เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: As-Zaleek Date: ก.ค. 29, 2009, 09:10 AM
salam
นาย เมื่อนายยาซีน แกละมงคล กล่าวว่า"ญามาอะห์ ตับลีฆมักจะใช้เรื่องราวในลักษณะนี้มาสอนกันภายในกลุ่ม แล้วก็เชื่อกันเป็นตุเป็นตะเสมอๆ จากเรื่องเล่าข้างต้นนี้ อามีรท่านนี้ที่ออกตับลีฆมากว่า 20 ปี หากสติสัมปชัญญะของอามีรท่านนี้ยังครบ 100 เปอร์เซ็น ก็พอ สามารถสรุปได้ว่า พฤติกรรม ดังกล่าวเกิดจาก การเข้าใจศาสนาแบบซูฟีย์ กล่าวคือ การตรากตรำ ทรมานตน ฝึกฝนจิตใจ ใช้ชีวิตสมถะ ไม่สนใจทางโลก ลบความปรารถนาของตน มองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งไม่จีรังยั่งยืน(ภาษาคนพุทธเรียกเป็นอนิจจัง) ไม่ใช่การเบาความในเรื่องส่วนตัวของอามีรท่านนี้แต่ประการใด ผู้เขียนขอกล่าวถึงแนวทางของลัทธิซูฟีย์สั้นๆว่า ลัทธิซูฟีย์นั้น เป้าหมายสูงสุดคือ การฟะนาอ์ ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดของผู้ที่บำเพ็ญตน ตรากตรำทรมานตน เพื่อสูญสลายตน ไร้ซึ่งความปรารถนาใดๆของมนุษย์ เข้าสู่ความบริสุทธ์ เมื่อความปรารถนาของมนุษย์หมดไปก็เหลือเพียงความปรารถนาของพระเจ้าเท่านั้น เมื่อเข้าสู่สภาวะการ “ ฟานะอ์ ”ก็จะเป็นหนทางไปสู่ “ อิตติฮาด ” เรียกว่าการกลับไปรวมเป็นหนึ่งเดียวระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า แล้วเข้าสู่สภาวะ “ บะกอ ” หมายถึงการดำรงอยู่ในตัวตนของพระเจ้า หรือจะเรียกให้รุนแรงกว่านั้น ก็คือ “ มนุษย์คืออัลลอฮ หรือ กูคืออัลลอฮ ” นั่นเอง แต่ก่อนจะถึงระดับการฟะนาอ์นี้ได้นั้นก็ต้องมี “ มะรีฟัต ”เสีย ก่อน คือ การบรรลุถึงความรู้ถึงพระเจ้าอย่างแท้จริง ที่เกิดจากญาณวิสัย ความรู้ที่ประจักษ์แจ้งโดยมิต้องอาศัยสื่อใดๆ โดยนักซูฟีย์จะเรียกว่า “ กัชฟ์ ” และคนกลุ่มนี้ว่าจะถูกเรียกขานว่า “ อะห์ลิ้ล กัชฟ์ ” เป็น คุณลักษณะของซูฟีย์ในอีกระดับหนึ่ง เรียกง่ายๆว่าเป็นระดับชั้นแนวหน้าของนักซูฟีย์ (ซึ่งญามาอะห์ตับลีฆนั้นคุ้นเคยดีกับคำนี้ดีเพราะมีปรากฏอยู่ในหนังสือ “คุณค่าอาม้าล” หลายต่อหลายแห่ง) แต่ว่าก่อนจะมี “ มะรีฟัต ” โดย อาศัย “ กัซ ” นั้น ก็ต้องผ่านการฝึกฝน ตรากตรำ บำเพ็ญตน ละแล้วซึ่งกิเลสตันหาราคะ มุ่งปฏิบัติอิบาดะห์อย่างเคร่งครัด ต่อสู้กับนัฟซูใฝ่ต่ำของตน เรียกว่าการ “ มูญาฮาดะห์(ความเพียรพยายาม) ” ซึ่งญามาอะห์ตับลีฆนั้นผู้เขียนเข้าใจว่ายังอยู่แค่ในระดับนี้เท่านั้น คือระดับล่างๆเป็นระดับพื้นฐานนั่นเอง"
Re: เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: As-Zaleek Date: ก.ค. 29, 2009, 09:18 AM
นาย เมื่อนายยาซีน แกละมงคล กล่าวว่า ลัทธิซูฟีย์นั้น เป้าหมายสูงสุดคือ การฟะนาอ์
อ่านแค่นี้ก็รู้แล้วว่า คุณยาซีน ญาเฮลมุร็อกกับ (เขลาซับซ้อน) เมื่อมีฟานาอฺ ขั้นต่อไปก็คือ บากอฺ แล้วทำไมเป้าหมายสูงสุดเพียงแค่ฟานาอฺล่ะ แล้วบากอฺเป็นเป้าหมายต่ำฟานาอฺหรืออย่างไร แค่มาดูคำนิยามฟานาอฺและบากอฺของคุณยาซีน แกละมงคลแล้ว ขำเลยครับ
Re: เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: As-Zaleek Date: ก.ค. 30, 2009, 09:42 AM
อ้างอิงคำพูดของคุณยาซีน
นักวิชาการหลายท่านได้ออกมาตักเตือนว่า ความเชื่อความเข้าใจของ ญามาอะห์ตับลีฆนั้นเป็นความเชื่อในแนวซูฟีย์ โดยเฉพาะเรื่องหลักความเชื่อ ( อากีดะห์) ในเรื่องเตาฮีดก็ดี การตะวักกุ้ลก็ดี
ตอบชี้แจง
นักคนใหนบ้างที่ออกมาเตือน เป็นนักวิชาการฟาซิกหรือเปล่า?! และการกล่าวเรื่องความเชื่อ(อะกีดะฮ์หรือเตาฮีด)ต่อญะมาอะฮ์ตับลีฆ เป็นการกล่าวหา เพราะใคร ๆ ก็รู้กันทั่วว่า อะกีดะฮ์วะฮาบีนั้นบิดอะฮ์ อย่ามาพยายามกลบเกลื่อนหลักอะกีดะฮ์ของวะฮาบีของตนดีกว่า
เรามาเข้าเรื่องตะวักกุลกันก่อนดีกว่าครับ
ท่านอิมามอัลกุชัยรีย์ ปราชญ์ซูฟีย์แห่งอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กล่าวว่า
التوكل محله القلب والحركة بالظاهر لا تنافي التوكل بالقلب
"การมอบหมาย(ตะวักกุล) สถานที่ของมัน อยู่ที่หัวใจ และการเคลื่อนไหว(ทำงาน)ด้วยภายนอก ไม่ทำให้ปฏิเสธถึงการมอบหมาย(ตะวักกุล)ด้วยจิตใจ" อัรริซาละฮ์อัลกุชัยรียะฮ์ หน้า 76
ดังนั้นการมอบหมายตามทัศนะของปราชญ์ซูฟีย์ คือจิตใจมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์ การมอบหมาย(ตะวักกุล)เป็นเรื่องของจิตใจ แม้จะมีการทุ่มเททำงานหรือทำมาหากิน ก็มิได้ปฏิเสธการตะวักกุลด้วยแม้แต่น้อย เพราะซูฟีย์นั้นเขาให้พักผ่อนจิตใจโดยมอบหมายต่ออัลเลาะฮ์ ไม่ใช่พักผ่อนร่างกายงอมืองอเท้าไม่ยอมทำอะไร
ต่อไปนี้ เป็นข้อความที่ยืนยันความโง่เขลาของคุณยาซีน ที่มีต่อซูฟีย์ เพราะท่านอิมามอัลฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า
قد يظن الجهال أن شرط التوكل ترك الكسب وترك التداوي والإستسلام للمهلكات وذلك حرام في الشرع
"บางครั้งบรรดาคนโง่เขลา(เช่นคุณยาซีน)คิดว่า เงื่อนไขของการตะวักกุล(ตามทัศนะของซูฟีย์) คือการละทิ้งการทำงาน ละทิ้งการเยียวยารักษา(เมื่อป่วย) และมอบตนเองไปสู่บรรดาสิ่งที่ทำให้เสียหาย และกรณีดังกล่าวนั้น ถือว่าฮะรอมตามหลักศาสนา" หนังสืออัลอัรบะอีน ฟี อุศูลิดดีน 246
คำพูดของอิมามฆอซาลีย์ ปราชญ์ซูฟีย์แห่งอะฮ์ลิสซุนนะฮ์ ได้ยืนยันแล้วว่า การตะวักกุลมอบหมายนั้น ไม่ใช่หมายความว่าไม่ประกอบสัมมาอาชีพ ใครที่คิดว่า ซูฟีย์ที่ตะวักกุลเขาจะไม่ยอมทำอะไร ถือว่าเป็นความโง่เขลาปัญญา กล่าวหาซูฟีย์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์อย่างไร้ยางอายนั่นเอง ดังนั้นเราอย่าถูกวะฮาบีอย่างคุณยาซีนหลอกตุ้มตุ๋นในเรื่องที่ชอบกล่าวหาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์กันน่ะครับ
Re: เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: al-firdaus~* Date: ก.ค. 30, 2009, 10:21 PM
นาย เมื่อนายยาซีน แกละมงคล กล่าวว่า ลัทธิซูฟีย์นั้น เป้าหมายสูงสุดคือ การฟะนาอ์
อ่านแค่นี้ก็รู้แล้วว่า คุณยาซีน ญาเฮลมุร็อกกับ (เขลาซับซ้อน) เมื่อมีฟานาอฺ ขั้นต่อไปก็คือ บากอฺ แล้วทำไมเป้าหมายสูงสุดเพียงแค่ฟานาอฺล่ะ แล้วบากอฺเป็นเป้าหมายต่ำฟานาอฺหรืออย่างไร แค่มาดูคำนิยามฟานาอฺและบากอฺของคุณยาซีน แกละมงคลแล้ว ขำเลยครับ
คนบางคนมีแต่ฟะนาอ์ไม่มีบะกอ ก็เลยไม่เห็นสัจธรรม 
Re: เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: GeT Date: ส.ค. 03, 2009, 06:07 AM
ฟะนาอ์ กับ นิพพาน ต่างกันงัยหรอ
Re: เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: al-azhary Date: ส.ค. 03, 2009, 11:41 AM
salam
เรื่อง ฟะนาอฺและบะกอฺ นั้น ผมก็เคยสอนไว้ในหนังสือฮิกัม จากฮิกัมที่ 29 แต่ไม่ได้ถูกนำลงเว็บ เพราะมันลึกซึ้ง อาจทำให้พี่น้องทั่วไปจะไม่เข้าใจ แต่ก็จะให้ทีมงานตัดไฟล์เสียงเกี่ยวกับเรื่องฟะนาอฺและบะกออฺลงในกระทู้นี้ อินชาอัลเลาะฮ์
นีพพาน (นิบพาน) น. ความดับสนิทแห่งกิเลศและกองทุกข์. ก. ดับกิเลศและกองทุกข์ ในพระไตรปิฎกมักเปรียบนิพพานว่าเหมือนกับไฟที่ดับแล้ว ไม่สามารถบอกได้ว่าไฟที่ดับไปนั้นหายไปไหนหรืออยู่ในสภาพใด
ส่วนคำว่า ฟะนาอฺ นั้น มีรายละเอียดมากมาย หากได้ดูจากหนังสือซูฟีย์ที่ชื่อว่า มะดาริจญฺ อัซซาลิกีน ของท่านอิบนุก็อยยิม จะมีรายละเอียดเรื่องฟะนาอฺอย่างมากมาย เช่นจาก เล่ม 1 หน้า 113 - 122 และจากเล่ม 2 หน้า 498 516 ตีพิมพ์มักตะบะฮ์ อัตเตาฟีกียะฮ์ อียิปต์ ไคโร ซึ่งวะฮาบีน่าจะโน้มเอียงและน้อมรับความเข้าใจบ้าง เนื่องจากท่านอิบนุก็อยยิม เป็นอุลามาอฺชั้นนำของมัซฮับวะฮาบีท่านหนึ่งที่ได้อธิบายเรื่องนี้เองโดยตรง
อนึ่ง คำว่า ฟะนาอฺ คือหัวใจหรือจิตใจของเขามีความรักทราบซึ้งเพ่งพิศผูกพันดื่มด่ำอยู่กับอัลเลาะฮ์ตะอาลา จนกระทั่งหัวใจหรือจิตใจของเขาไม่คิดถึงอะไรอีกแล้ว (ฟะนาอฺ) นอกจากคงเหลืออยู่แต่ผู้ที่เขารักอย่างซาบซึ้งเท่านั้น นั่นก็คืออัลเลาะฮ์ตะอาลา (บะกอฺ)
ท่านอิบนุก็อยยิม กล่าวว่า
إِنَّمَا كَانَتِ الْمَحَبَّةُ أَوَّلَ أَوْدِيَةِ الفَنَاءِ لِأَنَّهَا تَفْنَي خَوَاطِرَ الْمُحِبِّ عَنِ التَّعَلُّقِ بِالْغَيْرِ وَأَوَّلَ مَا يَفْنَي مِنَ الْمُحِبِّ خَوَاطِرَهُ الْمُتَعَلِّقَةَ بِمَا سَوَي مَحْبُوْبَهُ لِأَنَّهُ إِذَا اِنْجَذَبَ قَلْبُهُ بِكُلِّيِّتِهِ إِلَي مَحْبُوْبِهِ إِنْجَذَبَتْ خَوَاطِرُهُ تَبَعاً
แท้จริงความรัก(อันซาบซึ้งดื่มด่ำต่ออัลลอฮ์ที่มีอยู่ในจิตใจของเขา) เป็นเริ่มแรกของห่วงการ ฟะนาอฺ เพราะความรัก(ต่ออัลเลาะฮ์อย่างซาบซึ้งถวินหา)นั้น จะลบบรรดาความนึกคิดต่าง ๆ ของผู้ที่มีความรัก(ต่ออัลเลาะฮ์) จากการไปผูกติดอยู่กับผู้อื่นจากพระองค์ และ(ความรักอันซาบซึ้งดื่มด่ำอยู่กับอัลเลาะฮ์นั้น)คือสิ่งแรกที่(ฟะนาอฺ)ลบออกไปจาก(จิตใจ)ของผู้ที่มีความรัก(ต่ออัลเลาะฮ์)ซึ่งบรรดาความนึกคิดต่าง ๆ ที่ไปผูกติดอยู่กับสิ่งที่อื่นจาก(อัลเลาะฮ์)ผู้ถูกรัก เพราะเมื่อหัวใจทั้งหมดของเขาได้ถูกดึง(ซาบซึ้งดื่มด่ำถวินหา)ยังไป(อัลเลาะฮ์)ผู้ถูกรัก บรรดาความรู้สึกนึกคิดของเขาก็จะถูกดึง(ซึมซาบไปยังการรักพระองค์)ตามมา(โดยไม่ไปสนใจสิ่งอื่นจากพระองค์เลย) หนังสือ มะดาริจญฺ อัซซาลิกีน ของท่านอิบนุก็อยยิม 2/240 ตีพิมพ์ อัลมักตะบะฮ์ อัตเตาฟีกียะฮ์ ไคโร อียิปต์
พี่น้องคงจะเห็นความแตกต่างระหว่างจิตทีว่างเปล่ากับจิตที่ผูกพันอยู่กับอัลเลาะฮ์ตะอาลาแล้วน่ะครับ ส่วนผู้ที่แปลและคิดว่า มะริฟะฮ์แปลว่า ตรัสรู้ และแปลฟะนาอฺว่า นิพพาน ก็เพราะว่า เขาไม่รู้ เขาเขลา เมื่อไม่รู้และไม่เข้าใจก็จะต่อต้านเป็นศัตรู เขาไม่ศึกษาตะเซาวุฟโดยตรง แต่เขาศึกษาโดยมีความเชื่อเบื้องต้นว่า ตะเซาวุฟ(ซูฟีย์)นำมาจากพุทธ เขาได้วิจารณ์ตะเซาวุฟโดยที่ยังไม่เรียนและไม่เข้าใจตะเซาวุฟอย่างแท้จริง การกล่าวหาใส่ร้ายจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น
ส่วนข้อเขียนของคุณ ยาซีน แกละมงคล นั้น เมื่อได้อ่านแล้ว รู้สึกว่าเขากล่าวหาซูฟีย์และเขลาเอาเสียมาก ๆ เลยทีเดียว ซึ่งผลตามมาจากบทความของคุณ ยาซีน ก็คือ ฮุกุ่มซูฟีย์และพี่น้องตับลีฆเป็นกาเฟรตกมัรตัดโดยนัย แต่ถ้าหากจิตใจของคุณยาซีนเชื่อฮุกุ่มดังกล่าวที่มีต่อพี่น้องตับลีฆ ก็ขอให้คุณยาซีนด้วยหรือให้เตาบะฮ์จากข้อครหาอย่างไร้ความเข้าใจดังกล่าวเพราะฮุกุ่มมันอาจจะกลับไปหาคุณยาซีนเอง และอินชาอัลเลาะฮ์ ว่าง ๆ จะมาชี้แจงทีละประเด็น
واللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَالَي أَعْلَي وَأَعْلَمُ
Re: เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: Al Fatoni Date: ส.ค. 03, 2009, 02:54 PM
ผมรู้สึกเบื่อมาก กับการอ่านหนังสือวิจารณ์ตศ็อววุฟของสมัยนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย หรือภาษามลายู รวมทั้งภาษาอังกฤษ เนื้อหาโดยทั่วไปนั้น จะเป็นภาษาใดก็ตาม มันเหมือนกับ Copy ความคิดกัน แล้วเอามานำเสนอ วิจารณ์กัน
ผมไม่รู้จะชื่นชมกับตรรกะในการวิจารณ์ของหนังสือพวกนี้ดี หรือจะประนามเพราะความไม่รู้เรื่องเอาเสียเลยของผู้แต่ง, เรียบเรียง หรือวิจารณ์เหล่านี้ มันแสดงถึงความไม่รู้ที่สุ่มอยู่ในอวัยวะภายใต้ผมของพวกเขาอย่างไม่น่าให้อภัย - วัลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลามุอลัยกุม
Re: เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: al-azhary Date: ส.ค. 04, 2009, 03:12 AM
salam
ใช่แล้วครับน้องอัลฟาตอนีย์ หากเราจะโต้ชีอะฮ์ก็ต้องไปศึกษาจากตำราชีอะฮ์ หากเราจะโต้วิจารณ์วะฮาบีก็ต้องไปศึกษาจากตำราต่าง ๆ ที่อุลามาอฺวะฮาบีได้ประพันธ์ได้สอนกันเอาไว้ เฉกเช่นเดียวกัน หากผู้ใดที่ต้องการจะวิจารณ์แนวทางของซูฟีย์ ก็เขาต้องไปศึกษาจากตำราต้นฉบับของปราชญ์ซูฟีย์อย่างแท้จริง ไม่ใช่ไปอ่านจากหนังสือแปลมาเป็นไทย มาจากภาษาอังกฤษ ความรู้ที่เขามีต่อซูฟีย์ คือรู้ด้วยการอ่าน ไม่ใช่ด้วยการร่ำเรียนโดยตรง ความวิบัติย่อมบังเกิดครับ แม้จะเรียนถึงระดับด็อกเตอร์ก็ตาม หากไม่ได้เรียนโดยตรง เขาก็รู้ไม่จริง
ต่อมาคนที่ชอบอ่านหนังสือชอบค้นคว้า ต้องการที่จะวิจารณ์ซูฟีย์ สิ่งที่เขาทำได้ก็คือ ไปอ่านจากตำราภาษาไทยที่ไม่ใช่ต้นฉบับจากตำราอุลามาอฺซูฟีย์แห่งอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ความคลาดเคลื่อนย่อมเกิดขึ้นอย่างมิต้องสงสัย ยิ่งผู้รู้ที่ไม่เรียนวิชาเกี่ยวกับตะเซาวุฟ แต่ข้ามขั้นไปค้นคว้าตำราที่วิจารณ์ซูฟีย์แบบอคติ ความรู้หรือทัศนะคติที่เขามีต่อซูฟีย์ ก็จะมีความเข้าใจเบี่ยงเบน กล่าวหาไปทั่วเลยทีเดียว วัลอิยาซุบิลลาฮ์
วัลลอฮุอะลัม
Re: เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: al-azhary Date: ส.ค. 04, 2009, 08:52 AM
พอ สามารถสรุปได้ว่า พฤติกรรม ดังกล่าวเกิดจาก การเข้าใจศาสนาแบบซูฟีย์ กล่าวคือ การตรากตรำ ทรมานตน ฝึกฝนจิตใจ ใช้ชีวิตสมถะ ไม่สนใจทางโลก ลบความปรารถนาของตน มองทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งไม่จีรังยั่งยืน(ภาษาคนพุทธเรียกเป็นอนิจจัง)
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ
การพูดว่า ตรากตรำและทรมารตน นั้น เป็นคำพูดที่เสริมเติมแต่งตามนัฟซูอารมณ์ใฝ่ต่ำของผู้ที่เขียนมากกว่า เพราะซูฟีย์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์นั้น เขามีความเพียรพยายามบากบั่นและมีความอดทน(ไม่ใช่ทรมารตน) ในการหมั่นทำอะมัลอิบาดะฮ์ทั้งฟัรดูและสุนัต ทำการถือศีลอด ทำการซิกรุลลอฮ์อย่างสม่ำเสมอ
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า
وَاللهُ يُحِبُّ الصَّابِرِيْنَ
และอัลเลาะฮ์ทรงโปรดบรรดาผู้มีความอดทน อาลิอิมรอน 147
พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า
إِنَّ اللهَ يُحِبُّ مَعَ الصَّابِرِيْنَ
แท้จริงอัลเลาะฮ์ทรงอยู่พร้อมกับบรรดาผู้มีความอดทน อัลบะกอเราะฮ์ 153
ดังนั้น การหมั่นทำอะมัลอิบาดะฮ์และสร้างความใกล้ต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา ต้องมีความอดทนและมีการมุญาฮะดะฮ์(ต่อสู้)สูง เพราะมันค้านกับนัฟซูอารมณ์ใฝ่ต่ำที่ชัยฏอนกระซิบกระซาบให้ห่างไกลจากอัลเลาะฮ์ตะอาลา และอย่าสร้างความใกล้ชิดต่อพระองค์
ดังนั้นต้องหมั่นทำอะมัลอิบาดะฮ์มาก ๆ ซิกรุลลอฮ์มาก ๆ ตามที่อัลกุรอานได้ระบุเอาไว้ว่า
يَا أَيَّهَا الَّذِيْنَ أَمَنُوْا اذْكُرُوا اللهَ ذِكْراً كَثِيْراً
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกเจ้าจงซิกรุลลอฮ์ให้มาก ๆ อัลอะห์ซาบ 41
ท่านอะบูฮุร็อยเราะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ سَبَقَ الْمُفْرِدُونَ قَالُوا وَمَا الْمُفْرِدُونَ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ الْمُسْتَهْتَرُونَ فِي ذِكْرِ اللَّهِ يَضَعُ الذِّكْرُ عَنْهُمْ أَثْقَالَهُمْ فَيَأْتُونَ يَوْمَ الْقِيَامَةِ خِفَافًا
ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า อัลมุฟัรริดุนจะนำหน้า บรรดาซอฮาบะฮ์ถามว่า แล้วอะไรคือ อัลมุฟัรริดูนครับ โอ้ ท่านร่อซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม? ท่านตอบว่า คือบรรดาบุคคลที่หลงไหลในการซิกรุลลอฮ์ ซึ่งการซิกรุลลอฮ์ทำให้บาปอันหนักอึ้งของพวกเขาหมดไป แล้วในวันกิยามะฮ์พวกเขาจะมา(หาอัลเลาะฮ์)ในลักษณะที่เบา(จากบาปทั้งหลาย) รายงานโดยอัตติรมีซีย์ (3520) ท่านกล่าวว่า ฮะดีษ ฮะซัน
ผู้อธิบายหนังสือสุนันอัตติรมีซีย์ ได้อธิบายว่า
وَقَالَ الْمُنْذِرِيُّ : الْمُسْتَهْتَرُونَ بِذِكْرِ اللَّهِ هُمْ مُولَعُونَ بِهِ الْمُدَاوِمُونَ عَلَيْهِ لَا يُبَالُونَ مَا قِيلَ فِيهِمْ وَلَا مَا فُعِلَ بِهِمْ
ท่านอัลมุงซิรีย์ได้กล่าวว่า อัลมุสตะห์ตะรูนบิซิกริลลาฮ์ คือ บรรดาผู้ที่หลงไหลเคริบเคริ้มในการซิกรุลลอฮ์ พวกเขาคือผู้ซิกรุลลอฮ์อย่างเป็นประจำสม่ำเสมอ พวกเขาไม่ใส่ใจสิ่งที่ถูกกล่าวว่าในตัวของพวกเขา และไม่ใส่ใจสิ่งที่ได้ถูกกระทำแก่พวกเขา หนังสือตั๊วะห์ฟะตุลอะห์วาซีย์ บทว่าด้วยเรื่อง อัดดะวาต อัรร่อซูลิลลาห์
แต่ปัจจุบันได้เกิดขึ้นแล้ว บรรดาผู้อ้างตามอัลกุรอานและซุนนะฮ์บางกลุ่ม พยายามดูหมิ่นดูแคลนบรรดาพี่น้องมุสลิมที่ชอบรวมตัวกันซิกรุลลอฮ์ ซ่อลาวาตนบี ถูกกล่าวหาว่า ซิกรุลลอฮ์ซ่อลาวาตกันพร่ำพรื่อ ที่กล่าวหาเช่นนั้น ก็เพราะเขาตามซุนนะฮ์นบีเพียงแค่ลมปากตามไม่แท้จริงนั่นเอง
ดังนั้นการที่อะมีรญะมาอะฮ์ตับลีฆยึดแนวทางซูฟีย์ โดยมีความหลงไหลดื่มด่ำในการซิกรุลลอฮ์ จนกระทั่งมีจิตใจมีความสุขและผูกพันอยู่กับพระองค์นั้น จึงไม่แปลกอะไรที่พวกเขามองว่าทุกสิ่งทุกอย่างในดุยาไม่จีรัง เพราะนั่นคืออีหม่านที่มีความซาบซึ้งในอัลกุรอานและซุนนะฮ์อย่างแท้จริง ไม่ใช่ประกาศตามอัลกุรอานและซุนนะฮ์เพียงแค่ลมปากเหมือนกับบางกลุ่มในปัจจุบัน
ฉะนั้นเมื่อจิตใจผูกพันมั่นคงในอัลเลาะฮ์อย่างแท้จริง ดุนยาก็ไม่มีคุณค่าอะไรอย่างแท้จริงในจิตใจของเขามากไปกว่าความรักอันซาบซึ้งที่มีให้แด่พระองค์
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า
كُلُّ مَنْ عَلَيْهَا فَانٍ وَيَبْقَي وَجْهُ رَبِّكَ ذُو الجَلَالِ وَالْإِكْرَامِ
ทุก ๆ สิ่งที่อยู่บนพื้นแผ่นดินนี้ ย่อมดับสูญมลายสิ้น และอัลเลาะฮ์ผู้อภิบาลของเจ้าผู้ทรงยิ่งใหญ่และทรงโปรดปรานเท่านั้นที่คงอยู่ อัรเราะห์มาน 26-17
คำว่า فَانٍ เป็นสิ่งที่ดับสูญมลายสิ้น เป็น إِسْمُ الفَاعِلِ นามประธาน ซึ่งบ่งชี้ถึง الحَالُ المُسْتَمِرَّةُความเป็นปัจจุบันที่ยังคงมีผลสืบเนื่องไปยังอนาคต หมายความ แก่นแท้ของทุก ๆ สิ่งนั้นฮุกุ่มในตัวของมันคือดับสูญมลายสิ้นไม่จีรังอะไรเลยทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นซูฟีย์ที่มีความซาบซึ้งในอัลกุรอานนั้น พวกเขาจะมองถึงแก่นแท้ของสิ่งนั้น ๆ ที่อัลเลาะฮ์ได้ทรงบอกเอาไว้
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า
كُلُّ شَيْءٍ هَالِكٌ إِلَّا وَجْهَهُ
ทุก ๆ สิ่งพินาศสิ้น(ไม่จีรัง) นอกจากอัลเลาะฮ์เท่านั้น อัลก่อซ็อซ 88
คำว่า هَالِكٌ เป็นสิ่งพินาศสิ้น เป็น إِسْمُ الفَاعِلِ นามประธาน ซึ่งบ่งชี้ถึง الحَالُ المُسْتَمِرَّةُความเป็นปัจจุบันที่ยังคงมีผลสืบเนื่องไปยังอนาคต หมายความ แก่นแท้ของทุก ๆ สิ่งนั้นฮุกุ่มในตัวของมันคือพินาศสิ้นไม่จีรังอะไรเลยทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นซูฟีย์ที่มีความซาบซึ้งในอัลกุรอานนั้น พวกเขาจะมองถึงแก่นแท้ของสิ่งนั้น ๆ ที่อัลเลาะฮ์ได้ทรงบอกเอาไว้ ในอัลกุรอานเช่นกัน
ดังนั้นเมื่ออัลเลาะฮ์ได้ทรงฮุกุ่มทุก ๆ สิ่งที่อื่นจากพระองค์มีคุณลักษณะ هَالِكٌ เป็นสิ่งที่พินาศสิ้น ในปัจจุบันและอนาคต ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ก็ได้ฮุกุ่มทุก ๆ สิ่งที่อื่นจากอัลเลาะฮ์ไว้เหมือนกันว่า เป็นสิ่งที่โมฆะ ไร้แก่นสานแห่งการมีอยู่จริง
ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า บทกวีที่สัจจริงที่สุดที่นักกวีได้กล่าวก็คือ
أَلَا كُلُّ شَيْءٍ مَا خَلَا اللهَ بَاطِلُ
พึงทราบเถิด ทุก ๆ สิ่งที่อื่นจากอัลเลาะฮ์นั้น โมฆะ(ไม่มีอยู่จริง) รายงานโดยบุคอรีย์ (6008)
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ อุลามาอฺระดับแนวหน้าของแนวทางวะฮาบี ได้อธิบายฮะดีษนี้ว่า
كٌلُّ مَا خَلَا اللهَ فَهُوَ مَعْدُوْمٌ بِنَفْسِهِ
ทุกสิ่งที่อื่นจากอัลเลาะฮ์นั้น ด้วยตัวของมันเองนั้นไม่มี(อยู่จริง) มัจญฺมั๊วะ อัลฟะตาวา 2/425
เมื่อแก่นแท้ของสรรพสิ่งทั้งหลาย มีคุณลักษณะโมฆะมลายสิ้นไม่จีรังตามที่ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวไว้ อัลเลาะฮ์ตะอาลา ก็ทรงฮุกุ่มสิ่งที่เป็นโมฆะว่า
إِنَّ البَاطِلَ كَانَ زَهُوْقاً
แท้จริงสิ่งที่บาฏิล(โมฆะ)นั้น ย่อมมลายสิ้น อัลอิสรออฺ 81
ท่านอิมาม มุฮัมมัด อะลี บิน ซ่อฮิร อัลฮะซะนีย์ ได้กล่าวว่า
مَعْنَي زَهُوْقِ الْبَاطِلِ اِنْتِفَاءُ أَنْ يَكُوْنَ الْوُجُوْدُ صِفَةً لِلأَشْيَاءِ ثُمَّ قَالَ : إِنَّ الْبَاطِلَ كَانَ زَهُوْقاً أَيْ غَيْرَ مَوْصُوْفٍ بِصِفَةِ الْوُجُوْدِ قَبْلَ ذَلِكَ أَيْضاً
(ท่านอิมามอับดุลฆอนีย์อันนาบุลุซีย์ได้กล่าวว่า) ความหมายของคำว่า บาฏิล(สิ่งอื่นจากอัลเลาะฮ์)ย่อมมลายสิ้นนั้น คือถูกปฏิเสธการมีคุณลักษณะ(ซีฟัต)แห่งการมี(อยู่จริง)แก่บรรดาสรรพสิ่งทั้งหลาย จากนั้นท่าน(อิมามอับดุลฆอนีย์ อันนาบุลุซีย์)กล่าวว่า หมายถึง (สรรพสิ่งทั้งหลาย) ไม่มีคุณลักษณะแห่งการมีอยู่จริงก่อนจาก(อัลเลาะฮ์จะปรากฏมีอยู่ในหัวใจของเขาด้วยการซิรุลลอฮ์)ด้วยเช่นกัน ฟะวาอิด ญะลีละฮ์ ตักชิฟุ อันมะอฺนา วะห์ดะติลวุญูด หน้า 100
สรุปก็คือ บรรดาสรรพสิ่งทั้งหลายนั้น ในแก่นแท้ตัวของมันเอง คือ ไม่มี หมายถึง ไม่มีซีฟัตแห่งการมีอยู่จริง ในจิตใจของผู้ที่มีความรักผูกพันอยู่กับอัลเลาะฮ์ เพราะผู้ที่มีคุณลักษณะแห่งการมีอยู่ที่แท้จริง คือ อัลเลาะฮ์ เพียงองค์เดียวเท่านั้น ส่วนสรรพสิ่งทั้งหลายที่อื่นจากอัลเลาะฮ์ ย่อมมีด้วยกับพระองค์ มีแบบไม่จีรังเพราะแก่นแท้การมีของมันไม่จีรัง อุลามาอฺซูฟีย์จึงมองสรรพสิ่งทั้งหลายไปที่แก่นแท้ของมันตามที่อัลกุรอานและซุนนะฮ์ได้ยืนยันไว้ ไม่ได้มองไปที่รูปภายนอกของสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีเหมือนกับเงาคือไม่มีด้วยตัวของมันเอง อยู่ไม่นานเดี๋ยวเงามันก็หายไปเหมือนกับดุนยาแห่งนี้
ท่านอิบนุก็อยยิม (อุลามาอฺที่วะฮาบีให้การยอมรับในระดับแนวหน้า) ได้กล่าวถึงความไม่จีรังของสรรพสิ่งทั้งหลาย ความว่า
وَإِنَّمَا الْفَنَاءُ أَنَّكَ إِذَا نَظَرْتَ إِلَي ذَاتِهِ بِقَطْعِ النَّظَرِ عَنْ إِيْجَادِ مُوْجِدِهِ لَهُ كَانَ مَعْدُوْماً وَإِذَا نَظَرْتَ إِلَيْهِ بَعْدَ وُجُوْدِهِ مَعَ قَطْعِ النَّظَرِ عَنْ إِبْقَاءِ مُوْجِدِهِ لَهُ اِسْتَحَالَ بَقَاءُهُ فَإِنَّهُ إِنَّمَا يَبْقَي بِإِبْقَائِهِ كَمَا يُوْجَدُ بِإِيْجَادِهِ فَهَذَا مَعْنَي قَوْلِنَا ( أَنَّهُ نَفْسُهُ مَعْدُوْمٌ وَفَانٍ) فَافْهَمْهُ
แท้จริงการ ฟานาอฺ นั้น เมื่อท่านได้มอง(ด้วยจิตใจของท่าน)ยังตัวของสิ่งหนึ่ง - ด้วยการไม่คำนึงถึงการสร้างของผู้ที่ทำให้มันเกิดขึ้นมาแล้วนั้น - แน่นอนว่า ตัวของมันย่อมเป็นสิ่งที่ไม่มี (เพราะแต่เดิมนั้นมันเป็นสิ่งที่ยังไม่มีมาก่อนหากอัลเลาะฮไม่สร้างให้มันมี มันก็ไม่มี) และเมื่อท่านได้มอง(ด้วยจิตใจ)ยังสิ่งหนึ่งจากหลังจากที่มันมีมาแล้ว พร้อมกับไม่คำนึงถึงการที่อัลเลาะห์ให้มันคงอยู่ แน่นอนว่า เป็นไปไม่ได้ที่ตัวของสิ่งนั้นจะมั่นคงอยู่ได้ เพราะว่าแท้จริงมันคงอยู่ได้ ก็ด้วยกับการที่อัลเลาะฮ์ให้มันคงอยู่เหมือนกับการที่มันมีขึ้นมาได้ ก็ด้วยการที่อัลเลาะฮ์ทำให้มันมีขึ้นมา นี้แหละคือความหมายคำพูดของเราที่ว่า แท้จริงตัวของมันเองนั้นไม่มีและมลายสิ้น ท่านโปรดจงเข้าใจ หนังสือมะดาริจญฺ อัซซาลิกีน ของท่านอิบนุก็อยยิม 2/499
ดังนั้นเมื่อสายตาที่มองได้กลั่นออกมาจากจิตใจอันซาบซึ้งในอัลกุรอานและซุนนะฮ์ ซาบซึ้งในความรักต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา เขามองสรรพสิ่งทั้งหลาย ไม่มี หมายถึง แก่นแท้ของสรรพสิ่งทั้งหลายมลายสิ้นไม่จีรัง (ฟะนาอฺ) สิ่งที่คงเหลืออยู่ (บะกออฺ)ในจิตใจของเขาคือผู้ที่เขาต้องรักเหนือทุก ๆ สิ่ง นั่นก็คืออัลเลาะฮ์ตะอาลาองค์เดียวเท่านั้นที่มีอยู่จริงนั่นเอง
พระองค์ทรงตรัสความว่า
وَاللهُ خَيْرٌ وَأَبْقَي
อัลเลาะฮ์เท่านั้น เป็นผู้ทรงดีเลิศและเป็นผู้ทรง(จีรัง)ยั่งยืนยิ่ง ฏอฮา 73
เมื่ออัลเลาะฮ์ทรงยั่งยืนจีรังอย่างแท้จริง จิตใจของปราชญ์ซูฟีย์ ก็จะจดจ่ออยู่กับอัลเลาะฮ์ผู้จีรังยั่งยืน ไม่ไปหมกมุ่นอยู่กับดุนยาที่ไม่จีรัง
ดังนั้น เมื่อเราเห็นซูฟีย์หรืออะมีรตับลีฆ มองเห็นสิ่งทั้งหลายไม่จีรัง นั่นเพราะเขามีความซาบซึ้งในอัลกุรอานและซุนนะฮ์ หากเราไม่สามารถมีสภาวะจิตใจเหมือนพวกเขาได้ ก็ต้องสำนึกในตนเองว่าอ่อนแอ หากแม้ว่าจิตใจเรายังทำไม่ได้ ก็ต้องมีจิตใจที่ใฝ่หาสัจธรรมดังกล่าวเท่าที่สามารถกระทำได้อย่าไปดูถูกดูแคลนคนที่ไม่เหมือนเราในเรื่องสัจธรรม
وَااللهُ تَعَالَي أَعْلَي وَأَعْلَمُ
Re: เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: al-azhary Date: ส.ค. 04, 2009, 09:22 AM
เมื่อเข้าสู่สภาวะการ ฟานะอ์ ก็จะเป็นหนทางไปสู่ อิตติฮาด เรียกว่าการกลับไปรวมเป็นหนึ่งเดียวระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า แล้วเข้าสู่สภาวะ บะกอ หมายถึงการดำรงอยู่ในตัวตนของพระเจ้า หรือจะเรียกให้รุนแรงกว่านั้น ก็คือ มนุษย์คืออัลลอฮ หรือ กูคืออัลลอฮ นั่นเอง
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ
การฟะนาอฺและบะกออฺนั้น เป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องหลัก อัลอิห์ซาน ซึ่งว่าด้วยเรื่อง ความรู้สึกทางจิตใจ(ที่ผูกพันอยู่กับอัลเลาะฮ์) ไม่ใช่ด้วยกับหลัก สติปัญญา ที่ว่าด้วยความเชื่ออะกีดะฮ์ และเรื่อง หลักปฏิบัติ ทางร่างกายเกี่ยวกับฟิกห์
คำว่า มนุษย์คืออัลเลาะห์ เป็นคำพูดที่มาจากอารมณ์ใฝ่ต่ำจากชัยฏอนที่มีอยู่ในตัวของคุณยาซีนที่มีความอคติต่อซูฟีย์ ส่วนคำว่า กึ่งกูกึ่งอัลเลาะฮ์ นั้น หากจำไม่ผิดผมได้เคยอ่านจากหนังสือ ภาษาไทยที่ชื่อ จิตวิทยาอิสลาม ซึ่งเป็นคำพูดที่ไม่ได้อ้างอิงจากตำราใด ๆ ของปราชญ์ซูฟีย์ แต่เป็นคำพูดเกี่ยวกับฟะนาอฺหรือเป็นคำพูดในช่วงสภาวะฟะนาอฺ ซึ่งส่วนตัวผมเองนั้น ก็ไม่เห็นด้วยและคัดค้านเป็นอย่างมาก เพราะไม่บังควรที่จะนำความรู้สึกในบางช่วงที่อยู่ในขณะฟะนาอฺมาเขียนเป็นตัวอักษรให้อ่าน โดยไม่ชี้แจงรายละเอียด เพราะความรู้สึกรักอย่างดื่มด่ำเพ้อต่ออัลเลาะฮ์โดยลืมตัวและแยกแยะอะไรไม่ได้ในชั่วเวลาหนึ่งในขณะฟานาอฺนั้น เราไม่ควรที่จะเขียนขึ้นเพื่อให้คนอื่นรู้สึกแบบที่เรารู้สึก จนเป็นผลทำให้คนไม่รู้พยายามเจตนาหรือจินตนาการให้รู้สึกแบบ กึ่งกูกึ่งเอัลเลาะฮ์ ซึ่งเป็นอันตรายและเป็นผลเสียไม่มีผลดีอะไรอาจจะถึงขั้นกุฟุร! ยิ่งกว่านั้นอาจจะมีคนที่ตับบอดไม่รู้ไม่เข้าใจแล้วไม่ถามรายละเอียดจากนั้นก็เข้าใจกันเอาเอง อาจจะคิดว่าไปว่านั่นคือการ อิตติฮาดและฮุลูล (การเป็นหนึ่งเดียวกับอัลเลาะฮ์หรืออัลเลาะฮ์สถิตอยู่ในตัวของเขา) ซึ่งความจริงแล้วมันไม่ใช่เช่นนั้น
การมีความรู้สึกที่ว่า กึ่งกูกึ่งอัลเลาะฮ์ นั้น เป็นความรู้สึกที่อยู่ในช่วงระยะเวลาของฟะนาอฺที่อาจจะเกิดขึ้นแก่บางคนเท่านั้น ไม่ใช่จะนำมาเป็นบรรทัดฐานแก่ทุกคน ยิ่งกว่านั้นยังไม่สามารถนำมาเป็นรัตถะของวิชาตะเซาวุฟด้วยซ้ำไป
อนึ่ง การซิกุรลลอฮ์มาก ๆ เป็นคุณลักษณะของมุอฺมิน คนเรารักสิ่งใดหรือรักผู้ใดก็จะกล่าว , คิดคำนึง , รำลึกถึง , สิ่งนั้นหรือผู้นั้นมาก จนกระทั่งจิตใจไม่พะวงหรือไปคิดกับสิ่งอื่นอีกแล้ว เมื่อดูโทรทัศน์รายการที่เขาชอบ จิตใจของเขาก็จะถูกดึงเข้าไปในรายการโทรทัศน์นั้นด้วย จนกระทั่งไม่ได้ยินเสียงผู้เรียกก็มี แต่ต้องซ้ำกันถึงจะได้ยิน เพราะจิตใจของเขาเข้าไปอยู่หรือมุ่งจดจู่อยู่กับรายการที่เขาชอบ บรรดาเพื่อนหญิงของพระนางสุไลคอต้องปลอกผลไม้โดยมีดบาดมือตนเองโดยไม่รู้สึกเจ็บเมื่อได้เห็นความหล่อเหลางดงามของนบียูซุฟ อะลัยฮิสลาม นั่นก็เพราะจิตใจของพวกนางจดจู่อยู่กับนบียูซุฟโดยสติสตังไม่รู้สึกมีดที่กำลังบาดมือพวกนางอีกแล้ว ดังนั้นผู้ที่อยู่ในสภาวะฟะนาอฺนั้น กล่าวคือ บางคนจิตใจของเขาดื่มด่ำความรักที่มีต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา จนกระทั่งเพ้อต่ออพระองค์โดยสติปัญญาไม่สามารถแยกแยะอะไรได้ในบางขณะอันเนื่องมาจากสภาวะจิตใจของมนุษย์ไม่สามารถแบกรับการตะญัลลีย์(สำแดง)ซีฟาตอันยิ่งใหญ่และวิจิตงามของอัลเลาะฮ์ที่มีอยู่ในจิตใจของเขาได้ เมื่อเขาพูดอะไรออกมาในขณะที่สติปัญญาไม่สามารถแยกแยะอะไรได้ ก็จะเป็นคำพูดที่เพ้อในอัลเลาะฮ์ เช่นกล่าวว่า กึ่งกูกึ่งอัลเลาะฮ์ , กูคืออัลเลาะฮ์ , ไม่มีสิ่งใดอยู่ในเสื้อนอกจากอัลเลาะฮ์ , หรือมหาบริสุทธิ์มีแด่ฉัน เป็นต้น นั่นคือคำพูดที่อยู่ในขณะจิตใจอยู่ในสภาวะฟะนาอฺ พูดโดยไม่รู้สึกตัวและไม่สามารถแยกแยะอะไรได้ หลักการของศาสนาจึงผ่อนปรนให้
ท่านอิบนุก็อยยิม (อุลามาอฺอาวุโสที่วะฮาบีให้การยอมรับ) กล่าวว่า
وَفِيْ هَذِهِ الْحَالِ قَدْ يَقُوْلُ صَاحِبُهَا مَا يُحْكَي عَنْ أَبِيْ يَزِيْدَ أَنَّهُ قَالَ : سُبْحَانِْي أَوْ مَا فِي الْجُبَّةِ إِلَّا اللهُ وَنَحْوُ ذَلِكَ مِنَ الكَلِمَاتِ الَّتِيْ لَوْصَدَرَتْ عَنْ قَائِلِهَا وَعَقْلُهُ مَعَهُ لَكَانَ كَافِراً وَلَكِنْ مَعَ سُقُوْطِ التَّمْيِيْزِ وَالشُّعُوْرِ ، قَدْ يُرْتَفَعُ عَنْهُ قَلَمُ الْمُؤَاخَذَةِ
ในสภาวะจิตใจ(ฟะนาอฺ)นี้ บางครั้งผู้ที่มีสถาวะจิตใจเช่นนี้อาจจะกล่าวสิ่งที่ได้เล่าจากท่านอะบียะซีด (อัลบัสฏอมีย์) จากคำพูดของเขาที่ว่า มหาบริสุทธิ์มีแด่ฉัน หรือ ไม่มีอะไรในเสื้อนี้นอกจากอัลเลาะฮ์ และบรรดาถ้อยคำอื่น ๆ เช่นเดียวกันนี้ ซึ่งถ้าหากผู้ที่กล่าวมันนั้น สติปัญญาได้มีอยู่พร้อมกับเขา(ซึ่งทำให้เขาเชื่อเช่นนั้น) แน่นอนเขาย่อมเป็นกาเฟร แต่ทว่าหากเขา(ได้พูดออกมาโดย)อยู่พร้อมกับสภาวะที่(สติปัญญา)ไม่สามารถแยกแยะและไม่มีความรู้สึกตัวแล้ว บางครั้งปากกาบันทึกการเอาผิดกับเขาอาจจะถูกยกไป หนังสือมะดาริจญฺ อัซซาลิกีน 1/118
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ ได้กล่าวว่า
وَلَمْ يَكُنْ ذَلِكَ بِذَنْبٍ مِنْهُ كَانَ مَعْذُوْراً غَيْرَ مُعَاقَبٍ عَلَيْهِ مَا دَامَ غَيْرَ عَاقِلٍ...فَهَذِهِ الْحَالُ تَعْتَرِيْ كَثِيْراً مِنْ أَهْلِ الْمَحَبَّةِ وَالإِرَادَةِ فِيْ جَانِبِ الْحَقِّ...فَإِنَّهُ يَغَيْبُ بِمَحْبُوْبِهَ عَنْ حُبِّهِ وَعَنْ نَفْسِهِ وَبِمَذْكُوْرِهِ عَنْ ذِكْرِهِ...فَلَا يَشْعُرُ حِيْنَئِذٍ بِالتَّمْيِيْزِ وَلَا بِوُجُوْدِهِ ، فَقَدْ يَقُوْل ُفِيْ هِذِهِ الْحَالِ : أَنَا الْحَقُّ أَوْ سُبْحَانِيْ أَوْ مَا فِي الْجُبَّةِ إِلَّا اللهُ وَنَحْوُذَلِكَ
(บางครั้งสภาวะฟะนาอฺทำให้บางคนพูดสิ่งที่ทำให้เกิดการที่อัลเลาะฮ์เป็นหนึ่งเดียวหรือพระองค์ทรงสิงสถิตอยู่กับมัคโลค)ดังกล่าวนั้น ย่อมไม่เป็นบาปที่มาจากเขา ซึ่งจะถูกผ่อนปรนอภัยให้ โดยไม่ถูกลงโทษตราบที่เขาอยู่ในสภาวะที่ไม่มีสติปัญญา(เพ้ออยู่กับอัลเลาะฮ์ไม่สามารถแยกแยะอะไรได้ในช่วงขณะหนึ่ง) ...ดังนั้นสภาวะเช่นนี้ ได้เกิดขึ้นมากมายแก่ผู้ที่มีความรักต่ออัลเลาะฮ์และยอมมอบตัวเองให้เป็นไปตามความต้องการ(อิรอดะฮ์)ของพระองค์...เพราะด้วย(ความรักอันดื่มด่ำ)ต่ออัลเลาะฮ์ผู้เป็นที่รักของเขา ทำให้เขาไม่รู้สึกถึงการมีเขาและมีตัวเอง และด้วยกับอัลเลาะฮ์ที่ถูกกล่าวรำลึก(การซิกรุลลอฮ์ต่อพระองค์อย่างดื่มด่ำ) ทำให้เขาไม่รู้สึกถึงการกล่าวซิกิรของเขา...ในขณะนั้นเขาจึงไม่รู้สึกในการแยกแยะได้หรือไม่มีการแยกแยะได้ จนบางครั้งทำให้เขากล่าวในสภาวะฟะนาอฺอันนี้ว่า ฉันคืออัลเลาะฮ์ หรือ มหาบริสุทธิ์จงมีแด่ฉัน หรือ ไม่มีสิ่งใดในเสื้อของฉันนอกจากอัลเลาะฮ์ และอื่น ๆจากสิ่งดังกล่าว หนังสือมัจญฺมั๊วะอัลฟะตาวา 2/396 ของท่านอิบนุตัยมียะฮ์
ดังนั้นผู้ที่ใจเป็นธรรมต้องใคร่ครวญครับ อย่าไปคิดเอง เออเอง แล้วพูดพาดพิงแนวทางอื่นโดยเชื่อว่าเขามีหลักการอย่างที่ตนเองคิด ก็เท่ากับเชื่อว่าพวกเขาตกมุรตัดเป็นกาเฟร หากซูฟีย์มิใช่เป็นเช่นนั้นจริง ฮุกุ่มก็จะย้อนกลับไปยังผู้คิดเอง เออเอง ดังเช่นดังกล่าวนั่นแหละ วัลอิยาซุบิลลาฮ์
وَااللهُ تَعَالَي أَعْلَي وَأَعْلَمُ
1 By: ILHAM Date: ส.ค. 04, 2009, 09:22 AM
ยาซีนเขาจะมาอ่านสิ่งที่บังบอกมั้ยเนี่ย
Re: เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: บาชีร Date: ส.ค. 04, 2009, 04:20 PM
แต่ก่ะหลีอ่านหมดอยู่แล้วล่ะ
ไม่เหมือนผมที่บ่อยครั้งจะอ่านไม่หมด
แต่หากตอนผมอยู๋ซูดานละอ่านหมด(เพราะต้องใช้ด่วน)
Re: เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: ฮัยฟาอ์ Date: ส.ค. 04, 2009, 04:44 PM
สิ่งที่บังal-azharyได้ทำการอธิบายมา สามารถหักล้างข้อยัดเยียดที่ไม่ธรรมจากวะฮาบีแบบนายยาซีนได้อย่างยอดเยี่ยม อยากฟังฮิกัมที่29

Re: เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: al-azhary Date: ส.ค. 05, 2009, 10:00 AM
แต่ก่อนจะถึงระดับการฟะนาอ์นี้ได้นั้นก็ต้องมี มะรีฟัต เสีย ก่อน คือ การบรรลุถึงความรู้ถึงพระเจ้าอย่างแท้จริง ที่เกิดจากญาณวิสัย ความรู้ที่ประจักษ์แจ้งโดยมิต้องอาศัยสื่อใดๆ โดยนักซูฟีย์จะเรียกว่า กัชฟ์ และคนกลุ่มนี้ว่าจะถูกเรียกขานว่า อะห์ลิ้ล กัชฟ์ เป็น คุณลักษณะของซูฟีย์ในอีกระดับหนึ่ง เรียกง่ายๆว่าเป็นระดับชั้นแนวหน้าของนักซูฟีย์ (ซึ่งญามาอะห์ตับลีฆนั้นคุ้นเคยดีกับคำนี้ดีเพราะมีปรากฏอยู่ในหนังสือ คุณค่าอาม้าล หลายต่อหลายแห่ง) แต่ว่าก่อนจะมี มะรีฟัต โดย อาศัย กัซ นั้น ก็ต้องผ่านการฝึกฝน ตรากตรำ บำเพ็ญตน ละแล้วซึ่งกิเลสตันหาราคะ มุ่งปฏิบัติอิบาดะห์อย่างเคร่งครัด ต่อสู้กับนัฟซูใฝ่ต่ำของตน เรียกว่าการ มูญาฮาดะห์(ความเพียรพยายาม) ซึ่งญามาอะห์ตับลีฆนั้นผู้เขียนเข้าใจว่ายังอยู่แค่ในระดับนี้เท่านั้น คือระดับล่างๆเป็นระดับพื้นฐานนั่นเอง"
بِسْمِ اللهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ
คุณยาซีนให้ความหมายคำว่า มะรีฟัต คือ การบรรลุถึงความรู้ถึงพระเจ้า... ถือว่าไม่ละเอียดและไม่รู้จริง และคำพูดของคุณยาซีนที่ว่าการ กัชฟ์ เกิดจาก ญาณวิสัย ถือว่าเป็นความเขลาอย่างมิต้องสงสัย ส่วนการพูดคำของคุณยาซีนที่ว่า ละซึ่งกิเลสตันหาราคะ นั้นเป็นคำพูดที่เกิดจากความเขลา เพราะนั่นหมายถึงมะลาอิกะฮ์กันเลยน่ะครับ มนุษย์ก็คือมนุษย์แต่กิเลสตันหานั้น เขายับยั้งระงับมันได้เท่านั้นเอง โดยไม่ไปหลงใหลกับอารมณ์ใฝ่ต่ำ คุณลักษณะธรรมชาติของมนุษย์นั้น ก็ยังคงอยู่ในตัวของมนุษย์ แต่ซูฟีย์เขาจะใช้มันในหนทางที่พอดี มีอารมณ์ก็นำไปใช้กับภรรยาและให้กำเนิดลูกหลานไม่ใช่เกินเลยไปทำซินา มีความเห็นแก่ตัวเวลาใครทำร้ายเขาก็มีความโกรธเพื่อป้องกันตัวเองและไม่ให้ผู้อื่นมาอธรรม ทรัพย์สินที่เขามีก็ต้องเห็นแก่ตัวแบบพอดีคือเก็บไว้ใช้จ่ายแก่ครอบครัวไม่ใช่นำไปใช้แบบสุรุ่ยสุร่าย และลักษณะธรรมชาติอื่น ๆ ของมนุษย์ ที่อยู่บนความพอดีโดยไม่ตัดทิ้งและไม่เกินเลย
อนึ่ง การไม่เรียนวิชาตัจญฺวีด แต่อยากสอนอัลกุรอาน ย่อมสอนผิด ๆ ถูก ๆ , การสอนวิธีละหมาดโดยมิได้เรียนวิชาฟิกห์ ทำให้ผู้เรียนปฏิบัติผิด ๆ ถูก ๆ , การนำเสนอวิชาตะเซาวุฟที่เกี่ยวกับเรื่องความละเอียดละออของจิตใจ หากเพียงแค่ไปค้นอ่านตามตำราที่โจมตีตะเซาวุฟโดยไม่ได้ร่ำเรียนมา ย่อมเกิดความเขลาอย่างเปรียบหามิได้ ดังนั้นการศึกษาวิชาความรู้ ต้องมีครู มีอาจารย์ มีผู้คอยสอนคอยแนะนำ เช่นวิชาตัจญฺวีด หากเรียนเองไม่มีครูคอยแนะนำคอยสอน ก็ไม่มีวันจะอ่านอัลกุรอานได้อย่างถูกต้อง ยิ่งวิชาตะเซาวุฟเป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่องของจิตใจที่อยู่ภายใน ยิ่งต้องมีครูและอาจารย์คอยสอนและแนะนำ
ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ได้รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
إِنَّ اللهَ لَمْ يَبْعَثْنِيْ مُعَنِّتًا وَلاَ مُتَعَنِّتًا وَلَكِنْ بَعَثَنِيْ مَعَلِّمًا مُيَسِّرًا
"แท้จริงอัลเลาะฮ์ไม่เคยแต่งตั้งฉันขึ้นมา ในลักษณะของผู้ที่สร้างความยากลำบากและผู้ที่สร้างความเดือนร้านต่อผู้อื่น แต่ทว่าพระองค์ทรงแต่งตั้งฉันขึ้นมา เพื่อเป็นครูผู้ให้ความสะดวกง่ายดาย" รายงานโดยมุสลิม ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม 5/20
ดังนั้นเมื่อท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นครูสอนซอฮาบะฮ์ผู้เป็นสานุศิษย์ นั่นย่อมเป็นแบบฉบับตามซุนนะฮ์ที่มีการเรียนการสอนด้วยสื่อของการมีครู บรรดาซอฮาบะฮ์จึงเป็นครูของตาบิอีน ตาบิอีนเป็นครูของตาบิอิตตาบิอีน และการร่ำเรียนวิชาการอิสลามได้รับการสืบทอดระหว่างครูและศิษย์จวบจนถึงปัจจุบันเพื่อสนองตามซุนนะฮ์ของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังนั้นเมื่อพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชานั้น ๆ มีความแน่นแฟ้น เขาก็สามารถศึกษาค้นคว้าตามที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาได้ทรงเปิดให้
อนึ่ง ศาสตร์ อัลอิห์ซาน หรือปัจจุบันเขาเรียกว่า ตะเซาวุฟ นั้น ว่าด้วยเรื่อง การลิ้มรสของจิตใจที่มีต่อความผูกพันอยู่กับอัลเลาะฮ์ตะอาลา โดยที่มิได้มุ่งเน้นทางด้านสติปัญญา ดังนั้นผู้ใดมิได้ลิ้มรส เขาย่อมไม่รู้ เขารู้ว่าฟะนาอฺและบะกออฺได้อย่างแท้จริง จนกระทั่งจิตใจของเขาได้ลิ้มรสอันหอมหวานนั้นเสียก่อน แต่ทว่าหากไม่ได้ลิ้มรส อย่างน้อยก็สมควรแสวงหาความรู้จากตำราของตะเซาวุฟโดยตรง เพื่อมิให้มีความผิดพลาดและเข้าใจแบบอธรรม
การ มะรีฟะฮ์ ต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลาในวิชาตะเซาวุฟ คือ ความรู้สึกของจิตใจที่มีความผูกพันอยู่กับอัลเลาะฮ์ตะอาลา ด้วย อันนูร ที่พระองค์ทรงให้บังเกิดขึ้นในจิตใจของมุอฺมิน ดังนั้นมุอฺมินที่มะริฟะฮ์ต่ออัลเลาะฮ์ (อารีฟบิลลาฮ์) ก็จะถึงขั้นสุดยอดของเตาฮีด เขาจะไว้วางใจต่ออัลเลาะฮ์เพียงผู้เดียว จะมอบหมายและยอมสิโรราบต่อพระองค์เท่านั้น ความประสงค์ต่าง ๆ ที่เขามีนั้นมอบหมายให้อยู่ในความต้องการของอัลเลาะฮ์ให้เป็นไป การกระทำต่าง ๆ ของเขาล้วนอยู่ภายใต้อำนาจของพระองค์ โดยจิตใจของเขาลุกโชนไปด้วยความรักผูกพันอยู่กับพระองค์เสมอ และภายนอกเขาอยู่กับมนุษย์ แต่จิตใจเขาอยู่กับอัลเลาะฮ์
คำว่า อันนูร หากพิจารณาในรูปธรรม ก็คือ แสงรัศมี แต่ความหมาย อันนูร ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงมอบเป็นกำนัลให้แก่บ่าวของพระองค์ผู้มีความยำเกรง จากวิทยาการต่าง ๆ และบรรดารัศมีที่มาทำให้จิตใจเบิกบานและเปิดกว้างน้อมรับในสัจธรรม ทำให้เห็นสิ่งสัจธรรมเป็นสัจธรรมและทำให้เห็นสิ่งอธรรมเป็นอธรรม
ส่วนการได้มาซึ่ง อันนูร ของอัลเลาะฮ์ตะอาลานั้น ก็ด้วยหลายหนทาง พื้นฐานก็คือต้องทำสิ่งที่เป็นฟัรดูให้สมบูรณ์ หลังจากนั้นก็อะมัลอิบาดะอ์ที่เป็นสุนัต เช่นการอ่านอัลกุรอาน การซิกรุลลอฮ์ การถือศีลอด การละหมาดสุนัต การอ่านวิริดเช้าเย็น และอื่น ๆ เพื่อความความใกล้ชิดจนกระทั่งพระองค์ทรงรัก
ได้มีระบุไว้ในหะดิษกุดซีย์ อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า
وَمَا يَزَالُ عَبْدِي يَتَقَرَّبُ إِلَيَّ بِالنَّوَافِلِ حَتَّى أُحِبَّهُ
"บ่าวของเราจะยังคงใกล้ชิดเรา ด้วยการปฏิบัติสิ่งที่เป็นสุนัตต่าง ๆ จนกระทั้งเรารักเขา" รายงานโดยบุคอรี(6021)
ดังนั้นเมื่อเขาได้ทำอะมัลทั้งฟัรดูและสุนัตอย่างสม่ำเสมอด้วยกับอัลเลาะฮ์ หมายถึงการมอบหมายต่อพระองค์ , ขอความช่วยเหลือจากพระองค์ให้บรรดาอะมัลที่เขาปฏิบัติมีความบริสุทธิ์ใจและถูกตอบรับ
เพราะท่านร่อซูลุลอฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้พยายามสอนให้บรรดาซอฮาบะฮ์เชื่อมั่นและกล่าวถ้อยคำที่ว่า
لَا حَوْلَ وَلَا قُوَّةَ إِلَّا بِاللَّهِ
ไม่มีสภาวะใดและไม่มีพลังใดนอกจากด้วยอัลเลาะฮ์เท่านั้น รายงานโดยบุคอรี(6120)
กล่าวคือไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะใดไปสู่การทำอะมัลอิบาดะฮ์และไม่มีพลังในการทำอะมัลบิดอะฮ์นอกจากด้วยกับอัลเลาะฮ์เท่านั้นเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ เป็นผู้ทรงชี้นำ และทรงให้ความสะดวกง่ายดายแก่เราในการภักดีต่อพระองค์
การปฏิบัติอะมัลดังกล่าว อัลเลาะฮ์จะประทาน อันนูร ให้บังเกิดขึ้นแก่จิตใจของบ่าวผู้มีความยำเกรง พระองค์จะทรงชี้นำเขาให้อยู่บนแนวทางที่เป็นสัจธรรม หัวใจของเขาจึงมีความเบิกบาน จิตใจได้ลิ้มรสความรักและความผูกพันอยู่กับอัลเลาะฮ์ เห็นสัจธรรมเป็นสัจธรรมและเป็นความอธรรมเป็นอธรรม
อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า
يَهْدِي اللهُ لِنُوْرِهِ مَنْ يَشَاءُ
อัลเลาะฮ์จะทรงชี้นำด้วย อันนูร ของพระองค์แก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ อันนูร 35
พระองค์ทรงตรัสว่า
أَفَمَنْ شَرَحَ اللهُ صَدْرَهُ لِلإِسْلاَمِ فَهُوَ عَلَي نُوْرٍ مِنْ رَبِّهِ
ผู้ใดที่อัลเลาะฮ์ทรงเปิดหัวอก(หัวใจ)ของเขาเพื่อน้อบยอมตน(ต่ออัลเลาะฮ์) เขาได้อยู่บน อันนู จากพระเจ้าของเขา(จะเหมือนกับผู้ที่หัวใจบอดกระนั้นหรือ) อัซซุมัร 22
ท่านอิมามอิบนุอะฏออิลและห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวในฮิกัมขอท่านว่า
اَلأَنْوَارُ مَطَايَا الْقُلُوْبِ
บรรดานูร(จากอัลเลาะฮ์นั้น) คือพาหนะของบรรดาหัวใจ... อัชชัรห์ อัลฮิกัม 1/46
หมายถึง บรรดา อันนูร ที่อัลเลาะฮ์ได้ทรงให้เกิดขึ้นแก่หัวใจของบ่าวผู้มีความยำเกรงนั้น จะเป็นพาหนะนำทางพาบรรดาหัวใจของบ่าวไปสู่ห้วงแห่งการมะริฟะฮ์และความใกล้ชิดต่อพระองค์ สามารถแยกแยะสัจธรรมในอัลอิสลามได้และพระองค์จะทรงสอนวิทยาการต่าง ๆ นอกเหนือจากนั้นตามที่พระองค์ทรงประสงค์
อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า
إِتَّقُوْا اللهَ وَيُعَلِّمُكُمُ اللهُ
พวกเจ้าจงยำเกรงต่ออัลเลาะฮ์เถิดและอัลเลาะฮ์ก็จะสอนพวกเจ้า อัลบะกอเราะฮ์ 282
พระองค์ทรงตรัสเช่นกันว่า
يَا أَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا إِنْ تَتَّقُوا اللهَ يَجْعَلْ لَكُمْ فُرْقَاناً
โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย หากพวกเจ้ายำเกรงอัลเลาะฮ์ พระองค์ก็จะทรงให้มีแก่พวกเขาซึ่งฟุรกอน(สิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงและความเท็จ) อังอัมฟาล 29
ท่านอิมามอิบนุอะญีบะฮ์ อัลฮะซะนีย์ ได้กล่าวอธิบายว่า อัลฟุรอกอน คือ อันนูร(รัศมี)ที่มาจำแนกระหว่างสัจธรรมกับอธรรมได้ หนังสืออีกอซุลฮิมัม 153
ท่านอิบนุอะฏออิลและห์ ได้กล่าวว่า
اَلنُّوْرُ لَهُ الْكَشْفُ
อันนูร(รัศมีจากอัลเลาะฮ์)นั้น ให้แก่มันแล้ว มีการกัชฟ์ ชัรห์อัลฮิกัม 46
ดังนั้น การ กัชฟ์ หมายถึง การที่อัลเลาะฮ์ให้เขายั่งรู้นามธรรมต่าง ๆ เช่น รู้ประจักษ์ถึงความงดงามของการฏออัตและรประจักษ์รู้ถึงความน่ารังเกียจของการฝ่าฝืนหรือรู้สิ่งที่เร้นลับที่อัลเลาะฮ์ทรงเปิดให้ด้วย อันนูร ที่มาจากรพระองค์โดยตรง มิใช่มาจาก ญาณวิสัย ตามที่คุณยาซีน แกละมงคล ได้พูดไว้! ซึ่งชี้ถึงความเขลาต่อวิชาตะเซาวุฟ ดังนั้น การ กัชฟ์ ผู้ใดที่ให้ความหมายว่ามันคือ การนั่งญาณ หรือยั่งรู้ด้วย ญาณวิสัย ถือว่าเขาเป็นคนเขลาและกล่าวมุสาต่อวิชาตะเซาวุฟนั่นเอง
ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า
اتَّقُوا فِرَاسَةَ الْمُؤْمِنِ فَإِنَّهُ يَنْظُرُ بِنُورِ اللَّهِ
พวกท่านจงกลัวการมองมันเฉียบคมของมุอฺมิน(อย่างแท้จริง) เพราะเขาจะมองด้วย นูร ที่มาจากอัลเลาะฮ์ รายงานโดยอัตติรมีซีย์ (3052)
ดังนั้นการมองของบุคคลกลั่นมาจากหัวใจที่มี อันนูร จากอัลเลาะฮ์ มีความยาเกนและผูกพันอยู่กับพระองค์นั้น เขาจะมองด้วยความเฉียบคมแน่นอนตามที่พระองค์จะทรงเปิดให้แก่เขา
ท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า ท่านอะบูบักร์ ได้กล่าวในขณะใกล้เสียชีวิตว่า....บุตรสาวของคอริญะฮ์(ภรรยาของฉัน)ได้ตั้งครรภ์ โดย(การเปิด)ถูกโยนลงมาในหัวใจของฉันว่า ลูกน้อยเป็นผู้หญิง ดังนั้นเธอ(คือท่านหญิงอาอิชะฮ์) จงกำชับนาง(น้องสาวคนเล็ก)ด้วยสิ่งที่ดีงามเถิด จากนั้นอุมมุกุลซูม(บุตรสาวของท่านอะบูบักร)ก็คลอดออกมา(หลังจากที่ท่านอะบูบักรได้เสียชีวิตแล้ว) หนังสือ อัตต่อบะก็อต 3/195 ของท่านอิบนุสะอัต
นั่นคือการ กัชฟ์ ของท่านอะบูบักร อัศศิดดีก ที่อัลเลาะฮ์ทรงเปิดให้ท่านทราบว่าบุตรที่จะเกิดมาหลังจากเสียชีวิตไปแล้วนั้น เป็นบุตรสาว!
ท่านอิมามอัศศุบกีย์กล่าวว่า มีชายคนหนึ่งได้เข้าไปหาท่านอุษมาน ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งชายคนนั้นได้พบผู้หญิงกลางทาง แล้วเขาได้มองนาง ดังนั้นท่านอุษมานได้กล่าวแก่เขาว่า มีคนหนึ่งจากพวกท่านได้เข้ามาโดยสองตาของเขามีร่องรอยของซินาไหม? ชายคนนั้นกล่าวว่า ได้มีวะฮีลงมาหลังจากท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กระนั้นหรือ? ท่านอุษมานกล่าวว่า ไม่หรอก แต่มันคือการ(ฟิรอซะฮ์)มองอันเฉียบคมของมุอฺมิน หนังสือฮุจญฺตุลลอฮ์ อะลัลอาละมีน หน้า 862 ของท่านอิมามอับนับฮานีย์
ท่านอิมามอัลกุรตุบีย์กล่าวว่า ท่านอิมามชาฟิอีย์กับท่านมุฮัมมัด บิน อัลฮะซัน กำลังอยู่ที่ลานกะบะฮ์ โดยมีชายคนหนึ่งอยู่ที่ประตูมัสยิด ดังนั้นคนหนึ่งจากทั้งสองได้กล่าวว่า ฉันเห็นว่าเขา(ที่อยู่ ณ ประตูมัสยิด) เป็นช่างไม้ และอีกคนกล่าวว่า แต่ฉันเห็นว่าเขาเป็นช่างเหล็ก ผู้ที่อยู่กับท่านทั้งสองจึงไปที่ชายคนนั้นเพื่อสอบถาม เขาตอบว่า ฉันเคยเป็นช่างไม้ แต่ปัจจุบันฉันเป็นช่างตีเหล็ก ตัฟซีรอัลกุรตุบีย์ 10/44
ดังนั้นการ กัชฟ์ ของซูฟีย์ ไม่ใช่รู้ด้วย ญาณวิสัย แต่รู้ด้วย อันนูร ที่มาจากอัลเลาะฮ์โดยตรง แต่อย่าไปคิดว่าซูฟีย์มีความรู้หลักการอิสลามมาจากกัชฟ์ เพราะความเข้าใจเช่นนี้ถือเป็นความเขลา เนื่องจากซูฟีย์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ เขารู้หลักการอิสลามมาจากอัลกุรอานและซุนนะฮ์ ส่วนการ กัชฟ์ นั้น เป็นนูรรัศมีที่อัลเลาะฮ์ทรงประทานให้จิตใจของเขาเข้าใจและรู้ถึงสัจธรรมอย่างแท้จริงของอัลกุรอานและซุนนะฮ์นั้น ส่วนวิทยาการอื่น ๆ หรือสิ่งเร้นลับอื่น ๆ ที่อัลเลาะฮ์จะทรงเปิดและสอนให้แก่เขานั้นเป็นคำสอนจากอัลกุรอาน พระองค์จะชี้นำและสอนแก่ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ ส่วนเราไม่ได้รับ ก็อย่าไปคิดว่าคนอื่นต้องเป็นเหมือนเรา ในเมื่อเราเองยังบกพร่องในอะมัลอิบาดะฮ์ การลิ้มรสในส่วนพิเศษตรงนี้จึงไม่มี เราอย่าไปคิดว่า ฉันประกาศเสมอว่ายึดอัลกุรอานและซุนนะฮ์ทำไมถึงไม่ได้รับ กัชฟ์ แล้วคนอื่นจะได้รับ กัชฟ์ จากอัลเลาะฮ์ได้อย่างไร ซึ่งการคิดเช่นนี้ถือเป็นความเขลา เราต้องหลีกห่างเนื่องจากอัลเลาะฮ์ทรงชี้นำผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์
وَاللهُ سُبْحَانَهُ وَتَعَالَي أَعْلَي وَأَعَلَمُ
Re: เมื่อนายยาซีน แกละมงคล (วะฮาบี) ได้วิจารณ์ซูฟีย์กับตับลีฆแบบอธรรมและไม่เข้าใจ By: Al Fatoni Date: ส.ค. 05, 2009, 11:26 AM
salam
ใช่แล้วครับน้องอัลฟาตอนีย์ หากเราจะโต้ชีอะฮ์ก็ต้องไปศึกษาจากตำราชีอะฮ์ หากเราจะโต้วิจารณ์วะฮาบีก็ต้องไปศึกษาจากตำราต่าง ๆ ที่อุลามาอฺวะฮาบีได้ประพันธ์ได้สอนกันเอาไว้ เฉกเช่นเดียวกัน หากผู้ใดที่ต้องการจะวิจารณ์แนวทางของซูฟีย์ ก็เขาต้องไปศึกษาจากตำราต้นฉบับของปราชญ์ซูฟีย์อย่างแท้จริง ไม่ใช่ไปอ่านจากหนังสือแปลมาเป็นไทย มาจากภาษาอังกฤษ ความรู้ที่เขามีต่อซูฟีย์ คือรู้ด้วยการอ่าน ไม่ใช่ด้วยการร่ำเรียนโดยตรง ความวิบัติย่อมบังเกิดครับ แม้จะเรียนถึงระดับด็อกเตอร์ก็ตาม หากไม่ได้เรียนโดยตรง เขาก็รู้ไม่จริง
ต่อมาคนที่ชอบอ่านหนังสือชอบค้นคว้า ต้องการที่จะวิจารณ์ซูฟีย์ สิ่งที่เขาทำได้ก็คือ ไปอ่านจากตำราภาษาไทยที่ไม่ใช่ต้นฉบับจากตำราอุลามาอฺซูฟีย์แห่งอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ความคลาดเคลื่อนย่อมเกิดขึ้นอย่างมิต้องสงสัย ยิ่งผู้รู้ที่ไม่เรียนวิชาเกี่ยวกับตะเซาวุฟ แต่ข้ามขั้นไปค้นคว้าตำราที่วิจารณ์ซูฟีย์แบบอคติ ความรู้หรือทัศนะคติที่เขามีต่อซูฟีย์ ก็จะมีความเข้าใจเบี่ยงเบน กล่าวหาไปทั่วเลยทีเดียว วัลอิยาซุบิลลาฮ์
วัลลอฮุอะลัม
เพิ่มเติมจากที่บังอัลฯ กล่าวข้าวต้นนี้ก็คือ เนื่องจากวิชาตศ็อววุฟนั้น เป็นวิชาที่ลึกซึ้งมาก ถือเป็นที่วิชาหนึ่ง หรือวิชาต้นๆ ก็ว่าได้ ที่มีความยากที่สุดในบรรดาวิชาทั้งหลายของอิสลาม และผู้ที่เรียนวิชานี้ อย่างน้อยที่สุดนั้น เขาจะต้องมีพื้นฐานในเรื่องอกีดะฮ์และชรีอะฮ์ที่เข้มแข็งในระดับหนึ่งมาพอสมควรแล้ว เพราะถ้าหากเขายังไม่มีความเข้าใจในสองวิชาข้างต้น สำหรับบางเขาอาจจะยังไม่มีสิทธิเรียนวิชาตศ็อววุฟ หรือหากอนุญาต ก็จะต้องเป็นตศ็อวฺวุฟขั้นต้นเท่านั้น หรือที่เราเรียกว่า วิชาอัคลาก นั่นเอง
ผมสังเกตุเห็นงานวิจัยและวิทยานิพนธ์หลายเล่มที่ออกมา (โดยเฉพาะวิทยานิพนท์ที่ผ่านการตรวจขององค์กรการอิสลามศึกษาหนึ่งใน จ.ปัตตานีนั้น) ที่วิจารณ์อกีดะฮ์ของอชาอิเราะฮ์ และรวมไปถึงนักศูฟีย์บางท่านนั้น ผมเชื่ออย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ว่า แทบทุกคนนั้น ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตศ็อวฺวุฟ หรือศูฟีย์ที่แท้จริงคืออะไร คุณประโยชน์อันมหาศาลของวิชานี้มีอะไรบ้าง มันมีบทบาทต่อสังคมและปัจเจกบุคคลอย่างไร แต่ทว่าส่วนใหญ่ มักจะแสดงถึงความแปลกที่มีอยู่ในตัวเขา นั่นก็คือ พูด หรือตำหนิในสิ่งที่ตัวเองไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร ซ้ำยังวิจารณ์นั้นแต่ด้านลบของสิ่งนั้น โดยเอามาตรฐานทางความรู้ที่ตนเลื่อมใสมาเป็นเกณฑ์ ผมว่า ต่อให้วิจารณ์ออกมาเป็นหนังสือกี่สิบเล่ม มันก็ไม่มีค่าใดๆ ที่จะชวนให้มาใส่ใจต่องานวิจัยนั้น เพราะมันหาประโยชน์ไม่ได้เลย
มีอยู่หลายครั้ง ที่ผมลองกระทำดังต่อไปนี้คือ เมื่อหนังสือเล่มหนึ่ง ผมจะดูที่ผู้แต่ง องค์กรที่ผู้เขียนนั้นสังกัดอยู่ จากนั้น อ่านหัวข้อหลักจากสารบัญ แล้วปิดหนังสือ จากนั้นก็ลองเดาว่าเนื้อหาจะเป็นอย่างไร ผลปรากฏก็คือว่า มันไม่น่าเชื่อ ที่การเดามักจะถูก ซ้ำยังอ่านประโยคแรก มันก็พอจะนึกภาพในประโยคถัดไปได้ ผมไม่ได้มีความสามารถรับรู้อะไรที่เกินญาณวิสัยหรอกครับ แต่เนื่องจากการอ้างอิงข้อมูลที่คัดลอกต่อๆ กันมา พร้อมทั้งการวิจารณ์ที่ออกไปในทิศทางเดียว โดยไม่ผิดเพี้ยนใดๆ ถึงต่างก็แค่ต่างที่สำนวนภาษาเท่านั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลามุอลัยกุม