต้องตะวีล พระหัตหมายถึงอำนาจ พอถึงตรงนี้ไม่ได้ เพราะมันจะไปขัดกับหลักฐานที่มันชัดเจน ก็เลยไม่กล้า ซึ่งความเป็นจริง ถ้าเรายืนยันซีฟัตของอัลเลาะฮ์ว่า พระองค์ทรงได้ยิน อัลเลาะฮ์ทรงเห็น เรายืนยัน อิษบาตว่ามีซีฟัตนั้น พร้อมกับปฏิเสธการเหมือน ซึ่งฮะกีกัตของซีฟัตการยินและการเห็นนั้น เราไม่รู้ได้ว่าเป็นอย่างไร เมื่อเป็นอย่างนั้น ใช้ในซีฟัตตรงนั้น ก็ใช้ในซีฟัตตรงอื่นด้วย ไม่ใช่ขยักขย่อนเพียงแค่ 7 ซีฟัต คือถ้าสะลัฟเนี่ย พวกเขาจะว่ากันไปตามตัวบท ก็จบ ยืนยันซีฟัตให้กับอัลเลาะฮ์ คนนี้ตะวีลอย่าง คนโน้นตะวีลอย่าง แล้วเราจะไปต่างอะไรกับพวกมั๊วะตะซิละฮ์ ถ้าเราตะวีลความจริงแล้วอะกีดะฮ์หรือเตาฮีดค่อลัฟและสะลัฟนั้น มีหลักอะกีดะฮ์หรือมีเป้าหมายเดียวกัน เพียงแต่แตกต่างในเรื่องวิธีการที่ได้มาซึ่งหลักอะกีดะฮ์บริสุทธิ์ التَّنْزِيْهُ (อัตตันซีฮฺ) ดังนั้นหากเราไปดูหนังสือชัรห์ซอฮิห์มุสลิม ของท่านอิมามอันนะวาวีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ หรือหนังสือฟัตฮุลบารีย์อธิบายซอฮิห์บุคอรีย์ของท่านอัลฮาฟิซฺอิบนุฮะญัร ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ ก็จะพบว่าปราชญ์อะฮ์ลุลฮะดิษทั้งสองท่านนี้ ให้การยอมรับทั้งแนวทางของสะลัฟและค่อลัฟ เนื่องจากทั้งสองแนวทางนี้มีเป้าหมายเดียวกันก็คือ ยืนยันซีฟัตของอัลเลาะฮ์พร้อมทั้งยืนยันความบริสุทธิ์ التَّنْزِيْهُ (อัตตันซีฮฺ) ในคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์ตะอาลาจากการไปคล้ายคลึงหรือการไปเหมือนกับมัคโลค
เช่นท่านอิมามนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ใน ชัรหฺ ซอเฮี๊ยะหฺมุสลิม เกี่ยวกับฮะดิษ النزول คือฮะดิษเกี่ยวกับการลงมาจากฟากฟ้า ว่า ? ในฮะดิษนี้ และเหมือนๆ กับฮะดิษนี้ ที่มาจากบรรดาฮะดิษซีฟาต และอายะฮฺซีฟาต มีความเห็นอยู่ 2 มัซฮับที่เลื่องลือ (ที่มาจากอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ที่ท่านอิมามอันนะวาวีย์ให้การยอมรับทั้งสองแนวทางนี้)
หนึ่ง : มัซฮับส่วนมากจากซะลัฟ และส่วนหนึ่งจากมุตะกัลลิมีน คืออีมาน ด้วยหะกีกัตของมันที่เหมาะสมกับพระองค์ และความหมายผิวเผินของมันอันเป็นที่รู้กันในสิทธิ์ของเรานั้น ไม่ใช่จุดมุ่งหมาย และเราไม่กล่าวในการตีความมัน พร้อมกับเราเชื่อมั่นว่า อัลเลาะฮฺทรงบริสุทธิ์จากเครื่องหมายต่างๆ จากสิ่งที่เกิดใหม่
สอง : มัซฮับส่วนมากของมุตะกัลลิมีน และกลุ่มหนึ่งจากอุลามาอฺสะลัฟ โดยมันได้ถูกรายงานเล่ามาจากอิมามมาลิก และอิมามอัลเอาซะอีย์ ว่า แท้จริงมันจะถูกตีความกับสิ่งที่พระองค์ทรงเหมาะสมด้วยกับมัน โดยพิจารณาตามสถานที่ของมัน ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ อัลฮะดิษ(บทนี้) จะถูกตีความได้สองอย่างด้วยกัน(ที่ได้กล่าวมาแล้ว....... (ดู ชัรหู ซอเฮี๊ยะหฺมุสลิม เล่ม 6 หน้า 37)
พี่น้องนักศึกษาอาจจะตั้งคำถามว่า หากทำการตีความแล้วไปเหมือนกับแนวทางอะกีดะฮ์ของพวกมั๊วะตะซิละฮ์จริง ทำไมอิมามอันนะวาวีย์ไม่คัดค้าน? ทำไมท่านถึงให้การยอมรับทั้งสองแนวทาง? นั่นก็เพราะว่าทั้งสองแนวทางนี้คือแนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่วิธีการอาจจะแตกต่างกัน แต่ทั้งสองมีเป้าหมายเดียวกัน และการตีความของแนวทางที่สองนั้น ก็ไม่ได้ไปเหมือนกับพวกมั๊วะตะซิละฮ์เนื่องจากว่าพวกมั๊วะตะซิละฮ์ให้การปฏิเสธเนื้อความที่เกี่ยวกับอัลเลาะฮ์ในสายรายงานเหล่านี้ ดังนั้นปัญหาของพวกมั๊วะตะซิละฮ์ไม่ใช่การตีความ แต่เป็นการปฏิเสธตัวบทหรือคุณลักษณะของอัลเลาะฮ์แล้วทำการตีความ นี่แหละคือปัญหาที่สะละฟุศศอลิห์ให้การคัดค้าน และถูกกล่าวว่าเป็นพวกอัลญะฮ์มียะฮ์ พวกมุอัตตะละฮ์(พวกปฏิเสธคุณลักษณะ) ซึ่งอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ค่อลัฟรู้ดีและไม่ได้มีหลักการเช่นนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อเราเข้าใจแก่นแท้ของการตีความของพวกมั๊วะตะซิละฮ์ แน่นอนเราก็จะไม่กล่าวหาว่า อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่ตีความว่าไปเหมือนกับแนวทางของพวกมั๊วะตะซิละฮ์อย่างแน่นอน
แต่ประเด็นปัญหาในปัจจุบันคือพวกที่ไม่ตีความแล้วไปยืนยัน(อิษบาต)ความหมายแบบฮะกีกัตคำตรงนี่ซิครับ ทำให้อะกีดะฮ์มุสลิมต้องเสื่อมเสีย ซึ่งเป็นแนวทางของอะกีดะฮ์วะฮาบียะฮ์ในปัจจุบัน และเป็นแนวทางที่อุลามาอ์ให้การตำหนิอีกด้วย ซึ่งท่านชัยคุลอิสลาม อัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮะญัร ได้กล่าวว่าอธิบายฮะดิษเกี่ยวกับการลงมา النزول ว่า
وَقَدْ اخْتُلِفَ فِيْ مَعْنَى النُّزُوْلِ عَلَى أَقْوَالٍ: فَمِنْهُمْ مَنْ حَمَلَهُ عَلَى ظَاهِرِهِ وَحَقِيْقَتِهِ وَهُمُ المُشَبِّهَةُ تَعَالَى اللهُ عَنْ قَوْلِهِمْ
"แท้จริงได้ถูกขัดแย้งกันในความหมายของการ เสด็จลงมา บนหลายทัศนะคำกล่าวด้วยกัน ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ เขาได้ทำการให้ความหมายการลงมานั้นบน(ความหมาย)ถ้อยคำผิวเผิน(หรือถ้อยคำลักษณะภายนอก) และตามความหมายฮะกีกัต(คำแท้ของมันที่มีการเคลื่อนย้ายจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง) ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นคือพวกมุชับบะฮ์ (พวกที่ให้ความหมายในซีฟัตของอัลเลาะฮ์โดยไปคล้ายคลึงกับความหมายของมัคโลค) ซึ่งอัลเลาะฮ์ทรงบริสุทธิ์จากคำกล่าวของพวกเขา" หนังสือฟัตฮุบารีย์ : 3/36
ดังนั้นเมื่อยืนยันในความหมายแบบผิวเผินและตามความหมายฮะกีกัต ก็จะยืนยันซีฟัตของอัลเลาะฮ์แบบเลยเถิดว่า พระองค์ทรงลงมาโดยมีการเคลื่อนย้ายจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ! ดังที่เว็บนี้ได้นำเสนอข้อเท็จจริงไปแล้วอย่างมีอะมานะฮ์ในเชิงวิชาการ
ส่วนการนำซีฟัต การได้ยิน السّمْعُ ของอัลเลาะฮ์ , ซีฟัตการเห็น البَصَرُ ของอัลเลาะฮ์ตะอาลา ไปเทียบกับซีฟัต يَدٌ หรือซีฟัต وَجْهٌ หรือซีฟัต اِسْتِواءٌ เพื่อมาอ้างหลักฐานว่าทำไม ซีฟัตการได้ยินและซีฟัตการเห็นถึงไม่ตีความ แต่เวลาซีฟัต يَدٌ หรือซีฟัต وَجْهٌ หรือซีฟัต اِسْتِواءٌ ถึงทำการตีความ? ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบในแง่มุมที่เข้าใจการตีความของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ที่ครบเงื่อนไขอย่างผิดพลาดนั่นเอง คือพยามเหมาว่าหากตีความแล้ว มันจะไปเหมือนกับมั๊วะตะซิละฮ์ที่ไปปฏิเสธซีฟัตของอัลเลาะฮ์ ซึ่งความจริงแล้วอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ค่อลัฟมิใช่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากแม้ว่าอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ค่อลัฟจะทำการตีความแต่พวกเขาได้ยืนยันซีฟัตและมิได้ปฏิเสธ
ในหนังสืออัฏเฏาะบะก็อตอัลฮะนาบิละฮ์ ระบุว่า
وَقَدْ أَجْمَعَ عُلَمَاءُ أَهْلِ الْحَدِيْثِ وَالأَشْعَرِيَّةِ مِنْهُمْ عَلىَ قَبُوْلِ هَذِهِ الأَحَادِيْثِ فَمِنْهُمْ مَنْ أَقَرَّهَا عَلىَ مَا جَاءَتْ وَهُمْ أَصْحَابُ الْحَدِيْثِ وَمِنْهُمْ مَنْ تَأَوَّلَهَا وَهُمْ الأَشْعَرِيَّةُ وَتَأْوِيْلُهُمْ إِيَّاهَا قَبُوْلٌ مِنْهُمْ لَهَا إِذْ لَوْ كَانَتْ عَنْدَهُمْ بَاطِلَةٌ لاَطْرَحُوْهَا كَمَا اطْرَحُوْا سَائِرَ الأَخْبَارِ الْبَاطِلَةِ وَقَدْ رُوِىَ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنَّهُ قَالَ:" أُمَّتِيْ لاَ تَجْتَمِعُ عَلىَ خَطَأٍ وَلاَ ضَلاَلَةٍ
"แท้จริงได้ลงมติ (อิจญ์มาอฺ)โดยบรรดาอุลามาอฺอะฮ์ลุลฮะดิษและอัลอะชาอิเราะฮ์ซึ่งก็เป็นส่วน หนึ่งจากอะฮ์ลุลฮะดิษ บนการรับบรรดาฮะดิษ(ที่เกี่ยวกับเรื่องซีฟาตของอัลเลาะฮ์) ดังนั้นส่วนหนึ่งจากอะฮ์ลุลฮะดิษก็รับฮะดิษตามที่ได้ระบุมา ซึ่งพวกเขาคืออัศฮาบุลฮะดิษ(คือกลุ่มอะษะรียะฮ์) และส่วนหนึ่งจากอะฮ์ลุลฮะดิษ ทำการตีความ(ตะวีล)บรรดาฮะดิษซีฟาต ซึ่งพวกเขาคืออัลอะชาอิเราะฮ์ และการตีความของพวกเขากับบรรดาฮะดิษซีฟาตของอัลเลาะฮ์นี้ ก็คือการที่พวกเขาได้ยอมรับบรรดาฮะดิษที่เกี่ยวกับซีฟาตของอัลเลาะฮ์นั่นเอง เนื่องจากว่า หากบรรดาฮะดิษที่เกี่ยวกับซีฟาตของอัลเลาะฮ์เป็นสิ่งที่โมฆะตามทัศนะของอัล อะชาอิเราะฮ์แล้ว แน่นอนว่า พวกเขาก็จะละทิ้งบรรดาฮะดิษนั้นไป เสมือนที่พวกเขาละทิ้งบรรดาฮะดิษที่กุขึ้นมา และแท้จริงได้รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่า "ประชาชาติของฉันจะไม่ลงมติกันบนความผิดพลาดและลุ่มหลง" หนังสอเฏาะบะก็อตอัลฮะนาบิละฮ์ หน้า 479 รวบรวมโดย ท่านอิบนุอะบียะลาอุลามาอฺมัซฮับฮัมบาลีย์
เห็นไหมครับพี่น้องนักศึกษา ว่าอะฮ์ลุลฮะดิษจากอัลอะชาอิเราะฮ์นั้น แม้จะตีความแต่ไม่ได้ปฏิเสธฮะดิษและมิได้ปฏิเสธซีฟัตของอัลเลาะฮ์เลย ซึ่งแตกต่างกับพวกมั๊วะตะซิละฮ์ ดังนั้นเราจะไปบอกว่าการตีความแล้วจะมีอะกีดะฮ์เหมือนพวกมั๊วะตะซิละฮ์นั้นย่อมไม่ได้
อนึ่ง ซีฟัตของอัลเลาะฮ์มี 2 ประเภท :
1. ซีฟัตคอบารียะฮ์ الخبرية หมายถึงซีฟัตที่รู้ได้ด้วยการบอกเล่าจากตัวบทมายืนยันเท่านั้นจะเอาสติปัญหาเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ ได้ว่าน่าจะมีซีฟัตอย่างนั้น อย่างนี้ เช่นซีฟัต اليد ที่ภาษาไทยแปลว่า มือ الوجه ที่ภาษาไทยแปลว่าหน้า ซีฟัต العين ที่ภาษาไทยแปลว่าตา แต่ภาษาอาหรับให้ความหมายได้หลายนัยเหลือเกิน
2. ซีฟัตอัลมะอานีย์ ซีฟัตในเชิงนามธรรมซึ่งมันมีอยู่ในความเชื่อมั่นในสติปัญญาและจิตใจอันมั่นคงของเรา เพราะซีฟัตการได้ยิน การรู้ การเห็น การมีพลัง เช่น ซีฟัต العلم อัลเลาะฮ์ทรงรู้ , ซีฟัต البصر อัลเลาะฮ์ทรงเห็น , ซีฟัต السمع อัลเลาะฮ์ทรงได้ยิน , ซีฟัต القدرة อัลเลาะฮ์ทรงอนุภาพ ซีฟัตเหล่านี้สามารถรับรู้ได้ด้วยสติปัญญาและตัวบท อย่างเช่น มนุษย์ใช้สติปัญญาคิดก็สามารถยอมรับได้แล้วว่า อัลเลาะฮ์ทรงมีอานุภาพแน่ ๆ เพราะหากไม่มีพลังอานุภาพก็จะสร้างโลกนี้ขึ้นมาไม่ได้ และถ้าหากไม่อานุภาพมีก็แสดงว่าพระองค์ทรงอ่อนแอ แล้วยิ่งมีอัลกุรอานมาระบุยืนยันไว้ว่า อัลเลาะฮ์ทรงอนุภาพ ก็ยิ่งมาสนับสนุนหลักสติปัญญานี้ได้ให้เป็นแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น อีกตัวอย่าง เช่น การซีฟัตที่ว่าพระองค์ทรงเป็น สติปัญญาก็รับรู้ได้แล้วว่า พระเจ้าที่สร้างสรรพสิ่งทั้งหลายนั้น ต้องทรงเป็นทรงมีชีวิต หากไม่ทรงมีชีวิตก็สร้างโลกนี้ไม่ได้
ฉะนั้นการนำซีฟัต การได้ยิน السّمْعُ ของอัลเลาะฮ์ , ซีฟัตการเห็น البَصَرُ ของอัลเลาะฮ์ตะอาลา ไปเทียบกับซีฟัต يَدٌ หรือซีฟัต وَجْهٌ หรือซีฟัต اِسْتِواءٌ เพื่อมาอ้างหลักฐานว่าทำไม ซีฟัตการได้ยินและซีฟัตการเห็นถึงไม่ตีความ แต่เวลาซีฟัต يَدٌ หรือซีฟัต وَجْهٌ หรือซีฟัต اِسْتِواءٌ ถึงทำการตีความ? ผมขอกล่าวว่า คุณลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ที่ตีความและไม่ตีความ ล้วนแต่ทำการเชื่อ , ยอมรับ , หรือยืนยัน(อิษบาต) ว่ามันเป็นบรรดาซีฟัต(คุณลักษณะ)ของอัลเลาะฮ์ตะอาลาโดยทั้งหมดทั้ง คือยืนยันว่า อัลเลาะฮ์ทรงมีซีฟัต การได้ยิน السّمْعُ ของอัลเลาะฮ์ , ยืนยันว่าอัลเลาะฮ์มีซีฟัตการเห็น البَصَرُ แด่พระองค์ , ยืนยันว่า พระองค์มีซีฟัต يَدٌ มีซีฟัต وَجْهٌ และมีซีฟัต اِسْتِواءٌ อย่างแน่นอนครับ ดังนั้นผมขอท้าทายเลยครับว่าอุลามาอ์อัลอะชาอิเราะฮ์ยุคค่อลัฟที่ตีความท่านใดบ้างที่ปฏิเสธบรรดาซีฟัตเหล่านี้ ซึ่งไม่มีหรอกครับ? แต่เราเข้าใจกันขึ้นมาเองและศึกษาการตีความรูปแบบของพวกมั๊วะตะซิละฮ์ แล้วมากล่าวอ้างว่า หากตีความแล้วถือเป็นการปฏิเสธซีฟัตหรือไม่ยืนยันการมีซีฟัต ซุบฮานัลลอฮ์! ไม่ใช่เป็นเช่นนั้นแน่นอนหากได้ศึกษาแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์ผู้แบกรับหลักการอิสลามมาทุกยุคสมัยอย่างแท้จริง
ดังนั้นเรื่องการยืนยัน(อิษบาต)ซีฟัต เราเข้าใจกันแล้ว ต่อไปมาพูดประเด็นเรื่องการยืนยัน(อิษบาต)ความหมายซีฟัตกันต่อ ซึ่งถ้าหากถามว่า ทำไมซีฟัตการได้ยิน السّمْعُ ของอัลเลาะฮ์ , ซีฟัตการเห็น البَصَرُ ของอัลเลาะฮ์ตะอาลาถึงไม่ตีความ แต่ทำไมซีฟัต يَدٌ หรือซีฟัต وَجْهٌ หรือซีฟัต اِسْتِواءٌ ถึงทำการตีความ ? นั่นก็เพราะว่าความหมายของซีฟัตเหล่านั้น มันมีความแตกต่างกัน จะไปทำให้มีฐานะเชิงยืนยัน(อิษบาต)ความหมายมีนัยยะที่เหมือนกันไม่ได้ เพราะว่าซีฟัตการได้ยิน السّمْعُ ของอัลเลาะฮ์ , ซีฟัตการเห็น البَصَرُ ของอัลเลาะฮ์ตะอาลา เป็นซีฟัตมั๊วะห์กะมาต(คือความหมายชัดเจนมิได้มีหลายนัย) แต่ซีฟัต يَدٌ หรือซีฟัต وَجْهٌ หรือซีฟัต اِسْتِواءٌ นั้นเป็นซีฟัตมุตะชาบิฮาต(มีความหมายหลายนัยและคลุมเคลือ) ดังนั้นเราจะไปเอาซีฟัต อัลอิสติวาอฺ มาเป็นซีฟัตมั๊วะห์กะมาต(ที่มีความชัดเจน)เหมือนกับซีฟัตการได้ยินนั้นย่อมไม่ได้อย่างแน่นอนและเด็ดขาด เพราะว่า :
ซีฟัตการได้ยิน السّمْعُ หมายถึงการได้ยินของอัลเลาะฮ์ ซึ่งมีความหมายเดียวที่ชัดเจนและฟันธงเด็ดขาดโดยไม่มีความคลุมเครือในด้านความหมายแต่ประการใดตามหลักภาษาอาหรับ
ส่วนซีฟัต اِسْتِواءٌ นั้นมีความหมายหลายนัย บ้างก็หมายถึง การขึ้นสูง , การนั่ง , การสถิต , การปกครอง , การขึ้นบน , เป็นต้น ทำให้เกิดความคลุมเครือในการเจาะจงความหมาย ถ้าหากเราเอาไปเทียบการยืนยันความหมายเหมือนกับซีฟัต السّمْعُ การได้ยินของอัลเลาะฮ์ที่มีความหมายเดียวและชัดเจน ผมอยากถามว่า เรากล้าไหมล่ะที่จะเด็ดขาดฟันธงแน่ใจร้อยเปอร์เซ็นว่า อิสติวาอฺนี้ คือหมายความการนั่งตามเป้าหมายของอัลเลาะฮ์ หรือฟันธงว่ามันคือการสถิตตามเป้าหมายของอัลเลาะฮ์ หรือฟันธงว่ามันคือการปกครองตามเป้าหมายของอัลเลาะฮ์ หรือฟันธงว่ามันคือการขึ้นอยู่บนตามเป้าหมายของอัลเลาะฮ์ และกล้าฟันธงไหมว่ามีความหมายหนึ่งในนั้นเป็นความหมายตามทัศนะของอัลเลาะฮ์? ดังนั้นถ้าหากไม่กล้าฟันธง ก็อย่าไปเอาเทียบกับการยืนยันความหมายของซีฟัต السّمْعُ การได้ยินของอัลเลาะฮ์ที่มีความหมายชัดเจนเลยเพราะมันจะคนนัยยะกัน
ดังนั้นการยืนยัน(อิษบาต)ความหมายจึงนำมาเปรียบเทียบระหว่างซีฟัตมั๊วะห์กะมาต(ที่มีความหมายชัดเจน)กับซีฟัตมุตะชาบิฮาต(ที่มีความหมายหลายนัย)นั้นย่อมไม่ได้นะครับ แต่ถ้าหากนำมาเทียบในแง่ของการยอมรับและยืนยัน(อิษบาต)ถ้อยคำซีฟัตตามที่ตัวบทได้ระบุไว้นั้น อันนี้ไม่มีปัญหาดังที่ผมได้นำเสนอรายละเอียดมาแล้วข้างต้น ฉะนั้นพี่น้องก็คงแยกแยะได้ระหว่างการยืนยันการเป็นซีฟัตกับการยืนยันในความหมายของซีฟัตนะครับ
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: al-azhary Date: ธ.ค. 01, 2008, 08:20 PM
คือถ้าสะลัฟเนี่ย พวกเขาจะว่ากันไปตามตัวบท ก็จบ ยืนยันซีฟัตให้กับอัลเลาะฮ์ คนนี้ตะวีลอย่าง คนโน้นตะวีลอย่าง แล้วเราจะไปต่างอะไรกับพวกมั๊วะตะซิละฮ์ ถ้าเราตะวีลแตกต่างอย่างแน่นอน ถ้าหากเรายอมรับและยืนยัน(อิษบาต)ในซีฟัตเป็นอันดับแรกแล้วตีความ , ส่วนพวกมั๊วะตะซิละฮ์นั้นปฏิเสธซีฟัตเป็นอันดับแรกแล้วตีความ ดังนั้นเมื่อเราศึกษาเรื่องการตีความเราก็จะพบว่า สะละฟุศศอลิห์ก็ทำการตีความ(ตะวีล) โดยการผินความหมายถ้อยคำของตัวบทออกจากความหมายของมันที่ผิวเผิน(ถ้อยคำลักษณะภายนอก) ไปยังความหมายที่ตัวบทสามารถตีความมันได้ตามภาษาอาหรับที่บริสุทธิ์แท้และแพร่หลายอีกทั้งครบเงื่อนไขตามหลักการที่ผมได้อธิบายแล้วข้างต้น
ตัวอย่างการตีความของสะละฟุศศอลิห์
1. ท่านอิบนุอับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ
แต่ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ กล่าวการตีความ อัลกุรซีย์ ของท่านอิบนุอับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่า
وَأَمَّا الَّذِي يَدُلّ عَلَى صِحَّته ظَاهِر الْقُرْآن فَقَوْل ابْن عَبَّاس الَّذِي رَوَاهُ جَعْفَر بْن أَبِي الْمُغِيرَة عَنْ سَعِيد بْن جُبَيْر عَنْهُ أَنَّهُ قَالَ : هُوَ عِلْمُهُ
"สำหรับทัศนะที่ความชัดเจนของอัลกุรอานได้บ่งชี้ถึงความถูกต้องนั้น คือทัศนะคำกล่าวของท่านอิบนุอับบาสที่รายงานโดยญะฟัร บิน อะลี อัลมุฆีเราะฮ์ จาก สะอีด บิน ญุบัยร์ จากท่านอิบนุอับบาส ซึ่งท่านได้กล่าวว่า : "กุรซีย์ของอัลเลาะฮ์ ก็คือความรอบรู้ของพระองค์" ตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ 3/7
2. ท่านอิบนุอับบาส (ร.ฏ.) ได้ทำการตีความ(ตะวีล) คำตรัสของอัลเลาะฮฺ(ซุบหานะฮฺ)
يَوْمَ يُكْشَفُ عَنْ سَاقٍ
"วันที่เกิดแต่ความวิกฤติ" (อัลก่อลัม 42)
คำ ว่า ( ساق ) เดิมหมายถึง ขา หน้าแข้ง แต่ท่านอิบนุอับบาสกล่าวตีความว่า (يكشف عن شدة ) "ได้เกิดวิกฤติความรุนแรงขึ้น" ท่านอิบนุหะญัรได้กล่าวยืนยันดังกล่าว ด้วยสายรายงานที่ซอเฮี๊ยะหฺ ในหนังสือ ฟัตหุบารีย์ เล่ม 13 หน้า 428 และท่านอิบนุญะรีร อัลฏ๊อบรีย์ ได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่าน เล่ม 29 หน้า 38 โดยที่ท่านอิบนุญะรีรได้กล่าวอธิบายไว้ในช่วงแรกของอายะฮฺนี้ว่า " กลุ่มหนึ่งจากบรรดาซอฮาบะฮฺ และตาบิอีน จากผู้ที่ทำการตีความ กล่าวว่า ( يبدو عن أمر شديد ) "(วัน)ที่เกิดสิ่งวิกฤติรุนแรง"
ท่านอิบนุกุตัยบะฮ์ เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 276 ได้กล่าวถึงการตีความ คำว่า "มือขวา" หมายถึง "พลัง" ของท่านอิบนุอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ไว้ในหนังสือตะวีล มุชกิลิลกุรอ่านของท่านความว่า
وَمِنْهُ قَوْلُهُ تَعَالَي : وَلَوْ تَقَوَّلَ عَلَيْنَا بَعْضَ الْأَقَاوِيلِ لَأَخَذْنَا مِنْهُ بِالْيَمِينِ. قَالَ ابْنُ عَبَّاسٍ : اَلْيَمِيْنُ هَهُنَا الْقُوَّةُ وَإِنَّمَا أَقَامَ الْيَمِيْنَ مَقَامَ الْقُوَّةِ لأَنَّ قُوَّةَ كُلِّ شَيْءٍ فِيْ مَيَامِيْنِهِ
“ส่วนหนึ่งจากคำตรัสของอัลลอฮฺตะอาลาที่ว่า “และหากเขา(มุฮัมมัด)เสกสรรกล่าวคำเท็จบางคำแก่เราแล้ว เราก็จะจับเขาด้วยยะมีน” [อัลหากเกาะฮ์: 44-45] ซึ่งท่านอิบนุอับบาส กล่าวว่า : อัลยะมีน(แปลตามศัพท์ผิวเผินคือ มือขวา) ณ อายะฮ์นี้ คือ “พลัง” เพราะแท้จริงอัลลอฮฺได้ทำให้คำว่า ยะมีน อยู่ในตำแหน่งของพลัง เพราะพลังของทุกๆ สิ่งนั้นจะอยู่ในข้างขวา” ดู อิบนุกุตัยมียะฮ์, ตะวัลมุชกิลิลกุรอาน, ตีพิมพ์ที่ ไคโร ดาร์ อัตตุร็อษ, หน้า 154.
3. อิมาม อัล-บุคคอรีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์
อิมามบุคอรีย์ได้ทำการตีความไว้ในบทว่าด้วยเรื่อง ตัฟซีรซูเราะฮฺ อัลเกาะซ๊อซว่า
كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ : إِلَّا مُلْكَهُ
ความว่า "ทุกๆ สิ่งนั้นพินาจสิ้นนอกจาก وَجْهَهُ (พระพักตร์)ของพระองค์" (อิมามบุคคอรีย์ตีความว่า) "นอกจากอำนาจการปกครองของพระองค์" หนังสือฟัตฮุลบารีย์ 8/364
4. ท่าน อิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์
ท่าน อัฏเฏาะบะรีย์ ได้ตะวีล ตีความ อายะฮ์ที่ว่า
ثُمَّ اسْتَوَى إِلَى السَّمَاءِ
ท่าน อัฏฏ๊อบรีย์ กล่าวว่า :
فَإِنْ زَعَمَ أَنَّ ذَلِكَ لَيْسَ بِإِقْبَالِ فِعْل وَلَكِنَّهُ إقْبَال تَدْبِير , قِيلَ لَهُ : فَكَذَلِكَ فَقُلْ : عَلَا عَلَيْهَا عُلُوّ مُلْك وَسُلْطَان لَا عُلُوّ انْتِقَال وَزَوَال
"แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า ดังนั้น แบบนั้นแหละ(คือการให้ความหมายว่าเป็นการมุ่งกระทำเชิงบริหาร) ท่านจงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่อยู่สูงแบบมีสถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" ตัฟซีร ฏ๊อบรีย์ เล่ม 1 หน้า 192
ดังนั้นการอิสติวาอฺของอัลเลาะฮ์นั้น คือสูงแบบในนามธรรม คือสูงส่งด้วยอำนาจการปกครองนั่นเอง
แต่อุลามาอฺวะฮ์ฮาบีย์ที่ชื่อ อับดุลลอฮ์ บิน มุฮัมมัด อัลฆ่อนีมาน ได้กล่าวโต้ตอบท่านอัฏเฏาะบะรีย์ผู้เป็นปราชญ์สะลัฟศอฮิห์ว่า
قَوْلَهُ : فَقُلْ عَلاَ عَلَيْهَا عُلُوَّ مُلْكٍ وَ سُلْطَانٍ، لاَ عُلُوَّ اِنْتِقَالٍ وَزَوَالٍ. مِنْ جِنْسِ كَلاَمِ أَهْلِ الْبِدَعِ ، فَلاَ يَنْبَغِىْ ، وَهُوَ خِلاَفُ الظَّاهِرِ مِنَ النُّصُوْصِ ، بَلْ هُوَ مِنَ التَّأْوِيْلِ الْبَاطِلِ
“คำกล่าวของท่านอัฏเฏาะบะรีย์ที่ว่า (ท่านจงกล่าวว่า อัลลอฮฺทรงสูงเหนือฟากฟ้านั้นสูงแบบการปกครองและอำนาจ ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนไหวและก็หายไป) นั้นเป็นชนิดคำพูดของพวกบิดอะฮ์ ดังนั้นจึงไม่สมควร และมันขัดกับความชัดเจนของตัวบท ยิ่งกว่านั้น คำพูดของท่านอัฏเฏาะบะรีย์เป็นการตีความ(ตะวีล)ที่โมฆะ” อับดุลลอฮ์ บิน มุฮัมมัด อัลฆ่อนีมาน, ชัรห์ กิตาบ อัตเตาฮีด มิน ศ่อฮิห์ อัลบุคอรีย์, เล่ม 1, หน้า 360.
ซึ่งบ่งชี้ว่าแนวทางอะกีดะฮ์ของวะฮ์ฮาบีย์นั้นไม่ได้ตามแนวทางของสะละฟุศศอลิห์ในยุค 300 ปีอย่างแท้จริง
5. อิมาม อัลอะอฺมัช ร่อฮิมะฮุลลอฮ์
อิมามอัตติรมีซีย์ ได้กล่าวว่า ได้ถูกรายงานจาก ท่านอัลอะอฺมัช ในการอธิบายฮะดิษนี้
مَنْ تَقَرَّبَ مِنِّى شِبْراً تَقَرَّبْتُ مِنْهُ ذِرَاعاًً : يَعْنِى بِالمَغْفِرَةِ وَالرَّحْمَةِ
"ผู้ที่สร้างความใกล้ชิดกับฉันหนึ่งคืบ ฉันก็จะใกล้ชิดกับเขาหนึ่งศอก" หมายถึง "(ใกล้ชิด)ด้วยการอภัยและความเมตตา" ตัวหฺฟะตุลอะหฺวะษีย์ เล่ม 10 หน้า 63
6. อิมามอะหฺมัด ร่อฮิมะฮุลลอฮ์
อิมาม อัลบัยฮะกีย์ ได้รายงานไว้ใน หนังสือ ?มะนากิบ อิมามอะหฺมัด? ว่า ได้เล่าให้เราทราบโดย อัลหากิม เขากล่าวว่า ได้บอกเล่าให้เราทราบ โดย อบูอัมร์ บิน ซัมมาค เขากล่าวว่า ได้บอกเล่าแก่เราโดย หัมบัล บิน อิสหาก เขากล่าวว่า ฉันได้ยิน น้าของฉัน อบูอับดิลลาห์ (คือท่านอิมามอะหฺมัด) กล่าวว่า " พวกเขาเหล่านั้น ได้อ้างหลักฐานกับฉัน ในวันนั้น - หมายถึงวันที่มีการถกสนทนาเกิดขึ้นในที่พำนักของอะมีรุลมุอฺมินีน - ดังนั้นพวกเขากล่าวว่า :
تَجِىءُ سُوْرَةُ البَقَرَةِ يَوْمَ القِيَامَةِ وَتَجِىءُ سُوْرَةُ تَبَارَكَ، فَقُلْتُ لَهُمْ إِنَّمَا هُوَ الثَّوَابُ قَالَ اللهُ تَعَالىَ (وَجَاءَ رَبُّك) إِنَّمَا تَأْتِىْ قُدْرَتُهُ وَإِنَّمَا القُرْآنُ أَمْثَالٌ وَمَوَاعِظُ
"วันกิยามะฮฺนั้น ซูเราะฮฺอัลบะกอเราะฮฺ และซูเราะฮฺตะบาร๊อกจะมา ดังนั้นฉันได้กล่าวกับพวกเขาว่า แท้จริงมันคือผลบุญ อัลเลาะฮฺทรงตรัสว่า ( وَجَاءَ رَبُّك) "และผู้อภิบาลของเจ้าได้มา" (หมายความว่า) تَأْتِى قُدْرَتُهُ แท้จริง "อำนาจของพระองค์ได้มา" และแท้จริงอัลกรุอานนั้นเป็น อุทาหรณ์และข้อเตือนใจ " ท่านอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า (คำกล่าวของอิมามอะหฺมัด)นี้ มีสายรายงานที่ซอเฮี๊ยะหฺ โดยไม่มีฝุ่นเลย(คือสะอาด) " หนังสือ อัลบิดายะฮฺ วะ อันนิฮายะฮฺ เล่ม 10 หน้า 327
7. ท่านอิมามอัตติรมีซีย์ กล่าวรายงานไว้ในหะดิษหนึ่ง ความว่า
لَوْ أَنَّكُمْ دَلَّيْتُمْ رَجُلًا بِحَبْلٍ إِلَى الْأَرْضِ السُّفْلَى لَهَبَطَ عَلَى اللَّه ِ : هُوَ الْأَوَّلُ وَالْآخِرُ وَالظَّاهِرُ وَالْبَاطِنُ وَهُوَ بِكُلِّ شَيْءٍ عَلِيمٌ
"หากแมันพวกท่านได้หย่อนเชือกหนึ่งลงมายังแผ่นดินชั้นล่างสุด แน่นอนมันก็จะตกบนอัลเลาะฮ์ หลังจากนั้น ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ได้อ่านอายะฮ์ที่ว่า "พระองค์ทรงเป็นองค์แรก พระองค์ทรงเป็นองค์สุดท้าย พระองค์ทรงเป็นภายนอก และพระองค์ทรงเป็นภายใน" (อัล-หะดีด 3)
ท่านอิมามอัตติรมีซีย์ กล่าวว่าต่อไปว่า
وَفَسَّرَ بَعْضُ أَهْلِ الْعِلْمِ هَذَا الْحَدِيثَ فَقَالُوا إِنَّمَا هَبَطَ عَلَى عِلْمِ اللَّهِ وَقُدْرَتِهِ وَسُلْطَانِهِ وَعِلْمُ اللَّهِ وَقُدْرَتُهُ وَسُلْطَانُهُ فِي كُلِّ مَكَانٍ وَهُوَ عَلَى الْعَرْشِ كَمَا وَصَفَ فِي كِتَابهِ
"และ นักปราชญ์(สะลัฟ)ส่วนหนึ่งได้อธิบายหะดิษนี้ โดยพวกเขากล่าวว่า "แท้จริงเชือกจะตกลงมาบนความรู้ , อานุภาพ , และอำนาจของอัลเลาะฮ์ และความรู้ ,อานุภาพ , และอำนาจของอัลเลาะฮ์นั้นอยู่ในทุกสถานที่ พระองค์สูงส่งเหนืออะรัชตามที่พระองค์ทรงพรรณนาไว้ในคำภีร์ของพระองค์" ดู หนังสือ ตั๊วะฟะตุลอัลอะห์วะซีย์ อธิบายสุนันอัตติรมีซีย์ 9/187 ตีพิมพ์ กุรตุบะฮ์
ท่าน อิมามอัตติรมีซีย์ เป็นอิมามท่านหนึ่งจากสะละฟุศศอลิห์ เป็นหนึ่งจากเจ้าของหนังสือสุนันทั้งหก ซึ่งท่านได้ทำยอมรับในสายรายงานนี้แล้วทำการตีความตะวีลดังที่ท่านได้เห็นข้างต้น ยิ่งกว่านั้นท่านอัตติรมีซ๊ย์เองยังถ่ายทอดการตีความนี้จากบรรดานักปราชญ์สะลัฟบางส่วนก่อนหน้าท่านอีกด้วย
แต่ท่านอิบนุตัยมียะฮ์วิจารณ์คัดค้านแนวทางของนักปราชญ์สะลัฟดังกล่าว โดยกล่าวไว้ในหนังสือ อัรริซาละฮ์อัลอัรชียะฮ์ ตีพิมพ์ อัลฟัตหฺ อัชชาริเกาะฮ์ หน้า 47 ความว่า
وَكَذَلِكَ تَأَوِيْلُهُ بِالْعِلْمِ تَأْوِيْلٌ ظَاهِرُ الفَسَادِ مِنْ جِنْسِ تَأْوِيْلاَتِ الْجَـهْـمِـيـَّةُ
" เช่นดังกล่าวนี้ คือการตีความของท่านอัตติรมีซีย์ด้วยกับความหมาย ความรู้(ของอัลเลาะฮ์)นั้น เป็นการตีความที่เสื่อมเสียอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นแบบเดียวกับบรรดาการตีความของพวกอัลญะฮ์มียะฮ์"
ท่านก็จงเลือกเองแล้วกันว่าจะตามการกล่าวหาของท่านอิบนุตัยมียะฮ์ผู้อยู่ในยุคค่อลัฟหรือตามสะละฟุศศอลิห์อย่างท่านอัตติรมีซีย์และปราชญ์สะลัฟก่อนหน้านั้น
8. ท่านติรมีซีย์ , ท่านอะมัช , และสะลัฟบางส่วน
أَنَا عِنْدَ ظَنِّ عَبْدِي بِي ... وَإِنْ أَتَانِي يَمْشِي أَتَيْتُهُ هَرْوَلَةً
"เราจะอยู่ตามที่บ่าวของเราได้หวังมั่นใจต่อเรา...และหากเขาได้มาหาเราโดยเดินมา เราก็จะไปหาเขาโดยรีบเดิน"
หลังจากนั้นท่าน อัตติรมีซีย์ ได้กล่าวอธิบายว่า
هَذَا حَدِيثٌ حَسَنٌ صَحِيحٌ وَيُرْوَى عَنْ الْأَعْمَشِ فِي تَفْسِيرِ هَذَا الْحَدِيثِ مَنْ تَقَرَّبَ مِنِّي شِبْرًا تَقَرَّبْتُ مِنْهُ ذِرَاعًا يَعْنِي بِالْمَغْفِرَةِ وَالرَّحْمَةِ وَهَكَذَا فَسَّرَ بَعْضُ أَهْلِ الْعِلْمِ هَذَا الْحَدِيثَ قَالُوا إِنَّمَا مَعْنَاهُ يَقُولُ إِذَا تَقَرَّبَ إِلَيَّ الْعَبْدُ بِطَاعَتِي وَمَا أَمَرْتُ أُسْرِعُ إِلَيْهِ بِمَغْفِرَتِي وَرَحْمَتِي
"หะดิษนี้เป็นหะดิษฮะซันซอฮิห์ และได้ถูกรายงานจากท่านอัลอะอฺมัช เกี่ยวกับการตัฟซีรหะดิษนี้ ที่ว่า "ผู้ใดใกล้ชิดเราหนึ่งคืบ เราจะใกล้ชิดเขาหนึ่งศอก" หมายถึง ใกล้ชิดการอภัยโทษและความเมตตา และเฉกเช่นดังกล่าวนี้ นักปราชญ์(สะลัฟ)บางส่วนได้อธิบายหะดิษนี้ ซึ่งพวกเขากล่าวว่า แท้จริงความหมายของหะดิษนี้ คือท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "เมื่อบ่าวคนหนึ่งได้ใกล้ชิดเราด้วยการตออัตต่อเราและด้วยสิ่งที่เราบัญชา ใช้ แน่นอน การอภัยโทษและความเมตตาของเราจะรีบรุดไปยังเขา" ดู ตั๊วะห์ฟะตุลอะห์วาซีย์ 10/64
ดังนั้น ท่านอัตติรมีซีย์ - ซึ่งท่านเป็นนักปราชญ์สะลัฟท่านหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัย - ได้ทำการตะวีลตีความ คำว่า การมาของอัลเลาะฮ์ การรีบเดินของอัลเลาะฮ์ หรือการใกล้ชิดของอัลเลาะฮ์ ในหะดิษนี้นั้น คือ การอภัยโทษและความเมตตาของพระองค์ และการตะวีลตีความของท่านอัตติรมีซีย์นี้ ก็ได้ถ่ายทอดมาจาก นักปราชญ์สะลัฟบางส่วนที่อยู่ก่อนจากท่านอัตติรมีซีย์ ซึ่งส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือท่าน อัลอะอ์มัช และพวกเขาเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์สะลัฟอย่างไม่ต้องสงสัย และนักปราชญ์ที่เจริญรอยตามท่านอัตติรมีซีย์ , ท่านอัลอะอฺมัช และปราชญ์สลัฟบางส่วนนั้น
9. ท่านอิบนุ ญะรีร ได้ทำการอธิบาย อายะฮ์ ที่ 10 ของซูเราะฮ์ อัลฟัตหฺ ว่า
وفي قوله ( يَدُ اللَّهِ فَوْقَ أَيْدِيهِمْ ) وجهان من التأويل: أحدهما: يد الله فوق أيديهم عند البيعة, لأنهم كانوا يبايعون الله ببيعتهم نبيه صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم ; والآخر: قوّة الله فوق قوّتهم في نصرة رسوله صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم, لأنهم إنما بايعوا رسول الله صَلَّى الله عَلَيْهِ وَسَلَّم على نُصرته على العدو
คำว่า يد الله ใน ณ ที่นี้ ท่านอิบนุญะรีร ได้ยอมรับและทำการตีความตะวีล ว่า قوّة الله "มันคือพลังอำนาจของอัลเลาะฮ์"
ซึ่งท่านอิบนุอัลเญาซีย์ กล่าวรายงานอธิบายคำว่า يد الله ว่า
الرابع : قوة الله ونصرته فوق قوتهم ونصرتهم دكره ابن جرير وابن كيسان
คำกล่าวที่ 4 หมายถึง " อำนาจของอัลเลาะฮ์ และความช่วยเหลือของอัลเลาะฮ์ อยู่เหนืออำนาจของพวกเขาและอยู่เหนือการช่วยเหลือของพวกเขา ซึ่งทัศนะนี้ ได้กล่าว โดยท่าน อิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์ และท่าน อัลกัยซานีย์" ดู ตัฟซีร ซาดุลมะซีร ฟี อิลมุตตัฟซีร ของท่านอิบนุเญาซีย์ เล่ม 7 หน้า 204 ตีพิมพ์ ดารุลกะตุบ อัลอิลมียะฮ์
10. ท่านอัลมุญาฮิด
قَالَ تَعَالَى ( فَأَيْنَمَا تُوَلُّوا فَثَمَّ وَجْهُ اللهِ ) قَالَ مُجَاهِدٌ رَحِمَهُ اللهُ: قِبْلَةُ اللهِ
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า "ไม่ว่าที่ใดที่พวกท่านหันไป นั่นคือ وَجْهُ اللهِ พระพักตร์ของอัลเลาะฮ์" ท่านมุญาฮิด ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่าคือ "กิบลัตของอัลเลาะฮ์" หนังสืออัสมาอฺ วัสศิฟาต 309 , หนังสือตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ 1/402
11. อิมามมาลิกและท่านเอาซะอีย์
ท่านอิมามนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ใน ชัรหฺ ซอเฮี๊ยะหฺมุสลิม เกี่ยวกับฮะดิษ النزول คือฮะดิษเกี่ยวกับการลงมาจากฟากฟ้า ว่า ?ในฮะดิษนี้ และเหมือนๆ กับฮะดิษนี้ ที่มาจากบรรดาฮะดิษซีฟาตและอายะฮฺซีฟาต มีความเห็นอยู่ 2 มัซฮับที่เลื่องลือ(ที่มาจากอะฮ์ลิสซุนนะฮ์อัลอะชาอิเราะฮ์ที่ท่านอิมามอันนะวาวีย์ให้การยอมรับทั้งสองแนวทางนี้)
หนึ่ง : มัซฮับส่วนมากจากซะลัฟ และส่วนหนึ่งจากมุตะกัลลิมีน คืออีมาน ด้วยหะกีกัตของมันที่เหมาะสมกับพระองค์ และความหมายผิวเผินของมันอันเป็นที่รู้กันในสิทธิ์ของเรานั้น ไม่ใช่จุดมุ่งหมาย และเราไม่กล่าวในการตีความมัน พร้อมกับเราเชื่อมั่นว่า อัลเลาะฮฺทรงบริสุทธิ์จากเครื่องหมายต่างๆ จากสิ่งที่เกิดใหม่
สอง : มัซฮับส่วนมากของมุตะกัลลิมีน และกลุ่มหนึ่งจากอุลามาอฺสะลัฟ โดยมันได้ถูกรายงานเล่ามาจากอิมามมาลิก และอิมามอัลเอาซะอีย์ ว่า แท้จริงมันจะถูกตีความกับสิ่งที่พระองค์ทรงเหมาะสมด้วยกับมัน โดยพิจารณาตามสถานที่ของมัน ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ อัลฮะดิษ(บทนี้) จะถูกตีความได้สองอย่างด้วยกัน(ที่ได้กล่าวมาแล้ว....... (ดู ชัรหู ซอเฮี๊ยะหฺมุสลิม เล่ม 6 หน้า 37)
บรรดาปราชญ์มัซฮับมาลิกีย์ ได้ทำการถ่ายทอดคำพูดของท่านอิมามมาลิกในการตีความนั้น เป็นการถ่ายทอดที่เลื่องลือ مُسْتَفِيْضَةٌ (มุสตะฟีเฏาะฮ์) และโด่งดัง شُهْرَةٌ (ชุฮ์เราะฮ์) จากท่านอิมามมาลิกว่า
ท่านอิบนุอับดิลบัรริ ได้ถ่ายทอดคำกล่าวของท่านอิมามมาลิกว่า
وَقَدْ يُحْتَمَلُ أَنْ يَكُوْنَ كَمَا قَالَ رَحِمَهُ اللهُ عَلَي مَعْنَي أَنَّهُ تَتَنَزَّلُ رَحْمَتُهُ وَقَضَاؤُهُ بِالْعَفْوِ وَالإِسْتِجَابَةِ
"บางครั้งถูกตีความการลงมาเหมือนกับที่ท่านอิมามาลิกกล่าวบนความหมายที่ว่า ความเมตตาของพระองค์จะทรงลงมาและการตัดสินของพระองค์ในการอภัยโทษและตอบรับดุอาได้ลงมา" หนังสืออัตตัมฮีด 7/143
ท่านอะบีอัมร์ อัดดานีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัรริซาละฮ์ อัลวาฟียะฮ์ หน้า 135-137 ว่า
قَالَ بَعْضُ أَصحَابِناَ : يَنْزِلُ أََمْرُهُ تَبَارَكَ وتَعَاليَ
"ปราชญ์บางส่วนแห่งเรากล่าวว่า : คำบัญชาของพระองค์ได้ลงมา"
ด้วยอ้างหลักฐานอัลกุรอาน(มาสนับสนุนเป็นก่อรีนะฮ์กรณีแวดล้อม)ที่ว่า
اللَّهُ الَّذِي خَلَقَ سَبْعَ سَمَاوَاتٍ وَمِنَ الْأَرْضِ مِثْلَهُنَّ يَتَنَزَّلُ الْأَمْرُ بَيْنَهُنَّ
"อัลเลาะฮ์ทรงบันดาลเจ็ดชั้นฟ้าและแผ่นดินไว้เท่าเทียบกับชั้นฟ้าเหล่านั้นโดยคำบัญชาของพระองค์จะลงมาระหว่างชั้น(ฟ้าและแผ่นดิน)เหล่านั้น" อัฏเฏาะล็าก 12
กระผมขอกล่าวว่า : บรรดาปราชญ์มัซฮับอิมามมาลิกย่อมรู้ถึงแนวทางของท่านอิมามมาลิกดียิ่งกว่าและเป็นที่เลื่องลือมายังพวกเขา ซึ่งการตีความเช่นนี้สอดคล้องกับอัลกุรอานทุกประการและชัดเจน
12. ท่านอิมามอะห์มัด
ท่านอัลฮฟาซฺ อิบนุ กะษีร กล่าวว่า
رَوَى البَيْهَقِيُّ عَنِ الحَاكِمِ عَنْ عَمْروٍ بْنِ السَّمَّاكِ عَنْ حَنْبََل أَنَّ أَحْمَدَ بْنَ حَنْبَل تَأَوَّّلَ قَوْلَ اللهِ تَعَالىَ ( وَجَاءَ رَبُّكَ ) أَنَّهُ جَاءَ ثَوَابُهُ. ثَمَّ قَالَ الْبَيْهَقِيُّ: وَهَذَا إِسْنَادٌ لاَ غُبَارَ عَلَيْهِ
รายงานโดยอัลบัยฮะกีย์ จาก อัลฮากิม จากอัมร์ บิน อัซซัมมาก จากฮัมบัล ว่า "แท้จริงท่านอะห์มัด บิน ฮัมบัล ได้ทำการตีความ(ตะวีล) คำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ว่า "และผู้อภิบาลของเจ้าได้มา" คือ การตอบแทนผลบุญของพระองค์ได้มา หลังจากนั้นท่านอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า สายรายงานนี้เป็นสายรายงานที่(สะอาด)ไม่มีฝุ่นเลย" หนังสืออัลบิดายะฮ์ วันนิฮายะฮ์ : 10/361
12. ท่านอัลฮะซัน อัลบะซอรีย์
ได้ตีความคำตรัสของอัลเลาะฮ์ที่ว่า
وَجَاءَ رَبُّكَ : جَاءَ أَمْرُهُ وَقَضاَؤُهُ
"และพระผู้อภิบาลของเจ้าได้มา" คือ "คำบรรชาและการตัดสินของพระองค์ได้มา" ตัฟซีรอัลบะฆอวีย์ 4/454
อัลฮัมดุลิลลาฮ์ นี้คือตัวอย่างการตีความ(ตะวีล)ของสะละฟุศศอลิห์เกี่ยวกับซีฟัตของอัลเลาะฮ์ โดยการผินความหมายของถ้อยคำไปสู่อีกความหมายที่สามารถตีความได้ แต่หากเราจะเลี่ยงว่ามันคือการตัฟซีร(อธิบาย)นั้น ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงข้อเท็จจริงในความหมายของการ "ตะวีล" ตีความได้หรอก เพราะบรรดาปราชญ์ไม่ขัดข้องในการเรียกศัพท์ แม้กระทั่งการตัฟซีรของท่านอัตติรมีซีย์นั้น ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ยังวิพากษ์วิจารณ์โดยกล่าวว่ามันคือตะวีล ซึ่งบ่งชี้ว่าสะละฟุศศอลิห์มีการตีความตะวีลนั่นเอง เราจะไปบอกว่าหากตีความตรงนั้นตรงนี้แล้วจะไม่ต่างอะไรกับพวกมั๊วะตะซิละฮ์ แล้วทำไมเมื่อพบว่าสะละฟุศศอลิห์ทำการตีความถึงไม่กล่าวหาว่าพวกเขาไม่ต่างอะไรกับพวกมั๊วะตะซิละฮ์ละครับ หรือการตีความระหว่างพวกเขากับพวกมั๊วะตะซิละฮ์มีความแตกต่างกัน หากเป็นเช่นนั้นเราก็ต้องแยกแยะให้ถูกต้องระหว่างการตีความของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์กับการตีความของมั๊วะตะซิละฮ์ เพื่อเราจะไม่ไปละเมิดสะละฟุศศอลิห์ในเชิงหลักการทางด้านอะกีดะฮ์นั่นเอง อัลฮัมดุลิลลาฮ์
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَالَي أَعْليَ وأَعْلَم
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: al-azhary Date: ธ.ค. 01, 2008, 08:29 PM
salam
บทสรุป :
1. การไม่ตีความ แบ่งออกเป็นสองแนวทาง คือ
(1) แนวทางของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ คือ ทำการยืนยัน(อิษาต)ซีฟัตตามที่หลักฐานได้ระบุไว้ พร้อมทำการมอบหมายกับความหมายที่แท้จริงไปยังอัลเลาะฮ์ตะอาลา
(2) แนวทางพวกบิดอะฮ์ คือ ยืนยันซีฟัตและยืนยันความหมาย(ไม่ใช่แปลความหมาย)แบบผิวเผิน(ถ้อยคำคุณลักษณะภายนอก)แบบฮะกีกัตคำตรง แล้วอธิบายความหมายได้
2. การตีความ(ตะวีล) แบ่งออกเป็นสองแนวทาง คือ
(1) การตีความของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ กล่าวคือ พวกเขาได้ยืนยัน(อิษบาต)ซึ่งซีฟัตของอัลเลาะฮ์เป็นอันดับแรก หลังจากนั้นพวกเขาก็ตีความกับความหมายของถ้อยคำดังกล่าว
(2) การตีความของพวกมั๊วะตะซิละฮ์ คือพวกเขาได้ปฏิเสธซีฟัต(คุณลักษณะ)ของอัลเลาะฮ์ แล้วทำการตีความกับความหมายของถ้อยคำนั้น ซึ่งเป็นการตะตีล(ปฏิเสธซีฟัต) และตีความตามอารมณ์
3. การตีความของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์มิใช่การปฏิเสธหรือไม่ยืนยันซีฟัตของอัลเลาะฮ์ เพราะการปฏิเสธนั่นจะเป็นการตะตีล(ปฏิเสธ)ซีฟัตของอัลเลาะฮ์ ซึ่งนักปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ค่อลัฟต่างรู้ดี
4. การตีความตะวีลนั้นเป็นหนึ่งจากแนวทางของสะละฟุศศอลิห์
วัสลาม
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: al-azhary Date: ธ.ค. 01, 2008, 08:32 PM
salam
พี่น้องผู้อ่านไม่เข้าใจตรงใหน ถามรายละเอียดได้ครับ พี่น้องที่นี่เขาจะช่วยกันอธิบายให้ครับ อินชาอัลเลาะฮ์
วัสลาม
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: vrallbrothers Date: ธ.ค. 01, 2008, 10:37 PM
salam
คือผมมีคำถามรบกวนถามบังอัลอัซฮารีครับ
1. ในการอ่านอายะห์อัลกุรอานของท่านรอซูลุลลอฮ์ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมให้กับบรรดาซอฮาบะห์ของท่านฟังนั้น ไม่ทราบว่าท่านนบีฯ ได้มีการอธิบายอายะห์ต่างๆ ทุกๆ อายะห์หรือเปล่าครับ? หรือท่านนบีฯ มีการอธิบายเฉพาะบางอายะห์เท่านั้นครับ? (คิดว่าคงจะเกี่ยวกับกระทู้นี้นะครับผม)
2. ในการตะวีลของซอฮาบะห์และอุลามาอ์นั้น ไม่ทราบว่า มีหลักการอย่างไรบ้างครับว่า คำๆ นึง (ที่สามารถให้ได้หลายความหมาย) ในอายะห์เหล่านั้น จะสามารถผินความหมายไปสู่ความหมายใด เพื่อที่จะทำให้อายะห์ที่มีความหมายคลุมเครือหรือหลายนัยดังกล่าวนั้นสามารถตีความได้? และในบางอายะห์เหล่านั้น มีบ้างไหมครับ ที่อุลามาอ์ที่ทำการตะวีลโดยให้ความหมายไม่เหมือนกันจากอายะห์เดียวกันครับ?
ญะซากัลลอฮุค็อยร็อน ครับ

วัสสลาม
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: Muftee Date: ธ.ค. 01, 2008, 11:27 PM
ท่าน อ.อะลีย์ เสือสมิง เดิมแล้วท่านจบจาก มหาวิทยาลัย อัล-อัซฮัร หรือเปล่าครับ..

? ผมเองก้ไม่แน่ใจ เพราะไม่เคยทราบประวัติของท่าน
โดยละเอียด แค่รู้สึกว่าเคยมีคนพูดเข้าหูมาแว๊บๆ ว่าท่านจบจาก มอ.อัล-อัซฮัร คณะอุศูลุดดีน.....ใช่หรือเปล่าครับ..

Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: นูรุ้ลอิสลาม Date: ธ.ค. 02, 2008, 01:32 PM
อัสลามุอะลัยกุ้มฯ
สรุปว่าแนวทางสะลัฟเนี่ย เราต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องกันใหม่จริงๆ อัลฮัมดุลิลลาฮ์ที่เว็บแห่งนี้พยายามเรียกร้องให้พี่น้องไปสู่อะกีดะฮ์ที่บริสิทธิ์จริงๆ
Re: ใครว่าตีความไม่หะรอม By: almadany Date: ธ.ค. 03, 2008, 02:20 PM
อัสลามุอะลัยกุ้มฯ
สรุปว่าแนวทางสะลัฟเนี่ย เราต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องกันใหม่จริงๆ อัลฮัมดุลิลลาฮ์ที่เว็บแห่งนี้พยายามเรียกร้องให้พี่น้องไปสู่อะกีดะฮ์ที่บริสิทธิ์จริงๆ
การตีความที่ถูกต้องทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ...ส่วนการไม่ตีความแต่มอบหมายทำให้ง่ายต่อการศรัทธา...ไม่ต้องไปปวดกะบาน
ส่วนการไม่ตีความแล้วบอกว่ารู้ความหมายแบบฮะกีกัต...เวลาคนอื่นถามว่าความหมายมือตามหลักภาษาฮะกีกัตคำแท้คืออะไร...น้ำท่วมปาก...ซ้ำยังสร้างความปวดกะบานแก่ตนเองและผู้อื่น...