กระดานเสวนานักศึกษาอะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ ชี้แจงแนวทางอะฮฺลิสสุนนะฮ์ฯ
Pages: 1
การตีความ "อิสติวาอฺ" ไปเป็น "อิสเตาลา" นั้น เป็นการบิดเบือน ตามทัศนะของวะฮาบีย์ By: Muftee Date: ธ.ค. 14, 2009, 05:09 PM

วะฮาบีย์กลุ่มหนึ่งในอียิปต์ กล่าวว่า

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง ตะอฺวีล กับตะฮฺรีฟ เสียก่อน คำว่าตะอฺวีลความหมายของมันก็คือ เปลี่ยนจากความหมายที่ปรากฏอยู่ชัดเจนไปสู่อีกความหมายหนึ่งโดยมีหลักฐานมายืนยัน   ส่วนคำว่า ตะฮฺรีฟ ก็คือ การเปลี่ยนจากความหมายของคำที่ปรากฏอยู่ชัดเจนไปสู่อีกความหมายหนึ่งโดยไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมายืนยัน จากตัวบทและสติปัญญา เช่น อิสตาวา เป็น อิสเตาลา ดังนั้นก็สรุปได้แล้วว่า คำว่าตะรีฟกับตะวีลมีความแตกต่างกัน เราก็สรุปได้ว่าการตะวีลเป็นที่อนุญาตในอุลามาอฺสลัฟและคอลัฟ.


ชี้แจง

ช่างเป็นสิ่งที่น่าแปลกเหลือเกินที่คุณบอกว่า การตีความคำว่า "อิสติวาอฺ" ไปสู่ความหมาย "อิสเตาลา หรือ อิสตีลาอฺ" นั้นเข้าไปอยู่ในความหมายที่เรียกว่า "ตะห์รีฟ" (บิดเบือน)  ซึ่งคุณพยายามที่จะบอกว่าการตีความตามแนวทางของอะชาอิเราะฮฺด้วยความหมายนี้ไม่ถูกต้อง นั่นเอง   คุณหารู้ไม่ว่า กำลังหุก่มอุละมาอฺที่มีความรู้มากกว่าคุณเป็นแสนๆ เท่า  ว่าเป็นพวกบิดเบือนความหมายของอัลกุรอาน ทั้งๆ ที่คุณมีความรู้แค่หางอึ่ง หากจะเทียบกับบรรดาปราชญ์เหล่านั้น คุณบอกว่า การให้ความหมาย "อิสติวาอฺ" เป็น "อิสเตาลา หรือ อิสติลาอฺ" (การปกครอง) นั้น เป็นการบิดเบือน (ตะห์รีฟ) ไม่มีหลักฐานชัดเจนที่มายืนยันในเรื่องนี้   ที่คุณพูดแบบนี้  ผมเองก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าที่คุณพูดมานั้น คุณไปหามาหรือยังว่า  ไม่มีความหมายนี้จริงๆ หรือแค่พูดตามที่คนอื่นเค้าพูดกันมาเท่านั้น  ไม่เป็นไรคับ  ไม่ว่าคุณจะหามาแล้วหรือว่ายังไม่หาก็ตาม  ผมจะชี้แจงทุกอย่าง ต่อจากนี้ไป

ก่อนอื่นคุณต้องรู้จักแนวทางของอะชาอิเราะฮฺก่อน  เพราะวะฮาบีย์พยายามที่จะยัดเยียดให้กลุ่มอะชาอิเราะฮฺ คือ กลุ่มที่ทำการตะวีลอย่างเดียว
แต่หาใช่เช่นนั้นไม่ เพราะแนวทางของอะชาอิเราะฮฺมี 2 แนวทางที่เลื่องลือ และเป็นที่ทราบกันดีในบรรดาหมู่ปราชญ์อิสลาม
คือ ปราชญ์ที่ทำการตะวีล (ตีความ)  กับปราชญ์ที่ทำการตัฟวีฎ (มอบหมาย)


ท่านอิมามอันนะวาวีย์ กล่าวอธิบายว่า

اعلم أن لأهل العلم في أحاديث الصفات وآيات الصفات قولين

"ท่านจงรู้เถิดว่า แท้จริงให้กับนักปราชญ์ เกี่ยวกับบรรดาหะดิษซิฟาตและบรรดาอายาตซีฟาตนั้น มี 2 ทัศนะ" คือ

أحدهما : وهو مذهب معظم السلف أو كلهم أنه لا يتكلم في معناها , بل يقولون : يجب علينا أن نؤمن بها ونعتقد لها معنى يليق بجلال الله تعالى وعظمته مع اعتقادنا الجازم أن الله تعالى ليس كمثله شيء وأنه منزه عن التجسم والانتقال والتحيز في جهة وعن سائر صفات المخلوق , وهذا القول هو مذهب جماعة من المتكلمين , واختاره جماعة من محققيهم وهو أسلم

ทัศนะที่หนึ่ง

คือมัซฮับส่วนมากของสะลัฟหรือทั้งหมด กล่าวคือ จะไม่มีการพูดกันในความหมายของมัน แต่พวกเขากล่าวว่า จำเป็นบนเราต้องศรัทธาเชื่อด้วยกับมัน(บรรดาอายะฮ์และหะดิษซีฟาต) และเราเชื่อมั่นกับความหมายที่เหมาะสมกับความเกรียงไกรและความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์ ตะอาลา พร้อมกับให้เราเชื่อมั่นว่า แท้จริงอัลเลาะฮ์ ตะอาลา "ไม่มีผู้ใดที่มาคล้ายเหมือนกับพระองค์" และพระองค์ทรงปราศจากการเป็นร่างกาย(ตัวตน) ปราศจากการเคลื่อนไหว ปราศจากการอยู่ในทิศใดทิศหนึ่ง และปราศจากการเหมือนบรรดาคุณลักษณะอื่น ๆ ของบรรดามัคโลค และนี้คือทัศนะคำกล่าวของมัซฮับกลุ่มหนึ่งจากอุลามาอ์กะลาม และกลุ่มหนึ่งจากอุลามาอ์กะลามที่ทรงความรู้อันแน่นแฟ้นได้เลือกเฟ้น และมันคือทัศนะที่ปลอดภัยกว่า"

والقول الثاني : وهو مذهب معظم المتكلمين أنها تتأول على ما يليق بها على حسب مواقعها , وإنما يسوغ تأويلها لمن كان من أهله بأن يكون عارفا بلسان العرب وقواعد الأصول والفروع , ذا رياضة في العلم

ทัศนะที่สอง

คือมัซฮับส่วนมากของอุลามาอ์มากะลาม กล่าวคือ บรรดาอายะอ์และหะดิษจะถูกตีความ(ตะวีล)บนคุณลักษณะที่เหมาะสมตามแต่สถานที่ ของมัน และแท้จริง อนุญาตให้ทำการตีความมันได้ สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติเท่านั้น โดยเขาต้องมีความรู้ภาษาอาหรับและกฏเกณฑ์ต่าง ๆ ของหลักพื้นฐานและข้อปลีกย่อย อีกทั้งต้องมีความชำนาญปราดเปรื่องในวิชาความรู้"

ในขณะที่ท่านอิมามนะวะวีย์  ได้ทำการอธิบายถึงหะดิษที่เกี่ยวกับซิฟาตของอัลลอฮฺ ท่านได้อธิบายจุดยืนหลักอะกีดะฮ์ของ อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์  ว่า

هذا الحديث من أحاديث الصفات , وفيها مذهبان تقدم ذكرهما مرات في كتاب الإيمان . أحدهما : الإيمان به من غير خوض في معناه , مع اعتقاد أن الله تعالى ليس كمثله شيء وتنزيهه عن سمات المخلوقات . والثاني تأويله بما يليق به , فمن قال بهذا قال : كان المراد امتحانها , هل هي موحدة تقر بأن الخالق المدبر الفعال هو الله وحده , وهو الذي إذا دعاه الداعي استقبل السماء كما إذا صلى المصلي استقبل الكعبة ؟ وليس ذلك ; لأنه منحصر في السماء كما أنه ليس منحصرا في جهة الكعبة , بل ذلك لأن السماء قبلة الداعين , كما أن الكعبة قبلة المصلين , أو هي من عبدة الأوثان العابدين للأوثان التي بين أيديهم , فلما قالت : في السماء , علم أنها موحدة وليست عابدة للأوثان

ًًฮะดิษนี้  เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาฮะดิษซีฟาต  และเกี่ยวกับบรรดาฮะดิษซีฟาตนั้น  มี  2  แนวทาง (ซึ่งทั้ง 2 แนวทางก็คือแนวทางของอัลอะชาอิเราะฮ์) ตามที่ได้กล่าวผ่านมาแล้วในกิตาบอัลอีหม่าน ก็คือ

(1) ให้ศรัทธาด้วยกับฮะดิษนี้  โดยไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในความหมายของมัน  พร้อมกับเชื่อว่าอัลเลาะฮ์ตะอาลานั้นไม่มีสิ่งใดคล้ายเหมือนกับพระองค์  และพระองค์ทรงบริสุทธิ์จากสัญลักษณ์ของบรรดามัคโลค (คือแนวทางสะละฟุศศอลิห์โดยรวม)

(2) ให้ทำการตีความ(ตะวีล) ฮะดิษนี้ด้วยสิ่งที่เหมาะสมต่อพระองค์  (คือแนวทางของค่อลัฟโดยรวม)


ดังนั้น  ผู้ที่ได้กล่าวด้วยกับการตีความนี้  เขาก็จะกล่าวว่า  จุดมุ่งหมายก็คือ  การทดสอบตัวนาง(ทาสหญิงผิวดำที่เป็นเด็ก)  ว่านางนั้นเป็นผู้ที่เชื่อในอัลเลาะฮ์องค์เดียวหรือไม่ ยอมรับว่าผู้ทรงสร้าง  เป็นผู้ทรงบริหาร  ผู้ทรงกระทำ(ตามที่พระองค์ทรงประสงค์) คืออัลเลาะฮ์องค์เดียวหรือไม่?  และพระองค์คือผู้ที่ผู้วอนขอต่อพระองค์ได้ทำการผินไปยังท้องฟ้าเหมือนกับที่ ผู้ทำการละหมาดได้ผินไปทางกิบลัตหรือไม่? 
ซึ่งดังกล่าวนั้น  ไม่ใช่เพราะพระองค์ทรงจำกัดอยู่ในฟ้ากฟ้าเฉกที่พระองค์ก็ไม่ได้จำกัดอยู่ใน ทิศกะบะฮ์  แต่ทว่าสิ่งดังกล่าวเพราะท้องฟ้าเป็นกิบลัต(ทิศ)ของผู้ที่วอนขอดุอา  เหมือนกับ  กะบะฮ์เป็นกิบลัต(ทิศ)ของผู้ที่ทำการละหมาด  หรือว่า(เพื่อสอบว่า)นางเป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่กราบไว้รูปปั้นที่อยู่ในมือของพวกเขาหรือไม่?ดังนั้นในขณะที่นางได้กล่าวว่า  อยู่ในฟ้า  ก็รู้เลยว่านางเป็นผู้ที่นับถือพระองค์เพียงองค์เดียวไม่ใช่เป็นผู้กราบไหว้ เจว็ด" ดู  ชัรหฺ ซอเฮี๊ยะหฺมุสลิม ของอิมาม อันนะวาวีย์ เล่ม 5 หน้า 24


ท่านอิมาม อัลมุจญฺฮิด อัลฟาฟิซฺ ตะญุดดีน อัศศุบกีย์ ปราชญ์อะชาอิเราะฮฺ กล่าวว่า

للأشاعرة قولان مشهوران في إثبات الصفات، هل تمر على ظاهرها مع اعتقاد التنزيه أو تؤول؟ والقول بالإمرار مع اعتقاد التنزيه هو المعزو إلى السلف، وهو اختيار الإمام في الرسالة النظامية، وفي مواضع من كلامه فرجوعه معناه الرجوع عن التأويل إلى التفويض، ولا إنكار في هذا، ولا في مقابله، فإنها مسألة اجتهادية، أعني مسألة التأويل أو التفويض مع اعتقاد التنزيه، إنما المصيبة الكبرى والداهية الدهياء الإمرار على الظاهر، والاعتقاد أنه المراد، وأنه لا يستحيل على الباري، فذلك قول المجسمة عُبَّاد الوثن، الذين في قلوبهم زيغ يحملهم على اتباع المتشابه ابتغاء الفتنة، عليهم لعائن الله تَتْرى واحدة بعد أخرى، ما أجرأهم على الكذب وأقلَّ فهمهم للحقائق.اهـ

"ให้กับ(แนวทาง)อัลอะชาอิเราะฮ์นั้น มีอยู่สองทัศนะที่เลื่องลือ เกี่ยวกับการยืนยันเรื่องซิฟาต , คือผ่านมันไปกับความหมายผิวเผิญของมัน พร้อมกับยึดมั่นกับความบริสุทธิ์(จากการไปคล้ายเหมือนกับมัคโลค) หรือว่าให้ทำการตีความ(ตะวีล)? และทัศนะคำกล่าว ด้วยการผ่านมันไป พร้อมกับการยึดมั่นกับความบริสุทธิ์นั้น ก็คืออ้างไปยังทัศนะของสะลัฟ และมันก็คือทัศนะที่อิมาม(อัลญุวัยนีย์) ได้ทำการเลือกเฟ้นไว้ในหนังสือ อัรริซาละฮ์ อันนิซฺอมียะฮ์ และในสถานที่ต่างๆ ที่มาจากคำกล่าวของเขา(ท่านอิมามอัลญุวัยนีย์) ดังนั้น การที่ท่านได้ยกเลิกจากการให้ความหมายมัน คือการที่ท่านอิมามได้ยกเลิกจากการตีความโดยกลับไปสู่การมอบหมาย โดยที่ไม่มีการตำหนิใดๆ ในสิ่งดังกล่าวนี้(คือการมอบหมาย) และไม่มีการตำหนิกับสิ่งที่ตรงข้ามกับมัน(คือการตีความ) ฉะนั้น บรรดาคำพูดของท่านอิมามอัลญุวัยนีย์ ก็อยู่ในประเด็นของการวินิจฉัย ฉันหมายถึง ประเด็นของการตีความและมอบหมายพร้อมกับยึดมั่นในความบริสุทธิ์ แต่ แท้จริง ความวิบัติอันยิ่งใหญ่และการหลอกลวงที่มีเล่ห์เหลี่ยม ก็คือการผ่านมันไปบนความหมายแบบผิวเผิญโดยยึดมั่นว่า แท้จริงความหมายแบบผิวเผิญนั้น  คือ  จุดมุ่งหมาย และไม่ถือว่า(ความหมายแบบผิวเผิน)เป็นสิ่งที่มุสติฮีลต่ออัลเลาะฮ์

ดังนั้น สิ่งดังกล่าวนี้ คือ คำกล่าวของกลุ่ม อัลมุญัสสิมะฮ์ ผู้อิบาดะฮ์กับรูปเจว็ด ที่บรรดาหัวใจของพวกเขานั้น มีความเบี่ยงเบนที่ทำให้พวกเขาอยู่บนการตามความเคลือบแคลง เพื่อแสวงหาความฟิตนะฮ์ บรรดาอัปเปหิของอัลเลาะฮ์ ได้ประสบแก่พวกเขาอย่างต่อเนื่องครั้งแล้วครั้งเล่า และมันเป็นความอาจหาญต่อความโกหกและขาดความเข้าใจกับบรรดาข้อเท็จจริงของพวก เขาเสียกระไรนี่!" ดู หนังสือ เฏาะบะก๊อต อัชชาฟิอียะฮ์ อัลก๊อบรอ เล่มที่ 5 หน้า 191

ดังนั้น

จึงเข้าใจได้ว่าปราชญ์อะชาอิเราะฮฺนั้น คือ ปราชญ์ที่ทำการมอบหมายความหมายและวิธีการสู่อัลลอฮฺ ตะอาลา และปราชญ์อะชาอิเราะฮฺอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ปราชญ์ที่ทำการตีความกุรอานและหะดิษเพื่อให้เหมาะสมกับความสูงส่งและความยิ่งใหญ่ของพระองค์ พร้อมทั้งมอบหมายแด่อัลลอฮฺตะอาลา  แต่การโจมตีอัลอะชาอิเราะฮ์ของวะฮาบีย์ปัจจุบันนั้น  เขาจะพยายามยัดเยียดให้อัลอะชาอิเราะฮ์เป็นฝ่ายที่ตีความเพียงอย่างเดียวเท่านั้น  แล้วก็ทำการวิจารณ์   นั่นคือการกระทำของผู้ที่มีความอคติต่ออัลอะชาอิเราะฮ์  โดยไม่มุ่งหวังที่จะทำความเข้าใจหลักอะกีดะฮ์ของอัลอะชาอิเราะฮ์ที่นักปราชญ์ส่วนใหญ่ให้การรับรองเลย 
 

Re: การตีความ "อิสติวาอฺ" ไปเป็น "อิสเตาลา" นั้น เป็นการบิดเบือน ตามทัศนะของวะฮาบีย์ By: Muftee Date: ธ.ค. 14, 2009, 05:12 PM
การตีความ คือ การตีความด้วยคุณลักษณะที่เหมาะสมกับความยิ่งใหญ่ของอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ ฯ การตีความนั้นต้องมาจากนักปราชญ์ผู้สันทัดอีกทั้งทรงความรู้ อีกทั้งทำการตีความที่ตรงกับหลักภาษาอาหรับที่พวกเขาเข้าใจกัน และหลังจากตีความนั้น ก็มอบหมาย(ตัฟวีฏ) กับความหมายที่ตีความไปยังอัลเลาะฮ์ ซุบหานะฮ์ ฯ อีกที

คำว่า  อิสติวาอฺ الإستواء   มีหลายความหมายในภาษาอาหรับ

   الإستقرار     แปลว่า   สถิต
      الجلوس    แปลว่า   ประทับนั่ง
    الإرتفاع       แปลว่า   ขึ้นไป
        العلو       แปลว่า   สูง
     الإستيلاء    แปลว่า   ปกครอง , บริหาร

ท่านอ้างว่า

การให้ความหมายของ อิสติวาอฺ ว่าหมายถึง อิสตีลาอฺ หรือ อิสเตาลา (การปกครอง) นั้นไม่มีหลักฐานมายืนยันชัดเจน เป็นการตะห์รีฟ (บิดเบือน)

ผมขอชี้แจงว่า 

การให้ความหมายของ อิสติวาอฺ ว่าหมายถึง อิสตีลาอฺ (การปกครองนั้น) แบบนี้มีหลักฐาน มาจากหลักการของภาษาอาหรับจริงๆ  เพราะอัลกุรอาน ถูกประทานมาเป็นภาษาอาหรับ  ดังนั้นการให้ความหมายต่ออัลกุรอาน ก็ต้องสอดคล้องกับหลักการภาษาอาหรับ  ไม่ใช่การบิดเบือนอย่างที่คุณกล่าวหา   การให้ความหมายว่า  อิสตีลาอฺ  แปลว่า  ปกครอง  นั้น  มียืนยันรับรองไว้ในภาษาอาหรับและในแวดวงหลักภาษาอาหรับเขาก็นำมาใช้กัน

1.ปราชญ์ภาษาอาหรับท่านอะบูลกอซิม อัลฮุซัยน์ บิน มุฮัมมัด  รู้จักในนาม อัรรอฆิบ อัลอัศฟะฮานีย์

(เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 502)   ได้กล่าวว่า

مَتَي عُدِّيَ ب (عَليَ) إِقْتََضَي مَعْنَي الإِسْتِيْلاَءِ كَقَوْلِهِ الرَّحْمنُ عَلَي العَرْشِ اسْتَوَي

"เมื่อคำว่า อิสติวาอฺ ถูกนำมาใช้ด้วยคำว่า อะลา (แปลว่าบน) ก็จะให้ความหมายนัยยะถึง การปกครอง

เช่นคำตรัสของอัลเลาะฮ์ตะอาลาที่ว่า "พระเจ้านามอัรเราะห์มาน(ผู้เมตตา) ทรงปกครองเหนือบัลลังก์"

หนังสือ อัลมุฟร่อด๊าด ฟี ฆ่อรีบิลกุรอ่าน หน้า 251



2. ปราชญ์ภาษาอาหรับท่านอะบูอับดุรเราะห์มาน อับดุลลอฮ์ บิน ยะห์ยา อิบนุ อัลมุบาร็อก อัลยะซีดีย์

(เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 237) ซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน อะบู ซะกะรียา อัลฟัรรออฺ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 207) ปราชญ์วิชานะฮูนามกระเดื่อง  ได้กล่าวว่า

 عَلَي العَرْشِ اسْتَوَي : اِسْتَوْلَي

"พระองค์ทรงอิสติวาอฺเหนือบัลลังก์ : หมายถึง ทรงปกครอง(อิสตีลาอฺ)เหนือบัลลังก์"

หนังสือ ฆ่อรีบุลกุรอานและตัฟซีรุฮู หน้า 113



3. ท่านอิมามอัลฮาฟิซฺ อะบู ญะฟัร มุฮัมมัด อิบนุ ญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์

(เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 310) หนึ่งในปราชญ์สะละฟุศศอลิห์ได้กล่าวในตัฟซีรของท่านว่า

قَالَ أَبُو جَعْفَر : الِاسْتِوَاء فِي كَلَام الْعَرَب مُنْصَرِف عَلَى وُجُوه

"อะบูญะฟัร(คือท่านอัฏเฏาะบะรีย์) ขอกล่าวว่า อัลอิสติวาอฺ ในคำพูดของอาหรับนั้น  ถูกนำมาใช้ได้หลายหนทาง" 
 


4. หลังจากนั้นอิบนุญะรีร อัฏเฏาะบะรีย์  ได้กล่าวว่า


وَمِنْهَا الِاحْتِيَاز وَالِاسْتِيلَاء كَقَوْلِهِمْ : اسْتَوَى فُلَان عَلَى الْمَمْلَكَة , بِمَعْنَى احْتَوَى عَلَيْهَا وَحَازَهَا

"ส่วนหนึ่งจากหนทางเหล่านั้น  คือให้ความหมายว่า  (อัลอิห์ติยาซฺ) การครอบครอง  และความหมาย (อัลอิสตีลาอฺ) การปกครอง
เช่นคำกล่าวของคนอาหรับที่ว่า  คนหนึ่งได้อิสติวาอฺเหนืออาณาจักร  หมายถึง เขาได้เป็นเจ้าของเหนืออาณาจักร์หรือครอบครองอาณาจักร"
ตัฟซีรอัฏเฏาะบะรีย์ อธิบายซูเราะฮ์อัลบะกอเราะฮ์ อายะฮ์ 29 เล่ม 1 หน้า 192   
นี้คือท่านอิบนุญะรีร ซึ่งเป็นหนึ่งในอุลามาอฺสะละฟุศศอลิห์ ได้ระบุว่า การอิสติวาอฺ มีความหมายว่า ปกครองก็คือหนึ่งในความหมายของภาษาอาหรับครับ 
 


5. ปราชญ์ภาษาอาหรับท่านอะห์มัด บิน มุฮัมมัด บิน อะลี อัลฟัยยูมีย์   (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 770)  ได้กล่าวว่า

إِسْتَويَ عَليَ سَرِيْرِ المَلِكِ : كِنَايَةٌ عَنِ التَمَلُّكِ وَ إِنْ لَمْ يَجْلِسْ عَلَيْهِ

"การอิสติวาอฺ เหนือ บัลลังก์ของกษัตริย์  เป็นการเปรียบเปรยถึงการปกครองหากแม้นว่ากษัตริย์จะไม่นั่งบนบัลลังก์นั้นก็ตาม"

หนังสือ อัลมิศบาหุลมุนีร หน้า 113



6. ปราชญ์ภาษาอาหรับท่านอะบูลกอซิม อัซฺซัจญาจญ์  (เสียชีวิตปี ฮ.ศ. 340)  ได้กล่าวว่า

فَقَوْلُ العَرَبِ : عَلاَ فُلاَنٌ فُلاَناً أي غَلَبََهُ وَقَهَرَهُ كَمَا قَالَ الشَّاعِرُ

فَلَمَّا عَلَوْنَا واسْتَوَيْنَا عَلَيْهِمْ  تَرَكْنَاهُمْ صَرْعَي لِنَسْرٍ وَكَاسِرِ

يَعْنِي غَلَبَنَاهُمْ وَقَهَرْنَاهُمْ واسْتَوْلَيْنَا عَلَيْهِمْ

"ดังนั้นคำกล่าวของชนอาหรับที่ว่า  ชายคนหนึ่งสูงเหนือชายคนหนึ่ง  หมายถึง เขาได้ชนะและมีอำนาจเหนือเขา  เฉกเช่นที่นักกวีได้กล่าวว่า

ขณะที่เราได้สูงเหนือพวกเขา  และเราได้(อิสติวาอฺ)ปกครองเหนือพวกเขา  เราได้ทิ้งพวกเขาให้เหยี่ยว"

หมายถึง เราได้พิชิตพวกเขา  มีอำนาจเหนือพวกเขา  และเราได้(อิสติวาอฺ)ปกครองพวกเขา" ดู หนังสืออิชติกอกุ้ อิสมาอิลลาฮ์ หน้า 109



7. ปราชญ์ภาษาอาหรับท่านมุฮัมมัด บิน อะบีบักร์ อัรรอซี  (ปี ฮ.ศ. 666) ได้กล่าวว่า 

 وَاسْتَوَي أَي اِسْتَوْليَ وَظَهَرَ

"อิสตะวา หมายถึงอิสเตาลา (ปกครอง) และปรากฏ"

หนังสือมุคตาร อัศศิฮาหฺ หน้า 136



นี้คือบางส่วนจากปราชญ์สะลัฟและค่อลัฟที่ยืนยันว่า การอธิบาย คำว่า อิสติวาอฺ ที่อยู่ในความหมายของ อิสติลาอฺ (ปกครอง) นั้น  ก็คือ หมายถึงหนึ่งในภาษาอาหรับ  ดังนั้น การกล่าวว่า "การแปล "อิสติวาอ์" เป็น "อิสติลาอ์" นั้น ถือเป็นความหมายที่ถูกใช้กันในภาษาอาหรับ  ไม่ใช่การบิดเบือนอย่างที่คุณอ้างไว้  ดังนั้น จึงถือว่าเป็นความอำเภอใจและไม่รอบคอบในการตรวจคำกล่าวของนักปราชญ์นั่นเองครับ

Re: การตีความ "อิสติวาอฺ" ไปเป็น "อิสเตาลา" นั้น เป็นการบิดเบือน ตามทัศนะของวะฮาบีย์ By: Muftee Date: ธ.ค. 14, 2009, 05:16 PM
ส่วนวะฮาบีย์ จะให้ความหมายของ "อิสติวาอฺ" ว่า "สถิต"  إستقرار  (หมายถึง อยู่ , ตั้งอยู่ ตามพจนานุกรมไทย)
ดังที่เราได้เห้นจากการแปลอัลกุรอานของวะฮาบีย์ในปัจจุบัน

อนึ่ง 

อายะฮ์ อัลอิสติวาอฺ นี้ถือว่าเป็นอายะฮ์มุตะชาบิฮาต(อายะฮ์ที่ให้ความหมายหลายนัย) หากจะทำการตีความก็ต้องตีความโดยให้กลับไปยังอายะฮ์ที่มั๊วะห์กัม (อายะฮ์ที่ให้ความหมายชัดเจนในคุณลักษณะและพระนามของพระองค์) ดังนั้นการตีความว่า "ปกครอง" ก็กลับไปยังคุณลักษณะและพระนามของพระองค์ที่ว่า القَاهِرُ (อัลกอฮิร) "ผู้ทรงอำนาจ" หรือ المَالِكُ (อัลมาลิก) "ผู้ทรงปกครอง" ซึ่งความหมายของคุณลักษณะนี้มีอายะฮ์อัลกุรอานมากมายได้รับมันไว้  ส่วนการให้ความหมายว่า "สถิต" หรือ "นั่ง" ตามหลักอะกีดะฮ์ของวะฮาบีย์นั้น  ปรากฏว่าไม่มีพระนามใดของอัลเลาะฮ์ที่ชื่อว่า المُسْتَقِرُّ (อัลมุสตะกิร) "ผู้ทรงสถิต" และไม่มีอัลกุรอานและฮะดิษซอฮิหฺใดมายืนยันความหมายว่า อัลเลาะฮ์ทรงสถิต ทรงตั้งอยู่

ด้วยเหตุนี้  บรรดาปราชญ์แห่งอุมมะฮ์ผู้เป็นทายาทท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จึงให้การตำหนิผู้ที่ให้ความหมายว่า "สถิต" หรือ "นั่ง" ต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา  และซ้ำร้ายมันยังเป็นการให้ความหมายของพวกอัลมุญัสสิมะฮ์ ,พวกอัลกัรรอมียะฮ์ , อัลกัลบีย์ ,และมุกอติล , วัลอิยาซูบิลลาฮ์

กลุ่มวะฮาบีย์มักจะอ้างคำอธิบายความหมายอิสติวาอฺที่ว่า

ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ : قَالَ الْكَلْبِي وَمُقَاتِل: اِسْتَقَرَّ

"การอิสติวาอฺบนบัลลังก์นั้น  อัลกัลบีย์และมะกอฏิลกล่าวว่า  หมายถึง  ทรงสถิตอยู่"

คำกล่าวของ อัลกะละบีย์และมุกอติล นี้แหละครับ ที่วะฮาบีย์ทั้งหลายเขายึดเอามาเป็นบรรทัดฐานในเรื่องของอะกีดะ ฮ์ เกี่ยวกับ อัลอิสติวาอ์ เพราะวะฮาบีย์จะแปลเกี่ยวกับอายะฮ์ อัลอิสติวาอ์นี้  บางทีแปลว่า "ประทับ(นั่ง)" (جَلَسَ) หรือแปลว่า "สถิต"  (اِسْتَقَرَّ) เท่านั้น และกลุ่มวะฮาบีย์ก็เลือกแปลแบบนี้  ซึ่งเมื่อตรวจสอบไปยังต้นขั่วเดิมก็เป็นคำกล่าวที่ให้ความหมายโดย  อัลกัลบีย์ และ มุกอติล

ต่อไปนี้เราลองมารู้จักและพิจารณาถึงสถานะภาพของ  อัลกัลบีย์ และ อัลมุกติล ตามหลักวิชาการกันครับ 

1. อัล-กัลบีย์

ท่านอัล-บัยฮะกีย์ ได้กล่าววิจารณ์และถ่ายทอดคำวิจารณ์ของบรรดานักหะดิษว่า

" อบูซอลิหฺ , อัล-กัลบีย์ , และมุฮัมมัด บิน มัรวาน  ซึ่งพวกเขาทั้งหมดนี้  ถูกทิ้ง ตามทัศนะของอุลามาอ์หะดิษ
ซึ่งบรรดานักฮะดิษจะไม่นำมาอ้างหลักฐานด้วยกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย จากบรรดาสายรายงานของพวกเขา 
เนื่องจากมีสิ่งที่ขัดกับหลักการอย่างมาก และปรากฏความเท็จในบรรดาสายรายงานของพวกเขา "



"ท่านอลี บิน อัลมะดีนีย์ กล่าวว่า ฉันได้ยิน ยะหฺยา บิน สะอีด อัลก็อฏฏอน ได้เล่า จากท่านซุฟยาน 
ซึ่งท่านซุฟยานกล่าวว่า อัลกัลบีย์ กล่าวว่า "อบู ซอลิหฺ กล่าวกับฉันว่าทุกสิ่งที่ฉันได้รายงานเล่ากับท่านนั้นเป็นการโกหก"


"... อัล-กัลบีย์ นั้น ท่านยะหฺยา บิน สะอีด และ ท่านอับดุรเราะฮ์มาน บิน มะฮ์ดี ได้ทิ้ง(การรายงาน) กับเขา"


"ท่านยะหฺยา บิน มะอีน กล่าวว่า อัล-กัลบีย์  นั้น ไม่มีอะไร(รายงานถึงฉันเลย)" ดู อัลอัสมาอ์ วะ อัสซิฟาต ของท่าน อัล-บัยฮะกีย์ หน้าที่ 384


และท่านอัลกุรฏุบีย์กล่าวว่า  “อัลกัลป์บีย์นั้น ฎออีฟ” ดู  ตัฟซีร อัล-กุรฏุบีย์ เล่ม 1 หน้า 271


2. มุกอติล บิน สุลัยมาน

มุกอติล ท่านนี้ ฏออีฟ อย่างมาก และเป็นพวกมุชับบิฮะฮ์ (กลุ่มที่พรรณาอัลเลาะฮ์คล้ายคลึงกับมัคโลค) อัลมุญัสสิมอะฮ์ (กลุ่มที่พรรณาอัลเลาะฮ์เป็นรูปร่าง)
ท่านอัซฺซะฮะบีย์ กล่าววิจารณ์ว่า "มุกอติล บิน สุไลมาน นี้ เป็นคนบิดอะฮ์ และเขาเชื่อถือไม่ได้ "
(ดู อัลอุลู้ว์ หลักฐานลำดับที่ 333 และหนังสือ มีซาน อัลเอี๊ยะติดาล เล่ม 4 หน้า 174)


ท่านอิมาม อัสซะยูฏีย์ ได้กล่าวว่า " ท่านอัซซะฮะบีย์ ได้กล่าววิจารณ์ สายรายงานหะดิษหนึ่งที่ท่าน อัล-หากิม รายงาน จากท่านอิบนุ มัสอูด (ร.ฏ.) ว่า
อิสหาก และ มุกอติล นั้น ทั้งสอง เชื่อถือไม่ได้ และเป็นคนที่พูดไม่สัจจะ" (ดูอัล-ละอาลิอฺ อัล-มัสนูอะฮ์ เล่ม2 หน้า306 ,อัลมุสตัดร๊อก เล่ม 4 หน้า 320)


ท่านอัลค่อฏีบ อัลบุฆดาดีย์  ได้รายงานถึงท่านอิมามอะห์มัด  ซึ่งท่านอะห์มัดกล่าวว่า 
"ให้กับมุกอติลนั้นมีตำราต่าง ๆ เมื่อดูแล้ว  ฉันไม่พบว่าเขามีความรู้เรื่องอัลกุรอาน" หนังสือตารีคบุฆดาด 13/161


ท่านอัลค่อฏีบ อัลบุฆดาดีย์  ได้รายงานถึงท่านอะห์มัด บิน ยาซาร  ความว่า 
"มุกอติลนั้นฮะดิษเขาถูกทิ้ง โดยเขาได้พูดเกี่ยวกับบรรดาซีฟาตของอัลเลาะฮ์ด้วยกับสิ่งที่ไม่อนุญาตให้รายงานจากเขา" หนังสือตารีคบุฆดาด 13/162


ท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ ฮิบบาน กล่าวว่า "มุกอติลได้รับเอามาจากพวกยาฮูดีและนะซอรอเกี่ยวกับวิชาอัลกุรอานเพื่อให้สอดคล้องกับพวกเขา
และมุกอติลเป็นพวกมุชับบิฮะฮ์ที่พรรณาความคล้ายคลึงระหว่างอัลเลาะฮ์กับมัคโลคและพร้อมกับสิ่งดังกล่าว  เขายังโกหกเกี่ยวกับฮะดิษ"
ดู หนังสืออัลมัจญฺรูฮีน 2/15 , หนังสืออัฏฏุอะฟาอฺ ของท่านอิบนุเญาซีย์ 1/136


เมื่อผู้ที่รายงานและผู้ที่กล่าวว่า อัลอิสติวาอ์ มีความหมายว่า "สถิต" นั้น เป็นบุคคลที่อุลามาอ์ไม่ให้ความเชื่อถือ พูดไม่สัจจะ 
และยังเอาหลักความเชื่อของยะฮูดีเข้ามาอธิอบายอัลกุรอานอีกด้วย  ดังนั้นการแปลความหมายอิสติวาอฺของวะฮาบีย์ที่ว่า “สถิต” นั้น 
จึงเป็นการแปลตามหลักอะกีดะฮ์ของกลุ่มบิดอะฮ์


Re: การตีความ "อิสติวาอฺ" ไปเป็น "อิสเตาลา" นั้น เป็นการบิดเบือน ตามทัศนะของวะฮาบีย์ By: Muftee Date: ธ.ค. 14, 2009, 05:21 PM
การตีความ  "อิสติวาอ์"  อยู่ในความหมายของ  "อำนาจปกครอง"  นั้น  เหตุใดที่วะฮาบีย์กล่าวหาว่าเป็นการตีความที่ไม่มีหลักฐาน บิดเบือน  ทั้งที่ท่านอิมาม อิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์  ได้ทำการตีความในความหมายนี้เช่นเดียวกัน  หรือว่าท่านอิบนุญะรีร อัฏฏ๊อบรีย์  เป็นพวกที่บิดเบือนอัลกุรอาน ไม่รู้จักหลักการของภาษาอาหรับ !!!!!

ท่าน อัฏเฏาะบะรีย์อุลามาอฺสะลัฟ ได้ให้น้ำหนักและทอนความหมายให้อยู่ในเชิงของนามธรรม(คือคุณลักษณะสูงส่ง) ครับ  ซึ่งท่านกล่าวว่า

فَإِنْ زَعَمَ أَنَّ ذَلِكَ لَيْسَ بِإِقْبَالِ فِعْل وَلَكِنَّهُ إقْبَال تَدْبِير , قِيلَ لَهُ : فَكَذَلِكَ فَقُلْ : عَلَا عَلَيْهَا عُلُوّ مُلْك وَسُلْطَان لَا عُلُوّ انْتِقَال وَزَوَال

"ดังนั้น ก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านอ้างว่า การตีความคำว่า "อิสติวาอฺ" นั้น คือ การมุ่งหน้า . ฉะนั้น หรือว่าพระองค์ทรงผินหลังให้กับฟากฟ้า จากนั้นพระองค์ก็มุ่งไปยังฟากฟ้า?? แต่หากเขาอ้างว่า ดังกล่าวนั้น ไม่ใช่การมุ่งหน้าแบบกระทำ(มุ่งหน้า) แต่เป็นการมุ่งบริหาร. (ท่านอัฏเฏาะบะรีย์จึงกล่าวตอบโต้ว่า) ก็ให้กล่าวแก่เขาว่า ดังนั้น แบบนั้นแหละ(คือการให้ความหมายว่าเป็นการมุ่งกระทำเชิงบริหาร) ท่านจงกล่าวว่า "พระองค์ทรงสูงส่งเหนือฟากฟ้า แบบการสูงส่งของการปกครองและอำนาจ (ไม่ใช่อยู่สูงแบบมีสถานที่) ไม่ใช่สูงแบบเคลื่อนย้ายและก็หายไป" (ดู ตัฟซีร เฏาะบะรีย์ เล่ม 1 หน้า 192)

ดังนั้น การให้ความหมายของ "อิสติวาอฺ" ไปสู่ความหมาย "อิสตีลาอฺ หรือ อิสเตาลา" (การปกครอง) นั้น ถือเป้นการให้ความหมายที่ถูกต้อง ตรงกับหลักการทางภาษาอาหรับอย่างชัดเจน และตรงกับหลักการของอะชาอิเราะฮฺที่ว่า อัลลอฮฺทรงมีมาแล้วแต่เดิม  แต่ไม่มีสถานที่ เพราะการให้ความหมายว่า "อัลลอฮฺทรงปกครอง" นั้น  ไม่ได้บ่งบอกถึงการมีทิศหรือสถานที่ให้กับอัลลอฮฺ  เพราะพระองค์ทรงปกครองมัคลูก แต่ไม่รู้ว่าปกครองที่ไหน  ปกครองอย่างไร  เพราะไม่มีใครรู้ว่าอัลลอฮฺ อยู่ที่ไหน  ขนาดมลาอิกะฮฺผู้แบกอะรัชเองก็ยังไม่รู้ว่า อัลลอฮฺอยู่ที่ไหน ?? 


รายงานจากท่านอบูฮุรอยเราะฮ์(ร.ฏ.) ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ (ซ.ล.) กล่าวว่า

أُذِنَ لِىْ أَنْ أُحَدِّثَ عَنْ مَلَكٍ قَدْ مَرَقَتْ رِجْلاَهُ فِى الأَرْضِ السَّابِعَةِ ، وَالْعَرْشُ عَلىَ مَنْكِبِهِ ، وَهُوَ يَقُوْلُ سَبْحَانَكَ أَيْنَ كُنْتَ وَأَيْنَ تَكُوْنُ

"ฉันได้รับอนุญาตให้เล่าจากเรื่องมะลาอิกะฮ์ท่านหนึ่ง  ซึ่งทั้งสองเท้าของเขาผ่านเข้ามาในแผ่นดินชั้นที่ 7 โดยที่อารัช(บัลลังก์)อยู่บนบ่าของเขา และมะลาอิกะฮ์(ผู้แบกบัลลังก์)ก็กล่าวว่า มหาบริสุทธิ์แด่พระองค์ท่าน พระองค์ท่านทรงอยู่ใหนและพระองค์กำลังอยู่ใหน"   หะดิษนี้ ซอฮิหฺ 

ท่านอะบียะอฺลาได้รายงานฮะดิษไว้ใน มุสนัดของท่าน เล่ม 11 หน้า 496 หะดิษที่ 6619 , ท่านอัลหาฟิซฺ อิบนุหะญัร ได้ตัดสินซอฮิหฺไว้ในหนังสือ อัลมะฏอลิบ อัลอาลิยะฮ์ บิซะวาอิด อัษษะมานียะฮ์ เล่ม 3 หน้า 267 ซึ่งท่านอิบนุหะญัรกล่าวว่า (ให้กับฮะดิษของอบียะอฺลา นั้น หะดิษซอฮิหฺ) , และท่านอัลหาฟิซฺ อัลฮัยษะมีย์ ได้กล่าวยืนยันไว้ในหนังสือ มัจญฺมะอ์ อัซซะวาอิด เล่ม 1 หน้า 80 โดยท่าน อัลฮัยษะมีย์กล่าวว่า (รายงานโดยอบูยะอฺลา และบรรดานักรายงานหะดิษนี้ เป็นนักรายงานที่ซอฮิหฺ) , ท่านอิมามอัศศะยูฏีย์ได้รายงานไว้ในหนังสืออัลญาเมี๊ยะอฺอัศศ่อฆีร  ฮะดิษลำดับที่ (906) , และฮะดิษนี้ได้รับการสนับสนุนจากจากฮะดิษท่านญาบิร บิน อับดิลลาฮ์ ด้วยสองรายงาน  ซึ่งรายงานโดยท่านอะบูดาวูด ฮะดิษลำดับที่ (4727)   และอัลบานีย์เอง  ก็ตัดสินว่าเป็นฮะดิษซอฮิห์  ไว้ในหนังสือ มุตตะซ็อรสุนันอะบีดาวูด (4727)  , และอัลบานีย์ยังตัดสินเป็นฮะดิษซอฮิห์ไว้ในหนังสือ ญาเมี๊ยะอฺอัศศ่อฮิห์ (854)

และการให้ความหมายของ "อิสติวาอฺ" ไปสู่ความหมาย "อิสตีลาอฺ หรือ อิสเตาลา" (การปกครอง) นั้น ถือเป้นการให้ความหมายที่ถูกต้องกับหลักการที่ว่า อัลลอฮฺทรงมีมาแล้วแต่เดิม  แต่ไม่มีสถานที่ เพราะการให้ความหมายว่า "อัลลอฮฺทรงปกครอง" นั้น  ไม่ได้บ่งบอกถึงการมีทิศหรือสถานที่ให้กับอัลลอฮฺ  เพราะพระองค์ทรงปกครองมัคลูก แต่ไม่รู้ว่าปกครองที่ไหน  ปกครองอย่างไร  เพราะไม่มีใครรู้ว่าอัลลอฮฺ อยู่ที่ไหน  ซึ่งการไม่มีทิศและสถานที่ให้กับอัลลอฮฺแบบนี้  ตรงกับหลักการยึดมั่นของเศาะหาบะฮฺและบรรดาปราชญ์สะละฟุศศอลิฮฺ  


ท่านอิมามอลี (ร.ฏ.) คอลิฟะฮฺผู้ทรงธรรมท่านที่ 4 แห่งโลกอิสลาม กล่าวว่า

كان ولامكان، وهو الأن على ما عليه كان

"อัลเลาะฮฺทรงมีมาแล้ว โดยที่ไม่มีสถานที่ และพระองค์ในปัจจุบันนี้ ก็ยังอยู่อย่างที่พระองค์ทรงเป็นอย่างนั้น(คือไม่ทรงมีสถานที่)"  ดู อัลฟัรกุ บัยนะ อัลฟิร๊อก หน้า 333 ของท่านอบีมันซูร อัลบุฆดาดีย์


และท่านอิมามอะลี(ร.ฏ.)เช่นกันว่า

إن الله تعالى خلق العرش إظهارا لقدرته لا مكانا له

"อัลเลาะฮฺ ตะอาลา ทรงสร้างอะรัช (บัลลังค์) เพื่อทำให้เห็นถึงเดชานุภาพของพระองค์ ไม่ใช่เพื่อเป็นสถานที่(พำนัก)สำหรับพระองค์"  ดู อัลฟัรกุ บัยนะ อัลฟิร๊อก หน้า 333 ของท่านอบีมันซูร อัลบุฆดาดีย์


อิมามซัยนุลอาบิดีน อลี บิน อัลหุซัยน์ บิน อลี (ร.ฏ.)

ซึ่งท่านเป็นอุลามาอฺซะลัฟ กล่าวว่า

أنت الله الذي لا يحويك مكان

"พระองค์คืออัลเลาะฮฺ ที่ไม่มีสถานที่มาห้อมล้อมพระองค์"  ดู อิตหาฟ อัสสาดะฮฺ อัลมุตตะกีน เล่ม 4 หน้า 380 ของท่านซะบีดีย์


อิมามญะฟัร อัศศอดิก (ร.ฏ.)

ท่านอิมามญะฟัร อัศศอดิก (ร.ฏ.) กล่าวว่า

"من زعم أن الله في شىء، أو من شىء، أو على شىء فقد أشرك. إذ لو كان على شىء لكان محمولا، ولو كان في شىء لكان محصورا، ولو كان من شىء لكان محدثا- أي مخلوقا"

"ผู้ใดอ้างว่า อัลเลาะฮฺอยู่ในสิ่งหนึ่ง หรือมาจากสิ่งหนึ่ง หรืออยู่บนสิ่งหนึ่ง แท้จริงเขาได้ทำชิริก เพราะหากพระองค์ทรงอยู่บนสิ่งหนึ่ง แน่นอนพระองค์ก็จะถูกแบก และหากพระองค์อยู่ในสิ่งหนึ่ง พระองค์ก็ถูกจำกัด และหากพระองค์ทรงมาจากสิ่งหนึ่ง พระองค์ก็เป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่(หมายถึงเป็นมัคโลค)" ดู อัรริซาละฮฺ อัลกุชัยรียะฮฺ หน้า 6



อิมามอบูหะนีฟะฮฺ (ร.ฏ.)

ท่านเป็นอิมามของมัชฮับหะนาฟีย์ ซึ่งเป็นอุลามาอฺซะลัฟ ท่านกล่าวว่า

" قلت: أرأيت لو قيل أين الله تعالى؟ فقال- أي أبو حنيفة-: يقال له كان الله تعالى ولا مكان قبل أن يخلق الخلق، وكان الله تعالى ولم يكن أين ولا خلق ولا شىء، وهو خالق كل شىء"

"ฉันขอกล่าวว่า ท่านจะบอกว่าอย่างไร หากถูกกล่าว(แก่ท่าน)ว่า อัลเลาะฮฺอยู่ใหน ? ดังนั้น เขา(อบูหะนีฟะฮฺ)กล่าวว่า ก็กล่าวตอบแก่เขาว่า ? อัลเลาะฮฺทรงมีมาแล้ว โดยที่ไม่มีสถานที่ ก่อนที่พระองค์จะสร้างมัคโลก และอัลเลาะฮฺทรงมีมาแล้ว โดยที่ไม่มีคำว่า ที่ใหน (ให้กับพระองค์) ไม่มีมัคโลก และไม่มีสิ่งใด(พร้อมกับพระองค์) โดยที่พระองค์นั้นทรงสร้างทุกๆ สิ่ง" ชัรหฺ อัลฟิกหฺ อัลอักบัร ของท่าน มุลลา อะลีย์ อัลกอรีย์ หน้า 138


ท่านอบูหะนีฟะฮฺ ยังกล่าวอีกเช่นกันว่า....

"ونقر بأن الله سبحانه وتعالى على العرش استوى من غير أن يكون له حاجة إليه واستقرار عليه، وهو حافظ العرش وغير العرش من غير احتياج، فلو كان محتاجا لما قدر على إيجاد العالم وتدبيره كالمخلوقين، ولو كان محتاجا إلى الجلوس والقرار فقبل خلق العرش أين كان الله، تعالى الله عن ذلك علوا كبيرا"

"เรายอมรับว่า แท้จริง อัลเลาะฮฺ(ซ.บ.)ทรงอยู่เหนืออะรัช โดยที่พระองค์ไม่ต้องการไปยังมัน และไม่ได้สถิตอยู่บนมัน พระองค์ทรงปกปรักรักษาอะรัชโดยที่ไม่ต้องการมัน ดังนั้น หากพระองค์มีความต้องการ แน่นอนพระองค์ก็ไม่มีความสามารถสร้างโลกและบริหารมันได้ โดยที่เหมือนกับบรรดามัคโลค และถ้าหากพระองค์ทรงต้องการไปยังการนั่งและสถิต(อยู่บนอะรัช) ดังนั้นก่อนที่พระองค์ทรงสร้างอะรัช พระองค์อยู่ใหน ? ? อัลเลาะฮฺทรงปราศจากจากสิ่งดังกล่าวอย่างยิ่งใหญ่" ดู กิตาบ วะซียะฮ์ ของอบูหะนีฟะฮ์ หน้า 2



ท่านอิมามอบูหะนีฟะฮฺ  ยังกล่าวอีกเช่นกันว่า


ولقاء الله تعالى لأهل الجنة بلا كيف ولا تشبيه ولا جهة حق

" และการที่อัลเลาะฮฺ(ตะอาลา)ทรงพบกับชาวพบสวรรค์ โดยไม่มีวิธีการ ไม่มีการคล้ายคลึง และไม่มีทิศนั้น เป็นสัจจะธรรม" ดู กิตาบ อัลวะซียะฮฺ ของอบูหะนีฟะฮฺ หน้า 4



อิมามชาฟิอีย์ (ร.ฏ.)

ซึ่งท่านเป็น อุลามาอฺซะลัฟ ปราชน์ท่านสำคัญของโลกอิสลาม ท่านกล่าวว่า

" إنه تعالى كان ولا مكان فخلق المكان وهو على صفة الأزلية كما كان قبل خلقه المكان لا يجوز عليه التغيير في ذاته ولا التبديل في صفاته "

"แท้จริงอัลเลาะฮฺ ตะอาลา ทรงมีมา(แต่เดิม)แล้ว โดยที่ไม่มีสถานที่ จากนั้นอัลเลาะฮฺทรงสร้างสถานที่ โดยที่พระองค์อยู่บนคุณลักษณะเดิม เสมือนกับที่พระองค์ทรงมีก่อนสร้างสถานที่ ไม่อนุญาตเปลี่ยนแปลงซาตของพระองค์ และคุณลักษณะของพระองค์ ดู"  อิตหาฟ อัสสาดะฮฺ อัลมุตตะกีน เล่ม 2 หน้า 24


อิมามอะหฺมัด บิน หัมบัล (ร.ฏ.)

ได้ระบุไว้ในหนังสือ ฏ่อบ่าก๊อต อัลหะนาบิละฮฺ ของท่าน อบี ยะอฺลา ว่า

أن الإمام أحمد يقول : والله تعالى لم يلحقه تغير ولا تبدل ولا يلحقه الحدود قبل خلق العرش ولا بعد خلق العرش

" แท้จริง อิมามอะหฺมัด กล่าวว่า อัลเลาะฮฺ ตะอาลา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มาเกี่ยวพันกับพระองค์ และไม่มีขอบเขตมาเกี่ยวพันกับพระองค์ ไม่ว่าก่อนสร้างอะรัชหรือหลังการสร้างอะรัชแล้ว" เฏาะบะกอต อัลหะนาบิละฮฺ เล่ม 2 หน้า 297

สรุป การให้ความหมายของ  "อิสติวาอฺ"  ไปสู่ความหมาย "อิสตีลาอฺ หรือ อิสเตาลา"  (การปกครอง) นั้น มีหลักฐานทางภาษาอาหรับอย่างชัดเจนและได้รับการรับรองจากนักปราชญ์มากมาย ไม่ว่าจะเป้นนักปราชญ์ทางภาษาอาหรับ ,นักปราชญ์สายตัฟซีร  ไม่ใช่การให้ความหมายแบบตะห์รีฟ (บิดเบือน) อย่างที่คุณกล่าวอ้างมา  และการให้ความหมาย "อิสติวาอฺ"  ไปสู่ความหมาย "อิสตีลาอฺ หรือ อิสเตาลา"  (การปกครอง) นั้น ก็สอดคล้องกับหลักการของการทำให้อัลลอฮฺบริสุทธิ์จากทิศ และสถานที่ เพราะเมื่อ "อิสติวาอฺ"  ถูกให้ความหมายไปเป็น "อิสตีลาอฺ หรือ อิสเตาลา"  (การปกครอง) แล้ว  ก็เท่ากับว่าไม่รู้ว่าอัลลอฮฺอยู่ที่ไหน ปกครองที่ไหน ปกครองอย่างไร ?? ซึ่งนี่คือหลักการยึดมั่นของเราชาวอะลิสสุนนะฮฺ วัลญะมาอะฮฺ และบรรดาปราชญ์ส่วนมากแห่งโลกอิสลาม    ซึ่งต่างกับหลักการของวะฮาบีย์ที่บอกว่า "อัลลอฮฺทรงสถิตอยู่ ณ. บนฟ้า"  เหมือนที่พวกเขาได้แปลไว้แบบนี้ในตำราแปลอัลกุรอาน ในปัจจุบัน

Re: การตีความ "อิสติวาอฺ" ไปเป็น "อิสเตาลา" นั้น เป็นการบิดเบือน ตามทัศนะของวะฮาบีย์ By: Al Fatoni Date: ธ.ค. 14, 2009, 09:52 PM
 myGreat: ญซากัลลอฮุค็อยร็อนญซาอ์ ครับ ถ้าเป็นไปได้อยากให้นำเสนอทัศนะของบรรดาอุละมาอ์ที่มีต่ออาย๊าต -มุตะชาบิฮ๊าตอื่นๆ ด้วยนะครับ เช่น อายะฮ์ว่าด้วยวัจฺห์, ซ๊าก, อะศอบิอฺ, พระองค์ทรงแปลกจง, ผู้ใดที่ลืมอัลลอฮฺ อัลลอฮฺก็จะลืมเขา, และอื่นๆ ครับ - จะคอยติดตามอย่างใกล้นะครับ และขอให้อัลลอฮฺทรงตอบแทนความดีงามแก่บังมุฟตีด้วยนะครับ และทรงโปรดประทานความเข้าในสิ่งที่อ่านแก่ผมและผู้อ่านท่านอื่นๆ ทุกท่าน อามีน ยาร็อบบัลอาละมีน - วัสสลามุอลัยกุม
Re: การตีความ "อิสติวาอฺ" ไปเป็น "อิสเตาลา" นั้น เป็นการบิดเบือน ตามทัศนะของวะฮาบีย์ By: subson Date: ธ.ค. 14, 2009, 09:58 PM
โอ้มนุษย์เอ๋ย พวกเจ้าจงยำเกรงพระเจ้าของพวกเจ้าเถิด   และจงกลัววันหนึ่งที่พ่อไม่อาจจะช่วยลูกของเขาได้ และลูกก็ไม่อาจจะช่วยพ่อของเขาได้แต่อย่างใด  แท้จริงสัญญาของอัลลอฮฺนั้นเป็นความจริง ดังนั้นอย่าให้การมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ล่อลวงพวกเจ้า  และอย่าให้หัวหน้าพวกล่อลวง (ชัยฏอน) มาหลอกลวงพวกเจ้าเกี่ยวกับอัลลอฮฺเป็นอันขาด
Re: การตีความ "อิสติวาอฺ" ไปเป็น "อิสเตาลา" นั้น เป็นการบิดเบือน ตามทัศนะของวะฮาบีย์ By: al-firdaus~* Date: ธ.ค. 14, 2009, 10:30 PM
โอ้มนุษย์เอ๋ย พวกเจ้าจงยำเกรงพระเจ้าของพวกเจ้าเถิด   และจงกลัววันหนึ่งที่พ่อไม่อาจจะช่วยลูกของเขาได้ และลูกก็ไม่อาจจะช่วยพ่อของเขาได้แต่อย่างใด  แท้จริงสัญญาของอัลลอฮฺนั้นเป็นความจริง ดังนั้นอย่าให้การมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ล่อลวงพวกเจ้า  และอย่าให้หัวหน้าพวกล่อลวง (ชัยฏอน) มาหลอกลวงพวกเจ้าเกี่ยวกับอัลลอฮฺเป็นอันขาด


ซูเราะฮ์ลุกมาน อายะฮ์ที่ 33  ในตอนท้ายได้ถูกอธิบายไว้ว่า

" และอย่าให้มารร้ายหลอกลวงพวกเจ้า(ให้กล้าขัดขืน) กับ (คำบัญชาของ) อัลลอฮ์อย่างเด็ดขาด "

ญะซากัลลอฮ์ค็อยรอนที่ได้หยิบยกอายะฮ์นี้ขึ้นมา แท้จริงแล้วคำบัญชาของอัลลอฮ์สัจจริง
อัลลอฮ์ทรงบริสุทธิ์จากการเหมือนมัคโลค

Re: การตีความ "อิสติวาอฺ" ไปเป็น "อิสเตาลา" นั้น เป็นการบิดเบือน ตามทัศนะของวะฮาบีย์ By: nextstep555 Date: ธ.ค. 18, 2009, 02:34 PM
การตีความ "อิสติวาอฺ" ไปเป็น "อิสเตาลา" นั้น เป็นการบิดเบือน ตามทัศนะของวะฮาบีย์  อ๋อกระจ่างเลยครับ
Re: การตีความ "อิสติวาอฺ" ไปเป็น "อิสเตาลา" นั้น เป็นการบิดเบือน ตามทัศนะของวะฮาบีย์ By: mustura^@^ Date: ธ.ค. 18, 2009, 02:44 PM

คุณสับสนมาอีหรอบเดิม หยิบยกอายัตแล้วก็สะบัดก้นไป
Re: การตีความ "อิสติวาอฺ" ไปเป็น "อิสเตาลา" นั้น เป็นการบิดเบือน ตามทัศนะของวะฮาบีย์ By: Al Fatoni Date: ธ.ค. 18, 2009, 03:18 PM

วะฮาบีย์กลุ่มหนึ่งในอียิปต์ กล่าวว่า

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง ตะอฺวีล กับตะฮฺรีฟ เสียก่อน คำว่าตะอฺวีลความหมายของมันก็คือ เปลี่ยนจากความหมายที่ปรากฏอยู่ชัดเจนไปสู่อีกความหมายหนึ่งโดยมีหลักฐานมายืนยัน   ส่วนคำว่า ตะฮฺรีฟ ก็คือ การเปลี่ยนจากความหมายของคำที่ปรากฏอยู่ชัดเจนไปสู่อีกความหมายหนึ่งโดยไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนมายืนยัน จากตัวบทและสติปัญญา เช่น อิสตาวา เป็น อิสเตาลา ดังนั้นก็สรุปได้แล้วว่า คำว่าตะรีฟกับตะวีลมีความแตกต่างกัน เราก็สรุปได้ว่าการตะวีลเป็นที่อนุญาตในอุลามาอฺสลัฟและคอลัฟ.


               ก่อนหน้านี้ เราเคยแต่ได้ยิน และอ่านทัศนะของวะฮาบีย์ว่า การตะวีลนั้นเป็นบิดอะฮ์ นบีย์ไม่ทำ เศาะหาบะฮ์ไม่ทำ สลัฟไม่ทำ และถือเป็นแนวทางของพวกบิดอะฮ์อย่างนั้นอย่างนี้ แต่มาวันนี้ กลับยอมรับการตะวีล ซ้ำยังจะพยายามจะเบี่ยงคำนิยามของตะวีลอันเป็นที่รู้กัน ไปเป็นคำนิยามอื่น พร้อมทั้งยัดเยียดคำนิยามของคำใหม่ คือคำว่า "ตะหฺรีฟ" หรือบิดเบือน ให้กับกลุ่มที่ทำการตะวีลเสียใหม่ ตกลงแล้ว อะไรคือจุดยืนพวกวะฮาบีย์ต่อกลุ่มที่ตะวีลหรือ ตกลงได้หรือไม่ได้ รู้สึกว่าจะสับสนเองซะแล้วงานนี้ - วัลลอฮุอะอฺลัม - วัสสลามุอลัยกุม