อ.อารีฟีน แสงวิมาน

เนื้อหาจากอาจารย์อารีฟีน แสงวิมาน

การถือศีลอดวันอาชูรออฺและตาซูอาอฺ

การถือศีลอดในวันตาซูอาอฺและอาชูรออฺนั้น เป็นซุนนะฮ์ของท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม วันตาซูอาอฺ คือวันที่ 9 ของเดือนมุหัรร็อม และวันอาชูรออฺ คือวันที่ 10 ของเดือนมุหัรร็อม

รู้ได้อย่างไรว่าหัวใจมืดดำ ?

ท่านผู้อ่านอาจจะตั้งคำถามว่า  เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหัวใจกำลังมืดดำ?  ขอตอบว่า: หัวใจที่มืดดำนั้น  จะมีเครื่องหมายที่สังเกตได้  ก็คือ  รู้สึกว่าจิตใจแข็งกระด้าง  ขาดรสชาติในการทำอิบาดะฮ์  จิตใจไม่ปรารถนาที่จะใฝ่หาสัจธรรม  ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดใดๆ เมื่อกระทำบาป  ไม่รู้สึกเดือดเนื้อร้อนใจเมื่อทิ้งละหมาด  ไม่ให้ความสำคัญกับคำสอนของศาสนา  และหัวใจไม่รู้สึกโศกเศร้าเสียใจต่อบาปที่ได้เคยกระทำมา  เป็นต้น

นิอฺมัตและบะลาอฺ

ท่านอิมาม อับดุลกอดิร อัลญีลานีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ ฟุตูหุลฆัยบ์ หน้า 169 - 172 โดยสรุปว่า แท้จริงมนุษย์นั้นมีสองประเภท คือผู้ที่ได้รับนิอฺมัตปัจจัยอำนวยสุข และผู้ที่ได้รับบะลาอฺการทดสอบ

บางคนถูกกำหนดมาให้มีความวิตกกังวลเนื่องจากมีบะลาอฺต่างๆ มาประสบ เช่น มีโรคประจำตัว มีความหิวโหย ร่างกายได้รับความเจ็บปวด ทรัพย์สินและเรือกสวนไร่นาเสียหาย คู่ครองและบุตรหลานต้องจากไป จนทำให้เกิดความวิตกกังวลและรู้สึกเหมือนกับว่าเขาไม่เคยได้รับนิอฺมัตปัจจัยอำนวยสุขเลย

ในขณะที่บางคนร่ำรวย มีสุขภาพดี มีทรัพย์สินเงินทอง และมีเกียรติยศในสังคม ทำให้เขาอยู่ในสภาพที่สุขสบายจนรู้สึกเหมือนกับว่าไม่เคยมีบะลาอฺเกิดขึ้นแก่เขาเลย

กลยุทธ์และกลลวงของชัยฏอน

ตราบใดที่มุสลิมยังมีลมหายใจ  ชัยฏอนก็จะไม่ย่อท้อในการใช้กลยุทธ์และกลลวงให้มุสลิมตกอยู่ในความหลงผิด  ด้วยเหตุนี้ชัยฏอนจึงมีกลลวงอันชั่วร้ายที่พยายามสอดแทรกเข้าไปในกระแสความคิดและความรู้สึกของจิตใจมุสลิม  ฉะนั้นถ้าหากมุสลิมไม่รู้ถึงกลลวงของชัยฏอนนี้  ก็จะต้องพ่ายแพ้มันอย่างแน่นอน 

การฝันเห็นนะบีย์ของอิหม่ามทั้งสี่

ท่านอะนัส บิน มาลิก ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า

قَالَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَنْ رَآنِي فِي الْمَنَامِ فَقَدْ رَآنِي فَإِنَّ الشَّيْطَانَ لَا يَتَخَيَّلُ بِي وَرُؤْيَا الْمُؤْمِنِ جُزْءٌ مِنْ سِتَّةٍ وَأَرْبَعِينَ جُزْءًا مِنْ النُّبُوَّةِ

“ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ผู้ใดฝันเห็นฉัน แท้จริงเขาได้เห็นฉันจริง เพราะแท้จริงชัยฏอนนั้นไม่สามารถจำแลงเป็นฉันได้ และการฝันของผู้มีศรัทธานั้นเป็นส่วนหนึ่งจากสี่สิบหกส่วนของการเป็นนะบีย์ (คือส่วนหนึ่งของคุณลักษณะการเป็นนะบีย์นั้นคือฝันที่เป็นจริง) ” รายงานโดยอัลบุคอรีย์ ฮะดีษลำดับที่ 6994 .

การเป็นซูฟีย์ของอิมามหะซันอัลบันนา ตอนจบ

และวิชาตะเซาวุฟนี้  มีชื่อเรียกอีกว่า วิชา “อัตตัรบียะฮ์วัสสุลู๊ก” ซึ่งไม่ต้องสงสัยเลยว่า วิชาตะเซาวุฟนั้นเป็นแก่นของอิสลาม และไม่สงสัยเลยว่าชาวซูฟีย์นั้นพวกเขาได้บรรลุถึงขั้นระดับของการรักษาและเยียวยาจิตใจแล้ว ซึ่งผู้อื่นจากพวกเขาไม่สามารถไปถึงได้...

การเป็นซูฟีย์ของอิมามหะซันอัลบันนา ตอน 2

การรับบัยอะฮ์คือการให้สัตยาบันระหว่างศิษย์กับชัยค์ผู้ชี้นำว่าจะปฏิบัติตามกิตาบุลลอฮ์และซุนนะฮ์ของท่านนะบีย์มุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม มีซิกรุลลอฮ์หรือวิริดและหมั่นเพียรในการปฏิบัติอะมัลอิบาดะฮ์เพื่อให้ผู้รับบัยอะฮ์นั้นเปลี่ยนแปลงจากชีวิตที่ลืมอัลเลาะฮ์ไปสู่การเตาบะฮ์ ตรวจสอบตนเอง และมุ่งหน้าเข้าหาอัลเลาะฮ์ตะอาลา นอกเหนือจากนั้นยังมีการสอนกะลิมะฮ์เตาฮีด “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์” เพื่อเป็นการตอกย้ำโดยมีสะนัดหรือซัลซิละฮ์ (สายสืบ) ถึงท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ดังนั้นการบัยอะฮ์จึงเป็นการเชื่อมกับท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมทางด้านจิตวิญญาณโดยผ่านทางสะนัดหรือซัลซิละฮ์ (สายสืบ) นั่นเอง

การเป็นซูฟีย์ของอิมามหะซันอัลบันนา ตอนแรก

อิควานุลมุสลิมีน “ขบวนการภราดรภาพมุสลิม” เป็นขบวนการอิสลามที่เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสู่รูปแบบและแก่นแท้ของอัลกุรอานและซุนนะฮ์ ซึ่งก่อตั้งโดยท่านอิมามอัชชะฮีด หะซัน อัลบันนา (ค.ศ. 1906-1949) ผู้เขียนได้ตั้งคำถามกับตนเองว่า เหตุใดขบวนการอิควานุลมุสลิมีนในอดีตจึงมีพลังที่เข้มแข็งมากเมื่อเทียบกับยุคปัจจุบัน?

เหตุใดที่พระนางเฮาวาอ์ถูกสร้างในขณะนบีอาดัมนอนหลับ?

เมื่อครั้งที่อัลเลาะฮ์ ตะอาลา ทรงสร้างท่านนะบีย์อาดัม อะลัยฮิสลามซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกที่ถือกำเนิดขึ้น โดยได้พำนักพักพิงอยู่ในสวนสวรรค์ที่มีความสมบูรณ์พูนสุขและสะดวกสบาย  แต่ท่ามกลางความสุขสบายนั้นท่านมีความรู้สึกแปลกๆ บางอย่างเกิดขึ้นในจิตใจที่เรียกกันว่า “ความเหงา” เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว  พระเจ้าผู้ทรงสรรสร้างทุกๆ สรรพสิ่งย่อมทรงรอบรู้ถึงความเหมาะสมของสิ่งถูกสร้างเสมอ

ใครคือ “อัลฆุรอบาอฺ” คนแปลกหน้า?

ปัจจุบันได้มีการปลุกกระแสและเรียกร้องให้มุสลิมเป็นอัลฆุรอบาอฺ ดังนั้นจึงเกิดคำถามขึ้นมาว่า “อัลฆุรอบาอฺ” (คนแปลกหน้า) คือใคร? บางครั้ง อัลฆุรอบาอฺ ตามที่เข้าใจกันเองก็คือ การทำตนให้สวนกระแสของสังคมมุสลิม โดยนิยมหยิบยกทัศนะที่สวนกระแสหรือมีความคิดที่สวนกระแสเข้ามา เมื่อถูกคัดค้าน ก็คิดไปว่า ตนเองกลายเป็น “คนแปลกหน้า” ที่ท่านนะบีย์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ยืนยันว่าเป็นผู้ที่ได้รับความดีงาม

Pages

ติดตามได้ทาง