แสดงกระทู้

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - Ahlulhadeeth

หน้า: [1] 2
1
ต้องขอบคุณท่าน Bangmud เป็นอย่างสูงครับ ที่ช่วยตักเตือนกันครับ คำพูดที่ว่า

أول الدين معرفة الله

เป็นคำพูดของท่าน อ้ามีรุ้ลมุอ์มี่นีน อะลี บิน อบีตอลิบ ครับ ส่วนสำนวนของท่านนบี(ซล.)นั้น ก็คือ สำนวนนี้

يَا أَبَا ذَرٍّ : اعْبُدِ اللَّهَ كَأَنَّكَ تَرَاهُ ، فَإِنْ كُنْتَ لَا تَرَاهُ فَإِنَّهُ يَرَاكَ وَ اعْلَمْ : أَنَّ أَوَّلَ عِبَادَةِ اللَّهِ الْمَعْرِفَةُ بِهِ ، فَهُوَ الْأَوَّلُ قَبْلَ كُلِّ شَيْءٍ فَلَا شَيْءَ قَبْلَهُ


ความว่า "โอ้อบูซัรริน ท่านจงอิบาดะห์ต่ออัลเลาะห์ เสมือนว่าท่านแลเห็นพระองค์ หากแม้นว่าท่านไม่เห็นพระองค์ แต่พระองค์นั้นทรงเห็นท่าน และท่านพึงทราบเถิดว่า แท้จริงแรกเริ่มของการภัคดีต่ออัลเลาะห์นั้น คือ การรู้จักพระองค์ มันคือ สิ่งแรกก่อนทุกๆสิ่งๆ และไม่มีสิ่งใดก่อนจากมัน"

หะดีษบทนี้ มีบันทึกอยู่ในหนังสือ "ม่าการี่มุ้ลอัคล๊าก" ( مكارم الأخلاق ) ซึ่งเป็น "ว่าซอยา" (คำสั่งเสีย) ของท่านนบี(ซล.)แก่ท่าน อบูซัรริน อัลฆีฟารีย์ โดยสะนัดของ ท่าน อบุ้ลอัสวัด อัดดุอาลีย์ ( بسنده عن أَبِي الْأَسْوَدِ الدُّؤَلِيِّ ) แต่สายรายงานี้ "ด่ออีฟมาก" และอาจถึงขั้น "เมาดัวะอ์" ซึ่งผมไม่เคยพบว่ามีบันทึกอยู่ในตำราหะดีษใดๆที่เชื่อถือได้ หากใครทราบว่ามีอยู่ที่ใด รบกวนนำมาลงให้ผมทราบด้วยน่ะคับ

และก็ขอรบกวรท่าน al-kudawah ช่วยแก้ตัวบทให้ผมด้วยน่ะครับ ขอบคุณมากครับ สำหรับคำติชม และผู้ที่นำมาลงไว้ครับ ขออัลเลาะห์ตอบแทนความดีทั้งสองท่านครับ

2
ตอบข้อสงสัยใน "ตะเซาวุฟ"

โดย รอฟีกี มูฮำหมัด

คำถาม : อยากจะสอบถามครับว่า ซูฟี คืออะไร เป็นยังไง แล้วมีกี่สาย มายังไง ? ใครสอน หรือ พอมีความรู้ ช่วยบอกหน่อยนะครับ ?

คำตอบ : ซูฟีย์ ก็คือ ผู้ที่ดำเนินตามหลักของวิชาตะเซาวุฟ / ตะเซาวุฟ ก็คือ วิชาที่สอนหรือเน้นทางด้านของมารยาท และการขัดเกลาจิตใจให้มีความสะอาด ปราศจากการตะกั๊บโบร(อวดโต) ซุมอะห์(ลำพองตน) เพราะ 2 สิ่งนี้ เป็นสิ่งที่จะมาทำลายภาคผลของความดีให้สูญสิ้น

ความจริงแล้ว ยังมีผู้คนเข้าใจผิดว่า "ตะเซาวุฟ" นั้น อย่างหนึ่ง และ "ซูฟีย์" นั้น อย่างหนึ่ง ซึ่งความจริงแล้ว คำว่า "ซูฟีย์" ( الصوفى ) ใช้เรียกกับ "คนที่มีตะเซาวุฟ" ส่วนคำว่า "เตาเซาวุฟ" ( التصوف ) นั้น เป็นชื่อเรียกของวิชา ดังนั้น ผู้ใดที่ชำนาญวิชาตะเซาวุฟ เขาก็จะถูกเรียกว่า "ซูฟีย์" เช่นเดียวกับ วิชาการอื่นๆ เช่น ผู้ใดที่ชำนาญวิชาฟิกห์ เขาก็จะถูกเรียกว่า "ฟากีห์" และผู้ใดที่ชำนาญวิชาหะดิษ เขาก็จะถูกเรียกว่า "มู่ฮัดดิษ" เป็นต้น

ส่วนที่มา ก็มาจากหลักอัลเอี๊ยะห์ซานที่ท่านร่อซู้ล(ซล.)ได้นำมาสอนแก่อุมมะห์ของท่าน ดังหะดีษที่ว่า

أَنْ تَعْبُدَ اللهَ كَأَنَّكَ تَرَاهُ فَإِنْ لَمْ تَكُنْ تَرَاهُ فَإِنَّهُ يَرَاكَ


ความว่า "เอี๊ยะห์ซานก็คือ การที่ท่านทำอิบาดะห์ต่ออัลเลาะห์เสมือนกับว่าท่านแลเห็นพระองค์ และแม้ว่าท่านจะไม่เห็นพระองค์ แต่พระองค์นั้นทรงเห็นท่าน" ( รายงานโดย ท่านอีหม่ามมุสลิม หะดีษที่ 8 )

จากหะดีษบทนี้แหละที่เป็นที่มาของหลักวิชาตะเซาวุฟ ที่บรรดาอุลามาอ์ซูฟีย์ทำการประพันธ์เป็นหลักวิชาการขึ้นมา

หะดีษได้สอนเรา 2 ตำแหน่ง ในวิชาตะเซาวุฟเรียกว่า "มะกอม" ซึ่งหมายถึง ตำแหน่งที่อยู่ระหว่างบ่าวกับอัลเลาะห์(ซล.) อันได้แก่ มะกอมมู่รอก่อบะห์ และมะกอมมู่ชาฮาดะห์

1.มะกอมมู่รอก่อบะห์ หมายถึง "ความรู้สึกว่า อัลเลาะห์ทรงเห็นเรา" ความรู้สึกนี้เป็นความรู้สึกแรกของผู้ที่เริ่มศึกษาวิชาตะเซาวุฟ ทำให้เขาคอยสำรวจตัวเองอยู่เสมอ เพราะเขามีความรู้สึกอยู่ในจิตใจเสมอว่า อัลเลาะห์ทรงมองดูเขา ทำให้เขาไม่กล้าที่จะทำความชั่ว ไม่กล้าขโมย ไม่กล้าทิ้งละหมาด หรือ หากเขาต้องการทำอะมั้ลความดี เขาก็จะกระทำด้วยความปราณีตอย่างที่สุด เพราะเขารู้ว่า อัลเลาะห์ทรงมองดูเขาอยู่

2.มะกอมมู่ชาฮาดะห์ หมายถึง "ความรู้สึกว่า เราเห็นอัลเลาะห์" ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นหลังจากเราผ่านมะกอมมู่รอก่อบะห์มาก่อนแล้ว ด้วยเหตุที่ว่า เราหมั่นฝึกจิตใจให้กระทำอามั้ลด้วยความบริสุทธิ์ใจอยู่เสมอ ไม่ว่าทุกครั้งที่เราทำอะไร เราก็จะมีความรู้สึกประหนึ่งว่าเราเห็นพระองค์อยู่เสมอ

โดยสรุป ก็คือ วิชาที่เน้นทางด้านของจิตใจโดยเฉพาะ เนื่องด้วยเพราะคนเราทำอ้ามั้ลแล้วอาจมี "ชีริกค่อฟีย์" ซ่อนอยู่ (เป็นความต้องการที่แอบแฝงพร้อมกับการอิบาดะห์) วิชานี้ จึงถูกประพันธ์ขึ้นมาเพื่อสอนถึงวิธีขัดเกลาใจให้บริสุทธิ์โดยแท้จริง เพราะผู้ประพันธ์วิชานี้ตระหนักดีว่า หากอะมั้ลของคนหนึ่งไม่ได้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์เพื่ออัลเลาะห์(ซบ.)แล้ว แน่นอนว่า อามั้ลความดีที่เขาได้กระทำไว้นั้น ย่อมไม่เกิดผลบุญอย่างแน่นอน

สำหรับสายของตะเซาวุฟนั้นก็มีอยู่มาก เท่าที่พอจะตอบได้ เช่น สายชาซุลีย์ สายนักชะบันดีย์ สายกอดีรีย์ สายคอลวาตีย์ สายติญานีย์ สายริฟาอีย์ สายญะอ์ฟารีย์ และอื่นๆ ซึ่งสายเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ผิดแปลก เพียงแต่เป็นการบอกถึงที่มาของครูผู้สอน ใครที่ศึกษามาจากครูท่านได้ ก็จะได้คำคล้ายๆละก๊อบ(ฉายา)จากครูที่เขาจบมา เช่น คนที่ศึกษาและดำเนินตาม ท่านอับดุลกอเด็ร อัลญัยลานีย์ ก็จะได้ชื่อว่า กอดีรีย์ ถ้าดำเนินตาม ท่านอบูหะซัน อัชชาซุลีย์ ก็จะได้ชื่อว่า ชาซุลีย์ เป็นต้น

พี่น้องบางท่านพอได้ยินชื่อ "ซูฟีย์" ก็มันก็จะเมินหน้าหนี และมองว่าเป็นกลุ่มชนที่งมงาย เลอะเทอะ โดยไม่แยกแยะระหว่างซูฟีย์ที่แท้จริง กับ ซูฟีย์ที่แอบอ้าง ดังนั้น เพื่อให้พี่น้องได้รับทราบว่าซูฟีย์ที่แท้จริงเป็นอย่างไร เราลองมาศึกษาและทำความเข้าใจกับคำพูดของพวกเขา เพื่อที่เราจะได้เข้าใจพวกเขาและเรียนรู้หลักการของพวกเขาได้อย่างถูกต้อง

ท่านบิชร์ บิน อัลฮาริษ อุลามาอ์ชาวสลัฟ และเป็นซูฟีย์ เสียชีวิตในปีฮิจเราะห์ที่ 227 ท่านได้พูดถึงคนที่เป็นซูฟีย์ว่า

الصوفي : من صفا قلبه لله


ความว่า "ซูฟีย์ ก็คือ คนที่ชำระจิตใจของเขาให้บริสุทธิ์เพื่ออัลเลาะห์" (ดู อัตตะอัรรุฟ ลี่มัสฮับ อะห์ลิตตะเซาวุฟ หน้าที่ 13)

หมายความว่า : คนที่ทำความสะอาดหัวใจของตนเองจากการตะกั๊บโบร(โอ้อวด) จากการริยาอ์(อวดโต) จากการซุมอะห์(ลำพองตน) และคงเหลือไว้ซึ่งจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์เพื่ออัลเลาะห์ คนๆนั้นแหละ ที่ได้ชื่อว่าเป็น "ซูฟีย์"

จากตรงนี้ ลองดูซิครับว่า คนที่พยายามทำให้ตัวและใจของเขาบริสุทธิ์นั้น มันเป็นเรื่องที่ผิด หรือ แปลกไป หรือไม่ ?

ฉนั้น หากเราทำใจให้เป็นธรรม เราก็จะพบอย่างแน่นอนว่า วิชาที่สอนให้คนทำอามั้ลด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์นั้น ไม่อาจจะเป็นวิชาที่ผิดหลักการอย่างได้อย่างแน่นอน ดังที่อัลเลาะห์(ซบ.)ทรงตรัสว่า

قَدْ أَفْلَحَ مَن زَكَّاهَا

ความว่า "แน่นอนผู้ขัดเกลาชีวิตย่อมได้รับความสำเร็จ" (ซูเราะห์ อัชชัมซู่ อายะห์ที่ 9)

"การขัดเกลา"
ที่ถูกกล่าวในอายะห์นี้ มีความหมายคลอบคุลมทั้งการขัดเกลาความประพฤติภายนอก และการทำความสะอาดภายในจิตใจของเขาด้วย อันเนื่องมาจากว่า "หัวใจ" นั้น ก็คือ สถานที่ที่อัลเลาะห์ทรงมองเข้ามา จึงจำเป็นต้องทำความสะอาด และขจัดลักษณะของจิตที่โสมออกไป ให้เหลือเพียงแค่ความบริสุทธิ์เท่านั้น

ท่านอีหม่าม อัชชะอ์รอนีย์(เสียชีวิตในปีที่ 973) ซึ่งท่านได้กล่าวถึงแนวทางของซูฟีย์เอาไว้ในบทนำของหนังสือ "อัตฎ่อบ่ากอตุ้ลกุบรอ" ของท่านว่า

"แท้จริงแนวทางของคนกลุ่มนี้ เป็นแนวทางที่ถูกสร้างขึ้นด้วยอัลกุรอานและอัสซุนนะห์ และแท้จริงแนวทางนี้มันดำเนินอยู่บน ซู่ลูก (ความประพฤติ) จากจรรยามารยาทของบรรดานบีและอะห์ลุสซุฟฟะห์(ซอฮาบะห์กลุ่มหนึ่งในสมัยท่านร่อซู้ล) และแท้จริงแล้วมันไม่ใช่เรื่องที่น่าตำหนิเลย เว้นแต่ เนื้อหาของมันจะไปขัดแย้งกับความถูกต้องของอัลกุรอาน อัลหะดีษ และอัลอิจมาอ์ และเมื่อใดที่มันขัดแย้ง มันก็จะเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากสิ่งที่น่าตำหนิเท่านั้น...ดังนั้น ผู้ใดต้องการมัน ก็จงศึกษาและปฎิบัติเถิด และส่วนผู้ใดที่ไม่ต้องการมัน ก็จงทิ้งมันไปซะ"

นี่คือ คำพูดที่เป็นธรรมที่สุด เพราะซูฟีย์ที่แท้จริงนั้น พวกเขาดำเนินตามอัลกุรอานและอัลหะดีษ เน้นทางด้านของการซิกรุ้ลลอห์ และการฝึกใจให้เข้าใกล้พระองค์ ส่วนแนวทางของคนบางกลุ่มที่อ้างว่าเป็นซูฟีย์ แต่มีความประพฤติที่ค้านกับซุนนะห์นั้น พวกเขาย่อมมิใช่ซูฟีย์ที่แท้จริง เพราะหลักชารีอัตและหลักฮากีกัตนั้น มันคือ เนื้อเดียวกัน ชารีอัตทำให้อามั้ลถูกต้อง ส่วนฮ่ากีกัตนั้นทำให้อ้ามั้ลสวยงาม พูดง่ายๆ คือ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอ้ามั้ลภายนอกและอ้ามั้ลภายในเพียงเท่านั้น

ฉนั้น หากว่าท่านพบเห็นซูฟีย์กลุ่มใดมีความประพฤติขัดแย้งกับอัลกุรอานและอัสซุนะห์ ก็จงทิ้งมันไปเถิด เพราะแท้จริงเขาไห้หลงออกไปจากแนวทางแห่งบรรชนอันบริสุทธิ์แล้ว ... วัลลอฮู่อะอ์ลัม.

วัสสลามู่อ้าลัยกุม ว่าเราะห์ม่าตุ้ลลอฮี่ ว่าบ่ารอกาตุฮ์

3
บทความต่อไปนี้ เป็นเรื่องที่ผมเคยซักถาม อ.อารีฟีน ผมได้เอามาลงไว้ให้ เพื่อพี่น้องจะได้เข้าใจกันอย่างกระจ่างครับ

ผมขอถาม อ. ครับ คำว่า ตอนต้น กับ ตอนกลางของสายรายงาน เขานับ กันอย่างไรแน่ ?

เช่น หะดีษมู่อัลลั๊กนั้น ตกไปจากตอนต้นของสายรายงาน คือ ครูของมู่ซอนนิฟ

คำว่าตอนต้นนั้น นับยังไงครับ นับแค่ครูของมู่ซอนนิฟเท่านั้น หรือ นับถัดจากครูของมู่ซอนนิฟ และนับถัดไปอีก 1 คน หลังจากนั้น เรียกตอนกลางใช่หรือไม่ครับ ?

เพราะหะดีษมัวะอ์ด้อล กับ มุงกิเตี๊ยะอ์นั้น เริ่มนับจากตอนกลาง ผมไม่เข้าใจว่า ตอนกลางนั้น จะเริ่มนับจากคนที่เท่าไหร่ หรือ จะนับถัดจากครูของมู่ซอนนิฟ ?

รบกวน อ.ช่วยอธิบายให้ผมด้วยครับ ญ่าซากัลลอฮ์


อ.อารีฟีน แสงวิมาน อัลอัซฮะรีย์ ท่านได้ตอบว่า

หะดีษมุอัลลั๊ก คือ หะดีษที่มีนักรายงานคนหนึ่งหรือมากกว่าสองคนถูกตัดออกไปบนความต่อเนื่อง(คือนักรายงานติดต่อเรียงกัน)

ตัวอย่าง มุศ็อนนิฟ (.......ตัดนักรายงาน ก. ........) (.......ตัดนักรายงาน ข. ........) จากนักรายงาน ค. จากนักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

สังเกตได้ว่า นักรายงาน ก. กับ นักรายงาน ข. ที่ถูกตัดไปนั้นต่อเนื่องกันโดยไม่มีนักรายงานอื่นมาขั้นระหว่างกลางของทั้งสอง

แต่ถ้าหากนักรายงานสองคนไม่ต่อเนื่องกัน ก็ถือว่าไม่ใช่เป็นหะดีษมุอัลลั๊ก

ตัวอย่าง มุศ็อนนิฟ (.......ตัดนักรายงาน ก. ........) นักรายงาน ข. (.......ตัดนักรายงาน ค. ........) จากนักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

ตัวอย่างนี้ ไม่เรียกว่า หะดีษมุอัลลั๊ก เพราะนักรายงานทั้งสองคนไม่ต่อเนื่องกันเนื่องจากมีนักรายงาน ข. เข้ามาขั้นกลาง แต่เรียกว่า หะดีษมุงก่อเฏี๊ยะอฺ

รายละเอียด

หะดีษมุอัลลั๊ก นั้น ขาดตอนโดยเริ่มจากครูคนแรกที่เป็นนักรายงานของมุศ็อนนิฟ จะครูคนแรกเป็นเพียงเดียว หรือนักรายงานขาดตอนไปสองคนติดต่อกัน) เช่น มุศ็อนนิฟ ได้รายงานจาก ครู ก. (ซึ่งเป็นครูคนแรกที่เป็นต้นสายรายงานเลย) หลังจากนั้นก็รายงานจาก นักรายงาน ข. รายงานจาก นักรายงาน ค. รายงานจาก นักรายงาน ง. จากรายงานจากศ่อฮาบะฮ์ รายงานจากท่านนะบีย์

ดังนั้นถ้าหาก

1.มุศ็อนนิฟ (ได้ตัดการเอ่ยนักรายงานคนแรกที่เป็นครู คือ นักรายงาน ก.) แต่ไปกล่าวนักรายงาน ข. เลย ก็เป็นหะดีษมุอัลลั๊ก

ตัวอย่าง มุศ็อนนิฟ (.......ตัดนักรายงาน ก. ........) จากนักรายงาน ข. จากนักรายงาน ค. จากนักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์นะบีย์

2. หรือรายงานตัดครูไปสองคนติดต่อกัน คือตัด ครู ก. และครู ข. ก็ถือว่าเป็นมุอัลลั๊ก

ตัวอย่าง มุศ็อนนิฟ (.......ตัดนักรายงาน ก. ........) (.......ตัดนักรายงาน ข. ........) จากนักรายงาน ค. จากนักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

3. หรือรายงานตัดครูสามคนติดต่อกัน คือ ตัดนักรายงาน ก. ตัดนักรายงาน ข. และตัดนักรายงาน ค. ก็ถือว่าเป็นหะดีษมุอัลลั๊ก

ตัวอย่าง มุศ็อนนิฟ (.......ตัดนักรายงาน ก. ........) (.......ตัดนักรายงาน ข. ........) (.......ตัดนักรายงาน ค. ........) จากนักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

4. หรือรายงานตัดนักรายงานสี่คนติดต่อกัน เช่น ตัดนักรายงาน ก. ตัดนักรายงาน ข. ตัดนักรายงาน ค. และตัดนักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์ ก็เรียกว่า หะดีษมุอัลลั๊ก

ตัวอย่าง มุศ็อนนิฟ (.......ตัดนักรายงาน ก. ........) (.......ตัดนักรายงาน ข. ........) (.......ตัดนักรายงาน ค. ........) (.......ตัดนักรายงาน ง. ........) จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

5. หรือตัดหมดเลยตั้งแต่สายรายงานแรกจนถึงศ่อฮาบะฮ์ ก็เป็นหะดีษมุอัลลั๊ก

ตัวอย่าง มุศ็อนนิฟ (.......ตัดนักรายงาน ก. ........) (.......ตัดนักรายงาน ข. ........) (.......ตัดนักรายงาน ค. ........) (.......ตัดนักรายงาน ง. ........) (.......ตัดนักรายงานศ่อฮาบะฮ์ ........) ท่านนะบีย์กล่าวว่า

ดังนั้นเงื่อนไขหลักการในเป็นหะดีษมุอัลลั๊กคือ “สายรายงานแรกที่เป็นครูของมุศ็อนนิฟถูกตัด”

ดังนั้นถ้าหาก สายรายงานแรกที่เป็นครูของมุศ็อนนิฟ ไม่ถูกตัด ก็จะไม่เรียกว่า หะดีษมุอัลลั๊ก


ส่วนหะดีษมั๊วะฎ้อล นั้น ไม่ได้นับการขาดจากตอนกลางเป็นมาตรฐานหลัก แต่เขาจะนับในกรณีที่มีนักรายงาน 2 คนหรือมากกว่านั้นถูกตัดไป หากแม้ว่าจะถูกตัดเริ่มจากครูคนแรกของมุศ็อนนิฟเลยและถูกตัดนักรายงานถัดมาอีกคนหนึ่ง ก็ถือว่าเป็นหะดีษมั๊วะฎ้อลเช่นเดียวกัน

ซึ่งเป็นตัวอย่างเดียวกับหะดีษมุอัลลั๊กที่ผ่านมา คือ

2. ตัวอย่าง มุศ็อนนิฟ (......ตัดนักรายงาน ก. .......) (.......ตัดนักรายงาน ข. ........) จากนักรายงาน ค. จากนักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

อาจจะมีผู้ตั้งคำถามว่า “แล้วหะดีษมุอัลลั๊กกับหะดีษมั๊วะฎ้อล” มันต่างกันอย่างไรในกรณีนี้? คำตอบก็คือ “ตัวอย่างนี้ เป็นทั้งหะดีษมุอัลลั๊กและหะดีษมั๊วะฎ้อลในเวลาเดียวกันเลย”

ทำไมต้องเป็นหะดีษมุอัลลั๊ก : ก็เพราะว่าเริ่มต้นนักรายงานถูกตัด

ทำไมต้องเป็นหะดีษมั๊วะฎ้อลด้วย :
ก็เพราะว่ามีนักรายงาน 2 คนขาดตอนอย่างต่อเนื่องกันโดยไม่คำนึงว่าจะขาดตอนต้นสายรายงานหรือตอนกลางของสายรายงาน

แต่ถ้าหาก “มีนักรายงาน 2 คนขึ้นไปขาดตอนอย่างต่อเนื่องโดยไม่ได้ขาดตอนคนแรก ถือว่าเป็นหะดีษมั๊วะฎ้อล ตัวอย่าง
1. ตัวอย่าง มุศ็อนนิฟ (......ตัดนักรายงาน ก. .......) (.......ตัดนักรายงาน ข. ........) จากนักรายงาน ค. จากนักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

ตัวอย่างนี้ เป็นทั้งมุอัลลั๊ก(เพราะเริ่มต้นนักรายงานถูกตัด)และมั๊วะฎ้อล(เพราะนักรายงานสองคนขาดตอนอย่างต่อเนื่องกัน) ดังที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว คือ

2. ตัวอย่าง มุศ็อนนิฟ นักรายงาน ก. (......ตัดนักรายงาน ข. .......) (......ตัดนักรายงาน ค. .....) นักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

3. ตัวอย่าง มุศ็อนนิฟ นักรายงาน ก. จากนักรายงาน ข. (......ตัดนักรายงาน ค. .......) (......ตัดนักรายงาน ง. .......) จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

ตัวอย่าง มุศ็อนนิฟ นักรายงาน ก. จากนักรายงาน ข. (......ตัดนักรายงาน ค. .......) (......ตัดนักรายงาน ง. .......) (.....ตัดนักรายงานที่เป็นศ่อฮาบะฮ์....) ท่านนะบีย์กล่าวว่า


คำว่า “ตัดขาดโดยเริ่มนับจากตอนกลาง” คือ “ต้องไม่ถูกตัดขาดที่สายรายงานคนแรก(ครูของมุศ็อนนิฟ) และถูกตัดขาดสายรายงานคนสุดท้าย(เช่น ศ่อฮาบะฮ์)” ดังนั้นบรรดานักรายงานที่อยู่ระหว่างนักรายงานคนแรกกับคนสุดท้าย ถือว่าเป็นนักรายงานตอนกลางทั้งหมด”

ดู 3 ตัวอย่างต่อไปนี้

1. เช่น มุศ็อนนิฟ นักรายงาน ก. (...ตัดนักรายงาน ข. ...) จากนักรายงาน ค. จากนักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

2. เช่น มุศ็อนนิฟ นักรายงาน ก. จากนักรายงาน ข. (...ตัดนักรายงาน ค. ...) จากนักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

3. เช่น มุศ็อนนิฟ นักรายงาน ก. จากนักรายงาน ข. จากนักรายงาน ค. (...ตัดนักรายงาน ง. ...) จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

ดังนั้น

ตัวอย่างที่ 1 นั้นนักรายงาน ข. ถือว่าเป็นนักรายงานตอนกลางที่ถูกตัด

ส่วนตัวอย่างที่ 2 นั้น นักรายงาน ค. เป็นนักรายงานตอนกลางที่ถูกตัด

ส่วนตัวอย่างที่ 3 นั้น นักรายงาน ง. เป็นนักรายงานตอนกลางที่ถูกตัด


เพราะทั้ง นักรายงาน ข. นักรายงาน ค. และนักรายงาน ง. อยู่ระหว่างนักรายงาน ก. และนักรายงานคนสุดท้ายที่เป็นศ่อฮาบะฮ์ ก็ถือว่าเป็นนักรายงานตอนกลางหมดครับ


ดังนั้นผมขอตอบคำถามของรอฟีกี ดังนี้

1. ตอนต้น นับจาก ครูคนแรกหรือนักรายงานคนแรกของมุศ็อนนิฟ

2. ตอนกลาง คือ นับจากบรรดานักรายงานหลายๆ คนที่อยู่ระหว่างนักรายงานคนแรกของมุศ็อนนิฟกับนักรายงานคนสุดท้ายที่เป็นศ่อฮาบะฮ์

3. หะดีษมุงก่อเฏียะอฺ ขาดช่วงตอนต้น ตอนกลาง และตอนท้าย โดยไม่อยู่ในหลักการของหะดีษมุอัลลั๊ก หะดีษมั๊วะฎ้อล และหะดีษมุรซัล ดัง 3 ตัวอย่างต่อไปนี้

1.) ตัวอย่างหะดีษมุอัลลั๊ก มุศ็อนนิฟ (.......ตัดนักรายงาน ก. ........) จากนักรายงาน ข. จากนักรายงาน ค. จากนักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์นะบีย์

ตัวอย่างหะดีษมุ่งก่อเฏี๊ยะขาดตนต้น มุศ็อนนิฟ นักรายงาน ก. (ตัดรายงาน ข.) จากนักรายงาน ค. จากนักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์นะบีย์

ดังนั้นตัวอย่างหะดีษมุงก่อเฏียะอฺนี้ ไม่ใช่หะดีษมุอัลลั๊ก เพราะสายรายงานแรกไม่ได้ถูกตัด และไม่ใช่เป็นหะดีษมุอัลลั๊ก เพราะนักรายงานไม่ได้ถูกตัด 2 คน และไม่ใช่หะดีษมุรซัล เพราะไม่ได้ตัดนักรายงานคนสุดท้าย(คือศ่อฮาบะฮ์)

2.) ตัวอย่างหะดีษมั๊วะฎ้อล คือ มุศ็อนนิฟ นักรายงาน ก. (......ตัดนักรายงาน ข. .......) (......ตัดนักรายงาน ค. .....) นักรายงาน ง. จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

ตัวอย่างหะดีษมุงก่อเฏี๊ยะขาดตอนกลาง คือ มุศ็อนนิฟ นักรายงาน ก. (......ตัดนักรายงาน ข. .......) นักรายงาน ค. (...ตัดนักรายงาน ง. ...) จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์

หะดีษมุงก่อเฏี๊ยะนี้แตกต่างกับหะดีษมั๊วะฎ้อล แม้จะมีนักรายงานสองคนที่ถูกตัดไป แต่นักรายงานทั้งสองไม่ได้ต่อเนื่องกันเนื่องจากมีนักรายงาน ค. มาขั้นกลางระหว่างนักรายงาน ก. และนักรายงาน ข.

3.) ตัวอย่างหะดีษมุรซัล มุศ็อนนิฟ นักรายงาน ก. จากนักรายงาน ข. จากนักรายงาน ค. จากนักรายงาน ง. (...ตัดนักรายงานที่เป็นศ่อฮาบะฮ์...) จากท่านนะบีย์นะบีย์

ตัวอย่างหะดีษมุงก่อเฏี๊ยะขาดตอนท้าย คือ มุศ็อนนิฟ นักรายงาน ก. จากนักรายงาน ข. จากนักรายงาน ค. (...ตัดนักรายงาน ง. ...) จากศ่อฮาบะฮ์ จากท่านนะบีย์นะบีย์

หะดีษมุงก่อเฎี๊ยะนี้ไม่ใช่หะดีษมุรซัล เพราะสายรายงานที่ถูกตัดนั้นไม่ใช่คนสุดท้าย

วัลลอฮุอะลัม

4
วิชา มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 14


โดย รอฟีกี มูฮำหมัด



3.หะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์ ( المنقطع ) : คำว่า "มุงก่อเตี๊ยะอ์" นั้น ในแง่ของภาษา หมายถึง "สิ่งที่ขาดตอน" หรือ "สิ่งที่ไม่ติดต่อกัน" และในแง่ของวิชาการ ก็คือ "หะดีษที่ผู้รายงานคนหนึ่ง หรือ มากกว่า ได้ตกไปจากตอนกลางของสายรายงาน และการขาดตอนนั้น เป็นการร่วงที่ไม่ติดต่อกัน"

ความเข้าใจที่มีต่อหะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์

หะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์นั้น เดิมทีมีความหมายรวมถึง "ทุกๆหะดีษที่มีการขาดตอนของนักรายงาน ไม่ว่าจะเป็นการขาดตอนหนึ่งคน หรือ มากกว่า และไม่ว่าการขาดตอนนั้น จะเกิดขึ้นจากตอนต้น ตอนกลาง หรือ ตอนท้ายของสายรายงานก็ตาม" ก็จะเข้าอยู่ภายใต้ขอบข่ายของหะดีษมุงกอเตี๊ยะอ์ด้วยกันทั้งสิ้น และคำนิยามนี้ ก็ยังมีผลทำให้หะดีษประเภทอื่นๆเข้ามารวมอยู่ในคำนิยามนี้ด้วย เช่น หะดีษมู่อัลลั๊ก(คือหะดีษที่นักรายงานตกไปจากตอนต้นของสายรายงาน ก็คือ ครูของมู่ซอนนิฟ) หะดีษมุรซั้ล(คือหะดีษที่นักรายงานตกไปจากตอนท้ายของสายรายงาน ก็คือ ซอฮาบะห์) และหะดีษมัวะอ์ด้อล(คือหะดีษที่นักรายงานสองคนตกไปจากตอนกลางของสายรายงาน และเป็นการร่วงที่ติดต่อกัน) เป็นต้น

ดังนั้น เพื่อป้องกันความสับสนอันอาจจะเกิดขึ้นได้ ทำให้นักวิชาการในยุคหลังทำการจำกัดรูปแบบเฉพาะให้กับหะดีษ "มุงก่อเตี๊ยะอ์" โดยได้กล่าวเงื่อนไขไว้ดังต่อไปนี้ คือ

1. "ตกไปจากสายรายงาน หนึ่งคน หรือ มากว่า และเป็นการร่วงที่ไม่ติดต่อกัน" เงื่อนไขนี้ มีข้อบ่งชี้ว่า หากตกเพียงแค่ "คนเดียว" ก็จะทำให้เกิดข้อแตกต่างระหว่าง หะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์ กับ หะดีษมั๊วะอ์ด้อล เพราะหะดีษมัวะอ์ด้อลนั้น เริ่มต้นที่การตกไป "สองคน" หรือ มากกว่า ส่วนหะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์นั้น เริ่มต้นที่การตกไป "หนึ่งคน" หรือ มากกว่า แต่มีเงื่อนไขข้อที่สองตามมา ก็คือ หากตกไปจากตอนกลางของสายรายงาน โดยเริ่มที่ 2 คน เหมือนกัน สิ่งที่จะพิจารณาต่อไปคือ การตกไปนั้น ติดต่อกันหรือไม่ ? หากการร่วงนั้น "ติดต่อกัน" ก็จะเป็นหะดีษมั๊วะอ์ด้อล แต่หากการร่วงนั้น "ไม่ติดต่อกัน" ก็จะเป็นหะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์

2. "ตกไปก่อนที่จะถึงซอฮาบะห์" เงื่อนไขนี้ มีข้อบ่งชี้ว่า หากมีนักรายงานคนหนึ่ง หรือ มากว่า ได้ตกไปก่อนที่จะถึงซอฮาบะห์ หะดีษนั้น ก็จะเป็นหะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์ แต่หากมีการตกไปจากบุคคลที่อยู่หลังจากตาบิอีน(ก็คือซอฮาบะห์) หะดีษนั้น ก็จะเป็นหะดีษมุรซั้ล

3. "การตกนั้น จะต้องไม่เกิดขึ้นจากตอนต้นของสายรายงาน" เงื่อนไขนี้ มีข้อบ่งชี้ว่า หากการตกไปของนักรายงานนั้น เกิดขึ้นจาก "ตอนต้น" ของสายรายงาน หะดีษบทนั้น จะเป็นหะดีษมู่อัลลั๊ก แต่หากเกิดขึ้น หลังจากนั้น(คือถัดจากครูของมู่ซอนนิฟ) หากตกไป "แบบไม่ติดต่อกัน" ก็จะเป็นหะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์ และหากตกไป "แบบติดต่อกัน" ก็จะเป็นหะดีษมัวะอ์ด้อล

เราจะรู้จักหะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์ได้อย่างไร ?

1.ได้รับการยืนยันจากอุลามาอ์ผู้เชี่ยวชาญว่า "คนทั้งสองไม่เคยพบเจอกัน" หรือ "ผู้รายงานไม่เคยได้ยินจากบุคคลที่เขาพาดพิงถึง" และไม่มีอุลามาอ์ท่านใดขัดแย้งในเรื่องดังกล่าว / จากข้อนี้ ทำให้เกิดความชัดเจนว่า มีการขาดตอนระหว่างผู้รายงานทั้งสอง

2.ได้รับการยืนยันทางชีวประวัติโดยชัดเจนว่า ผู้รายงานหะดีษนั้น ถือกำเนิดขึ้นหลังจากบุคคลที่เขารับหะดีษมา ได้เสียชีวิตไปก่อนแล้ว / จากข้อนี้ ทำให้รู้ได้โดยชัดเจนว่า หะดีษนั้นมีการขาดตอน หรือ ตกหล่นไป อันได้แก่ "คนกลาง" ที่อยู่ระหว่างผู้รายงานหะดีษและบุคคลที่เขารับหะดีษมา เพราะเป็นที่แน่นอนว่า คนทั้งสองมิได้มีการรับหะดีษกันโดยตรง

3.ได้รับการยืนยันว่า แท้จริงการพบกันระหว่าง 2 ผู้รายงานนั้น เป็นเรื่องที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามอาดัต(ตามปกติวิสัย) อันเนื่องมาจากว่า คนทั้งสองอยู่กันคนละท้องถิ่น เช่น ผู้รายงานหะดีษเป็นชาวอียิปต์ ส่วนผู้ที่เขารับหะดีษมาเป็นชาวอีรัก และนักรายงานชาวอียิปต์นั้น ไม่เคยเดินทางไปยังอีรัก หรือ นักรายงานชาวอีรักนั้น ไม่เคยเดินทางไปยังอียิปต์ หรือ คนทั้งสองมิเคยอยู่ร่วมกันในสถานที่หนึ่ง / จากข้อนี้ ทำให้รู้ได้โดยชัดเจนว่า หะดีษนั้นมีการตกหล่น "คนกลาง" ที่อยู่ระหว่างนักรายงานทั้งสอง ทำให้หะดีษนั้นขาดตอน กลายเป็น "หะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์"

รูปแบบและตัวอย่างของหะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์ : เช่น หะดีษที่ท่านอีหม่ามติรมีซีย์(รฮ.)ได้รายงานไว้ใน "สุนัน" ของท่าน ว่า

 : حَدَّثَنَا أَبُو كُرَيْبٍ ، حَدَّثَنَا أَبُو خَالِدٍ الأَحْمَرُ ، عَنْ هِشَامِ بْنِ الْغَازِ ، عَنْ مَكْحُولٍ ، عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ قَالَ : قَالَ لِي رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ 

(( أَكْثِرْ مِنْ قَوْلِ لا حَوْلَ وَلا قُوَّةَ إِلا بِاللَّهِ ، فَإِنَّهَا كَنْزٌ مِنْ كُنُوزِ الْجَنَّةِ )) 

ท่านอบูกู่รอยบ์ ได้เล่าให้เราฟังว่า ท่านอบูคอลิด อัลอะห์มัร ได้เล่าให้เราฟัง จากท่านฮิชาม บิน อัลฆอซส์ จากท่านมักฮู้ล จากท่านอบีฮู่รอยเราะห์ ได้กล่าวว่า ท่านร่อซู้ล(ซล.)ได้กล่าวแก่ฉันว่า "ท่านจงทำให้มากในการกล่าวคำว่า ไม่มีพลัง และไม่มีอำนาจใดๆ(ที่จะขับเคลื่อน)นอกเสียจาก(พลังขับเคลื่อน)ที่มาจากอัลเลาะห์ แท้จริง(การกล่าวถ้อยคำนี้) ถือเป็นคลังหนึ่งจากบรรดาคลังแห่งสรวงสวรรค์)" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามติรมีซีย์ หมวด การวิงวอน บทที่ว่าด้วย ความประเสริฐของการกล่าว لاحول ولا قوة إلا بالله หะดีษที่ 3601)

ท่านอบูอีซา(อีหม่ามติรมีซีย์)ได้กล่าวไว้ในช่วงท้ายของหะดีษบทนี้ว่า

 هَذَا حَدِيثٌ لَيْسَ إِسْنَادُهُ بِمُتَّصِلٍ ؛ مَكْحُولٌ لَمْ يَسْمَعْ مِنْ أَبِي هُرَيْرَةَ

ความว่า "หะดีษนี้ เป็นหะดีษที่สายรายงานไม่ติดต่อกัน(ขาดตอน) เพราะท่านมักฮู้ลไม่ได้ฟังหะดีษมาจากท่านอบูฮู่รอยเราะห์" (ดูสุนันติรมีซีย์ หมวด การวิงวอน บทที่ว่าด้วย ความประเสริฐของการกล่าว لاحول ولا قوة إلا بالله หะดีษที่ 3601)

หะดีษบทนี้ จึงเป็นหะดีษ "มุงก่อเตี๊ยะห์" เพราะมีการขาดตอนในสายรายงาน "ช่วงกลาง" โดยได้รับการยืนยันจากอุลามาอ์ผู้เชียวชาญว่า ท่านมักฮู้ล มิได้รับหะดีษโดยตรงจาก ท่านอบูฮู่รอยเราะห์

ฐานะของหะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์

หะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์นั้น เป็นหะดีษที่ด่ออีฟ โดยมติเอกฉันท์ของปวงปราชญ์ เนื่องจากได้ขาดไปซึ่งคุณสมบัติของหะดีษที่ถูกยอมรับ(มักบู้ล) โดยที่สายสนัดไม่ติดต่อกัน เพราะมีผู้รายงานคนหนึ่ง หรือ มากกว่า ตกหล่นไปในช่วงกลางของสายรายงาน และไม่ผู้ใดรู้ถึงสถานะภาพของนักรายงานที่ถูกตัดทิ้งไป

การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

เนื่องจากหะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์นั้น อยู่ในข่ายของหะดีษด่ออีฟ ฉนั้น การนำมาใช้นั้น จำต้องพิจารณาถึงขอบเขตของหะดีษด่ออีฟที่ศาสนายินยอมให้นำมาใช้ได้ เช่น ในเรื่องของการสนับสนุนให้ทำความดี หรือ ในเรื่องที่เป็นการเตือนให้กลัวจากการทำบาป(ตามทัศนะของนักวิชาการที่อนุญาตให้นำหะดีษด่ออีฟมาปฎิบัติได้) แต่ไม่อนุญาตให้นำหะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์นี้ ไปเป็นหลักฐานอ้างอิงในเรื่องที่เกี่ยวกับ "หลักการยึดมั่น" ( عقيدة ) หรือ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ "บรรดาข้อตัดสินต่างๆ" ( أَحكام الفقه ) นอกจากจะมีหะดีษที่มาจากสายรายงานอื่น ที่ติดต่อกัน ได้มาสนับสนุนกันเอาไว้ และได้ระบุยืนยันถึงนักรายงานที่ตกหล่นไป พร้อมทั้งปรากฎว่า นักรายงานผู้นั้นเป็นคนที่ซิเกาะห์(เชื่อถือได้) เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงจะสามารถนำหะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์นี้ไปปฎิบัติได้

แหล่งของหะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์

หะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์นั้น มีอยู่มากมายในบรรดาหนังสือสุนันต่างๆ เช่น สุนันอบีดาวูด สุนันติรมีซีย์ สุนันนะซาอีย์ สุนันดารีมีย์ สุนันบัยฮ่ากีย์ และสุนันอิบนิมาญะห์ เป็นต้น



ติดตามตอนต่อไปครับ

5
ขอบคุณที่ตามอ่านบทความน่ะครับ คุณ nada-yoru ดีใจมากครับ อินชาอัลเลาะห์ ผมตั้งใจจะนำเสนอให้จบครับ ใจเย็นๆสักนีด พอดีเรียนด้วย ค้นคว้าไปด้วยก็เลยช้านิดหน่อย ครับ ขออัลเลาะห์ทรงประทานความรู้และความเข้าใจให้น่ะครับ  party:

6
ครับ ชุกรอนญ่าซากั้ลลอฮ์ ที่ได้ติดตามผลงานของผมครับ บทความที่ผ่านๆมา ผมเก็บเอาไว้แทบทั้งหมด แต่ผมเห็นว่า ท่าน อ.อารีฟีน ได้นำเสนออย่างคลอบคลุมไว้เกือบทั้งหมดแล้ว ผมก็ไม่ได้นำเอามาลงไว้ให้ ส่วนบทความอื่นๆ อินชาอัลเลาะห์ครับ ไว้ผมว่างๆแล้ว จะค่อยๆนำมาลงไว้ให้น่ะครับ ความจริงแล้วผมตั้งใจที่จะแปลและเรียบเรียงวิชานี้ให้จบก่อน แล้วจะัค่อยๆนำเสนอเรื่องราวอื่นๆต่อไป สุดท้าย ก็...มาพอดีกับช่วงเวลาสอบอีก ผมก็เลยห่างหายไปนานพอสมควร ไว้สอบเสร็จแล้ว และผมมีเวลาว่างแล้ว ผมก็จะค่อยๆมาทยอยนำเสนอต่อไปครับ ชุกรอนที่ยังเป็นกำลังใจให้กันเสมอ ขออัลเลาะห์(ซบ.)ทรงตอบแทนความดีงามแก่ท่าน และแก่พี่น้องโดยทั่วไปด้วย อามีน ยาร๊อบบั้ลอาล่ามีน

7
(3.) มุรซั้ลค่อฟีย์ ( مرسل الخفي ) ก็คือ "หะดีษที่ผู้รายงานคนหนึ่งได้รายงานมาจากบุคคลที่มีชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกันกับเขา แต่ไม่ปรากฎว่า(ผู้รายงาน)ท่านนั้น รับฟังหะดีษดังกล่าวมาจากบุคคลที่เขารายงานไว้ และไม่เคยพบเจอกันมาก่อน" หะดีษประเภทนี้ อยู่ในรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการขาดตอนในสายรายงาน แต่เป็นการขาดตอนที่มองไม่เห็น เนื่องจากผู้รายงานทั้งสองมีชีวิตอยู่ในสมัยเดียวกัน แต่ปรากฎว่าบุคคลทั้งสองนั้น ไม่มีการรับหะดีษกันโดยตรง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่า หะดีษบทนั้นเป็นมุรซั้ลค่อฟีย์ ?

จากนิยามข้างต้น เราสามารถรู้จักหะดีษมุรซั้ลค่อฟีย์ได้ด้วยหนึ่งจาก 3 ประการต่อไปนี้

1. รู้ได้จากการที่อุลามาอ์ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า "คนทั้งสองไม่เคยพบเจอกัน" หรือ "ผู้รายงานไม่เคยได้ยินจากบุคคลที่เขาพาดพิงถึง"
2. ผู้รายงานกล่าวยอมรับเองว่า "เขาไม่เคยพบบุคคลที่เขารายงานหะดีษนั้น" หรือ "เขาไม่ได้รับฟังมาจากบุคคลที่เขาพาดพิงถึง"
3. มีกระแสรายงานอื่นได้ระบุถึงผู้รายงานคนอื่นที่ตกหล่นไประหว่างผู้รายงานทั้งสอง หรือ ในกระแสรายงานอื่น ปรากฏว่ามีผู้รายงานหะดีษคนอื่นเพิ่มเติมจากสายรายงานแรก

รูปแบบและตัวอย่างของหะดีษมุรซั้ลคอฟีย์ : ได้แก่ หะดีษที่ท่านอิบนุมาญะห์(รฮ.)ได้รายงานว่า


قال الإمام ابن ماجه : حدثنا محمد بن الصبّاح ، أنبأنا عبد العزيز بن محمد ، عن صالح بن محمد ابن زائدة ، عن عمر بن عبد العزيز ، عن عقبة بن عامر الجهنيّ قال : قال رسـول الله صلى الله عليه وسلم

(( رَحِمَ اللَّهُ حَارِسَ الْحَرَسِ ))


ท่านมูฮำหมัด บิน อัซซ่อบาฮ์ ได้เล่าให้เราฟังว่า ท่านอับดุลอะซีส บิน มูฮำหมัด ได้บอกให้เราทราบ จากท่านซอและห์ บิน มูฮำหมัด อิบนิ ซาอิดะห์ จากท่านอุมัร บิน อับดุลอะซีส จากท่านอุกบะห์ บิน อามิร อัลญุฮานีย์ ได้กล่าวว่า ท่านร่อซู้ล(ซล.)ทรงกล่าวว่า "อัลเลาะห์ทรงเมตตาต่อผู้ที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย(ยาม)" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามอิบนุมาญะห์ บทที่ว่าด้วยการญิฮาด หะดีษที่ 2769)
 
ท่านอัลฮาฟิส อัลมิซซีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "อัลอัฎรอฟ" ว่า : แท้จริง ท่านอุมัร บิน อับดุลอะซีส ไม่ได้รับหะดีษโดยตรงจาก ท่านอุกบะห์ บิน อามิร หะดีษบทนี้ จึงเป็นหะดีษ "มุรซั้ลค่อฟีย์" เนื่องจากมีนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญได้ระบุไว้ว่า "คนทั้งสองมิได้มีการรับหะดีษกันโดยตรง"

ฐานะของหะดีษมุรซั้ลค่อฟีย์

หะดีษมุรซั้ลค่อฟีย์นั้น เป็นหะดีษที่ด่ออีฟ เนื่องจากได้ขาดไปซึ่งคุณสมบัติของหะดีษมักบู้ล โดยที่สายสนัดไม่ติดต่อกัน เพราะมีผู้รายงานคนหนึ่งตกหล่นไประหว่าง "ตาบิอีน" กับ "ซอฮาบะห์" จนอุลามาอ์บางท่านให้เหตุผลว่า หะดีษในลักษณะเช่นนี้ เป็นทั้งหะดีษมุรซั้ลค่อฟีย์ และหะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์

การนำมาใช้เป็นหลักฐาน

หะดีษมุรซั้ลค่อฟีย์นั้น เป็นหะดีษที่มีการตกหล่นของสายรายงาน จึงถูกจัดให้อยู่ในระดับของหะดีษด่ออีฟ เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่อนุญาตให้นำมาใช้เป็นหลักฐาน เว้นแต่ จะมีสายสนัดอันอื่นที่ซอเฮี๊ยะห์ ได้ระบุถึงผู้รายงานที่ตกหล่นไป จึงจะสามารถนำหะดีษมุรซั้ลค่อฟีย์บทนั้นมาใช้เป็นหลักฐานได้ ซึ่งการสนับสนุนด้วยสายรายงานอื่นนี้แหละที่เราเรียกว่า "อาดิด" หรือ "มู่ตาเบี๊ยะห์" ( العاضد أو المتابع عند الإحتياج إليه ) หมายถึง "มีการสนับสนุนของหะดีษบทอื่น ทำให้หะดีษที่ได้รับการสนับสนุนนั้น มีความแข็งแรงขึ้น และสามารถนำมาอ้างอิงเป็นหลักฐานได้"

ตำราที่เกี่ยวข้องกับหะดีษมุรซั้ลค่อฟีย์ เช่น หนังสือ "อัตตัฟซี้ล ลี่มุบฮัม อัลม่ารอซี้ล"( التفصيل لمبهم المراسيل ) ของ ท่านค่อฎีบ อัลบัฆดาดีย์


ติดตามตอนต่อไปครับ

8
วิชา มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 13


โดย รอฟีกี มูฮำหมัด



2.หะดีษมุรซั้ล ( المرسل ) : คำว่า มุรซั้ล ( المرسل ) นั้น ในแง่ของภาษา หมายถึง "สิ่งที่ถูกปล่อยไป" หรือ "สิ่งที่ถูกข้ามผ่านไป" และในแง่ของวิชาการ ก็คือ "หะดีษที่ผู้รายงานที่อยู่ถัดจากตาบีอีน(ซอฮาบะห์) ได้ตกไปจากตอนท้ายของสายรายงาน" และอีกคำนิยามหนึ่ง ก็คือ "หะดีษที่ตาบีอีนเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นตาบีอีนรุ่นเยาว์ หรือ ตาบีอีนรุ่นอาวุโส ได้รายงานจากท่านร่อซู้ล(ซล.) โดยไม่กล่าวถึงซอฮาบะห์"

ชนิดของหะดีษมุรซั้ล

หะดีษมุรซั้ลนั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.มุรซั้ลตาบีอีน 2.มุรซั้ลซอฮาบีย์ 3.มุรซั้ลค่อฟีย์

(1.) มุรซั้ลตาบีอีน ( مرسل التابعين ) ก็คือ "หะดีษที่ตาบีอีนเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นตาบีอีนรุ่นเยาว์ หรือ ตาบีอีนรุ่นอาวุโส ได้รายงานจากท่านร่อซู้ล(ซล.) โดยไม่กล่าวถึงซอฮาบะห์"

รูปแบบและตัวอย่างของหะดีษมุรซั้ลตาบีอีน : ท่านอีหม่ามมุสลิม(รฮ.) ได้กล่าวไว้ในซอเฮี๊ยะห์ของท่าน ในบทที่ว่าด้วยการค้าขาย ว่า

  حدثني محمد بن رافع ، حدثنا حجين بن المثنى ، حدثنا الليث عن عقيل ، عن ابن شهاب ، عن سعيد بن المسيب أَنّ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ نَهَى عَنْ بَيْعِ الْمُزَابَنَةِ وَالْمُحَاقَلَةِ 

ท่านมูฮำหมัด บิน รอเฟี๊ยะอ์ ได้เล่าให้ฉันฟังว่า ท่านฮู่ญัยน์ บิน อัลมู่ซันนา ได้เล่าให้เราฟังว่า ท่านลัยซ์ ได้เล่าให้เราฟัง จากท่านอู่กอยล์ จากท่านอิบนุชิฮาบ จากท่านสอี๊ด บิน อัลมู่ซัยยิบ ว่า "แท้จริงท่านร่อซู้ล(ซล.)ทรงห้ามจากการขายชนิดมู่ซาบานะห์ และมู่ฮากอละห์" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามมุสลิม ในซอเฮี๊ยะห์ของท่าน บทที่ว่าด้วยการค้าขาย หะดีษที่ 1539)

ข้อสังเกตุ : หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษมุรซั้ล เนื่องจากมีนักรายงานคนนึงที่อยู่ในชั้นซอฮาบะห์ ได้ตกหล่นไปจากสายรายงาน เนื่องจาก "ท่านสอี๊ด บิน อัลมู่ซัยยิบ" นั้น เป็นผู้ที่อยู่อยู่ในรุ่นตาบิอีน และได้กล่าวรายงานหะดีษโดยตรงจากท่านนบี(ซล.) โดยมิได้กล่าวถึงนักรายงานที่อยู่ระหว่างเขากับท่านร่อซู้ล(ซล.) นั่นคือ คนในรุ่นซอฮาบะห์ เนื่องจากผู้ที่กล่าวรายงานหะดีษนั้น เป็นคนรุ่นตาบีน และไม่ได้ยินหะดีษจากท่านนบี(ซล.)โดยตรง แต่การรายงานของท่าน ได้พาดพิงถึงท่านนบี(ซล.)โดยตรง ดังนั้น การรายงานนี้ เป็นการรายงานที่ขาดตอน ระหว่าง ท่านสอี๊ด บิน อัลมู่ซัยยิบ กับ ท่านนบี(ซล.) จึงทำให้ดีษบทนี้ กลายเป็นหะดีษมุรซั้ล

หมายเหตุ : (การค้าแบบมู่ซาบานะห์ ก็คือ "การขายสิ่งที่รู้ปริมาณ ด้วยสิ่งที่ไม่รู้ปริมาณ" หรือ "การขายสิ่งที่ไม่รู้ปริมาณ ด้วยสิ่งที่ไม่รู้ปริมาณ" จากพืชผลชนิดเดียวกัน เช่น การขายอินทผาลัมสดที่ยังอยู่บนต้น กับ อินทผาลัมแห้งที่เก็บเกี่ยวแล้ว ไม่ว่าหนึ่งจากทั้งสองนั้นจะรู้ปริมาณหรือไม่ก็ตาม ส่วนการขายแบบมู่ฮากอละห์ ก็คือ "การขายผลที่ยังอยู่ในรวงก่อนที่จะมีการเก็บเกี่ยว" เช่น การขายเมล็ดข้าวสาลีที่ยังอยู่ในรวง กับ ข้าวสาลีทีมีการสีเปลือกออกแล้ว ด้วยจำนวนตวงที่เป็นที่รู้กัน การขายอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ท่านนบี(ซล.)ทรงห้ามไว้ เนื่องจากไม่รู้ปริมาณที่แน่นอนของการขาย และไม่รู้ปริมาณของสิ่งที่จะเก็บเกี่ยว เมื่อผู้ขายได้ขายมันหลังจากได้เก็บเกี่ยวแล้ว ก็เป็นไปได้ที่หนึ่งจากทั้งสองนั้นจะเกิดการขาดทุน หรือ ได้กำไรจนเกินจากราคาของสิ่งที่นำมาแลกเปลี่ยน ซึ่งถือเป็นริบา เนื่องจากเป็นการแลกเปลี่ยนพืชผลชนิดเดียวกันที่มีจำนวนต่างกัน)


การนำมาเป็นหลักฐาน

หะดีษมุรซั้ลตาบีอีนนั้น ตามหลักการพิจารณาขั้นพื้นฐานแล้ว ถือว่า เป็นหะดีษที่ด่ออีฟ เนื่องจากได้ขาดไปหนึ่งเงื่อนไข จากเงื่อนไขของหะดีษที่ถูกยอมรับ นั่นคือ "สายรายงานขาดตอน" และแม้ว่าผู้รายงานในยุคตาบีอีนจะเป็นผู้รายงานที่มีความน่าเชื่อถือ หรือ เป็นที่เลื่องลือทางด้านของความน่าเชื่อถือและความจำดีก็ตาม เพราะไม่รู้ถึงสถานะภาพของผู้รายงานที่ถูกตัดทิ้งไป แม้ว่าชนในยุคซอฮาบะห์นั้น จะได้รับการยอมรับถึงความอาเด้ล(มีคุณธรรม)จากท่านร่อซู้ล(ซล.)ก็ตาม เพราะเป็นไปได้ว่า ผู้รายงานในยุคตาบีอีนนั้น อาจจะรายงานหะดีษมาจากตาบีอีนด้วยกัน จึงถูกตัดสินในเบื้องต้นให้เป็นหะดีษที่ด่ออีฟไว้ก่อน

ส่วนการนำมาอ้างอิงเป็นหลักฐานนั้น สามารถสรุปทัศนะของบรรดาอุลามาอ์ได้เป็น 3 ทัศนะใหญ่ๆ คือ

1.ทัศนะของญุมฮูรอุลามาอ์(ส่วนมากจากนักวิชาการด้านหะดีษ นักวิชาการฟิกห์ และนักวิชาการอู่ซูลุ้ลฟิกห์) :
ไม่อนุญาตให้นำหะดีษมุรซั้ลตาบีอีนมาอ้างอิงเป็นหลักฐาน เท่ากัน ไม่ว่าตาบีอีนั้น จะเป็นตาบีอีนรุ่นอาวุโส หรือ ตาบีอีนรุ่นเยาว์ และไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีความน่าเชื่อถือมาก หรือ น้อย หรือ ไม่มีความน่าเชื่อถือก็ตาม

หลักฐานของพวกเขา ก็คือ การที่ไม่รู้สภาพของนักรายงานื้ถูกตัดทิ้งไป อาจถูกตีความได้ว่า การรับรายงานนั้น อาจเกิดขึ้นจากคนที่ไม่ได้เป็นซอฮาบะห์ก็ได้

2.ทัศนะของผู้นำมัสฮับทั้ง 3 (คือ ท่านอีหม่ามอบูฮานีฟะห์ ท่านอีหม่ามมาลิก และท่านอีหม่ามอะห์หมัดในทัศนะที่มัชโฮร และผู้ที่ดำเนินตามพวกเขา และอุลามาอ์กลุ่มหนึ่ง) : อนุญาตให้นำหะดีษมุรซั้ลตาบีอีนมาปฎิบัติได้ โดยมีเงื่อนไข คือ จะต้องเป็นหะดีษมุรซั้ลที่มาจากการรายงานของตาบีอีนที่มีความซิเกาะห์ ไม่ว่าจะเป็นตาบีอีนรุ่นอาวุโส หรือ ตาบีอีนรุ่นเยาว์ก็ตาม ดังนั้น จะไม่ถูกนำมาเป็นหลักฐาน หากการรายงานนั้น มาจากตาบีอีนที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ(ซิเกาะห์)

หลักฐานของพวกเขา ก็คือ แท้จริงตาบีอีนที่มีความน่าเชื่อถือนั้น เป็นไปไม่ได้ที่เขาจะกล่าวรายงานหะดีษว่า (..... : قال رسول الله صلى الله عليه وسلم ) "ท่านร่อซู้ล(ซล.)ทรงกล่าวว่า...." โดยไม่รู้ที่มา นอกเสียจากจากการรับฟังนั้น เป็นการรับฟังมาจากผู้รายงานที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น

3.ทัศนะของท่านอีหม่ามชาฟีอีย์(รฮ.) และผู้ที่ดำเนินตามท่าน : อนุญาตให้ปฎิบัติตามหะดีษมุรซั้ลตาบีอีนและสามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ โดยขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

1.เงื่อนไขทางด้านตัวบุคคล :

(1.) ผู้รายงานนั้น ต้องเป็นตาบิอีนรุ่นอาวุโสเท่านั้น เช่น ท่านสะอีด บิน อัลมู่ซัยยิบ และท่านอื่นๆ ดังนั้น หากผู้รายงานหะดีษมุรซัล เป็นตาบิอีนรุ่นเยาว์ การรายงานของเขาก็จะถูกปฏิเสธ

(2.) ผู้รายงานที่กล่าวอ้างนั้น ต้องเป็นผู้รายงานที่มีความน่าเชื่อถือ(ซิเกาะห์)

(3.) หากมีผู้อื่นร่วมรายงานหะดีษด้วย ผู้รายงานคนนั้น ต้องเป็นคนที่มีความจำดีเยี่ยมและมีคุณธรรม และการรายงานนั้น ต้องไม่ขัดแย้งกับการรายงานของผู้ที่ความน่าเชื่อถือมากกว่า

2.เงื่อนไขทางด้านการรายงาน :

(1.) หะดีษบทนั้น ต้องมีการรายงานมาอีกสายรายงานหนึ่ง ที่มีสายรายงานติดต่อกัน ถ้าหากไม่ได้มีมาจากอีกสายรายงานหนึ่งที่มีสายรายงานติดต่อกัน ก็มีเงื่อนไขว่า จะต้องเป็นหะดีษมุรซั้ลที่มาจากสายรายงานอื่น ซึ่งผู้รายงานนั้น ไม่ได้เป็นผู้รายงานที่อยู่ในสายรายงานแรก และเป็นบุคคลที่สามารถเอาความรู้จากเขาได้

(2.) หะดีษมุรซั้ลตาบีอีนนั้น ต้องสอดคล้องกับคำพูดของซอฮาบะห์บางท่าน

(3.) นักวิชาการส่วนมากได้ฟัตวาออกมาตรงกับหะดีษบทนั้น

เมื่อครบเงื่อนไขตามที่กล่าวมานี้ หะดีษมุรซั้ลตาบีอีน ก็จะเป็นหะดีษที่ได้รับการยอมรับ และสามารนำมาปฏิบัติได้ ตามทัศนะของท่านอีหม่ามชาฟิอีย์ แต่ถ้าไม่ครบเงื่อนไข ท่านอีหม่ามชาฟีอีย์ ก็จะปฏิเสธหะดีษมุรซั้ลบทนั้น แม้จะมีบางข้อ หรือ โดยส่วนมากเป็นอย่างที่กล่าวมาก็ตาม

หมายเหตุ : บรรดาอุลามาอ์จากทัศนะที่ 2 และ 3 นั้น ได้มีทัศนะว่า : อนุญาตให้นำหะดีษมุรซั้ลมาใช้เป็นหลักฐานได้ ในเรื่องที่เกี่ยวกับข้อตัดสิน(ฮู่ก่ม)ที่เกี่ยวกับฮ่าล้าล ฮ่ารอม เรื่องธุรกิจ-การค้า เรื่องจริยธรรม และจรรยามารยาท และเรื่องอื่นๆ ซึ่งหะดีษมุรซั้ลนั้น มีสภาพเหมือนกับหะดีษที่มีสายรายงานติดต่อกัน ในด้านที่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม นักวิชาการที่เป็นผู้นำเหล่านั้น ได้แก่ อีหม่ามอบูฮะนีฟะห์ และอีหม่ามมาลิก และนักวิชาการส่วนใหญ่ในสังกัดของท่านอีหม่ามทั้งสอง รวมทั้งนักวิชาการทางด้านหะดีษและด้านนิติศาสตร์ท่านอื่นๆ และท่านอีหม่ามอะห์หมัดก็มีทัศนะอย่างนี้เช่นเดียวกัน ตามการรายงานของท่านอีหม่ามนะวะวีย์ ท่านอิบนุ้ลกอยยิม และท่านอิบนุกะษีร และท่านอื่นๆ

และท่านอีหม่ามอบูดาวูด(รฮ.)ได้กล่าวว่า : "ท่านอีหม่ามอะห์หมัดนั้น มีความเห็นในเรื่องของการนำหะดีษมุรซั้ลมาเป็นหลักฐานเหมือนกับท่านอีหม่ามชาฟิอีย์" (ดู อุลูมหะดีษ ของ อุสตาร ด๊อกเตอร์ อัลคู่ชูอีย์ อัลคู่ชูอีย์ มูฮำหมัด อัลคู่ชูอีย์ หน้า 135)

และการพิจารณาว่าเป็นหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ ตามทรรศนะของนักวิชาการเหล่านั้น ก็คือ เมื่อผู้รายงานหะดีษมุรซั้ลนั้น เป็นผู้รายงานที่มีความน่าเชื่อถือ ดังนั้น หากผู้รายงานหะดีษมุรซั้ลเป็นคนด่ออีฟ หรือ เป็นที่รู้กันว่าเขาได้รายงานหะดีษมุรซั้ลมาจากคนที่ด่ออีฟ หะดีษมุรซัลนั้น ก็จะถูกปฏิเสธโดยมติเอกฉันท์ของปรวงปราชญ์

ส่วนหะดีษมุรซั้ลที่อยู่ในซอเฮี๊ยะห์บุคอรีย์และซอเฮี๊ยะห์มุสลิมนั้น บรรดาอุลามาอ์หะดีษ มีความเห็นตรงกันว่า หะดีษมุรซัลตาบิอีนที่อยู่ในซอเฮี๊ยะห์ทั้งสองนั้น เป็นหะดีษซอเฮี๊ยะห์ ที่จำเป็นต้องปฎิบัติตาม เพราะมีกระแสรายงานอื่นๆที่เชื่อถือได้และติดต่อกันมายืนยันถึงความถูกต้อง และนักรายงานทุกคนต่างก็มีความน่าเชื่อถือ(ซิเกาะห์)

(2.) มุรซั้ลซอฮาบีย์ ( مرسل الصحابي )  ก็คือ "หะดีษที่ซอฮาบะห์ท่านหนึ่งได้รายงานจากท่านนบีมูฮำหมัด(ซล.)ในสิ่งที่เกี่ยวกับคำพูด หรือ การกระทำของท่าน โดยที่ซอฮาบะห์ท่านนั้น ไม่ได้ยินจากท่านนบี(ซล.)โดยตรงในสิ่งที่เขารายงาน หรือ ไม่ได้อยู่ต่อหน้าท่าน เหตุเพราะไม่ทันได้พบท่าน หรือ เพราะอายุยังน้อย หรือ อาจเข้ารับอิสลามในช่วงท้ายของชีวิต"

ความเข้าใจที่มีต่อซอฮาบะห์

เป็นที่ทราบกันดีว่า บรรดาซอฮาบะห์ที่ได้รับหะดีษมาจากนบี(ซล.)นั้น มิใช่ว่าทุกท่านจะตามติดอยู่กับท่านนบี(ซล.)โดยตลอด และก็เป็นไปไม่ได้ที่เรื่องแบบนี้จะเกิดขึ้น เพราะบรรดาซอฮาบะห์นั้น ต่างก็ต้องทำงานของตัวเองด้วย โดยไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการติดตามท่านนบี(ซล.)เลย อีกทั้งพวกเขาก็ยังต้องต่อสู้ในวิถีทางของอัลเลาะห์ และบางคนของพวกเขานั้น ท่านร่อซู้ล(ซล.)ก็ได้ส่งไปสอนศาสนาและสอนอัลกุรอานแก่ผู้คนในหัวเมืองต่างๆด้วย ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาก็ยังต้องประกอบสัมมาอาชีพ และแสวงหาปัจจัยในการยังชีพของพวกเขาด้วย โดยที่พวกเขาได้ประกอบอาชีพทางด้านของการเกษตร การค้าขาย และอาชีพอื่นๆ

แต่ถึงกระนั้น พวกเขาก็มีความปรารถนาเป็นอย่างยิ่ง ที่จะศึกษาเรื่องราวทางศาสนา ถึงขนาดที่ว่า เมื่อมีคนใดคนหนึ่งจากพวกเขาที่ได้พลาดจากการสอนของท่านร่อซู้ล(ซล.) ไม่ว่าจะด้วยกิจธุระอันใดก็ตาม พวกเขาก็จะไปตามถามคนที่มาฟังสิ่งที่ท่านร่อซู้ล(ซล.)ได้เคยสอนไว้ และก็จะได้รับการบอกเล่าถึงเรื่องราวดังกล่าว และยิ่งไปกว่านั้น พวกเขาก็จะเปลี่ยนเวรกันมาเพื่อประจำอยู่กับท่านร่อซู้ล(ซล.) เพื่อศึกษาเรื่องราวและการดำเนินชีวิตของท่าน อีกทั้งยังคอยอยู่รับใช้ท่านร่อซู้ล(ซล.)อีกทางหนึ่งด้วย

สาเหตุที่ทำให้เกิดมุรซั้ลซอฮาบีย์ : ก็เนื่องมาจากว่า ซอฮาบะห์ท่านนั้น อายุยังน้อย หรือ ไม่ได้รับฟังมาจากท่านนบี(ซล.) เช่น ท่านอิบนุอับบาส ท่านอิบนุ อัซซู่บัยร์ และท่านอื่นๆ หรือ เข้ารับอิสลามในช่วงปลายของชีวิต หรือ ไม่ได้อยู่ต่อหน้าท่านร่อซู้ล(ซล.)ในขณะที่มีการถ่ายทอดหะดีษ

รูปแบบและตัวอย่างของหะดีษมุรซั้ลซอฮาบีย์ : ได้แก่ หะดีษที่ท่านอิบนุมาญะห์(รฮ.)ได้รายงานว่า

 حدثنا محمد بن المصفى الحمصي قال ، حدثنا الوليد بن مسلم قال ، حدثنا الأوزاعي عن عطاء ، عن ابن عباس رضي الله عنهما أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال

(( إِنَّ اللَّهَ وَضَعَ عَنْ أُمَّتِي الْخَطَأَ ، وَالنِّسْيَانَ ، وَمَا اسْتُكْرِهُوا عَلَيْهِ ))

 

ท่านมูฮำหมัด บิน อัลมู่ซอฟฟา อัลฮิมซีย์ ได้เล่าให้เราฟัง โดยกล่าวว่า ท่านอัลวะลีด บิน มุสลิม ได้เล่าให้เราฟัง โดยกล่าวว่า ท่านอีหม่ามเอาซาอีย์(รฮ.) ได้เล่าให้เราฟัง จากท่านอะตออ์ จากท่านอิบนุอับบาส(รด.) ได้รายงานว่า แท้จริงท่านร่อซู้ล(ซล.)ทรงกล่าวว่า "แท้จริงอัลเลาะห์ได้ยกออกไป(อภัยให้)จากประชาชาติของฉัน ในสิ่งที่เกี่ยวกับความผิดพลาด การหลงลืม และการถูกบังคับ" (บันทึกโดย ท่านอิบนุมาญะห์ ในสุนันอิบนุมาญะห์ หะดีษที่ 2045)

ข้อสังเกตุ : หะดีษบทนี้ เป็นมุรซั้ลซอฮาบีย์ เพราะอนุมานได้ว่า ท่านอิบนุอับบาส นั้น อาจจะไม่ได้รับหะดีษในขณะที่อยู่ต่อหน้าท่านนบี(ซล.) เพราะไม่ทันได้พบกับท่านในขณะที่มีการรับหะดีษ เนื่องจากท่านยังเล็กมาก แต่ท่านได้กล่าวรายงานหะดีษโดยพาดพิงถึงท่านนบี(ซล.)ด้วยตัวของท่านเอง โดยมิได้ระบุถึงครูของท่าน หรือ บุคคลที่อยู่ก่อนหน้าท่าน เพราะไปได้ว่า ท่านอาจจะรายงานหะดีษมาจากซอฮาบะห์ด้วยกัน แต่ท่านก็มิได้กล่าวถึงซอฮาบะห์ท่านนั้น จึงทำให้หะดีษนี้ เป็นหะดีษมุรซั้ลซอฮาบีย์ เพราะมีผู้รายงานอีกท่านหนึ่งถูกรายงานข้ามไป ได้แก่ผู้รายงานที่อยู่ระหว่าง ท่านอิบนุอับบาส กับ ท่านร่อซู้ล(ซล.)

และอีกตัวอย่างหนึ่งของมุรซั้ลซอฮาบีย์ ก็คือ หะดีษที่ท่านอิบนุ อัซซู่บัยร์ ได้รายงานไว้ในซอเฮี๊ยะห์ของท่านอีหม่ามบุคอรีย์ ซึ่งท่านอีหม่ามบุคอรีย์(รฮ.)ได้รายงานว่า

حدثنا سليمان بن حرب ، حدثنا حَمَّادُ بن زيد عن ثابت ، قَالَ سَمِعْتُ ابْنَ الزُّبَيْرِ يَخْطُبُ يَقُولُ قَالَ مُحَمَّدٌ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ

(( مَنْ لَبِسَ الْحَرِيرَ فِي الدُّنْيَا لَنْ يَلْبَسَهُ فِي الْآخِرَةِ ))   
 

ท่านสุลัยมาน บิน ฮัรบ์ ได้เล่าให้เราฟังว่า ท่านฮัมมาด บิน เซต ได้เล่าให้เราฟัง จากท่านซาบิต โดยกล่าวว่า ฉันได้ยินท่าน อิบนุ อัซซู่บัยร์ ได้แสดงธรรม โดยกล่าวว่า ท่านนบีมูฮำหมัด(ซล.)ทรงกล่าวว่า "ใครก็ตามที่สวมใส่ผ้าไหมในโลกนี้ เขาจะไม่ได้สวมใส่มันในโลกอาคีเราะห์" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามบุคอรีย์ หะดีษที่ 5833)

ข้อสังเกตุ : หะดีษบทนี้ เป็นมุรซั้ลซอฮาบีย์ เนื่องจาก ท่านอิบนุ อัซซู่บัยร์ นั้น ได้เกิดในช่วงที่มีการอพยพไปสู่นครมะดีนะห์ หลังจากนั้นได้ไม่นาน ท่านร่อซู้ล(ซล.)ก็ทรงสิ้นพระชน ซึ่งท่านเผยแพร่ศาสนาอยู่ในเมืองมะดีนะห์ได้เพียง 10 ปีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หะดีษที่ ท่านอิบนุ อัซซู่บัยร์ ได้รายงานจากท่านร่อซู้ล(ซล.)นั้น เป็น "มุรซั้ลซอฮาบีย์" เนื่องจากในขณะนั้น เขายังอายุน้อย หรือ ประมาณไม่เกิน 10 ปี ทำให้โอกาสที่ท่านจะได้รับหะดีษโดยตรงจากท่านร่อซู้ล(ซล.)นั้น เป็นไปได้ยาก แต่ท่านก็ได้รายงายหะดีษโดยอ้างถึงท่านนบี(ซล.)โดยตรง โดยไม่ได้กล่าวถึงครูของท่าน ทำให้คาดคิดได้ว่า มีผู้รายงานหะดีษคนหนึ่งได้ถูกรายงานข้ามไป ก็คือ บุคคลที่อยู่ระหว่าง ท่านอิบนุ อัซซู่บัยร์ กับ ท่านร่อซู้ล(ซล.) หะดีษบทนี้ จึงเป็น "มุรซั้ลซอฮาบีย์" ดังได้กล่าวมาแล้ว

และท่านอัลฮาฟิส อิบนุฮาญัร(รฮ.)ได้กล่าวว่า

أن ابن الزبير حمله عن النَّبِيّ صلّى الله عليه وسلّم بواسطة عمر رضي الله عنه

ความว่า "แท้จริงแล้ว ท่านอิบนุ อัซซู่บัยร์ นั้น ได้รับหะดีษมาจากท่านนบี(ซล.) โดยมีสื่อกลาง คือ ท่านอุมัร(รด.)"

การนำมาเป็นหลักฐาน

หะดีษมุรซั้ลซอฮาบีย์นั้น บรรดาอุลามาอ์ส่วนมาก ถือว่า เป็นหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ และมีความจำเป็นต้องปฎิบัติตาม ทั้งในด้านที่เกี่ยวกับหลักการศรัทธา หลักการปฎิบัติ และหลักของคุณธรรม-จริยธรรม เพราะบรรดาซอฮาบะห์นั้น ได้รับการรับรองโดยท่านร่อซู้ล(ซล.) ซึ่งพวกเขาทุกคนเป็นผู้ที่มีคุณธรรม(อาเด้ล) และพวกเขาไม่โกหกต่อหะดีษของร่อซู้ล(ซล.)แน่นอน แม้ว่าจะไม่ได้รับฟังมาโดยตรงจากท่านร่อซู้ล(ซล.)ก็ตาม เพราะเป็นที่เชื่อได้อย่างแน่ใจว่า บรรดาซอฮาบะห์นั้น หากไม่ได้ยินมาจากท่านร่อซู้ล(ซล.) ก็จะต้องได้ยิน หรือ รับการรายงานหะดีษมาจากซอฮาบะห์ด้วยกันเป็นแน่ จึงเป็นไปได้ยาก สำหรับนักรายงานหลุดร่วงไปนั้น จะไม่ใช่ซอฮาบะห์ ดังนั้น การหลุดร่วงไปของซอฮาบะห์ท่านหนึ่ง จึงไม่ส่งผลใดๆต่อการพิจารณาตัวบทของหะดีษ เพราะเป็นไปได้น้อยที่ซอฮาบะห์ท่านนั้นจะรายงานหะดีษมาจากตาบีอีน นอกเสียจากสืบทราบได้ว่า ซอฮาบะห์ท่านนั้นได้รับรายงานหะดีษมาอย่างมากมายมาจากชนในชั้นตาบีอีน เมื่อเป็นเช่นนี้ ฮู่ก่มหะดีษมุรซั้ลของเขา ก็จะเป็นมุรซั้ลชนิดอื่นจากมุรซั้ลซอฮาบีย์

ทัศนะของบรรดาอุลามาอ์ที่มีต่อมุรซั้ลซอฮาบีย์ ?


บรรดาอุลามาอ์ได้มีทัศนะในเรื่องของการปฎิบัติตามหะดีษมุรซั้ลซอฮาบีย์ อยู่ 2 ทัศนะ คือ

1.แนวทางของนักวิชาการส่วนมาก(ญุมฮูรอุลามาอ์) : ถือว่า หะดีษมุรซั้ลซอฮาบีย์นั้น เป็นหะดีษมั๊กบูล และจำเป็นต้องนำไปปฎิบัติ เพราะการตกหล่นของบรรดาซอฮาบะห์ ที่รายงานมาจากซอฮาบะห์ด้วยกันนั้น ไม่มีผลใดๆต่อการพิจารณาหะดีษ และไม่มีผู้ใดโต้แย้งในเรื่องนี้เลย นอกจากนักวิชาการเพียงไม่กี่ท่านเท่านั้น แม้กระทั่งท่านอิบนุสซ่อลาฮ์ ก็ยังมิได้ให้ความสำคัญกับพวกเขา

แนวทางในการยอมรับมุรซั้ลซอฮาบีย์ของพวกเขา ก็คือ

1.เนื่องจากผู้ที่หลุดร่วงไปจากสายรายงานนั้นเป็นซอฮาบะห์ และบรรดาซอฮาบะห์นั้น ย่อมเป็นที่ทราบกันดีว่า พวกเขาเป็นผู้ที่มีคุณธรรม ด้วยการรับรองของอัลเลาะห์และร่อซู้ล ฉนั้น การที่ซอฮาบะห์ท่านหนึ่งได้รายงานมาจากซอฮาบะห์ด้วยกัน ถึงแม้ว่า ผู้รายงานที่เป็นซอฮาบะห์นั้น มิได้กล่าวถึงครูของเขา การที่ไม่รู้จักตัวตนของซอฮาบะห์ที่ถูกรายงานข้ามไป จึงไม่มีผลกระทบใดๆต่อความเป็นซอเฮี๊ยะห์ของหะดีษ เพราะสถานะของซอฮาบะห์ทุกท่านนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า พวกเขาเป็นผู้ที่มีคุณธรรม

2.เนื่องจากเป็นไปได้น้อย ที่ซอฮาบะห์จะรายงานหะดีษมาจากคนในชั้นตาบีอีน และเมื่อพวกเขาได้รายงานมาจากตาบิอีน พวกเขาก็จะทำการอธิบายไว้

3.เนื่องจากส่วนมากแล้ว หะดีษที่ซอฮาบะห์ได้รายงานจากตาบีอีนอีนนั้น จะไม่ใช่หะดีษมัรฟัวะอ์ แต่จะเป็นเรื่องเล่าประเภท อิสรออีลียาต และหะดีษเมากูฟ

นี่คือ สิ่งที่นักวิชาการหะดีษได้ปฏิบัติในหนังสือของพวกเขา แม้กระทั้งผู้ที่ตั้งเงื่อนไขว่า จะไม่นำออกมารายงานนอกจากหะดีษที่ซอเฮียะห์เท่านั้น เช่น อีหม่ามผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสอง คือ ท่านอีหม่ามบุคอรีย์ และท่านอีหม่ามมุสลิม ก็ได้นำหะดีษประเภทนี้ มาไว้ในหนังสือของเขาอย่างมากมาย รวมทั้งท่านอี่นๆด้วย
 
2.แนวทางของท่านของอบูอิสหาก อัลอิสฟ่ารอยีนีย์ ( أبُو إِسْحَاقَ إِبْرَاهِيمُ بْنُ مُحَمَّدِ بْنِ إِبْرَاهِيمَ الإِسْفَرَايِينِيُّ ) และอุลามาอ์บางท่าน :
ถือว่า หะดีษมุรซั้ลซอฮาบีย์นั้น ก็เหมือนกับหะดีษมุรซั้ลทั่วๆไป ซึ่งเป็นหะดีษที่ด่ออีฟ โดยไม่มีข้อแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นมุรซั้ลซอฮาบีย์ หรือ มุรซั้ลตาบีอีน เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่ซอฮาบะห์นั้น จะรับรายงานหะดีษมาจากชนในชั้นตาบีอีน ซึ่งการตกหล่นในลักษณะนี้ ย่อมมีผลต่อการยอมรับหะดีษ เพราะหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์นั้น จะไม่เกิดผล หากมีสายรายงานที่ขาดตอน ดังนั้น แนวทางของพวกเขา จึงไม่ยอมรับมุรซั้ลซอฮาบีย์ในฐานะที่เป็นหะดีษซอเฮี๊ยะห์ แต่พวกเขายอมรับมันในฐานะของหะดีษด่ออีฟ

อย่างไรก็ตาม จากสองทัศนะที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทัศนะที่ถูกต้อง และคู่ควรแก่การนำมาปฏิบัติมากที่สุด ก็คือ ทัศนะที่หนึ่ง เพราะการตกหล่นของบรรดาซอฮาบะห์นั้น ไม่มีผลต่อใดๆต่อการยอมรับหะดีษ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากผู้ที่อ้างหะดีษจากท่านนบี(ซล.)นั้นเป็นซอฮาบะห์ หรือ เป็นตาบีอีนรุ่นอาวุโส เพราะพวกเขาเป็นผู้ที่ได้รับตำแหน่งของความน่าเชื่อถือ(ซิเกาะห์) หรือ อย่างน้อยๆก็เป็นคนที่มีความสัจจะ(ซ่อดู๊ก) และทัศนะนี้ ก็ยังเป็นทัศนะของนักวิชาการส่วนมากอีกด้วย

ข้อควรจำของมุรซั้ลซอฮาบีย์

1.หะดีษมุรซั้ลที่ตาบีอีนท่านหนึ่งที่มีความน่าเชื่อถือ(ซิเกาะห์) ได้กล่าวว่า ซอฮาบะห์คนหนึ่งของท่านนบี(ซล.) ได้เล่าให้ฉันฟังว่า ท่านนบี(ซล.)ได้กล่าวเช่นนั้น หรือ ได้กระทำเช่นนี้  โดยที่เขาไม่ได้ระบุชื่อของซอฮาบะห์ท่านนั้น ก็ให้ถือว่า หะดีษบทนั้น มีข้อตัดสินเช่นเดียวกับหะดีษมุรซั้ลซอฮาบีย์ แม้ว่าซอฮาบะห์ท่านนั้น เป็นบุคคลที่ไม่มีผู้ใดรู้จักตัวตนของเขาก็ตาม เพราะซอฮาบะห์ทั้งหมดนั้น มีสถานะเป็นผู้ที่มีคุณธรรม โดยการรับรองของอัลเลาะห์และร่อซู้ล การที่ไม่รู้จักตัวตนของซอฮาบะห์นั้น ถือว่าไม่ส่งผลใดๆต่อการเป็นหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ และให้ถือว่าหะดีษบทนั้น เป็นหะดีที่ซอเฮี๊ยะห์ หากว่าหะดีษบทนั้น มีเงื่อนไขของการเป็นหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์โดยครบสมบูรณ์

2.หะดีษมุรซั้ลของบุคคลที่ยังไม่รู้เดียงสา(มู่มัยยิส)ในขณะที่ท่านร่อซู้ล(ซล)เสียชีวิตนั้น คนเหล่านี้จะถูกมองว่าเป็นบุคคลที่ประเสริฐและมีเกียรติในฐานะของซอฮาบะห์ ส่วนมุรซั้ลของพวกเขา แม้จะถูกเรียกว่าเป็นมุรซั้ลซอฮาบีย์ แต่ก็จะไม่มีข้อกำหนดเดียวกันกับมุรซั้ลซอฮาบีย์ในแง่ของเป็นหะดีษซอเฮี๊ยะห์ แต่ให้ปฏิบัติหะดีษมุรซั้ลของพวกเขา เหมือนกับมุรซั้ลตาบีอีน เพราะหะดีษส่วนใหญ่ของซอฮาบะห์ที่ท่านร่อซู้ล(ซล.)ได้เสียชีวิตจากไป ในขณะที่พวกเขายังไม่รู้เดียงสานั้น พวกเขาได้รายงานหะดีษมาจากตาบีอีน ดังนั้น เมื่อพวกเขารายงานหะดีษเป็นมุรซั้ล ก็ให้ถือว่า ผู้ที่หลุดร่วงไปจากสายรายงานนั้น เป็นตาบีอีน และความเป็นไปได้เช่นนี้มีสูงมาก เมื่อเป็นเช่นนี้ หะดีษมุรซั้ลของพวกเขา จึงมีสถานะในการตัดสินเหมือนกับหะดีษมุรซั้ลตาบีอีน



9
วิชา มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 12


โดย รอฟีกี มูฮำหมัด



9.8.ประเภทต่างๆของหะดีษด่ออีฟ


1.หะดีษด่ออีฟที่เกิดขึ้นเนื่องจากความบกพร่องของสายรายงาน :

1.1.หะดีษมู่อัลลั๊ก ( المعلق ) หมายถึง หะดีษที่ผู้รายงานคนหนึ่ง หรือ มากกว่า ได้ตกไปจากต้นของสายรายงาน (นับตั้งแต่ผู้รายงานคนแรก ไล่ไปจนกระทั่งถึงซอฮาบะห์)

1.2.หะดีษมุรซั้ล ( المرسل ) หมายถึง หะดีษที่ตาบีอีนเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นตาบีอีนรุ่นเยาว์ หรือ ตาบีอีนรุ่นอาวุโส ได้รายงานจากท่านร่อซู้ล(ซล.)

1.3.หะดีษมุงก่อเตี๊ยะอ์ ( المنقطع ) หมายถึง หะดีษที่ผู้รายงานคนหนึ่ง หรือ มากกว่า ได้ตกไปจากตอนกลางของสายรายงาน และเป็นการร่วงที่ไม่ติดต่อกัน

1.4.หะดีษมัวะอ์ด้อล ( المعضل ) หมายถึง หะดีษที่ผู้รายงานสองคน หรือ มากกว่า ได้ตกไปจากตอนกลางของสายรายงาน และเป็นการร่วงที่ติดต่อกัน

1.5.หะดีษมู่ดั้ลลัส ( المدلس ) หมายถึง หะดีษที่ในสายรายงานมีผู้รายงานที่ปิดบังอำพราง ได้แก่ หะดีษที่มีการรายงานในลักษณะที่มีการปกปิดตัวผู้รายงาน

1.6.หะดีษมู่อันอัน ( المعنعن ) หมายถึง หะดีษที่ในสายรายงานมีผู้รายงานคนหนึ่ง หรือ มากกว่า ได้รายงานมาจากบุคคลที่อยู่ก่อนของเขา โดยใช้คำว่า "อัน" ( عن ) "จาก"

1.7.หะดีษมู่อันอัน หรือ หะดีษมู่อันนัน ( المؤنن / المأنأن ) หมายถึง หะดีษที่ในสายรายงานมีผู้รายงานคนหนึ่ง หรือ มากกว่า ได้รายงานมาจากบุคคลที่อยู่ก่อนของเขา โดยใช้คำว่า "อันน่า" ( أن ) "แท้จริง"


2.หะดีษด่ออีฟที่เกิดขึ้นเนื่องจากความบกพร่องของนักรายงานทางด้านความจำ :

2.1.หะดีษมู่อัลลัล ( معلل ) หมายถึง หะดีษที่ถูกพบว่ามีความบกพร่องในการเป็นหะดีษซอเฮี๊ยะห์ เนื่องจากมีการสับสนในการรายงาน ซึ่งเมื่อดูภายนอกแล้ว ไม่พบว่ามีข้อตำหนิ

2.2.หะดีษมุดรอจญ์ ( مدرج ) หมายถึง หะดีษที่มีการเปลี่ยนแปลงสายรายงานจากคนเดิมไปเป็นคนอื่น หรือ ถูกนำไปแทรกในมะตัน ด้วยสิ่งที่ไม่ใช่หะดีษ

2.3.หะดีษมักลูบ ( مقلوب ) หมายถึง หะดีษที่มีการสับเปลี่ยนคำบางคำในสายรายงาน หรือ ในตัวบท จากก่อนเป็นหลัง หรือ จากหลังเป็นก่อน หรือ เป็นการการสับเปลี่ยนตัวบทของสายรายงานหนึ่งไปเป็นอักสายรายงาน ที่มิใช่ตัวบทหะดีษนั้นๆ

2.4.หะดีษมุดฎ่อริบ ( مضطرب ) หมายถึง หะดีษที่มีการสับสนทางด้านของการรายงาน ได้แก่ หะดีษที่มีการรายงานอย่างหลากหลาย ซึ่งทุกสายรายงานนั้น มีสถานภาพเท่าเทียมกัน โดยไม่สามารถให้น้ำหนักไปทางหะดีษหนึ่งหะดีษใด และไม่สามารถที่จะรวมตัวบททั้งสองนั้นเข้าด้วยกันได้

2.5.หะดีษชาซ ( شاذ ) หมายถึง หะดีษที่มีการรายงานจากนักรายงานที่มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า(ระดับซิเกาะห์) ได้รายงานขัดแย้งกับผู้รายงานอีกคนที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า

2.6.หะดีษมู่เซาะฮัฟ ( مصحف ) หมายถึง หะดีษที่มีการเปลี่ยนแปลงคำ หรือ ตัวอักษร ที่เกิดขึ้นในตัวบท หรือ สายรายงาน ไปสู่คำ หรือ อักษรอื่นๆ ซึ่งมิใช่คำ หรือ อักษร ที่นักรายงานที่มีความน่าเชื่อถือได้รายงานไว้

2.7.หะดีษมุหัรร๊อฟ ( محرف ) หมายถึง หะดีษที่มีการเปลี่ยนแปลงสระของคำที่เกิดขึ้นในตัวบท หรือ ในสายรายงาน แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตัวอักษร


3.หะดีษด่ออีฟที่เกิดขึ้นเนื่องจากความบกพร่องของนักรายงานทางด้านคุณธรรรม :

3.1.หะดีษเมาดัวะอ์ ( موضوع  ) หมายถึง หะดีษที่ถูกแต่งขึ้น หรือ ถูกสร้างขึ้น และมีการพาดพิงการโกหกไปสู่ท่านร่อซู้ล(ซล.)

3.2.หะดีษมัตรูก ( متروك ) หมายถึง หะดีษที่ถูกรายงานโดยนักรายงานที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนโกหก 

3.3.หะดีษมุงกัร ( منكر ) หมายถึง หะดีษที่ถูกรายงานโดยนักรายงานที่มีความผิดพลาดอย่างน่าเกลียด หรือ หลงลืมอย่างมาก หรือ มีความประพฤติชั่วที่เปิดเผย และในอีกคำนิยามหนึ่ง ก็คือ หะดีษที่รายงานจากนักรายงานที่มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่า(ระดับด่ออีฟ) ได้รายงานขัดแย้งกับผู้รายที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่า(ระดับซิเกาะห์)

และต่อไป ข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงหะดีษแต่ละประเภทอย่างละเอียด อินชาอั้ลเลาะห์ และขอพึ่งพาต่อพระองค์เพียงพระองค์เดียว


9.9.ประเภทของหะดีษด่ออีฟที่เกิดขึ้นเนื่องจากความบกพร่องของสายรายงาน

1.หะดีษมู่อัลลั๊ก ( المعلق ) : คำว่า "มู่อัลลั๊ก" ( المعلق ) นั้น ในแง่ของภาษา หมายถึง "สิ่งที่ถูกเกี่ยว" หรือ "สิ่งที่ถูกแขวน" และในแง่ของวิชาการ ก็คือ "หะดีษที่ผู้รายงานคนหนึ่ง หรือ มากกว่า ได้ตกไปจากตอนต้นของสายรายงาน ซึ่งเป็นการตกไปโดยชัดเจน โดยไม่ได้ถูกปกปิด หรือ ซุ่มซ่อนไว้"

หมายเหตุ : คำว่า "ตอนต้นของสายรายงาน" นั้น หมายถึง "ครูของมู่ซอนนิฟ(ผู้ประพันธ์หนังสือ)" และคำว่า "ท้ายของสายรายงาน" ก็คือ "ซอฮาบะห์"

รูปแบบและตัวอย่างของหะดีษมูอัลลั๊ก : หะดีษมู่อัลลั๊กนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ ก็คือ

1.หะดีษที่ผู้ประพันธ์หนังสือ หรือ ผู้รายงานหะดีษท่านแรก ได้รายงานหะดีษโดยตัดสายรายงานทั้งหมดออกไป และก็กล่าวว่า ท่านร่อซู้ล(ซล.)ทรงกล่าวว่า... เช่น หะดีษที่ท่านอีหม่ามบุคอรีย์(รฮ.)ได้รายงานถึงคำกล่าวของท่านนบี(ซล.)เกี่ยวกับการเริ่มต้นประจำเดือนของสตรีว่า

(( قال البخاري : قال النبيّ صلى الله عليه وسلم : (( هَذَا شَيْءٌ كَتَبَهُ اللَّهُ عَلَى بَنَاتِ آدمَ

ท่านอีหม่ามบุคอรีย์ได้รายงานว่า ท่านนบี(ซล.)ทรงกล่าวว่า "นี่คือ สิ่งที่อัลเลาะห์ทรงกำหนดแก่บรรดาลูกผู้หญิงของท่านนบีอาดัม" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามบุคอรีย์ บทที่ว่าด้วย การเริ่มต้นของเฮด และคำพูดของท่านนบี(ซล.)ที่ว่า นี่คือ สิ่งที่อัลเลาะห์ทรงกำหนดแก่บรรดาลูกผู้หญิงของท่านนบีอาดัม และคำพูดนี้ถูกบึนทึกเช่นกันในหะดีษที่ 294 และ 305) 

ข้อสังเกตุ : หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษมู่อัลลั๊ก เนื่องจากผู้บันทึกหะดีษ(คือ ท่านอีหม่ามบุคอรีย์)ได้กล่าวเพียงท่านร่อซู้ล(ซล.)เท่านั้น โดยมิได้กล่าวถึงสายรายงานของหะดีษแต่อย่างใด

2.หะดีษที่ผู้รายงานหะดีษท่านแรก ได้ตัดสายรายงานทั้งหมดออกไป เว้นแต่ ซอฮาบะห์เท่านั้น เช่น

(( قال البخاري : وقال أبو موسى الأشعري :  (( غَطَّى رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ رُكْبَتَيْهِ حِينَ دَخَلَ عُثْمَانُ

ท่านอีหม่ามบุคอรีย์ได้รายงานว่า ท่านอบูมูซา อัลอัชอารีย์ ได้กล่าวว่า : "ท่านร่อซู้ล(ซล.)ได้ปิดหัวเข่าของท่าน ในขณะที่ท่านอุสมานได้เข้ามา" (บันทึกโดย ท่านอีหม่ามบุคอรีย์ ใน كتاب الصلاة บทที่ว่าด้วย สิ่งที่ถูกกล่าวถึงขาอ่อน)

ข้อสังเกตุ : หะดีษบททนี้ เป็นหะดีษมู่อัลลั๊ก เนื่องจากผู้บันทึกหะดีษ(คือ ท่านอีหม่ามบุคอรีย์)ได้ตัดสายรายงานทั้งหมดออกไป และได้กล่าวถึงซอฮาบะห์ คือ ท่านอบูมูซา เพียงคนเดียวเท่านั้น ที่รายงานถึงท่านร่อซู้ล(ซล.) โดยไม่ได้กล่าวถึงตาบีอีน และบุคคลที่อยู่ก่อนเขา

3.หะดีษที่ผู้รายงานหะดีษท่านแรก ได้ตัดสายรายงานทั้งหมดออกไป เว้นแต่ ตาบีอีนและซอฮาบะห์ เท่านั้น เช่น

(( قال البخاري : وقال بهزعن أبيه عن جده عن النبيّ صلى الله عليه وسلم : (( اللَّهُ أَحَقُّ أَنْ يُسْتَحَى مِنْهُ مِنَ النَّاسِ

ท่านอีหม่ามบุคอรีย์ได้รายงานว่า ท่านบะหซ์ ได้กล่าวจากพ่อของเขา(เป็นตาบีอีนที่มีความซิเกาะห์) ซึ่งนำมาจากปู่ของเขา จากท่านนบี(ซล.) ว่า "อัลเลาะห์เท่านั้นที่มนุษย์ควรละอายมากที่สุด ยิ่งกว่ามนุษย์ด้วยกัน" (บันทึกโดยท่านอีหม่ามบุคอรีย์ ใน كتاب الغسل  บทที่ว่าด้วย การอาบน้ำเพียงคนเดียวโดยเปลือยกายในที่โล่งแจ้ง)

ข้อสังเกตุ : หะดีษบทนี้ เป็นหะดีษมู่อัลลั๊ก เนื่องจากผู้บันทึกหะดีษ(คือ ท่านอีหม่ามบุคอรีย์)ได้กล่าวถึงตาบีอีน คือ ท่านบะหซ์ บิน ฮากีม และซอฮาบะห์ คือ ท่านมู่อาวิยะห์ บิน ฮัยดะห์ อัลกู่ชัยรีย์ เท่านั้น โดยไม่กล่าวถึงสายรายงานหะดีษระหว่างเขา(ตัวผู้บันทึก) กับ ตาบีอีน(คือ ท่านบะหซ์) หรือ บุคคลที่อยู่ก่อนเขา

วิจารณ์สายรายงาน : โดยแต่ละคนมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1.ท่านบะหซ์ บิน ฮากีม
เป็นตาบีอีน เนื่องจากทันปู่ของท่านซึ่งเป็นซอฮาบะห์ของท่านร่อซู้ล(ซล.) และเป็นผู้ที่มีความซิเกาะห์

2.ท่านฮากีม บิน มู่อาวิยะห์ เป็นตาบีอีน เพราะไม่ทันท่านร่อซู้ล(ซล.) แต่ก็เป็นผู้ที่มีความซิเกาะห์

3.ท่านมู่อาวิยะห์ บิน ฮัยดะห์ บิน กู่ชัยร์ บิน กะอับ อัลกู่ชัยรีย์ เป็นซอฮาบะห์ที่มะอ์รูฟอีกท่านหนึ่งของท่านร่อซู้ล(ซล.)

และแม้ว่าหะดีษนี้ จะเป็นหะดีษมู่อัลลั๊ก แต่ก็สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ เพราะผู้รายงานทุกคนนั้นมีความน่าเชื่อถือ ( ثقة ) "ซิเกาะห์" และนักวิชาการหะดีษได้ทำการศึกษาวิเคราะห์แล้ว พบว่า หะดีษมู่อัลลั้กในหนังสือทั้งสองนั้น มีการรายงานด้วยสายรายงานที่ติดต่อกัน โดยสืบทราบจากสายรายงานอื่นๆ ซึ่งมีตั้งแต่ 2 สนัดขึ้นไป และสนัดอื่นๆนั้นอยู่ในระดับที่ซอเฮี๊ยะห์ หรือ อย่างต่ำที่สุด ก็อยู่ในระดับหะซัน ดังนั้น หะดีษมู่อัลลั๊กในซอเฮี๊ยะห์ทั้งสอง จึงเป็นที่อนุญาตให้นำมาปฎิบัติได้

การนำมาเป็นหลักฐาน

หะดีษมุอัลลั้กนั้น แม้ว่าจะอยู่ในประเภทของหะดีษมัรดู๊ร แต่สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้ หากหะดีษนั้น เป็นหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ หรือ หะซัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหะดีษมู่อัลลั๊กที่อยู่ในซอเฮี๊ยะห์บุคอรีย์และซอเฮี๊ยะห์มุสลิม ส่วนหะดีษมุอัลลั้กที่เป็นหะดีษด่ออีฟจะมีฮู่ก่มเหมือนกับหะดีษด่ออีฟทั่วๆไป ซึ่งสามารถนำมาเป็นหลักฐานได้และไม่ได้ ดังนั้น ถ้าถือตามทัศนะของญุมฮูรอุลามาอ์ ก็อนุญาตให้รายงานและปฎิบัตตามหะดีษด่ออีฟที่ไม่ถึงขั้นเมาดัวะอ์ได้ ในเรื่องที่เป็นการเตือนให้กลัวบาป กระตุ้นให้ทำความดี และในเรื่องของความประเสริฐต่างๆทางด้านอามั้ล แต่ถ้าถือตามทัศนะของอุลามาอ์อีกกลุ่ม ที่ไม่อนุญาตให้นำหะดีษด่ออีฟมาเป็นหลักฐาน ก็ไม่อนุญาตให้นำหะดีษมู่อัลลั๊กที่จัดอยู่ในประเภทด่ออีฟมาปฎิบัติเช่นเดียวกัน

ข้อสังเกตุของหะดีษมู่อัลลั๊กที่จะอนุญาตให้นำมาเป็นหลักฐาน และไม่อนุญาตให้นำมาเป็นหลักฐาน

1.หะดีษมู่อัลลั้กในหนังสือซอเฮี๊ยะห์บุคอรีย์และมุสลิมนั้น บรรดาอุละมาอ์ได้ยอมรับว่า ทั้งหมดเป็นหะดีษที่ซอเฮียะห์ เนื่องจากนักวิชาการหะดีษได้ทำการศึกษาวิเคราะห์แล้ว พบว่า หะดีษมู่อัลลั้กในหนังสือทั้งสองนั้น มีการรายงานด้วยสายรายงานที่ติดต่อกัน โดยสืบทราบจากสายรายงานอื่นๆ ซึ่งมีตั้งแต่ 2 สนัดขึ้นไป และสนัดอื่นๆนั้นอยู่ในระดับที่ซอเฮี๊ยะห์ หรือ อย่างต่ำที่สุด ก็อยู่ในระดับหะซัน ดังนั้น หะดีษมู่อัลลั๊กในซอเฮี๊ยะห์ทั้งสอง จึงเป็นที่อนุญาตให้นำมาปฎิบัติได้

2.หะดีษมู่อัลลั้กในหนังสืออื่นๆ เช่น สุนันซิตตะห์ มุสนัดต่างๆ อัลมู่ซอนนัฟ และหนังสือประพันธ์อื่นๆ จะต้องพิจารณาจากสำนวนของการรายงานเป็นหลัก ซึ่งพอสรุปได้ดังต่อไปนี้

2.1.หากหะดีษมู่อัลลั้กนั้น ใช้สำนวนที่เด็ดขาด ( صيغة الجزم ) "ซีฆ่อตุ้ลญัซม์" เช่น กล่าวว่า "กอล่า" ( قَالَ ) เขาได้กล่าวว่า / "ซ่าก้าร่อ" ( ذَكَرَ ) เขาได้กล่าวว่า / "ฮ่ากา" ( حَكَي ) เขาได้เล่าว่า / เป็นต้น หะดีษมู่อัลลั้กที่ใช้สำนวนอย่างนี้ จะถือว่า เป็นหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ และสามารถนำมาเป็นหลักฐานได้

2.2.หากหะดีษมุอัลลั้กนั้น ใช้สำนวนที่คลุมเครือ ( صيغة التمريض ) "ซีฆ่อตุ๊ดตัมรีด" เช่น กล่าวว่า "กีล่า" ( قِيْلَ ) ถูกกล่าวว่า / "ซู่กี้ร่อ" ( ذُكَِر ) ถูกกล่าวว่า"ฮู่กี้ย่า" ( حُكِيَ ) ถูกเล่าว่า / เป็นต้น หะดีษมู่อัลลั้กที่ใช้สำนวนอย่างนี้ จะไม่ถูกตัดสินให้เด็ดขาดได้ นอกจากจะต้องพิจารณาและตรวจสอบหะดีษนั้นเสียก่อน เพราะหะดีษมู่อัลลั๊กนั้น มีทั้งหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์ หะดีษที่หะซัน และหะดีษที่ด่ออีฟ ซึ่งบางหะดีษก็ถึงขั้นเมาดั๊วะอ์ ดังนั้น ฮูก่มการตัดสินหะดีษเหล่านี้ จึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาตัวบทและสถานภาพของการรายงานเป็นสำคัญ ดังนั้น หากหะดีษบทนั้น อยู่ในสถานะที่ซอเฮี๊ยะห์ ก็จะถูกตัดสินว่าซอเฮี๊ยะห์ และหากอยู่ในสถานะอื่นๆ ก็จะถูกตัดสินไปตามสถานะอื่นๆที่มีความเหมาะสมกับมัน


______________________________________________________________________________________________


10
จริงๆ เรื่องนี้ ท่าน อ.อารีฟีน และพี่น้องสมาชิก ได้ท่านทำเป็นเอกสารชี้แจงไว้หมดแล้ว ยังไงลองหาอ่านดูได้ตามลิงก์ข้างล่างนี้น่ะครับ

http://www.sunnahstudents.com/main/content/156

http://www.sunnahstudents.com/main/content/158

http://www.sunnahstudents.com/main/content/159


11
ตอบ คุณ خيرالاخوان คือ ตอนนี้ ยังทำไม่เรียบร้อยน่ะครับ ผมไม่ค่อยมีเวลาแปล เพราะต้องเรียนและสอนด้วย เลยทำออกมาเป็นตอนๆให้ได้อ่านหาความรู้กันก่อน และเนื้อหาก็ยังมีอีกมากที่ผมยังไม่ได้แปล และยังไม่ค้นคว้าเพิ่ม ถ้าจะรอให้เสร็จทั้งหมด ก็คงจะอีกนาน ผมเลยทำการนำเสนอแบบเป็นตอนๆไปก่อน ยังไง ไว้เสร็จทั้งหมดเมื่อไหร่ อินชาอัลเลาะห์ ผมจะรวมไว้ให้น่ะครับ

12
ว่าอ้าลัยกุมสลาม ครับผม ด้วยความยินดีครับ  natural:

13
วิชา มุสตอละฮุ้ลหะดีษ (หลักพิจารณาอัลหะดีษ) ตอนที่ 11


โดย รอฟีกี มูฮำหมัด


9.ประเภทของ "หะดีษมัรดู๊ด" หรือ "หะดีษที่ถูกปฎิเสธ"

เราได้กล่าวผ่านมาก่อนแล้วจากเรื่องของหะดีษ เมื่อพิจารณาถึงการนำมาอ้างอิงเป็นหลักฐานทางด้านของการรับและไม่รับ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1.หะดีษมักบู้ล ( الحديث المقبول ) หรือ "หะดีษที่ได้รับการรับรอง" (ซึ่งเราได้กล่าวผ่านมาก่อนแล้ว) และ 2.หะดีษมัรดู๊ด ( الحديث المردود ) หรือ "หะดีษที่ถูกปฎิเสธ" ก็คือ หะดีษที่ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้โดยเด็ดขาด เว้นแต่ต้องมีเงื่อนไข ได้แก่ หะดีษที่ขาดไปหนึ่งเงื่อนไข หรือ มากกว่า จากบรรดาเงื่อนไขของการยอมรับหะดีษ ซึ่งหะดีษมัรดู๊ดนั้น เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า "หะดีษด่ออีฟ" ( الحديث الضعيف ) หมายถึง "หะดีษที่อ่อนแอ" ซึ่งหะดีษด่ออีฟนั้น มีอยู่หลายประเภท และหลายระดับ บางประเภทก็สามารถนำมาเป็นหลักฐานได้ บางประเภทก็ไม่อาจนำมาเป็นหลักฐานได้ ซึ่งแต่ละประเภท ก็จะมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป ตามแต่ละองค์ประกอบที่เกิดขึ้นในประเภทนั้นๆ ซึ่งข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงรายละเอียดของแต่ละประเภทต่อไป...อินชาอัลเลาะห์

9.1.คำนิยามของหะดีษด่ออีฟ

คำว่า ด่ออีฟ ( الضعيف ) "อ่อนแอ" ในแง่ของภาษานั้น ตรงข้ามกับคำว่า กู๊วะห์ ( القوَة ) "แข็งแรง" หรือ เซี๊ยะห์ฮะห์ ( الصِحَّة ) "มีสุขภาพดี"

และในแง่ของวิชาการนั้น คำว่า "ด่ออีฟ" นั้น หมายถึง "หะดีษที่ขาดไปหนึ่งเงื่อนไข หรือ มากกว่า จากเงื่อนไขของหะดีษที่ถูกรับรอง" หรือ อีกคำนิยามหนึ่ง ก็คือ "หะดีษที่ไม่ถูกรวมไว้ซึ่งลักษณะของหะดีษหะซัน โดยตกไปหนึ่งเงื่อนไข หรือ มากกว่า จากบรรดาเงื่อนไขของมัน" (เงื่อนไขของหะดีษที่ถูกรับรอง ก็คือ เงื่อนไขของหะดีษมักบู้ลทั้ง 6 ข้อ ที่ได้กล่าวผ่านมาก่อนแล้ว)

9.2.ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับหะดีษด่ออีฟ

1.เมื่อบรรดาอุลามาอ์ ได้กล่าวว่า "นี่คือ หะดีษด่ออีฟ" ( هذا حديث ضعيف ) เป้าหมายของมัน ก็คือ "หะดีษที่ขาดไปหนึ่งเงื่อนไข หรือ มากกว่า จากเงื่อนไขของหะดีษที่ถูกรับรอง" ไม่ใช่หมายถึง "หะดีษที่ท่านนบี(ซล.)ไม่เคยพูดมัน" ดังนั้น เมื่อมีการพูดถึงหะดีษด่ออีฟ ก็มิใช่หะดีษที่ถูกตัดสินว่า นำมาเป็นหลักฐานไม่ได้ แต่เป็นหะดีษที่ไม่มีผู้ใดสามารถตัดสินมันให้เด็ดขาดได้ เพราะเป็นไปได้ว่า คนที่มีผิดพลาดมากๆ อาจจะ(พูด)ถูกต้องก็ได้ แม้ว่าความถูกต้องของเขาจะมีเพียงน้อยนิดก็ตาม

2.หะดีษด่ออีฟทั้งหมดนั้น ไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกัน และไม่ได้มีเพียงประเภทเดียว แต่มีอยู่มากมายหลายประเภท ซึ่งท่านอิบนุฮิบบาน ได้นับประเภทของหะดีษด่ออีฟและกล่าวว่า มีถึง 49 ประเภท และนักหะดีษคนอื่นๆได้นับว่ามีมากกว่านั้น แต่มิใช่อยู่ในระดับเดียวกัน ดังนั้น หะดีษด่ออีฟที่ถูกรายงานจากผู้รายงานที่มีความจำไม่ดี ไม่ใช่หะดีษที่อยู่ในระดับเดียวกับหะดีษด่ออีฟที่เกิดขึ้นจากสาเหตุของผู้รายงานที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนโกหก เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่ถูกต้องที่จะถือว่าหะดีษด่ออีฟทั้งหมดอยู่ในระดับเดียวกัน หรือ เป็นชนิดเดียวกัน แต่ความจริงแล้วหะดีษด่ออีฟนั้น มีอยู่หลายระดับ ดังจะได้กล่าวต่อไป ซึ่งเราจะพบว่านักวิชาการบางท่านได้นำหะดีษด่ออีฟบางประเภทมาใช้เป็นหลักฐาน เช่น หะดีษมุรซั้ล และบางท่านก็นำหะดีษด่ออีฟมาใช้เป็นหลักฐานก่อนการกิยาส(การอนุมาน) เช่น ท่านอีหม่ามอะห์หมัด และบางท่านก็ได้นำหะดีษด่ออีฟมาปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวกับความประเสริฐของอมั้ลต่างๆ แต่พวกเขาก็มีมติเป็นเอกฉันท์เช่นกันว่า ให้ปฏิเสธหะดีษด่ออีฟอีกหลายประเภท เช่น หะดีษเมาดัวะอ์ เป็นต้น

9.3.การรายงานและการถ่ายทอดหะดีษด่ออีฟ

ผู้ที่รายงานหะดีษด่ออีฟ หรือ ผู้ที่ถ่ายทอดหะดีษด่ออีฟนั้น บางท่านก็รายงานมัน หรือ ถ่ายทอดมันด้วยสายรายงานของตนเอง และบางท่านก็รายงานมัน หรือ ถ่ายทอดมันด้วยสายรายงานของผู้อื่น ดังนั้น สำหรับผู้รายงานหะดีษด่ออีฟ ที่ได้รายงาน หรือ ถ่ายทอด ด้วยสายรายงานของเขาเองนั้น ไม่ถือว่าจำเป็นสำหรับเขา ที่จะต้องอธิบายถึงความด่ออีฟในหะดีษบทนั้น(ว่าด่ออีฟเพราะอะไร) เพราะผู้ที่รายงานหะดีษด้วยสายรายงานของตนเองนั้น เท่ากับเป็นการโอนให้ผู้อ่านได้ค้นคว้าจาก(ความน่าเชื่อถือ)ของตัวของผู้รายงานและความถูกต้องของตัวบทหะดีษ ซึ่งดำเนินไปบน "กออีดะห์" (กฎ) ที่ว่า

مَنْ أَسْنَدَ فَقَدْ أَحَالَكَ وَمَنْ أَرْسَلَ فَقَدْ تَكفَّلَ لَكَ

ความว่า "ผู้ใดอ้างสายรายงาน(หมายถึง ได้กล่าวถึงสายรายงานของหะดีษไว้) ก็เท่ากับเขาได้โอนหน้าที่(ในการตรวจสอบสายรายงานนั้น)ให้กับท่าน และผู้ใดปล่อยสายรายงานไว้(โดยไม่ได้กล่าวถึงสายรายงานและนักรายงานที่เขารับหะดีษมา) ก็เท่ากับเขา(ผู้รายงานหะดีษนั้น)เป็นหลักประกันให้กับท่าน"

และแม้ว่าที่ดีแล้ว ให้เขา(ผู้รายงานหะดีษนั้น)ระบุถึงความอ่อนแอของหะดีษด้วยก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อปรากฎว่าหะดีษนั้น เป็นหะดีษ "เมาดัวะอ์" ก็ยิ่งจำเป็นที่จะต้องระบุให้ชัดเจนว่า "เป็นหะดีษเมาดัวะอ์" มิเช่นนั้นแล้ว ผู้รายงานก็จะมีบาปร่วมกับผู้ที่ปลอมแปลงหะดีษของท่านนบี(ซล.)

ส่วนในกรณีที่ผู้รายงานหะดีษ ไม่ได้กล่าวสายรายงานไว้ ก็ถือว่าจำเป็นสำหรับเขา(ผู้ที่จะนำหะดีษออกไปรายงาน) การที่เขาจะต้องบอก หรือ อธิบายด้วยว่า "เป็นหะดีษด่ออีฟ" หรือ ให้เขารายด้วยรูปแบบที่แสดงให้เห็นว่า หะดีษนี้มีความอ่อนแออยู่ ( صيغة التمريض ) เช่น ใช้สำนวนว่า "กีล่า" ( قِيْلَ ) ถูกกล่าวว่า / "ยุรวา" ( يُرْوَى ) ถูกรายงานมาว่า / "ยัวะห์กา" ( يُحْكَى ) ถูกเล่าว่า / "บ่าล่าฆ่อนา" ( بَلَغَنَا ) ได้มาถึงพวกเราว่า / เป็นต้น ซึ่งรูปแบบของคำเหล่านี้ บ่งชี้ให้เห็นว่า หะดีษนั้น เป็นหะดีษที่ด่ออีฟ เพราะไม่มีการระบุชัดถึงตัวผู้รายงาน และไม่ยินยอมให้เขารายงานโดยใช้สำนวนที่เด็ดขาด ( صيغة الجزم ) เช่น ใช้สำนวนว่า "กอล่า" ( قَالَ ) เขาได้กล่าวว่า / "ฟ่าอ้าล่า" ( فَعَلَ ) เขาได้กระทำ / เป็นต้น เพราะรูปแบบของคำเหล่านี้ เป็นรูปแบบของคำกริยาที่รู้ตัวผู้กระทำ ( مبني للمعلوم ) "รู้ตัวประธาน" ซึ่งไม่อนุญาตในการนำมาใช้รายงานเกี่ยวกับหะดีษด่ออีฟ

ส่วนในกรณีของการรายงานหะดีษซอเฮี๊ยะห์ โดยไม่มีสายรายงานนั้น ถือว่าจำเป็นแก่เขาที่จะต้องระบุสายรายงาน ด้วยรูปแบบที่เด็ดขาด เช่น "กอล่า" ( قَالَ ) เขาได้กล่าวว่า / "ร่อวา" ( رَوَى ) เขาได้รายงานว่า / และรูปแบบอื่นๆ ซึ่งเป็นรูปแบบที่แสดงให้เห็นว่า หะดีษนั้น เป็นหะดีษที่ซอเฮียะห์ และไม่ยินยอมให้เขารายงานด้วยรูปแบบที่แสดงให้เห็นว่า เป็นหะดีษที่ด่ออีฟ

9.4.อะไรคือความหมายของนักวิชาการ จากคำพูดที่ว่า "หะดีษนี้ไม่มีที่มา" ( لاَ أَصْلَ لَهُ ) หรือ "ไม่มีต้นตอสำหรับหะดีษนี้" ( لَيْسَ لَهُ أَصْلٌ ) ?

ท่านอีหม่ามซู่ยูตีย์ได้กล่าวว่า : ท่านอิบนุตัยมียะห์ ได้กล่าวว่า : "คำพูดดังกล่าว หมายถึง เป็นหะดีษที่ไม่มีสายรายงาน"
 
9.5.สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากมีการบันทึกตำราหะดีษแล้ว ?

ภายหลังจากที่ได้มีการบันทึกตำราหะดีษเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้คนต่างก็เปลี่ยนไปยึดถือในตำราเหล่านั้นแทน ในด้านของการรับเอาหะดีษมาปฎิบัติ ดังนั้น ผู้ใดที่นำหะดีษหนึ่งมา ซึ่งไม่พบว่ามีอยู่ในตำราหะดีษเหล่านั้น ก็จะไม่ได้รับการรับรอง

9.6.อนุญาตให้นำหะดีษด่ออีฟมาปฎิบัติหรือไม่ ?
 
ก่อนที่เราจะได้กล่าวถึงทัศนะของบรรดาอุลามาอ์ในด้านของการอนุญาตให้ปฎิบัติด้วยกับหะดีษด่ออีฟหรือไม่ เราก็ควรจะได้รับทราบข้อเท็จจริงอีกบางประการที่บรรดานักวิชาการได้มีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ไว้เกี่ยวกับหะดีษด่ออีฟ คือ

1.บรรดานักวิชาการได้ลงมติกันว่า ไม่อนุญาตให้นำหะดีษด่ออีฟไปเป็นหลักฐานอ้างอิงในเรื่องที่เกี่ยวกับ "หลักการยึดมั่น" ( عقيدة ) ดังนั้น ท่านจะเห็นได้ว่า บรรดานักวิชาการ จะไม่นำหะดีษด่ออีฟมาใช้ในเรื่องที่เกี่ยวกับนามชื่อของอัลเลาะห์ บรรดาซิฟัตต่างๆของพระองค์ บรรดาสิ่งที่วายิบ สิ่งที่ญาอิสสำหรับพระองค์ และบรรดาสิ่งที่เป็นมุสตะฮี้ล และอื่นๆนอกเหนือจากสิ่งดังกล่าวในประเด็นปัญหาที่ว่าด้วยการยึดมั่นศรัทธา

2.บรรดานักวิชาการได้ลงมติกันว่า ไม่อนุญาตให้รายงานหะดีษเมาดัวะอ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ตักเตือนให้กลัวบาป เรื่องการส่งเสริมให้ทำความดี เรื่องคของความประเสริฐในด้านต่างๆ และเรื่องอื่นๆ นอกจากเป็นการเตือนให้ผู้คนได้รู้ว่า หะดีษเหล่านี้ เป็นหะดีษเมาดัวะอ์ เพื่อให้ผู้คนได้ระมัดระวังจากมัน(ให้ระวังจากการนำมาใช้)

เมื่อเราได้รับทราบกันไปแล้วว่า หะดีษด่ออีฟนั้น มิใช่หมายถึงหะดีษที่ท่านร่อซู้ล(ซล.)ไม่เคยพูดไว้ แต่หมายถึงหะดีษที่ไม่มีผู้ใดสามารถตัดสินให้เด็ดขาดได้ถึงความถูกต้องของมัน เพราะบางทีการด่ออีฟนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นที่ตัวบท แต่เกิดขึ้นที่คุณสมบัติของนักรายงานที่มีความอ่อนแอ และบางทีตัวบทนั้น อาจมีความถูกต้องก็ได้ นักวิชาการจึงได้มีความเห็นในเรื่องของการนำมาปฎิบัติด้วยกับหะดีษด่ออีฟไว้ในหลายๆทัศนะที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งพอที่จะสรุปได้ดังนี้

9.7.ทัศนะของนักวิชาการในการปฎิบัติด้วยกับหะดีษด่ออีฟ

นักวิชาการมีทัศนะที่แตกต่างกันเกี่ยวกับหะดีษด่ออีฟ ที่ไม่ถึงขั้นเป็นเมาดัวะอ์ว่า จะอนุญาตให้นำรายงาน และนำไปปฏิบัติได้หรือไม่ และต่อไปนี้คือทรรศนะของนักวิชาการในเรื่องดังกล่าว :

1.แนวทางของนักวิชาการส่วนใหญ่ ( جمهور العلماء ) มีทรรศนะว่า : อนุญาตให้รายงานและปฎิบัตตามหะดีษด่ออีฟที่ไม่ถึงขั้นเมาดัวะอ์ได้ ในเรื่องที่เป็นการเตือนให้กลัวบาป กระตุ้นให้ทำความดี และในเรื่องของความประเสริฐต่างๆทางด้านอามั้ล และประวัติต่างๆ

ท่านอีหม่ามนะวะวีย์(รฮ.)ได้กล่าวว่า : นักวิชาการหะดีษและนักวิชาการด้านอื่นๆนั้น ยินยอมให้ปฎิบัติได้ โดยไม่ต้องพิถีพิถันในเรื่องของสายรายงานและการรายงานหะดีษที่ไม่ใช่เป็นเมาดัวะอ์ อันได้แก่ หะดีษด่ออีฟ และอนุญาตการปฏิบัติตามหะดีษด่ออีฟ โดยไม่ต้องอธิบายถึงสาเหตุการเป็นด่ออีฟของหะดีษนั้น ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับซิฟัต(คุณลักษณะ)ของอัลเลาะห์ และข้อตัดสินต่างๆ เช่น ฮ่าลาล-ฮ่ารอม จากหะดีษที่ไม่เกี่ยวข้องกับหลักการศรัทธาและข้อตัดสินต่างๆ

เงื่อนไขในการปฏิบัติตามหะดีษด่ออีฟ ในเรื่องความประเสริฐต่างๆของการทำความดี

ถึงกระนั้น ก็มิได้หมายความว่าหะดีษด่ออีฟทั้งหมดนั้น เหมาะสมที่จะนำมาปฏิบัติในเรื่องความประเสริฐต่างๆของการทำความดี และในเรื่องการส่งเสริมให้กลัวบาป หรือ ส่งเสริมให้ทำความดี ท่านชัยคุ้ลอิสลาม อัลฮาฟิซ อิบนุฮะญัร ได้กล่าวเงื่อนไขไว้สามประการ คือ

1.เป็นหะดีษที่ไม่ด่ออีฟอย่างรุนแรง ดังนั้น คนที่โกหก หรือ คนที่ถูกกล่าวหาว่าโกหก และคนที่มีความผิดพลาดอย่างน่าเกียจ ที่รายงานหะดีษลำพังเพียงคนเดียว จึงไม่เข้าอยู่ในเงื่อนไขนี้ ท่านอะลาอีย์ได้รายงานว่า "นักวิชาการทั้งหลายมีความเห็นตรงกันด้วยกับเงื่อนไขในข้อนี้"

2.หะดีษนั้นต้องเข้าอยู่ภายใต้หลักการเดิมที่มีการปฏิบัติกันอยู่แล้ว

3.ในขณะที่มีการนำหะดีษด่ออีฟมาปฏิบัตินั้น ผู้ปฎิบัติจะต้องไม่ยึดมั่นว่า หะดีษนั้นเป็นหะดีษที่ได้รับการยืนยันจริงๆ แต่ให้ยึดมั่นว่าเป็นการทำเผื่อไว้ ( احتياط )

2.แนวทางของท่านอีหม่ามอะห์มัด บิน ฮันบัล ท่านอีหม่ามอบูดาวูด ท่านอิบนุมินดะห์ และท่านอื่นๆ มีทรรศนะว่า : ให้ปฏิบัติตามหะดีษด่ออีฟได้ ในเรื่องที่เกี่ยวกับข้อตัดสิน(ฮู่ก่ม) และให้นำเอาหะดีษด่ออีฟมาใช้ก่อนการกิยาส(การเทียบ)

เงื่อนไขในการปฏิบัติตามหะดีษด่ออีฟ และให้นำเอาหะดีษมาใช้ก่อนหลักกิยาส(หลักการอนุมาน)

เมื่อมีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งได้ปฏิบัติตามหะดีษด่ออีฟ และวิเคราะห์ข้อตัดสิน(ฮู่ก่ม)ออกมาจากหะดีษด่ออีฟ และนำหะดีษด่ออีฟมาใช้ก่อนการกิยาส(การอนุมาน) แท้จริงแล้ว สิ่งดังกล่าว มิใช่เป็นการนำมาใช้โดยไม่มีเงื่อนไข แต่ทว่า เป็นการนำมาใช้โดยมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ 

1.หะดีษนั้น ต้องไม่ด่ออีฟอย่างรุนแรง(ต้องไม่อ่อนแอเกินไป) ดังนั้น อนุญาตให้นำหะดีษด่ออีฟที่ในสายรายงานนั้น มีผู้รายงานที่มีความจำไม่ดี ( سوء الحفظ ) หรือ เป็นผู้ที่ไม่มีผู้ใดรู้จักตัวตนของเขา ( مجهول العين ) หรือ ไม่มีใครรู้จักสถานะของเขา ( مجهول الحال ) มาใช้เป็นหลักฐานได้ แต่สำหรับหะดีษด่ออีฟที่ในสายรายงานมีผู้รายงานที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนโกหกนั้น จะนำมาใช้เป็นหลักฐานไม่ได้โดยเด็ดขาด

2.ในเรื่องนั้นจะต้องไม่มีหลักฐานอันอื่นอีกจากอัลกุรอานและซุนนะห์ของท่านร่อซู้ล(ซล.)

3.ในเรื่องนั้นจะต้องไม่มีสิ่งใดที่มาขัดแย้งกับหะดีษด่ออีฟนั้น

ท่านอีหม่ามมาลิก(รฮ.)ได้นำหะดีษมุรซั้ล(ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากหะดีษด่ออีฟ) และหะดีษที่ถูกรายงานแบบบาลาฆอต(หะดีษที่ถูกรายงานว่า ( بَلَغَنَا ) ( ได้มาถึงพวกเราว่า...) มาเป็นหลักฐาน และเป็นแนวทางที่ท่านได้ทำใว้ในหนังสืออัลมู่วัตเตาะอ์ ซึ่งสามารถยืนยันได้

ท่านอิบนุอับดิ้ลบัรร์ ได้กล่าวว่า : "พื้นฐานของมัซฮับมาลีกีย์ และสิ่งที่บรรดานักวิชาการฝ่ายมาลีกีย์ยึดถือ ก็คือ หะดีษมุรซั้ลของคนที่เชื่อถือได้นั้น ถือเป็นหลักฐาน และจำเป็นต้องปฏิบัติตามหะดีษที่มีสายรายงานติดต่อกัน"

และท่านอีหม่ามชาฟีอีย์(รฮ.)ก็ได้ใช้หะดีษมุรซั้ลเป็นหลักฐาน พร้อมด้วยเงื่อนไขของมัน ดังจะได้กล่าวต่อไป

นอกจากนั้น หนังสือสุนันทั้งสี่เล่ม ซึ่งที่เป็นหนังสือที่ถูกเรียบเรียงขึ้นตามบทของหนังสือฟิกฮ์ ก็มีหะดีษด่ออีฟไปรวมอยู่ด้วย ทั้งๆที่ความจริงแล้ว พื้นฐานของการเรียบเรียงตามบทของหนังสือฟิกห์นั้น ผู้เรียบเรียงจะต้องนำมารวมไว้แต่เฉพาะหะดีษที่เหมาะสมในการนำมาปฏิบัติเท่านั้น

ท่านอัลฮาฟิซ อิบนุหะญัร ได้กล่าวว่า : "พื้นฐานของการเรียบเรียงหนังสือหะดีษตามบทต่างๆของฟิกฮ์นั้น จะต้องจำกัดเฉพาะหะดีษที่เหมาะสมในการนำมาอ้างอิงเป็นหลักฐาน หรือ เป็นหะดีษที่สามารถนำมาสนับสนุนได้เท่านั้น ต่างกับผู้ที่เรียบเรียงหะดีษตามสายรายงาน(มุสนัด) ซึ่งพื้นฐานการเรียบเรียง ก็คือ การรวบรวมหะดีษตามสายรายงานเท่านั้น"

ข้าพเจ้า(ผู้แต่งหนังสือ)มีทรรศนะว่า : มิใช่ว่าหะดีษด่ออีฟทุกบท จะวิเคราะห์ออกมาเป็นข้อตัดสิน(ฮู่ก่ม)ได้ และไม่ใช่ว่าทุกคนจะสามารถวิเคราะห์ข้อตัดสิน(ฮู่ก่ม)ได้ เพราะการวิเคราะห์นี้ เป็นงานของปรมาจารย์ในวิชาหะดีษและฟิกห์เท่านั้น และการหยิบยกเอาประเด็นนี้ขึ้นมาพูด ดูจะเป็นเรื่องที่ยืดยาว เพราะจำเป็นต้องมีการสำรวจและติดตามการทำงานของบรรดาผู้นำทางด้านหะดีษและฟิกห์ในตำราของพวกเขา ข้าพเจ้าจึงของนำเสนอแค่เพียงบางส่วนเท่านั้น ดังจะได้กล่าวต่อไป...อินชาอัลเลาะห์

3.แนวทางบางส่วนของนักวิชาการ พวกเขามีทัศนะว่า : อนุญาตให้ปฏิบัติตามหะดีษด่ออีฟได้ โดยเป็นการเผื่อไว้ ( احتياط ) ดังนั้น เมื่อได้มีหะดีษด่ออีฟบทหนึ่งมาสั่งห้ามเกี่ยวกับการค้าขายประเภทหนึ่ง ก็ให้ปฏิบัติตามหะดีษด่ออีฟนั้นเอาไว้ก่อน เพื่อเป็นการเผื่อไว้
 
4.แนวทางของนักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่ง มีทรรศนะว่า : หะดีษดออีฟนั้น จะนำมาปฏิบัติไม่ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการสนับสนุนให้กลัวบาป เรื่องการส่งเสริมให้ทำความดี เรื่องที่เกี่ยวกับข้อตัดสิน(ฮู่ก่ม)ต่างๆ และเรื่องอี่นๆ ซึ่งนักวิชาการกลุ่มนี้ ได้แก่ ท่านอีหม่ามยะห์ยา บิน ม่าอีน ท่านอีหม่ามบุคอรีย์ ท่านอีหม่ามมุสลิม ท่านอะบูบักร์ บิน อัลอะรอบีย์ ท่านอิบนุฮัซม์ อัสซอฮีรีย์

มุมมองและแนวคิดในการปฎิเสธหะดีษด่ออีฟของพวกเขา คือ กลับไปสู่แนวคิดของนักวิชาการที่มีทัศนะในการปฏิเสธหะดีษด่ออีฟ โดยไม่แยกระหว่างสิ่งที่เป็นข้อตัดสิน(ฮู่ก่ม) และเรื่องอื่นๆ เช่น สนับสนุนให้เกรงกลัวบาป หรือ ส่งเสริมให้ทำความดี โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้ :

1.ในอัลกุรอานและซุนนะห์ที่ได้รับการรับรองแล้วนั้น เพียงพอแล้วที่จะนำมาปฎิบัติ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยหะดีษด่ออีฟเหล่านี้

2.เรื่องราวต่างๆของศาสนานั้น มีความเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับข้อตัดสิน(ฮู่ก่ม) หรือ คำสั่งสอนที่รวมถึงการสนับสนุนให้เกรงกลัวบาป และส่งเสริมให้ทำความดี ซึ่งในเรื่องเหล่านี้ จะไม่ถูกยอมรับนอกจากหะดีษที่ถูกรับรองเท่านั้น เพราะทั้งหมดนั้น คือ ศาสนาของอัลเลาะห์ และเป็นการทำให้ตัวของเขาใกล้ชิดพระองค์(จึงสมควรนำมาปฎิบัติด้วยหะดีษที่ซอเฮี๊ยะห์เท่านั้น)


______________________________________________________________________________________________


14
ครับผม ขอบคุณท่าน อ.มากๆ ที่ได้ให้โอกาส ขออัลเลาะห์ทรงตอบแทนท่าน อ.มากๆครับ และถ้าหากมีสิ่งใด ที่ผมผิดพลาด ก็อย่าลืมบอกกล่าวกับผมด้วยน่ะครับ ^^

15
ครับ ชุกรอน ญ่าซากุ่มุ้ลเลาะห์ สำหรับคำแนะนำ และการช่วยเหลือจากทุกๆท่าน ขออัลเลาะห์ทรงตอบแทนพี่น้องทุกท่านครับ และสำหรับคุณ Bangmud เด่วผมจะตามใส่สระให้น่ะครับ

หน้า: [1] 2