ผู้เขียน หัวข้อ: มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 1  (อ่าน 4720 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Ahlulhadeeth

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 27
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด

วิชา มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 1


โดย รอฟีกี มูฮำหมัด



ก่อนที่จะเข้าสู่บทเรียนในวิชานี้ เราก็ควรจะได้ทราบกันก่อนว่า วิชานี้ มีที่มาอย่างไร เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในวิชานี้ ได้อย่างถูกต้อง ผมทำการสรุปเนื้อหาและใจความสำคัญจากหนังสือ "อัลว่าญีส ฟี อู่ลูมิ้ลฮ่าดีษ" เป็นหนังสือประจำคณะอู่ซูลุดดีน ซึ่งถูกนำมาเป็นหลักสูตรในคณะชารีอัต(กฎหมายอิสลาม) ในปีที่ 1 แต่งโดย อุสตาร ด๊อกเตอร์ อัลคู่ชูอีย์ อัลคู่ชูอีย์ มูฮำหมัด อัลคู่ชูอีย์ เป็นผู้ที่สอนวิชาอัลหะดีษของมหาลัยอัล-อัซฮัร และผมขอใช้หนังสือเล่มนี้ เป็นหนังสือหลักในการถ่ายทอดวิชานี้....เพื่อเป็นแนวทางแห่งความเข้าใจ

1.คำนิยาม

มุสตอละฮุ้ลหะดีษ ก็คือ วิชาที่ว่าด้วยหลักการและกฏเกณฑ์ต่างๆ ที่จะทำให้เราทราบถึงสถานภาพของมะตัน ( المتن ) ตัวบทหะดีษ , สะนัด ( السند ) สายรายงาน , และสถานะภาพของรอวีย์ ( الراوي ) ผู้รายงานหะดีษ , ทั้งในแง่ของการยอมรับและการปฏิเสธหะดีษ


2.ความเป็นมา

เป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิชาการอิสลามว่า "วิชามุสตอละฮุ้ลหะดีษ" นั้น มิได้ถูกบันทึกไว้เป็นการเฉพาะในสามศตวรรษแรก(คือ 300 ปีแรกแห่งฮิจเราะห์ศักราช) แต่วิชานี้ถูกบันทึกไว้รวมกับวิชาการอื่นๆ อาทิเช่น วิชาฟิกห์ และวิชาอุซูลุ้ลฟิกห์ ซึ่งผู้ที่ทำการบันทึกเป็นท่านแรก ก็คือ ท่านอีหม่ามชาฟิอีย์(รฮ.)ซึ่งท่านบันทึกไว้ในหนังสือ "อัรริซาละห์" และหนังสือ "อัลอุม" และท่านอีหม่ามมาลิก(รฮ.)ก็ได้บันทึกไว้เช่นกันในหนังสือ "อัลมู่วัตเตาะอ์" และท่านอีหม่ามอบูดาวูด(รฮ.)ก็ได้บันทึกไว้ในหนังสือ "ริซาละห์ อี่ลา อะห์ลี่ มักกะห์" เป็นต้น ครั้นต่อมาเมื่อวิชาความรู้ทางด้านของหะดีษได้มีการพัฒนาการขึ้น คำศัพย์ต่างๆในวิชานี้ ก็ถูกบัญญัติขึ้น และเริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในหมู่อุลามาอ์

ถูกกล่าวว่า อุละมาอ์ท่านแรกที่ได้เรียบเรียงหลักสูตรในวิชามุสตอละฮุ้ลหะดีษ ก็คือ ท่านอีมามอัรรอม่าฮุรมุซีย์(เสียชีวิตในปีฮิจเราะห์ที่ 360) ซึ่งอยู่ในศตวรรษที่สี่ หลังจากนั้นวิชานี้ก็ได้รับความสนใจจากบรรดาอุละมาอ์ในยุคถัดมา จนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยได้มีการพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิชานี้ และมีการอธิบายหลักการของวิชานี้อย่างละเอียด จนในที่สุด วิชานี้ก็ได้แตกแขนงออกเป็นหลักวิชาการต่างๆอีกมากมาย เช่น วิชาตัครีจญ์อัลหะดีษ วิชาอี่ลัลหะดีษ วิชาอัลญัรฮู่วัตตะอ์ดี้ล เป็นต้น ซึ่งแต่ละสาขาวิชาก็จะมีการรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักของวิชานั้นๆอย่างสมบูรณ์


3.ผลของการเรียนวิชานี้

ทำให้เราสามารถแยกแยะหะดีษที่ซอเฮียะห์ออกจากหะดีษที่มีข้อบกพร่องได้ และทำให้เราสามารถสืบทราบได้ว่าหะดีษใดเหมาะสมในการนำมาเป็นหลักฐาน และหะดีษใดที่ไม่อาจนำมาเป็นหลักฐานได้


4.บางส่วนของคำนิยามในวิชานี้


ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทเรียนในวิชานี้ กระผมขอนำเสนอคำนิยามบางส่วนของวิชานี้ก่อน เพื่อให้พี่น้องทุกท่านเกิดความง่ายดายต่อการเข้าใจศัพย์ทางวิชาการ และจะได้ไม่เกิดความสับสนในภายหลัง

4.1.อัลหะดีษ

คำว่า หะดีษ ( الحديث ) ในแง่ของภาษา ก็คือ "ของไหม่" ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกับคำว่า ก่อดีม ( القديم ) แปลว่า "ของเก่า หรือ ของดั้งเดิม"

และในแง่ของวิชาการนั้น คำว่า "หะดีษ" นั้น บรรดาอุลามาอ์ได้ให้คำนิยามไว้ 3 ทัศนะ คือ

ทัศนะที่ 1 หมายถึง : สิ่งที่พาดพิงไปยังท่านนบี(ซล.)อันเกี่ยวกับคำพูด , การกระทำ , การยอมรับ , ลักษณะความเป็นมนุษย์ , และมารยาทของท่าน , ตลอดจนการเคลื่อนไหว และการใช้ชีวิตของท่านทั้งในยามตื่นและยามนอน , และรวมถึงสิ่งที่พาดพิงไปยังซอฮาบะห์ของท่าน และบรรดาตาบีอีน อันเกี่ยวกับคำพูดและการกระทำ , ทัศนะนี้ เป็นทัศนะของญุมฮูรอุลามาอ์

เมื่อพิจารณาจากคำนิยามนี้ จะคลอบคลุม 3 เรื่อง คือ

1.หะดีษมัรฟัวะอ์ ( مرفوع ) หมายถึง สิ่งที่พาดพิงไปยังท่านร่อซู้ล(ซล.)อันเกี่ยวกับคำพูด การกระทำ และการยอมรับของท่าน มารยาทและลักษณะความเป็นมนุษย์ของท่าน
2.หะดีษเมากูฟ ( موقوف ) หมายถึง สิ่งที่พาดพิงไปยังซอฮาบะห์ อันเกี่ยวกับคำพูดและการกระทำ
3.หะดีษมักตัวะอ์ ( مقطوع ) หมายถึง สิ่งที่พาดพิงไปยังตาบิอีน หรือ บุคคลที่อยู่หลังจากตาบิอีน อันเกี่ยวกับคำพูดและการกระทำ

ทัศนะที่ 2 หมายถึง : สิ่งที่พาดพิงไปยังท่านนบี(ซล.)อันเกี่ยวกับคำพูด , การกระทำ , การยอมรับ , ลักษณะความเป็นมนุษย์ , และมารยาทของท่าน , ตลอดจนการเคลื่อนไหว และการใช้ชีวิตของท่านทั้งในยามตื่นและยามนอน แต่ไม่รวมถึงสิ่งที่พาดพิงไปยังซอฮาบะห์ ซึ่งกล่าวได้ว่า ทัศนะนี้ ก็คือ สิ่งที่ถูกเรียกว่า "หะดีษมัรฟัวะอ์"

ทัศนะที่ 3 หมายถึง : สิ่งที่พาดพิงไปยังท่านนบี(ซล.)อันเกี่ยวกับคำพูด และการกระทำเท่านั้น และสิ่งที่ออกมาจากท่าน ก็จะถูกเรียกว่า "อัลหะดีษ"

และนี่ก็คือ 3 ทัศนะของบรรดาอุลามาอ์ จากสิ่งที่ถูกเรียกว่า "หะดีษ" ดังนั้น การจำกัดการเข้าใจหะดีษ แค่เพียงคำพูดและการกระทำของท่านร่อซู้ล(ซล.)เท่านั้น จึงถือเป็นทัศนะที่ต่างจากความเข้าใจของญุมฮูรอุลามาอ์ ดังนั้น เมื่อเราถือตามความเข้าใจของญุมฮูรอุลามาอ์แล้ว เราก็จะพบได้ว่า สิ่งที่ซอฮาบะห์และตาบีอีนกระทำนั้น ก็ถือ เป็นหะดีษและถือเป็นหลักฐานในการปฎิบัติตามด้วยเช่นกัน ดังที่ท่านนบี(ซล.)ได้ทรงกล่าวไว้ จากการรายงานของท่านอับดุลเลาะห์ บิน มัสอู๊ด ว่า ท่านร่อซู้ล(ซล.)ทรงกล่าวว่า

خَيْرُ النَّاسِ قَرْنِي ثُمَّ الَّذِينَ يَلُونَهُمْ ثُمَّ الَّذِينَ يَلُونَهُمْ

ความว่า "กลุ่มชนที่ดีที่สุด ก็คือ กลุ่มชนที่อยู่ในยุคของฉัน(คือบรรดาซอฮาบะห์) ต่อมาก็คือกลุ่มชนที่อยู่ในยุคถัดจากพวกเขา(คือบรรดาตาบิอีน) หลังจากนั้นก็คือกลุ่มชนที่อยู่ในยุคถัดจากพวกเขาไปอีก(ก็คือบรรดาตาบิอิตตาบิอีน)" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามบุคอรีย์ หะดีษที่ 2652 และอีหม่ามมุสลิม หะดีษที่ 2533)

หะดีษนี้ จึงเป็นข้อยืนยันว่า การกระทำของบรรพชนสลัฟ คือ ผู้ที่อยู่ใน 300 ปีแรก อันได้แก่ บรรดาซอฮาบะห์ บรรดาตาบิอีน บรรดาตาบิอิตตาบิอีน จึงเป็นการกระทำที่อนุญาติให้ปฎิบัติตามได้ในเรื่องดีๆ เช่น การที่ท่านอุมัรได้รวบรวมผู้คนให้ทำการละหมาดตารอเวี๊ยะห์ในเดือนรอมดอน 20 ร่อกาอัต เป็นต้น เพราะท่านร่อซู้ล(ซล.)ได้ยืนยันด้วยคำว่า " خَيْرُ النَّاسِ " อันเป็นการยอมรับถึงการกระทำที่ดีของพวกเขา หะดีษนี้ จึงเป็นหลักฐานยืนยันด้วยการยอมรับของท่านร่อซู้ล(ซล.)ถึงความดีงามในตัวพวกเขา และยินยอมให้ทำตามได้ ตราบใดที่การกระทำนั้นไม่ได้ขัดแย้งกับอัลกุรอานและอัสซุนนะห์ของท่านร่อซู้ล(ซล.)


4.2.อัสซุนนะห์


คำว่า ซุนนะห์ ( السنة ) ในแง่ของภาษา หมายถึง "แนวทาง" หรือ "รูปแบบ" อันมีความหมายรวมถึงแนวทางที่ดี และแนวทางที่เลว , แนวทางที่ถูกสรรเสริญ และแนวทางที่ถูกตำหนิ , แต่นักวิชาการทางด้านภาษาศาสตร์ ได้ลงมติกัน โดยกล่าว่า แท้จริงคำว่า "ซุนนะห์" นั้น เมื่อถูกนำมากล่าว หรือ ถูกนำมาใช้ มันจะผินไปสู่แนวทางที่ดี และแนวทางที่ถูกสรรเสริญเท่านั้น

และในแง่ของวิชาการนั้น คำว่า "ซุนนะห์" นั้น บรรดาอุลามาอ์ได้ให้คำนิยามเอาไว้โดยแตกต่างกัน พอจะสรุปได้เป็น 3 ทัศนะ คือ

ทัศนะที่ 1 หมายถึง : สิ่งที่ได้รับการยืนยันจากท่านนบี(ซล.)โดยไม่ใช่เรื่องของฟัรดู และไม่ใช่เรื่องวาญิบ และผู้กระทำก็จะได้รับผลบุญตอบแทน ส่วนผู้ที่ละทิ้งก็ไม่มีโทษอันใด ดังกล่าวนี้ คือ คำนิยามของบรรดาฟู่ก่อฮาฮ์(นักปราชญ์ฟิกห์) ซึ่งมุ่งหมายถึงการค้นคว้าทางด้านของฮู่ก่มชัรอีย์เป็นหลัก(พิจารณาถึงการออกฮู่ก่มของสิ่งที่เป็นซุนนะห์) บ้านเรามักใช้กันว่า "สุนัต" อันมีความหมายถึง "สิ่งที่กระทำแล้วได้รับผลบุญ และเมื่อละทิ้งก็ไม่เกิดโทษ"

ทัศนะที่ 2 หมายถึง : สิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากท่านนบี(ซล.)อันเกี่ยวกับคำพูด การกระทำ และการยอมรับของท่าน ดังกล่าวนี้ คือ คำนิยามของบรรดาอู่ซูลี่ยีน(นักปราชญ์อู่ซูลุ้ลฟิกห์) ซึ่งมุ่งหมายถึงการค้นคว้าทางด้านหลักฐานของการตราบทบัญญัติ(พิจารณาถึงการนำซุนนะห์มาใช้อ้างอิงเป็นหลักฐาน)

ทัศนะที่ 3 หมายถึง :  สิ่งที่พาดพิงไปยังท่านนบี(ซล.)อันเกี่ยวกับคำพูด , การกระทำ , การยอมรับ , ลักษณะความเป็นมนุษย์ , และมารยาทของท่าน , ตลอดจนการเคลื่อนไหว และการใช้ชีวิตของท่านทั้งในยามตื่นและยามนอน ดังกล่าวนี้ คือ คำนิยามของบรรดามู่ฮัดดี่ซีน(นักปราชญ์หะดีษ) ซึ่งมุ่งหมายถึงการค้นคว้าทางด้านของสิ่งที่ถูกพาดพิงไปยังท่านนบี(ซล.)

4.3.อัลค่อบัร

คำว่า ค่อบัร ( الخبر ) ในแง่ของภาษา หมายถึง "ข่าว" หรือ "เรื่องราว"

และในแง่ของวิชาการนั้น นักปราชญ์หะดีษ ได้ให้คำนิยาม คำว่า "ค่อบัร" เช่นเดียวกับคำว่าหะดีษ แต่นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า "หะดีษ" คือ สิ่งที่มาจากท่านร่อซู้ล(ซล.) ส่วน "ค่อบัร" คือ สิ่งที่มาจากผู้อื่น

4.4.อัลอะซัร

คำว่า อะซัร ( الأثر ) ในแง่ของภาษา หมายถึง "ร่องรอย" หรือ "สิ่งที่ปรากฎขึ้นจากการเดินของคนหนึ่งบนพื้นดิน"

และในแง่ของวิชาการนั้น นักปราชญ์หะดีษ ได้ให้คำนิยาม คำว่า "อะซัร" เช่นเดียวกับคำว่า "หะดีษ" (ก็คือสิ่งที่มาจากท่านร่อซู้ล) แต่นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า "อะซัร" ก็คือ สิ่งที่พาดพิงไปยังซอฮาบะห์ อันเกี่ยวกับคำพูด และการกระทำของพวกเขา

การกระทำของซอฮาบะห์ถือเป็นซุนนะห์หรือไม่ ?


เมื่อเราพิจรณาจากคำนิยามโดยรวมแล้ว เราก็จะพบว่า การกระทำของบรรดาซอฮาบะห์นั้น เป็นได้ทั้ง "ค่อบัร" และ "อะซัร" และเข้าอยู่ในความหมายของคำว่า "ซุนนะห์" ด้วยเช่นกัน แต่มิใช่หมายถึง "ซุนนะห์" อย่างเป็นเอกเทศ เพราะเมื่อเราพูดถึงคำว่า "ซุนนะห์" นั้น ความหมายของมันก็คือ สิ่งที่พาดพิงไปยังท่านร่อซู้ล(ซล.)อันเกี่ยวกับคำพูด การกระทำ และการยอมรับของท่าน

แต่การกระทำของบรรดาซอฮาบะห์นั้น ตกอยู่ในซุนนะห์ทางด้านของการยอมรับ ซึ่งเราเรียกว่า "ซุนนะห์ตักรีรียะห์" (ซุนนะห์ในด้านของการยอมรับ) และ "ซุนนะห์เกาลียะห์" (ซุนนะห์ที่ท่านนบีได้พูดไว้) ดังที่ท่านนบี(ซล.)ทรงกล่าวว่า
 
عَلَيْكُمْ بِسُنَّتِي وَسُنَّةِ الْخُلَفَاءِ الرَّاشِدِينَ الْمَهْدِيِّينَ عَضُّوا عَلَيْهَا بِالنَّوَاجِذِ

ความว่า "จำเป็นแก่พวกท่าน(ที่จะต้องดำเนินตาม)ซุนนะห์ของฉัน และซุนนะห์(แนวทาง)ของบรรดาคอลีฟะห์ผู้ทรงธรรมอีกทั้งได้รับทางนำ  และพวกเจ้าจงกัด(ยึด)แนวทางนั้นด้วยฟันกราม"

ดังนั้น การที่บรรดาอะอิมมะห์ทั้ง 4 ได้เลือกเอาจำนวนร่อกาอัตของการละหมาดตารอเวี๊ยะห์ โดยมีความเห็นสอดคล้องกันว่ามันมี 20 ร่อกาอัต จึงถือว่า เป็นการปฎิบัติตามซุนนะห์ของท่านร่อซู้ล(ซล.)ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะดำเนินตามแนวทางการปฎิบัติของประชาชนในสมัยท่านอุมัร(รด.) และผู้คนในยุคถัดมา คือ สมัยของท่านซัยนาอุสมาน(รด.) และสมัยท่านของซัยนาอาลีย์(รด.) ก็ไม่มีการคัดค้านแต่อย่างใด ดังนั้น คำว่า "ซุนนะห์" จึงคลอบคลุมถึงการกระทำของบรรดาซอฮาบะห์ด้วยเช่นเดียวกัน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิ.ย. 04, 2013, 01:32 AM โดย Ahlulhadeeth »

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
ผมขอเสนอให้คุณ Ahlulhadeeth นำเสนอเนื้อหา "มุศเฏาะลาหฺ อัลหะดีษ" ให้เป็นกระทู้เดียวกันได้ไหม เพื่อที่ข้อมูลจะได้ไม่กระจัดกระจาย และง่ายต่อการค้นหา และรวบรวมในภายหลังครับ

Al Fatoni
แอดมิน
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Ahlulhadeeth

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 27
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด
ตอบท่าน Al Fatoni แอ๊ดมิน คือ ตอนนี้ ผมยังแปลลงไม่หมดครับ ยังเหลือเนื้อหาอีกมาก และกอรปกับตอนนี้ผมเปิดเทอมแล้ว เวลาในการทำก็ค่อนข้างน้อย ครั้นจะแปลให้ทีเดียวก็คงต้องรออีกนาน เพราะต้องไปเรียนด้วย ผมจึงแปลให้เป็นตอนๆไปก่อน ไว้เสร็จแล้ว ผมจะรวบรวมให้อีกทีนึงครับ อินชาอัลเลาะห์

ตอนแรกที่ผมนำเสนอเป็นตอนๆนั้น เจตนาโดยฮิกมะห์ ก็เพื่อให้นักศึกษาได้ง่ายต่อการเข้าใจ และเนื้อหาในแต่ละตอนนั้นสั้น และกระชับ ไม่ยืดยาวจนเบื่อหน่าย อ่านจบได้เป็นตอนๆ ในบางรายงานของท่านอีหม่ามบุคอรีย์(รฮ.)ได้กล่าวว่า "ความยาวทำให้เกิดความเบื่อหน่าย" หมายความว่า ท่านอีหม่ามบุคอรีย์ได้ทิ้งหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ไว้อีกเป็นจำนวนมาก โดยมิได้นำมาบรรจุไว้ในหนังสือของท่าน เพระเกรงว่าจะทำให้หนังสือของท่านยืดยาว และทำให้ผู้คนเกิดความเบื่อหน่าย

ผมจึงใช้โอกาสนี้ นำเสนอด้วยบทความสั้น เป็นตอนๆ เพื่อนักศึกษาจะได้ศึกษาได้จบเป็นตอนๆ ที่ไม่ยืดยาวจนเกิดความเบื่อหน่าย แต่หากท่านเห็นสมควรว่า ควรรวบรวมไว้เป็นกระทู้เดียว ผมก็น้อมรับคำแนะนำ และจะได้นำมารวบรวมให้ในภายหลัง หลังจากที่ผมได้นำเสนอจนจบเล่มแล้วครับ ขออัลเลาะห์ทรงตอบแทนความจริงใจของท่านครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 13, 2012, 05:14 PM โดย Ahlulhadeeth »

ออฟไลน์ Al Fatoni

  • ซังกุงคนสนิท ( +_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 4905
  • เพศ: ชาย
  • จงอยู่กับความจริงแล้วจะไม่หลง
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
งั้นก็แล้วแต่สะดวกละกันครับ ไว้ถ้าผมมีเวลาว่างๆ จะช่วยทำลิ้งค์สารบัญให้นะครับ อินชาอัลลอฮฺ
ท่านขนขวายอะไร ท่านก็จะได้สิ่งนั้น - วัลลอฮุอะอฺลัม

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด
งั้นก็แล้วแต่สะดวกละกันครับ ไว้ถ้าผมมีเวลาว่างๆ จะช่วยทำลิ้งค์สารบัญให้นะครับ อินชาอัลลอฮฺ

ขอบคุณ คุณ Al Fatoni มากๆ คับ .. ที่อุตส่าดูแลเนื้อหาต่างๆ ในเวป ให้เ็ป็นระเบียบ เรียบร้อย โดยไม่บ่นสักคำ
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Muftee

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 1899
  • เพศ: ชาย
  • ตั้งใจเข้าไว้นะ มุฟตีย์น้อย
  • Respect: +190
    • ดูรายละเอียด

แล้วก็ขอกล่าวว่า ญะซากัลลอฮุ คอยรอน สำหรับคุณ Ahlulhadeeth ที่อุตส่านำบทความดีๆ มาโพสต์ลงเวปไซด์แห่งนี้ ความรู้เหล่านี้จะยังคุณประโยชน์แก่ลูกหลานสืบไป และผู้ที่นำความรู้มาเผยแพร่ ก็จะได้รับความจำเริญจากอัลลอฮฺ ตะอาลา สืบไปตราบนานเท่านาน ยังไงก็ขอให้คุณ Ahlulhadeeth มาโพสต์บทความดีๆ เรื่อยๆ นะครับ อย่าหายหน้าไปไหนสะ พี่น้องของเรา จะได้ร่วมสืบทอดควารู้สืบไป  loveit:
// อะฮฺลิสสุนนะฮฺ อัล-อะชาอิเราะฮฺ...สักวันนึง เราต้องเป็นอุละมาอฺที่ยิ่งใหญ่ อินชาอัลลอฮฺ //

ออฟไลน์ Bangmud

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2821
  • Respect: +127
    • ดูรายละเอียด
 :salam:

ผมเรียนศาสนาจากภาษาไทย ภาษาอาหรับอ่อนมาก ผู้นำเสนอกรุณา เติมสระในประโยคที่เป็นภาษาอาหรับด้วยจะเป็นพระคุณ และเป็นประโยชน์อย่างมากแก่ผู้ติดตาม (โดยเฉพาะมะตันของหะดีษ)

ขอบคุณล่วงหน้าครับ ญะซากัลลอฮุค็อยรฺ

วัสสลาม

ออฟไลน์ Ahlulhadeeth

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 27
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด
ครับ ชุกรอน ญ่าซากุ่มุ้ลเลาะห์ สำหรับคำแนะนำ และการช่วยเหลือจากทุกๆท่าน ขออัลเลาะห์ทรงตอบแทนพี่น้องทุกท่านครับ และสำหรับคุณ Bangmud เด่วผมจะตามใส่สระให้น่ะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 14, 2012, 11:18 PM โดย Ahlulhadeeth »

ออฟไลน์ hiddenmin

  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 2453
  • เพศ: ชาย
  • 404 not found
  • Respect: +76
    • ดูรายละเอียด
    • Ikhlas Studio
 นำเสนอเรื่อยๆ เลยครับ

ออฟไลน์ al-azhary

  • ผู้มีอิทธิพล (~_-)
  • เพื่อนรัก (6_6)
  • *****
  • กระทู้: 6202
  • เพศ: ชาย
  • อัลเลาะฮ์เท่านั้นที่มีอยู่จริง
  • Respect: +272
    • ดูรายละเอียด
    • http://www.sunnahstudents.com
 :salam:

อัลฮัมดุลิลลาฮ์  ที่ทำให้เว็บไซต์แห่งนี้ เป็นคลังหรือห้องสมุดเก็บเอาไว้สำหรับพี่น้องที่ต้องการค้นคว้าและศึกษา  ความจริงมิใช่เพียงแค่บทความมุสตอละฮุลหะดีษเท่านั้นน่ะ  คือทุกบทความที่เคยนำเสนอไปเฟส ไม่ว่าจะเกี่ยวกับหลักฟิกห์ อะกีดะฮ์ ตะเซาวุฟ หะดีษ เป็นต้น  ก็นำมาโพสต์เก็บไว้ในเว็บแห่งนี้ด้วย  ขอฝาก Ahlulhadeeth ไว้ด้วย
أُحِبُّ الصَّالِحِيْنَ وَلَسْتُ مِنْهُمْ     لَعَلَّ اللهَ يَرْزُقُنِيْ صَلاَحاً

ออฟไลน์ Ahlulhadeeth

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 27
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด
ครับผม ขอบคุณท่าน อ.มากๆ ที่ได้ให้โอกาส ขออัลเลาะห์ทรงตอบแทนท่าน อ.มากๆครับ และถ้าหากมีสิ่งใด ที่ผมผิดพลาด ก็อย่าลืมบอกกล่าวกับผมด้วยน่ะครับ ^^
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 17, 2012, 07:00 AM โดย Ahlulhadeeth »

ออฟไลน์ خيرالاخوان

  • เพื่อนซี้ (o_O')
  • **
  • กระทู้: 168
  • เพศ: ชาย
  • بيار فوتيه تولڠ جاڠن فوتيه مات
  • Respect: +7
    • ดูรายละเอียด
อยากให้จับมาเรียงไว้ในหัวข้อเดียวกันตั้งแต่ตอน 1 2 3 ...
+ปลื้มข้อความไหน หรือคิดว่าข้อความไหนเป็นประโยชน์แก่ท่านและสาธารณะ กดไลค์ด้วยนะครับ มุมขวาบน+

ออฟไลน์ Ahlulhadeeth

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 27
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด
ตอบ คุณ خيرالاخوان คือ ตอนนี้ ยังทำไม่เรียบร้อยน่ะครับ ผมไม่ค่อยมีเวลาแปล เพราะต้องเรียนและสอนด้วย เลยทำออกมาเป็นตอนๆให้ได้อ่านหาความรู้กันก่อน และเนื้อหาก็ยังมีอีกมากที่ผมยังไม่ได้แปล และยังไม่ค้นคว้าเพิ่ม ถ้าจะรอให้เสร็จทั้งหมด ก็คงจะอีกนาน ผมเลยทำการนำเสนอแบบเป็นตอนๆไปก่อน ยังไง ไว้เสร็จทั้งหมดเมื่อไหร่ อินชาอัลเลาะห์ ผมจะรวมไว้ให้น่ะครับ

ออฟไลน์ fezoff

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 53
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด
แล้วทำไม บางที่ละหมาดตอราเวียะ 8 รอกาอัต ล่ะ

ทั้งๆที่ 20 รอกาอัตก็มีที่มาชัดเจน อืมๆๆ

ออฟไลน์ Ahlulhadeeth

  • เพื่อนใหม่ (O_0)
  • *
  • กระทู้: 27
  • Respect: +4
    • ดูรายละเอียด
จริงๆ เรื่องนี้ ท่าน อ.อารีฟีน และพี่น้องสมาชิก ได้ท่านทำเป็นเอกสารชี้แจงไว้หมดแล้ว ยังไงลองหาอ่านดูได้ตามลิงก์ข้างล่างนี้น่ะครับ

http://www.sunnahstudents.com/main/content/156

http://www.sunnahstudents.com/main/content/158

http://www.sunnahstudents.com/main/content/159

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พ.ย. 21, 2012, 08:31 PM โดย Ahlulhadeeth »

 

GoogleTagged