มัซฮับและขบวนการ : ซูฟีย์ : หลักการและการปฏิบัติ(ขอพี่น้องชี้แจงข้อเท็จจริงครับ) By: al-azhary Date: พ.ค. 05, 2009, 07:45 PM
salam
กระผมได้ไปอ่านบทความในเว็บมุสลิม เจอบทความหนึ่ง "มัซฮับและขบวนการ : ซูฟีย์ : หลักการและการปฏิบัติ" อนึ่ง เราชาวอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ผู้มีจิตใจเป็นกลาง สิ่งใดที่ถูกต้องก็ว่าถูกต้อง สิ่งใดที่ผิดอย่างชัดเจนก็ว่าผิด เพราะการโกหกต่อมัซฮับอื่นหรือแนวทางอื่นนั้น มิใช่แนวทางของเรา เช่น เราจะโต้ชีอะฮ์ก็ต้องใช้ความจริงมาโต้ มิใช่โกหกใส่พวกเขาในทัศนะที่พวกเขาไม่ยึดถือ แนวทางซูฟีย์ก็เช่นกัน หากพี่น้องบางท่านได้ยินคำว่าซูฟีย์แล้ว ก็จะฮุกุ่มทันทีในแง่ลบทันทีเหมือนกับบางกลุ่ม แต่สำหรับอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลยะมาอะฮ์นั้น ไม่เอาชื่อกลุ่มมาตัดสิน แต่ต้องดูที่เนื้อหาและองค์ประกอบของแนวทางนั้นเป็นสำคัญ
บทความนี้ อ.บรรจง เป็นผู้แปล ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของ อ.บรรจง เพราะเขาไม่ได้เรียนและศึกษาจากตำราอุลามาอฺซูฟีย์โดยตรง คือเขาไปแปลมาจากหนังสือที่คนสมัยใหม่แปลเป็นอังกฤษอีกที เราก็อย่าไปพาดพิงถึงเขา แต่ให้เราอ่านเนื้อหากันดีกว่า ตรงใหนที่ถูกก็ว่าถูก ตรงใหนที่ผิดก็ว่าผิดกันไปตามหลักวิชาการครับมัซฮับและขบวนการ : ซูฟีย์ : หลักการและการปฏิบัติ
ในระหว่างสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด สาวกบางคนของท่านได้ตัดสินใจที่จะละเว้นจากการนอนและจะใช้เวลาตลอดทั้งคืนไป กับการนมาซ บางคนได้ตัดสินใจที่จะถือศีลอดทุกวันโดยไม่ขาด บางคนก็ตัดสินใจที่จะหยุดมีความสัมพันธ์ทางด้านการแต่งงานกับผู้หญิงทั้งนี้ เพื่อที่จะได้มีเวลาอย่างเต็มที่สำหรับการปฏิบัติศาสนกิจต่ออัลลอฮฺ
เมื่อท่านศาสดาได้ยินเรื่องนี้ ท่านได้กล่าวว่า : "เกิดอะไรขึ้นกับคนเหล่านี้ซิถึงได้กล่าวเช่นนั้น ฉันเองถือศีลอดบางวันและฉันก็ละศีลอด ฉันนมาซในช่วงเวลาหนึ่งของกลางคืนและนอน และฉันก็แต่งงาน ดังนั้น ใครก็ตามที่หันไปจากแนวทางของฉัน เขาก็ไม่ได้เป็นพวกฉัน" (รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม)
อิส ลามได้สั่งใช้ให้ดำเนินชีวิตสายกลางทั้งนี้เพื่อที่มุสลิมจะได้ไม่ทำอะไรไป จนเกินพอดีหรือน้อยไปกว่าที่ต้องการ ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ชีวิตสันโดษ (เหมือนอย่างสงฆ์) ก็เป็นที่ต้องห้ามในกุรอาน อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า " ส่วนการเป็นนักบวชนั้น เราไม่ได้บัญญัติมันขึ้นมาสำหรับพวกเขา พวกเขาเองต่างหากที่สร้างมันขึ้นมา" (กุรอาน 57:27)
ท่าน ศาสดาและสาวกของท่านตลอดจนนักวิชาการมุสลิมคนสำคัญจะทำงาน ต่อสู้ ตัดสินระหว่างมุสลิมและสอนกุรอานผู้คนและตักเตือนผู้คนให้ทำความดี
ยิ่ง ไปกว่านั้น สาวกหลายคนก็เป็นนักธุรกิจและแสวงหาความมั่งคั่งเพื่อที่จะใช้จ่ายเงินในหน ทางแห่งอิสลามและท่านศาสดาก็ส่งเสริมพวกเขา ในฮะดีษหนึ่ง ท่านศาสดาได้กล่าวว่า :"จะประเสริฐยิ่งถ้าทรัพย์สินที่ซื่อสัตย์เป็นของคนที่มีคุณธรรม" (รายงานโดยอะหมัด)
ท่านได้วิงวอนให้อนัส อิบนุมาลิกบ่าวของท่านและได้จบการวิงวอนของท่านโดยกล่าวว่า : " โอ้ อัลลอฮฺ ได้โปรดเพิ่มพูนให้แก่เขาในทรัพย์สินและลูกๆและโปรดให้เขาได้รับความดีงามในสิ่งนั้น" (รายงานโดยบุคอรี)
อิบนุ มัศอูด ได้กล่าวว่าท่านรอซูลุลลอฮได้ลากเส้นๆหนึ่งด้วยมือของท่านและกล่าวว่า : " นี่คือแนวทางที่เที่ยงตรงของอัลลอฮฺ" หลังจากนั้น ท่านก็ลากเส้นหลายๆเส้นไปทางด้านขวาและทางด้านซ้าย หลังจากนั้นก็กล่าวว่า : " นี่เป็นหนทางอื่นๆ ไม่มีเส้นทางใดสักเส้นทางเดียวจากเส้นทางเหล่านี้ที่ไม่มีมารร้ายบนเส้นทางเหล่านั้นเรียกร้องไปหามัน" หลังจากนั้น ท่านก็ได้อ่านกุรอานตรงที่มีความหมายว่า : "แท้จริง นี่คือหนทางที่เที่ยงตรง ดังนั้น จงตามมันและจงอย่าปฏิบัติตามทางอื่นๆ เพราะมันจะทำให้สูเจ้าออกห่างจากหนทางของพระองค์" (กุรอาน 6:153)
การเกิดขึ้นของ ซูฟีย์
ถึงแม้จะมีคำเตือนดังกล่าวแล้วก็ตาม มุสลิมบางคนก็ปฏิบัติอย่างสุดโต่งในทางด้านศาสนาและหลีกเลี่ยงชีวิตทางโลก ในกลุ่มคนเหล่านี้ก็คือพวก ซูฟีย์ที่เลือกดำเนินชีวิตอย่างสุดโต่งและละทิ้งการแสวงหารายได้ที่ถูกต้อง และงานที่เป็นประโยชน์ คนเหล่านี้อ้างถึงความไว้วางใจในอัลลอฮฺเพียงอย่างเดียวในเรื่องการยังชีพ และชอบที่จะปลีกตัวออกไปใช้ชีวิตสันโดษอยู่ตามลำพัง
คำว่า " ซูฟีย์" ความจริงแล้วเกิดขึ้นมาในยุคหลัง (ในเมืองกูฟะฮประเทศอิรัคระหว่างสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮฺในคริสตศตวรรษที่ 9) มันอาจจะมาจากคำว่า "ซุฟ"ในภาษาอาหรับซึ่งหมายถึงเสื้อคลุมขนสัตว์หยาบๆที่พวกนักบวชสวมใส่และต่อมาพวกมุสลิมบางคนที่ชอบดำเนินชีวิตแบบสันโดษได้นำมาใช้
กล่าวโดยทั่วไปแล้ว แหล่งที่มาของลัทธิถือสันโดษในอิสลามได้เกิดขึ้นมาจากแหล่งต่างๆที่มิใช่อิส ลามในยุโรปโบราณและแม้แต่ในอินเดีย ประเพณีก่อนหน้าอิสลามส่วนหนึ่งก็เข้ามาสู่อิสลามภายใต้คราบของการปลีกตัว ออกไปถือสันโดษตามลำพัง
รูปแบบการใช้ชีวิต
หลัก คำสอนและพิธีกรรมแทบจะทั้งหมดของ ซูฟีย์นั้นถ้าไม่เหมือนกันทุกอย่างก็แทบจะเหมือนกับขบวนการใช้ชีวิตแบบนัก บวชโบราณที่มิใช่อิสลาม เช่น ศาสนาคริสต์ตะวันออก (นิกายเนสโตเรียนและซีรีแอค) และศาสนาพุทธ ดังนั้น หลักคำสอนและพิธีกรรมต่างของพวก ซูฟีย์จึงได้รับการปฏิเสธจากมุสลิมส่วนใหญ่เพราะมันเป็นสิ่งอุตริที่ขัดกับ คำสอนที่แท้จริงของอิสลาม
ในปลายศตวรรษที่ 10 ซูฟีย์ได้แพร่ขยายไปทั่วอิรัค อิหร่านและอียิปต์ ในศตวรรษที่ 11 และ 12 แนวความคิดของพวก ซูฟีย์ได้รับการยอมรับบ้างทั้งนี้เนื่องมาจากความพยายามและการเขียนของ ผู้ทรงความรู้ชาวซุนนีคนสำคัญๆอย่างเช่น อิมามเฆาะซาลี ต่อมาพวก ซูฟีย์ก็ค่อยๆสร้างพิธีกรรมและหลักการต่างๆที่เสียหายรุนแรงขึ้นและบิดเบือน หลักความศรัทธาอันบริสุทธิ์ของอิสลามที่มีอยู่ในกุรอานและแบบอย่างคำสอนของ ท่านศาสดามุฮัมมัด ผู้นำ (เชค) ของคนพวกนี้ได้ทำให้มุสลิมแตกออกเป็นกลุ่มและนิกายต่างๆ ในที่สุด ความเป็น ซูฟีย์สายกลางก็ค่อยๆหายไปจนทำให้หลักการและการปฏิบัติอันสุดโต่งห่างไกลออก ไปจากหลักความเชื่อและกฎหมายอิสลาม
การให้ความเคารพผู้นำ (เชค) อย่างสุดโต่ง
หนึ่ง ในด้านที่เป็นอันตรายที่สุดของพวก ซูฟีย์สุดโต่งก็คือการให้ความเคารพแก่คนที่มีคุณธรรมความรู้อย่างเกินขอบเขต โดยสานุศิษย์ของคนเหล่านี้ บางกลุ่มสดุดีผู้นำของตนเป็นประจำด้วยข้อความแห่งความรักที่เลยเถิดและใช้ เหล้าทำให้เกิดความมึนเมาเป็นสัญลักษณ์แทนความรักของพระเจ้า ผู้นำ (เชค) ของพวก ซูฟีย์ถูกเรียกว่า "อัล-อาริฟ บิลละฮฺ" (ผู้มีความรู้จักอัลลอฮฺอย่างลึกซึ้ง) บางทีพวก ซูฟีย์ก็ให้ความเคารพผู้นำของตนอย่างสิ้นเชิงจนถึงขนาดยอมทำตามผู้นำของตน ทุกอย่างโดยไม่มีขอบเขตจำกัด มีหนังสือเล่มหนึ่งกล่าวถึงเรื่องการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติตามแนวทาง ซูฟีย์ไว้ดังนี้
: " จงมอบหมายการงานแก่ท่าน (ผู้นำ) และไม่ต้องถามว่าทำไม ถึงแม้ว่าท่านจะออกมาด้วยบางสิ่งที่เป็นบาป จงอยู่ต่อหน้าท่านเหมือนกับคนตายที่ถูกอาบน้ำและถูกชำระล้างจากสิ่งสกปรก อย่าเดินบนเสื่อของท่านหรือนอนบนหมอนของท่าน"
พวก ซูฟีย์ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติตามที่จะต้องเป็นทาสในความคิดและร่าง กายต่อผู้นำของตน ถ้าหาก ซูฟีย์ที่เป็นสานุศิษย์ฝ่าฝืนคำสั่งเหล่านี้ เขาจะไม่ได้รับความเมตตาจากผู้นำของเขาและจะไม่มีวันเจริญ อย่างไรก็ตาม หลักการอิสลามไม่อนุญาตให้มีการเชื่อฟังผู้ใดในเรื่องที่เป็นบาป พวก ซูฟีย์ทำความชั่วบางอย่างและพวกที่ตามคนพวกนี้เชื่อว่าคนเหล่านั้นทำสิ่งที่ ถูกต้องดีงามและเป็นการกระทำอันมหัศจรรย์
ปาฏิหารย์ของพวก ซูฟีย์
ปาฏิหาริย์ ที่ถูกกล่าวอ้างของพวก ซูฟีย์มีมากมายรวมทั้งการฟื้นคืนชีพหลังความตายหรือการที่พวกเขาไม่ได้รับ บาดเจ็บหรือเป็นอันตรายจากกระสุนหรือดาบหรือไฟ ปาฏิหาริย์เหล่านี้อาจเกิดขึ้นโดยการใช้วิธีการทางไสยศาสตร์หรือการตบตาหรือ โดยการช่วยเหลือของชัยฏอน แต่เล่ห์กลและปาฏิหาริย์จอมปลอมเหล่านี้สามารถดึงดูดผู้คนได้มากมาย
อัช-ชะ อ์รอนี ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหาริย์คนหนึ่งได้อ้างว่าอะหมัด อัล-บะดาวี ครูของเขาได้ควบคุมจักรวาลจากหลุมฝังศพของเขา พวก ซูฟีย์จะปกป้องตัวเองให้พ้นจากการถูกลงโทษในการตกศาสนาโดยการใช้หลักความ เชื่อลับๆและคำศัพท์ที่คลุมเครือ
เหยื่อของชัยฏอน
อัล-ฮาฟิซ อิบนุ อัล-เญาซี นักวิชาการมุสลิมคนสำคัญ (เสียชีวิตใน ฮ.ศ.597) ได้เขียนหนังสืออันทรงคุณค่าไว้เล่มหนึ่งชื่อ "ตัลบีส อิบลีส" (วิธีการของชัยฏอนต่อผู้นมาซ) ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เขาได้ปฏิเสธการปฏิบัติผิดๆของพวก ซูฟีย์ พวก ซูฟีย์ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าพวกเขามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับอัล ลอฮฺ แต่การอ้างตัวว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างมนุษย์กับอัลลอฮฺเป็นสิ่งที่ ขัดกับอิสลาม
อย่างไรก็ตาม พวก ซูฟีย์อ้างว่าอำนาจทางจิตใจและการเป็นสื่อกลางกับอัลลอฮฺมาจากครูของพวกเขา ความจริงแล้ว ชัยฏอนได้หลอกลวงพวกเขาให้เชื่อว่าพวกเขามีความสามารถที่จะบรรลุถึงการรวม กันทางด้านจิตวิญญาณหรือการติดต่อกับอัลลอฮฺและผู้รู้ได้ นั่นคือ การได้รับความรู้ในสัจธรรมของพระเจ้าโดยตรง (ฮะกีเก๊าะฮฺ)
พวก ซูฟีย์ได้รับอิทธิพลมาจากพวกบาฏิน ปรัชญากรีก ศาสนาพุทธและเทวศาสตร์ของชาวคริสเตียน ดังนั้น พวก ซูฟีย์จึงเชื่อในเรื่องการได้รับความรู้ภายในซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็โดยการ ฝึกฝนจิตวิญญาณและการทรมานร่างกายเพื่อขัดเกลาตนเองให้เป็นผู้ได้รับความรู้ นั้น หลังจากนั้น ซูฟีย์ก็สามารถที่จะเห็นความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในตัวบทของกุรอานและคำ สอนของท่านศาสดามุฮัมมัด คนที่ไม่ได้รับความรู้ภายในจะสามารถเห็นความหมายภายนอกของกุรอานเท่านั้นและ คนเหล่านี้จะถูกเรียกว่าผู้ปฏิบัติตามชะรีอ๊ะฮฺหรือคนที่รู้ความหมายตามตัว อักษร (อะฮ์ลุซซอฮิร) ในขณะที่พวก ซูฟีย์เรียกตัวเองว่าผู้รู้ความจริงที่แท้จริงและผู้รู้ในสิ่งที่ซ่อนเร้น (อะฮ์ลุลบาฏิน) พวกเขากล่าวว่าพวกเขาก้าวพ้นชะรีอ๊ะฮฺไปถึงการรับรู้ภายในแล้ว ดังนั้น พวกเขาจึงได้รับอนุญาตให้ทำสิ่งต้องห้ามได้โดยเหตุผลที่ว่าความรู้ที่สูง กว่าของพวกเขาทำให้พวกเขาอยู่นอกข้อจำกัดของกฎหมายอิสลามที่เห็นอยู่
ซูฟีย์สร้างพิธีกรรมอุตริขึ้นมา
สิ่ง อุตริที่พวก ซูฟีย์สร้างขึ้นมานั้นมีทั้งการทำตัวเองให้ต่ำต้อยต่อหน้าผู้คน พิธีกรรมรำลึกถึงอัลลอฮฺด้วยการกล่าววลีที่เอ่ยนามของพระองค์ครั้งแล้วครั้ง เล่าซึ่งขัดต่อแบบอย่างของท่านศาสดามุฮัมมัด การจัดงานฉลองวันเกิดขึ้นของท่านศาสดามุฮัมมัดอย่างฟุ่มเฟือย การไปเยี่ยมหลุมฝังศพของหัวหน้า ซูฟีย์และวิงวอนต่อคนเหล่านี้ให้ประทานความจำเริญแก่พวกเขาและเป็นตัวกลาง ระหว่างพวกเขากับอัลลอฮฺ
การปฏิบัติเช่นนี้เป็นสิ่งที่มุสลิมส่วนใหญ่ประณามว่าเป็น "การสักการะบูชานักบุญ" และเป็น "การชิริก" ยิ่งไปกว่านั้น ครูของพวก ซูฟีย์ยังอ้างว่าตัวเองเป็นแหล่งที่มาของการรู้จักพระเจ้า (มะอ์ริฟะฮ์) แก่นักวิชาการอิสลาม
ซูฟีย์สุดโต่ง
อัล-ฮุ ซัยน์ อิบนุ มันซูร อัล-ฮัลลาจเชื่อว่าอัลลอฮฺอาศัยอยู่ในร่างของมนุษย์ ทุกสิ่งมีอยู่นั้นคืออัลลอฮฺในความเป็นจริง ส่วนอบู ยะซีด บิสตามี (ตายฮ.ศ.874) และอัล-ญุนัยด์ (ตาย ฮ.ศ.910) ได้เริ่มหาประสบการณ์ในการที่จะรวมกับอัลลอฮฺในตอนแรกด้วยการ "เมา" กับความรักของตนเอง
ใน ขณะที่พวก ซูฟีย์หลายคนปิดบังอำพรางหลักความเชื่อที่บิดเบนของตัวเอง แต่อัล-ฮัลลาจญ์สานุศิษย์คนหนึ่งของอัล-ญุนัยด์ได้ออกเดินทางไปสั่งสอนหลัก การของตัวเองอย่างเปิดเผย เจ้าหน้าที่ในกรุงแบกแดดจึงได้จับกุมเขา นักวิชาการส่วนใหญ่ตัดสินว่าเขาตกศาสนาและต่อมาเขาได้ถูกประหารชีวิตใน ฮ.ศ.309
อิบนุอะเราะบีก็เชื่อในหลัก "วะฮ์ดะตุลวุญูด" คือเชื่อว่าทุกสิ่งที่เราเห็นเป็นเพียงด้านหนึ่งของตัวตนที่แท้จริงของอัล ลอฮฺและพระองค์นั้นคือทั้งหมดที่ไม่ได้ปรากฏให้เห็นนอกจากภายในส่วนต่างๆของ สิ่งทั้งหลายและทุกสิ่งที่มีอยู่นั้นก็คืออัลลอฮฺ เขาวิพากษ์วิจารณ์นบีฮารูนเมื่อตอนที่ท่านตำหนิพวกยิวที่เคารพบูชารูปปั้น วัวทองคำ มีคนอ้างว่าเขากล่าวว่า "ผู้เคารพสักการะวัวนั้นไม่ได้เคารพสักการะสิ่งใดนอกไปจากอัลลอฮฺ" เขาเองได้ยกย่องฟาโรห์และประกาศว่าฟาโรห์ตายในสภาพที่มีความศรัทธาอัน บริสุทธิ์และเป็นผู้ศรัทธาคนหนึ่งซึ่งขัดกับตัวบทในกุรอาน แต่ถึงกระนั้นก็ตาม อิบนุอะเราะบีก็ได้รับการยกย่องจากพวก ซูฟีย์และพวกเขาได้เรียกเขาว่า "อัล-กุตุบุล อักบัร" (แกนอันยิ่งใหญ่)
หนังสือหลายเล่มที่เขาเขียนขึ้นอย่างเช่น " อัล-ฟะตูฮาตุล มักกียะฮ์" และ "ฟุซูลุลฮิกัม" นั้นเต็มไปด้วยเรื่องนอกศาสนาอย่างเห็นได้ชัด เขาได้เขียนหนังสืออธิบายความหมายขึ้นมาเล่มหนึ่งซึ่งเขาเรียกว่า "อัต-ตัฟซีรุล บาฏิน" ทั้งนี้เพราะเขาถือว่าความหมายที่ซ่อนเร้นของกุรอานนั้นมีแต่ ซูฟีย์ที่รู้ลึกซึ้งเท่านั้นที่สามารถเข้าใจได้ อิบนุอะเราะบีถือว่าพวกบูชาเทวรูปอยู่ในหนทางที่ถูกเนื่องจากในทัศนะของเขา นั้นอัลลอฮฺทรงมีอยู่ในทุกสิ่ง (หมายความว่าสิ่งถูกสร้างทุกอย่างที่มีอยู่นั้นคือพระองค์) ดังนั้น ใครก็ตามที่เคารพสักการะรูปปั้นหรือเคารพหินหรือต้นไม้หรือมนุษย์หรือดวงดาว ก็เท่ากับเขาผู้นั้นเคารพสักการะอัลลอฮฺ เขากล่าวว่า : " ดังนั้น คนที่มีความเข้าใจอย่างสมบูรณ์ก็คือคนที่เห็นวัตถุบูชาทุกอย่างเป็น ปรากฏการณ์ของความจริงที่มีอยู่ในนั้นซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกเคารพสักการะ"
ดัง นั้น พวกเขาจึงเรียกมันว่าพระเจ้าพร้อมกับชื่อเฉพาะของมันไม่ว่ามันจะเป็นก้อนหิน ต้นไม้ สัตว์ บุคคล ดวงดาวหรือทูตสวรรค์ อิบนุอะเราะบีจึงประกาศว่าการเคารพบูชาวัตถุจึงไม่ใช่สิ่งที่น่าถูกประณาม เพราะทุกสิ่งที่พวกเขาเคารพสักการะนั้นเป็นเพียงพระเจ้าที่ปรากฏในรูปของ มนุษย์ ต้นไม้หรือหิน อิบนุอะเราะบียังเชื่อว่าทุกศาสนานั้นเป็นหนึ่งเดียวและหัวใจของเขาพร้อมที่ จะยอมรับทุกนิกายและศาสนา ยิ่งไปกว่านั้น เขายังเตือนลูกศิษย์ของเขามิให้เชื่อในศาสนาใดเป็นการเฉพาะและมิให้ปฏิเสธ ศาสนาอื่นทั้งหมด
อับดุลการีม อัล-ญีลีซึ่งเสียชีวิตใน ฮ.ศ.830 ก็เชื่อในเอกภาพของศาสนาหรือทุกศาสนาก็เหมือนกันดังที่เขาได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง " อัล-อินซานุล กามิล" (มนุษย์ที่สมบูรณ์) ดังนั้น ในทัศนะของอับดุลการีม มัสญิดและโบสถ์จึงไม่มีความแตกต่างกันและถึงแม้ว่าเขาจะเป็นคนบาปและไม่ เชื่อฟังคำสั่งของอัลลอฮฺตามตัวบทกฎหมายอิสลาม (ชะรีอ๊ะฮ์) ที่ปรากฏอยู่ เขาก็ยังปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของอัลลอฮฺ อิบนุลฟาริด
กวีคนหนึ่งได้อ้าง ว่าความจริงแล้วอัลลอฮฺก็คือสิ่งถูกสร้างของพระองค์และเขาได้แต่งบทกวีขึ้น มาบทหนึ่งซึ่งในนั้นเขากล่าวว่าอัลลอฮฺเป็นเพศหญิง
ระบบตำแหน่งของ ซูฟีย์
ซูฟีย์หลายคนยังเชื่อว่าประชากรแต่ละรุ่นจะมีครูคนหนึ่งซึ่งเป็น "มนุษย์ที่สมบูรณ์" อย่างลับๆ และการมาปรากฏของคนผู้นี้เองที่ทำให้โลกยังดำเนินอยู่ต่อไป เป็นที่เชื่อกันว่าครูผู้นี้จะนำความจำเริญ (บะรอก๊ะฮ์) อันมหัศจรรย์ที่ได้รับมาจากครูคนก่อนๆมาให้ลูกศิษย์ของตน ซูฟีย์ส่วนใหญ่อ้างว่าพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากอะลี อิบนุ อบีฏอลิบหรือครอบครัวของท่านศาสดามุฮัมมัดและพวกเขาได้รับความจำเริญสืบทอด ต่อเนื่องกันมาจากบุคคลเหล่านั้นผ่านทางตำแหน่งหน้าที่สืบทอดต่อกันมา
ซูฟีย์บางคนอาจถูกเรียกว่า "วะลี" (เพื่อนของพระเจ้า) ซึ่งหมายถึง "คนที่ไปถึงขั้นสูงสุดในการมีความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ" ดังที่กล่าวไว้ในกุรอานว่า " บรรดาผู้ไม่กลัวและไม่เศร้าโศกเสียใจ" เฉพาะคนที่ได้รับประสบการณ์ ซูฟีย์อย่างสมบูรณ์เท่านั้นที่จะรู้จัก "มนุษย์ที่สมบูรณ์"พวกเขาคือผู้นำที่มีความจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของจักรวาลเพราะพวกเขามีอำนาจ ความรู้และพลังอันมหัศจรรย์ที่พระเจ้ามอบหมายมาให้
ลำดับชั้นที่มองไม่เห็นของพวกผู้นำ (เชค) ซูฟีย์ประกอบด้วย 40 อับดัล ( "ตัวแทน" เพราะเมื่อคนหนึ่งคนใดเสียชีวิต อีกคนหนึ่งก็จะถูกเลือกโดยอัลลอฮฺให้ขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งเชค) 7 เอาตาด (หลักแห่งความศรัทธา) 3 นุกอบา (ผู้นำที่นำคนมาให้ครูของตน) ที่นำโดย "กุตุบ" (แกน) หรือ " เฆาซ์" (ผู้ช่วยเหลือ) ซึ่งเป็นฉายาที่ผู้นำ ซูฟีย์กล่าวอ้าง พวก ซูฟีย์มี "ตราประทับ" (คอติม) หรือบุคคลสุดท้ายที่สมบูรณ์ที่สุดของพวกตนในขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ด้วย อัล-มิรฆอนี แห่งซูดานได้อ้างว่าเขาเป็นตราประทับ (คอติม) และสำนัก ซูฟีย์ของเขาได้ถูกเรียกว่า "คอติมัยยะอ๊ะฮ์"
กลุ่มซูฟีย์
นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 พวก ซูฟีย์ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือ "เฏาะรีก" (ตะรีกัต) กลุ่มที่สำคัญๆและยังมีอยู่ในปัจจุบันก็คือกลุ่มซานุสซีในอาฟริกาเหนือ กลุ่มนักชบันดี กลุ่มนิมะตุลลอฮ์และกลุ่มชิสตี (ในอิหร่าน ตุรกี เอเชียกลางและอินเดีย) ซูฟีย์ส่วนใหญ่เป็นพวกซุนนี บางกลุ่มก็รับความเชื่อของชีอ๊ะฮ์ในระหว่างศตวรรษที่ 15 และ 16 กลุ่มเบกตาชีและกลุ่มเศาะฟาวีเป็นพวกชีอ๊ะฮ์สุดโต่ง ในตอนต้นศตวรรษที่ 16 พวกเศาะฟาวีได้ใช้ปฏิบัติการทางทหารเข้ายึดอิหร่านไว้ได้เกือบทั้งหมด
พวก ซูฟีย์บางกลุ่มเป็นที่ยอมรับโดยคนในท้องที่ เช่น กลุ่มเบกตาชี (ต้นศตวรรษที่ 14) ในตุรกีและกลุ่มอะฮมะดียะฮ์ (หลังจากอะหมัด อัล-บะดะวี เสียชีวิตใน ฮ.ศ.1286) ในอียิปต์ อย่างไรก็ตาม พวกอะฮ์มะดียะฮ์สามารถดึงพวกผู้ปกครองในราชวงศ์มัมลูกให้มาเลื่อมใสได้ กลุ่มอื่นอย่างเช่นชาซิลีและริฟาอีก็มีสาวกของตนในหมู่ชนชั้นกลางชาวอียิปต์ ในอาฟริกาเหนือ กลุ่มติยานียะฮ์ซึ่งถูกก่อตั้งใน ค.ศ.1781และซานุสซีมีบทบาทขึ้นมาในศตวรรษที่ 19 และเข้าไปเล่นการเมืองด้วย กลุ่มติยานียะฮ์นั้นได้ขยายอิทธิพลของตนเข้าไปถึงเซเนกัลและไนจีเรีย
ซูฟีย์ปัจจุบัน
ปัจจุบัน พวก ซูฟีย์ที่เป็นลูกหลานของผู้นำ ซูฟีย์ผู้มีชื่อเสียงได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างหรูหราเหมือนกับคนราชวงศ์ บรรพบุรุษของพวกเขาได้ทำลายการญิฮาดซึ่งหมายถึงการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ ไปหมดสิ้นแล้วและพวกเขาอ้างว่าญิฮาดหมายถึงการต่อสู้กับจิตใจของตัวเองเท่า นั้น การอธิบายความหมายของคำว่าญิฮาดเช่นนี้ได้เปิดโอกาสให้อำนาจล่าอาณานิคมเข้า มายึดครองดินแดนมุสลิมส่วนใหญ่ไว้ และเนื่องจากพวกอำนาจล่าอาณานิคมให้การสนับสนุนมุสลิมทุกกลุ่มที่หันเหออกไป จากหลักการที่แท้จริงของอิสลาม ดังนั้น พวกนักล่าอาณานิคมจึงตอบแทนพวก ซูฟีย์โดยการให้ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์แก่คนเหล่านี้ไว้เป็นที่ทำกิน แม้ในบางช่วงที่พวก ซูฟีย์ได้อำนาจทางการเมือง แต่คนพวกนี้ก็ไม่ได้ส่งเสริมความดีและห้ามปรามความชั่ว แต่พวกเขากลับหันห่างออกจากการเคารพสักการะพระเจ้าและปูพรมให้ลูกศิษย์คลาน เข้ามาหาความสุขกับการกินและดื่ม
แปลโดย อาจารย์บรรจง บินกาซัน คัดลอกจาก: Thaimuslimshop.comมัซฮับและขบวนการ : ซูฟีย์ : หลักการและการปฏิบัติ
Re: มัซฮับและขบวนการ : ซูฟีย์ : หลักการและการปฏิบัติ(ขอพี่น้องชี้แจงข้อเท็จจริงครับ) By: al-firdaus~* Date: พ.ค. 05, 2009, 08:25 PM
ซูฟีที่เลยเถิดนั้น มีให้พบเจอ...แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ทุกคนที่เป็นซูฟีนั้นกระทำเลยเถิด
และไม่สงสัยเลย ที่มีบางทัศนะเหมารวมเอาคำว่า ซูฟี เป็นพวกนอกรีต (หลังจากได้อ่านบทความนี้แล้ว)

ท่านใดชี้แจงได้ ก็จงทำเถิดค่ะ
ไม่เป็นธรรมเลยกับการเหมารวมต่อคนบางกลุ่มโดยที่เขาเหล่านั้นไม่มีโอกาสชี้แจง โดยเฉพาะกับผู้ที่มีความอิคลาส (บริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ)

Re: มัซฮับและขบวนการ : ซูฟีย์ : หลักการและการปฏิบัติ(ขอพี่น้องชี้แจงข้อเท็จจริงครับ) By: abiatiya Date: พ.ค. 06, 2009, 09:53 AM
salam
เรียนถามนิดหนึ่ง ผมได้ยินข่าวมาว่า แถวภูเก็ตมีอะไรแปลกๆ ในเรื่องการปฏิบัติอามาล เห็นว่าเป็นพวกสราบันเขียว ผมเองก็ ไม่รู้หัวและหางมากนัก แต่กำลังสงสัยว่าจะเป็น ซูฟี ด้วยหรือเปล่า ใครพอจะมีข้อมูลบ้างครับ
123 By: ILHAM Date: พ.ค. 06, 2009, 10:15 AM
โดนลบอีกแล้ว สงสัยคำถามจะไปสร้างความแตกแยก
Re: มัซฮับและขบวนการ : ซูฟีย์ : หลักการและการปฏิบัติ(ขอพี่น้องชี้แจงข้อเท็จจริงครับ) By: คนอยากรู้ Date: พ.ค. 07, 2009, 04:50 PM
ผมเองเคยอ่านบทความเช่นนี้ของอาจาร์ยคนดังกล่าวเช่นกัน บางครั้งก็แปลกใจในสิ่งที่นำเสนอและรู้สึกว่าจะมองซุฟีในเชิงลบตลอด ฉนั้นการนำข้อมูลมาเผยแพร่นั้นไม่ใช่ว่าเพื่อธุรกิจอย่างเดียว
แต่เราต้องดูความถูกต้องด้วยและมองกันหลายๆมุมแล้วนำความคิดหรือการอ้างอิงของบรรดาอุลามมะที่เป็นกลางมาเผยแพร่ควบคู่กันด้วยไม่ใช่แปรมาจากตำราเดียวเพียวๆ
พี่น้องลองอ่านบทความข้างล่างนี้ดุแล้ววิเคราะห์ไปด้วยนะครับซูฟีย์ : หลักการและการปฏิบัติ ในระหว่างสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด สาวกบางคนของท่านได้ตัดสินใจที่จะละเว้นจากการนอนและจะใช้เวลาตลอดทั้งคืนไปกับการนมาซ
บางคนได้ตัดสินใจที่จะถือศีลอดทุกวันโดยไม่ขาด บางคนก็ตัดสินใจที่จะหยุดมีความสัมพันธ์ทางด้านการแต่งงานกับผู้หญิงทั้งนี้เพื่อที่จะได้มี
เวลาอย่างเต็มที่สำหรับการปฏิบัติศาสนกิจต่ออัลลอฮฺ
เมื่อท่านศาสดาได้ยินเรื่องนี้ ท่านได้กล่าวว่า : "เกิดอะไรขึ้นกับคนเหล่านี้ซิถึงได้กล่าวเช่นนั้น ฉันเองถือศีลอดบางวันและฉันก็ละศีลอด
ฉันนมาซในช่วงเวลาหนึ่งของกลางคืนและนอน และฉันก็แต่งงาน ดังนั้น ใครก็ตามที่หันไปจากแนวทางของฉัน เขาก็ไม่ได้เป็นพวกฉัน" (รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม)
อิสลามได้สั่งใช้ให้ดำเนินชีวิตสายกลางทั้งนี้เพื่อที่มุสลิมจะได้ไม่ทำอะไรไปจนเกินพอดีหรือน้อยไปกว่าที่ต้องการ ยิ่งไปกว่านั้น การใช้ชีวิตสันโดษ
(เหมือนอย่างสงฆ์) ก็เป็นที่ต้องห้ามในกุรอาน อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า " ส่วนการเป็นนักบวชนั้น เราไม่ได้บัญญัติมันขึ้นมาสำหรับพวกเขา พวกเขาเองต่างหากที่สร้างมันขึ้นมา" (กุรอาน 57:27)
ท่านศาสดาและสาวกของท่านตลอดจนนักวิชาการมุสลิมคนสำคัญจะทำงาน ต่อสู้ ตัดสินระหว่างมุสลิมและสอนกุรอานผู้คนและตักเตือนผู้คนให้ทำความดี
ยิ่งไปกว่านั้น สาวกหลายคนก็เป็นนักธุรกิจและแสวงหาความมั่งคั่งเพื่อที่จะใช้จ่ายเงินในหนทางแห่งอิสลามและท่านศาสดาก็ส่งเสริมพวกเขา ในฮะดีษหนึ่ง
ท่านศาสดาได้กล่าวว่า :"จะประเสริฐยิ่งถ้าทรัพย์สินที่ซื่อสัตย์เป็นของคนที่มีคุณธรรม" (รายงานโดยอะหมัด)
ท่านได้วิงวอนให้อนัส อิบนุมาลิกบ่าวของท่านและได้จบการวิงวอนของท่านโดยกล่าวว่า : " โอ้ อัลลอฮฺ ได้โปรดเพิ่มพูนให้แก่เขาในทรัพย์สินและลูกๆและ
โปรดให้เขาได้รับความดีงามในสิ่งนั้น" (รายงานโดยบุคอรี)
อิบนุ มัศอูด ได้กล่าวว่าท่านรอซูลุลลอฮได้ลากเส้นๆหนึ่งด้วยมือของท่านและกล่าวว่า : " นี่คือแนวทางที่เที่ยงตรงของอัลลอฮฺ" หลังจากนั้น ท่านก็ลาก
เส้นหลายๆเส้นไปทางด้านขวาและทางด้านซ้าย หลังจากนั้นก็กล่าวว่า : " นี่เป็นหนทางอื่นๆ ไม่มีเส้นทางใดสักเส้นทางเดียวจากเส้นทางเหล่านี้ที่ไม่มีมารร้าย
บนเส้นทางเหล่านั้นเรียกร้องไปหามัน" หลังจากนั้น ท่านก็ได้อ่านกุรอานตรงที่มีความหมายว่า : "แท้จริง นี่คือหนทางที่เที่ยงตรง ดังนั้น จงตามมันและจงอย่า
ปฏิบัติตามทางอื่นๆ เพราะมันจะทำให้สูเจ้าออกห่างจากหนทางของพระองค์" (กุรอาน 6:153)
การเกิดขึ้นของ ซูฟีย์ถึงแม้จะมีคำเตือนดังกล่าวแล้วก็ตาม มุสลิมบางคนก็ปฏิบัติอย่างสุดโต่งในทางด้านศาสนาและหลีกเลี่ยงชีวิตทางโลก ในกลุ่มคนเหล่านี้ก็คือพวก ซูฟีย์ที่เลือก
ดำเนินชีวิตอย่างสุดโต่งและละทิ้งการแสวงหารายได้ที่ถูกต้องและงานที่เป็นประโยชน์ คนเหล่านี้อ้างถึงความไว้วางใจในอัลลอฮฺเพียงอย่างเดียวในเรื่องการยัง
ชีพและชอบที่จะปลีกตัวออกไปใช้ชีวิตสันโดษอยู่ตามลำพัง
คำว่า " ซูฟีย์" ความจริงแล้วเกิดขึ้นมาในยุคหลัง (ในเมืองกูฟะฮประเทศอิรัคระหว่างสมัยราชวงศ์อับบาซียะฮฺในคริสตศตวรรษที่ 9) มันอาจจะมาจากคำว่า "ซุฟ"
ในภาษาอาหรับซึ่งหมายถึงเสื้อคลุมขนสัตว์หยาบๆที่พวกนักบวชสวมใส่และต่อมาพวกมุสลิมบางคนที่ชอบดำเนินชีวิตแบบสันโดษได้นำมาใช้
กล่าวโดยทั่วไปแล้ว แหล่งที่มาของลัทธิถือสันโดษในอิสลามได้เกิดขึ้นมาจากแหล่งต่างๆที่มิใช่อิสลามในยุโรปโบราณและแม้แต่ในอินเดีย ประเพณีก่อนหน้าอิสลาม
ส่วนหนึ่งก็เข้ามาสู่อิสลามภายใต้คราบของการปลีกตัวออกไปถือสันโดษตามลำพัง
รูปแบบการใช้ชีวิต หลักคำสอนและพิธีกรรมแทบจะทั้งหมดของ ซูฟีย์นั้นถ้าไม่เหมือนกันทุกอย่างก็แทบจะเหมือนกับขบวนการใช้ชีวิตแบบนักบวชโบราณที่มิใช่อิสลาม เช่น ศาสนาคริสต์ตะวันออก
(นิกายเนสโตเรียนและซีรีแอค) และศาสนาพุทธ ดังนั้น หลักคำสอนและพิธีกรรมต่างของพวก ซูฟีย์จึงได้รับการปฏิเสธจากมุสลิมส่วนใหญ่เพราะมันเป็นสิ่งอุตริที่ขัดกับคำสอน
ที่แท้จริงของอิสลาม
ในปลายศตวรรษที่ 10 ซูฟีย์ได้แพร่ขยายไปทั่วอิรัค อิหร่านและอียิปต์ ในศตวรรษที่ 11 และ 12 แนวความคิดของพวก ซูฟีย์ได้รับการยอมรับบ้างทั้งนี้เนื่องมาจากความพยายาม
และการเขียนของผู้ทรงความรู้ชาวซุนนีคนสำคัญๆอย่างเช่น อิมามเฆาะซาลี ต่อมาพวก ซูฟีย์ก็ค่อยๆสร้างพิธีกรรมและหลักการต่างๆที่เสียหายรุนแรงขึ้นและบิดเบือนหลักความ
ศรัทธาอันบริสุทธิ์ของอิสลามที่มีอยู่ในกุรอานและแบบอย่างคำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัด ผู้นำ (เชค) ของคนพวกนี้ได้ทำให้มุสลิมแตกออกเป็นกลุ่มและนิกายต่างๆ ในที่สุด
ความเป็น ซูฟีย์สายกลางก็ค่อยๆหายไปจนทำให้หลักการและการปฏิบัติอันสุดโต่งห่างไกลออกไปจากหลักความเชื่อและกฎหมายอิสลาม
การให้ความเคารพผู้นำ (เชค) อย่างสุดโต่ง หนึ่งในด้านที่เป็นอันตรายที่สุดของพวก ซูฟีย์สุดโต่งก็คือการให้ความเคารพแก่คนที่มีคุณธรรมความรู้อย่างเกินขอบเขตโดยสานุศิษย์ของคนเหล่านี้ บางกลุ่มสดุดีผู้นำของ
ตนเป็นประจำด้วยข้อความแห่งความรักที่เลยเถิดและใช้เหล้าทำให้เกิดความมึนเมาเป็นสัญลักษณ์แทนความรักของพระเจ้า ผู้นำ (เชค) ของพวก ซูฟีย์ถูกเรียกว่า "อัล-อาริฟ บิลละฮฺ"
(ผู้มีความรู้จักอัลลอฮฺอย่างลึกซึ้ง) บางทีพวก ซูฟีย์ก็ให้ความเคารพผู้นำของตนอย่างสิ้นเชิงจนถึงขนาดยอมทำตามผู้นำของตนทุกอย่างโดยไม่มีขอบเขตจำกัด มีหนังสือเล่มหนึ่ง
กล่าวถึงเรื่องการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติตามแนวทาง ซูฟีย์ไว้ดังนี้
: " จงมอบหมายการงานแก่ท่าน (ผู้นำ) และไม่ต้องถามว่าทำไม ถึงแม้ว่าท่านจะออกมาด้วยบางสิ่งที่เป็นบาป จงอยู่ต่อหน้าท่านเหมือนกับคนตายที่ถูกอาบน้ำและถูกชำระล้างจาก
สิ่งสกปรก อย่าเดินบนเสื่อของท่านหรือนอนบนหมอนของท่าน"
พวก ซูฟีย์ถือว่าเป็นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติตามที่จะต้องเป็นทาสในความคิดและร่างกายต่อผู้นำของตน ถ้าหาก ซูฟีย์ที่เป็นสานุศิษย์ฝ่าฝืนคำสั่งเหล่านี้ เขาจะไม่ได้รับความเมตตาจาก
ผู้นำของเขาและจะไม่มีวันเจริญ อย่างไรก็ตาม หลักการอิสลามไม่อนุญาตให้มีการเชื่อฟังผู้ใดในเรื่องที่เป็นบาป พวก ซูฟีย์ทำความชั่วบางอย่างและพวกที่ตามคนพวกนี้เชื่อว่าคน
เหล่านั้นทำสิ่งที่ถูกต้องดีงามและเป็นการกระทำอันมหัศจรรย์
ปาฏิหารย์ของพวก ซูฟีย์ ปาฏิหาริย์ที่ถูกกล่าวอ้างของพวก ซูฟีย์มีมากมายรวมทั้งการฟื้นคืนชีพหลังความตายหรือการที่พวกเขาไม่ได้รับบาดเจ็บหรือเป็นอันตรายจากกระสุนหรือดาบหรือไฟ
ปาฏิหาริย์เหล่านี้อาจเกิดขึ้น
โดยการใช้วิธีการทางไสยศาสตร์หรือการตบตาหรือโดยการช่วยเหลือของชัยฏอน แต่เล่ห์กลและปาฏิหาริย์จอมปลอมเหล่านี้สามารถดึงดูดผู้คนได้มากมาย
อัช-ชะอ์รอนี ผู้เขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหาริย์คนหนึ่งได้อ้างว่าอะหมัด อัล-บะดาวี ครูของเขาได้ควบคุมจักรวาลจากหลุมฝังศพของเขา พวก ซูฟีย์จะปกป้องตัวเอง
ให้พ้นจากการถูกลงโทษในการตกศาสนาโดยการใช้หลักความเชื่อลับๆและคำศัพท์ที่คลุมเครือ
เหยื่อของชัยฏอน อัล-ฮาฟิซ อิบนุ อัล-เญาซี นักวิชาการมุสลิมคนสำคัญ (เสียชีวิตใน ฮ.ศ.597) ได้เขียนหนังสืออันทรงคุณค่าไว้เล่มหนึ่งชื่อ "ตัลบีส อิบลีส" (วิธีการของชัยฏอนต่อผู้นมาซ)
ซึ่งในหนังสือเล่มนี้เขาได้ปฏิเสธการปฏิบัติผิดๆของพวก ซูฟีย์ พวก ซูฟีย์ส่วนใหญ่มีความเชื่อว่าพวกเขามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นพิเศษกับอัลลอฮฺ แต่การอ้างตัวว่าเป็น
ผู้ทำหน้าที่ติดต่อระหว่างมนุษย์กับอัลลอฮฺเป็นสิ่งที่ขัดกับอิสลาม
อย่างไรก็ตาม พวก ซูฟีย์อ้างว่าอำนาจทางจิตใจและการเป็นสื่อกลางกับอัลลอฮฺมาจากครูของพวกเขา ความจริงแล้ว ชัยฏอนได้หลอกลวงพวกเขาให้เชื่อว่าพวกเขามี
ความสามารถที่จะบรรลุถึงการรวมกันทางด้านจิตวิญญาณหรือการติดต่อกับอัลลอฮฺและผู้รู้ได้ นั่นคือ การได้รับความรู้ในสัจธรรมของพระเจ้าโดยตรง (ฮะกีเก๊าะฮฺ)
พวก ซูฟีย์ได้รับอิทธิพลมาจากพวกบาฏิน ปรัชญากรีก ศาสนาพุทธและเทวศาสตร์ของชาวคริสเตียน ดังนั้น พวก ซูฟีย์จึงเชื่อในเรื่องการได้รับความรู้ภายในซึ่งจะเกิดขึ้น
ได้ก็โดยการฝึกฝนจิตวิญญาณและการทรมานร่างกายเพื่อขัดเกลาตนเองให้เป็นผู้ได้รับความรู้นั้น หลังจากนั้น ซูฟีย์ก็สามารถที่จะเห็นความหมายที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในตัว
บทของกุรอานและคำสอนของท่านศาสดามุฮัมมัด คนที่ไม่ได้รับความรู้ภายในจะสามารถเห็นความหมายภายนอกของกุรอานเท่านั้นและคนเหล่านี้จะถูกเรียกว่าผู้ปฏิบัติ
ตามชะรีอ๊ะฮฺหรือคนที่รู้ความหมายตามตัวอักษร (อะฮ์ลุซซอฮิร) ในขณะที่พวก ซูฟีย์เรียกตัวเองว่าผู้รู้ความจริงที่แท้จริงและผู้รู้ในสิ่งที่ซ่อนเร้น (อะฮ์ลุลบาฏิน) พวกเขากล่าวว่า
พวกเขาก้าวพ้นชะรีอ๊ะฮฺไปถึงการรับรู้ภายในแล้ว ดังนั้น พวกเขาจึงได้รับอนุญาตให้ทำสิ่งต้องห้ามได้โดยเหตุผลที่ว่าความรู้ที่สูงกว่าของพวกเขาทำให้พวกเขาอยู่นอกข้อจำกัด
ของกฎหมายอิสลามที่เห็นอยู่
ซูฟีย์สร้างพิธีกรรมอุตริขึ้นมา สิ่งอุตริที่พวก ซูฟีย์สร้างขึ้นมานั้นมีทั้งการทำตัวเองให้ต่ำต้อยต่อหน้าผู้คน พิธีกรรมรำลึกถึงอัลลอฮฺด้วยการกล่าววลีที่เอ่ยนามของพระองค์ครั้งแล้วครั้งเล่าซึ่งขัดต่อแบบอย่าง
ของท่านศาสดามุฮัมมัด การจัดงานฉลองวันเกิดขึ้นของท่านศาสดามุฮัมมัดอย่างฟุ่มเฟือย การไปเยี่ยมหลุมฝังศพของหัวหน้า ซูฟีย์และวิงวอนต่อคนเหล่านี้ให้ประทานความ
จำเริญแก่พวกเขาและเป็นตัวกลางระหว่างพวกเขากับอัลลอฮฺ
การปฏิบัติเช่นนี้เป็นสิ่งที่มุสลิมส่วนใหญ่ประณามว่าเป็น "การสักการะบูชานักบุญ" และเป็น "การชิริก" ยิ่งไปกว่านั้น ครูของพวก ซูฟีย์ยังอ้างว่าตัวเองเป็นแหล่งที่มาของ
การรู้จักพระเจ้า (มะอ์ริฟะฮ์) แก่นักวิชาการอิสลาม
ซูฟีย์สุดโต่ง อัล-ฮุซัยน์ อิบนุ มันซูร อัล-ฮัลลาจเชื่อว่าอัลลอฮฺอาศัยอยู่ในร่างของมนุษย์ ทุกสิ่งมีอยู่นั้นคืออัลลอฮฺในความเป็นจริง ส่วนอบู ยะซีด บิสตามี (ตายฮ.ศ.874)
และอัล-ญุนัยด์ (ตาย ฮ.ศ.910) ได้เริ่มหาประสบการณ์ในการที่จะรวมกับอัลลอฮฺในตอนแรกด้วยการ "เมา" กับความรักของตนเอง
ในขณะที่พวก ซูฟีย์หลายคนปิดบังอำพรางหลักความเชื่อที่บิดเบนของตัวเอง แต่อัล-ฮัลลาจญ์สานุศิษย์คนหนึ่งของอัล-ญุนัยด์ได้ออกเดินทางไปสั่งสอนหลักการ
ของตัวเองอย่างเปิดเผย เจ้าหน้าที่ในกรุงแบกแดดจึงได้จับกุมเขา นักวิชาการส่วนใหญ่ตัดสินว่าเขาตกศาสนาและต่อมาเขาได้ถูกประหารชีวิตใน ฮ.ศ.309
อิบนุอะเราะบีก็เชื่อในหลัก "วะฮ์ดะตุลวุญูด" คือเชื่อว่าทุกสิ่งที่เราเห็นเป็นเพียงด้านหนึ่งของตัวตนที่แท้จริงของอัลลอฮฺและพระองค์นั้นคือทั้งหมดที่ไม่ได้ปรากฏให้เห็นนอก
จากภายในส่วนต่างๆของสิ่งทั้งหลายและทุกสิ่งที่มีอยู่นั้นก็คืออัลลอฮฺ เขาวิพากษ์วิจารณ์นบีฮารูนเมื่อตอนที่ท่านตำหนิพวกยิวที่เคารพบูชารูปปั้นวัวทองคำ มีคนอ้างว่าเขากล่าวว่า
"ผู้เคารพสักการะวัวนั้นไม่ได้เคารพสักการะสิ่งใดนอกไปจากอัลลอฮฺ" เขาเองได้ยกย่องฟาโรห์และประกาศว่าฟาโรห์ตายในสภาพที่มีความศรัทธาอันบริสุทธิ์และเป็นผู้ศรัทธาคน
หนึ่งซึ่งขัดกับตัวบทในกุรอาน แต่ถึงกระนั้นก็ตาม อิบนุอะเราะบีก็ได้รับการยกย่องจากพวก ซูฟีย์และพวกเขาได้เรียกเขาว่า "อัล-กุตุบุล อักบัร" (แกนอันยิ่งใหญ่)
หนังสือหลายเล่มที่เขาเขียนขึ้นอย่างเช่น " อัล-ฟะตูฮาตุล มักกียะฮ์" และ "ฟุซูลุลฮิกัม" นั้นเต็มไปด้วยเรื่องนอกศาสนาอย่างเห็นได้ชัด เขาได้เขียนหนังสืออธิบายความหมายขึ้นมาเล่มหนึ่งซึ่งเขา
เรียกว่า "อัต-ตัฟซีรุล บาฏิน" ทั้งนี้เพราะเขาถือว่าความหมายที่ซ่อนเร้นของกุรอานนั้นมีแต่ ซูฟีย์ที่รู้ลึกซึ้งเท่านั้นที่สามารถเข้าใจได้ อิบนุอะเราะบีถือว่าพวกบูชาเทวรูปอยู่ในหนทางที่ถูกเนื่องจาก
ในทัศนะของเขานั้นอัลลอฮฺทรงมีอยู่ในทุกสิ่ง (หมายความว่าสิ่งถูกสร้างทุกอย่างที่มีอยู่นั้นคือพระองค์) ดังนั้น ใครก็ตามที่เคารพสักการะรูปปั้นหรือเคารพหินหรือต้นไม้หรือมนุษย์หรือดวงดาวก็
เท่ากับเขาผู้นั้นเคารพสักการะอัลลอฮฺ เขากล่าวว่า : " ดังนั้น คนที่มีความเข้าใจอย่างสมบูรณ์ก็คือคนที่เห็นวัตถุบูชาทุกอย่างเป็นปรากฏการณ์ของความจริงที่มีอยู่ในนั้นซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกเคารพสักการะ"
ดังนั้น พวกเขาจึงเรียกมันว่าพระเจ้าพร้อมกับชื่อเฉพาะของมันไม่ว่ามันจะเป็นก้อนหิน ต้นไม้ สัตว์ บุคคล ดวงดาวหรือทูตสวรรค์ อิบนุอะเราะบีจึงประกาศว่าการเคารพบูชาวัตถุจึงไม่ใช่สิ่งที่น่าถูก
ประณามเพราะทุกสิ่งที่พวกเขาเคารพสักการะนั้นเป็นเพียงพระเจ้าที่ปรากฏในรูปของมนุษย์ ต้นไม้หรือหิน อิบนุอะเราะบียังเชื่อว่าทุกศาสนานั้นเป็นหนึ่งเดียวและหัวใจของเขาพร้อมที่จะยอมรับทุก
นิกายและศาสนา ยิ่งไปกว่านั้น เขายังเตือนลูกศิษย์ของเขามิให้เชื่อในศาสนาใดเป็นการเฉพาะและมิให้ปฏิเสธศาสนาอื่นทั้งหมด
อับดุลการีม อัล-ญีลีซึ่งเสียชีวิตใน ฮ.ศ.830 ก็เชื่อในเอกภาพของศาสนาหรือทุกศาสนาก็เหมือนกันดังที่เขาได้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง " อัล-อินซานุล กามิล" (มนุษย์ที่สมบูรณ์) ดังนั้น ในทัศนะ
ของอับดุลการีม มัสญิดและโบสถ์จึงไม่มีความแตกต่างกันและถึงแม้ว่าเขาจะเป็นคนบาปและไม่เชื่อฟังคำสั่งของอัลลอฮฺตามตัวบทกฎหมายอิสลาม (ชะรีอ๊ะฮ์) ที่ปรากฏอยู่ เขาก็ยังปฏิบัติตาม
เจตนารมณ์ของอัลลอฮฺ อิบนุลฟาริด
กวีคนหนึ่งได้อ้างว่าความจริงแล้วอัลลอฮฺก็คือสิ่งถูกสร้างของพระองค์และเขาได้แต่งบทกวีขึ้นมาบทหนึ่งซึ่งในนั้นเขากล่าวว่าอัลลอฮฺเป็นเพศหญิง
ระบบตำแหน่งของ ซูฟีย์ ซูฟีย์หลายคนยังเชื่อว่าประชากรแต่ละรุ่นจะมีครูคนหนึ่งซึ่งเป็น "มนุษย์ที่สมบูรณ์" อย่างลับๆ และการมาปรากฏของคนผู้นี้เองที่ทำให้โลกยังดำเนินอยู่ต่อไป เป็นที่เชื่อกันว่าครูผู้นี้จะนำความ
จำเริญ (บะรอก๊ะฮ์) อันมหัศจรรย์ที่ได้รับมาจากครูคนก่อนๆมาให้ลูกศิษย์ของตน ซูฟีย์ส่วนใหญ่อ้างว่าพวกเขาสืบเชื้อสายมาจากอะลี อิบนุ อบีฏอลิบหรือครอบครัวของท่านศาสดามุฮัมมัดและพวก
เขาได้รับความจำเริญสืบทอดต่อเนื่องกันมาจากบุคคลเหล่านั้นผ่านทางตำแหน่งหน้าที่สืบทอดต่อกันมา
ซูฟีย์บางคนอาจถูกเรียกว่า "วะลี" (เพื่อนของพระเจ้า) ซึ่งหมายถึง "คนที่ไปถึงขั้นสูงสุดในการมีความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺ" ดังที่กล่าวไว้ในกุรอานว่า " บรรดาผู้ไม่กลัวและไม่เศร้าโศกเสียใจ"
เฉพาะคนที่ได้รับประสบการณ์ ซูฟีย์อย่างสมบูรณ์เท่านั้นที่จะรู้จัก "มนุษย์ที่สมบูรณ์"พวกเขาคือผู้นำที่มีความจำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของจักรวาลเพราะพวกเขามีอำนาจ ความรู้และพลังอัน
มหัศจรรย์ที่พระเจ้ามอบหมายมาให้
ลำดับชั้นที่มองไม่เห็นของพวกผู้นำ (เชค) ซูฟีย์ประกอบด้วย 40 อับดัล ( "ตัวแทน" เพราะเมื่อคนหนึ่งคนใดเสียชีวิต อีกคนหนึ่งก็จะถูกเลือกโดยอัลลอฮฺให้ขึ้นมาอยู่ในตำแหน่งเชค) 7 เอาตาด
(หลักแห่งความศรัทธา) 3 นุกอบา (ผู้นำที่นำคนมาให้ครูของตน) ที่นำโดย "กุตุบ" (แกน) หรือ " เฆาซ์" (ผู้ช่วยเหลือ) ซึ่งเป็นฉายาที่ผู้นำ ซูฟีย์กล่าวอ้าง พวก ซูฟีย์มี "ตราประทับ" (คอติม) หรือ
บุคคลสุดท้ายที่สมบูรณ์ที่สุดของพวกตนในขั้นตอนทางประวัติศาสตร์ด้วย อัล-มิรฆอนี แห่งซูดานได้อ้างว่าเขาเป็นตราประทับ (คอติม) และสำนัก ซูฟีย์ของเขาได้ถูกเรียกว่า "คอติมัยยะอ๊ะฮ์"
กลุ่ม ซูฟีย์ นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 พวก ซูฟีย์ได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือ "เฏาะรีก" (ตะรีกัต) กลุ่มที่สำคัญๆและยังมีอยู่ในปัจจุบันก็คือกลุ่มซานุสซีในอาฟริกาเหนือ กลุ่มนักชบันดี กลุ่มนิมะตุลลอฮ์และกลุ่มชิ
สตี (ในอิหร่าน ตุรกี เอเชียกลางและอินเดีย) ซูฟีย์ส่วนใหญ่เป็นพวกซุนนี บางกลุ่มก็รับความเชื่อของชีอ๊ะฮ์ในระหว่างศตวรรษที่ 15 และ 16 กลุ่มเบกตาชีและกลุ่มเศาะฟาวีเป็นพวกชีอ๊ะฮ์สุดโต่ง ในตอนต้นศตวรรษที่ 16 พวกเศาะฟาวีได้ใช้ปฏิบัติการทางทหารเข้ายึดอิหร่านไว้ได้เกือบทั้งหมด
พวก ซูฟีย์บางกลุ่มเป็นที่ยอมรับโดยคนในท้องที่ เช่น กลุ่มเบกตาชี (ต้นศตวรรษที่ 14) ในตุรกีและกลุ่มอะฮมะดียะฮ์ (หลังจากอะหมัด อัล-บะดะวี เสียชีวิตใน ฮ.ศ.1286) ในอียิปต์ อย่างไรก็ตาม
พวกอะฮ์มะดียะฮ์สามารถดึงพวกผู้ปกครองในราชวงศ์มัมลูกให้มาเลื่อมใสได้ กลุ่มอื่นอย่างเช่นชาซิลีและริฟาอีก็มีสาวกของตนในหมู่ชนชั้นกลางชาวอียิปต์ ในอาฟริกาเหนือ กลุ่มติยานียะฮ์ซึ่ง
ถูกก่อตั้งใน ค.ศ.1781และซานุสซีมีบทบาทขึ้นมาในศตวรรษที่ 19 และเข้าไปเล่นการเมืองด้วย กลุ่มติยานียะฮ์นั้นได้ขยายอิทธิพลของตนเข้าไปถึงเซเนกัลและไนจีเรีย
ซูฟีย์ปัจจุบัน ปัจจุบัน พวก ซูฟีย์ที่เป็นลูกหลานของผู้นำ ซูฟีย์ผู้มีชื่อเสียงได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างหรูหราเหมือนกับคนราชวงศ์ บรรพบุรุษของพวกเขาได้ทำลายการญิฮาดซึ่งหมายถึงการต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ
ไปหมดสิ้นแล้วและพวกเขาอ้างว่าญิฮาดหมายถึงการต่อสู้กับจิตใจของตัวเองเท่านั้น การอธิบายความหมายของคำว่าญิฮาดเช่นนี้ได้เปิดโอกาสให้อำนาจล่าอาณานิคมเข้ามายึดครองดินแดนมุสลิม
ส่วนใหญ่ไว้ และเนื่องจากพวกอำนาจล่าอาณานิคมให้การสนับสนุนมุสลิมทุกกลุ่มที่หันเหออกไปจากหลักการที่แท้จริงของอิสลาม ดังนั้น พวกนักล่าอาณานิคมจึงตอบแทนพวก ซูฟีย์โดยการให้
ดินแดนที่อุดมสมบูรณ์แก่คนเหล่านี้ไว้เป็นที่ทำกิน แม้ในบางช่วงที่พวก ซูฟีย์ได้อำนาจทางการเมือง แต่คนพวกนี้ก็ไม่ได้ส่งเสริมความดีและห้ามปรามความชั่ว แต่พวกเขากลับหันห่างออกจากการ
เคารพสักการะพระเจ้าและปูพรมให้ลูกศิษย์คลานเข้ามาหาความสุขกับการกินและดื่ม
แปลโดย
อาจารย์บรรจง บินกาซัน คัดลอกจาก: Thaimuslimshop.com
Re: มัซฮับและขบวนการ : ซูฟีย์ : หลักการและการปฏิบัติ(ขอพี่น้องชี้แจงข้อเท็จจริงครับ) By: คนอยากรู้ Date: พ.ค. 07, 2009, 04:55 PM
เวปมาสเตอร์จะลบก็ได้นะแต่เจตนาจริงผมต้องการโพสข้อความข้างบนและข้างล่างเพื่อเปรียบเทียบกับบทความข้างบนนะครับ
เพราะเราต้องมองอย่างเป็นกลางในเรื่องที่กระทบจิตใจของพี่น้องบางกลุ่ม
ตะเซาวุฟ ซูฟีย์
--------------------------------------------------------------------------------
18 ตุลาคม 2549
ตะเซาวุฟนั้นเป็นขั้นระดับที่สูงส่ง ตะเซาวุฟ คือการปรับปรุง แก้ไขจิตใจโดยอาศัย จริยธรรม ที่มีมาตามบทบัญญัติทั้งภายนอกและภายใน ตะเซาวุฟนั้นดำเนินไปตามครรลองครองธรรมแห่งอัลกุรอ่านและอัลฮาดิษ โดยปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งอัลลอฮฺและปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของท่านศาสดามูฮำมัดในด้านจริยธรรม สภาวการณ์ บริโภคของฮาล้าล (สิ่งที่อนุญาต) มีความบริสุทธิ์ใจในทุกๆการงาน ตอบรับคำสั่งใช้แห่งอัลลอฮฺทุกประการโดยไม่ละเลยในเรื่องที่วาญิบ (สิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติ) ไม่เข้าใกล้ข้อห้ามต่างๆ ประพฤติตนด้วยลักษณะที่น่าสรรเสริญ และละทิ้งพฤติกรรมที่น่าตำหนิ
ตะเซาวุฟ เป็นวิชาที่ว่าด้วยการ ฝึกจิต ใจ ให้พ้นจากขอตำหนิต่างๆ เป็นแนวทางที่ดำรงอยู่ได้ด้วยกับความรู้และนำความรู้นั้นไปปฏิบัติด้วย ขั้นสูงสุดของตะเซาวุฟก็คือการรู้เตาฮีด (รู้การเป็นเอกะของอัลลอฮฺ) และการนำเอาสิ่งที่วาญิบ (สิ่งจำเป็น) มาปฏิบัติก่อนสิ่งที่เป็นสุนัต (สิ่งที่ส่งเสริมให้ปฏิบัติ) หลังจากนั้นก็ประพฤติตนให้อยู่ในกรอบแห่งความดีงามต่างๆ ใช้ชีวิตอย่างสมถะ และสวมอาภรณ์แห่งจริยธรรมที่ดีงาม แน่นอนอัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า
﴿تَتَجَافَى جُنُوبُهُمْ عَنِ الْمَضَاجِعِ يَدْعُونَ رَبَّهُمْ خَوْفًا وَطَمَعًا
وَمِمَّا رَزَقْنَاهُمْ يُنفِقُونَ * فَلا تَعْلَمُ نَفْسٌ مَّا أُخْفِيَ لَهُم مِّن قُرَّةِ
أَعْيُنٍ جَزَاء بِمَا كَانُوا يَعْمَلُونَ ﴾
ความว่า: สีข้างของพวกเขาเคลื่อนห่างจากที่นอน พลางวิงวอนต่อพระเจ้าของพวกเขาด้วยความกลัวและความหวัง และพวกเขาได้อุปโภคบริโภคสิ่งที่เราได้ให้เป็นเครื่องยังชีพแก่พวกเขา, ดังนั้นจึงไม่มีชีวิตใดรู้สิ่งที่ถูกซ้อนไว้สำหรับพวกเขา ให้เ(ป็นที่รื่นรมย์)แก่สายตา เพื่อเป็นการตอบแทนในสิ่งที่พวกเขาได้ประพฤติไว้
(อัสสาญาดะฮฺ : 17)
﴿وَأَمَّا مَنْ خَافَ مَقَامَ رَبِّهِ وَنَهَى النَّفْسَ عَنِ الْهَوَى *
فَإِنَّ الْجَنَّةَ هِيَ الْمَأْوَى﴾
ความว่า: และส่วนผู้ที่หวาดหวั่นต่อการยืนเบื้องพระพักตร์ของผู้อภิบาลของเขา และได้หักห้ามจิตใจจากอารมณ์ ดังนั้นสวนสวรรค์ก็คือที่พำนักของเขา (อันนาซิอาต : 40-41)
ท่านศาสดาได้กล่าวไว้ว่า
(( أحب العباد إلى الله الأتقياء الأخفياء، الذين إذا غابوا لم يفتقدوا،
وإذا شهدوا لم يُعرفوا، أولئك هم أئمة الهدى ومصابيح العلم))
رواه أبو نعيم
ความว่า: บ่าวผู้เป็นที่รักยิ่ง ณ อัลลอฮฺคือปวงบ่าวผู้ที่มีความยำเกรงยิ่งอีกทั้งเกร่งกลัวต่อพระองค์ยิ่ง เมื่อพวกเขาหายหน้าไป ก็จะไม่ถูกตามหา เมื่อพวกเขาเผยตัว ก็จะไม่ถูกรู้จัก พวกเขาเหล่านี้คือผู้นำแห่งหนทางอันเที่ยงตรง คือตะเกียงแห่งความรู้
ท่านอิหม่าม อัชชะอฺรอนีย์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัล-อันวาร อัล-กุดซียะห์ ถึงวิชาตะเซาวุฟที่แท้จริงนั้นคือ การปฏิบัติตนด้วยกับความรู้ไปพร้อมๆกับบทบัญญัติอิสลามบนแนวทางที่มีความบริสุทธิ์ใจและมีสัจจธรรม หากว่าท่านได้กลับไปยังบุคคลรุ้นแรกๆที่วางพื้นฐานตะเซาวุฟอิสลาม ท่านก็จะพบว่าพวกเขาทั้งหมดนั้นล้วนเป็นนักวิชาการ เป็นผู้ปฏิบัติอยู่ในคุณงามความดี เป็นผู้ที่เรียกร้องไปสู่อัลลอฮฺ และมุ้งไปสู่พระองค์ด้วยกับพระมหาคัมภีร์อัลกรุอ่านและอัลฮาดิษ เพราะเหตุนี้ รัศมีของพวกเขาจึงเจิดจรัส ร่องรอยรัศมีของพวกเขายังคงอยู่เรื่อยมา แน่นอนตะเซาวุฟก็คือ การศึกษาวิชาการอันประเสริฐซึ่งเป็นฟัรดูอีน (จำเป็น) ต่อมุสลิมทั้งชายและหญิง แล้วนำเอาไปปฏิบัติด้วยกับความรู้ที่ศึกษามา เพื่อแสวงหาสัจธรรมและความบริสุทธิ์ใจ ดังกล่าวนั้นก็ด้วยการขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ ระงับความชั่วต่างๆด้วยกับการซิเกร (ระลึกถึงอัลลอฮฺ) ทางกาย วาจา ใจ หมั่นทำอิบาดะห์อยู่เป็นเนืองนิตย์ เพื่อให้วิญญาณมีความสะอาดบริสุทธิ์ มีจิตใจที่สูงส่ง และเพื่อเป็นการรักษาหัวใจให้พ้นจากโรคภัยต่างๆ แน่นอนจะเป็นตะเซาวุฟไม่ได้ หากไร้ซึ่งความรู้ หรือมีความรู้แต่ไม่ได้นำเอาความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์หรือนำไปปฏิบัติ ส่วนผู้ที่อ้างว่าตะเซาวุฟคือสิ่งอื่นจากนี้นั้น สิ่งนั้นมิใช่ตะเซาวุฟ หากเป็นการยัดเยียดเพื่อเป็นการสร้างความเสื่อมเสีย หรือเป็นพฤติกรรมของกลุ่มชนที่โง่เขล่า
และเพื่อเป็นการอธิบายให้เข้าใจในความหมายของตะเซาวุฟและแก่นแท้ของวิชานี้ สมควรที่จะต้องกล่าวอ้างถึงคำพูดของนักวิชาการ และผู้ที่มีความซอและห์บางท่าน เพื่อให้เกิดความกระจ่างแจ้งในตะเซาวุฟ
1. ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ ฮัมบัล ผู้เป็นผู้นำสายอะห์ลิสสุนนะห์ได้กล่าวกับลูกของท่านนามว่าอับดุลลอฮฺว่า โอ้ลูกของข้าเอ๋ย! จำเป็นแก่เจ้าที่จะต้องไปนั่งร่วมกับกลุ่มชนเหล่านี้ เพราะแท้จริงพวกเขาจะเพิ่มพูนความรู้ ความเกรงกลัว ความยำเกรง ความสมถะ และสุดยอดแห่งความตั้งใจอันแน่วแน่ ให้แก่ตัวเจ้า โดยที่ท่านอีหม่ามยังได้กล่าวต่อไปอีกถึงเรื่องซูฟีย์ว่า ฉันไม่รู้ทราบว่ามีกลุ่มใดๆที่จะประเสริฐยิ่งกว่ากลุ่มพวกเขา (กลุ่มซูฟีย์) (อ้างอิง: หนังสือ ตันวีร อัล-กุโลบ หน้าที่ 405, หนังสือ ฆอซาอฺ อัล-อัลบาบ ลิชัรฮี่ มันซูมะห์ อัล-อาดาบ ของท่านซาฟารีนีย์)
2. ท่านอิหม่ามอัล-ฆอซาลี ผู้เป็นหลักฐานแห่งอัล-อิสลาม ท่านได้กล่าวว่า แน่นอน ฉันรู้โดยมั่นใจเลยว่า ซูฟีย์คือบรรดาผู้เดินทางไปในหนทางแห่งอัลลอฮฺโดยเฉพาะ การเดินทางของพวกเขานั้นเป็นการทางที่ดีที่สุด เส้นทางของพวกเขาคือเส้นทางที่ถูกต้องที่สุด จริยธรรมของพวกเขาคือจริยธรรมที่สูงส่งที่สุด (อ้างอิง: หนังสือ อัล-มุนกิซ มิน อัฎฎอล้าล หน้าที่ 49)
3. ท่านอัล-อิซ อิบนุ อับดุสสลาม ผู้เป็นสุลต่านของมวลนักวิชาการ ท่านได้กล่าวไว้ว่า กลุ่มซูฟีย์นั้น นั่งอยู่บนหลักเกณฑ์ของบทบัญญัติอิสลามโดยที่ไม่ได้ทำลายเรื่องของภพนี้และภพหน้า และกลุ่มอื่นที่มิใช้ซูฟีย์นั้น นั่งอยู่บนเส้นของบทบัญญัติอิสลาม (อ้างอิง: นูร อัตตะกีก หน้าที่ 96 ของท่านเชค ฮามิด ซอคร์)
4. ท่านอิหม่ามมาลิกได้กล่าวไว้ว่า บุคคลใดที่มีฟิกฮฺ (กฎหมายอิสลาม) แต่ไม่มีตะเซาวุฟ แน่แท้เขาคือผู้บิดพริ้ว บุคคลใดที่ไม่มีฟิกฮฺ แน่แท้เขาคือผู้ไม่มีศาสนา และบุคคลใดที่รวมสองสิ่งเข้าด้วยกัน แน่แท้เขาได้ทำให้บรรลุผล (อ้างอิง: ฮาชียะห์ อัล-อัลลามะห์ อาลี อัล-อะดะวีย์ อะลา ชัรฮฺ อัล-อิหม่ามริสกอนีย์ อะลา มัตนี่ อัล-อัซบะห์ ฟี อัลฟิกฮฺ อัลมาลีกี , ชัรฮฺ อัยนฺ อัล-อิลมฺ วาซีนุ้ลฮิลมี ของท่านอีหม่าม มะลา อาลี กอรีย์)
5. ท่านอิหม่ามชาฟีอีได้กล่าวว่า สามสิ่งจากดุนยา (ภพนี้) ของพวกท่าน มันได้ทำให้ฉันรัก (ซึ่งสามสิ่งนั้นก็คือ) ความไร้ซึ่งการเสแสร้ง การสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อมนุษย์ด้วยความอ่อนโยน การปฏิบัติตามแนวทางของนักตะเซาวุฟ (อ้างอิง: กาชฟุ้ลคอฟาอฺ วามะซีลุ้ลอัลบาส อัมมาซตาฮาร่อ มินัลอะฮาดิษ อะลา อัลสินะติ้ลอินซาน ของท่านอิหม่ามอัล-อาจลูนีย์)
6. ท่านอิหม่ามนาวาวี ผู้เป็นเชคแห่งสำนักคิดชาฟีอียะห์ ผู้ซึ่งถูกได้รับความไว้วางใจจากการลงมติของประชาชติอิสลาม ท่านได้กล่าวว่า รากฐานของแนวทางตะเซาวุฟมีอยู่ 5 ประการ คือ 1) การยำเกรงต่ออัลลอฮฺทั้งที่ลับและที่แจ้ง 2) การปฏิบัติตามแนวทางของท่านศาสดามูฮำมัดทั้งในด้านคำพูดและการกระทำ 3) การแสดงออกอย่างเปิดเผยต่อผู้คน(ด้วยความบริสุทธิ์ใจ) ทั้งต่อหน้าและลับหลัง 4) ความพึงพอใจต่อสิ่งที่อัลลอฮฺทรงกำหนดไม่ว่าจะน้อยหรือมาก 5)การกลับสู่อัลลอฮฺไม่ว่าจะอยู่สภาพที่สุขสบายหรือทุกข์ตรม (อ้างอิง: มะกอซิด อัล-อิหม่ามอันนาวาวีย์ วัตเตาฮีด วันอิบาดาต วาอุซู้ลตะเซาวุฟ หน้าที่20)
7. ท่านอิหม่ามฟัครุดดีน อัล-รอซีย์ ปรมาจารย์ที่ยิ่งใหญ่ ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการอรรถาธิบายพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน ท่านได้กล่าวไว้ในบทที่ 8 ของหนังสือ อะฮฺวาลุ้ซซูฟีย์ (สถานะของซูฟีย์) ว่า จงรู้ไว้เถิด! มากมายจากกลุ่มต่างๆของประชาชาติละที่จะกล่าวถึงซูฟีย์ และดังกล่าวนั้นก็คือความผิดพลาด เพราะผลสรุปของคำพูดของซูฟีย์ก็คือ หนทางไปยังการรู้จักอัลลอฮฺนั้นก็คือ การทำให้บริสุทธิ์ และการขจัดจากความสัมพันธ์ต่างๆทางด้านร่างกาย และนี่แหละคือหนทางที่ดีที่สุด และท่านอิหม่ามยังได้กล่าวเสริมอีกว่า และนักตะเซาวุฟก็คือกลุ่มที่วุ่นอยู่ในเรื่องของความคิด และการทำจิตใจให้ปราศจากการมีความสัมพันธ์กับร่างกาย และพวกเขาก็ยังพยายามที่จะมิให้จิตและใจนั้นบกพร่อง ด้วยการระลึกถึงอัลลอฮฺในทุกสภาพการงานของพวกเขา พวกเขาคือแม่พิมพ์ทางด้านมารยาทที่สมบูรณ์ที่มีต่ออัลลอฮฺ พวกเขาคือกลุ่มชนที่ดีกว่ามนุษย์ชาติทั้งหมด (อ้างอิง: หนังสือ เอี๊ยะติกอด้าต ฟิรอกุ้ลมุสลิมีน วัลมุชริกีน)
8. ท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ ตัยมียะห์ ได้กล่าวถึงการยึดถือของซูฟีย์ตามอัลกุรอ่านและฮาดิษว่า ดังนั้นส่วนผู้ที่มีความเที่ยงธรรมจากบรรดาผู้เดินทางไปสู่อัลลอฮฺ (กลุ่มซูฟีย์) ที่เหมือนกับบรรดาผู้ทรงคุณวุฒิของชาวสาลัฟ เฉกเช่น ท่านอัลฟาดีล อิบนุ อิยาฎ ท่านอิบรอฮีม อิบนุ อัดฮัม ท่านสุไลมาน อัดดารอนีย์ ท่านมะรูฟ อัลกัรคีย์ ท่านอัล-สารีย์ อัล-สากอตีย์ ท่านอัล-ญุนีด อิบนุ มูฮำมัด และท่านอื่นๆอีกจากคนอยู่ก่อน และเฉกเช่น เชค อับดุลกอเดร อัลญัยลานีย์ ท่านเชค ฮัมมาด ท่านเชค อุบัย อัลบายาน และท่านอื่นๆอีกจากคนยุคหลัง แน่นอน(บรรดาผู้นำทางด้านซูฟีย์)พวกเขาจะไม่ยอมให้ผู้ที่เดินทางในหนทางนี้ออกจากคำสั่งใช้และคำสั่งห้ามตามบทบัญญัติ มาดแม้นว่าผู้ที่เดินทางในหนทางนี้จะบินในอากาศหรือเดินบนน้ำก็ตาม แต่ทว่าผู้ที่เดินทางในหนทางนี้จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งใช้และยับยั้งจากข้อห้ามต่างๆจนกระทั่งตาย นี่แหละคือสัจธรรมพระมหาคัมภีร์อัลกุรอ่าน อัลฮาดิษและการลงมติของสาลัฟได้ชี้นำ... (อ้างอิง: มัจมัวะ ฟะตาวา ของท่านอิหม่ามอะห์มัด อิบนุ ตัยมียะห์ เล่มที่10)
9. ท่านอิบนิคอลดูลได้กล่าวไว้ในหนังสือ อิลมุตตะเซาวุฟ ว่า วิชาตะเซาวุฟนี้ คือหนึ่งจากบรรดาวิชาตามบทบัญญัติอิสลามที่เกิดขึ้นในศาสนา และที่มาของวิชานี้ก็คือ แนวทางของกลุ่มเหล่านี้ที่คงมีอยู่ ณ ปะชาชาติรุ่นก่อนๆ บรรดาผู้อวุโสจากซอฮาบะห์และตาบีอีน และบุคคลรุ่นหลังๆ ซึ่งแนวทางนี้เป็นแนวทางแห่งความมีสัจธรรม เป็นแนวทางที่ได้รับทางนำ และที่มาของแนวทางนี้ก็คือ การพากเพียรในการปฏิบัติศาสนกิจ การยับยั้งความชั่วร้ายโดยมุ่งสู่อัลลอฮฺ การผินหลังให้กับความฟุ้งเฟ้อและการตบแต่งดุนยา ความมีสมถะในสิ่งที่กลุ่มชนมอบให้จากความเอร็ดอร่อย ทรัพย์สินเงินทองและเกียรติยศ การแยกตัวออกจากผู้คนเพื่อทำศาสนกิจ สิ่งต่างๆดังกล่าวนี้คือเรื่องปรกติของซอฮาบะห์และชาวซาลัฟ ดังนั้นเมื่อการผิดหลังให้กับดุนยาได้แพร่กระจายออกไปในสมัยที่ 2 และหลังจากนั้น ปีกของมนุษย์ได้แพร่ไปทั่วโลก ผู้ที่หันเข้าสู่แนวทางในการทำอิบาดะห์ (ศาสนกิจ) ก็ได้ให้คำจำกัดความด้วยนามว่า ซูฟีย์
10. ท่านอิหม่ามอัสสายูตีย์ได้กล่าวว่า ตะเซาวุฟในตัวของมันแล้วก็คือ วิชาอันประเสริฐ และจุดกำเนิดวิชานี้ก็มาจากการปฏิบัติตามแนวทางของท่านศาสดามูฮำมัด ละทิ้งอุตริกรรม และฉันก็รู้ด้วยว่า มีมากมายจากสิ่งที่แทรกซึมเข้ามาในวิชานี้จากกลุ่มที่มีความคล้ายคลึงกับชาวตะเซาวุฟ โดยที่พวกเขาก็ไม่ใช่ชาวตะเซาวุฟ แล้วพวกเขาก็นำเอาสิ่งที่ไม่ใช่ตะเซาวุฟแทรกซึมเข้ามาในตะเซาวุฟ แล้วสิ่งดังกล่าวนั้นก็นำไปสู่การคาดคะแนของผู้คนต่อตะเซาวุฟอย่างผิดๆ (โดยเหม่ารวมว่าตะเซาวุฟและกลุ่มซูฟีย์เป็นกลุ่มที่ออกนอกลู่นอกทาง)
11. ท่านอบูฮาซัน อัชชาซูลีย์ ได้กล่าวว่า เมื่อการวิจัยของท่านมันค้านกับอัลกุรอ่านและฮาดิษ ดังนั้นท่านจงยึดเอาอัลกุรอ่านและฮาดิษ และยังละทิ้งการวิจัยดังกล่าวเสีย จงกล่าวกับตัวท่านเองว่า แท้จริงอัลลอฮฺได้ประกันความปลอดภัยให้กับฉันไว้ในอัลกุรอ่านและอัลฮาดิษ และอัลลอฮฺจะไม่ทรงประกันความปลอดภัยในด้านการวิจัย การอิลฮาม(การดลใจ) การรู้สึกไปเอง เว้นแต่หลังจากตรวจสอบสิ่งเหล่านั้นด้วยกับอัลกุรอ่าน และอัลฮาดิษ ยิ่งไปกว่านั้นจะต้องตรวจสอบด้วยการรับฟังจากคำพูดของคนส่วนมากที่มีอุดมคติว่า ความเที่ยงตรงที่อยู่เหนือบทบัญญัติอันสะอาดบริสุทธิ์ก็คือ สิ่งที่ประเสริฐและดีกว่าการอมัต(สิ่งที่เหนือธรรมชาติมนุษย์) ใดๆ
12. ท่านเชค มุฮยิดดีน อิบนุ อาราบีย์ ได้กล่าวไว้ว่า ผู้ที่ที่ไม่ปฏิบัติตามท่านศาสดามูฮำมัด (ศ็อลฯ) จะไม่หวังที่จะไปถึงอัลลอฮฺ
13. ท่านอิบนุอาตออิ้ลลาฮฺ อัลอัสกันดารียะห์ ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่เคร่งคัดกับตัวเองต่อการมีมารยาทตามแนวทางของท่านนบี อัลลอฮฺจะทรงทำให้หัวใจของเขามีรัศมีด้วยกับรัศมีแห่งการรู้จักอัลลอฮฺ และไม่มีมากอม (ระดับขั้นหนึ่งของซูฟีย์) ใดๆที่จะประเสริฐไปกว่ามากอมของผู้ปฏิบัติตามท่านศาสดามูฮำมัดในด้านของคำสั่งใช้ การกระทำ และจรรยามารยาทของท่านศาสดา
14. ท่านเชคอบุลกอเซ็ม อัลกุชัยรีย์ ได้กล่าวว่า บรรดาผู้อาวุโสของแนวทางทั้งหมดนั้นได้แนะนำว่า ไม่ว่าคนใดในกลุ่มพวกเขาจะไม่ออกมติใดๆในแนวทางนั้นๆ นอกจากจะต้องมีความรู้อย่างลึกซึงในวิชาการต่างๆทางบทบัติญัติอิสลาม
นี่คือส่วนหนึ่งจากคำพูดของนักวิชาการและผู้นำซูฟีย์ ซึ่งในแต่ละคำพูดนั้นจะดให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติตามคำสอนแห่งอัลลอฮฺกุรอ่านและอัลฮาดิษ โดยเป็นการปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด ห่างไกลจากสิ่งที่คัดต่อคำสั่งใช้ที่มีมาในทั้งสอง ทุกๆคำพูดได้เรียกร้องไปสู่จริยธรรมอันทรงเกียรติ ไปสู่ความกลัวเกรงอัลลอฮฺ (ตะอาลา) ไปสู่ความยำเกรง ความเมตตาปราณี และแสวงหาความพึงพอพระหทัยจากพระองค์ สรุปก็คือคำพูดของบรรดานักซูฟีย์ได้เรียกร้องไปสู่ความดีทั้งหมด ห้ามปรามความชั่วทั้งมวล และในจุดนี้ยังได้อธิบายให้กับเราอย่างชัดเจดถึงแก่นแท้ของตะเซาวุฟว่า มันคือวิชาหนึ่งที่มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงแก้ไขตัวมุสลิมให้เป็นคนดี เข้าถึงยังการทำให้อัลลอฮฺพึงพอพระหทัย เคร่งคัดต่อบทบัญญัติ และทิ้งสิ่งที่ขัดต่อบทบัญญัติทั้งปวง นี่แหละคือเป้าหมายในการสร้างมนุษย์บนพื้นพิภพแห่งนี้
และนี่ก็เป็นคำชี้แจงและอธิบายให้กับบุคคลที่ต้องการยอมรับต่อแก่นแท้ของตะเซาวุฟ สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่อัลลอฮฺและศาสนทูตแห่งพระองค์พึงพอพระหทัยใช่หรือไม่ครับ นี่แหละคือตะเซาวุฟ และผู้ที่ปฏิบัติตามแนวทางของตะเซาวุฟก็คือกลุ่มซูฟีย์ และสิ่งที่มันขัดกับสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เราสามารถกล่าวได้เลยว่า สิ่งนั้นไม่ใช่ตะเซาวุฟ ไม่ใช่ซูฟีย์ หากเป็นความคิดที่เลยเถิดโดยออกจากบทบัญญัติอิสลาม.
โดย..อิบนุ อาลี
Re: มัซฮับและขบวนการ : ซูฟีย์ : หลักการและการปฏิบัติ(ขอพี่น้องชี้แจงข้อเท็จจริงครับ) By: al-firdaus~* Date: พ.ค. 07, 2009, 05:25 PM
อ่านบทความแรกใจแทบหาย บั่นทอนหัวใจคนรักตะเซาวุฟ
พออ่านบทความของบังคนอยากรู้ กระจ่างมากๆ อัลฮัมดุลลิละห์

Re: มัซฮับและขบวนการ : ซูฟีย์ : หลักการและการปฏิบัติ(ขอพี่น้องชี้แจงข้อเท็จจริงครับ) By: tksarb Date: พ.ค. 07, 2009, 09:39 PM
salam
เรียนถามนิดหนึ่ง ผมได้ยินข่าวมาว่า แถวภูเก็ตมีอะไรแปลกๆ ในเรื่องการปฏิบัติอามาล เห็นว่าเป็นพวกสราบันเขียว ผมเองก็ ไม่รู้หัวและหางมากนัก แต่กำลังสงสัยว่าจะเป็น ซูฟี ด้วยหรือเปล่า ใครพอจะมีข้อมูลบ้างครับ
ผมว่าที่แปลกกว่าแถวภูเก็ตคือชีอะกำลังแพร่ขยายอย่างรวดเร็วครับ
Re: มัซฮับและขบวนการ : ซูฟีย์ : หลักการและการปฏิบัติ(ขอพี่น้องชี้แจงข้อเท็จจริงครับ) By: บาชีร Date: พ.ค. 08, 2009, 04:53 PM
ผมเคยอ่านนานมากแล้ว
และรู้ได้เลยว่าอาจารบรรจงบินกาซัน เข้าใจกับแนวทางซูฟีผิดครับ
ทำให้คนเข้าใจผิดไปด้วย
น่าเสียดายยิ่ง