อ.อารีฟีน แสงวิมาน

เนื้อหาจากอาจารย์อารีฟีน แสงวิมาน

ความอดทนกับการถือศีลอด

เดือนร่อมะฎอนยังมีอีกชื่อหนึ่ง ที่ถูกเรียกว่า “เดือนแห่งความอดทน” ซึ่งความอดทนนั้นเป็นตำแหน่งหรือระดับของจิตใจที่มีความสูงส่ง เพราะความอดทนนั้น เป็นความรู้สึกยังยั้งชั่งใจหรือระงับจิตใจให้พ้นจากสิ่งที่อารมณ์ใฝ่ต่ำปรารถนา ซึ่งทำให้หัวใจของผู้ศรัทธามีความรักและผูกพันกับอัลเลาะฮ์ตะอาลามากยิ่งขึ้นนั่นเอง

การละหมาดตะรอวีหฺ ตอนจบ

วิเคราะห์สายรายงานละหมาด 8 ร็อกอะฮ์

สายรายงานของท่านญาบิร: ท่านอิบนุ คุซัยมะฮ์  ได้รายงานว่า

عَنْ عِيْسَى بْنِ جَارِيَةَ عَنْ جَابِرٍ بْنِ عَبْدِ اللهِ قَالَ : صَلَّى بِنَا رَسُوْلُ اللهُ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَ سَلَّمَ فِيْ رَمَضَانَ ثَمَانَ رَكَعاَتٍ وَالْوِتْرَ

“จากท่านอีซา บิน ญาริยะฮ์ จากท่านญาบิร บิน อับดิลลาฮฺ  เขากล่าวว่า  ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ละหมาดกับพวกเราในเดือนร่อมะฎอน 8 ร็อกอะฮ์และทำวิติร”

การละหมาดตะรอวีหฺ ตอนสอง

เหล่าศ่อฮาบะฮ์ทำละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์

มีสายรายงานที่ศอฮีห์และมีน้ำหนัก ได้ยืนยันว่าเหล่าศ่อฮาบะฮ์ได้ทำละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์ และยืนยันว่าท้ายที่สุดแล้วละหมาดตะรอวีหฺ 20 ร็อกอะฮ์เป็นอิจญฺมาอฺของเหล่าศ่อฮาบะฮ์ในสมัยของอัลคุละฟาอฺอัรรอชีดีน

การละหมาดตะรอวีหฺ ตอนแรก

คำว่าอัตตะรอวีหฺ (اَلتَّرَاوِيْحُ) หมายถึง การหยุดพัก และตามหลักภาษาอาหรับ  เป็นพหุพจน์จากคำว่า อัตตัรวีหะฮ์ (اَلتَّرْوِيْحَةُ) ท่านอิบนุ มันซูรให้ความหมายว่า  การเรียก “อัตตัรวีหะฮ์” (اَلتَّرْوِيْحَةُ) ในเดือนร่อมะฎอนนั้น  เพราะผู้ที่ทำละหมาดจะทำการหยุดพักในทุกสี่ร็อกอะฮ์ ... และคำว่า อัตตะรอวีหฺ (اَلتَّرَاوِيْحُ) เป็นพหุพจน์จากคำว่า อัตตัรวีหะฮ์ (اَلتَّرْوِيْحَةُ) ซึ่งหมายถึง พักหนึ่งครั้ง...

การเตาบะฮ์: เงื่อนไขและวิธีการ

การเตาบะฮ์จากบาปนั้นมีสองประเภท  คือ: 

  1. บาปที่เป็นสิทธิของอัลเลาะฮ์ [حَقُّ اللهِ]  เช่น ละทิ้งการละหมาด  การออกซะกาต การถือศีลอด  การคลุมฮิญาบ  การดื่มเหล้า  การทำซินา การกินดอกเบี้ย เป็นต้น
     
  2. บาปที่เป็นสิทธิของเพื่อนมนุษย์ [حَقُّ الآدَمِيِّ] เช่น การทรพีต่อบิดามารดา  การยักยอกทรัพย์สินผู้อื่น  การนินทา  เป็นต้น

คำฟัตวาของปราชญ์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์เกี่ยวกับเมาลิดนะบีย์

การทำเมาลิดนะบีย์นั้น เป็นรูปแบบที่ไม่มีการพูดถึงหรือไม่ถูกระบุฮุกุ่มไว้ในยุคสมัยของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และยุคสะละฟุศศอลิห์ ดังนั้นฮุกุ่มจึงถูกว่างเว้นโดยไม่อนุญาตให้กล่าวว่าท่านนะบีย์และสะลัฟได้ห้ามหรือได้ใช้ให้ทำเมาลิดในรูปแบบที่เกิดขึ้นมาในยุคหลัง และเมื่อการทำเมาลิดได้เกิดขึ้น บรรดาปวงปราชญ์ส่วนมากได้วินิจฉัยว่าการทำเมาลิดนั้นเป็นสิ่งที่ดีและอนุญาตให้กระทำได้ตามกฎเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนั้นผู้เขียนจึงขอนำคำฟัตวาของปราชญ์อะฮ์ลิซซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์สามท่านมานำเสนอเพื่อให้ท่านผู้อ่านที่มีหัวใจเป็นธรรมและใฝ่รู้ได้นำไปคิดใคร่ครวญและนำไปปรับปรุงเกี่ยวกับการทำเมาลิดนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

ละหมาดสุนัตร่อวาติบก่อนและหลังละหมาดฟัรฎู

ละหมาดร่อวาติบ คือละหมาดสุนัตก่อนและหลังละหมาดฟัรฎู ละหมาดสุนัตก่อนฟัรฎู เรียกว่า สุนัตก็อบลียะฮ์ [اَلْقَبْلِيَّةُ ] และละหมาดสุนัตหลังฟัรฎู เรียกว่าสุนัตบะอฺดียะฮ์ [اَلْبَعْدِيَّةُ ]

นางสวรรค์มีให้แก่บุรุษในสวรรค์แต่เหตุใดอัลกุรอานไม่ได้ระบุให้แก่สตรี?

พวกที่ชอบสร้างความสงสัยในอิสลามจะกล่าวว่า อัลกุรอานได้กล่าวไว้อย่างยืดยาวเกี่ยวกับนางสวรรค์ (อัลฮูรุลอีน) ที่อัลเลาะฮ์ทรงตระเตรียมไว้สำหรับบรรดาบุรุษในสวรรค์ โดยพระองค์มิได้ทรงตระเตรียมไว้สำหรับสตรีในอัลกุรอาน ซึ่งประเด็นที่ได้กล่าวไว้ในอัลกุรอานเช่นนี้ เป็นหลักฐานชิ้นใหม่ที่วางอยู่บนพื้นฐานของทฤษฏีการเหยียดหยามสิทธิสตรี แม้กระทั่งในสวรรค์อันนิรันดรที่เป็นสถานที่พำนักแห่งการตอบแทนก็ตาม

ละหมาดเพราะเกิดสุริยคราสและจันทรคราส

ละหมาดสุรยคราสและจันทรคราสคือ การละหมาดที่ถูกบัญญัติขึ้นเพราะมีเหตุเกิดสุริยคราส (กุซูฟ) และจันทรคราส (คุซูฟ) มุสลิมจะทำการวิงวอนต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา ให้พ้นจากความเดือดร้อนและขอให้แสงสว่างกลับคืนมา

สิ่งที่ซ่อนเร้นภายในจิตใจจะถูกเปิดเผยให้เห็น

ท่านอิหม่ามอิบนุอะฏออิลลาฮ์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือฮิกัมของท่านว่า:

مَا اسْتُوْدِعَ فِي غَيْبِ السَّراَئِرِ ظَهَرَ فِي شَهَادَةِ الظَّوَاهِرِ

“สิ่งที่ถูกบรรจุไว้ในจิตใจที่มองไม่เห็น (ด้วยตา) มันจะปรากฏให้เห็นทางภายนอก”

Pages

ติดตามได้ทาง